ไตรสิกขา คือ ไตรทวาร...หลวงปู่แหวน+เสียงอ่าน

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 19 ตุลาคม 2005.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    ไตรสิกขา คือ ไตรทวาร


    ให้หมั่นรักษาไตรทวาร ศีลท่านก็บัญญัติลงที่ใจนี้ บัญญัติลงในกายนี้ พระธรรมทั้งสิ้นบัญญัติลงในกายในใจ ใจเป็นสิ่งสำคัญ ใจเป็นต้นเหตุของกุศลและอกุศล คิดดีก็ใจ คิดร้ายก็ใจ ถ้ากำหนดรู้ใจหมดแล้วก็แจ่มแจ้ง... น้อมเข้ามาปฏิบัติ กาย วาจา ใจ นี้


    ให้ตั้งมั่นอยู่ในพระไตรสรณคมน์ รักษา กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบท ๑๐ ตั้งใจให้มั่นคง ปฏิบัติ กาย วาจา ใจ นี้ให้รู้แจ้ง กาย วาจา ใจ พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ รวมข้อปฏิบัติเพื่อรักษา กาย วาจา ใจ ทั้งสิ้นไม่มีสิ่งอื่นนอกจากไตรทวารนี้


    ใจเป็นเหตุแห่งธรรมทั้งหลาย ให้น้อมเข้ามาหาใจนี้ ให้พิจารณาให้รอบคอบ อารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านเข้ามาทางตา หู เกิดความพอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี ให้พิจารณาเสียก่อน


    ให้จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย กามคุณทั้ง ๕ เขามีอยู่เขาก็ผ่านไปผ่านมาอย่ารับเข้ามาสู่ใจ การจะทำจะพูดต้องน้อมเข้ามาหาใจ เพื่อพิจารณาก่อน


    ทุกข์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นในกาย จะเป็นปวดแข้งปวดขาปวดหลังปวดเอว ก็ให้กำหนดรู้ รู้เหตุรู้ผล รู้แจ้งเหตุ เหตุมันก็ดับไป


    ศีล สมาธิ ปัญญา ท่านก็บัญญัติลงใน กาย ในใจนี้ ให้รู้ กาย วาจา รวมเข้ามาสู่ใจ กุศลอกุศลทั้งสิ้น มีกาย วาจา ใจ เป็นมูลเหตุ ให้ศึกษาสำรวม รวมในไตรทวารของตน น้อมเข้ามาสู่กาย วาจาใจ ของตนนี้ ให้ศึกษาอยู่ที่นี้ อันนี้เป็นไตรสิกขา...

    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=40729[/MUSIC]
    <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2010
  2. chanin

    chanin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2005
    โพสต์:
    675
    ค่าพลัง:
    +1,332
    ไตร แปลว่า สาม
    สิกขา แปลว่า การศึกษา
    ไตรสิกขา แปลว่า การศึกษาสามอย่าง ได้แก่ ศีลสิกขา จิต(สมาธิ)สิกขา และสมาธิสิกขา
     
  3. pop-4935

    pop-4935 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +9
    กิจของชาวนา – กิจของภิกษุ

    กิจของชาวนา – กิจของภิกษุ

    “ภิกษุทั้งหลาย กิจของคฤหบดีชาวนา ที่เขาจะต้องรีบทำ มี ๓ อย่างเหล่านี้. ๓ อย่างอะไรบ้าง ? ๓ อย่างคือ คฤหบดีชาวนารีบๆ ไถ คราด พื้นที่นาให้ดีเสียก่อน ครั้นแล้วก็รีบๆ ปลูกพืช ครั้นแล้วก็รีบๆ ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย กิจของคฤหบดีชาวนาที่เขาจะต้องรีบทำ มี ๓ อย่างเหล่านี้แล แต่ว่า คฤหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์ หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า ‘ข้าวของเราจงงอกในวันนี้ ตั้งท้องพรุ่งนี้ สุกมะรืนนี้’ ดังนี้ ได้เลย, ที่ถูก ย่อมมีเวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะงอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง

    ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้น กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำมี ๓ อย่างเหล่านี้. ๓ อย่างอะไรบ้าง ? ๓ อย่างคือ การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง และการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง. ภิกษุทั้งหลาย กิจของภิกษุที่เธอจะต้องรีบทำ มี ๓ อย่างเหล่านี้แล. แต่ว่า ภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลว่า ‘จิตของเราจงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทาน ในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้’ ดังนี้ ได้เลย, ที่ถูก ย่อมมีเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติไปแม้ในศีลอันยิ่ง, ปฏิบัติไปแม้ในจิตอันยิ่ง, และปฏิบัติไปแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่มีอุปาทาน ได้เอง” (
     

แชร์หน้านี้

Loading...