เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 29 ตุลาคม 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,370
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,370
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ แม้ว่าพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคจะผ่านไปแล้ว ๒ วันเศษ แต่ว่าควันหลงเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ ความงดงาม ความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน ยังเป็นที่กล่าวขวัญถึงไปทั่วโลก

    โดยที่ชาวต่างชาติเขาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ในเรื่องของขบวนเรือนั้นต่างประเทศก็มี แต่ว่าจัดให้สนุกสนานบ้าง จัดให้ดูยิ่งใหญ่อลังการบ้าง แต่ว่าขาดความเชื่อมโยง ไม่เหมือนกับขบวนเรือพระราชพิธีของไทย ที่แสดงออกอย่างชัดเจนถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน หลายรายกล่าวว่า ดูแค่สีหน้าของประชาชนเมื่อยามเรือพระราชพิธีผ่านไปก็พอ เนื่องเพราะว่าบ่งบอกถึงความภาคภูมิใจ ความจงรักภักดี ตลอดจนกระทั่งความรักที่มีต่อวัฒนธรรม ประเพณี และสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

    เรื่องพวกนี้จะว่าไปแล้วเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน ในขณะเดียวกันประเทศไทยของเราก็รักษาเอาไว้ได้ดีมาก บันทึกของชาวต่างชาติที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวถึงขบวนเรือพระราชพิธีในยุคนั้นว่ามีถึง ๔๐๐ ลำ ปัจจุบันนี้มีแค่ ๕๒ ลำ เหตุที่มีจำนวนต่างกัน ก็เพราะว่า สมัยโน้นเป็นขบวนพยุหยาตราสำหรับการรบทางน้ำ..! ก็คือต้องขนเอาทแกล้วทหารไปให้มากที่สุด เพื่อความได้เปรียบทางยุทธวิธี

    แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่แล้วเราใช้เป็นขบวนเรือเฉลิมพระเกียรติ และโดยเฉพาะเรือหลายลำที่ระบุเอาไว้ในกาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้ง ก็มาได้รับการซ่อมแซมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ รัชกาลที่ ๕ ต่อรัชกาลที่ ๖ แล้วที่สร้างใหม่ขึ้นเลยก็คือเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งต่อท้ายด้วยคำว่า เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ก็เพราะว่าเหลือแต่โขนเรือ ที่ชำรุดทรุดโทรมต้องนำมาปรับปรุง แล้วก็ขุดเขาลำเรือขึ้นมา
    ใหม่ แต่เมื่อเข้าร่วมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เราจะแยกไม่ออกว่าอะไรเป็นเรือใหม่ อะไรเป็นเรือเก่า เพราะว่าได้รับการบำรุงรักษามาเป็นอย่างดี และมีการใช้งานต่อเนื่องมาโดยตลอด

    ขบวนเรือสมัยก่อนเป็นเรือรบ หลายท่านจะเห็นว่าหัวเรือจะติดตั้งปืนใหญ่ แล้วเป็นการซ่อนเอาไว้อย่างแนบเนียนมาก พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าไม่ตั้งใจสังเกตก็ไม่เห็นปืนใหญ่ที่ติดตั้งอยู่เลย แล้วในขบวนเรือทั้งหมด นอกจากเรือพระที่นั่ง ก็ยังมีพวกเรือสำคัญก็คือเรือดั้ง ที่เอาไว้ป้องกันอาวุธยาว อย่างพวกธนู หน้าไม้ ปืนไฟ หรือว่าเรือแซง ที่มีเอาไว้เพื่อแทรกเข้าไปร่วมการโจมตีของเรือหลัก มาถึงยุคนี้สมัยนี้พวกคุณนึกภาพกันไม่ออกแล้ว
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,370
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า วัฒนธรรมประเพณีไทยของเรานั้น ไม่ว่าจะยกเอาส่วนใดขึ้นมาก็ตาม ล้วนแล้วแต่สามารถอวดชาวโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ และเป็นพลังในการสร้างรายได้ให้กับประเทศชาติของเรา คนที่ได้เห็นภาพจากในคลิปวิดีโอ หรือว่าการถ่ายทำ ก็อยากมาเห็นด้วยตาตนเอง คนที่ได้เห็นด้วยตาตนเองแล้ว ก็ยังอยากที่จะเห็นอย่างใกล้ชิดอีก ซึ่งเมื่อเสร็จงานแล้ว เรือทั้งหมดก็จะนำขึ้นอู่ แล้วก็เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้อย่างใกล้ชิด

    โดยเฉพาะในเรื่องของบางสิ่งบางอย่าง ที่เป็นความเชื่อของคนไทยส่วนใหญ่ก็คือ เป็นปาฏิหาริย์จากบรรดาเทวดาที่รักษาพาหนะบ้าง จากบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบ้าง ซึ่งเรื่องเหล่านี้เราไม่กล่าวถึง เพราะว่าเป็นเรื่องที่คนไม่เชื่อก็ยังคงไม่เชื่อต่อไป ส่วนคนที่เชื่อก็เชื่อกันต่อไป..!

    อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะกล่าวถึงก็คือ ท่านทั้งหลายจะเห็นว่าน้องเล็ก (นางสาวจิราพร ซื่อตรงต่อการ) ไม่อยู่หลายวัน เพราะว่าไปร่วมงานศพของคุณแม่โสภา ซื่อตรงต่อการ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นญาติผู้ใหญ่ของกระผม/อาตมภาพด้วย แต่
    กระผม/อาตมภาพที่ไม่ได้ไปร่วมงาน นอกจากมอบปัจจัยและพวกผ้าไตรไปร่วมพิธี พร้อมกับให้ทางเว็บไซต์วัดท่าขนุนเอาพวงหรีดไปร่วมงานเท่านั้น ก็เพราะว่าถ้าไปแล้วจะลำบากกับเจ้าภาพ

    อันดับแรกเลยก็คือเจ้าภาพไม่ถนัดในการต้อนรับ เพราะว่าทางบ้านโน้น นอกจากน้องเล็กและลูกกิฟท์ (นางสาวอันตรา ลักษณะ) แล้ว ที่เหลือก็แทบจะไม่มีใครที่เคยชินกับการดูแลพระภิกษุสงฆ์เลย..!

    อีกประการหนึ่งก็คือถ้ากระผม/อาตมภาพไป ญาติโยมก็จะแห่กันไป ต่อให้เราบริสุทธิ์ใจขนาดไหนก็ตาม ในสายตาของอีกฝ่ายหนึ่งจะเห็นว่ากระผม/อาตมภาพไปนั่งรับเงิน..! ต่อให้รับแล้วมอบให้เจ้าภาพต่อหน้าต่อตา ก็จะมีพวกมองโลกในแง่ร้ายว่า "อมบ้างหรือเปล่า ?"
    ไปแล้วสร้างนรกให้กับคนอื่นมากกว่าที่จะสร้างสวรรค์ก็อย่าไปเลยดีกว่า..!
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,370
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    อีกส่วนหนึ่งก็คือว่า แม้ว่าตัวน้องเล็กจะปฏิบัติธรรมมาอยู่ในระดับที่ใช้ได้แล้วก็ตาม เจอแรงเสียดทานมาเกือบ ๑ อาทิตย์ บ่นว่าอยากกลับวัดใจจะขาด ท่านทั้งหลายบางส่วนอาจจะเคยได้ยินกระผม/อาตมภาพเล่าให้ฟังว่า หลังจากที่บวชไป ๘ เดือนแล้วกลับบ้าน อยู่ได้แค่ไม่ถึง ๑๕ นาที ต้องหนีไปจำวัดอยู่กับหลวงปู่มหาอำพัน - ท่านเจ้าคุณพระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ วิ. (อำพัน อาภรโณ บุญ-หลง) ที่วัดเทพศิรินทราวาส เพราะรู้สึกอย่างชัดเจนว่าบ้านไม่ใช่สถานที่สำหรับเราแล้ว..!

    พวกท่านทั้งหลายที่ยังตะเกียกตะกายเพื่อที่จะกลับบ้านให้ได้จะไม่เข้าใจตรงนี้ เนื่องเพราะว่าจิตใจที่ยึดเกาะอยู่กับบ้านของ
    กระผม/อาตมภาพ แทบจะไม่เหลือเยื่อใยอะไรแล้ว ของน้องเล็กก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน

    ดังนั้น..เวลาที่ต้องไปคลุกคลีตีโมงอยู่กับญาติพี่น้องทางบ้านก็จะเกิดอาการที่ต้องทน ซึ่งกระผม/อาตมภาพใช้คำว่า "ร้อน" ในเมื่ออยู่กับเขาร้อนจนทนไม่ได้ ก็ต้องยอมขับรถฝ่ารถติดไกล ๆ เป็นชั่วโมง ๆ หลังเลิกงานแล้วก็หนีกลับไปนอนที่วัดอุทยาน รุ่งขึ้นค่อยไปร่วมงานใหม่

    อยากจะให้ทุกท่านโดยเฉพาะพระภิกษุและแม่ชีพิจารณาตรงนี้เอาไว้ว่า ถ้าการปฏิบัติธรรมของท่านทั้งหลายยังมาไม่ถึงตรงนี้ โอกาสที่จะเอาตัวรอดจะมีน้อยมาก เพราะว่าใจของเรายังยึด ยังเกาะอยู่กับสถานภาพเดิม ๆ อยู่กับสิ่งเดิม ๆ ไม่คิดที่จะสละออก ในเมื่อไม่มีการสละออก จิตที่จะดิ้นรนเพื่อความก้าวหน้าในทางธรรมก็จะมีน้อย

    บางคนก็พลอยไปยินดียินร้ายกับเรื่องต่าง ๆ ที่ญาติพี่น้องเอามากรอกหู ท้ายที่สุดกลายเป็น "ผ้าเหลืองร้อน" อยู่ไม่ได้ แล้วก็ต้องสึกหาลาเพศไป ต้องบอกว่าเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก ที่หนีห่างออกมาได้ขนาดนี้แล้ว ก็ยังตะเกียกตะกายกลับไปอีก..! แต่เรื่องพวกนี้ถ้าหากว่าเราทำไม่ถึง ไม่มีประสบการณ์ด้วยตนเอง ก็ยังไม่รู้ว่าจะบริหารจัดการตัวเองอย่างไร เพราะว่าใจยังไปยึดไปเกาะอยู่
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,370
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,527
    ค่าพลัง:
    +26,366
    แล้วที่น่าเกลียดกว่านั้นก็คือ บางทีบางคนก็เอานิสัยฆราวาสมาใช้ในวัด ยังมีการกระทบกระทั่งกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน ลืมไปว่าเรามาอยู่วัดเพื่อละกิเลส กลายเป็นเอากิเลสไปชนกับคนอื่น บางอย่างแค่หุบปากลง ไม่พูดต่อเรื่องก็จบแล้ว แต่ "กูจะหุบปากไม่ได้ เพราะจะกลายเป็นว่ากูแพ้..!" ไปต่อความยาวสาวความยืด ท้ายที่สุดก็มองหน้ากันไม่ติด ดีไม่ดีก็ "ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ"..!

    ถ้าหากว่ากำลังใจแบบนี้ อยู่ที่ไหนก็ร้อน แต่ถ้าหากว่าเรามีสำนึกว่าเรามาอยู่วัด เพื่อมาลด มาละ มาเลิก กิเลสในใจของเราให้ได้ เพียรพยายามที่จะลด ละ เลิกอยู่ ต่อให้มีแรงกระทบขนาดไหนก็ต้องอดกลั้นอดทน

    ท่านทั้งหลายต้องไม่ลืม
    โอวาทปาฏิโมกข์ ประโยคแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือ "ขันตี ปรมัง ตโป ตีติกขา ขันติจึงนับว่าเป็นตบะอย่างยิ่ง" เพราะว่าถ้าเราอดทนอดกลั้นไม่ได้ ก็เท่ากับเปิดช่องให้กิเลสเข้ามาในใจของเรา ถ้าเราอดทนอดกลั้นเอาไว้ เหมือนกับขังเสือไว้ในอก ต่อให้เสือดิ้นรนขนาดไหน เราก็ไม่ปล่อยออกทางกาย ไม่ปล่อยออกทางวาจา ลักษณะแบบนั้น ต่อให้แพ้ก็แพ้แบบ "ไม่เสียฟอร์ม" ก็คืออย่างน้อย ๆ ก็รักษาอาการ เก็บอาการเอาไว้ได้..!

    แต่ถ้าถึงเวลาไปเที่ยวทะเลาะเบาะแว้ง มีกิเลสเท่าไร แสดงออกมาให้คนอื่นเขาเห็นจนหมด นอกจากความเสียหายในกำลังใจของตนเองแล้ว ยังเสียหายไปถึงครูบาอาจารย์ พาให้วัดเสียชื่อไปอีกต่างหาก ทำให้คนที่มาพบมาเห็น ก็ตราหน้าไปถึงครูบาอาจารย์ว่า "ไหนว่ามีความรู้ความสามารถมาก แค่คนในวัดยังอบรมให้ดีไม่ได้" ท้ายที่สุดคนเขาก็เสื่อมศรัทธาจากการกระทำของพวกเราเอง

    จึงเป็นเรื่องที่เราต้องมีสติ มีสัมปชัญญะ นอกจากจะรู้ทัน รู้ตัวแล้ว ยังต้องห้ามปาก ห้ามกายของตนเองให้ได้ ใจจะคิดปล่อยให้คิดไป ยอมอกแตกตายดีกว่า ถ้าทำอย่างนั้นได้ โอกาสที่จะชนะกิเลสถึงจะมีได้

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...