อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    9115516E-A416-4CCF-A12E-F0A5D7849019.jpeg

    8721203F-A363-42D7-A1ED-A835AA972502.jpeg

    C4DFB794-8A5C-4DBA-BEFD-A774257BC33D.jpeg

    4344F89C-80F0-4E64-BAF7-E4E0CB497D0C.jpeg

    EDA407BF-7F98-48A4-93C2-10047264F04F.jpeg

    711AF076-61F1-4C4C-9756-DBB618D706E7.jpeg

    1466D61C-38EF-4CF1-A965-87930B8A73FB.jpeg

    หลวงพ่อโสคันธ์(หลวงพ่อโส) วัดพิกุลโสคันธ์ จ.อยุธยา

    ตอนออกจากวัดหน้าต่างนอกตั้งใจว่าจะไปกราบหลวงปู่ทิม วัดพระขาวต่อเพราะเพื่อนยังไม่เคยไป แต่ปรากฏว่าเราขับเลยวัดไปถึงวัดพิกุลโสคันธ์เหลือบไปเห็นวิหารหลังมหึมา ด้วยความแปลกใจว่าเป็นวิหารอะไร เราจึงเลี้ยวรถเข้าไปดูกัน
    ความจริงเรามาวัดพระขาวบ่อยมากแต่เป็นครั้งแรกที่เพิ่งมาวัดพิกุลโสคันธ์ แม้จะรู้ว่าหลวงพ่อปั้นท่านเป็นพระเกจิยุคเก่าร่วมสมัยกับหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ซึ่งทั้งสองท่านก็เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค
    เมื่อจอดรถแล้วก็เห็นป้ายบอกว่าเป็นวิหารหลวงพ่อโส ก็ยังไม่เข้าใจว่าเป็นพระอะไร จนได้เดินเข้ามาในวิหารก็ต้องตกใจเพราะเป็นพระนอนขนาดใหญ่ ยาวถึง ๒๑ วา สูง ๔ วา กว้าง ๓ วา หลวงพ่อปั้นท่านได้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๖ เป็นเวลา ๓ ปี เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านให้ความนับถือกันมาก
    ได้ไปดูประวัติวัดบางปลาหมอ ที่นั่นก็มีพระนอนขนาดใหญ่เช่นกัน
    เท่าที่สังเกตุดู ที่อยุธยานิยมสร้างพระนอนกันมาก ยังไม่ทราบนัยยะที่ซ่อนเอาไว้


    ********

    วัดพิกุล (โสคัณธ์)
    หลวงพ่อปั้น..

    สองชื่อนี้ผมเคยได้ยินมานานแล้วครับ ดูเหมือนว่าตอนที่อ่านหนังสือเจอครั้งแรก วัดพิกุล (โสคัณธ์) ค่อนข้างจะเป็นเป้าหมายต้นๆ ที่อยากมาเยือน เพียงแต่ว่าช่วงนั้นกลุ่มเพื่อนๆ ใช้เวลาที่วัดพระขาวมากไปหน่อย ทำให้พวกเราไปไม่ถึงวัดพิกุล (โสคัณธ์) สักที ทั้งๆ ที่ระยะห่างระหว่างวัดพระขาวกับวัดพิกุล (โสคัณธ์) แค่หายใจเข้าออกสองทีก็ถึงแล้ว
    จนกระทั่งวันหนึ่งเพื่อนรุ่นพี่เอาราชรถมาเกยหน้าประตูบ้านอีกครั้ง ผมถึงรู้ว่าบนโลกใบนี้การรอคอยมีอยู่จริง
    ถ้าจะพูดถึงหลวงพ่อปั้น อดีตเจ้าอาวาสวัดพิกุล (โสคัณธ์) อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เหตุการณ์ต่อไปนี้ถือเป็นเกล็ดประวัติเล็กๆ น้อยๆ ของท่านที่ถูกเล่าขานถึงกันบ่อยมากที่สุด เรื่องมีอยู่ว่า
    ครั้งหนึ่งวัดพิกุล(โสคัณธ์) ได้จัดให้มีงานประจำปี ภายหลังจากงานเลิก ภาระหน้าที่ในการเก็บล้างถ้วยชามก็ตกมาเป็นหน้าที่ของญาติโยมที่มาช่วยงาน เมื่อหลวงพ่อปั้นท่านเห็นว่าถ้วยชามกองโตที่รอการเก็บล้างนั้นมีจำนวนมากขนาด
    นัยว่าเพื่อเป็นการประหยัดเวลาของญาติโยม ท่านจึงให้นำถ้วยชามทั้งหมดนั้นใส่ลงในตะกร้าแล้วนำไปเขย่าล้างในแม่น้ำ โดยท่านรับประกันว่าถ้วยชามทั้งหมดนี้จะไม่มีการชำรุดหรือแตกเสียหายเลยหากว่าญาติโยมปฏิบัติตาม
    เหตุการณ์ต่อเนื่องก็เป็นไปตามที่ท่านรับรองคือไม่มีการชำรุดหรือเสียหายเลยแม้แต่ใบเดียวและไม่มีญาติโยมคนใดฟันธงได้ว่าสาเหตุที่ถ้วยชามไม่แตกเกิดจากอะไรกันแน่
    เกิดจากคาถาอาคมหรือเกิดจากวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์ของท่าน เพราะเหตุผลทั้งสองประการนี้ล้วนแล้วแต่เป็นบารมีที่มีอยู่คู่กับหลวงพ่อปั้นมาตลอด

    วัดพิกุล (โสคัณธ์) เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาและเท่าที่ทราบวัดพิกุล (โสคัณธ์) ไม่ปรากฏว่าเคยตกอยู่ในสภาพของการเป็นวัดร้างมาก่อนเลย คำว่า พิกุล สันนิษฐานว่าที่วัดแห่งนี้มีต้นพิกุลมากนั่นเอง
    แต่เดิมวัดพิกุล (โสคัณธ์)แบ่งการปกครองออกเป็น ๓ คณะคือ คณะเหนือ คณะกลางและคณะใต้ แต่ละคณะล้วนมีความโดดเด่นกันไปตามความชำนาญ เช่น คาถาอาคม พระวินัย การปกครอง ฯลฯ ทุกวันนี้สภาพของกลุ่มกุฏิสงฆ์(ที่แยกคณะ)ในอดีตยังมีปรากฏอยู่ หากแต่ได้ยุบจาก ๓ คณะลงเหลือเพียง ๒ คณะ คือคณะเหนือและคณะใต้เท่านั้น
    จะว่าไปแล้วปัจจุบันนี้วัดพิกุล (โสคัณธ์) ถือว่าเป็นหนึ่งในบรรดาวัดเก่าแก่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ยังคงอบอวลไปด้วยสภาพและบรรยากาศของการดำเนินชีวิตและดำเนินธรรมตามแนวทางที่หลวงปู่ปั้นได้วางไว้
    มีเงื่อนไขบางอย่างครับที่แม้แต่กาลเวลาก็ไม่สามารถกลืนกินและไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแก่ที่นี่ อาจกล่าวได้ว่าแทบจะทุกพื้นที่ในอาณาเขตของวัดยังคงเจือไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่ยังคงมีลมหายใจอยู่ครับอย่างเช่น

    (หลวงพ่อโสคัณธ์ หรือ หลวงพ่อโส)
    พระพุทธรูปสำคัญประจำวัดนามว่าหลวงพ่อโสคัณธ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันสั้นๆ ว่า หลวงพ่อโส ที่เปี่ยมไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ยังคงเป็นที่พึ่งพิงและยึดเหนี่ยวของบรรดาผู้คนที่เข้ามากราบไหว้ขอพรเสมอๆ เช่นใครไม่มีลูกเมื่อมาบนบานก็มักจะสัมฤทธิ์ผล หรือบางคนที่มีอาการปวดข้อ ปวดหลัง ขอเพียงมาบอกเล่าให้หลวงพ่อทราบ แล้วกลับไปปิดทองตามจุดที่ปวด ก็จะหายจากโรคนั้น ซึ่งกว่าหลวงพ่อปั้นท่านจะสร้างหลวงพ่อโสเสร็จเรียบร้อยก็ต้องกินเวลาถึง ๓ ปีครับ (๒๔๕๓-๒๔๕๖)
    ถัดไปทางด้านหลังวิหารหลวงพ่อโสคัณธ์ เป็นมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อของ หลวงพ่อปั้น อดีตเจ้าอาวาสที่ชาวบ้านละแวกวัดหรือคนต่างถิ่นให้ความเชื่อมั่นว่าบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ของท่านยังคงสถิตย์อยู่และไม่มีวันห่างหายไปจากใจของพวกเขา
    หลวงพี่ใจดีที่เปิดมณฑปให้พวกเราเข้าไปปิดทองไหว้พระเล่าให้พวกเราฟังว่า รูปหล่อของหลวงพ่อปั้นขนาดเท่าองค์จริงจะมีอยู่ทั้งหมด ๓ องค์ คือที่วัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง วัดเนินกุ่ม จังหวัดพิษณุโลกและองค์ที่ ๓ ก็คือองค์ที่พวกเรากำลังปิดทองในตอนนี้
    ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปั้นได้ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์ทั้งในสมัยที่ท่านยังดำรงขันธ์และดับขันธ์ ซึ่งตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็ยังถือว่าเป็นเรื่องแปลกที่ยังปกติ แต่หลังจากที่ท่านมรณะภาพไปแล้วสิครับได้ฟังแล้วรู้สึกว่าโลกนี้ยังมีเรื่องที่ลี้ลับเสียจนไม่อยากจะเชื่อ

    (รูปหล่อหลวงพ่อปั้น วัดพิกุล (โสคัณธ์) )
    หลวงพี่ใจดีเล่าว่าตอนที่วัดพิกุลได้สร้างรูปหล่อหลวงพ่อปั้นขนาด ๕ นิ้วขึ้นเป็นครั้งแรก ได้มีชาวบ้านเข้ามาขอบูชาพระ พระบวชใหม่ได้นำรูปหล่อขึ้นมาให้เลือก ซึ่งพี่แกคงจะเห็นว่าไม่สวยเลยขอเลือกองค์ใหม่ ยังพูดไม่ขาดคำ รูปหล่อองค์ที่วางอยู่ตรงหน้าได้ลอยขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ประมาณว่าพวกเอ็งไม่ต้องเรื่องมาก รูปหล่อของข้าศักดิ์สิทธิ์ทุกองค์
    เพื่อนรุ่นพี่ของผมรีบเอามือที่เปื้อนทองปิดพระลูบขึ้นบนศรีษะ ซึ่งผมเดาว่าอาการอย่างนี้นอกจากแกอยากจะได้รูปหล่อชุดนี้แล้ว พี่แกคงกำลังอินจัดกับเรื่องลี้ลับพิศวงที่หลวงพี่ใจดีเล่าให้ฟัง
    หลวงพ่อปั้นท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมยุคสมัยเดียวกับพระเกจิอาจารย์แนวหน้าของเมืองไทยหลายองค์ครับ เช่นหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม หลวงพ่อรอด วัดสามไถ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ฯลฯ
    ถึงแม้ชื่อเสียงของหลวงพ่อปั้นจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าใดนักในวงกว้างหรือเหรียญรูปเหมือนของท่านจะมีค่าความนิยมไม่เท่าเหรียญของหลวงพ่อทั้งสามองค์ข้างต้น ถึงกระนั้นเราก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ปฏิปทาหรือคาถาอาคมของท่านก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าพระเกจิอาจารย์ในยุคเดียวกันเลย
    โดยเฉพาะในแง่มุมของการเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและความมีวิสัยทัศน์กว้างไกล..
    ผลงานอันโดดเด่นของหลวงพ่อปั้นที่ยังคงปรากฏเป็นหลักฐานให้สาธุชนคนทั่วไปได้กราบไหว้เพื่อความสงบของจิตใจก็คือการสร้าง หลวงพ่อโสคัณธ์ พระพุทธรูปปางไสยยาสน์ ที่มีขนาดความยาว ๒๑ วาเศษ ณ วัดพิกุล (โสคัณธ์)
    การร่วมกับหลวงปู่บุญ เจ้าอาวาสวัดสี่ร้อย จังหวัดอ่างทอง สร้างพระสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ขนาดใหญ่สูงขนาด 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ ซึ่งเป็นการจำลองมาจากวัดป่าเลไลย์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยทำการก่อสร้างอยู่ราว ๑๖ ปี จึงแล้วเสร็จ ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าหลวงพ่อโตวัดสี่ร้อยหรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าหลวงพ่อร้องไห้
    และการร่วมกับชาวบ้านในชุมชนบ้านเนินกุ่ม จังหวัดพิษณุโลก สร้างวัดประจำหมู่บ้านชื่อว่า วัดอุปัชฌาย์ปั้น หรือ วัดเนินกุ่ม ในทุกวันนี้

    จริงอยู่ถึงแม้ผลงานของท่านอาจจะไม่ใช่หลักชัยในพระพุทธศาสนา หากแต่เมื่อเรามองพระพุทธศาสนาในแบบองค์รวม ตามนัยที่ทุกสรรพสิ่งล้วนสัมพันธ์และเกี่ยวร้อยซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างบุญสร้างกุศล
    อย่าว่าแต่สร้างพระหรือสร้างวัดแล้วจะเกิดเป็นบุญเป็นกุศลแก่ผู้สร้างเลยครับ ขอเพียงแค่ผู้สร้างมีเจตนาว่าจะสร้างเท่านั้นท่านว่าก็เกิดเป็นบุญกุศลแก่ตนเองแล้ว เพราะโดยหลักแล้วคำว่าผลที่ดีย่อมเกิดจากเหตุที่ดียังคงเป็นสัจธรรมที่แท้จริงเสมอครับ
    ในส่วนประวัติของหลวงพ่อปั้นค่อนข้างหาสืบค้นยากครับ จะหันไปถามใครก็เกิดไม่ทันสักคน เอาเป็นว่าเพราะสมัยก่อนไม่ค่อยมีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเท่าใดนัก เรื่องราวทั้งหมดที่พอทราบในวันนี้เกิดจากการบอกเล่าของชาวบ้านที่ได้เล่าสืบต่อเนื่องกันมา
    หรือบางส่วนก็เป็นการอ้างอิงมาจากประวัติของพระเกจิอาจารย์ในยุคเดียวกัน เช่นหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ และพระเกจิอาจารย์ในชั้นลูกศิษย์ เช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อสังข์ วัดน้ำเต้า หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ฯลฯ
    ซึ่งส่วนมากแล้วน้ำหนักของการจดจำจะเอนเอียงไปทางด้านปาฏิหาริย์และวาจาที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะในเรื่องของความเก่งกาจเชิงอาคมและความเชี่ยวชาญในด้านกรรมฐานของหลวงพ่อปั้นต้องถือเป็นที่สุดครับ

    พระครูโอภาสธรรมวัฒน์ (หลวงพ่อล้วน โอฑาตวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดพิกุล (โสคัณธ์) องค์ปัจจุบันได้เมตตาเล่าประวัติบางส่วนของหลวงพ่อปั้นเท่าที่ท่านพอทราบให้พวกเราฟังว่า..
    หลวงพ่อปั้น หรือ พระครูสังคกิต เกิดในหมู่บ้านเลขที่ ๑ ตำบลพระขาว เมื่อปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๗๖ มีพี่น้อง ๓ คน ในสมัยที่หลวงพ่อปั้นยังเป็นเด็ก ท่านได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเมตตากรุณาต่อมนุษย์และสัตว์ทั่วไป เช่นครั้งหนึ่งท่านเคยแอบไปปล่อยปลาที่ชาวบ้านวางเบ็ดไว้ ทำให้ท่านต้องถูกไล่ตีจากชาวบ้านผู้นั้น
    ชะรอยท่านจะเห็นว่าความมีเมตตาของท่านจะส่งผลให้การดำเนินชีวิตในเพศฆราวาสของท่านลำบาก ท่านจึงตัดสินใจหนีไปบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายได้ ๑๕ ปี (พ.ศ.๒๓๙๑) จนเมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปี ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดพิกุล ซึ่งขณะนั้นมีเจ้าอาวาสชื่อหลวงพ่อด้วง
    ภายหลังจากที่หลวงพ่อปั้นจำพรรษาในวัดพิกุลได้ระยะหนึ่ง ท่านได้เดินทางไปศึกษากรรมฐานที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ แต่ว่าท่านจะเรียนอยู่กี่ปีก็ไม่ทราบได้ คงทราบเพียงแต่ว่าด้วยความเชี่ยวชาญในพระกรรมฐานนี่เองทำให้เมื่อหลวงพ่อด้วงมรณะภาพลงญาติโยมจึงพร้อมใจกันนิมนต์ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดพิกุลต่อจากหลวงพ่อด้วง ซึ่งด้วยคุณงามความดีของท่านที่เพียรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทำให้ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์และเป็นเจ้าคณะอำเภอบางบาลในกาลต่อมา
    ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนาเล่มหนึ่ง..
    เนื้อหาในหนังสือเล่มนั้นมีเหตุการณ์ในเวลาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กำลังจะเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน แต่พระมหากัสสปซึ่งเป็นพระสาวกองค์สำคัญได้เข้าไปทูลลาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อออกเดินธุดงค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงตรัสขึ้นว่า
    "กัสสปะ ดูก่อน กัสสป เวลานี้ตถาคตก็แก่แล้ว เธอก็แก่แล้ว จงละจากการอยู่ป่าเสียเถิด จงอยู่ในสถานบ้านเมือง จงรับสักการะที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีความเลื่อมใสเธอ และชีวิตของเธอกับชีวิตของตถาคตก็ใกล้อวสานแล้ว"
    พระมหากัสสปก็ได้กราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
    "ภันเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญพระพุทธเจ้าข้า การที่ข้าพระพุทธเจ้าปฏิบัติธุดงควัตรอย่างนี้ ก็มิได้หมายคามว่า จะปฏิบัติเพื่อความดีของตน
    ที่ข้าพระพุทธเจ้าทำอย่างนี้ ก็เพื่อว่าจะให้เป็นแบบฉบับของบรรดาภิกษุทั้งหลายภายหลัง ที่เกิดมาไม่ทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะได้ทราบว่า
    ในสมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ยังมีพระคณะหนึ่งนิยม "ธุดงควัตร" เป็นสำคัญ เพื่อเป็นการส่งเสริมบรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเหล่านั้นประพฤติปฏิบัติตาม
    ตามหลักของศาสนาพุทธแล้ว พระภิกษุสงฆ์กับการออกเดินธุดงค์ถือเป็นสิ่งสำคัญครับ เพราะการออกเดินธุดงค์ย่อมหมายถึงการก้าวย่างอย่างไม่หวั่นไหว ซึ่งนอกจากจะเป็นฝึกให้พระทุกองค์รู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติแล้ว โดยอ้อมยังสื่อถึงเรื่องการปลูกฝังความเคารพในพระพุทธศาสนาให้ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของญาติโยมด้วยครับ

    หลวงพ่อปั้นท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและชอบที่จะออกธุดงค์วัตรครับ ซึ่งการออกเดินธุดงค์ของท่านมีทั้งแบบบินเดี่ยวและเป็นหมู่คณะ โดยจุดหมายปลายทางก็สุดแท้แต่ที่ท่านต้องการจะไป
    เล่ากันว่าเมื่อครั้งที่ท่านเป็นผู้นำหมู่คณะในการเดินธุดงค์ที่ต้องผ่านป่าใหญ่มักมีเรื่องแปลกประหลาดเกิดขึ้นเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการผจญกับสิ่งเร้นลับอาถรรพ์ของป่า หรือจะผจญกับสัตว์ร้ายต่างๆ อย่างเช่นกรณีของเสือร้ายเจ้าป่า ซึ่งท่านก็สามารถนำพาหมู่คณะรอดมาได้ด้วยการภาวนาและแผ่เมตตาครับ
    โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปทางภาคเหนือพร้อมหมู่คณะ หลังจากที่ได้ปักกลดกลางป่าก่อนค่ำ ได้มีชาวบ้านเข้ามากราบนมัสการและนิมนต์หลวงพ่อพร้อมหมู่คณะให้ย้ายไปปักกลดใกล้หมู่บ้าน เนื่องจากในละแวกนั้นจะเป็นที่ชุมนุมของเสือเวลาจะออกหาอาหาร ซึ่งที่ผ่านมาได้เคยมีพระธุดงค์มาปักกลดและเสียชีวิตไปหลายองค์แล้ว หลวงพ่อปั้นท่านได้ตอบชาวบ้านถึงกฏเหล็กของการออกเดินธุดงค์ไปว่า
    พระธุดงค์เมื่อปักกลดแล้วจะถอนกลดไม่ได้
    และเมื่อชาวบ้านพากันกลับไปหมดแล้ว ท่านจึงได้เรียกประชุมพระธุดงค์ทุกองค์และกำชับให้ทราบว่าไม่ต้องกลัวภัยดังกล่าว ขอเพียงแต่ให้พระธุดงค์ทุกองค์มีสมาธิจิตที่ดีและหมั่นภาวนาระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ก็จะปลอดภัย
    ครั้งพอถึงเวลาดึกก็เป็นไปตามคาดคือเสือร้ายตัวดังกล่าวได้ออกมาหากินและเดินป้วนเปี่ยนใกล้ๆ กับกลดของพระธุดงค์ แต่พอมันเดินมาถึงกลดของหลวงพ่อปั้น เจ้าเสือร้ายตัวนั้นได้หยุดคำรามและหมอบนอนนิ่งอยู่กับที่ตลอดทั้งคืนและเดินจากไปในช่วงเช้า
    พวกเราขอให้หลวงพ่อล้วนเมตตาเล่าถึงเกจิอาจารย์ในละแวกวัดพิกุล (โสคัณธ์) บ้าง เนื่องจากตามสองฝังของแม่น้ำน้อยที่ไหลผ่านหน้าวัดพิกุล (โสคัณธ์) ล้วนอุดมไปด้วยครูบาอาจารย์หลายท่าน

    (ภาพวาดหลวงพ่อปั้น ที่วัดพิกุล(โสคัณธ
    หลวงพ่อค่อยๆ เล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ทั้งในส่วนที่เป็นคำบอกเล่าและเป็นเรื่องที่ถูกบันทึกไว้ให้พวกเราฟัง เพื่อให้พวกเราได้รับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่นี่ เช่นการลองวิชาระหว่างหลวงพ่อปั้นกับหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ที่ปะทะกันด้วยอำนาจจิตและคาถาอาคม และเรื่องที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค มาต้องมนต์สกดของหลวงพ่อปั้น
    ถึงแม้เรื่องเหล่านี้หลวงพ่อล้วนท่านจะเคยได้ฟังเมื่อสมัยตอนที่ท่านยังเป็นเด็ก แต่ระยะเวลาที่ผ่านมาเกินกว่า ๘๐ ปีมันก็ไม่ได้ลบเลือนความทรงจำอันแจ่มใสของท่านไปได้เลย
    ท่านเล่าว่า...
    ปัจจุบันการเดินทางมายังวัดพิกุล (โสคัณธ์) สามารถใช้รถยนต์ขับเข้ามาถึงวัด หรือถ้าไม่มีรถก็ใช้บริการรถโดยสารประจำทางได้ เรียกว่าการคมนาคมสะดวกสบายครับ ออกจากวัดจะไปต่อที่อื่นเช่นผักไห่ เสนา ก็มีถนนหนทางที่เชื่อมต่อกันไปจนถึงที่ โดยที่เราไม่ต้องย้อนกลับไปกลับมา
    ในอดีตวัดพิกุล (โสคัณธ์) ถือว่าเป็นวัดที่ค่อนข้างลึก ด้านหน้าของวัดติดกับคลองบางบาล (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า) ที่เป็นดั่งเส้นเลือดของชาวบางบาลในการติดต่อกับชุมชนบ้านอื่น เช่น เสนา บางนมโค บางไทร ผักไห่ ฯลฯ ซึ่งสองฝังของคลองบางบาลล้วนอุดมไปด้วยเกจิอาจารย์อาคมขลังหลายท่าน เรียกว่าสายน้ำผ่านหน้าวัดไหนก็ถือเป็นเขตอิทธิพลของหลวงพ่อองค์นั้นครับ

    (วิหารที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสคัณธ์)
    เรื่องนี้เกิดขึ้นในขณะที่หลวงพ่อปั้นกลับจากการไปเทศน์ที่อำเภอผักไห่ ช่วงที่เรือแจวของท่านกำลังพายผ่านวัดบางปลาหมอ ทันใดนั้นเรือแจวของหลวงพ่อปั้นได้หยุดลงกระทันหัน จะออกแรงพายสักเท่าไรเรือก็ไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวได้
    ลูกศิษย์ของหลวงพ่อปั้นเห็นว่าน่าจะมีอะไรที่ผิดปกติ เพราะที่วัดบางปลาหมอแห่งนี้เป็นวัดของพระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่งคือหลวงพ่อสุ่น ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระวิปัสสนากรรมฐานผู้ทรงอภิญญาและมีวิชาอาคมไสยเวทย์เปี่ยมล้น
    ลูกศิษย์ของท่านจึงได้ตัดสินใจเข้าไปปลุกหลวงพ่อปั้นจากการจำวัด ครั้นพอหลวงพ่อปั้นท่านออกมาดูเหตุการณ์และมองไปบนฝั่งก็พบว่าหลวงพ่อสุ่นท่านกำลังนั่งตำหมากอยู่ ซึ่งตอนนั้นหลวงพ่อปั้นท่านจะใช้วิชาอะไรก็ไม่อาจทราบได้
    แต่ที่เห็นว่าหลวงพ่อปั้นท่านทำได้จริงคือเมื่อท่านกำหนดจิตไปที่หลวงพ่อสุ่น ก็ทำให้หลวงพ่อสุ่นไม่สามารถตำหมากได้เช่นกัน และเมื่อหลวงพ่อสุ่นตำหมากไม่ได้ เรือของหลวงพ่อปั้นจึงค่อยๆ วิ่งต่อไปได้จนถึงวัด
    เพื่อนรุ่นพี่ของผมขยับมือลูบศรีษะอีกครั้ง ส่วนผมกำลังสองจิตสองใจว่าจะถามอะไรเพิ่มเติม แต่หลวงพ่อล้วนท่านก็ไม่ปล่อยให้อาการเหล่านั้นได้แสดงอานุภาพ ก็ในเมื่อพวกเราอยากรู้เรื่องแบบนี้และหลวงพ่อท่านก็ยังมีภาระกิจอีกมากจะยืดเยื้อให้เสียเวลาไปทำไม...
    ท่านเล่าว่าหลวงพ่อปั้นได้ไปขอยืมท่อนซุงมาจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พอครบกำหนดหลวงพ่อปานท่านได้เดินทางมาโดยเรือเพื่อที่จะมาทวงท่อนซุงและจะได้ขนท่อนซุงเหล่านั้นกลับไปในคราวเดียวกัน และเมื่อหลวงพ่อปานมาถึงวัดพิกุล (โสคัณธ์) ท่านก็ได้ขึ้นไปนั่งสนทนากับหลวงพ่อปั้นเป็นเวลาพักใหญ่จึงได้กราบลาหลวงพ่อปั้นกลับวัดบางนมโค หลวงพ่อปั้นท่านจึงถามขึ้นว่า
    ท่านปานไม่เอาแล้วใช่ไหม ซุงที่จะมาเอาน่ะ
    หลวงพ่อปานได้ตอบว่า
    ครับ หลวงพ่อ ผมถวายเลยครับ
    และเมื่อหลวงพ่อปานได้กลับมาถึงเรือ ลูกศิษย์ที่มากับท่านไม่เห็นหลวงพ่อบอกอะไรนอกจากให้กลับวัดจึงได้ถามขึ้นว่า
    ได้ไหมครับซุง
    พอหลวงพ่อปานท่านได้ยินจึงตอบไปว่า
    ไม่รู้บอกถวายหลวงพ่อปั้นไปได้อย่างไร

    (รูปหล่อหลวงพ่อปั้น วัดเนินกุ่ม-ภาพจากอินเตอร์เนต)
    จะว่าไปแล้วในเรื่องมหัศจรรย์ทำนองนี้ หากใครที่ไม่ชอบหรือไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง คงจะคิดว่ามันเหลือเชื่อเกินไป อะไรจะขนาดนั้น ผมเองก็ไม่ต่างไปจากคนอื่นหรอกครับ เพราะตอนที่ผมเริ่มสนใจในเรื่องของศาสนาที่เน้นความชอบในส่วนที่ลี้ลับแบบนี้เป็นครั้งแรก โดยส่วนตัวแล้วผมก็มีความคิดแบบนั้นเหมือนกัน
    จนกระทั่งหูตาพอเริ่มสว่างบ้างเพราะได้เปิดใจและศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อย่างตั้งใจ ผมจึงทราบว่าในโลกของไสยศาสตร์แล้ว ความเป็นไปได้ในเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้มันมีอยู่จริง เพียงขอให้เรายอมรับถึงความแปลกในทางที่มันควรจะเป็น ซึ่งมันอาจจะไม่ใช่แนวทางในแบบที่เราอยากให้เป็น
    ย้อนกลับไปในตอนที่เข้ามาวัดพิกุล (โสคัณธ์) ครับ
    จำได้ว่าความประทับใจครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อทราบว่ารูปหล่อของหลวงพ่อปั้นมีการสร้างและประดิษฐานให้ผู้คนได้กราบไหว้ถึงสามวัดสามจังหวัด
    แน่นอนครับ..การที่พระสงฆ์องค์หนึ่งจะมีชาวบ้านศรัทธาจนถึงขนาดสร้างรูปหล่อของท่านไว้สำหรับกราบไหว้ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ผู้คนหมู่มากจากสามพื้นที่ต่างฝ่ายต่างสร้างรูปหล่อของหลวงพ่อที่พวกเขานับถือขึ้นมาพร้อมกันย่อมไม่ธรรมดาแน่ เพราะโดยความจริงแล้ว ในช่วงเวลานั้นหลวงพ่อปั้นท่านก็ไม่ได้รับการยกย่องถึงขนาดเทียบอมตะเถระองค์อื่น

    หลังจากที่ผมได้ศึกษาเรื่องของท่านผ่านทางบันทึกของวัดและคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่พูดถึงท่านด้วยความเคารพแล้ว ผมจึงได้เข้าใจถึงความศรัทธาของผู้คนในพื้นที่ที่ท่านได้เข้าช่วยสร้างความมั่นคงให้จิตใจ
    จริงอยู่ถึงแม้ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ของหลวงพ่อปั้นจะเป็นเรื่องจริงแต่ก็ไม่ได้นำมาซึ่งความเลื่อมใสเสียทั้งหมด จิตสาธารณะและคุณงามความดี ของท่านที่ทำอย่างเสมอต้นเสมอปลายต่างหากที่ทำให้เรื่องราวของท่านเป็นที่น่าสนใจและน่าเลื่อมใสอย่างแท้จริง
    ในหนังสือประวัติหลวงพ่อปั้น ของวัดพิกุล (โสคัณธ์) หน้าที่ ๕ ถึงจะไม่ใช่หน้าสุดท้ายแต่ก็ได้บันทึกถึงบั้นปลายชีวิตของท่านไว้ว่า
    หลวงพ่อปั้นมรณภาพ ขณะนั้นหลวงพ่อปั้นอายุได้ ๘๐ ปี ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๖ ปีฉลู ก่อนที่หลวงพ่อจะมรณภาพนั้น หลวงพ่อได้สร้างศาลาการเปรียญเกือบจะแล้วเสร็จ เหลือเพียงพื้นศาลาเท่านั้น ประชาชนได้ร่วมใจกันเก็บศพหลวงพ่อไว้เป็นเวลา ๑ ปี ใช้ศาลาที่สร้างเป็นที่เก็บศพ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๕๗ จึงได้ทำการฌาปนกิจศพ
    ครับ.เรื่องราวของหลวงพ่อองค์หนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย สมถะและชอบที่จะพาตัวเองออกห่างความวุ่นวายทางโลก ด้วยการถอดวางสมณศักดิ์ไว้ที่วัดและทำการผนึกตัวตนเข้ากับธรรมชาติ ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาคือการธุดงค์วัตร ซึ่งทั้งหมดนี้คือปรัชญาของการดำเนินชีวิตที่หลวงพ่อปั้นได้สอนไว้เสมอว่า
    คนเราไม่ได้มีชีวิตอยู่ด้วยลาภยศสรรเสริญ
    ดังนั้นการที่พวกเราได้เดินทางมาถึงพื้นที่สีเหลืองที่ท่านเคยปฏิบัติธรรม จึงนับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ถึงแม้ว่าระยะห่างระหว่างท่านกับพวกเราจะต่างกันมากกว่าร้อยปี
    แต่อย่างน้อยการที่ได้เข้ามากราบนมัสการรูปหล่อของท่านในวัดพิกุล (โสคัณธ์) แห่งนี้ มันก็ทำให้ผมมีความหวังว่า สักวันหนึ่งจะได้ไปกราบรูปหล่อของท่านที่ยังมีอีกสองวัดให้ครบ เพราะผมเชื่อแล้วว่าโลกนี้การรอคอยมีอยู่จริง....สวัสดีครับ

    กราบขอบพระคุณ พระครูโอภาสธรรมวัฒน์ (หลวงพ่อล้วน โอฑาตวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดพิกุล (โสคัณธ์) ที่เมตตาด้านข้อมูล
    ขอขอบคุณเอกสารอ้างอิง หนังสือประวัติหลวงพ่อปั้น รูปภาพบางรูปจากเวปไซด์ คุณพรชนก สุขพงษ์ไทยกับภาพถ่าย เพื่อนต่อกับคำแนะนำ และกำลังใจที่มีให้เสมอจากคุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรีครับ

    ที่มา: https://www.oknation.net/post/detail/634ec8c73f6e84d07ecd5bab
     
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    C2BFE827-7FAD-41B9-9235-F809CDF09FEC.jpeg

    B9FCFB8B-6D77-4FE4-B047-550BC8673C0F.jpeg

    9F77770B-0D73-4690-AFAF-5530F55AC241.jpeg

    0E02E981-4456-42AF-8D1A-5F90C67DE9AF.jpeg

    82E475D5-9599-4214-9968-AE3319FA62A5.jpeg

    หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล (โสคัณธ์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    โดย Mr John Transporter

    หลวงพ่อปั้นเป็นเป็นพระเถระยุคเก่าที่ได้รับการยกย่องในด้านพุทธคุณว่า “ ทรงคุณวุฒิด้านกฤติคุณ ในด้านความขลัง และมีความศักดิ์สิทธิ์ตลอดกาล ” เพชรเม็ดเอกแห่งพระคณาจารย์เมืองคนดีศรีอยุธยาที่ควรได้รับการยกย่องและสดุดี ในบารมีของหลวงพ่อปั้นแห่งวัดพิกุลโสคัณธ์ หลวง พ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และอีกหลายพระคณาจารย์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเมืองอยุธยา ก็ยังเป็นศิษย์หลวงพ่อปั้น วัดพิกุลโสคัณธ์ ถ้า ท่านไม่โด่งดังจริงก็คงจะไม่มีรูปหล่อของหลวงพ่อปั้นถึง 3 วัด ใน 3 จังหวัดและถ้า ท่านได้ศึกษาประวัติของท่านตั้งแต่ต้น แต่ต้นจนจบ ก็คงสรุปได้เช่นเดียวกันว่า “ หลวงพ่อปั้นควรได้รับการยกย่องเป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคุณที่หายากยิ่ง”

    ชีวประวัติครั้งเยาว์วัย

    เมื่อครั้งท่านยังเป็นเด็ก เล่ากันว่า ... เด็กชายปั้นมีนิสัยเมตตา ไม่เบียดเบียนสัตว์ ชอบประพฤติปฏิบัติทางที่เป็นกุศล คือให้ความ ช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วยความเมตตา ไม่ชอบกินเนื้อสัตว์ ถ้าพ่อแม่จับปลาขังไว้กินก็เป็นอันว่า ต้องผิดหวัง คือจะเหลือแต่น้ำที่ปราศจากปลา เพราะเด็กชายปั้นจะนำปลาไปปล่อย เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเป็นที่โจษขานเลื่องลือไปทั่ว กระทั่งกล่าวขานกันว่า เด็กชายปั้นน่ากลัว จะมาเกิดเป็นชาติสุดท้าย จึงได้มีความเมตตา กรุณา และชอบธรรม มาตั้งแต่เป็นเด็กทั้งที่ไม่มีใคร สั่งสอน สมดังคำโบราณที่ว่า “หนามจะแหลมไม่ต้องมีใครเสี้ยมสอนมันก็แหลมของมันเอง” ครั้นพอโตขึ้น ก็ ชอบเข้าวัดฟังธรรม และใฝ่ใจอยู่ตลอดเวลาที่จะบรรพชา อุปสมบทฝ่ายบิดา มารดา แม้ว่าจะฐานะไม่ดีนักแต่ก็ตามใจบุตรจึงอนุญาตให้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาเมื่ออายุครบ 20 ปี ก็จัดอุปสมบทให้ตามประเพณีที่วัดพิกุลโสคัณธ์ จังหวัดพระนครสรีอยุธยา

    ประมาณพรรษาที่ 3 พระ ปั้นได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ยังความเป็นทุกข์ร้อนให้กับพ่อแม่ที่เป็นห่วง ครั้นใกล้ถึงพรรษาพระปั้นจึงเดินทางกลับวัดพิกุล ปรากฏว่าโยมบิดามารดา

    รู้สึกดีใจเป็นยิ่งนัก พระปั้นเป็นพระที่เคร่งในพระธรรมวินัย ลงอุโบสถสวดมนต์ไม่ขาดและแทบทุกปีจะต้อง ธุดงค์วัตรไปตามสถานที่ต่าง ๆ สุด แท้แต่ท่านปรารถนาจะไป

    ประมาณพรรษาที่ 5 ได้มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้น คือโยมบิดาพาพระปั้นไปวัดหน้าต่างนอก เมื่อถึงวัดหน้าต่างนอก หลวงปู่เฒ่าพระชราจึงถามดยมบิดาพระปั้นว่า มีธุระอะไรหรือโยมบิดาพระปั้นจึงบอกวัตถุประสงค์ว่า “อยากให้หลวงปู่เฒ่ารดน้ำมนต์ให้พระปั้นสักหน่อย เพราะดูแล้วพระปั้นจะผิดปกติ”พระปั้นท่านก็ไม่พูดอะไร หลวงปู่เฒ่าท่านเพ่งพินิจดูพระปั้นแล้วกล่าวทำนองว่า

    “ไม่เห็นมีอะไรผิดปกติ มาเสียเวลาเปล่า”แต่โยมบิดาพระปั้นก็พยายามอ้อนวอน ในที่สุด หลวงปู่เฒ่าทนอ้อนวอนไม่ไหวก็บอกว่า“เอ้า ! จะรดน้ำมนต์ก็จะทำให้”พอเสร็จพิธีแล้ว หลวงปู่เฒ่าก็กล่าวทำนองว่า“ไม่รู้ว่าผู้ถูกรดน้ำมนต์หรือผู้รดน้ำมนต์ จะสติไม่ดีแน่” แล้วชมพระปั้นว่า“เป็นพระมีวิชา และมีความกตัญญูดี”

    หลวงพ่อปั้นผจญภัยในป่าใหญ่

    ดังที่ไม่กล่าวมาแล้วพระปั้นท่านยึดธุดงค์วัตรทุกปี ดังนั้นเมื่อท่านมีพรรษามาก กิตติศัพท์ชื่อเสียงของหลวงพ่อจึงขจรขยายไปทั่ว ได้มีพระมาฝากตัวเป็นศิษย์ ขอร่วมธุดงค์ไปกับท่านทุกปี ครั้ง หนึ่ง พระปั้นพาพระธุดงค์ไปทางเหนือ แล้วจึงปักกลดท่ามกลางป่าดงพงไพรก่อนค่ำนั้น ได้มีชาวบ้านถือดอกไม้มานมัสการคณะพระธุดงค์ แล้วขอนิมนต์คณะพระธุดงค์ไปปักกลดใกล้หมู่บ้าน โดยบอกว่า “ ละแวกนั้นมีเสือดุร้ายมาชุมนุมและหาอาหาร อาจเป็นภัยอันตรายเหมือนพระธุดงค์บางองค์ซึ่งเคยเสียชีวิตไปแล้ว ” หลวงพ่อปั้นท่านก็ซักถามเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น แล้วกล่าวว่า “ พระธุดงค์เมื่อปักกลดแล้วจะถอนกลดนั้นไม่ได้ ” จากนั้นท่านก็เทศน์โปรดโยมที่มาบอกข่าว พร้อมกับบอกโยมทั้งหลายที่มาว่า

    “ ธรรมดาของชีวิต เมื่อเกิดก็ต้องมีตาย ไม่มีใครลุล่วงความไม่ตายไปได้การที่ท่าน ทั้งหลายแนะนำและปรารถนาดีก็เป็นบุญกุศลแล้ว ท่านทั้งหลายจงสบายใจได้ว่าหลวงพ่อและคณะพระธุดงค์ไม่ได้เบียดเบียนใคร สัตว์ อยู่อย่างสัตว์ เราต่างคนต่างอยู่ก็คงไม่มีภัยอันตรายแต่ประการใด และขอท่านที่มาไม่ต้องเป็นห่วงเพราะท่านอุทิศร่างกายเพื่อ ศาสนา อำนาจคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์คุ้มภัยได้แน่ ”

    เมื่อชาวบ้านกลับไปหมดแล้ว หลวงพ่อปั้นก็บอกพระธุดงค์ทุกองค์ว่า“ ไม่ต้องหวาดกลัวภัยอันตรายใดๆ ถ้าหวาดกลัวภัยขอให้มีสมาชิกจิตภาวนา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ”จาก นั้นท่านก็เข้ากลดทำวัตรสวดมนต์แผ่เมตตา แล้วเข้าฌาณสมาธิเหมือนเหตุการณ์ปกติครั้นเวลาประมาณ 5 ทุ่มเศษ ได้ยินเสียงเจ้าพยัคฆ์ร้ายส่งเสียงคำรามมาแต่ไกล ท่านก็นั่งนิ่งแผ่เมตตา ด้วยพลังจิตอันบริสุทธิ์ เจ้าพยัคฆ์ร้ายตัวนั้นมันยังคำรามและเข้ามา ป้วนเปี้ยนใกล้ๆ กลดพระธุดงค์ แต่พอใกล้กลดหลวงพ่อปั้นมันหยุดคำราม หมอบสงบนิ่งเหมือนผู้มาฝากตัวเป็นศิษย์ พอใกล้สว่างเสือร้ายก็จากไปบรรดา ชาวบ้านรีบมาดูพระธุดงค์ แต่เช้าว่ายังอยู่ครบหรือเปล่า เมื่อเห็นว่าอยู่ครบก็พากันกลับไปนำอาหารมาถวายพระ แล้วสอบถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    หลวงพ่อปั้นท่านก็เล่าให้ฟัง

    ชาว บ้านและแวกนั้นก็รู้สึกศรัทธาคณะพระธุดงค์เป็นอย่างมาก ครั้นรู้ว่าหลวงพ่อปั้นจะพาพระธุดงค์ออกเดินทางต่อก็รู้สึกเสียดายเป็นยิ่ง นัก

    สำหรับเหตุการณ์พิเศษที่ควรจะได้กล่าวไว้ก็คือ

    1.ครั้งหนึ่งหลวงพ่อปั้นออกบิณฑบาตกลางป่า ในขณะที่ พระธุดงค์องค์อื่นบิณฑบาตไม่ได้ข้าวและกลับข้าวเลย เพราะอยู่กลางป่าและไกลจากหมู่บ้านมาก จึงกลับที่ปักกลดสำหรับหลวงพ่อปั้นนั้น ท่านบิณฑบาตได้ข้าวและอาหารมาเต็มบาตรพอที่จะแบ่งให้ พระธุดงค์ได้ฉันประทังชีวิตไปได้ และนอกจากนั้นยังกลับถึงที่ปักกลดก่อนพระธุดงค์องค์อื่นอีกด้วยเหตุการณ์ ครั้งนั้นเป็นโจษขานเล่าลือกันว่า หลวงพ่อปั้นสำเร็จและบรรลุธรรมชั้นสูงแล้วจึงได้ มีเทวดา นางฟ้า เจ้าฟ้า เจ้าป่ามาตักบาตร หรือไม่ก็ช่วยย่นระยะทางที่ไปบิณฑบาตเป็นแน่ซึ่งเป็นที่สงสัย ของพระธุดงค์ด้วยกัน แต่ก็ไม่มีใครกล้าเรียนถาม

    2. หลวงพ่อปั้นสร้างวัดเนินกุ่ม เพราะ กตัญญูต่อพุทธศาสนา ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงพ่อปั้นธุดงค์ มาองค์เดียว ปักกลดในป่าแห่งหนึ่งมีชื่อว่า ป่าดงหมี ( เข้าใจว่าคงจะไม่ไกลจากหมู่บ้านเนินกุ่มมากนัก ) รอบๆที่ปักกลดของหลวงพ่อเต็มไปด้วยป่าดูวังเวงตก ดึกคืนนั้น ไม่รู้ว่าเหตุอันใดไฟป่าได้ลุกลามเข้ามารอบด้น เป็นผลทำให้ละแวกที่หลวงพ่อ ปักกลดอยู่ในเขตอันตราย ไฟเข้ามารอบทิศของกลด หลวงพ่อปั้นพระธุดงค์ผู้เรืองวิชากำลังจะหมดหวัง เพราะไม่ได้เรียนวิชาเรียกฝนดับไฟหลวง พ่อปั้นท่านเล่าให้ชาวบ้านในละแวกนั้นฟังว่า ท่านเองก็คิดว่าครั้งนี้คงจะต้องมรณภาพที่ป่าดงหมีเป็นแน่แล้ว ท่านก็สงบจิต นั่งสมาธิ และแล้วเมื่อจิตเข้าสมาธิท่านได้ยินเสียงลอยมาว่า “สุกโกปัญจะ” ท่านภาวนาเช่นนั้น ต่อมาท่านเห็นคาถาลอยมาว่า “พระโส นามะยักโข เมตะทันตะ ปะริวาสะโก อสุณีทะเต ชะยะมัง คะลานิ สุกโกปัญจะ อากาเสจะ พุทธิมังกะโร นะโม พุทธายะ” ท่านจึงกำหนดจิตว่าตามพระคาถาเหล่านั้นจนจบ 3 ครั้ง ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น ไฟป่ารอบ ๆ กลดดับหมดเมื่อ ท่านรอดชีวิตจากไฟป่าครั้งนั้น ต่อมาได้พบชาวบ้านเนินกุ่ม ครั้นสอบถามจึงรู้ว่าบ้านเนินกุ่มเป็นหมู่บ้านที่ใกล้จากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า มากที่สุดฝ่าย ชาวบ้านเนินกุ่มเมื่อพบหลวงพ่อก็เกิดศรัทธา จึง นิมนต์หลวงพ่อไปปักกลดละแวกหมู่บ้าน ซึ่งมีจำนวนไม่กี่หลังคาเรือน หลวงพ่อปั้นท่านรับนิมนต์ ต่อมาท่านได้สร้างวัดเนินกุ่มในปัจจุบันนี้นั้นเอง ตั้งอยู่ที่ตำบลเนินกุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ชาวบ้านเนินกุ่มเคารพศรัทธาหลวงพ่อมาก เพราะประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อดังเรื่องที่เล่าพอสังเขป ดังนี้

    1. หลวงพ่อปั้นบังตาได้

    ครั้งหนึ่งในอดีต เมื่อประมาณ 70 ปีมาแล้ว ปีนั้นเกิดอุทกภัย น้ำท่วมไร่นาเสียหายเป็นจำนวนมาก น้ำป่าท่วมมีสีแดง ชาวบ้านเนินกุ่มเรียกปีนั้นว่าปีน้ำแดง บรรดาสัตว์ป่าจะละทิ้งป่าไปอยู่ตาม ที่ดอนเพื่อเอาชีวิตรอด อาชีพใหม่ของชาวบ้านคือล่าเนื้อสัตว์เป็นอาหารและขายแทบจะทุกวัน หลวงพ่อปั้นท่านมีความเมตตาจึงพาพระลูกวัดขึ้นไปทางเหนือบ้านเนินกุ่ม แล้วท่านก็หยุดกลางทุ่งนา หันหน้าไปทางทิศตะวันออกยืนยกมือ ซึ่งทิศที่หลวงพ่อหันไปนั้นมีบรรดาสัตว์ต่างๆ ไปหลบภัยเป็นจำนวนมากเมื่อหลวงพ่อทำพิธีเสร็จกลับวัดเนินกุ่ม

    ฝ่าย ชาวบ้านที่นิยมลาสัตว์เป็นอาหาร ไม่ได้ฉงนใจ จึงออกล่าสัตว์ตามปกติก็ไม่พบสัตว์จึงนึก แปลกประหลาดใจว่า สัตว์จำนวนมากไม่รู้หายไหนหมด จึงต้องเลิกล่าสัตว์ทิศนั้นเปลี่ยนทิศไป ทางอื่นจึงได้สัตว์ฝ่าย หลวงพ่อปั้นท่านรู้เหตุ ท่านจึงออกช่วยสัตว์ในลักษณะเดิม ชาวบ้านจึงรู้ว่าหลวงพ่อปั้น ท่านศักดิ์สิทธิ์บังตาได้ จึงโจษขานเลื่องลือไปทั่วถึงความเมตตาของหลวงพ่อ

    2. หลวงพ่อปั้นมีวาจาศักดิ์สิทธิ์

    เมื่อ ครั้งหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ปรากฏว่า ชาวบ้านเนินกุ่ม เคารพศรัทธาหลวงพ่อมากถ้าหลวงพ่อจะก่อสร้างปูชนียสถานวัตถุสิ่งใดก็จะสำเร็จ ลุล่วงด้วยดีดัง นั้นวัดเนินกุ่มจึงมีถาวรวัตถุหลายอย่างเกิดขึ้น เช่น อุโบสถ หลังแรกของวัดเนินกุ่มเมื่อสร้างเสร็จแล้วทางวัดได้งานฉลองพระอุโบสถ พร้อมกับมีการจัดอาหารเลี้ยง ผู้มาช่วยงานและผู้มาเที่ยวงาน โดยมีป้าผันเป็นแม่ครัว หลวงพ่อปั้นท่านเป็นห่วงกลัวว่าอาหารจะไม่พอเลี้ยงผู้คน จึงมาสอบถามแม่ครัว ครั้นท่านเห็นว่าถ้วยชามจำนวนมากค่อย ๆ ล้างทีละใบมันช้าจะไม่ทันการ ท่านจึงบอกป้าผัน และคนล้างชามว่าให้ใส่ตะกร้าละหลาย ๆ ใบเขย่าในคลองจะได้เร็วขึ้น

    ป้าผันพูดว่า “ ถ้าทำตามหลวงพ่อว่า ถ้วยชามคงจะแตกหมด ”หลวงพ่อตอบว่า “ฉันรับรองไม่แตกจ้ะ ทำไปเถอะ”

    ป้าผันและคนล้างชามไม่อยากจะเชื่อ จึงลองไปทำดู ปรากฏว่าล้างชามได้รวดเร็วทันใจและไม่มีชามแตกแม้แต่ใบเดียว ดังนั้นจึงเชื่อว่าท่านมีวาจาศักดิ์สิทธิ์แทบ ทุกปีที่งานวัดเนินกุ่มมักมีเหตุการณ์ไม่สู้ดีเกิดขึ้น ดังเช่นนายโต นักเลงชื่อดังละแวกบ้านเนินกุ่มมักจะก่อเหตุรบกวนคนอื่นคืนหนึ่งมีคนมาบอก หลวงพ่อปั้นว่า นายโตมาดูลิเกที่วัด กลัวว่าจะมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นเพราะนายโตชอบออกลวดลายทางนักเลง

    หลวงพ่อท่านก็พูดว่า “เขาอยู่ตรงหน้าโรงลิเกไม่เกะกะใครแน่ ”ครั้น ลิเกเลิกแล้ว นายโตก็นั่งอยู่ตรงนั้นไม่ยอมกลับบ้าน ทำให้ผิดสังเกต ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ คนที่มาบอกครั้งแรกซึ่งเฝ้าสังเกตนายโตอยู่เห็นผิดปกติที่ลิเกเลิกตั้งนาน นายโตยังนั่งอยู่ทำไม จึงไป บอกหลวงพ่อท่านก็พูดว่า “เดี๋ยวนายโตก็กลับแล้ว” พอหลวงพ่อพูดจบนายโตก็ลุกจากหน้าโรงลิเกกลับบ้าน โดยเหตุการณ์ปกติผู้สร้างรูปหล่อหลวงพ่อปั้น คือ เจ๊กพงษ์ นางเขียว เพ็งผล สองสามีภรรยาซึ่ง แต่เดิมไม่ร่ำรวยอะไรมีอาชีพเลี้ยงหมูแล้วฆ่าขาย ต่อมาได้นำอาหารมาถวายหลวงพ่อปั้น หลวงพ่อมีความเมตตาจึงกล่าวว่า อยากรวยไหม สองสามีภรรยาจึงบอกว่า อยากรวย หลวงพ่อจึงบอกว่า “จะถือเป็นคำสัตย์ได้ไหมว่า ถ้าแนะนำแล้วจะต้องปฏิบัติตาม หากผิดสัญญาจะต้องมีอันเป็นไป ” สองสามีภรรยาตอบรับคำ หลวงพ่อว่าจะทำตามทุกอย่าง จากนั้นหลวงพ่อจึงบอกว่า “ ถ้าเลิกเลี้ยงหมู แล้วทำมาค้าขายอะไรก็จะ รวย แต่รวยแล้วอย่าโกงใคร ถ้าโกงหรือทำให้ใครได้รับทุกข์จะต้องมีอันเป็นไป อาทิ ตายไม่ดี ”และอีกเรื่องหนึ่งที่สองสามีภรรยาไม่ปฏิบัติตามสัจจะวาจาที่ให้ไว้กับหลวงพ่อภัยพิบัติจึงมาถึง ในบั้นปลาย เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อ บุตรสาวสองสามีภรรยาคู่นี้โตขึ้นพอจะมีคู่ครอง ปรากฏว่ามีหนุ่มที่มีฐานะดีมาชอบ แต่บุตรสาวไม่ชอบกลับไปชอบพระองค์หนึ่ง ชื่อ เปรื่อง ฐานะยากจนครั้นพระ เปรื่องลาสิกขาแล้ว พ่อแม่ฝ่ายหญิงกลัวว่าบุตรสาวจะได้กับทิดเปรื่องไม่สมกับฐานะ จึงวางแผนกำจัดคู่รักของบุตรสาว คือ ทิดเปรื่อง โดยตั้งข้อหาว่าทิดเปรื่องฆ่าคนในหมู่บ้าน ผลสุดท้ายทิดเปรื่องผู้บริสุทธิ์ต้องเข้าคุก ติดคุกอยู่นานถึง 11 ปีก่อนที่จะตายนับว่าสามีภรรยาคู่นี้กระทำผิด ฆ่าคนตายโดยไม่นึกถึงคำสัจจะที่ให้ไว้กับหลวงพ่อปั้นดังนั้นภัยร้ายได้มาถึง คือ สามีเป็นบ้าได้ลุยน้ำ ตายไปก่อนที่ฝ่ายภรรยาจะถูกลูกสาวยิงตายเพราะลูกสาวนั้นโรคประสาทกำเริบและ ตายอย่างน่าสมเพช

    3. หลวงพ่อปั้นมีจริยวัตรคล้ายกับสมเด็จพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังสี วัดระฆัง

    เช่น ชอบอนุเคราะห์ช่วยเหลือคนยากจนช่วยเหลือผู้ที่มีภัย และท่านได้สร้างปูชนียวัตถุตามสถานที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับท่าน เช่น การบูรณะวัดเนินกุ่ม การสร้างพระประธานด้วยปูนปั้นการสร้างพระนอนที่วัดพิกุล ฯลฯ ถึงคราวหน้าออกพรรษาชาวเนินกุ่มจะหาเรือแจว ขนาดลำใหญ่พากหน้า 5 พายหลัง 3 ไปรับหลวงพ่อ โดยมีหลวงพ่อ โดยมีตาแจ่มกับตาโต๊ะศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้พายเรือไปรับหลวงพ่อที่วัดพิกุล ปี นั้นหลวงพ่อท่านอาพาธ แต่ท่านก็มาวัดเนินกุ่ม ครั้นเลยวัดน้ำทางผ่านพระตีกลองเพล ปรากฏว่า หลวงพ่อท่านจำวัด ตาแจ่มกับตาโต๊ะลืมปลุก อีกครู่หนึ่งท่านก็ตื่นจึงถามว่า “ เพลหรือยัง ” ตาแจ่มกับตาโต๊ะตอบว่า “ เพลไป แล้วขอรับหลวงพ่อ” ท่านมองดูพระอาทิตย์แล้วกล่าวว่า “ เพลที่ใดพายเรือกลับไปที่จุดจุดเพลนั้น” เมื่อ ถึงจุดเพลนั้นแล้ว ตาแจ่มกับตาโต๊ะจึงถวายอาหารเพล ท่านฉันอาหารนิดหน่อยก็ให้พรในลักษณะเรื่องที่เล่าก็คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ ครั้งหนนึ่งของสมเด็จพุฒาจารย์ ( โต ) พรหมรังสีวัดระฆัง

    4. หลวงพ่อปั้นท่านรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า

    ครั้ง หนึ่งในสมัยของหลวงพ่อ ใน ปีนั้นเล่ากันว่าหลวงพ่อปั้นได้มาจำพรรษาที่ วัดเนินกุ่มในพรรษานั้นได้จัดงานพิเศษ และเป็นธรรมดาที่จะต้องมีผู้คนมาเที่ยวงาน เป็นจำนวนมากก่อน จะพลบค่ำ ท่านเรียกลูกศิษย์ของท่านมาประชุมเพื่อช่วยดูแลงานวัด พร้อมกันนั้นท่านก็สอนให้ศิษย์ของท่านอยู่ในความสงบไม่ต้องสู้รบปรบมือกับ ใครก็ปล่อยไม่ต้องทำการโต้ตอบท่าน ได้นำปูนแดงที่ปลูกเสกแล้วมากราบคอให้ศิษย์ของท่านทุกคน แล้วกำชับว่าไม่ต้องกลัวภัยใดๆ ใครจะทำอะไรก็ปล่อยเขา จากคำที่ท่านกล่าวไว้กับศิษย์ปรากฏว่าพวกโจรเขมร (ชาวบ้าน เรียกว่าโจรขมุ) ได้มาเที่ยวงานไนวัด และเกิดมีการทะเลาะวิวาทกับลูกศิษย์ของหลวงพ่อ พวกโจรชักปืนออกมายิงใส่ศิษย์ของหลวงพ่อ ปรากฏว่า มีแต่เสียงดัง “ แชะ แชะ” ทำให้พวกโจรตกใจกลัว จึงสั่งหมุนหนีเร็ว

    การที่ท่านอบรมและนำปูนแดงปลุกเสกมากรานคอให้กับศิษย์ก็เพราะว่าท่านรู้ว่าคืนนี้ต้อง

    มีเหตุการณ์เกิดขึ้นแน่ และท่านไม่อยากให้ศิษย์ของท่านบาปกรรมจึงขอศิษย์ไม่ให้ใช้กำลัง เว้นแต่ จะป้องกันตัวเมื่อภัยมาถึงตัวในระยะใกล้ ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้บรรดาศิษย์ของหลวงพ่อ และชาวบ้านเนินกุ่มต่างประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อปั้นกันถ้วน หน้า 5. รูปหล่อหลวงพ่อปั้นวัดเนินกุ่มศักดิ์สิทธิ์ มีเรื่องเล่ากันว่า รถขายยามาจอดขายยาโดยไม่บอกกล่าวกับหลวงพ่อในวัด ปรากฏว่าไฟฟ้าขัดข้องแก้อย่างไรก็ไม่ติดคนที่มารอดูหนังเก้อ เพราะ ช่างแก้ไฟฟ้าหมดปัญญา ต่อมามีศิษย์หลวงพ่อปั้นมาถามว่ามาตั้งโรงฉายหนังบอกกับท่าน จากนั้นจึงไปนมัสการรูปหล่อหลวงพ่อปั้นพร้อมขออนุญาตท่านปรากฎว่าไฟฟ้าที่ ขัดข้องก็สามารถแก้ไขได้โดยง่าย แทบไม่น่าเชื่อ คุณ ลุงนวล ชาวบ้านเนินกุ่มเล่าว่า เคยป่วยเป็นโรคท้องร่วงอย่างแรงเกือบหมดสติถึงกับคิดว่าครั้งนี้ต้องตายแน่ พอเคลิ้มหลับได้เกิดมีนิมิตถึงหลวงพ่อให้เอาน้ำมนต์มากินจึงจะหายป่วย นอก จากทั้งสองเรื่องนี้แล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆ อีกจำนวนมากที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของรูปหล่อของหลวงพ่อปั้น เช่น ชาวเนินกุ่มมาขอให้ท่านช่วยเหลือสิ่งใดในสิ่งที่ไม่ผิดกฏหมายก็มักสัมฤทธิ์ ผล ดังนั้น เรื่องหนัง ลิเก จึงมีผู้นำมาถวายแก้บนกันอยู่เป็นประจำ

    ที่มา: https://m.facebook.com/media/set/?set=a.195327877318443.1073741962.133036296880935&type=3
     
  3. neng13

    neng13 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2012
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +32
    ไม่ได้เข้ามาซะนานเลย วันนี้ขอมาโชว์วัตถุมงคลเหรียญรุ่นแรกและมาแนะนำเกจิท่านนึงที่น่าจับตา เพราะเนื่องจากผมเห็นอาจารย์ลิ้งกำลังจะเข้ามาสร้างพระให้ท่าน และยังได้เห็นเซียนสายหลวงปู่ศิลามากว้านซื้อตามเก็บวัตถุมงคลของหลวงปู่ไปเยอะมากช่วงนี้ราคาพระของหลวงปู่เลยเริ่มขยับขึ้นสูงแล้ว
    เกจิท่านนี้มีนามว่า

    พระครูโสภณวินัยวัฒน์ (หลวงปู่เวิน คุเณสโก) เจ้าคณะอำเภอยางตลาด (ธ) วัดบูรพาโคกเครือ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

    โอวาทธรรม หลวงปู่เวิน
    โลกนี้ไม่มีใคร คงอยู่ตลอดไป มาเพื่อให้รู้จัก จากไปเพื่อให้คิดถึง นี้แหละ อนิจจา
    บาตรรั่วเพราะสนิมกัดกร่อนฉันใด
    คนปล่อยให้กิเลสตัณหา
    ตั้งบ้านเรือนอยู่ในใจได้
    ก็ต้องทุกข์อยู่เช่นนั้นเหมือนกัน..”
    ชีวิตนี้ไม่มีใครที่ได้สมปรารถนาในทุกเรื่อง
    สิ่งสำคัญก็คือ ชื่นชมสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่
    อย่ามัวหมกมุ่นกับสิ่งที่หายไป

    วัดบูรพาโคกเครือ ยังมีสิ่งศักสิทธิ์ให้เหล่าสายบุญที่เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหารย์ของมหาเทพนาคาผู้ยิ่งใหญ่แห่งคำชะโนด วังบูรพานาคินทร์ องค์ท้าวเวสสุวรรณ และองค์ปู่ศรีสุทโธ-แม่ย่าศรีปทุมมา และนาคาธิบดี 9 พระองค์ และยังมีพระมหาธาตุเจดีย์ศรีบูรพา มีให้กราบไหว้สักการะบูชาขอพรอีกด้วย

    0000หลวงปู่เวินจารมือให้2.jpg รุ่นแรก 1.jpg รุ่นแรก 2.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2023
  4. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    A025DBB7-6DAB-495C-94AD-5B5BCC33C502.jpeg

    EB84D61E-F590-44CB-BC66-B5F6D5C5FD83.jpeg

    E90DD74B-0AC7-49C4-82F4-1A080D3E12A7.jpeg

    พระประธานในอุโบสถและวิหารน้อย วัดพิกุลโสคันธ์

    พระประธานในวิหารน้อย มีพระนามว่าหลวงพ่อหิน อาจจะแกะมาจากหินทรายอันเป็นที่นิยมในสมัยอยุธนา ปัจจุบันทางวัดได้ทำการบูรณะทั้งวิหารและองค์พระได้ทำการปิดทองงดงามาก
    วัดพิกุลโสคันธ์เป็นวัดขนาดใหญ่บรรยากาศเงียบสงบมากไม่ค่อยมีคนมามากนัก วัดอยู่ใกล้ๆกับวัดพระขาวของหลวงปู่ทิม
     
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    D8E427CC-4C0D-489D-9BD3-FF02FBEAB501.jpeg

    0802EB05-E23F-4919-A1D9-A4C96FBFA9DB.jpeg

    62E0DE07-E1B9-49C7-AB1E-6B749AACFB4C.jpeg

    548E995D-C054-47C3-992F-5A266C2037B0.jpeg

    9D07340A-99CD-44F3-9307-A9AA8FBA94E4.jpeg

    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

    “จาด จง คง อี๋” ชื่อนี้คือสี่สุดยอดพระเกจิยุคสงครามอินโดจีน

    หลวงพ่อจง พุทธสโร ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังของเมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งท่านมีชีวิต ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและพุทธบริษัททั้งหลาย โดยมิได้เลือกชนชั้นวรรณะ ใครขออะไรท่านปลดทุกข์คลายโศกให้ด้วยจิตที่มีเมตตา แม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่เหล่าลูกศิษย์และผู้เคารพศรัทธายังคงรำลึกถึงท่านเสมอมา และท่านยังเป็นพระสหธรรมมิกกับหลวงพ่อปานวัดบางนมโค รวมทั้ง หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน

    หลวงพ่อจง พุทธสโร มีนามเดิมว่า จง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ปีวอก พุทธศักราช 2415 ที่ตำบล หน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายยอด มารดาชื่อนางขลิบ มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน คือ 1.หลวงพ่อจง พุทธสโร 2.หลวงพ่อนิล ธมมโชติ 3.นางปริด สุนสโมสร เมื่อ อายุได้ 11 ขวบ ได้บวชเป็นสามเณร ที่วัดหน้าต่างใน จนอายุ 21 ปี ในปี 2435 จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างใน

    โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปชฌาย์ พระอาจารย์อินทร วัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พุทธสโร หลวง พ่อจงได้ศึกษาอักษรไทยและขอมกับพระอาจารย์โพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ผู้เป็นพระอนุสวนาจารย์ของท่าน ท่านอาจารย์โพธิ์องค์นี้เชี่ยวชาญชำนาญในพระเวทย์วิทยาคมยิ่งนัก อักทั้งยังเป็นสหธรรมมิกกับหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ

    ต่อมา ท่านฝากตัวเป็นศิษย์เรียนพระกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อปั้น วัดพิกุล และหลวงพ่อสุ่นวัดบางปลาหมอ จนเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้ชำนาญ ในปี 2450 ท่านได้ถูกแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เมื่อครั้งนั้น หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ หลวงพ่อปั้นวัดพิกุล และพระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน ซึ่งเป็นพระอาจารย์หลวงพ่อจงกำลังมีชื่อเสียงมากในขณะนั้น ภายหลังพระอาจารย์ทั้ง 3 ได้มรณะภาพลง จึงทำให้หลวงพ่อจงเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวพุทธในอยุธยา
    ในปี 2475 ถึง ปี 2483 สงครามอินโดจีนได้เกิดขึ้น ชื่อเสียงท่านได้เป็นที่รู้จักไปทั่วแผ่นดินสยามประเทศ เนื่องจากท่านได้สร้างวัตถุมงคล แจกจ่ายให้กับตำรวจ ทหาร ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในขณะนั้น รวมถึงประชาชนทั่วไป วัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้นนั้นประกอบด้วย เสื้อยันต์สีแดง ตะกรุดโทน ตะกรุดคู่ 12 ดอก ตะกรุดคู่ 24 ดอก และพระเครื่อง เหรียญปั๊มโลหะ ปี 2484 ปี 2485 เป็นต้น และท่านยังได้รับอาราธนานิมนต์ไปร่วมพิธิพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่างๆ ยังหลายสถานที่

    นอกจากนี้ยังมีเกร็ดตำนาน ที่ทำให้ชื่อเสียงของหลวงพ่อจง มีมากยิ่งขึ้น นั่นคือ เมื่อปี 2506 เมื่อ วัดประสาทบุญญาวาส จัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ปี 2506 แล้วทำการนิมนต์ เกจิอาจารย์ จากทั่วประเทศ จำนวน 234 รูป มาร่วมอธิษฐานจิต ปลุกเสก นั้น ในจำนวนนั้น มีการนิมนต์ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ แห่ง วัดธาตุน้อย นครศรีธรรมราช และ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พระนครศรีอยุธยา มาร่วมปลุกเสก ในพิธี อันศักดิ์สิทธิ์ ดังกล่าวด้วย

    ในสมัยก่อนนั้น การเดินทาง เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทำให้การมาร่วมพิธีในครั้งนั้น ทั้ง พ่อท่านคล้าย และ หลวงพ่อจง จึงเดินทางมาพัก ที่บ้านลูกศิษย์ ท่านหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ก่อนวันงาน และด้วยเป็นเวลาที่เป็นความเป็นมงคล ลูกศิษย์ท่านนั้น จึงได้ทำบุญบ้าน เพื่อความเป็น สิริมงคล กับ ครอบครัว และได้นิมนต์ ทั้ง พ่อท่านคล้าย และ หลวงพ่อจง ในพิธี และเมื่อการทำบุญเรียบร้อย ลูกศิษย์ท่านนั้น ได้เข้ากราบ พ่อท่านคล้าย พร้อมกับได้ขอ น้ำมนต์ กับท่าน พ่อท่านคล้าย จึงได้ให้ ลูกศิษย์ ท่านนั้น ไปเอาน้ำมา 1 แก้ว และ ขวดแก้วเปล่า 1 ใบ มาให้ท่าน

    จากนั้น พ่อท่านคล้าย จึงได้ทำการเสก น้ำมนต์ แล้วอมน้ำในปากของท่าน ก่อนจะพ่นลงในขวดใบนั้น ปรากฏว่า เมื่อพ่นน้ำเข้าในขวด จากน้ำ 1 แก้ว น้ำกลับเต็มขวดใบนั้นอย่างอัศจรรย์ เมื่อขอ น้ำมนต์ จาก พ่อท่านคล้าย แล้ว ลูกศิษย์เจ้าของบ้าน จึงได้ทำการขอ น้ำมนต์ จาก หลวงพ่อจง เช่นกัน แต่ความแตกต่างคือ หลวงพ่อจง เรียกหาขวดเปล่าหนึ่งใบเท่านั้น แต่ท่าน ไม่ได้เรียกหาน้ำ แต่อย่างใด

    เมื่อได้ขวดเปล่ามาแล้ว หลวงพ่อจง ท่านได้ทำการบริกรรมคาถาอยู่ช่วงครู่หนึ่ง จากนั้น ท่านเอามือไปจ่อที่ ปากขวดเปล่า แล้วชั่วอึดใจ น้ำ ค่อย ๆ ไหล จากมือ หลวงพ่อจง ออกมา เข้าไปในขวด จนเต็มพอดีกับขวดของ พ่อท่านคล้าย
    ว่ากันว่า พ่อท่านคล้าย เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตลอด ท่านจึงให้คนอุ้มพาท่าน เข้าไปกราบ หลวงพ่อจง พร้อมกับกล่าวว่า พระรูปนี้ คือ พระทองคำ
    เช้าตรู่ของวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ปี 2508 เวลา 01:55 น.หลวงพ่อจงได้ มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ณ กุฏิของท่านนั้นเอง สิริอายุได้ 92 ปี 10 เดือน 17 วัน พรรษา 72 พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา คือ วัตถุมงคลท่านเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี

    ที่มา: https://www.komchadluek.net/amulet/539975
     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    8A90599D-73F9-4704-A303-2D5D7B7D0291.jpeg

    519161CF-339B-4C3D-BBD9-E7019E95525F.jpeg

    9930017F-820D-40BA-8400-F06182982260.jpeg

    783C398E-91C6-4AF9-964D-B440FEE6C1AC.jpeg


    วิหารแก้ววัดหน้าต่างนอก

    ภายในประดิษฐานสมเด็จองค์ปฐมและรูปหล่อหลวงพ่อจง
     
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    5A0EC8A6-A5F8-4887-9F27-5A888B4A0301.jpeg

    D2CB1564-57F7-4435-8B0B-9B28FCA89C9A.jpeg

    9BFED31D-984E-44CB-8A36-8BB1FA1E8FA5.jpeg

    C07879DD-C158-471F-B9F8-F1CBC2579DC3.jpeg

    25EB9BFE-937A-4C39-A4D6-A0E2AB744148.jpeg

    หุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก สร้างได้งดงามมากเหมือนหลวงปู่มากๆ ราวกับหลวงปู่ยังอยู่และคอยเฝ้ามองผู้มากราบไหว้
     
  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    EC15421F-0380-47FC-8853-20B71F94C949.jpeg

    65B8CB26-36EF-4008-B602-F637F154DFBC.jpeg

    D6EF3226-DAE8-463E-A05E-35AEB8117D5C.jpeg

    8E470C83-4CBF-4C2F-9A63-0C8A3F7CE598.jpeg

    A35AA725-071F-4676-8783-7C75FD715516.jpeg

    AD8C09CD-7E54-4E16-A0B0-F78547E8D5F8.jpeg

    วัดหน้าต่างใน จ.อยุธยา

    วัดหน้าต่างในอยู่ตรงข้ามกับวัดหน้าต่างนอก เป็นวัดพี่วัดน้องกัน เดิมมีหลวงพ่อนิล น้องชายของหลวงพ่อจง เป็นเจ้าอาวาส เมื่อหลวงพ่อจงท่านได้มรณภาพลงหลวงพ่อนิลก็ได้นำสรีรสังขารหลวงพ่อจงมาทำการเผาที่วัดหน้าต่างในแห่งนี้
    ที่วัดแห่งนี้มีหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อจงปางมรณภาพบรรจุในโลงแก้ว รูปหล่อหลวงพ่อจงเจิมหน้าผาก และอัฐิธาตุหลวงพ่อจง หลวงพ่อนิล และหลวงพ่อยวง ให้กราบอธิษฐานขอพร

    3F32F81F-CC3B-4974-9C44-3EAF9070D58C.jpeg

    หีบเผาศพที่เก็บอัฐิของหลวงพ่อจงมาเป็นเวลานาน เนื่องจากหลวงพ่อนิล เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างในเมื่อปี พ.ศ. 2508 ผู้เป็นพระน้องชายของหลวงพ่อจง เกรงว่ามหาชนจะกรูกันเข้าแย่งสรีระของท่านที่เพิ่งจักถูกชาวบ้านขโมยหักนิ้วของท่านไปขณะเคลื่อนศพของท่าน จึงได้อัญเชิญสรีระของท่านเข้าไว้ในหีบ 2 ใบนี้ก่อนที่จะทำการฌาปนกิจ
     
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    59FDB4B6-44C1-4213-A8B5-856AE1E76D71.jpeg

    A7C1BA52-B957-4D05-889E-9996B1E85F50.jpeg

    9D2E9FB4-88B7-4BC6-B87B-57327D4E1F66.jpeg

    พระพุทธมหาจักรพรรดิ
    วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพฯ


    ยอดปรางค์วัดอรุณคือมงกุฎพระพุทธมหาจักรพรรดิ

    มีเรื่องเล่าขานถึงมงกุฎทรงของพระพุทธมหาจักรพรรดิ เฉพาะเครื่องศิราภรณ์ คือ มงกุฎของพระพุทธมหาจักรพรรดิ มีประวัติว่า องค์ที่สวมอยู่นี้เป็นชิ้นที่ 2 องค์แรกนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดให้สูงขึ้นจากเดิม

    พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สร้างขึ้นด้วยพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยมีพระราชดำริเห็นว่าพระปรางค์เดิมสูง 8 วานั้น ยังย่อมอยู่ กรุงรัตนโกสินทร์ได้ตั้งขึ้นเป็นราชธานี ยังไม่มีพระมหาธาตุ ควรเสริมสร้างให้ใหญ่เป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร แต่การยังไม่เสร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 จึงทรงดำเนินการต่อตามพระราชประสงค์ในรัชกาลก่อนเมื่อพระปรางค์เสร็จ เมื่อทรงยกนภศูลตามพระปรางค์แบบโบราณ ทรงโปรดฯ ให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานในวัดนางนองมาสวมต่อบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ดังนั้นมงกุฎองค์แรกของพระพุทธมหาจักรพรรดิ จงไปประดิษฐาน ที่ยอดพระปรางค์วัดอรุณฯ ที่เห็นที่วัดนางนองจึงเป็นชิ้นที่ 2 ด้วยประการฉะนี้

    เกี่ยวกับเรื่องให้ยืมมงกุฎพระประธานวัดนางนอง ไปสวมบนยอดนภศูลพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “ความทรงจำ” ตอนหนึ่งว่า “จะเป็นด้วยพระราชดำริอย่างไร จึงทำเช่นนั้นหาได้ตรัสให้ใครทราบไม่ และการที่เอามงกุฎขึ้น ต่อบนยอดนภศูล ก็ไม่เคยมีแบบอย่างที่ไหนมาก่อน”

    คนในสมัยนั้นจึงพากันสันนิษฐานว่า มีพระราชประสงค์จะให้คนทั้งหลายเห็นเป็นนิมิตว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ จะเป็นยอดของบ้านเมืองต่อไป

    กาลเวลานับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบูรณปฏิสังขรณ์นานกว่า 200 ปี สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมทั้งแท่นฐานชุกชี พระพุทธมหาจักรพรรดิได้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ทำให้องค์พระประธานเอนไปด้านหลัง จึงได้บูรณะซ่อมแซมเสริมความมั่นคง ตลอดทั้งพระอุโบสถด้วย

    พระพุทธมหาจักรพรรดิเดิมไม่มีพระนาม แต่ได้ถวายพระนามในภายหลัง ด้วยพิจารณาว่า พุทธลักษณะแสดงถึงพระพุทธมหาจักรพรรดิทางธรรม

    เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นพระพุทธมหาจักรพรรดิ จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถและหน้าต่างเป็นภาพเกี่ยวข้องกับพระจักรพรรดิราช ตามคติในพระพุทธศาสนาที่เล่าถึงท้าวมหาชมพู นอกจากนั้นลวดลายรดน้ำปิดทองประดับบนบานแผละทั้ง 4 คู่ ของประตูทั้ง 4 บาน รอบพระอุโบสถแสดงรูปแก้วทั้ง 7สมบัติเฉพาะของพระเจ้าจักรพรรดิ

    ที่มา: https://www.posttoday.com/dhamma/74299
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2023
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    4EF7D01B-FD41-4C73-9C10-1ADC284312DE.jpeg

    9210BFF3-3411-455D-A2AC-102DAFDBAF76.jpeg

    91F01C59-DE77-4840-9D52-22FEADD0E9DF.jpeg

    6CFFB279-032B-4D80-BE88-AE4E34F5338D.jpeg

    คติ “ชมพูบดีสูตร” และศิลปะ “พระจักรพรรดิ”
    ที่วัดนางนองวรวิหาร

    .
    .
    ถึงแม้ว่า คติ “พระจักรพรรดิราชา” (Chakravartirāja) จักรพรรดิผู้เป็นใหญ่เหนือเหล่าพระราชา จะส่งผลทำให้เกิดคติ “พุทธราชา” (Buddharāja) ในความหมายที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวาล ก่อกำเนิดเป็นงานศิลปะ “พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์มหาจักรพรรดิ” มาตั้งแต่ในช่วงราชวงศ์ปาละ ราวพุทธศตวรรษที่ 14-15
    .
    อีกทั้งลัทธิเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังได้สร้างคติ “พระจักรพรรดิราชา” ที่กษัตริย์สามารถเป็นพระพุทธจักรพรรดิราช ครองชมพูทวีปทั้ง 4 ในกัปป์ที่พระพุทธเจ้าศรีอาริยเมตไตรยยังไม่ได้ลงมาจุติได้ เพียงแต่กษัตริย์ที่ต้องการเป็นพระจักรพรรดินั้นจะต้องครอบครองแก้วจักรพรรดิ 7 ประการ จึงจะเป็นพระจักรพรรดิราชผู้ครอบครองชมพูทวีป ที่ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการพระราชสงครามเพื่อการขยายอาณาจักรทั้งของฝ่ายพุกาม หงสาวดี อังวะ กรุงศรีอยุธยา หลวงพระบาง เวียงจันทน์และละแวก มาตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ครับ
    .
    แต่กระนั้นคติ “ชมพูบดีสูตร” (Jambupati-sutra) เรื่องราวพุทธประวัตินอกนิบาตที่เล่าถึงเรื่อง พระพุทธเจ้าสมณโคตม (Samaná Gautama) กำราบพระเจ้าชมพูบดี ที่จะนำไปสู่การสร้างงานศิลปะพระพุทธรูปทรงเครื่องนั้น ก็ยังไม่ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนครับ
    .
    คติชมพูบดีสูตร อาจมีต้นรากฐานของเรื่องมาจากนิทาน “อวทานะ-อวทานศตก–ทิวยาวทาน” (Avadānas – Avadāna-śataka - Divyāvadāna) ของฝ่ายสรวาสติวาท (Sarvāstivāda) มาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 แต่ก็ได้มีการดัดแปลงเนื้อความขึ้นใหม่ตามฝ่ายเถรวาท-รามัญนิกาย ที่เกิดขึ้นในเขตรามัญ-พม่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 – 20 และเพิ่งปรากฏรูปงานศิลปะที่ชัดเจนในเขตล้านนา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 เท่านั้นครับ
    .
    *** ดังนั้นศิลปะพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์-จักรพรรดิ ก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 ทั้งหมด จึงถูกสร้างขึ้นมาจากคติ “พระโพธิสัตว์ไมเตรยะ” (Bodhisattva Maitreya) ของฝ่ายมหายาน (Mahāyāna Buddhism)พระมหาไวโรจนะ อาทิพุทธะ-วัชรสัตว์พุทธะ(Mahāvairocana Ādi Buddha-พระพุทธเจ้าพระองค์แรก ที่ให้กำเนิดพระฌานิพุทธเจ้าอีก 5 พระองค์) ของฝ่ายวัชรยาน (Vajrayāna -Tantric Buddhism) และพระศรีอริยเมตไตรยอนาคตพุทธเจ้า (Phra Sri Ariya Metteyyaของฝ่ายสถวีรวาท-เถรวาท (Sthāvirīya -Theravāda) ยังไม่ได้มาจากคติชมพูบดีสูตรแต่อย่างใด
    .
    รูปศิลปะพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ที่เกิดจากคติชมพูบดีสูตรในกรุงศรีอยุธยา จึงเพิ่งเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ที่ปรากฏหลักฐานเป็นคัมภีร์ชมพูบดีสูตร อักษรขอมภาษาบาลี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และหนังสือชมพูบดีวัตถุ ที่ส่งไปถวายแก่พระเจ้าเกียรติศิริกษัตริย์ลังกา ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครับ
    .
    ในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ราชสำนักกษัตริย์อยุธยาได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากยุโรปและเปอร์เซีย ไม่มีความนิยมยกกษัตริย์ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิราชาหรืออนาคตพระพุทธเจ้าอย่างในยุคของพระเจ้าปราสาททอง แต่ได้มีการนำคติชมพูบดีสูตรมาสร้างเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องและงานจิตรกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องแสดงความศักดิ์สิทธิ์ในพระบารมีของกษัตริย์ผู้ทำนุบำรุงพระศาสนาในฐานะหน่อพุทธางกูรเท่านั้น
    .
    ------------------------------
    *** ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเก่าทั่วพระราชอาณาจักรมาตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาลในปี พ.ศ. 2370 โดยเฉพาะวัดนางนอง ในย่านคลองด่าน-บางนางนอง เขตนิวาสสถานเดิมของพระราชชนนี สมเด็จพระศรีสุลาลัย วัดเก่าสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาได้ถูกสถาปนาขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2376 และได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคเพื่อไปผูกพัทธสีมาในช่วงปี พ.ศ. 2385 ครับ
    .
    วัดนางนองเป็นเพียงวัดเดียวในประเทศไทยที่ใช้คติ “ชมพูบดีสูตร” ที่เริ่มความนิยมในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา มาใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะภายในพระอุโบสถทั้งหมด โดยวางรูปจิตรกรรมเฉพาะเรื่องราวชมพูบดีสูตรบนผนังทุกด้านสอดรับกับพระประธานที่เป็นพุทธเจ้านิรมิตเป็นพระจักรพรรดิ (พระพุทธมหาจักรพรรดิ) มีการจัดวางรูปประธานในภาพจิตรกรรมฝาผนังสกัดด้านหลังองค์พระประธาน ที่เป็นตอนพระพุทธเจ้านิรมิตองค์เป็นพระเจ้าราชาธิราช-พระเจ้าจักรพรรดิ ประทับกลางมหาปราสาท (พระเวฬุวันมหาวิหาร) ให้พระเจ้าชมพูบดีเข้าเฝ้า จัดวางตำแหน่งขององค์พระประธานทรงเครื่องไว้หน้ารูป นฤมิตศิลป์ราวกับว่าเป็นประธานในภาพเขียนจิตรกรรมด้านหลังด้วยเสียเอง
    .
    พระพุทธรูปสำริดปิดทอง ประธานในพระอุโบสถวัดนางนอง ไม่ได้ถูกหล่อเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง แต่เป็นพระพุทธรูปที่ถูกหล่อขึ้นแบบพุทธรูปปางมารวิชัยทั่วไป ประดับด้วยเครื่องทรงจักรพรรดิ ที่สามารถถอดออก แยกเป็นชิ้นจากองค์พระได้ มาสวมทับพระพุทธรูปปางมารวิชัยเอาไว้ครับ
    .
    ----------------------------
    *** รัชกาลที่ 3 ทรงเลือกเรื่องราวในชมพูบดีสูตร (ในภาพจิตรกรรม) ที่อธิบายความหมายของพระพุทธเจ้าในความเป็นพระจักรพรรดิ (ผู้มีอำนาจสูงสุด) มาเป็นเพียงสัญลักษณ์หนึ่งของพระองค์ ที่เป็นประดุจพระพุทธจักรพรรดิแห่งอาณาจักรที่วัดนางนอง ด้วยเพราะเป็นนิวาสสถานเดิมของพระราชชนนี มิได้เป็นงานศิลปะและคติ “พระราชนิยม” ของรัชกาลที่ 3 มาก่อนหน้าตั้งแต่ช่วงแรกของการครองราชย์แต่อย่างใด จึงไม่ปรากฏว่ามีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องที่มีภาพจิตรกรรมในเรื่องชมพูบดีพร้อมกันในที่อื่น ๆ หรือในยุคสมัยอื่น ๆ จะมีอยู่เฉพาะที่วัดนางนองเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น
    .
    --------------------------
    *** ภาพจิตกรรรมเรื่องชมพูสูตร ในอุโบสถวัดนางนอง วาดอยู่บนผนังแปเหนือหน้าต่าง มีทั้งหมด 19 ตอน เริ่มเรื่องจากผนังสกัดฝั่งตะวันตกตรงข้ามกับพระประธาน เป็นตอนพระเจ้าชมพูบดีทรงรับอาวุธวิเศษฉลองพระบาทแก้วมณีโชติ พระเจ้าชมพูบดีส่งวิษศร (อาวุธวิเศษอย่างที่ 2 ) ไปร้อยพระกรรณพระเจ้าพิมพิสารเพี่อให้ยอมศิโรราบ พระเจ้าชมพูบดีทอดพระเนตรวิษศร พระอินทร์เป็นราชทูตมาเชิญพระเจ้าชมพูบดีไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าชมพูบดีแพ้จักรพระอินทร์ผู้เป็นราชทูต ขุนนางพระเจ้าชมพูบดีมาเข้าเฝ้าพระนางกาญจนเทวี
    .
    เวียนทักษิณาวัตรมาทางผนังแปทิศใต้ เป็นตอนพระเจ้าชมพูบดีทำลายยอดปราสาทพระเจ้าพิมพิสาร วิษศรคุกคามพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวนาราม จักรพระอินทร์ขับไล่วิษศร พญาครุฑขับไล่พญานาคแปลง พระเจ้าชมพูบดีเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ มาฆะสามเณรนิมิตร่างให้ใหญ่โตหยุดช้างทรงพระเจ้าชมพูบดี พระเจ้าชมพูบดีชมเมืองนิรมิตของพระเจ้าจักรพรรดิ
    .
    ผนังสกัดทิศตะวันออกหลังองค์พระประธาน เป็นภาพพระเจ้าชมพูบดีเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่มหาปราสาทนิรมิต (พระเวฬุวันมหาวิหาร) พระเจ้าจักรพรรดิประทับอยู่ท่ามกลางเสนาอำมาตย์ (พระสงฆ์) ข้าราชบริพารนางใน (เทวดานางฟ้า)
    .
    ผนังแปทิศเหนือ เป็นช่วงตอนสุดท้าย เริ่มจาก พระพุทธเจ้าแสดงนรกสวรรค์ให้พระเจ้าชมพูบดีทอดพระเนตร
    พระเจ้าชมพูบดีจิตผ่องใส เกิดความศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาทูลขอบรรพชา พระนางกาญจนเทวี ผู้เป็นพระมเหสีเสด็จมาเฝ้าพระเจ้าชมพูบดีเถระ และพระนางกาญจนเทวีเสด็จไปยังเวฬุวนาราม
    .
    .
    วรณัย พงศาชลากร
    EJeab Academy
    เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
    .
    .
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    A0430FDF-16F4-484C-84A3-D211DA6A939A.jpeg

    5BF9209B-E60A-48B4-8364-49BABCD7AE0E.jpeg

    D3998607-2616-457E-9F90-CB198B4A7D54.jpeg

    13849CCA-8F3E-4268-87A6-B8C7F8B40D65.jpeg

    ๑๐๐ ปี มรณกาล บรมครูใหญ่แห่งไสยเวทย์วิทยาคม ๒๔๖๖-๒๕๖๖

    ๒๓ ธันวาคม ครบรอบวันละสังขาร ปีที่ ๑๐๐
    หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า


    สุดยอดพระเกจิจอมขมังเวทย์แห่งสยามประเทศ ผู้สามารถเสกคนเป็นจระเข้ เสกหัวปลีเป็นกระต่าย เสกใบมะขามเป็นต่อแตน จุดเทียนระเบิดน้ำลงไปจารตะกรุด และอีกสาระพัดเรื่องเล่า อย่างอยากจะหาพระเกจิรูปใดเสมอเหมือน
     
  12. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    คำอธิษฐานปีใหม่
    โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง


    ผู้ถาม : ที่หลวงพ่อบอกว่า ให้นั่งหน้าพระพุทธรูปแล้วอธิษฐานว่า ความรวยจงปรากฏ มันเป็นอย่างไรครับ ?

    หลวงพ่อ : ล้อ " เจ้าขวัญ " มันว่า ถ้าอยากรวยก็เอาแบบนี้ซิ ๕ ทุ่ม ๔๕ นาทีใกล้ๆจะ ๖ ทุ่มใช่ไหมเล่า ก็ไปนั่งหน้าพระพุทธรูป บูชาพระ นึกถึงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ เทวดา และพรหมทั้งหมด ครูบาอาจารย์ ผู้มีคุณทั้งหมด บูชาท่านขอลาภ

    'ขอให้ความซวยทั้งหมด ความยากจน จงไปกับปีเก่า
    แล้วความรวย ความดี ความโชคดี จงมากับปีใหม่ '

    หลังจากนั้นก็ ภาวนา คาถาเงินล้าน เรื่อยๆไป พอนาฬิกาตีเป๊ง..ขึ้นปีใหม่ " ขอให้ความซวย จงหายไปพร้อมกับปีเก่า ฉันต้องการความรวย จากปีใหม่ "

    ผู้ถาม : อ๋อ....หลวงพ่อพูดกับ ขวัญ เหรอ ?

    หลวงพ่อ : ใช่

    ผู้ถาม : แล้ว ลูกๆหลานๆ ที่ไม่ใช่ขวัญ จะได้ไหมครับ ?

    หลวงพ่อ : ก็มีขวัญนี่ ลองก้มหัวดู คนไหนไม่มีขวัญทำไม่ได้ ความจริงไม่ต้องรอดึกก็ได้ ถึงวัด ถึงบ้าน อาบน้ำ สวดมนต์ไหว้พระ ก็อธิษฐานก่อนนอนเลยก็ได้ ไม่ต้องรอถึงเวลานั้น

    คำอธิษฐานได้ผล

    ผู้ถาม : กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง เมื่อคืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๓๑ นี้ ลูกได้ทำตามคำแนะนำของหลวงพ่อที่อธิษฐานว่า " ความซวยจงหมดไป พร้อมกับปีเก่า และขอความร่ำรวย จงมาพร้อมกับปีใหม่ ๒๕๓๒ นี้ " ปรากฏว่าวันนี้การค้าของลูกคล่องตัว ลูกอยู่ในโอวาท (แหม..นี่แกคงจะดีใจว่า ลูกอยู่ในโอวาทนะ) หากลูกจะอธิษฐานอย่างนี้ทุกคืนๆ ไป จะผิดกฏที่เทวดาเขาสงเคราะห์อยู่ในเวลานี้หรือเปล่าเจ้าคะ ?

    หลวงพ่อ : ดีมาก ถ้าทำตามนั้นนะ จะดีมากเลย จะมีการทรงตัว เงินจะเหลือใช้ เอาทุกวันดีกว่า ไม่ใช่ทำวันเดียว

    ผู้ถาม : อ๋อ..ยิ่งว่าบ่อยๆ ยิ่งดีหรือครับ

    หลวงพ่อ : ใช่ ทำเป็นสมาธิแบบนั้น ก็ไม่ต้องใช้เวลาใกล้ ๒ ยาม เวลาไหนก็ได้ที่เราเห็นสมควร ที่ว่าใกล้ ๒ ยาม เพราะปีเก่าจะไป ปีใหม่จะมา เวลานี้เป็นเวลาของปีใหม่ ก็ใช้ได้ทุกเวลาตามที่ชอบใจ นั่นดีมากนะ ต่อไปจะรวยใหญ่ เมื่อทุกคนรวยใหญ่ ฉันก็สบายใจ สร้างวัดอีก ๑๐ วัด (หัวเราะ)

    ผู้ถาม : นี่ก็เป็นผลดีแก่แม่บ้านนะ มีผัวอยู่ในโอวาท เอ..ถ้าผู้ชายว่าบ้าง ลูกเมียจะอยู่ในโอวาท หรือเปล่าครับ ?

    หลวงพ่อ : เราอยู่ในโอวาทเขา เขาก็อยู่ในโอวาทเรา " วันทโก ปฏิวันทนัง " ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ " ปูชา ลภเตปูชัง " ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ ในเมื่อเราอยู่ในโอวาทเขา เขาก็อยู่ในโอวาทเรา

    ที่มา : (จากหลวงพ่อตอบปัญหา ธัมมวิโมกข์ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒)

    คาถาเงินล้าน
    (ตั้ง นะโม 3 จบ )

    สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม
    พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
    พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุเม (คาถาเงินแสน )
    มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุเม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
    มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
    พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา
    วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม (คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
    สัมปะติจฉามิ (คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
    เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ


    ( บูชา ๙ จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด)

    https://vt.tiktok.com/ZSNWJJWny/
     
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    F3F0A325-6AEE-4179-8A1B-40C2BBCE8FF6.jpeg


    รับชมภาพและเสียงพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี
    ได้ที่ลิงค่tiktok

    https://vt.tiktok.com/ZSNWLrHEg/
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    74CE6C7B-B81B-4DF8-AEB2-D75D7F2A1F5E.jpeg

    สทา พุทธชินราชา อภิปาเลตุมัง นะโมพุทธายะ

    สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
    สัพพะเคราะห์ตัวนอก สัพพะเคราะห์ตัวใน
    สัพพะเคราะห์ข้างขึ้น สัพพะเคราะห์ข้างแรม
    เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เหมือนน้ำดับไฟ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย
    สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

    ขอพุทธานุภาพแห่งองค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช อภิบาลรักษา ศรัทธาสาธุ ทุกๆ ท่าน ทุกรูปนาม ตลอดมงคลกาล ส่งท้ายปีเก่า - ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๖ ให้บังเกิด ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ พูนสุข ตลอดไป

    สทา โสตถี ภวันตุ เม
    ขอสรรพมงคล จงบังเกิดแก่ท่าน ในกาลทุกเมื่อ เทอญ

    สัพพะพุทธานุภาเวนะ

    ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง

    สัพพะธัมมานุภาเวนะ

    ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมทั้งปวง

    สัพพะสังฆานุภาเวนะ

    ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง

    พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง ติณณัง ระตะนานัง อานุภาเวนะ

    ด้วยอานุภาพแห่งระตะนะสาม คือ พุทธรตนะ ธรรมรตนะ สังฆรตนะ

    จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ

    ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พัน

    ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ ชินะสาวะกานุภาเวนะ

    ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฏก ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระชินเจ้า

    สัพเพ เต โรคา สัพเพเต ภะยา

    สรรพโรคทั้งหลายของท่าน สรรพภัยทั้งหลายของท่าน

    สัพเพ เต อันตะรายา สัพเพ เต อุปัททะวา

    สรรพอันตรายทั้งหลายของท่าน สรรพอุปัทวะทั้งหลายของท่าน

    สัพเพ เตทุนนิมิตตา สัพเพ เต อะวะมังคะลา

    สรรพนิมิตร้ายทั้งหลายของท่าน สรรพอวมงคลทั้งหลายของท่าน

    วินัสสันตุ อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก สิริวัฑฒะโก

    จงพินาศไป ความเจริญอายุ ความเจริญทรัพย์ ความเจริญสิริ

    ยะสะวัฑฒะโก พะละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก

    ความเจริญยศ ความเจริญกำลัง ความเจริญวรรณะ

    สุขะวัฑฒะโก โหตุ สัพพะทา ฯ

    ความเจริญสุข จงมี (แก่ท่าน) ในกาลทั้งปวง

    ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา

    ทุกข์โรคภัย แลเวรทั้งหลาย ความโศกศัตรูแลอุปัทวะทั้งหลาย

    อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ จะ เตชะสา

    ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นอเนก จงพินาศไปด้วยเดช

    ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิ ภาคยัง สุขัง พะลัง

    ความชำนะความสำเร็จทรัพย์ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง

    สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา

    สิริอายุแลวรรณะ โภคะความเจริญแลความเป็นผู้มียศ

    สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต ฯ

    แลอายุยืนร้อยปี แลความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่จงมีแก่ท่านในกาลทุกเมื่อเทอญ.

    Cr. คำอวยพรจากเพจวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ พิษณุโลก
     
  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    4884EACB-45AF-42AB-9266-93EA9EE68C56.jpeg
     
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    6DFCB2E6-E3A9-4E9B-8D7E-5756D1317A27.jpeg
     
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    44E7B9B2-4DBC-470D-B3BF-BA5890CC7F17.jpeg

    447ECC70-58A6-488B-85B2-314EA1850BE1.jpeg

    650DFDCC-DBB6-4288-8926-F0698ED4D92E.jpeg

    4C336A25-CC55-401C-A710-62FA316C32B6.jpeg

    02E0FFFB-92AF-492B-A791-49C66F8B4ECA.jpeg

    A2FF986C-CE31-43EC-8390-5F90881D7A04.jpeg

    ภายในพระอุโบสถ วัดนางนองวรวิหาร

    นอกจากจะมีพระประธานที่งดงามแล้ว องค์ประกอบต่างๆของพระอุโบสถก็มีความงดงามที่ไม่แพ้กัน เช่นภาพฮก ลก ซิ่ว ที่มีผู้นิยมมาขอพร บานประตูประดับมุก และโดยเฉพาะภาพเขียนสีใต้กระจก ที่หาชมได้ยากก็สามารถหาชมได้ที่นี่ ภาพเขียนสีใต้กระจกมีความเป็นมาเช่นไรเชิญรับฟัง....

    ***************************

    วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพฯ มีการอนุรักษ์ภาพเขียนกระจกสีและกรอบไม้แกะสลักยุคต้นรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3

    นายธนิตย์ แก้วนิยม ข้าราชการบำนาญ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการกล่าวว่า การอนุรักษ์โบราณวัตถุชุดนี้ ต้องมีความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งตนจะใช้ประสบการณ์ค่อนชีวิตทุ่มเทสุดฝีมือ เนื่องจากเป็นงานที่มีคุณค่ามาก ทุกขั้นตอนต้องทำอย่างประณีต กรอบภาพทั้งหมดมีจำนวน 14 กรอบ 1 กรอบมี 3 ภาพ แบ่งเป็นกรอบขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก ติดบนผนังเหนือกรอบประตูหน้าต่างในอุโบสถวนไปทางซ้าย อย่างไรก็ตาม บางภาพหายไปนานแล้ว บางกรอบถูกเปลี่ยน ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่ ซึ่งตนจะปรับให้กลับมาเหมือนของเดิม

    “การซ่อมต้องทำตามรูปแบบเดิม เริ่มแรกต้องบันทึกข้อมูลต่างๆก่อน เช่น ถ่ายภาพ วัดขนาด ทำความสะอาดโดยใช้น้ำลูกประคำดีควาย เพื่อถนอมเนื่อไม้ โดยไม่ใช้ใช้สารเคมีทั่วไป ตัวภาพเขียนขึ้นหลังกระจก มีมิติ หาดูได้ยากมาก เป็นภาพเกี่ยวกับเรื่องสามก๊ก และยังมีบางส่วนยังตีความไม่ออก บางชิ้นแตก ก็จะนำมาต่อเหมือนต่อจิ๊กซอว์ ส่วนตัวกรอบทำจากไม้สัก สลักลายกุญแจจีน ปิดทอง ลายมีความหมายในตัวเอง เช่น มังกร กระต่าย นกยูง ในส่วนกรอบรูปที่ผูพังก็จะสร้างขึ้นใหม่ในรูปแบบดั้งเดิม คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน” นายธนิตย์กล่าว

    3BF1C563-D44D-440C-9DFE-96A0FD851908.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2024
  18. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    12C544FF-6F70-44AB-BAC2-E773A84D588F.jpeg

    7084769B-3AB9-477C-AF90-7DA6F99217CB.jpeg

    1964A3A4-42A5-464D-A692-442FB904AAA9.jpeg

    C5F19790-8D5A-4E91-BA73-C44D345B9DBA.jpeg

    2585BFA5-F7B3-4D83-B1DB-9E935A83A422.jpeg

    วัดนางนองวรวิหาร เขตจอมทอง กรุงเทพ

    วัดที่ขึ้นชื่อลือนามในความสวยงามย่านฝั่งธนฯ วัดหนึ่ง คือวัดนางนองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมการก่อสร้างอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดดเด่นเห็นชัดเจน ด้านนอก และรอบๆ จะเห็นพระอุโบสถ และวิหาร เป็นต้น ที่มีการก่อสร้างไทยผสมจีน ส่วนภายในพระอุโบสถจะพบพระพุทธมหาจักรพรรดิ พระพุทธรูปทรงเครื่อง 1 ใน 3 องค์ที่มีในประเทศไทย ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เช่นกัน

    พระพุทธรูปองค์นี้กล่าวกันว่าสวยงามเป็นเลิศ เมื่อเทียบกับอีก 2 องค์ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดปทุมคงคา ย่านเซียงกง เขตสัมพันธวงศ์ และพระประธานในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระเทพสิทธิเวที (สำราญ) เจ้าอาวาสวัดนางนองรูปปัจจุบัน ก็ยืนยันถึงความเป็นเลิศดังกล่าว

    วัดกับคลอง

    วัดนางนองตั้งอยู่ริมคลองด่านฝั่งใต้ เยื้องกับวัดราชโอรสารามและวัดหนัง ที่อยู่อีกฝั่งคลอง แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร แต่ถ้าเป็นทางบกก็ตั้งอยู่ที่ถนนวุฒากาศ เขตจอมทอง

    สมัยก่อนการติดต่อคมนาคมไม่มีเส้นทางไหนดีกว่าแม่น้ำลำคลอง คลองด่านก็มีบทบาทดังกล่าว เป็นเส้นทางที่ใช้สัญจรของชาวกรุงเทพฯ ที่จะออกไปยังจังหวัดที่อยู่ชายทะเล ได้แก่ จ.สมุทรสาคร ถึง จ.เพชรบุรี และก็เช่นเดียวกัน

    เป็นเส้นทางที่ชาวประมงในจังหวัดชายทะเลนำสินค้าประมงมาค้าขาย ในขณะที่ชาวสวนย่านจอมทอง บางมด บางขุนเทียน ก็ใช้เส้นทางนี้เพื่อค้าขายหมาก พลู มะพร้าว พืชผัก ผลไม้ จากสวนจนกระทั่งเกิดตลาดน้ำขึ้นหลายแห่ง แต่ที่มีชื่อโด่งดังมาหลายสิบปีรู้จักเกือบทั่วโลก ได้แก่ ตลาดน้ำวัดไทร และเรือนแพ 2 ฟากฝั่งคลอง แต่ปัจจุบันตลาดที่ว่านั้นวายไปหมดแล้ว เมื่อเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนมาใช้ทางบกแทน สิ่งที่ไม่เปลี่ยนไปตามเส้นทางคมนาคม ได้แก่ วัดและถาวรวัตถุ 2 ฝั่งคลอง สิ่งเหล่านั้นยังยืนเด่นเป็นสง่าให้ชาวประชามากราบไหว้บูชา และหาความรู้ที่บรรพชนรังสรรค์เอาไว้ตลอดเวลา

    ส่วนคลองที่เคยมีความสำคัญในการคมนาคมในอดีต ปัจจุบันความสำคัญลดลง แต่ก็ยังได้รับการดูแลจากชุมชน ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะหน้าวัดเพราะเป็นเขตอภัยทาน เช่น ที่หน้าวัดราชโอรสาราม และวัดอัปสรสวรรค์ (วัดหมู) เป็นต้น เต็มไปด้วยปลาเล็กปลาใหญ่นานาชนิด

    คลองด่านที่มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ที่ใครก็ต้องผ่านในอดีตนั้น มี 2 ชื่อ ช่วงที่ต่อจากคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง เรียกว่า คลองด่าน ถึงปลายคลองออกแม่น้ำท่าจีน เรียกว่า คลองมหาชัย จึงมักเรียกรวมๆ กันว่าคลองด่าน คลองมหาชัย แม้กระทั่ง จ.สมุทรสาคร ยังเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหาชัย ตามชื่อคลองที่ผ่านไปออกแม่น้ำท่าจีน สมัยรัชกาลที่ 3 คลองนี้เคยตื้นเขิน พระองค์ท่านจึงโปรดฯ ให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) เป็นแม่กองจ้างจีนมาขุดลอกคลอง ตอนนั้นกุลีจีนได้พบไหบรรจุเงินมูลค่าถึง 30 ชั่ง (ประมาณ 2,400 บาท) ที่บางบอนแล้วเอามาแบ่งกัน

    วัดนางนองหากไปทางบกจะตั้งอยู่ที่ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในเขตจอมทอง ไม่ปรากฏหลักฐานของการสร้าง แต่สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ประมาณสมัยสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 (ขุนหลวงสรศักดิ์) ราวปี พ.ศ. 2245-2252

    ศิลปะจีน

    ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2375 ได้บูรณปฏิสังขรณ์ ทรงโปรดฯ ให้ทำเป็นงานใหญ่ รื้อของเก่า และปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม ดังปรากฏงานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในพระองค์ที่พระอุโบสถและพระวิหาร

    การทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางนองนั้น สืบเนื่องจากเป็นวัดในแขวงบางนางนอง ที่เคยเป็นนิวาสสถานของสมเด็จพระศรีสุลาลัยพระนามเดิม คือ เจ้าจอมมารดาเรียม พระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    พระอุโบสถและวิหารวัดนางนองจึงมีศิลปะแบบพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ผสมผสานศิลปะจีน หลังคาพระอุโบสถ ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันประดับลวดลายแบบจีน โดยเฉพาะวิหารเห็นชัดที่สุด รวมทั้งประตูกำแพงแก้วเข้าวิหารสร้างเป็น|รูปกลมตามแบบจีน หากแต่ปัจจุบันการถมพื้นที่ต่ำทำให้สัดส่วนประตูวงกลมที่เคยงามสะดุดตาเสียรูปไปอย่างน่าเสียดาย ลวดลายวิจิตรที่บานประตูพระอุโบสถเป็นศิลปะจีน 100%

    ที่มา: https://www.posttoday.com/dhamma/74299
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162
    791FDE9A-094F-498F-B729-491B9CF51444.jpeg

    FEE32BF3-CA6A-4A8D-9626-79D9C2305CCD.jpeg

    C0D11D08-A347-4542-8541-842AEAE6DE40.jpeg

    93947451-D48D-4057-ACD2-42366AE0231A.jpeg

    552709AE-07B8-41F4-BC55-0A7D80970002.jpeg

    วิหารคู่ วัดนางนองวรวิหาร
    เขตจอมทอง กรุงเทพ


    วิหารคู่วัดนางนองตั้งอยู่ขนาบเจดีย์พระประธาน

    พระวิหารด้านเหนือ
    เป็นสถาปัตยกรรมที่ไดัรับอิทธิพลมาจากจีนพระวิหารด้านขวา หรือวิหารหลังทิศเหนือ เรียกกันว่า"วิหารหลวงพ่อผุด" มีกำแพงแก้วล้อม ซุ้มประตูเป็นประตูโค้ง สมัยเมื่อเจ้าอาวาสองค์ที่ 4 วัดนางนองวรวิหารมีสภาพชำรุดทรุดโทรม เฉพาะวิหารคู่ด้านเหนือ และใต้นั้น ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยของพระราชรัตนโสภณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันทั้งหมดได้มีการสันนิษฐานว่า พระวิหารหลังนี้น่าจะเป็นพระอุโบสถหลังเดิม ก่อนการบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ 3 พระประธานอุโบสถเดิมคือ องค์หลัง ชาวบ้านยุคหลังเรียกว่า "หลวงพ่อผาด" เพื่อคล้องกับหลวงพ่อผุด ส่วนหลวงพ่อผุด เป็นพระพุทธรูปหินทรายจมดินอยู่ เล่ากันว่า สายฟ้าลงบริเวณที่จม ดินจึงเกิดรอยแยกออก จึงมองเห็นพระพุทธรูปชาวบ้านจึงเรียกนามท่านว่าหลวงพ่อผุด ประดิษฐานอยู่หน้าหลวงพ่อผาด พระประธานองค์เดิม ลักษณะเป็นหินทรายลงรักปิดทอง

    พระวิหารด้านใต้หรือศาลาการเปรียญ
    พระวิหารด้านซ้าย หรือวิหารหลังทิศใต้ ประโยชน์ใช้สอยคือเป็นสถานที่เล่าเรียนของพระภิกษุสงฆ์ สมัยโบราณเรียกว่า ศาลาการเปรียญ ปัจจุบันอาคารหลังนี้ยังคงเป็นสถานที่เล่าเรียนของพระภิกษุในวัด จึงเรียกว่า ศาลาการเปรียญ ขนาดอาคารไล่เลี่ยกับวิหารหลวงพ่อผุด หน้าบันเป็นศิลปะจีนลายมังกรล่อแก้ว ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ และเก็บรักษาพระพุทธรูปยืนอีกจำนวนไม่น้อยพระวิหาร ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว
     
  20. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    447
    ค่าพลัง:
    +1,162

แชร์หน้านี้

Loading...