สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    เห็นกายในกายต่างๆ ปรากฏขึ้นมา แล้วเมื่อไรจึงจะพิจารณาสภาวธรรมได้ ?
    เมื่อกระผมทำภาวนา ความตั้งใจของกระผมเกือบทั้งหมดจะจับอยู่ที่ดวงกลมใส และกายในกายต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นมา แล้วเมื่อไรกระผมจึงจะมีโอกาสพิจารณาสภาวธรรม และเมื่อไรกระผมจึงจะสามารถพัฒนาปัญญาที่สำคัญทั้งหมดได้ ?

    ตอบ:

    เวลาใดที่ใจเป็นอิสระจากกิเลสนิวรณ์ ท่านก็สามารถจะดำเนินการพิจารณาสภาวธรรมได้เสมอ ตัวอย่างเช่น ท่านเห็นดวงกลมใส ท่านก็สามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นได้ตามปรารถนา ซึ่งเมื่อนั้นหมายความว่า ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ของท่านจะ ขยายใหญ่ขึ้นด้วย ให้ทำเช่นนั้นไปจนกระทั่งใหญ่ประมาณขนาดเท่าร่างกายทั้งหมดของท่าน

    ในสภาวะนั้นทิพจักษุก็จะเกิดและเจริญขึ้น ให้ท่านสามารถพิจารณาเห็นทุกส่วนต่างๆ ของร่างกายของท่านพร้อมๆ กันได้ หรืออาจจะพูดได้ว่า ท่านไม่ต้องเลื่อนการเห็นจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง ต่อๆ ไป เพื่อให้เห็นทั่วร่างกาย แต่ท่านจะเห็นได้โดยรอบเลยทีเดียว

    บัดนี้ท่านก็จะสามารถพิจารณาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายของท่าน ให้เห็นตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ว่า ไม่มีแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่น่ารักใคร่เลย แท้จริงแล้วอวัยวะทุกส่วน ล้วนแต่เป็นของไม่สะอาด นี้เป็นวิธีพิจารณากายคตาสติที่มีประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้จิตใจของท่านสงบจากกามตัณหา ดังที่อาตมาจะขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง

    เมื่อครั้งที่อาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ วันหนึ่งอาตมานั่งรถสองแถวกลับบ้าน อาตมาโชคดีที่ได้ที่นั่ง รถแน่นมากจนต้องยืนเบียดกัน มีสาวรุ่นคนหนึ่งยืนข้างหน้าของอาตมา หันหน้าเข้าหาอาตมาเสียด้วย หน้าอกของเธอสัมผัสที่หน้าอาตมาหลายครั้งเมื่อรถโคลงไปมา อาตมาทำภาวนาตลอดเวลา ตั้งใจดูในสมาธิว่าเธอเป็นอย่างไร ระหว่างการเดินทางนั้น ในสมาธิ อาตมาเห็นทุกส่วนของร่างกายเธอที่ต้องการจะดู ขณะนั้นอาตมาตระหนักว่า แท้จริงแล้ว ทุกส่วนของร่างกายนั้นสกปรกมาก พอดีเห็นเธอกำลังมีประจำเดือนอยู่ และขณะนั้นอาตมาก็รับรู้สัมผัสได้ด้วยใจ ถึงกลิ่นที่ค่อนข้างน่ารังเกียจนั้นด้วย

    นั้นเป็นการพิจารณากายคตาสติ และอาตมาก็ได้ใช้วิธีการนั้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทั้งในการพิจารณาสังขารร่างกายของตนเอง และของผู้อื่นช่วยให้อาตมาสามารถประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับภรรยาของอาตมาได้ดีเป็นเวลา 10 ปีก่อนที่จะบวช

    เมื่อท่านมีความรู้สึกทางเพศควรกำหนดใจทันที ใช้ปัญญาของท่านเริ่มพิจารณากายคตาสติทันที จะช่วยให้สามารถกำจัดนิวรณ์ได้ แล้วจงชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์ โดยวิธีดับหยาบไปหาละเอียดให้มากขึ้นๆ เมื่อท่านถึงจุดที่ใจบริสุทธิ์ผ่องใสที่สุด สงบที่สุด กามตัณหาของท่านจะสงบลง โดยการพิจารณาเห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายตามที่เป็นจริง ว่าน่ารังเกียจ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจึงควรพิจารณากายคตาสตินี้ตลอดเวลา.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    yq-_nc_ohc-ogiu7wiydq4aqlbzgbbstt-nbrpbfswxbmc86jlalbyjxfgnkhqkkf-ng-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg


    #ภารสุตฺตกถา

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธาภาราหาโร จ ปุคฺคโลภาราทานํ ทุกฺขํ โลเกภารานิกฺเขปนํ สุขํนิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํอญฺญํ ภารํ อนาทิยสมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหนิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าว ปรารภซึ่งพระพุทธพจน์ แสดงในเรื่องภาระของสัตว์โลก สัตว์โลกทุกข์ยากในเรื่องภาระ ทั้งหลายเหล่านี้นัก จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี และคลี่ความเป็นสยามภาษา ตาม อัตโนมตยาธิบาย เพราะว่า เราท่านทั้งหลาย หญิงชาย คฤหัสถ์บรรพชิต ล้วนแต่ต้องมี ภารกิจหนักอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนลำเค็ญอยู่ต่างๆ ก็เพราะอาศัย ภาระเหล่านี้ ภาระเหล่านี้เป็นของสำคัญ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเห็นภาระอันใหญ่ยิ่ง ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงภารสูตรว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระหนักแท้ เป็นภาระโดยแท้ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล ก็บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถือภาระ ไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ วางภาระเสียเป็นสุขนิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ บุคคล วางภาระอันหนักแล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ฉวยเอาภาระอื่นมาเป็นภาระอีก สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ถอนตัณหาทั้งรากเสียได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่า นิพพานได้ ดังนี้ นี่ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ขยายความในเรื่องภาระหนักของสัตว์โลก หญิงชายคฤหัสถ์ บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์นี้ ที่มนุษย์อาศัยเรียกว่าขันธ์ 5 นี้แหละ จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องอาศัยขันธ์ 5อาศัยรูป คือ ร่างกาย อาศัยเวทนา คือความสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ อาศัยสัญญา คือ ความจำ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ อาศัยสังขาร คือ ความปรารถนาดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว อาศัยวิญญาณ คือ ความรู้แจ้งขันธ์ทั้ง 5 นี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ เป็นภาระอย่างไร เราต้องพิทักษ์รักษาเอาใจใส่ หยุดก็ไม่ได้ เวลาเช้า ตื่นจากที่นอนแล้วเราต้องล้างหน้าบ้วนปากให้มัน ไม่เช่นนั้นมันเหม็น ปวดอุจจาระปัสสาวะ ต้องไปถ่าย พอเสร็จแล้วมันจะรับประทานอาหาร ต้องไปหามาให้ ต้องการอะไร เป็นต้องไป เอามาให้ เมื่อไม่เอามาให้ ไม่ได้ อยากอะไรก็ต้องไปหามา ไม่ใช่แต่เท่านั้น ไม่ว่าอยากอะไร ต้องไปหาให้มัน ถ้าไม่มาให้ มันไม่ยอม นี่เป็นภาระอย่างนี้ เราต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างใน อัตภาพร่างกายนี้เป็นภาระทั้งนั้น มันอยากจะเห็นอะไร ต้องหาให้มัน ไม่สบายต้องแก้ไข ไปอีก ต้องนำภาระไปอย่างนี้ มันบอกว่าที่นี่อยู่ไม่สบาย ต้องหาที่อยู่ให้มัน มันจะอยู่ ตรงนั้นตรงนี้ตามเรื่องของมัน ต้องเป็นภาระทุกสิ่งทุกอย่างไปนี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ อย่างนี้ ยุ่งกับลูกหญิงลูกชายซึ่งเป็นภาระของพ่อแม่ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาก็เป็น ภาระของสมภาร ในบ้านในช่องทั้งครอบครัวเป็นภาระของพ่อบ้านแม่บ้าน ราษฎรทั้ง ประเทศเป็นภาระของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศ ข้าวของแพงเหล่านี้ก็เป็นภาระ ของผู้ปกครองประเทศ

    ภาระทั้งหลายเหล่านี้ไม่อัศจรรย์เท่าภาระของขันธ์ 5 นี้ ลำพังขันธ์ 5 นี้ จำเพาะตัว ของมันก็ยังไม่สู้กระไรนัก ผู้ใดไม่พอก็หาภาระเพิ่มอีก 5 ขันธ์ เป็น 10 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 20 ขันธ์ เป็น 25, 30, 35, 40 หนักเข้า ถึงร้อยพันขันธ์ ที่ทนไม่ไหว เพราะเหตุว่าภาระเหล่านี้มันหนัก ไม่ใช่ของเบา เมื่อมีภาระ เหล่านี้จะเป็นภาระ 5 ขันธ์ก็ดี ภาระอื่นจาก 5 ขันธ์ก็ดี ภาระเหล่านี้แหละ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลถือภาระนี้ไว้กี่ขันธ์ก็ช่าง บุคคลนำภาระนี้ไป บุคคลต้องนำทุกข์ของตัวไป เพราะมีขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถ้าว่าไปถือภาระ นี้ไว้ ตำรากล่าวว่าเป็นทุกข์ในโลก ถึงจะหมดขันธ์ 5 ก็อย่าถือมัน วางธุระเสีย ถ้าไปถือมัน ก็เป็นทุกข์ในโลก แปลว่า ถ้าถือภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ ปล่อยวางภาระ เสีย ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้เป็นทุกข์ ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้ เป็นทุกข์ ปล่อยเป็นสุข นิกฺขิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห แม้ปล่อยภาระที่หนักเสียแล้ว ไม่ฉวยเอาภาระของคนอื่นเข้ามา ปล่อยขันธ์ 5 นี่ ไปเอา ขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไปเอาขันธ์ 5 นี่ ไปเอาขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไป เอาขันธ์ 5 โน่น นี่เรียกว่าไปเอาภาระอื่นเข้ามาถือไว้อีก ถ้าปล่อยเสียแล้วไม่ถือไว้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้สิ้นเชื้อทีเดียว นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่านิพพานได้ ดังนี้เราจะได้รับความสุข ก็เพราะปล่อยภาระเหล่านี้เสีย เราได้รับความ ทุกข์ก็เพราะถือภาระเหล่านี้ การที่ปล่อยไม่ใช่ของง่าย การที่ถือง่าย การปล่อยยากเหมือน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตัวนี้ ท่านก็เทศน์กันนักกันหนาว่าเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เราก็ไม่ยอมดีๆ เราก็เชื่อว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว แต่อย่างนั้นเราก็ต้องบริหารรักษา ของเรา ที่เราจะยอมลงความเห็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเหตุว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตลอดวิญญาณทั้ง 5 อย่างนี้เราต้องอาศัยทุกคน สัญญา สังขาร วิญญาณออกเสีย เราก็ ไม่มีที่อาศัย เราต้องอาศัยแต่ว่าอย่าไปถือมัน รู้ว่าอาศัยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เป็นไปตามสภาพอย่างไร เราไม่ควรยึดถือ ปล่อยตามสภาพของมันอย่างนี้ ทุกข์ก็น้อยลง ต่อเมื่อไรถือมัน มันก็เป็นทุกข์มาก เป็นภาระหนักขึ้น

    เหตุนี้พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อย วางขันธ์ 5 ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติ หมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ 5 ออกเป็น ชั้นๆ ไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ 5 จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกัน ไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ 5 ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ 5 เราจะเห็นขันธ์ 5 เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเรา เห็นได้ เวทนาเราก็เห็น หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง 5 อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง 5 อย่าง ละวางไม่ได้

    ถ้าอยากเห็นขันธ์ 5 เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยาก หมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธี เขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตใจให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออก ไปแล้วจึงเห็นขันธ์ ถอดขันธ์ 5 ของมนุษย์ออกจากขันธ์ 5 ของทิพย์ ถอดขันธ์ 5 ของ ทิพย์ออกจากขันธ์ 5 ของรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของรูปพรหมออกจากขันธ์ 5 ของ อรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของอรูปพรหมออกจากธรรมกาย เหมือนถอดเสื้อกางเกงอย่างนั้น แต่ว่าต้องถอดเป็น ถอดไม่เป็นก็ถอดไม่ได้

    วิธีถอดมี ต้องทำใจของตัวให้หยุดให้นิ่ง เห็น อย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิด อย่างหนึ่ง รู้ อย่างหนึ่ง หยุดนิ่งเหมือนอย่างกุมารน้อยอยู่ในท้องมารดา ใจหยุดที่กำเนิดเดิมคือศูนย์ กลางกายของกายมนุษย์ กำเนิดเดิมแค่ราวสะดือ เอาใจหยุดที่ตรงนั้น พอถูกส่วน ถูกที่เข้า เท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นดวงใส นั่นแหละเรียกว่า ปฐมมรรค หรือศีล เป็น ดวงศีลหยุดนิ่ง ต่อไป ถูกส่วนเข้า จะเห็น ดวงสมาธิ เข้าไปหยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ จะเห็น ดวงปัญญา หยุด นิ่งกลางดวงปัญญา เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งที่กลางดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เห็น กายทิพย์ กายมนุษย์-กายทิพย์หลุดจากกันแล้ว เห็นกายทิพย์แล้วเหมือนมะขาม กรอก กายมนุษย์เป็นเปลือกไป กายทิพย์เป็นเนื้อไป เป็นคราบงูที่ลอกออกไป เป็นเนื้อ มะขามใส เห็นชัดอย่างนี้ กายมนุษย์หลุดออกไป ขันธ์ 5 ของมนุษย์หลุดออกไป เหลือ กายทิพย์แล้วก็ทำวิธีอย่างนี้ วิธีถอดเข้าไปศูนย์ว่างของกลางกายทิพย์ แล้วก็ใจหยุดนิ่งที่ กลางกำเนิดของกายทิพย์ หยุดถูกส่วน เห็นเป็นดวงใส เรียกว่าดวงศีล ใจหยุดนิ่งกลาง ดวงศีลนั่นแหละ เห็นดวงสมาธิ ว่างกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา ว่างกลางดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ ว่างกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จะเห็น กายรูปพรหม ถอดจากกายทิพย์อีกแล้ว เหมือนมะขามกรอกอีกแล้ว ทำเข้าสิบเข้าศูนย์ถูกส่วนในกายรูปพรหมเข้าอีก พอหยุดถูกส่วน จะเห็นดวงใส คือ ดวงศีล หยุดนิ่งกลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งกลาง ดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็น กายอรูปพรหม ถอดออกจากกายรูปพรหมเหมือนกับมะขามกรอกอีกแล้ว กายรูปพรหม เหมือนเปลือกมะขาม ทำอย่างนี้อีก เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ถูกส่วน ใจของกายอรูปพรหม พอ ถูกส่วน จะเห็นดวงใส ก็แบบเดียวกัน เป็นดวงศีล กลางว่างดวงศีล เห็นดวงสมาธิ กลาง ว่างดวงสมาธิ จะเห็นดวงปัญญา กลางว่างดวงปัญญา จะเห็นดวงวิมุตติ กลางว่างดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเห็น กายธรรม ถอดออก จากกายอรูปพรหม ใสเหมือนยังกับแก้ว ถอดเป็นชั้นๆ อย่างนี้ พอถึงกายทิพย์ก็มองดู กายทิพย์ กายมนุษย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เห็นชัดอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายมนุษย์ ถอดออกจากกายทิพย์นั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ถอดออกจากกายรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม ถอดออกจากกายอรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายอรูปพรหม ถอดออกจากธรรมกาย ออกเป็น 20 ขันธ์ ตัวคนเดียวถอดออกเป็น 20 ขันธ์ พญามารเขาสอนให้ถอด ถอดกายอย่างนี้เป็นพวกของข้า ถ้าไม่ถอดกายไม่ยอม พระพุทธเจ้าก็สอนพวกพุทธบริษัทถอดกายอย่างนี้แล้วก็เข้านิพพานไป ถอดกายเหลือแต่ กายธรรมอย่างนี้แหละ พญามารมันยอม เรียกว่านิพพานถอดกาย อย่างชนิดนี้ให้เห็นชัด อย่างนี้เป็นวิธีถอดกาย เรียกว่า เข้านิพพานถอดกาย นิพพานไม่ถอดกายยังมีอีก หากว่า เอาวิธีไม่ถอดกายมาเทศน์ในเวลานี้ ถูกนัตถุ์ยา เหตุนั้นต้องสอนวิธีถอดกายเสียก่อน วิชานี้ เป็นวิชาของพญามารสอนให้ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ถอดกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมออกเสีย กายธรรมก็ไม่มี แม้จะผจญกับพญามารก็สู้ไม่ได้ ที่เอานางธรณี บีบน้ำท่วม มารจมน้ำ มันทำเล่นๆ ทำหลอกเล่น ที่จริงที่แท้แพ้มัน ที่แท้ทีเดียวต้องนิพพาน ไม่ถอดกาย แต่ว่านี่มันยอมกันเข้ามามากแล้ว ต้องแสดงวิธีถอดกายไปพลางๆ ก่อน แล้วจึง จะสอนไม่ถอดกายต่อไป เมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นขันธ์ 5 ให้ถอดขันธ์ 5 เป็นชั้นๆ ดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีอะไรยึดถือ เพราะขันธ์ 5 ของมนุษย์ เป็นชาติของกาม กามก็อาศัยได้ในกายมนุษย์ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเกาะอาศัยได้ ในกายมนุษย์ กายทิพย์ ส่วนกายรูปพรหม ภวตัณหาเกาะได้ กายอรูปพรหม วิภวตัณหามันเกาะอาศัยได้ ต่อเมื่อถึงกาย ธรรมแล้วตัณหาเกาะไม่ได้ มันเกาะไม่ถึง ตัณหาเกาะไม่ได้ในกายธรรม ตัณหาซาบซึม ไม่ได้ เราจะเอาน้ำหมึกรดกระจกเข้าไป มันก็ไม่เข้าไป กายธรรมก็เหมือนแก้ว เมื่อถึง กายธรรมแล้ว กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าไปไม่ได้เพราะเป็นเนื้อแก้วที่สนิท ละเอียดกว่า ไม่มีช่อง ไม่มีหนทางเอิบอาบซึมซาบได้เลย เหมือนกระดาษแก้ว ส่วนกาย มนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหมือนกระดาษฟาง มันเป็นที่ตั้งอาศัยของ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อถึงกายธรรมเสียแล้วเป็นแก้ว ตัณหาเข้าไปไม่ได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นกายธรรม กายธรรมนั่นเองที่ปล่อยจากกายอรูปพรหมไป ตัณหาอาศัยไม่ได้ ที่เรียกว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหได้ชื่อว่า ถอนตัณหาทั้งรากได้ ตัณหาอยู่แค่กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มีแก่นิพพาน เมื่อเข้าถึงนิพพานเสียแล้ว ก็ถอนโคนราก ของตัณหาหมดแล้ว ตัณหาไม่หยั่งรากเข้าถึงกายธรรมได้ เหตุฉะนี้เมื่อถึงกายธรรมแล้วหมด ตัณหาแล้ว ไม่มีความปรารถนาที่จะเข้ามาอาศัยกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ต่อไป จึงได้ชื่อว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้นแล้ว ชื่อว่านิพพานได้แปลว่า ดับสิ้นแล้ว คือ ดับสิ้นจากกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เพราะเหตุฉะนั้น ขันธ์ 5 เหล่านี้ที่กล่าวในตอนต้นว่าเป็นภาระสำคัญ เราต้องทุกข์ยากลำบากเวียนว่ายตายเกิด ก็ เพราะสลัดไม่ออก สลัดขันธ์ของมนุษย์ออกไปติดขันธ์ 5 ของทิพย์ สลัดทิพย์ออกไปติด ขันธ์ 5 ของรูปพรหม สลัดรูปพรหมออกไปติดขันธ์ 5 ของอรูปพรหม นั่นเหมือนกับ มะขามสด เปลือกกับเนื้อมันติดกันจะแกะเท่าใดก็ไม่ออก แกะเปลือกเนื้อติดเปลือกไปด้วย ขันธ์ 5 ที่จะละทิ้งจิตใจของมนุษย์ ละไม่ได้ เพราะเนื้อกับเปลือกติดกัน เพราะมันอยู่ใน กามภพ มนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น เป็นตัวกามภพ จะละไม่ได้ จะไปอยู่รูปภพ มันก็มี ภวตัณหาอีก ติดภวตัณหาเป็นเปลือกอยู่อีก เมื่อหลุดจากภวตัณหา จากรูปภพได้ จะไปอยู่ อรูปภพ ก็วิภวตัณหา ไปติดตัณหาในอรูปภพ ต่อเมื่อใดถึงกายธรรมจึงหลุดได้ หลุดไม่มี ระแคะระคาย เป็นโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต แตกกายทำลายขันธ์ก็ไปนิพพาน ทิ้งขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม แต่เรา ยังสงสัยอยู่บ้างในเรื่องขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ของทิพยเทวดา 6 ชั้นฟ้า จะเอามาใช้ในมนุษย์ ก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหม จะเอามาใช้กายมนุษย์ กายทิพย์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหมจะเอาไปใช้ในกายรูปพรหม กายทิพย์ กายมนุษย์ แต่ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ของภพไหนต้องอยู่ประจำภพนั้น ข้ามภพใช้ไม่ได้ เพราะอะไร? รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี ที่เป็นของมนุษย์จะเอาไปใช้ในภพทิพย์ไม่ได้ ทิพย์เป็นของละเอียด จะเอามาใช้ในภพมนุษย์ไม่ได้ ส่วนขันธ์ 5 ของรูปพรหม อรูปพรหม ก็แบบเดียวกัน สลับกันไม่ได้ เอาไปใช้ในนิพพานไม่ได้อีกเหมือนกัน นิพพานเขามีธรรมขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งขันธ์ 5 ของเขามีเรียกว่า ธรรมขันธ์ ที่เรียกว่า ธรรมธาตุกายก็เรียกว่า ธรรมกาย ไม่เรียกว่ารูปกายเหมือนกายมนุษย์ทั้งหลาย ในนิพพานจะมีรูปธรรม นามธรรม อย่างกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มี เป็นของละเอียด เหตุฉะนี้ แหละพวกเรารู้ว่าขันธ์ทั้ง 5 ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้เป็นของหนัก แล้วให้ปลีกกายให้ดี ให้ถอดกายออกเป็นชั้นๆ อย่างนี้แล้วก็ลองปล่อยขันธ์ 5 เหล่านั้นเสีย ปล่อยทั่วๆ ไม่ใช่อย่างเดียว เหมือนอย่างจำศีลภาวนา ปล่อยลูกไว้ทางบ้าน แต่ลูกก็มีขันธ์ 5 ปล่อยได้ชั่วขณะชั่วคราว ถึงแม้ปล่อย ใจก็คิดตะหงิดๆ อยู่เหมือนกัน มันยึดถืออยู่ ไม่ปล่อยจริงๆ ต้องถอดเป็นชั้นๆ แต่ถอดเช่นนั้นยังเสียดาย น้ำตาตกโศกเศร้าหาน้อยไม่ ไม่ต้องของตัวถอดดอก เพียงแต่ของคนอื่น ก็ร้องทุกข์กันออกลั่นไป ถ้าของตัวถอดจะเป็น อย่างไร น้ำตาตกข้างใน เรียกว่าร้องไห้ช้าง คือร้องหึ่มๆ ถึงแก่เฒ่าชราก็ไม่อยาก ถึงเป็น โรคเรื้อรังก็ไม่อยากถอด อยากให้อยู่อย่างนั้น เสียดาย เพราะเหตุฉะนั้น การถอดขันธ์ 5 มันต้องถอดแน่ เราต้องหัดถอด เขามีวิธีให้ถอด ถอดเป็นชั้นๆ ถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ ถอดกายรูปพรหมออกจากกายทิพย์ ถอดกายอรูปพรหมออกจากกายรูปพรหม ถอดกายธรรมออกจากกายอรูปพรหม ถอดให้คล่อง เวลาถึงคราว เราก็ถอดคล่องชำนิ ชำนาญเสียแล้ว พอรู้ว่าจะตาย ส่งขันธ์ 5 มนุษย์ออกไป ข้าก็เอาขันธ์ 5 ของทิพย์ ชำนิ ชำนาญอย่างนี้แล้ว ก็ไม่มีความเสียดาย ถ้าไม่เคยถอดก็น้ำตาตก ร้องไห้กันอย่างขนานใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นภาระหนัก ให้อุตส่าห์วางเสีย แม้ถึงจะยึดก็แต่ทำเนา เป็นของ อาศัยชั่วคราว เป็นของมีโทษ ดังภาชนะขอยืมกันใช้ชั่วคราว ของสำหรับอยู่อาศัย ชั่วครั้ง ชั่วคราว ร่างกายก็อาศัยชั่วคราวหนึ่ง อย่าถือเป็นจริงๆ ถือเป็นของอาศัยชั่วครั้งชั่วคราว เท่านั้น ถึงมีทุกข์บ้างก็หน่อยหนึ่ง ขันธ์ทั้ง 5 นี้เป็นภาระ จะต้องดูแลเอาใจใส่พิทักษ์รักษา เมื่อนำขันธ์ 5 คือภาระนี้ไป ถ้าว่าขืนยึด ปล่อยวางไม่ได้ในขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ในโลก ถ้าปล่อยวางได้เป็นสุข ขันธ์ถ้าปล่อยวางแล้ว ขันธ์อื่นๆ จะเอามาเป็นภาระไม่ได้ ถ้าเอามา เป็นภาระก็เป็นเชื้อเป็นที่ตั้งของตัณหา จะถอนไม่ออก ถ้าไม่เอาเป็นภาระแน่ จะถอนตัณหา ทั้งราก ปล่อยให้ถึงที่สุด ปล่อยได้ไปอยู่กับอะไร ต้องไปอยู่กับกายธรรม เมื่ออยู่กับกายธรรม ใจเหมือนอยู่ในนิพพาน สบายแสนสบาย แสนสำราญ

    ดังที่ได้แสดงมาใน ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภซึ่งแบบสำหรับให้ปล่อยวาง ขันธ์ 5 ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามอัตโนมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ เราท่านทั้งหลาย สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอ สมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ สด จันทสโร
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    6ve5C1EmNPRlTW6_zay-lRscY6rF2dAU1dpFIW-tjW8s&_nc_ohc=7OFyTGtH5wAAX9-caoF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    C_gMwId5eZjNXXg8yFQeCjXKHhBMEibriKDjZCo5x9gF&_nc_ohc=3ior8VAVPVoAX_5PdbS&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    การย่อย่นสกลพุทธศาสนา
    ซึ่งมีมาในโอวาทปาฏิโมกข์





    lphor_tesna_vn.jpg


    10 ธันวาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท สุขา สทฺธมฺมเทสนา
    สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานํ ตโป สุโขติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย การย่อย่นสกลพุทธศาสนา ซึ่งมีมา ในโอวาทปาฏิโมกข์ สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสเทศนาว่า การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นสุขนัก การแสดงธรรมของพระองค์ก็เป็นสุข ความพร้อมเพรียงของหมู่ก็เป็นสุข ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อนของท่านผู้พร้อมเพรียงทั้งหลายก็เป็นสุข อีกเหมือนกัน ทั้ง 4 ข้อนี้เป็นความสำคัญนัก ซึ่งเราท่านทั้งหลายจงตั้งใจจำไว้ให้มั่นคง จะได้ปฏิบัติตามให้ ถูกต้องร่องรอยของพุทธประสงค์ สมเจตนาที่ได้เสียสละเวลามาบวชเป็นภิกษุสามเณร เป็น อุบาสกอุบาสิกาในพระบวรพุทธศาสนา ไม่ให้เสียเวลาล่วงไปเสียเปล่าปราศจากประโยชน์ ทำตนของตนให้เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนาเป็นลำดับไป

    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท การบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นสุข สุขา สทฺธมฺมเทสนา การแสดงสัทธรรมของพระองค์ก็เป็นสุข สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุขอีก สมคฺคานํ ตโป สุโข ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน ของผู้มีความพร้อมเพรียงทั้งหลายเป็นสุข 4 ข้อนี้จะได้ชี้แจงแสดงไปเป็นลำดับๆ ไป

    สุโข พุทฺธานมุปฺปาโท ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้านั้นเป็นสุข อะไรเป็น พระพุทธเจ้า การบังเกิดขึ้นของมนุษย์นี้เป็นทุกข์ การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสุข อะไร เป็นพระพุทธเจ้า ได้เกิดขึ้นทางไหน เป็นอะไร เกิดอย่างไร นี่เราจะรู้จักดังนี้ ถ้าเป็นแต่ เพียงว่าความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสุข เท่านั้นก็พอฟังได้ แต่ว่าไม่รู้เรื่อง ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าท่านเกิดอย่างไร ต้องรู้จักความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้สักเสวยกษัตริย์ เกิดเป็นพระพุทธเจ้าจริงนะๆ เกิดที่ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์ เกิดขึ้นในกายพระสิทธัตถราชกุมาร ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างมนุษย์สามัญธรรมดานี้ มนุษย์สามัญ ธรรมดานี้ มีพ่อมีแม่เป็นแดนเกิด ลูกอาศัยพ่อเป็นเหตุและอาศัยแม่จึงเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่เป็น เช่นนั้นเกิดไม่ได้ แต่พระสิทธัตถราชกุมารอยู่ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ทีเดียว ทำพระพุทธเจ้า ให้เกิดในกายพระสิทธัตถราชกุมารได้ นี่แน่ะ พอเกิดขึ้นแล้วเป็นสุขนักทีเดียว ต่อแต่นี้ตั้งใจ ฟังเป็นลำดับไป

    การเกิดขึ้นของมนุษย์ที่ได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว การเกิดขึ้นของมนุษย์ละเอียดอีก นี่เราเคยเกิดเหมือนกัน เวลาฝันไปจึงเกิด ไม่ฝันไม่เกิดมนุษย์ละเอียดนะ เราฝันเกิดเป็น มนุษย์อีกคนหนึ่ง ไปทำหน้าที่ของใครก็ไปทำ ทำหน้าที่เสร็จแล้วก็ไป กายมนุษย์หยาบก็รับ เอาเรื่องฝันนั้นมาเล่าให้กันฟัง ให้มารดาบิดาฟัง ให้สามีภรรยาฟังกัน เรื่องฝันของตัวที่ เกิดขึ้นนั้น มนุษย์นอนหลับฝันไปแล้วก็เกิดขึ้นเป็นมนุษย์ละเอียด เกิดขึ้นจริงๆ นะ ไม่เกิดขึ้น เล่นๆ เกิดขึ้นปรากฏเป็นเนื้อเป็นตัว ไปจับมือถือแขนกันได้ ไปพูดกันได้ ไปทำไร่ทำนาได้ ทำสวนได้ ค้าขายได้ ปกครองประเทศก็ได้ ทำข้าราชการงานเดือนได้ เพราะอ้ายกายฝัน นั้นแหละ เราก็เคย เอาละ เมื่อเกิดขึ้นทางกายมนุษย์ล่ะ ฝันเกิดขึ้นคนหนึ่งนี่กายมนุษย์ ละเอียด กายมนุษย์ละเอียดฝันเข้าอีก เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเป็นกายทิพย์ นี่เกิดเป็นทิพยกาย ในภพ กายทิพย์ฝันเข้า เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเรียกว่ากายทิพย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดฝัน เข้าไปอีก เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเรียกว่ากายรูปพรหม กายรูปพรหมฝันเข้าอีก เกิดขึ้นอีกคนหนึ่ง เรียกว่ากายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมละเอียดก็ฝันเข้าอีก เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเรียกว่า กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมหยาบก็ฝันเข้าอีก ก็เกิดขึ้นอีกคนหนึ่งเรียกว่า กายอรูปพรหมละเอียด

    กายอรูปพรหมละเอียดฝัน ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่งเรียกว่า กายธรรมองค์หนึ่ง ไม่ใช่คน หรอก ทีนี้เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกับกระจก คันฉ่องส่องเงาหน้า นี่แน่ะตัวพระพุทธเจ้า กายอรูปพรหมละเอียดฝัน ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เป็นกายธรรม เรียกว่า พระพุทธเจ้าทีเดียว กายธรรมฝันเข้าอีก เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่งเรียกว่า กายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมละเอียดฝันเข้า เกิดขึ้น อีกองค์หนึ่ง เท่ากันนั้น เป็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมพระโสดาฝันเข้า เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมพระโสดาละเอียดฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรม พระสกทาคาฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา กายธรรมพระสกทาคาละเอียดฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมพระอนาคา ฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่พระพุทธเจ้าทั้งนั้น กายธรรมพระอนาคาละเอียดฝันเข้า ก็เกิดขึ้น อีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม กายธรรมพระอรหัตฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง เรียกว่า กายธรรมพระอรหัตละเอียด

    นั่นแน่เกิดเป็น 18 องค์ แต่ว่า 8 องค์ข้างต้นน่ะ เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, แปดกายนี้เป็นกายในภพ แต่ว่าฝันก็เกิดได้เหมือนกันแบบเดียวกัน กายธรรมโคตรภู คือ กายอรูปพรหมละเอียดฝันเข้า ก็เกิดขึ้นอีกองค์หนึ่ง นั่นกายธรรมโคตรภู-กายธรรมโคตรภูละเอียด, กายธรรมโสดา-กายธรรมโสดาละเอียด, กายธรรมสกทาคา-กายธรรมสกทาคาละเอียด, กายธรรมอนาคา-กายธรรมอนาคาละเอียด, กายธรรมพระอรหัต-กายธรรมพระอรหัตละเอียด, สิบองค์นี่พระพุทธเจ้าทั้งนั้น ถ้าเกิดขึ้นแก่ใครก็เป็นสุขเหลือเกิน ใครได้ใครถึงเป็นสุขเหลือเกิน กายธรรมนี่เกิดขึ้นแก่ใครเป็นสุขนักทีเดียว เป็นสุขทุกคน ถ้าได้มีพระธรรมแท้เกิดขึ้นในตัวของตัวเองน่ะ

    จะแสดงวิธีเกิดของกายธรรมของกายพุทธเจ้า กายในภพแปดกายนั้นเป็นแบบเดียว กัน กายธรรมโคตรภู เมื่อเป็นกายธรรมโคตรภูแล้ว ใจกายธรรมโคตรภูก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมโคตรภู พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงสมาธิ ก็เห็นดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็นกายธรรมละเอียด นี่เกิดอย่างนี้ เกิดเป็นชั้นๆ ไปอย่างนี้ ใจกายธรรมโคตรภู ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายธรรมโคตรภูละเอียด ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรมโคตรภูละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว พอถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งกลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งกลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นพระอริยบุคคลบังเกิดไปอย่างนี้เป็นลำดับจนตลอด 10 กาย ถึง พระอรหัต นี่ความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ นี่ตามข้อปฏิบัติของแท้

    ถ้า ทางปริยัติ เล่า พูดกันไปอีกเรื่องหนึ่ง ตามประวัติพระพุทธเจ้าท่านสร้างบารมี 4 อสงไขยแสนกัป, 8 อสงไขยแสนกัป, 16 อสงไขยแสนกัป, สร้างบารมีไป เป็นมนุษย์ก็สร้าง บารมีไป กว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าต้องสร้างบารมีเต็ม 30 ทัศ เมื่อพูดถึงบารมี 30 ทัศ เต็มแล้ว ที่จะเกิดเป็นพระพุทธเจ้าต้องไปบำเพ็ญเพียรเป็นพระสิทธัตถราชกุมารทีเดียว กว่า จะเป็นพระพุทธเจ้า 6 ปี ไปทรมานร่างกาย 6 ปี เมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้าใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ เสวยวิมุตติสุขอยู่ที่มหาสถาน 7 แห่งนั้น 49 วัน ครบ 49 วัน ก็ออกโปรดพระปัญจวัคคีย์ นี่ตามหลักของพระปริยัติไปดังนี้ แต่ว่าความบังเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นได้ดังกล่าว แล้วข้างต้นนั้น เป็นความบังเกิดของพระพุทธเจ้า

    เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว สุขไหมล่ะ ถามท่าน เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นแล้ว ท่าน บอกว่ามันสุขเหลือเกิน อยู่ในมหาสถานทั้ง 7 แห่ง เสวยวิมุตติสุขอยู่แห่งละ 7 วันๆ รวม 49 วัน ได้รับความสุขอยู่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ไม่ได้มีทุกข์เลย เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่มีทุกข์เลย สุขส่วนเดียว ออกโปรดเวไนยสรรพสัตว์ ไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ดำริแต่ในพระทัย ว่าเราจะเดินไปด้วยย่างพระบาท หรือว่าเหาะไปในอากาศ หรือว่าจะดำดินไป ที่เราจะไป โปรดพระปัญจวัคคีย์ ประเพณีของพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน แต่ปางก่อนนั้นไปกันอย่างไร หรือว่าประเพณีของพระพุทธเจ้าในอนาคตจะไปกันอย่างไร ประเพณีของพระพุทธเจ้าใน ปัจจุบันนี้จะไปกันอย่างไร ก็อ่านไม่ออกเหมือนกัน แล้วก็ปล่อยธรรมกายละเอียด กายพระพุทธเจ้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าเป็นความลับว่าเขาทำกันอย่างไร พระพุทธเจ้า นั้นก็บอกบอกตรงๆ นั่นแหละ ไปทางไหนเป็นประโยชน์ จะเหาะไปเป็นประโยชน์ก็เหาะไป จะทรงดำเนินไปด้วยย่างพระบาทเป็นประโยชน์ก็ทรงดำเนินด้วยย่างพระบาทไป ถ้าจะ ดำดินไปโผล่ขึ้นในที่โน้นเป็นประโยชน์ก็ดำดินไป

    พระองค์ก็มาส่องดูประโยชน์ว่าจะไปทางไหน ก็เห็นปรากฏชัดว่า เราดำเนินไปด้วย ย่างพระบาท จะไปพบปัจฉิมสาวกของเรา จะเป็นประโยชน์แก่ปัจฉิมสาวก จะได้เป็นปัจฉิมสาวกในภายหลัง จะเป็นเมื่อไร ก็ปรินิพพานทีเดียว ใกล้นิพพานทีเดียว จะต้องดำเนินไป ด้วยย่างพระบาทอย่างมนุษย์ธรรมดาทีเดียว เมื่อทรงดำเนินไปด้วยย่างพระบาท ทรงเปล่ง ฉัพพรรณรังสี รัศมี 6 ประการทีเดียว อัศจรรย์นักทีเดียว ดำเนินไปนั่น สว่างไสวรุ่งโรจน์ โชตนาการ เทวดามีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ เปล่งรัศมีมาเท่าใดก็สู้พระจอมไตรไม่ได้ นกใน อากาศล่ะ หยุดเชียว หยุดมอง สรรพสัตว์ทวิบาท จตุบาท 4 เท้า 2 เท้า เดินไปอยู่ใน พื้นแผ่นดินนั้น เห็นพระองค์แล้วตะลึงตามกันไปหมด ลืมเคี้ยวหญ้าทีเดียว หากว่ากวางก็ หันหลังมองอยู่นั่นแหละ นกแขกเต้าก็หันหลังมองกันอยู่นั่นแหละ ไม่ต้องกินอาหารกันละ ดูพระรัศมี ชมพระรัศมี เพลินเชียว มนุษย์คนใดไปเห็นเข้า ตกอกตกใจทีเดียว ปัจฉิมสาวก ของพระองค์ อุปกาชีวกพอเห็นเข้าตะลึงทีเดียว นี่มนุษย์หรือเทวดา หรือเทพยเจ้าศักดิ์สิทธิ์ ใดๆ หนอ มาปรากฏเช่นนี้ เข้าใกล้เข้าไปแล้ว ไปพบเข้าแล้ว ได้กึ่งทางที่จะไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตกใจ เข้าไปใกล้ถามพระองค์ว่า พระองค์น่ะใครเป็นศาสดาของพระองค์ พระองค์รู้มาอย่างไร ปฏิบัติมาอย่างไรหรือ จึงรัศมีกายได้อย่างนี้ ก็ทรงรับสั่งว่าใครจะเป็น ครูของเรา เราเป็นสัพพัญญู เรารู้ของเรา เราเห็นของเราเอง อุปกาชีวกไม่เชื่อ สั่นหัว แลบลิ้น แล้วก็หลีกไปเสีย ไม่เชื่อ ถึงไม่เชื่อก็เป็นนิสัยติดตัวไปแล้ว จะไปถามพระองค์เมื่อ ใกล้จะปรินิพพาน

    พระองค์ก็ทรงเสด็จเป็นลำดับไป ถึงพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เพราะพระรัศมีของท่าน แปลกประหลาดอัศจรรย์ไม่เหมือนแต่ก่อน พระปัญจวัคคีย์นัดกันแล้วว่า ถ้าเห็นแล้วจะไม่ ลุกขึ้นรับ จะไม่ต้อนรับด้วยประการทั้งปวง จะไม่นับถือละ แต่พอพระสิทธัตถราชกุมาร ใกล้เข้าไป ตะลึงกันไปหมด อดไม่ได้ บ้างหยิบขันน้ำ ผ้าเช็ดเท้า ตักน้ำล้างเท้าให้กลุ้มไป เมื่อถวายเสร็จแล้ว พระองค์ก็ประทับนั่งที่สมควร โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 พระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 เมื่อยังไม่ได้รับธรรมเทศนา สุขทุกข์เหมือนมนุษย์ธรรมดา เป็นทุกข์มาก เป็นสุขน้อย แต่ว่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 มีศีล มีสมาธิมั่นคงอยู่ในขันธสันดานแล้ว พระศาสดาจารย์เมื่อ ไปถึงพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 กำลังจะตรัสธรรมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เข้ามาสู่ที่เฝ้า พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็มาพร้อมกัน มาพร้อมแล้วก็ตรัสว่า เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ที่สุดทั้ง 2 บรรพชิตไม่ควรเสพ “กามสุขัลลิกานุโยค” เป็นที่สุดข้างหนึ่ง “อัตตกิลมถานุโยค” เป็นที่สุดอีกข้างหนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยค เป็นของเลว หีโน เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ประกอบด้วยความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ตั้งกำกับอยู่แล้วในกามสุขัลลิกานุโยคนั้น ถ้าไป ประสบกามสุขัลลิกานุโยค ไปประกอบด้วยกามสุขัลลิกานุโยคละก้อ ลงท้ายก็พินาศคือตาย จากกันเหมือนกัน ให้ปรากฏดังนี้ ไม่สุข เป็นทุกข์ทั้งนั้น ส่วนอัตตกิลมถานุโยค ประกอบตน ให้เนื่องด้วยการให้ความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ และ ประกอบด้วยความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ตั้งกำกับอยู่ด้วยเหมือนกัน ไม่พ้น เป็นทุกข์ทั้งนั้น กามสุขัลลิกานุโยค ประกอบตนให้เนื่องด้วยกาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่ขาดสาย อัตตกิลมถานุโยคประกอบตนให้ทุกข์ยากลำบาก ทรมานร่างกาย หาบทราย ตากแดด ย่างไฟ เอาไม้เคาะหน้าแข้งเพื่อจะดับความกำหนัดยินดี อยู่ในป่าในดอนในดง กำหนัดขึ้นมาเวลาไร ต้องทำอย่างนั้นเสมอไป นี่ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยคแท้ เดือดร้อนจริงๆ ไม่รับความสุข

    พระองค์ทรงแนะนำพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ไม่ให้ประกอบด้วยกามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค ให้ดำเนินด้วยมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง 2 อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค

    ข้อปฏิบัติเป็นกลางเป็นไฉน เห็นชอบ ดำริชอบ กล่าววาจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ ประกอบด้วยอวัยวะ 8 ประการ จัดลงเป็น 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้มั่นอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา พระปัญจวัคคีย์รู้จักดีแล้ว รู้จักสมาธิแล้ว แต่ว่าปัญญาไม่รู้จัก เมื่อยังไม่รู้จักปัญญา พระองค์ทรงแนะนำพระปัญจวัคคีย์ให้รู้จักทาง แสดงสัจธรรมทั้ง 4 อริยสัจธรรมทั้ง 4 ให้ฟังทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ ถึงความดับทุกข์ ว่าทุกข์นี่แหละเป็นของทำให้ยาก เหตุเกิดทุกข์นั่นแหละเป็นของทำให้ยาก แต่ว่าเป็นของจริง เหตุเกิดทุกข์นั่นแหละเป็นของทำให้ลำบากก็เป็นของจริง ความดับทุกข์ก็ เป็นของจริง ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ก็เป็นของจริง ของจริงเหล่านี้แหละแสดงเป็นส่วนๆ ไป ทุกข์เป็นของจริง ควรกำหนดรู้ และได้กำหนดรู้ไว้แล้ว, เหตุเกิดทุกข์เป็นของจริง ควรละ ได้ละแล้ว, ความดับทุกข์เป็นของจริง ควรกระทำให้แจ้ง ก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว, ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับ ทุกข์ที่เป็นของจริง นั้นควรเจริญ ก็ได้เจริญแล้ว ทรงแสดงธรรมทั้ง 4 โดยสัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ เช่นนี้ พระปัญจวัคคีย์รู้เข้าใจ ฟังออกทีเดียว เมื่อฟังออกแล้ว เมื่อจบ พระธรรมเทศนาของพระจอมไตรแล้ว พระองค์ทรงเปล่งวาจาว่า อายสฺมโต อญฺญาโกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ความเห็นธรรมปราศจากธุลีและมลทินได้เกิดขึ้นแก่ ผู้มีอายุชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มี ความเกิดขึ้น สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา มีเกิดมีดับอยู่เท่านี้ หมดทั้งสากล โลก เกิดดับทั้งนั้น ขึ้นชื่อว่าสังขาร เกิดดับทั้งนั้น จะเป็นกายสังขารก็เกิดดับ จะเป็นวจีสังขาร ก็เกิดดับ จะเป็นมโนสังขาร จิตตสังขารก็เกิดดับ หรือจะเป็นปุญญาภิสังขารก็เกิดดับ จะเป็น อปุญญาภิสังขารก็เกิดดับ เป็นอเนญชาภิสังขารก็เกิดดับ เห็นจริงไปหมดทั้งสากลโลก มีเกิดดับ เท่านั้น เห็นความเกิดดับตามความเป็นจริงของเรื่องที่จริง พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เมื่อเห็นจริง เช่นนี้ก็ได้บรรลุมรรคผล ได้บรรลุถึงธรรมกาย พระอัญญาโกณฑัญญะได้เห็นธรรมกายก่อน มีตาเห็นธรรมแล้ว เห็นด้วยตาธรรมกาย ธมฺมจกฺขุ เห็นด้วยตาธรรมกายที่ปราศจากมลทิน เห็นชัดทีเดียว พระองค์ผู้ทราบชัดว่า พระปัญจวัคคีย์อัญญาโกณฑัญญะได้เห็นแล้วพิจารณา เป็นลำดับไป ให้พระปัญจวัคคีย์เข้าเนื้อเข้าใจ พระปัญจวัคคีย์เข้าเนื้อเข้าใจแล้วก็ได้บรรลุเป็น ลำดับขึ้นไป บรรลุโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต เป็นลำดับเหมือนกับพระศาสดา และทั้ง 4 องค์นั้นก็ได้บรรลุเป็นลำดับไป เห็นเหมือนพระจอมไตรหมด เป็นพระอรหันต์ 6 องค์ ซึ่งเป็น เช่นเดียวกับพระศาสดา เห็นเป็นเหมือนกันหมด

    นี้ พระปัญจวัคคีย์ได้บรรลุเห็นธรรมเหมือนพระศาสดาแล้ว สุขเหมือนพระศาสดา แบบเดียวกัน สุขแบบเดียวกันทีเดียว ไม่คลาดเคลื่อน ทั้ง 5 องค์เป็นสุขเหมือนกันหมด ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานเหมือนพระศาสดาจารย์ เมื่อพระองค์ ปลุกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ตื่นขึ้นเหมือนพระองค์แล้ว พระปัญจวัคคีย์ที่ได้รับความสุขเช่นนี้ เพราะอะไร เพราะพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เป็นสุขเหมือนพระองค์เหมือนกันแบบ เดียวกัน นี่ สุขา ธมฺมเทสนา ทางสงบสุข ได้เข้าถึงซึ่งความสงบ เป็นพระอรหันต์ตัดกิเลสเป็น สมุจเฉทปหานเช่นนี้ได้ เมื่อได้ถึงซึ่งความสุข สุขได้เพราะพระธรรมเทศนาของพระศาสดานี้ ตรงกับบาลีว่า สุขา ธมฺมเทสนา การแสดงธรรม การได้สดับธรรม หรือแสดงธรรมเช่นนี้ เป็นสุข พระองค์ได้ทรงแสดงธรรม พระปัญจวัคคีย์ได้สดับธรรม ได้บรรลุมรรคผลสมมาด ปรารถนา จึงได้เป็นเหมือนพระบรมศาสดาเรียกว่า สุขา สทฺธมฺมเทสนา

    สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข จะเป็นคฤหัสถ์ก็เป็นสุข จะเป็นภิกษุสามเณรก็เป็นสุข อาศัยความพร้อมเพรียงของหมู่ภิกษุสามเณรเป็นสุข อาศัย ความพร้อมเพรียงของหมู่คฤหัสถ์เป็นสุข อุบาสกอุบาสิกาพร้อมเพรียงกันเป็นสุข เป็นสุขนัก ถ้าว่าไม่พร้อมเพรียงกันไม่เป็นสุข หาสุขที่ไหนไม่ได้ หมดทั้งประเทศชาติ หมดทั้งศาสนา สุขที่ความพร้อมเพรียงกัน เหมือนมนุษย์หญิงชายหมดทั้งประเทศไทยพร้อมเพรียงกัน เชื่อฟังตามผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านได้บังคับบัญชาเป็นไปอย่างไร ก็ตามผู้ใหญ่ไป ตามหัวหน้าไป ก็เป็นสุขซิ จะไปทางไหนก็เหมือนฝูงนก หัวหน้าฝูงบินนำหน้าไปอย่างไร แล้วก็ลูกน้องก็ตาม แถวเป็นฝูง ฝูงใหญ่ ใหญ่เท่าไรก็เป็นสุข เมื่อเป็นฝูงใหญ่เช่นนั้นปราศจากอันตราย พร้อม เพรียงอย่างนั้นปราศจากอันตราย เพราะมันพร้อมกัน เรื่องพร้อมกันแล้วเมืองไทยมันพร้อม กันอยู่แล้ว ก็สามัคคีพร้อมเพรียงกันดีแล้ว ข้าศึกตีไม่แตก จะไปแย่งเอาเมืองนั้นไม่ได้เหมือน กัน หมู่ภิกษุพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ไม่แตกหมู่กันอยู่แล้ว ศึกเสือเหนือใต้ทำอะไรไม่ได้ อุบาสกอุบาสิกาพร้อมเพรียงกันอยู่แล้ว ใครทำอะไรไม่แตก หัวรานไม่ได้ ข่มเหงกันไม่ได้ เพราะหมู่ไม่แตกจากกัน

    ในเรื่องนี้ เมืองเวสาลี เจ้าลิจฉวีปกครองอยู่มาก มากนัก เพราะพร้อมเพรียงกันจริงๆ พระเจ้าอชาตศัตรูพยายามไปรบเมืองเวสาลีจะเอามาเป็นเมืองขึ้นของตน ไปตีถึง 11 ครั้ง ไม่แตกสักทีหนึ่ง ไม่เป็นอันตราย ไม่แพ้พระเจ้าอชาตศัตรู มีชัยเสมอไป พระเจ้าอชาตศัตรู เห็นว่าเมืองเวสาลีมีความพร้อมเพรียงนัก เราไปรบสู้ไม่ได้ ทำอย่างไรหนอ เราถึงจะสู้ได้ ไปทูลถามพระบรมศาสดาว่า พระพุทธเจ้าข้า เมืองเวสาลีน่ะเขาพร้อมเพรียงกันนั้น ข้าพระพุทธเจ้ายกกองทัพไปตีถึง 11 ครั้งแล้วไม่เป็นอันตราย ไม่ได้ชัยชนะเสียที จะได้ ชัยชนะด้วยวิธีใดพระเจ้าข้า เอาซิ ไปถามพระศาสดาเข้าตรงอย่างนี้ ถ้าพระศาสดาทรงรับสั่ง ออกไป เมืองเขาก็แตก เป็นโทษต่อพระองค์ละซี ก็ไม่ทรงรับสั่งอะไรออกไป รับสั่งเป็นกลาง เมืองไหนหมู่ไหนพวกไหนเขาสามัคคีกลมเกลียวกันอยู่แล้ว เมืองนั้นหมู่นั้นพวกนั้นเขาก็มี กำลังมาก ทำอะไรเขาก็ไม่ได้ พอพระองค์ทรงรับสั่งเท่านั้น ปล่อยวัสสการพราหมณ์เข้าไป ทีเดียว ให้วัสสการพราหมณ์เข้าไปเป็นหนอนบ่อนไส้ ไม่ได้ปล่อยเข้าไปเป็นธรรมดานะ ตีวัสสการพราหมณ์เสียหลังเป็นกะพรุนเชียว บวมทั้งเนื้อทั้งตัว หลังเป็นกะพรุน วัสสการพราหมณ์ก็ร้องไห้งั่กเชียว เจ้านายเขาไล่ส่ง เขาไม่เลี้ยงแล้ว เขาตีเสียป่นปี้หมด ไปให้เจ้าลิจฉวี รักษา เจ้าลิจฉวี เออ! นี่มันทำลายกันจริง ไม่คบกันจริง ตีกันจริง เอาไปรักษาหายเรียบร้อย แล้ว เจ้าลิจฉวีถึงเวลาเข้าประชุมกันแล้ววัสสการพราหมณ์ก็ไปด้วย แต่ว่าไปทางโน้นบ้าง ทางนี้บ้าง คะเนพร้อมกันดีแล้ว วัสสการพราหมณ์ก็เข้าไปพูดกับหูเจ้าองค์โน้นบ้าง องค์นี้บ้าง แกเป็นมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่ เจ้าลิจฉวีทางโน้นเห็นว่าวัสสการพราหมณ์พูดเช่นนั้น แล้วก็ สงสัยว่าจะพูดเรื่องอะไรกัน วัสสการพราหมณ์ที่ไปพูดกับท่านน่ะพูดเรื่องอะไรกัน เจ้าลิจฉวี ก็ว่าเปล่านี่ ไม่ได้พูดเรื่องอะไรกัน ก็เข้าไปพูดกับหู ได้ยินนี่ แต่ว่าอยู่คนละทาง ที่นั้นเป็น วงใหญ่ พูดอย่างนั้นแล้ว เอ้า! ก็สงสัยตะหงิดใจอยู่แล้ว ทีหลังวัสสการพราหมณ์ไปทาง โน้นอีก ทางนี้ก็ถามว่า ทางนี้พูดอย่างนู้นเหมือนกัน ก็เปล่าอีกนั่นแหละ รอบๆ ไป หนักเข้า ก็กินใจกัน เจ้าน่ะพอกินใจก็เกิดแตกสามัคคีกัน พอแตกสามัคคีกันดี วัสสการพราหมณ์ ก็ถือหนังสือลับ ถึงพระเจ้าอชาตศัตรู ยกทัพได้แล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพเข้าไปคราวนี้ ก็ลอยชายเข้าเมือง เจ้าเหล่านั้นไม่เอาหูนาตาใส่แล้วในการรักษาดูแลปกครองอำนาจ แตกสามัคคีกันเสียหมดแล้ว

    นี่ภิกษุสามเณรหมู่เดียวกันพวกเดียวกันไม่ลงรอยกัน หมู่นั้นพวกนั้นไม่เจริญต่อไป อุบาสกอุบาสิกาอยู่วัดเดียวกันพวกเดียวกัน ประพฤติปฏิบัติไม่ลงรอยกัน แก่งแย่งกันอยู่ คนละทางสองทาง หมู่อุบาสิกาพวกนั้นไม่มีความเจริญต่อไป จะมีความเสื่อมเป็นเบื้องหน้า เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้แล้ว ก็ว่าสามัคคีนั้นเองเป็นตัวสำคัญ ถ้าไม่มีสามัคคีแล้วละก็ แตกแยก เป็นแน่ ไม่ต้องสงสัย ไม่เจริญแท้ทีเดียว ถ้าต้องการความเจริญแล้ว บ้านเรือนก็ดี หมู่ธนบดี หมู่เศรษฐีก็ดี ต้องมีสามัคคี ถ้าในหมู่เศรษฐีไม่ลงรอยกันแล้วละก็ ไม่ช้าเศรษฐีนี้จะเตียนไป หมด หรือหมู่บ้านเรือน ในท้องไร่ท้องนาก็ดี ในสวนก็ดี ในข้าราชการก็ดี หมู่ไหนบ้านไหน ไม่ลงรอยกันอยู่ พ่อแม่ไม่ลงรอยกับลูก ลูกไม่ลงรอยกับพ่อแม่ ข้าทาสบริษัทบริวารไม่ลง รอยกันแล้วละก็ ไม่ช้าละบ้านนั้นต้องร้าง ไม่ร้างก็ต้องแตกสลาย ต้องฉิบหาย ต้องป่นปี้ เพราะมันแตกสามัคคีกันเสียแล้ว ไม่เป็นสามัคคีกัน ข้อนี้เป็นสำคัญนะ ไปดูก็ได้ ถ้าบ้านไหน ทะเลาะกัน ระหองระแหงกันอยู่แล้วละก็ อ้ายบ้านนี้ต้องทะลาย อุบาทว์เกิดขึ้นแล้ว อ้าย ความไม่รวมสามัคคี ไม่ลงรอยกันนั่นแหละ อุบาทว์เกิดขึ้นแล้ว มันต้องร้างแน่ มันจะต้องแยก ทะลายกันแน่ ผัวเมียสองคนก็พยากรณ์ได้ ลงไม่ลงรอยกันแล้วก็บ้านนี้ไม่ต้องอยู่ด้วยกันละ แตกทะลายแน่ เพราะไม่ลงรอยแล้วนี่ แตกสามัคคีแล้วนี่ นี่เป็นข้อสำคัญนะจำไว้

    ถ้าจะมองหาความเจริญ มุ่งความเจริญละก้อ ต้องมั่นสามัคคี สร้างสามัคคีไว้ ถ้าว่า ทำลายสามัคคีแล้วละก็ เป็นอันแตกทะลายแน่ ต้องแยกจากกัน ลูกเต้าก็ต้องแยกไป พี่น้อง วงศาคณาญาติอยู่รวมกันไม่ได้ อัตคัตขัดสนขึ้นอีก เพราะความไม่สามัคคีนั้นมันฆ่าเสียแล้ว ทำลายเสียแล้ว นี่แหละตัวอุบาทว์จำไว้เถอะ ที่เขาเรียกว่า บาตรแตกเข้าบ้านละ นี่แหละ บาตรแตกเข้าบ้านละ หรือเรียกว่ากาลกิณีอยู่บ้านนี้แหละ อ้ายแตกสามัคคีนั่นแหละเป็น ตัวกาลกิณี ให้จำไว้เป็นตำรับตำรา ถ้าต้องการความเจริญต้องพร้อมเพรียงซึ่งกันและกัน น้ำหนึ่งใจเดียวกันนั่นแหละจึงจะเจริญได้ เมื่อเมืองเจ้าลิจฉวีถูกพระเจ้าอชาตศัตรูลอยชาย เข้าเมืองปกครองเสียแล้ว แตกไปเช่นนี้ เพราะแตกสามัคคี ตามที่พระศาสดาทรงรับสั่งว่า บ้านไหน เมืองไหน หมู่ใดพวกใด เขายังมีความสามัคคีกันอยู่ ตราบนั้นเขาก็มีกำลังวังชามาก ทำอันตรายเขาไม่ได้ นี่ต้องอยู่ในความสามัคคีนี้ จำไว้นะ จำไว้เป็นตำรับตำราดังนี้ ไม่งั้น ต้องเวียนว่ายตายเกิด มันจะต้องไปบ้านโน้นบ้านนี้ อยู่บ้านโน้นบ้านนี้มา บ้านไหนถ้าแตก สามัคคีกันแล้วละก็ มันจะทะลายอยู่แล้ว เดี๋ยวก็ไปทีเดียว ถ้าบ้านไหนสามัคคีกลมเกลียว กันดี มีผู้หลักผู้ใหญ่เกรงกันอยู่ ไม่เป็นไร บ้านนี้ยังเจริญอยู่ ให้จำหลักอย่างนี้นะ วัดก็ เหมือนกัน จะไปอยู่วัดใดวัดหนึ่ง ถ้าวัดนั้นไม่สามัคคี อย่าเข้าไปนะ อย่าไป ถ้าไปเป็นได้รับทุกข์ ถ้าสามัคคีกันอยู่ พร้อมเพรียงกันอยู่ละก้อ เข้าไปเถอะเป็นสุขทีเดียว ให้รู้จักหลักดังนี้ สุขา สงฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข ถ้าว่าไม่พร้อมเพรียงของหมู่เป็นอย่างไร ถ้าเราไปอยู่ซิ เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ทั้งนั้น

    ความพร้อมเพรียงของหมู่ เมื่อสาวกของพระบรมศาสดาได้บรรลุพระอรหัต ตัดกิเลส เป็นสมุจเฉทปหานแล้ว แค่พระอรหันต์ท่านปรองดองกันอยู่ในพวกพระอรหันต์ แค่พระ อนาคามรรคผล ท่านก็ปรองดองกันอยู่ในเรื่องพระอนาคามรรคผล แค่พระสกทาคามรรคผล ท่านก็ปรองดองกันอยู่ในเรื่องพระสกทาคามรรคผล แค่พระโสดามรรคผล ท่านก็ปรองดอง กันอยู่ในเรื่องพระโสดามรรคผล ท่านเหล่านี้ไม่เถียงไม่แก่งแย่งกัน มีความเห็นร่วมกันเสมอกัน หมด พระองค์จึงได้ทรงรับสั่งว่า เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่แหละเป็นสาวกของพระตถาคตเจ้า ตั้งแต่พระโสดามรรคผลขึ้นจนถึงพระอรหันต์เป็นพวกของพระตถาคตเจ้า พวกที่ยังแก่งแย่ง กันอยู่ ไม่ใช่พวกของพระตถาคตเจ้า เลิกแก่งแย่งแล้วเป็นพวกของพระตถาคตเจ้าทีเดียว หมู่ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาต้องการความสุขก็ให้สามัคคีกลมเกลียวกันไว้ อย่าแตกแยก จากกันและกัน ถ้าแตกแยกจากกันและกันแล้วละก็ เป็นทุกข์ ถ้าไม่แตกแยกจากกันแล้ว ก็เป็นสุขทีเดียว นี่ สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นสุข

    สมคฺคานํ ตโป สุโข แปลว่า ตโป ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน สมคฺคานํ แห่งผู้พร้อมเพรียงทั้งหลาย สุโข เป็นสุข ความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อนของผู้พร้อม เพรียงทั้งหลาย เมื่อพร้อมเพรียงกันแล้วเป็นอย่างไร ก็ประพฤติทำลายกิเลสกันทั้งนั้น ไม่ทำ อะไร ประพฤติทำลายกิเลสเหมือนกันหมด ทำลายกิเลสมีความเพียรเหมือนกัน ถ้าว่าเพียร ตั้งต้นแต่ศีลไป ทำศีลให้บริสุทธิ์เหมือนกัน เข้าถึงสมาธิก็ทำสมาธิให้บริสุทธิ์เหมือนกัน เข้าถึงปัญญาก็ทำปัญญาให้บริสุทธิ์ใสเป็นเพชร เป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าอยู่ร่ำไป หรือ เข้าถึงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็ให้บริสุทธิ์เหมือนกัน เมื่อบริสุทธิ์เหมือนกันเช่นนี้แล้ว รักความบริสุทธิ์เหมือนกันเช่นนี้แล้ว รักความบริสุทธิ์เสมอกันไม่ให้ขาดตกบกพร่องกว่ากัน และกัน ใครบริสุทธิ์แค่ไหนก็รักษาแค่นั้นไป ที่ยังไม่ได้ยังไม่เห็น ก็ทำความบริสุทธิ์ไป ให้เข้า ถึงบริสุทธิ์เหมือนเขาไป ไม่แก่งแย่ง ไม่ก้าวร้าว เกะกะ

    ดังอุบาสกอุบาสิกาในวัดเช่นนี้ เขาทำธรรมกายกันให้มีให้เป็นขึ้น ทำศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ กัน โน่นไปเอาเจ้าทรงผีสิงมาเล่นอีกแล้ว เอาเจ้าทรงผีสิง มาใส่ในหมู่เข้าแล้ว ไปบนเจ้าบนผีเข้าอีกแล้ว เอาอีกแล้ว พวกนี้แหละพวกแก่งแย่งละ ความ เห็นแตกต่างออกไปแล้ว จะทำลายหมู่สามัคคีให้ทะลายไปแล้ว เอาเรื่องผีเรื่องเจ้าเข้ามาอีกแล้ว ก็นี่คนนอกเรื่อง มันคนของมารเขาส่งมาในหมู่ ไม่ให้ความพร้อมเพรียงเกิดขึ้น ถ้าพร้อมเพรียง เกิดขึ้นมันก็จะเป็นสุขเสีย ไม่ให้มีไม่ให้เพียรถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพระพุทธศาสนา ไป ให้ไปทางเหลวไหลเสีย ให้ไปทางเพลงของโลกไป อย่างนี้เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นทุกข์แต่ เท่านั้น นั่นเขาทำลายทางมรรคผลกัน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เอ้า! ไพล่ไปขอหวยขอโปกันเข้าแล้ว จะเอาเบอร์หนึ่งสักทีเถอะ เราจะได้เลิกยาก เลิกจนกันเสียทีหนึ่ง เอาละซี ทีนี้พวกนั่งสมาธิทำทางมรรคผล ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เลยไปมองดูลอตเตอรี่เข้า แล้ว อ้ายนี่เอาอีกแล้ว เดือดร้อนอีกแล้ว จะทำลายสามัคคีแล้ว ทำลายสามัคคีอีกแล้ว พวกนี้ พวกพญามารขวางเข้ามาอีกแล้ว ให้รู้จักหลักอย่างนี้นะ สมคฺคานํ ตโป สุโข ความเพียร เครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อนของผู้มีความพร้อมเพรียง จบไปในเพลงเดียวกันนะ สุโข เป็นสุขนัก เมื่อรู้จักหลักนี้ จำไว้เป็นหลักเป็นประธาน

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจน อวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    อริยธนคาถา


    lphor_tesna_vn-jpg-jpg.jpg


    23 มกราคม 2498

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา
    สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ
    สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ
    อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ
    ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ
    อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย อริยธนคาถา วาจาเครื่องกล่าวถึง ทรัพย์อันประเสริฐ พระคาถานี้ การย่อย่นเนื้อความแห่งธรรมเทศนาของพระรัตนตรัยยกไว้ ในที่นี้ จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอเป็น เครื่องปฏิการ ประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญา ซึ่งคุณสมบัติของท่านผู้คฤหัสถ์ ทั้งบรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า

    เริ่มต้นตามวาระพระบาลีด้วย ยสฺส สทฺธา ตถาคเต อจลา สุปติฏฺฐิตา ความเชื่อ ของบุคคลใดไม่กลับกลอกตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้าคือธรรมกาย สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ ศีลอันดีงามของบุคคลใดอันพระตถาคตเจ้าใคร่สรรเสริญแล้ว สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเชื่อในพระสงฆ์มีอยู่แก่บุคคลใด อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงมีอยู่แก่ บุคคลใด อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า บุคคลนั้นไม่ใช่คนจน เป็นคนมั่งมี อโมฆนฺตสฺส ชีวิตํ ความเป็นอยู่ของบุคคลนั้นไม่เปล่าปราศจากประโยชน์ ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยุญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ เพราะเหตุนั้น เมื่อ บุคคลมาระลึกถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายแล้ว ควรประกอบตามความเชื่อใน ธรรมกายคือพระตถาคตเจ้า ควรประกอบตามศีล ควรประกอบตามกัลยาณศีล อริยกันตศีล ควรประกอบตามความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ควรประกอบตามความเห็นตรงไว้เนืองๆ ด้วย ประการดังนี้ นี่เนื้อหาของพระบาลี คลี่ความเป็น สยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป เราท่านทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต หญิงชายทุกถ้วนหน้า บรรดานับถือพระพุทธศาสนา เราจะวางความเชื่อของเราไว้ตรงไหน ถึงจะถูกต้องร่องรอยความประสงค์ทางพระพุทธศาสนา ที่เราจะดำเนินให้ถูกทางมรรคผล ต่อไป จะวางความเชื่อลงไว้ตรงไหน ตำราเขาก็บอกไว้แล้ว ยสฺส สทฺธา ตถาคเต ความเชื่อ ของบุคคลใดไม่กลับกลอก ตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้าคือธรรมกาย ตถาคตน่ะ คือ ธรรมกายนี่เอง หรือแปลเสียอีกนัยหนึ่งว่า ความเชื่อของบุคคลใดไม่กลับกลอก ตั้งมั่นดีแล้ว ในธรรมกาย ตถาคตคือตัวธรรมกายทีเดียว มีตำรารับรองว่า ตถาคตสฺส โข เอตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ ว่า ดูก่อนวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่าธรรมกาย ธรรมกายน่ะ เป็น ตถาคตโดยแท้ บอกไว้อย่างนี้ ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราผู้ตถาคตคือธรรมกาย วางหลักไว้ อย่างนี้ ความเชื่อที่ไม่กลับกลอกตั้งมั่นดีแล้วในพระตถาคตเจ้า นี้ถูกแล้ว แปลอย่างนี้ เราจะ ต้องวางความเชื่อลงไว้ในธรรมกายนี้อีก นี้วัดปากน้ำค้นพบแล้ว ได้ตัวจริงแล้ว ไปนรกได้ ไปสวรรค์ได้ ไปนิพพานได้ อาราธนาพระพุทธเจ้าที่อยู่ในพระนิพพาน มาให้มนุษย์เห็นใน วัดปากน้ำมีมากมาย ในวันวิสาขะ มาฆะ ให้เห็นจริงเห็นจังกันอย่างนั้น เท่านั้น แปลบาลีศัพท์หนึ่ง แปลได้ตั้งร้อย ผู้รู้น้อยว่าแปลผิด ไม่ถูก นี่แปลอย่างนี้ถูกเกินถูกอีก แน่นอนทีเดียว ความเชื่อของเราต้องตั้งมั่นลงไปในพระตถาคตเจ้า อย่ากลับกลอก ถ้าว่าไปกลับกลอกเสีย ก็เป็นอันไร้จากประโยชน์ ไร้จากผล ไม่ถูกต้องความสนใจพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลท่าน มีใจตั้งอยู่ในธรรมกายทั้งนั้น ยืนยันอย่างนี้ ตำรานี้ก็ถูกเรียกว่า “อริยธนคาถา” ทรัพย์อัน ประเสริฐของพระอริยเจ้า ถ้าว่าใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นต้องมีศูนย์กลางนะ มนุษย์เล่า ถ้าว่ามนุษย์มีใจไม่ลอกแลก ใจไม่ ง่อนแง่น ใจไม่คลอนแคลน ก็ตั้งอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั้นแหละ ถูกหลัก เป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา กายมนุษย์ละเอียดที่ฝันออกไป ก็ต้องตั้งมั่นอยู่ในกลางดวง ธรรม อย่างกายมนุษย์ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด ที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจก็ต้อง หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด ที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจกายรูปพรหม กายรูปพรหม ละเอียดก็ต้องตั้งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจก็ต้องหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดที่จะเหาะเหินเดินอากาศได้ ใจกายอรูปพรหม ละเอียดก็ต้องตั้งหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ต้องหยุด อยู่ตรงนั้น กายเบา สลฺลหุกวุตฺติโน เป็นผู้ประพฤติเบาพร้อม กายก็เบา วาจาก็เบา ใจก็เบา ไม่มีหนักเลย ประพฤติดังนี้

    เมื่อเข้าถึงธรรมกาย เคารพธรรมกาย มั่นในธรรมกาย ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธศาสนา นับถือพระพุทธศาสนา ต้องตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถ้าว่าไม่ได้ธรรมกายละ ก็เข้าถึงธรรมกายให้ได้ จะต้องเอาใจไปตั้ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายให้ได้ บัดนี้ วัดปากน้ำมี 150 กว่าคน ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายได้ 150 กว่า ที่ยังเข้าไม่ถึงก็เพราะประมาทเลินเล่อเผลอตัว ทำไม่จริง เข้าไม่จริง จรดไม่จริง ตั้งไม่จริง ลอกแลก เช่นนี้โกง ตัวเอง เมื่อโกงตัวเองเสียแล้วเข้าถึงธรรมกายไม่ได้ ทำไมโกงตัวเองเล่า มันขี้เกียจทำ ทำเข้า เมื่อยขบเล็กๆ น้อยๆ ขี้เกียจเสียแล้ว หยุดเสียแล้ว ไม่ทำแล้ว ทำก็เห็นลางๆ ไรๆ เอ้า! ปล่อยเสียแล้ว ไม่ทำเสียแล้ว ไปไถลท่าอื่นเสียแล้ว ใจไปจรดที่อื่นเสียแล้ว ไปจรดอะไรเล่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ปัจจุบันบ้าง อดีตบ้าง อนาคตบ้าง

    ไปจรดอยู่ที่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ในปัจจุบันเล่าเป็นอย่างไร ได้ยินเสียงใน ปัจจุบันที่ตั้งอยู่ จรดอยู่ ไปเสียแล้ว เสียงไปแล้ว กำลังนั่งอยู่ไปเห็นรูปเข้า เอ้าไปเสียแล้ว ไปสูดดมกลิ่นเข้า ไปเสียแล้ว ได้ลิ้มรสเข้า เอ้าไปเสียแล้ว ถูกประทุษร้ายด้วยสัมผัส เช่น เหลือบ ยุง ริ้น บุ้ง ร่าน ก็ไปเสียอีกแล้ว ไม่อยู่ที่อย่างนี้ เรียกว่า ลอกแลกในปัจจุบัน ลอกแลกในอดีตเป็นอย่างไรล่ะ นึกถึงรูปที่ล่วงไปแล้ว เสียงที่ล่วงไปแล้ว กลิ่นที่ล่วงไปแล้ว รสที่ล่วงไปแล้ว สัมผัสที่ล่วงไปแล้ว รูปที่ล่วงไปแล้ว รูปที่ล่วงไปแล้วน่ะเป็นอย่างไร ตึกร้าน บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา เรือแพนาวา ต้นไม้ต้นไร่ ของที่ตนเห็นด้วยตาของตน เป็นของๆ ตนอยู่ เป็นอันตรายไปเสีย ก็นึกถึงอ้ายเรื่องนั้นยังไม่หาย นั่นแหละนึกถึงอดีตละ รูปเป็น อย่างนั้น เสียงเป็นอย่างนั้น กลิ่นก็เป็นอย่างนั้น รสก็เป็นอย่างนั้น สัมผัสก็เป็นอย่างนั้น ลอกแลกไปเสียในอดีตอีกแล้ว ลอกแลกในอนาคตออกไปข้างหน้า จะได้รูปอย่างนั้น จะได้ เสียงอย่างนั้น จะได้กลิ่นอย่างนั้น จะได้รสอย่างนั้น จะได้สัมผัสอย่างนั้น นึกไปข้างหน้าอีก และวันพรุ่งนี้ออกไป นั่นเป็นข้างหน้า อนาคต จิตมันลอกแลกในธรรม 5 ประการนี้

    ธรรม 5 ประการนี้เรียกว่า ธรรมที่ทำให้สัตว์เนิ่นช้า ปปญฺจาภิรตา ปชา หมู่สัตว์ เนิ่นนานในรูปภพ อรูปภพ ไม่จบไม่แล้ว นี่แหละผู้ที่เลินเล่อเผลอตัว โกงตัวเองก็รูปนี้ ปล่อยใจ ไปจรดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง ไม่จรดอยู่ที่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-ธรรมกายละเอียด, จรดอยู่นั่นไม่โกงตัวเอง ให้ความสุข แก่ตัวเองปัจจุบันทันตาเห็น แม้เป็นปุถุชนอยู่ก็เรียกว่า ปุถุชนสาวก ถ้าจรดอยู่ได้ ถ้าจรดอยู่ ไม่ได้ ยังเป็นปุถุชนอยู่ เรียกว่าลอกแลกอยู่นั่นเอง ไม่จัดเข้าในปุถุชนสาวก ถ้าจรดอยู่ ละก้อ จัดเข้าในปุถุชนสาวกละ ต้องเข้าถึงธรรมกายโคตรภูให้หนักขึ้นไป เข้าถึงพระโสดา อริยสาวกทีเดียว เป็นอริยสาวกทีเดียว นี้ความตั้งใจเป็นอย่างนี้นะ วางใจเป็นอย่างนี้ ให้ถูก หลักฐานอย่างนี้ เมื่อถูกหลักฐานอย่างนี้แล้ว นี่ในข้อต้น

    ข้อที่ 2 รองลำดับลงไป สีลญฺจ ยสฺส กลฺยาณํ อริยกนฺตํ ปสํสิตํ นี้ศีลของบุคคลใด อันดีงาม อันพระอริยเจ้ารักใคร่ชอบใจ อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว ศีลอันดีงามน่ะศีลอะไร เขาเรียกว่ากัลยาณศีล อริยกันตศีล ปสังสิตศีล เรียกว่าศีลอันดีงามที่พระอริยเจ้าใคร่ พระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว ศีลอันดีงาม เมื่อใจหยุดจรดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์พอดี กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด ทั้ง 8 กาย 9 กาย 10 กาย เป็นลำดับขึ้นไป ถ้าว่าศีลของผู้มีใจหยุดเช่นนั้น ศีลของบุคคลผู้นั้นก็เป็นกัลยาณศีล เป็น อริยกันตศีล เป็นปสังสิตศีลทีเดียว ทำไมเป็นเช่นนั้น ศีลก็แปลว่าปกติ ศีลเขาแปลว่าปกติ ปกติกาย ปกติวาจา ปกติใจ ใจเป็นอัพโพหาริกศีล ด้วยปกติกาย ปกติวาจา ปกติใจ ปกติน่ะ เป็นอย่างไร ใจหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ถูกเป้าหมายใจดำร่องรอย ของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เมื่อใจหยุดแล้ว วาจาก็อยู่ในกรอบของศีล กายก็อยู่ในกรอบ ของศีล ใจก็อยู่ในกรอบของศีล ไม่ละเมิดศีลไปได้ เพราะใจหยุดเสียแล้ว แน่นอนทีเดียว ไม่คลาดเคลื่อน ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว แน่นอนทีเดียว เมื่อแน่นอนเช่นนั้นละก้อ นั่นแหละเป็น กัลยาณศีล เป็นอริยกันตศีล เป็นปสังสิตศีล ศีลโดยตรงทีเดียวนี้แหละ พระอริยเจ้าใคร่ พระอริยเจ้าชอบใจ พระอริยเจ้าสรรเสริญทีเดียว เป็นอย่างนี้ แม้จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยกาย จะพูดสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยวาจา จะคิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยใจก็ไม่มีละเมิดศีล อยู่ในกรอบศีลนั่นเอง ไม่เคลื่อนจากศีลไปได้ จึงจัดได้ชื่อว่าเป็นกัลยาณศีล อริยกันตศีล ปสังสิตศีล ศีลอย่างนี้เป็น ศีลสามัญ ยังไม่เป็นวิสามัญ ศีลวิสามัญ ต้องเห็นศีล ศีลอย่างนี้ถึงจะมีในกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด ทั้ง 8 กายที่มีในไตรภพก็เป็นศีลสามัญ ศีล ของเทวดาต้องมั่นอยู่เป็นปกติธรรมดา กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-รูปพรหม ละเอียด, กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด, มีอยู่เป็นปกติธรรมดา ศีลของกายมนุษย์ ละเอียดไว้ใจไม่ได้นัก เจ้ากายมนุษย์หยาบ นี้ก็ไว้ใจไม่ได้นัก ยังลอกแลกอยู่ไม่มั่นคง ถ้าว่า ทั้ง 6 กายนี่ละก้อ มั่นคงละ ถ้าว่าไม่อยู่นิ่งละก้อ เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ทีเดียว

    ทั้ง 6 กาย นั้น จึงจัดได้ชื่อว่าเป็นศีลสามัญ

    ศีลวิสามัญน่ะเห็นศีลทีเดียว เห็นศีลคือกาย กายมนุษย์ไม่เห็น กายมนุษย์ละเอียด เห็น กายทิพย์เห็น กายทิพย์ละเอียดเห็น กายรูปพรหมเห็น กายรูปพรหมละเอียดเห็น กายอรูปพรหมเห็น กายอรูปพรหมละเอียดเห็น นั่นเห็นศีล เห็นศีลเป็นดวง ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทดุจกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าอย่างนี้ เรียกว่าเห็นดวงศีล เมื่อเห็น ดวงศีลเช่นนี้ละก็ เห็นหมดทั้ง 7 กายนั่น เห็นตลอดไป เมื่อเห็นเช่นนี้ละก็ นั่นแหละเป็น กัลยาณศีลแท้ๆ นั่นแหละเป็นอริยกันตศีลแท้ๆ นั่นแหละเป็นปสังสิตศีลแท้ๆ ถูกละ เป็นทาง ไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ใจของผู้เห็นนั้นก็ติดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล นั่นไม่คลาดเคลื่อนทีเดียว เมื่อติดดวงศีลได้ ดวงสมาธิไม่ต้องไปไหน อยู่ในกลางดวงศีล ดวงปัญญาก็อยู่กลางดวงสมาธิ ดวงวิมุตติไม่ต้องไปไหน อยู่กลางดวงปัญญา ดวงวิมุตติญาณทัสสนะไม่ต้องไปไหน อยู่ในกลางดวงวิมุตติ เข้าทางไปของพระอริยเจ้าพระอรหันต์ ถูกทีเดียว ไม่คลาดเคลื่อนละ นี้ท่านจึงได้วางตำราไว้เป็นข้อที่ 2 เป็นศีลของธรรมกาย นี่ เป็นศีลของธรรมกาย เข้าถึงธรรมกายก็ด้วยวิธีนี้ พอเข้าถึงธรรมกายแล้ว ศีลของธรรมกายก็มี แบบเดียวกันนี้ เป็นลำดับไปทีเดียว ตำราวางไว้แสดงกันแล้วมากมายนี่เป็นข้อที่ 2 เรียกว่าศีล

    ข้อที่ 3 เป็นลำดับไป สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเลื่อมใสใน พระสงฆ์ ความเลื่อมใสในหมู่ สงฺโฆ เขาแปลว่า หมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเลื่อมใสในหมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเลื่อมใสคือชอบใจ ปีติปราโมทย์ ร่าเริงบันเทิงใจ ปลาบปลื้มตื้นเต็ม เอิบอิ่มในใจ ที่เรียกว่าเลื่อมใส ปลาบปลื้มเอิบอิ่มตื้นเต็มในใจ ความเลื่อมใสคือความ ผ่องใส เมื่อมีศรัทธากำลังบริจาคทานอยู่ก็มีความเลื่อมใส จัดขึ้นเพิ่มอีก เมื่อนั่งทำความ เพียร กำลังนั่งอยู่ เมื่อมีความเลื่อมใส นั่งหนักขึ้นไปอีก นั่นเรียกว่าความเลื่อมใส ความ เลื่อมใส ความผ่องใส นัยหนึ่งว่า “เหม” แปลว่าเป็นแดนสร้างเอกแห่งรัศมี ก็ความ เลื่อมใสเกิดขึ้นแล้ว ดูสีหน้าสีตาก็รู้ ดูสีหน้ารู้ หน้าดำอยู่กลับมีสีงามขึ้นทีเดียว ขาวๆ ก็ ผิวงามขึ้นทีเดียว ผุดผ่องขึ้นทีเดียว นี้เพราะเกิดจากความเลื่อมใส เลื่อมใสนี่แหละ ทำร่างกายให้สะอาดสะอ้าน ทำร่างกายให้สละสวย ให้งดงาม เพราะความเลื่อมใสอันนี้ เลื่อมใสเต็มที่ก็เหาะเหินเดินอากาศไปได้ เลื่อมใสจัดหนักเข้าๆ เหาะเหินเดินอากาศได้ เพราะความเลื่อมใสอันนี้ ไม่ได้เป็นของพอดีพอร้าย ให้เลื่อมใสในหมู่

    เลื่อมใสในหมู่เลื่อมใสอย่างไร อย่างนี้ เหมือนพระเณรอย่างนี้แหละ นับว่าพระก็ 4 แถวๆ ละ 8 องค์ เณรก็ 3 แถวๆ ละ 8 องค์ เขาไม่เลื่อมใส เขามาแต่แถวเดียว เณรพระ ก็มาไม่ครบ 4 แถว นี่เขาไม่เลื่อมใส เพราะขาดความเลื่อมใสเสียแล้ว เขาไม่เลื่อมใสในหมู่ เขาไม่อยากเข้าหมู่ นั่นแน่พวกไม่เลื่อมใสในหมู่ พวกไม่อยากเข้าหมู่ เหมือนพวกเรา อุบาสกอุบาสิกา เวลาถึงวันธัมมัสสวนะจะต้องฟังเทศนา ฟังธรรมกัน จำศีลภาวนากัน ไม่มาเสียแล้ว ขาดตกบกพร่องไปเสียแล้ว นั่นเขาไม่เลื่อมใสในหมู่ เขาขาดความเลื่อมใส ในหมู่เสียแล้ว ถ้าเขาเลื่อมใสในหมู่ละก้อ ไม่ขาดตกบกพร่องเลย สมบูรณ์บริบูรณ์เต็มเปี่ยม ทีเดียว ถึงเวลามาแล้วก็กลัวจะขาดหน้าที่ไป หน้าที่ของตัวจะขาดไป ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ละ นี้พวกนี้เลื่อมใสในหมู่ กลัวหมู่จะขาด กลัวหมู่จะไม่เจริญ กลัวหมู่จะซูบซีด เศร้าหมอง ขุ่นมัว ไม่แน่นหนา ไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา รักษาความเลื่อมใสในหมู่ไว้ไม่ให้คลาดเคลื่อน ไม่ยอมทีเดียว รักษาความเลื่อมใสในหมู่ไว้

    นี้พวกเลื่อมใสในหมู่น่ะ หมู่อะไร หมู่พุทธศาสนิกชนนี่แหละ หมู่ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา แต่ว่านกมันก็เลื่อมใสในหมู่เหมือนกันนะ หัวหน้าไปทางไหนละก้อ ไป เป็นแถว ไม่คลาดเคลื่อนละ นั่นก็เลื่อมใสในหมู่เหมือนกัน ขาดหมู่ไม่ได้ หมู่เนื้อ หมู่นก หมู่ปลา เขาก็เลื่อมใสในหมู่ เป็นธรรมชาติของสัตว์พวกนั้น หมู่ภิกษุสามเณรเล่า ก็เป็น ธรรมชาติของหมู่ภิกษุสามเณรเหมือนกัน เพราะมีธรรมเสมอกัน มีธรรมร่วมกัน มีศีล 227 ศีล 10 ร่วมกัน ประพฤติธรรมร่วมกัน มีศีลร่วมกัน สมาธิร่วมกัน ปัญญาร่วมกัน พวกนี้ อยู่ที่ไหนก็รักใคร่กันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ขาดตกบกพร่อง ทำสิ่งใดก็ ทำพร้อมๆ กัน เลิกสิ่งใดก็เลิกพร้อมกัน ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ซึ่งกันและกัน นี่พวกนี้เลื่อมใส ในหมู่ทั้งนั้น ลักษณะเลื่อมใสในหมู่นี่แหละเป็นธรรมสำคัญ มีอยู่แก่บุคคลใด เลื่อมใสในหมู่น่ะ หมู่ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ ผู้มีธรรมกาย หมู่มีธรรมกายก็รักใคร่ในกันและกัน ไม่ทุ่มเถียง กัน พูดก็อนุโลมตามกันอนุมัติกัน ไม่แก่งแย่งกัน พวกที่แก่งแย่งกันเสีย คัดค้านกันเสีย นี่ทำ หมู่ให้แตก ทำพวกให้แตก อย่างนี้เรียกว่าไม่เลื่อมใสในหมู่ คัดค้านในหมู่ ต้องเลื่อมใสในหมู่ ไม่ให้หมู่แตก ไม่ให้หมู่กระเทือนทีเดียว เพราะพร้อมซึ่งกันและกันนี่ สงฺเฆ ปสาโท ความ เลื่อมใสในหมู่มีอยู่แก่บุคคลใด บุคคลนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนไม่ยากจน เป็นคนมั่งมีทีเดียว เลื่อมใส ในหมู่น่ะ ฉลาดอยู่คนเดียวไม่ได้ เข้าใกล้ใคร มีลัทธิอันใดที่ตนมีอยู่ ลัทธิของตัวที่มีอยู่นั้น ไม่รังเกียจเดียดฉันท์ เอาใจใส่ แนะนำตักเตือน ให้ซึ่งกันและกัน รู้เหมือนตน มีนิสัยใจคอ อันเดียวกัน ไปไหนก็ไปในหมู่เดียวพวกเดียวกัน

    เหมือนพระพุทธเจ้าท่านอุบัติตรัสขึ้นในโลก ท่านมีธรรมกาย ธรรมกายเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระตถาคตเจ้า ท่านมองทีเดียวแหละ ใครจะมีธรรมกายเหมือนเราบ้าง ท่านมีความ รู้วิเศษ คนนี้มีเหตุได้สั่งสมอบรมมา สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยกันแล้ว บารมีเป็นเหตุ บารมีแก่แล้ว สมควรที่จะได้มรรคผล สมควรจะมีได้ธรรมกายเหมือนเรา ไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกล พระองค์ อุตส่าห์พยายามไปแนะนำ ให้มีธรรมกายเหมือนท่าน เมื่อมีธรรมกายเหมือนท่าน ก็เป็นหมู่ เดียวกับท่าน เป็นพวกเดียวกับท่าน พอมีธรรมกายเหมือนท่าน ก็เป็นพวกเดียวกับท่านเป็น หมู่มีธรรมกายน่ะเป็นชั้นๆ เป็นพระอรหันต์ อรหัตบ้าง เป็นพระอนาคาบ้าง เป็นพระสกทาคา บ้าง เป็นพระโสดาบ้าง เป็นโคตรภูบ้าง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน พระองค์เสด็จไปแนะนำสั่งสอน ให้มี ธรรมกายปรากฏขึ้นเหมือนพระองค์ เมื่อมีธรรมกายปรากฏขึ้นเหมือนพระองค์แล้ว ก็เป็น พระพุทธเจ้าทีเดียว เมื่อมีธรรมกายก็รู้จักพระตถาคตเจ้าทีเดียว รู้จักพระตถาคตเจ้าว่า อ้อ! นี่เป็นพวกเดียวกันหมู่เดียวกัน นั่นท่านผู้นั้นก็เลื่อมใสในหมู่ อยู่ที่ไหนไม่ว่าใกล้และไกล เวลาจำพรรษาต่างกัน ไกลจากกัน ไปมากันไม่ถึง พอปวารณาพรรษาแล้วละก็ ต่างฝ่าย ต่างมุ่งแน่แน่วไปเฝ้าพระศาสดาที่วิหารเชตวันทีเดียว มาสะบักสะบอมทีเดียว ผ้าผ่อนเปียก น้ำคร่ำฝนมาทีเดียว เคลอะคละมาด้วยตมด้วยเลนทีเดียว พระองค์เห็นความลำบาก ความเลื่อมใสในหมู่ของพระสงฆ์มากด้วยความลำบากเช่นนี้ เมื่อมีความลำบากเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงอนุญาตวินัยบางข้อ ให้ภิกษุไปมาเฝ้าพระตถาคตเจ้าได้สะดวก ด้วยการไปมา ในเรื่องนี้พระศาสดาถึงความใหญ่ นับความเลื่อมใสในหมู่น่ะ เลื่อมใสในหมู่ หมู่มีศีลก็ต้อง ให้มีศีลเหมือนกัน หมู่มีสมาธิให้มีสมาธิเหมือนกัน หมู่มีปัญญาให้มีปัญญาเหมือนกัน หมู่มีความวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็ให้มีเหมือนกัน ถ้าหมู่มีธรรมกายก็ให้มีธรรมกาย เหมือนกัน นี่เป็นอันเลื่อมใสในหมู่ สงฺเฆ ปสาโท ยสฺสตฺถิ ความเลื่อมใสในหมู่มีอยู่แก่ บุคคลใด บุคคลนั้นเรียกว่าเป็นคนมีปัญญา เป็นคนมีอริยทรัพย์ภายในทีเดียว แสดงตัวเอง อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น นี่เป็นข้อที่ 3

    ข้อที่สี่ อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรง ความเห็นตรงมีอยู่แก่บุคคลใด เห็นตรง น่ะ เห็นอย่างไร เห็นตรง ไม่คด เห็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ว่า ทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์นั้น ไม่ใช่ทางอื่น มีทางเดียว ทางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย เดินไป ในกลางทางนั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย กายมนุษย์ก็มีกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ ถ้าว่ากายมนุษย์ละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ ก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ กายทิพย์ละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ละเอียด กายรูปพรหมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียดก็มี ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย อรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด กายธรรมก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม กายธรรมละเอียดก็มีดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายธรรมละเอียด ในกลางดวงธรรมนั่นแหละ ดำเนินไปทางกลางดวงธรรมนั้น ดำเนินไปใน ทางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เดินไปในทางนั้นเหมือนกันหมด และเข้าถึงกายธรรมละเอียด

    เดินไปในกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงนั่น ก็เข้าถึงกายทิพย์ เดินไปอย่างนี้ก็จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมก็เดินไปอย่างนี้ ไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายอรูปพรหม ก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายธรรม ก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ เข้าถึงกายธรรมละเอียดก็เดินไปแบบเดียวกันนี้ นี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นเป็นธรรมชาติตรงทีเดียว นี่ตรงอย่างลึกลับ ตรงอย่างทางมรรคผล ทีเดียว

    ถ้าตรงผิดจากมรรคผลล่ะ ย่นย่อลงมาเสียกว่านั้น ความเห็นต่ำลงมากว่านั้น โลก ประเพณีวิสัยความเป็นไปของมนุษย์นี่ ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ประพฤติไปตามสุจริตกาย สุจริตวาจา สุจริตใจ ตัวเองก็ไม่ให้รับความเดือดร้อนประการใด ด้วยกาย วาจา ใจของตัว คนอื่นก็ไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะกายวาจาใจของตัว ทั้งตนและ บุคคลผู้อื่นก็ไม่ได้รับความเดือดร้อนเพราะกาย วาจา ใจของตัว นี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงนี้ต่ำลงมา ต่ำลงมากว่าทางมรรคผลดังกล่าวแล้ว

    ต่ำลงไปกว่านั้นอีก การเลี้ยงชีพหารายได้ของมนุษย์ หรือการปกครองสมบัติของ มนุษย์ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ชาวนาทำนาก็ไม่รุกคันไร่คันนากัน ชาวสวนทำสวนก็ไม่รุก คันไร่คันสวนกัน การค้าขายก็ไม่เบียดแว้งกัน ค้าขายกันโดยซื่อตรง ไม่อิจฉาริษยากัน ดังนี้ เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงเหมือนกัน หรือปกครองประเทศก็ไม่เบียดแว้งขอบ เขต ประเทศกัน ไม่เกี่ยงกัน คนในปกครองในกันและกัน เดินตรงๆ เอ็งจะมาอาศัยก็มาเถอะ โดยตรง ฉันชอบเดินตรงๆ ผู้มาอาศัยเล่าก็มาอาศัยโดยตรงๆ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมเป็นอุบาย ปลอมตัวเข้ามา อย่างนี้เรียกว่า อุชุภูตญฺจ ทสฺสนํ ความเห็นตรงอย่างต่ำลงมา ความเห็นตรง อย่างนี้ก็ใช้ได้ดุจเดียวกัน

    เพราะเหตุนั้น ในข้อที่ 4 นี้ เมื่อมีความเห็นตรงเช่นนี้ก็จะเป็นภิกษุสามเณรหรือ อุบาสกอุบาสิกา ก็ได้ชื่อว่ามีอริยทรัพย์อยู่ภายใน เป็นคนมีอริยทรัพย์ เป็นผู้มีดวงใจจรดถูก กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ความเห็นไม่มีพิรุธเลย หรือความทำก็ไม่มีพิรุธเลย ความพูดก็ไม่มีพิรุธเลย ความคิดก็ไม่มีพิรุธเลย เพราะใจนั้นวางถูกหลัก ถูกเป้าหมายใจดำ ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เหตุนั้นท่านจึงยืนยันว่า อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ ทั้ง 4 จำพวก การเลื่อมใสไม่กลับกลอก ความเลื่อมใสไม่กลับกลอก มั่นด้วยดีในธรรมกาย ศีล อันดีงามอันพระอริยเจ้าใคร่ชอบใจ อันพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว และความเลื่อมใสในหมู่ มีอยู่แก่บุคคลใด ความเห็นตรงมีอยู่แก่บุคคลใด อทลิทฺโทติ ตํ อาหุ ว่านักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นคนมีอริยทรัพย์ เป็นคนไม่ยากจน เป็นคนไม่ขัดสน เป็นคนมีอริยทรัพย์อยู่ภายใน ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ปสาทํ ธมฺมทสฺสนํ อนุยญฺเชถ เมธาวี สรํ พุทฺธาน สาสนํ เพราะเหตุนั้น เมื่อบุคคลมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้ ควร ประกอบความเชื่อ ควรประกอบความศีล ควรประกอบตามความเลื่อมใส ควรประกอบตาม ความเห็นธรรมไว้เนืองๆ ให้มั่นในขันธสันดาน ย่อมประสบสุขพิเศษ ไพศาลในปัจจุบันนี้ และต่อไปในภายหน้า

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอำนาจพระพุทธทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ ทั้งปวง พุทฺธรตนํ ธมฺมรตนํ สงฺฆรตนํ ติณฺณํ รตนานํ อานุภาเวน ด้วยอานุภาพรัตนะทั้ง 3 พระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ จตุราสีติสหสฺสธมฺมกฺขนฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพ พระธรรมขันธ์ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอานุภาพปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอานุภาพชินสาวก สาวก ของท่านผู้ชนะมาร จงดลบันดาลความสุขสวัสดิ์ให้อุบัติบังเกิดมีเป็นปรากฏในขันธปัญจก แห่งท่านทานิสราบดีทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียง เท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    เหตุที่คนทำดีได้ชั่ว ทำชั่วแล้วได้ดี

    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พระอานนท์ได้กราบทูลให้ทรงทราบถึงเรื่องที่พระสมิทธิ ตอบปัญหาของโปตลิบุตร แต่เพียงแง่เดียว ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด ทรงตำหนิว่าเป็นคนเปล่า เพราะปัญหาบางข้อต้องแยกตอบ แล้วทรงจำแนกกรรม ที่บุคคลทำแล้วได้รับผลดีหรือชั่ว แบ่งออกเป็น ๔ พวกคือ

    ✅ ๑. คนบางคนที่เกิดมา ชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม พูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภมาก พยาบาท และเห็นผิด

    ตายแล้วไปนรกก็มี เพราะผลกรรมชั่วที่ทำไว้ในชาตินี้ จะต้องได้รับผลในชาติหน้า และชาติต่อๆ ไปอีก

    ✅ ๒. คนบางคนที่เกิดมา ชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดกาม พูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภมาก พยาบาท และเห็นผิด

    ตายแล้วไปสวรรค์ก็มี ที่เป็นดังนี้เพราะเหตุว่ากรรมดีที่ทำไว้ก่อนๆ กำลังให้ผลอยู่ ส่วนกรรมชั่วในปัจจุบันยังไม่ให้ผล หรือเมื่อเวลาใกล้ตาย มีความเห็นชอบ จึงถือเอาอารมณ์นั้นไปเกิดในสวรรค์

    ✅ ๓. คนบางคนที่เกิดมา ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภมาก ไม่พยาบาท และเห็นชอบ

    ตายแล้วไปสวรรค์ก็มี เพราะกรรมดีที่ทำไว้ในปัจจุบันให้ผล ต้องได้รับผลดีในชาติหน้า และชาติต่อไป

    ✅๔. คนบางคนที่เกิดมา ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดกาม ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภมาก ไม่พยาบาท และเห็นชอบ

    ตายแล้วไปนรกก็มี ที่เป็นดั่งนี้เพราะกรรมชั่ว ที่ทำไว้ในชาติก่อนๆ กำลังตามมาให้ผลอยู่ ส่วนกรรมดีที่ทำไว้ในปัจจุบันยังไม่ให้ผล
    หรือเวลาใกล้ตาย มีความเห็นผิด จึงถือเอาอารมณ์นั้นไปเกิดในนรก

    มหากัมมวิภังคสูตร ๑๔/๓๓๒

    ขยายความ

    พระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดง “กฏแห่งกรรม” ไว้ชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว ขอให้ชาวพุทธทุกท่าน โปรดท่องหรืออ่านให้บ่อยๆ จนขึ้นใจ และจำได้

    เมื่อเราทำดี แล้วได้รับผลชั่ว ก็จะได้ไม่ท้อใจ ยอมรับความจริงว่า ผลของอกุศลกรรมเก่ากำลังให้ผลอยู่ ใจก็ย่อมสงบสุขได้.

    เอกสารอ้างอิง : ธรรมรักษา. พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,982
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    29790647_1739404936136738_8192184314856135374_n-jpg.jpg





    มรรคจิต มรรคปัญญา


    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สอนศิษยานุศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมก้าวหน้าแล้วให้เจริญปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา เป็นต้น มีปรากฏในหนังสือวิชชามรรค ผล พิสดาร ภาค ๒ หน้า ๗๐ ว่า


    ... “กิเลสของภาคดำ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ, โลภะ โทสะ โมหะ, ราคะ โทสะ โมหะ, กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย


    สมบัติของภาคขาว คือ ทาน ศีล ภาวนา, ศีล สมาธิ ปัญญา, อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา, โคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า” ...


    * * * * * * * * * * * * * *

    “มรรคจิต มรรคปัญญา” นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้อรรถาธิบายว่าสมถะที่เจริญเพิ่มพูนแล้ว พัฒนาเป็นมรรคจิต วิปัสสนาเจริญเพิ่มพูนแล้ว พัฒนาเป็นมรรคปัญญา มีปรากฏในคัมภีร์มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ภาค ๒ หน้า ๓๐-๓๑ ว่า


    พุทธพจน์ว่า ย่อมอบรมจิต ความว่า เจริญเพิ่มพูน พัฒนามรรคจิต...


    พุทธพจน์ว่า ย่อมอบรมปัญญา ความว่า มรรคปัญญาอันวิปัสสนาให้เจริญ คือให้เพิ่มพูนให้พัฒนา...


    สหชาตธรรมทั้งสอง คือมรรคจิต มรรคปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยประการฉะนี้.


    * * * * * * * * * * * * * *

    พุทธพจน์ที่ว่า “ย่อมอบรมจิต และ ย่อมอบรมปัญญา” นั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในวิชชาภาคิยธรรม (ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา) มีปรากฏในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต (๒๐/๒๗๕-๒๗๖/๗๗-๗๘) ว่า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้


    วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญ ด้วยประการฉะนี้แล


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...