สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ในปัจจุบันนี้ถ้าว่ากันตามหลักการปฏิบัติแบบมโนมยิทธิ มีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุด ? ต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด
    ธรรมกายนั้นจริง ๆ แล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่าธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณคือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้นเป็นการใช้ผลของกสิณ ฟังให้ดี ๆ นะ..อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จเรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม ? แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วมโนมยิทธิจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากว่าเราซักซ้อมจนคล่องตัว ท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกันคือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น...พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระจูฬปันถกเถระนี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้ เหมือนอย่างกับถอดใส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝัก กลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลย และท่านสามารถกำหนดได้มากถึง ๑,๐๐๐ องค์ แล้วทั้ง ๑,๐๐๐ องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า ๖๒/๖๓ พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี

    https://www.facebook.com/photo.php?...042.1073741826.100005634826993&type=3&theater
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    rSh7IBQX82FIMle3DiTDrmc5B-rZELO5nwQ0wRCXy_Sg&_nc_ohc=bW-cavzPGJoAX8p0MvE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    qdLTSPrFhfjW7mqTQ1UFtfBPout10qYTHG56JIq1CgIW&_nc_ohc=zHSKjFJrOsIAX-s78B4&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    สมาธิเบื้องต่ำและสมาธิเบื้องสูง

    28 กุมภาพันธ์ 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ อริยสาวโก โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตนฺติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา.
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา. อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชมฺปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชมฺปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ. สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพ ว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรตีติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตาติ.




    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในเรื่องสมาธิ ซึ่งเป็นลำดับอนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และโดยปริยายเบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำ โดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกัน ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่าน ผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า เริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนาในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับต่อไป

    มีคำปุจฉาวิสัชชนาว่า กถญฺจ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง

    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า

    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธึ ย่อมได้ซึ่งสมาธิ ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ

    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า

    อิธ ภิกฺขุ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่ 1 เป็นไปด้วยกับวิตก วิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

    วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงซึ่ง ทุติยฌาน ความเพ่งที่ 2 ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติสุขเกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่ 2

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจากความปีติ อุเปกฺขโก จ วิหรติ มีอุเบกขาอยู่ 1, สโต จ สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ 1, สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุขด้วยนามกาย 1, อริยา อาจิกฺขนฺติ อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่ง ตติยฌาน ความเพ่งที่ 3 อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่ มีสติอยู่เป็นอุเบกขา ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่ 3 อย่างนี้แหละ

    สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้แล้ว ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมี ในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธึ เข้าถึงซึ่ง จตุตถฌาน ความเพ่งที่ 4 ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความ ของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไป เป็นข้อที่ลึกล้ำคัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน

    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ถือเอาความตามพระบาลีนี้ ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง 6 ไม่ได้เกี่ยวแก่ ใจเลย เรียกว่าปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธึ นั่นแหละสมาธิล่ะ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มี สองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ

    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง บาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย ของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌาน เต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่มใจ “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่า ปีติ “สุข” มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชํ ประกอบ ด้วยองค์ 5 ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ 5 ประการ นี้ปฐมฌาน

    ทุติยฌานเล่า วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบวิตกวิจารเสียได้ ความตรึกความตรอง ตรวจตราไม่มี สงบวิตกวิจารเสียได้ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เข้าถึงซึ่งทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ระคนด้วยองค์ 3 ประการ คือ ปีติ สุข เกิดแต่สมาธิเหมือนกัน นี่เข้าถึงทุติยฌาน

    ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ ปราศไปจากความปีติ ไม่มีปีติ เข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ระคนด้วยองค์ 2 ประการ คือ สุข เกิดแต่สมาธิ หรือ “สุข” “เอกัคคตา” อย่างนี้ ก็ได้ เพราะเกิดแต่สมาธิ

    ระงับสุข สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขละทุกข์เสียได้ หรือดับความดีใจ เสียใจอันมีในก่อนเสียได้ เข้าถึงจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ระคนด้วยองค์ 2 ประการ มีสติ บริสุทธิ์ วางเฉย อยู่สองประการเท่านั้น ที่จับตามวาระพระบาลี ได้ความอย่างนี้ นี่เป็นปริยัติ แท้ๆ ยังไม่เข้าถึงทางปฏิบัติ

    ส่วนสมาธิในทางปฏิบัติเป็นไฉน ในทางปฏิบัติละก้อ มีรสมีชาติดีนัก สมาธิในทาง ปฏิบัติ ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงแบบเดียวกัน

    อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ นี่สมาธิในทางปฏิบัติ กระทำอารมณ์ทั้ง 6 รูปารมณ์ สัททารมณ์ รสารมณ์ คันธารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ ไม่ให้ติดกับจิต หลุดจากจิตทีเดียว เหลือแต่จิตล้วนๆ ไม่มีอารมณ์เข้าไปแตะทีเดียว เหมือนอะไร เหมือนคนที่เวลานอนจะใกล้หลับ เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่ รูปารมณ์บ้าง นึกถึงอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง อนาคตบ้าง สัททารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต คันธารมณ์บ้าง ที่เป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต รสารมณ์บ้าง ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต โผฏฐัพพารมณ์บ้าง ที่เป็น ของเก่าของใหม่ ของปัจจุบัน หรือธรรมารมณ์บ้างที่เกิดอยู่ในเดี๋ยวนั้น ที่ล่วงไปแล้ว และ ที่จะเกิดต่อไป อารมณ์เหล่านี้แหละวุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ไม่หลับนอน ตลอดคืนยังรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์มันเข้าไปติดกับใจ มันไปเกี่ยวข้องกับใจ มันไปบังคับใจเสียนอนไม่หลับ มันไม่หลุด เมื่อไม่หลุดเช่นนี้ละก็ เรียกว่าสละอารมณ์ไม่ได้

    เมื่อสละอารมณ์ได้ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่ง บางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทาง เห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลางกายมนุษย์นี่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็ใสบริสุทธิ์เท่า ฟองไข่แดงของไก่นั่นแหละ แต่ส่วนจิตที่เป็นสมาธิก็อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ไม่ใช่จิตดวงเดียว ในกลางดวงจิตมีวิญญาณ แต่ดวงจิตอยู่ในกลางดวงจำ ดวงจำอยู่ในกลางดวงเห็น แต่ว่าพูดถึงจิตดวงเดียวแล้วก็ จิตไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทีเดียว อารมณ์ไม่เข้าไปแตะทีเดียว นิ่งหยุด ดิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ แล้วผู้ปฏิบัติของตัวก็เห็น ใครเห็น นี้เป็นทางปฏิบัติ กายมนุษย์ละเอียดมันเห็น ไม่ใช่กายมนุษย์คนหยาบนี่ กายมนุษย์ละเอียดที่มันฝันออกไป กายมนุษย์คนนั้นแหละมันเห็น มันอยู่ในกลางดวงนั่นแหละ มันเห็นดวงจิตบริสุทธิ์สนิทหลุดจากอารมณ์ดังนี้ ไม่มีอารมณ์เข้าไปเกี่ยวข้องเลยทีเดียว เป็นดวงจิตใสเหน่งอยู่นั่นแหละ เหมือนไข่แดง แต่ว่ามันไม่ใสอย่างไข่แดงหรอก ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้า ใสเหน่งทีเดียว ตากายมนุษย์ละเอียดมันเห็น เพราะว่ามันก็รู้ว่าดวงจิตของมนุษย์ เวลานี้ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์ทั้ง 6 เลย อารมณ์ทั้ง 6 ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวเลย หลุดจากกันหมด เห็นอย่างนี้เรียกว่า โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธึ มันก็นิ่ง นิ่งแน่นอนอยู่กับดวงจิต มั่นไม่คลาดเคลื่อน ดวงจิตนั่นก็ซ้อนอยู่กับดวงจำ ดวงเห็น ดวงวิญญาณก็ซ้อนอยู่ในกลาง ดวงจิตนั่นแหละ ทั้ง 4 อย่างนี้ซ้อนไม่คลาดเคลื่อนกันเป็นจุดเดียวกันนั่นแหละ ไม่ลั่นลอดจากกัน เป็นก้อนเดียวชิ้นเดียวอันเดียวทีเดียว เห็นชัดๆ อย่างนี้เรียกว่าสมาธิในทางปฏิบัติแท้ๆ อย่างนี้เรียกว่าได้สมาธิ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ถึง เอกคฺคตา ได้ถึงซึ่งความเป็นหนึ่ง จิตดวงนั้นแหละ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว ไม่มีสอง ไม่มีเขยื้อน แน่นแน่ว เหมือนอย่างกับน้ำที่ใส่ไว้ในแก้วตั้งไว้ ในที่มั่น ไม่มีลมพัดมาถูกต้องเลย ไม่เขยื้อนเลยทีเดียว อยู่ทีดียว หยุดอยู่กับที่ทีเดียว นั้นได้ชื่อว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งทีเดียว จิตถึงซึ่งความเป็นหนึ่งขนาดนั้น นั่นได้สมาธิอย่างนี้ เรียกว่าได้สมาธิแล้ว แต่ว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ อย่างนี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่สมาธิ โดยปริยายเบื้องสูง

    สมาธิท่านวางหลักมาก ไม่ใช่แต่จิตแน่นเท่านี้ ไม่ใช่แต่จิตปราศจากอารมณ์ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งเท่านี้ สมาธิท่านวางหลักไว้ถึง 40 แต่ว่า 40 ยกเป็นปริยายเบื้องสูงเสีย 8 เหลืออีก 32 นั้นก็เป็นที่ทำสมาธิเหมือนกัน แต่ว่าเป็นสมาธิฝ่ายนอกพระศาสนา ไม่ใช่ในนะ สมาธิข้างนอก แต่ว่าเห็นข้างนอกแล้วก็น้อมเข้าไปข้างในได้ ถ้าสมาธิตรงข้างในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เช่นนี้ละก็ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    สมาธินอกพุทธศาสนาออกไปน่ะ ที่พระพุทธเจ้ารับรองอนุโลมเข้ามาในพระพุทธศาสนา นั่น กสิณ 10, อสุภะ 10, อนุสสติ 10 เป็น 30 แล้ว อาหาเรปฏิกูลสัญญา, จตุธาตุววัตถาน เป็น 32 นี่สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำทั้งนั้น ไม่ใช่สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ถึงจะทางปริยัติก็ดี ทางปฏิบัติก็ดี ว่าโดยปริยายเบื้องต่ำ สมาธิโดยทางปริยัติก็แบบเดียวกัน สมาธิโดยทางปฏิบัติ ก็แบบเดียวกัน แต่ว่าสมาธิโดยทางปริยัติไม่เห็น ผู้ทำสมาธิไม่เห็น นั่นสมาธิในทางปริยัติ

    ถ้าสมาธิในทางปฏิบัติ ผู้ได้ ผู้ถึง เห็นทีเดียว เห็นปรากฏชัดทีเดียว นั่นสมาธิในทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัด เห็นปรากฏชัดดังนั้น

    ส่วนสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ต้องพูดถึงฌาน จิตที่เป็นดวงใส ที่เห็นเป็นดวงใสอยู่นั่นแหละ ผู้ปฏิบัติจะเข้าถึงซึ่งสมาธิโดยปริยายเบื้องสูงต่อไปได้ ใจต้องหยุดนิ่งกลางดวงจิตที่ใสนั่น ต้องหยุดนิ่งทีเดียว พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นฌานขึ้นกลางดวงจิตที่หยุดนั่น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางดวงจิตที่หยุดนั่น นิ่งหนักเข้าๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้ากลางของหยุดนั้น เข้ากลางของหยุดพอถูกส่วนถึงขนาดถึงที่เข้า เป็นดวงผุดขึ้นมา เป็นดวงผุดขึ้นๆ กลางนั่นแหละ ดวงใหญ่ไม่ใช่ดวงย่อย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา (8 ศอก) หนาคืบหนึ่ง กลมเป็นปริมณฑล กลมรอบตัว วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ถ้าดวงนั้นผุดขึ้นมา มีกายๆ หนึ่ง กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละขึ้น นั่งอยู่กลางดวงนั้น

    เมื่อกายมนุษย์ละเอียดขึ้นนั่งอยู่กลางดวงนั้นแล้ว นี่เนื่องมาจากดวงนั้นนะ ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นดวงจิตของตัวอีก นี่เป็นสมาธิทำไว้แล้วน่ะ แต่ว่าไม่ใช่ดวงจิตมนุษย์คนโน้น เป็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นปรากฏทีเดียว มันก็นั่งนิ่งอยู่ กายมนุษย์ละเอียดก็เอาใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวนั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่ขึ้นมาเสียชั้นหนึ่งแล้ว พ้นจากกายมนุษย์หยาบขึ้นมาแล้ว กายมนุษย์ละเอียดก็นั่งอยู่กลางดวงฌาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 8 ศอก (2 วา) กลมรอบตัวเป็นวงเวียนหนาคืบหนึ่ง จะไปไหนก็ไปได้แล้ว เข้าฌานแล้ว กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว เมื่อเข้าฌานเช่นนั้นแล้วก็คล่องแคล่ว จะไปไหนก็คล่องแคล่ว เมื่อเข้าฌานเข้ารูปนั้นแล้ว เกิดวิตกขึ้นแล้วว่านี่อะไร รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนี้ ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดวิตกขึ้น ตรึกตรองทีเดียว ลอกคราบลอกคูดู วิจารก็เกิดขึ้นเต็มวิตกก็ตรวจตรา สีสันวรรณะ ดูรอบเนื้อรอบตัว ดูซ้ายขวาหน้าหลัง ดูรอบตัวอยู่ ตรวจตราแน่นอนแล้ว เป็นส่วนของความตรวจตราแล้ว เกิดปีติชอบอกชอบใจปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ เต็มส่วนของปีติเข้ามีความสุขกายสบายใจ เมื่อสุขกายสบายใจแล้วก็นิ่งเฉยเกิดแต่วิเวก ใจวิเวกวังเวง นิ่งอยู่กลางดวงนั่น นี่เต็มส่วนขององค์ฌานอย่างนี้ กายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานแล้วอย่างนี้ เรียกกายมนุษย์ละเอียดเข้าฌานอยู่กลางดวงนั่น นี่สมาธิในทางปฏิบัติเป็นอย่างนี้ แต่ว่าขั้นสูงขึ้นไป เมื่อตัวอยู่ในฌานนี้ ยังใกล้กับของหยาบนัก

    เราจะทำให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ใจกายละเอียดก็ขยาย ใจขยายจากปฐมฌานของกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด กลางกายนั่น หยุดนิ่งอยู่กลางดวงจิตที่เห็นใสนั่น นิ่งหนักเข้าๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า เกิดขึ้นมาอีกดวงเท่ากัน นี่เรียกว่า ทุติยฌาน พอเกิดขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้วละก็ กายทิพย์ทีเดียว กายทิพย์ละเอียดทีเดียวเข้าฌาน ไม่ใช่กายทิพย์หยาบล่ะ กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานอีก แบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียดก็เข้าฌาน อาศัยกายทิพย์หยาบเข้าฌานทีเดียว นั่งอยู่กลางดวงอีกแบบเดียวกัน ชนิดเดียวกัน นั่งอยู่กลางดวงอีก ทีนี้ ไม่มีวิตกวิจาร ละวิตกวิจารเสียแล้ว เหลือแต่ปีติ ชอบอกชอบใจ มันดีกว่าเก่า ใสสะอาดดีกว่าเก่ามาก ปลื้มอกปลื้มใจ เมื่อปลื้มอกปลื้มใจเช่นนั้น เต็มส่วนของความปีติก็เกิดความสุขขึ้น เต็มส่วนของความสุข เข้าใจก็นิ่งเฉย นิ่งเฉยอยู่ในอุราเรียกว่า อุเบกขา นิ่งเฉยอยู่กลางนั่น นี่กายทิพย์ละเอียดเข้าฌานแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็นึกว่าใกล้ต่อกายมนุษย์ละเอียด ที่ละเอียดกว่านี้มีอีก

    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็ขยายจากฌานที่ 2 ใจก็นิ่งอยู่กลางดวงจิตของตัวดังเก่า ต่อไปอีก ของกายทิพย์ละเอียดต่อไปอีก กลางดวงจิตนั่น พอถูกส่วนเข้า ฌานก็ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเท่ากัน ดวงเท่ากันแต่ใสกว่านั้น ดีกว่านั้น วิเศษกว่านั้น คราวนี้กายรูปพรหมขึ้นมาแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็เข้าฌานนั่น แต่ว่าอาศัยกายรูปพรหมหยาบนั่งนิ่งอยู่กลางดวงของตติยฌาน ในนี้ไม่มีปีติ เป็นสุข เอกคฺคตา ก็นิ่งเฉยอยู่กับสุขนั่น มีองค์ 2 เต็มส่วน รับความสุขของตติยฌานนั่นพอสมควรแล้ว กายรูปพรหมละเอียดก็นึกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก

    ใจกายรูปพรหมละเอียดก็ขยายจิตจากตติยฌาน นิ่งอยู่ในกลางดวงจิตของตัวนั่น ใส อยู่นั่น กลางของกลางๆๆๆๆๆ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นมาอีกดวงหนึ่งเป็นดวงที่ 4 เข้าถึงจตุตถฌาน เข้าถึงจตุตถฌานอาศัยกายอรูปพรหมหยาบ และกายอรูปพรหมละเอียดเข้าจตุตถฌาน กายอรูปพรหมละเอียดก็เข้าจตุตถฌานไป เมื่อเข้าจตุตถฌานหนักเข้าเป็นอุเบกขา กายอรูปพรหม เมื่อเข้าฌานนี้มีแต่ใจวางเฉยอยู่ มีสติบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น มีสติวางเฉยบริสุทธิ์เป็น 2 ประการ พอถูกหลักฐานดีแล้ว เมื่อเข้าสู่รูปฌานแน่นอนดังนี้แล้ว ใจกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด อยู่ศูนย์กลางดวงจตุตถฌานนั้น จะเข้าอรูปฌานต่อไป เข้าอากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ต่อนี้ไปใช้กายรูปพรหมละเอียดไม่ได้ ใช้กายอรูปพรหม ใช้กายอรูปพรหมกายเดียวเข้าฌานเหล่านั้น นี้เป็นฌานในภพ ไม่ใช่ฌานนอกภพ ฌานทั้ง 4 ประการนี้แหละเป็นสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง โดยทางปฏิบัติดังกล่าวมานี้ ปฏิเวธ ที่ปรากฏชัด ตามส่วนของตนๆ มารู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นตัวปฏิเวธทั้งนั้น เมื่อเข้าถึงฌานที่ 1 ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่แล้ว เข้าถึงฌานที่ 2 ก็เป็นตัวปฏิเวธอยู่อีก รู้เห็นปรากฏชัด เมื่อเข้าถึงฌานที่ 3 ก็เป็นปฏิเวธอีก ปรากฏชัดด้วยตาของตัว เข้าฌานที่ 4 ก็เป็นปฏิเวธอีก เป็นปฏิเวธทั้งกายมนุษย์ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดก็เป็นปฏิเวธอยู่อีก เข้าถึงกายรูปพรหมก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหม เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียดก็เป็นปฏิเวธของกายรูปพรหมละเอียด ส่วนอรูปพรหมเป็นของละเอียด ส่วนจตุตฌานก็เป็นของละเอียดแต่ว่าเกี่ยวกัน ที่จะเข้าอรูปฌานต้องเริ่มต้นแต่รูปฌานนี้ พอเข้าอากาสานัญจายตนฌานก็ใช้กายอรูปพรหมอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้แล สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

    แสดงมาโดยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านเจ้าภาพและสาธุชน จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้.
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    มองสั้น - มองยาว

    การดำเนินชีวิตของสัตวโลก คือ ทั้งมนุษย์ และทั้งอมนุษย์ (คือสัตวโลกที่ไม่ใช่มนุษย์ ได้แก่ เทวดา พรหม อรูปพรหม ซึ่งเป็นสัตวโลกในสุคติ และเปรต สัตว์นรก อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน ซึ่งเป็นสัตวโลกในทุคคติ) จะเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข หรือจะล้มเหลวและมีทุกข์ อยู่ที่เหตุปัจจัย (ทั้งภายใน - ทั้งภายนอก) ที่ตนเองได้กระทำไว้ เป็นเครื่องปรุงแต่ง

    สัตวโลกบางตน “มองสั้น” สัตวโลกบางตน “มองยาว”


    “มองสั้น” : สัตวโลกที่ “มองสั้น” ก็คือ สัตวโลกที่ประพฤติปฏิบัติตนเพื่อเสพ/เสวย “อามิสสุข” (สุขที่เจือปนด้วยกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย) เฉพาะในปัจจุบันชาติ

    การแสวงหา “อามิสสุข” ของสัตวโลกที่ “มองสั้น” นี้ จะไม่สนใจว่า การได้มาซึ่ง “อามิสสุข” นั้นจะถูกต้องตามทำนองคลองธรรมหรือไม่ คิดแต่เพียงว่า ขอให้ได้มาเพื่อสนอง “ตัณหา” ของตน แม้นจะประพฤติอกุศลกรรมก็ตาม และอาจจะมีบางกรณีที่ไม่สนใจเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเลย

    สัตวโลกที่ “มองสั้น” จึงไม่ได้ใฝ่ใจที่จะศึกษาสัมมาปฏิบัติเพื่อให้ได้มนุษยสมบัติและสวรรคสมบัติที่ดี ที่สมบูรณ์ อันจะเป็นกำลังในการบำเพ็ญบารมี เพื่อให้ได้นิพพานสมบัติ


    “มองยาว” : สัตวโลกที่ “มองยาว” ก็คือ สัตวโลกที่เห็นว่า ตนและสัตวโลกทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ตามกรรมที่ตนได้กระทำไว้ จึงตั้งใจศึกษาสัมมาปฏิบัติตามพระสัจธรรม ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ เช่น การประพฤติกุศลกรรม หรือสูงขึ้นไปก็ศึกษาสัมมาปฏิบัติในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

    การตั้งใจศึกษาสัมมาปฏิบัติเช่นนั้น ก็เพื่อให้ได้มนุษยสมบัติและสวรรคสมบัติที่ดี ที่สมบูรณ์และบริบูรณ์ อันจะเป็นพลวปัจจัยให้ได้บำเพ็ญบารมีได้เต็มกำลัง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้นิพพานสมบัติ ที่เป็น “นิรามิสสุข” (สุขที่ไม่เจือปนด้วยกามคุณ) เป็นบรมสุขอย่างแท้จริง เพราะเที่ยง ไม่แปรปรวนไปตามเหตุปัจจัย และเป็นอมตธรรม ที่ยังยืน ไม่ตาย


    เราจะ “มองยาว” หรือ “มองสั้น” ขึ้นอยู่ที่ตัวเรา ไม่ได้ขึ้นกับใคร


    สุมโน ภิกฺขุ

    yacvCbBqHEBmX_p5tSoFE_yLlBDEEmr2Fqn9OV_Mbvt_&_nc_ohc=5PDF6iLUgYgAX9p_xg6&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ความไม่ประมาท


    lphor_tesna_vn.jpg


    21 พฤศจิกายน 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต
    ปญฺญาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินึ ปชํ
    ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขตีติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดง พุทธภาษิต ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคประทานเทศนา ไว้เป็นหลักฐาน เป็นประธานในสกลพุทธศาสนา พุทธภาษิตนี้พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง ด้วยพระองค์เอง เป็นภาษิตที่ล้ำลึกสุขุมคัมภีรภาพ แต่เทศนาเป็นอุปมาหรืออุปมัย ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ปมาทํ อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต ปญฺญาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินึ ปชํ ปพฺพตฏฺโฐว ภุมฺมฏฺเฐ ธีโร พาเล อเวกฺขติ แปลเนื้อความว่า เมื่อบัณฑิตบรรเทาความประมาทเสีย ด้วยความไม่ประมาท ขึ้นสู่ปราสาทเป็นภูมิอันสูงของ ปัญญา ไม่มีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็น คนพาล เหมือนบุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ภาคพื้น ฉะนั้น

    นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียงเท่านี้ เพียงเท่านี้ เรา ถือเอาความเข้าใจได้ เพราะธรรมของพระผู้มีพระภาคทรงแสดงล้ำลึกกว่า

    เมื่อบัณฑิตบรรเทาความประมาทด้วยความไม่ประมาท ลักษณะความประมาทกับ ความไม่ประมาทนะ ตรงนี้ต้องถือเอาข้อปฏิบัติให้ได้ ความประมาทนั่นคือเลินเล่อเผลอตัว ความไม่ประมาทนั่น คือ ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ไม่เผลอไม่พลั้ง มีสติอยู่เสมอ เรียกว่า ความไม่ประมาท เราขาดสติ อ่อนสติ เรียกว่า ความประมาท เพราะฉะนั้น ความประมาท และไม่ประมาททั้ง 2 ประการนี้ พระองค์ทรงชี้ขาด บรรดาธรรมที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา ไว้ 84,000 พระธรรมขันธ์ ย่นลงในปิฎก 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ความไม่ประมาทนี้เป็นยอดของพระไตรปิฎก ความไม่ประมาทนี้เป็นที่รวมลงของความดี ทั้งหลาย ความประมาทเล่าเป็นที่รวบรวมของความไม่ดีทั้งนั้น ความประมาทเป็นที่รวมลง ของความชั่ว มีมากน้อยเท่าใดรวมลงในความประมาททั้งสิ้น ความดีมากเท่าใดรวมลงใน ความไม่ประมาททั้งสิ้น นี่เป็นหัวข้อรวมอย่างนี้

    เมื่อละความประมาทด้วยความไม่ประมาทเสียได้แล้ว ชื่อว่ามีปัญญา ทรงปัญญาขึ้น สู่ปราสาท สู่ภูมิอันสูงของปัญญา ไม่มีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็นคนพาล ดุจคนขึ้นบนยอดภูเขา แลลงมาเห็นคนยืนอยู่บนภาค พื้นฉะนั้น นี่ได้ความดังนี้ อรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป ผู้ไม่ประมาท ไม่ปราศจาก สติ มีสติตรึกนึกอยู่ ไม่เผลอ นึกอยู่จนกระทั่งหยุดเป็นจุดเดียวกัน ศูนย์กลางดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ บริสุทธิ์เป็นจุดเดียวกัน เห็น จำ คิด รู้ เป็นจุดเดียวกัน ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ บริสุทธิ์ถูกส่วนเข้า ถึงขนาดนั้น เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไม่ได้หยุดอยู่ที่อื่น อยู่แห่งเดียวนั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใจหยุดสนิทอยู่กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใจหยุดสนิทอยู่ศูนย์กลางดวงใสที่เกิดขึ้น นั่นคือ ดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็น ดวงศีล ใสหนักขึ้นไป หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงสมาธิ ดวง เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วน เข้า เห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายมนุษย์ละเอียด

    นี่ได้เข้ามาถึงกายมนุษย์ละเอียด ด้วยความไม่ประมาทแท้ๆ ถ้าประมาทเข้ามาไม่ได้ ไม่ถึงทีเดียว มาไม่ถึง จะมาถึงกายมนุษย์ละเอียดได้เช่นนั้นละก้อ เพราะความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อเผลอตัว เป็นคนแน่วแน่ใจไม่ประมาท ถ้าถึงกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียด ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน มองไปดูกายมนุษย์ เออ! กายมนุษย์นี่เลินเล่อ เผลอตัวแท้ๆ เชือนแชเสียไปทางอื่นแล้ว ทางที่ละเอียดนี้ไม่มา แส่หาแต่ทางที่ผิด ที่ไม่ ถูกต้องร่องรอย ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ เห็นทีเดียวว่า มนุษย์นั้นอยากได้สมบัติ คนอื่นเป็นเบื้องหน้ามาเป็นของตัว ตัวพยาบาทปองร้ายหมายมาดความวิบัติพลัดพรากอยู่ ในกายมนุษย์ ประมาทเลินเล่อเผลอตัว เห็นผิดจากคลองธรรมที่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ผิดจากคลองธรรมที่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไป ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั้นเห็นผิด เข้ามาไม่ถูกที่ เข้าไม่ถูกเช่นนี้

    ทาน กำจัดเสียซึ่งอภิชฌา เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นให้มาเป็นสมบัติของตนเสีย เมตตา รักใคร่ปรารถนาจะให้มนุษย์ได้รับความสุขทุกคน กำจัดเสียซึ่งความพยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ต้องถูกกำจัดเสียได้ด้วยความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เห็นถูกว่าพระพุทธ เจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ด้วยความไม่ประมาทนี้ จึงได้เข้ามาถึงกายมนุษย์ละเอียด พอเห็น กายมนุษย์ละเอียด ก็มองดูกายมนุษย์หยาบโน้น เหมือนคนอยู่บนภูเขามองลงไปดูกายมนุษย์ เหมือนมนุษย์อยู่พื้นแผ่นดิน จะทำท่าอย่างหนึ่งอย่างใด เห็นปรากฏ เห็นเป็นของหยาบทีเดียว เมื่อถึงกายมนุษย์ละเอียด เห็นหมดเสียแล้ว นี่ชั้นหนึ่ง

    ชั้นที่ 2 ตามลำดับขึ้นไป หนักขึ้นทุกที กายมนุษย์ละเอียดก็นึกว่าเราขึ้นมาได้เช่นนี้ เพราะความไม่ประมาท อย่าเลย รีบกระวีกระวาดยึดความไม่ประมาทให้มั่นต่อไปอีก กาย มนุษย์ละเอียดนั้น อยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายมนุษย์ 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่นั้น พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วน เข้าเท่านั้น เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็น กายทิพย์ ทีเดียว เห็นกายทิพย์ชัดๆ กายทิพย์ก็เป็นตัวของตัวแท้ กายที่ฝันในฝัน

    กายทิพย์ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกัน กายทิพย์ก็ลืมตาขึ้นดูกายมนุษย์ เหมือนกัน ดูกายมนุษย์ละเอียด ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดปรากฏชัดขึ้นอีก เห็นชัดอย่างกับ คนยืนอยู่บนภูเขาเห็นคนยืนบนภาคพื้น เมื่อกายมนุษย์ละเอียดนี้ มันยังทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ อยู่ โลภอยากได้ของเขา พยาบาทปองร้ายเขา เพ่งอยากได้สมบัติของเขา พยาบาทปอง ร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม แต่ว่าอย่างละเอียด ไม่ใช่อย่างหยาบ อย่างละเอียดทีเดียว ละเอียดเข้ามา ไม่หยาบเหมือนกายมนุษย์ ละเอียดกว่ากายมนุษย์ออกไป ตากายทิพย์ก็เห็น เห็นปรากฏชัด เมื่อเห็นปรากฏชัดเช่นนั้น ส่วนตัวที่ไปอยู่เห็นกายทิพย์แล้ว มองลงไปในกาย มนุษย์ละเอียด เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาท มองดูคนเกลื่อนกลาดอยู่บนภาคเบื้องล่าง ผู้อยู่ บนภาคพื้น เห็นมีคนชั่วมาก คนดีน้อย คนที่ทำชั่วลามกด้วยกาย วาจา ใจ มีมาก ทำดีด้วย กาย วาจา ใจ มีน้อย เห็นปรากฏชัด ดังนั้น เมื่อเห็นปรากฏชัดดังนั้น คนที่อยู่บนปราสาท ไม่ทุรนทุราย ไม่วุ่นวาย เห็นคนที่ทำความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ นั้น ทุรนทุราย วุ่นวาย กระสับกระส่าย เห็นชัดอย่างนั้น ตากายทิพย์เห็นกายมนุษย์ละเอียด ดังว่าเหมือนคนยืนอยู่ บนภูเขา แลลงมาเห็นคนอยู่บนภาคพื้นฉะนั้น เห็นปรากฏชัดอย่างนี้ เห็นกายมนุษย์ละเอียด นั้น ยังกระวนกระวายอยู่ ส่วนกายทิพย์นั้นไม่วุ่นวาย ไม่กระวนกระวาย หนักแน่นกว่า กายมนุษย์ละเอียด เห็นชัดลงไปอย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะมาที่นี่ได้เพราะเหตุอะไร เพราะไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว มีสติควบคุมอยู่เสมอ สามารถขึ้นมาถึงกายทิพย์ ให้ได้ ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์อีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวง 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    กายทิพย์ละเอียดนั้นก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกัน แต่ว่าละเอียดกว่า โตกว่า กายทิพย์หยาบ เห็นกายทิพย์ชัดๆ ว่ากายทิพย์นี้ยังวุ่นวายทุรนทุรายอยู่ ไม่ค่อยจะสงบนัก ส่วนเจ้ากายทิพย์ละเอียดนั้น สงบกว่าละเอียดกว่า เห็นปรากฏชัดเหมือนคนอยู่บนปราสาท เห็นกายทิพย์นั้นยังประมาท ยังเลินเล่อ ยังเผลอตัวอยู่ ยังทุรนทุรายกระสับกระส่ายอยู่ ส่วน กายทิพย์ละเอียดนั้นสงบเรียบร้อยเป็นอันดี ไม่กระสับกระส่าย ไม่ทุรนทุราย ต่างกันดังนี้ เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาทแลลงมาข้างล่าง ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ต่อมาถึงนี้ จะเห็นอะไร เพราะเราไม่ประมาทไม่เลินเล่อไม่เผลอตัว ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน กลาง ดวงธรรมนั้น หยุดอยู่กลางดวงธรรมนั้น ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วน เข้า ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวง วิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหม

    รูปพรหม ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน เมื่อเห็นกายทิพย์ กายทิพย์ นั้นยังหมักหมมด้วยกิเลส ยังมีกิเลสหนาปัญญาหยาบอยู่ เพราะประมาทเลินเล่อเผลอตัว มีกิเลสหนาปัญญาหยาบอยู่ ที่เราขึ้นมาถึงกายรูปพรหมนี้ เพราะเราไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว จึงขึ้นมาได้ เห็นปรากฏชัดเหมือนบุคคลขึ้นอยู่บนปราสาท เห็นคนที่อยู่ข้าง ล่าง ทำชั่วประการใดประการหนึ่ง เห็นปรากฏชัดว่าพวกนี้เป็นพาลชน ไม่ใช่บัณฑิตธีรชน ก็ไม่กระวนกระวาย เห็นพวกเหล่านั้นกระวนกระวายอยู่ ดุจบุคคลขึ้นอยู่บนภูเขา เห็นคน อยู่บนภาคพื้นฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เราขึ้นมาถึงเพราะอะไร เพราะเราไม่ประมาท รักษาความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัวไว้ ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นกายรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดอยู่กลางดวงธรรมนั้น พอ ถูกส่วน เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวง วิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด

    กายรูปพรหมละเอียด ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกัน มองลงมาเห็นกาย รูปพรหมนี้ยังเลินเล่อเผลอตัว ยังประมาทเลินเล่อเผลอตัวอยู่ เราขึ้นมาถึงที่นี้ได้ก็เพราะไม่ ประมาท ไม่เลินเล่อเผลอตัว เห็นชัดปรากฏชัดแบบเดียวกัน ดุจคนยืนอยู่บนปราสาท เห็น คนอยู่ข้างล่าง หรือคนอยู่บนภูเขา แลลงมาเห็นคนอยู่บนภาคพื้น ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ชั่วด้วย กายอย่างหนึ่งอย่างใด เห็นปรากฏหมด ปรากฏดังนี้ เมื่อเป็นดังนี้ นี่เรามาถึงนี่ได้เพราะอะไร เพราะเราไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว จึงได้ขึ้นมาที่นี่ เมื่อเป็นดังนั้น ใจของกาย รูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด พอถูก ส่วนเข้าเท่านั้น กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ เมื่อถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียดนั้น เห็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แล้วเห็น กายอรูปพรหม

    กายอรูปพรหม ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน เมื่อกายอรูปพรหมเห็น กายรูปพรหมละเอียด ว่ายังประมาทเลินเล่อเผลอตัวอยู่ ยังกระวนกระวายอยู่ ยังไม่สงบ เรียบร้อยกัน แต่ว่าดีขึ้นมาเป็นลำดับ นับว่ายังเลินเล่อเผลอตัวอยู่ ที่เรามาถึงนี้ได้เพราะอะไร เพราะเราไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว จึงขึ้นมาได้ เพราะตั้งอกตั้งใจ เมื่อเราไม่เลินเล่อ ไม่เผลอ ตัวแล้ว รักษาความไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัวนั้นหนักขึ้นไป หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหมนั้น ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เป็น ลำดับ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด

    กายอรูปพรหมละเอียด ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน มองไปดูกาย อรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมหยาบนั้นก็ยังเลินเล่อเผลอตัวอยู่ ยังไม่สนิทชิดชม ยังไม่ กลมเกลียวกันนัก ยังมีความประมาทอยู่ ที่เรามาถึงนี่ได้เพราะอาศัยอะไร เพราะอาศัย ความไม่ประมาทของเรา จึงมาถึงที่นี่ได้ เห็นกายอรูปพรหมนั้น เหมือนยังกับคนยืนอยู่บน ปราสาทเห็นคนข้างล่าง หรือยืนบนภูเขาเห็นมนุษย์ยืนอยู่ที่ภาคพื้น ฉันใดก็ฉันนั้น เห็น ปรากฏทีเดียว เห็นปรากฏเช่นนี้นะ ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็นึกในใจว่า เรามาถึงที่นี่ได้ เพราะความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ถ้าว่าประมาทเลินเล่อเผลอตัว มาถึงที่นี่ ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจหยุดนิ่งอยู่กลางนั้น พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า แต่ กายที่ผ่านมานั้นอยู่ในภพ เข้าถึงกายธรรมเป็นกายนอกภพ

    กายธรรม ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน ตากายธรรมมองดูทั้ง 8 กายนั่น กายอรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด กายรูปพรหมหยาบ กายทิพย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ กายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์หยาบ เห็นทั้ง 8 กายว่า กายเหล่านั้นอยู่ในภพ ซบเซาอยู่ด้วยกามบ้าง ด้วยฌานบ้าง ด้วยอรูปฌานบ้าง ดึงดูดให้ติดอยู่ เราถึงได้ติด หลุดมาได้ พอถึงกายธรรมเช่นนี้ เพราะเราไม่ประมาท มานี่ได้เพราะความ ไม่ประมาท ประมาทมาถึงนี่ไม่ได้ เรามาถึงนี่ได้เพราะเราไม่ประมาท แล้วมองไปดูทั้ง 8 กาย ตั้งอยู่ในความประมาททั้งนั้น ตั้งอยู่ในกิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์

    กิเลสวัฏฏ์ บริโภคกิเลสกาม วัตถุกามไปตามหน้าที่ นั่นกิเลสวัฏฏ์ ยินดีติดอยู่ใน รูปฌาน และอรูปฌานเหล่านี้ เป็นกิเลสวัฏฏ์ทั้งสิ้น กัมมวัฏฏ์ กระทำกิจการงานหน้าที่ เรียกว่า กัมมวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ จึงรัดสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นให้ติดข้องอยู่ พ้นไป ไม่ได้ด้วยอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ด้วยความโลภะ โทสะ โมหะ ด้วยราคะ โทสะ โมหะ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย

    กว่าเราจะหลุดพ้นมาถึงกายธรรมได้นี้ ผ่านอกุศลธรรมเครื่องชั่วทั้งหลายเหล่านั้น เพราะเราดำเนินด้วยความไม่ประมาท เพราะเราให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เราได้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ได้ตั้งอยู่ในศีล 10 อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ได้ตั้งอยู่ใน ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา จึงได้บรรลุมาถึงกายธรรมเช่นนี้ กายธรรมนี้แหละ ลืมตากายธรรมมองดู เห็น พวกเหล่านั้นชัดเจนหมดทุกสิ่งทุกประการ

    นี้แหละเรียกว่า ปญฺญาปาสาทมารุยฺห ล่ะ เข้าถึงกายธรรมก็มีปัญญาทีเดียว ปัญญา แท้ๆ รู้แน่แท้ เห็นกายมนุษย์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายมนุษย์ละเอียดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนกัน กายทิพย์ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายทิพย์ละเอียดก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียดก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาให้ละเอียดออกไปอีก แยกออก เป็น ขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ละเอียด ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    กายทิพย์ก็แยกออกเป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ที่ละเอียดเข้าไปอีก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายทิพย์ละเอียดก็แยกออกเป็นเบญจขันธ์ ทั้ง 5 กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด แยกออกไปเป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายอรูปพรหมก็แยกออกไปเป็นเบญจขันธ์ ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายอรูปพรหม ละเอียด ก็แยกเป็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นปรากฏอย่างนี้ แลลงไปเห็นปรากฏอย่างนี้

    เมื่อเห็นปรากฏอย่างนี้ ก็มั่นอยู่ในกายธรรมนั้น ที่เรามาถึงกายธรรมนี้ได้ เพราะ อาศัยความไม่ประมาท เพราะเราละความประมาทเสียได้ เพราะเราไม่ประมาท จึงได้มาถึง กายธรรมนี้ เมื่อถึงกายธรรม ตากายธรรมก็มองดูเห็นตลอด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายทิพย์ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม โตเป็นลำดับขึ้นมา พอถึงกายอรูปพรหม ละเอียด 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่ เมื่อมาถึงกายธรรม เห็น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดเส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ขนาดเท่าหน้าตักและความสูงของ ธรรมกาย เกือบ 5 วา กลมรอบตัว

    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้า เท่านั้น เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วน เข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมละเอียด

    กายธรรมละเอียดก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน มองดูกายธรรม อ้อ! เรามาจากกายธรรมหยาบโน่น เข้ามาถึงกายธรรมละเอียดนี่ กายธรรมนั้นอยู่ใกล้กายอรูปพรหมละเอียดนัก กลับไปสู่กายอรูปพรหมละเอียดเสียอีก ก็รีบเร่งมาเข้าถึงให้ได้กายธรรม เมื่อถึงกายธรรมเช่นนี้แล้ว เข้าถึงกายธรรมละเอียดเช่นนี้แล้ว เพราะความไม่ประมาทนี้เป็น หลักขึ้นไป ไม่ให้ท้อถอย ไม่ฟั่นเฟือนเลอะเลือน ต้องอุตส่าห์พยายาม ตากายธรรมละเอียด มองดู เพราะธรรมกาย หรือ กายธรรมละเอียดนี้ ทั้ง 2 กายนี้ ยังระคนปนอยู่ด้วยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 3 นี้ปกคลุมหุ้มห่ออยู่ในสันดาน

    สักกายทิฏฐิ ยกตัวถือเนื้อถือตัว ไม่ยอมย่อตัว วิจิกิจฉา เคลือบแคลงสงสัยลังเล ไม่แน่นอนใจสักสิ่ง สีลัพพตปรามาส ยังประพฤติศีลนอกศาสนาอยู่ ยังไม่มั่นใจในศีลศาสนา จริงๆ สีลัพพตปรามาสยังมีอยู่ ศีลวัตรภายนอกศาสนายังมีอยู่ เราจะต้องรีบล้นให้พ้นจาก ธรรมเหล่านี้ด้วยความไม่ประมาท รีบกระวีกระวาด ใจของกายธรรมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเท่ากัน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีลเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางศีล ถูกส่วน เข้า เห็นดวงสมาธิเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระโสดา วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดแล้ว สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส แต่ว่ายังใกล้อยู่กับสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เราเข้ามาถึงกายพระโสดา ไม่เลินเล่อไม่เผลอตัวของเรา นี่ต่อไปนี้เราจะรักษาความไม่ ประมาท อันไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว หนักขึ้นไป

    ใจของกายธรรมพระโสดา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดา วัดเส้น ผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุด นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูก ส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วน เข้า ก็เห็น กายธรรมพระโสดาละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    พอถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านก็มองลงมาเห็น กายธรรมพระโสดา อ้อ! นี่ยังแน่นหนาอยู่ด้วยกามราคะ พยาบาท ทั้งหยาบทั้งละเอียด หรือ ส่วนหยาบนั้นยังหมักหมมอยู่ด้วยกามราคะ พยาบาทหยาบ กายธรรมละเอียดนี่ยังหมักหมม อยู่ด้วยกามราคะ พยาบาท ละเอียด คิดแต่ในใจเช่นนี้ เราต้องกำจัดพวกนี้ออกเสียให้ได้ เด็ดขาด ด้วยความไม่ประมาทของเรา ถ้าขืนประมาทเลินเล่อเผลอตัวอยู่ละก้อ เอาตัวรอด ไม่ได้ ใจกายธรรมพระโสดาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวง เท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน

    ตาของพระสกทาคามองลงมาดูกายธรรมพระโสดาหยาบ-พระโสดาละเอียด อ้อ! นี่ มาหมักหมมอยู่ด้วยกามราคะ พยาบาท ทั้งหยาบทั้งละเอียด นี่เราพ้นมาแล้วหรือ พ้นมาแล้ว ไม่ควรประมาท เรามาถึงนี่ได้ด้วยความไม่ประมาท ไม่ควรเลินเล่อเผลอตัว ไม่ประมาท รีบ กระวีกระวาดจากกายพระสกทาคา หยุดนิ่งกลางดวงธรรมพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    เมื่อถึงพระสกทาคาละเอียดแล้ว กายธรรมของพระสกทาคาละเอียด ก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน มองมาดูกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ว่ายังหมักหมมอยู่ ด้วยกามราคะ พยาบาท อย่างละเอียด เมื่อถึงพระสกทาคาละเอียด เราไม่ควรเลินเล่อเผลอตัว ควรจะพยายามกระทำยิ่งขึ้นไป ใจของพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา ดวงธรรมที่ทำให้เป็น พระสกทาคาละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมพระสกทาคานั้น ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม

    มาถึงพระอนาคาแล้ว มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน ท่านก็มองลงมาดู พระสกทาคาหยาบ-สกทาคาละเอียด นี่ยังหมักหมมอยู่ใน กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียด มาถึงพระอนาคาแล้ว หมดจาก ปฏิฆะ กามราคะ อย่างละเอียด แต่ยังหมักหมมอยู่ในรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว รีบกำจัดทีเดียว กายธรรมของพระอนาคา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา 15 วา กลมรอบตัวเช่นกัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วน เข้า เข้าถึง พระอนาคาละเอียด มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบบเดียวกัน

    กายพระอนาคาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางมองไปดูกายพระอนาคาหยาบ อ้อ! ยัง หมักหมมอยู่ในรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ที่เรามาถึงแค่นี้ด้วยความไม่ ประมาท เราต้องไม่ประมาทต่อไป ใจของพระอนาคาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในกาย ธรรมพระอนาคาละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 วา กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วน เข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนแล้ว เห็น กายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม พอถึงพระอรหัตก็รู้ตัวทีเดียว ขีณาสโว มีอาสวะสิ้นแล้ว กตกรณีโย กิจที่จะต้องทำเสร็จแล้ว นตฺถิ ปุนพฺภโว ภพใหม่ของ เราไม่มี เห็นชัดรู้ชัดเช่นนี้ ก็พยายามว่ามันยังไกลนัก รีบไปให้ถึงพระอรหัตละเอียดต่อไป ด้วยความไม่ประมาท

    กายพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ถึง กายพระอรหัตละเอียด

    นี่ ปญฺญาปาสาทมารุยฺห ขึ้นสู่ปราสาทปัญญาเช่นนี้ นี่แหละบัณฑิตผู้มีปัญญา ละความประมาทเสียได้ด้วยความไม่ประมาท ผู้ทรงปัญญานั้นขึ้นสู่ปราสาทคือภูมิอันสูงของ ปัญญา ไมีมีความโศก ย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้มีความโศก นักปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็น คนพาล เหมือนบุคคลอยู่บนภูเขามองเห็นคนผู้อยู่ที่ภาคพื้นฉะนั้น เห็นปรากฏอย่างนี้ ผู้มี ปัญญาเรียกว่า ปญฺญาปาสาทมารุยฺห ขึ้นสู่ปัญญาเพียงปราสาทได้เพียงนี้ ปราสาทปัญญา อันนี้นะ รู้จริง เห็นจริง ตามความจริงทางพุทธศาสนา ปรากฏอย่างนี้

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,120
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...