เรื่องเด่น นานาเรื่องราวหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Wannachai001, 16 กันยายน 2014.

  1. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    IMG_20170919_131302.jpg IMG_20170919_133008.jpg IMG_20170919_133112.jpg IMG_20170919_133150.jpg
     
  2. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    IMG_20171205_151724.jpg 4-4.jpg
    เล่าประวัติตัวเอง

    จะขอเล่าประวัติตัวเองคือว่าเลวบริสุทธิ์เหมือนกัน ไอ้เลวนี่ไม่ใช่ว่าไปทำอะไรนะ คือว่าเกลียดพระมาก่อน เกลียดจริงๆเลย พระนี่เป็นมารสังคมจริงๆกินข้าวแล้วบางองค์ยังดูดกัญชาอีก เราเห็นแต่สิ่งที่ไม่ดีก็เลยเหมาหมดพระทั้งประเทศไม่ดีทั้งหมด

    ทีนี้เมื่อถึงเวลาบวชก็บวชเป็นประเพณีล่ะนะ แต่พอมาอ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปานเท่านั้น โอ้โฮ ! เรานี่คงหลวมตัวมากเพราะในประวัติหลวงพ่อปาน หลวงพ่อด่าพระเหมือนกัน "ไอ้พวกนี้ไอ้พวกเดียรถีย์ อาศัยพระพุทธศาสนาหากิน" อ่านปุ๊บก็ติดใจ เอ..พระองค์นี้นี่เหมือนกับเราเลย เราเกลียดพวกนี้อยู่แล้ว ทีนี้ก็ไปถามคนที่ให้หนังสือมาเขาก็พามาพบหลวงพ่อ พอพบหลวงพ่อหลวงพ่อท่านเป็นคนไม่ตามใจคนนี่ พอเจอเราเท่านั้นจวกต่อหน้าเลย หลวงพ่อนี่สมัยก่อนไฟท์เตอร์มากนะ จวกคนไม่ยั่นเลย พระเจ้าไม่ดีท่านจวกเลย "ไอ้ยอดแหลมๆนี่แหละตัวดีนัก" พวกเราพอเห็นหลวงพ่อมาโน่นหลบปั๊บ เมื่อก่อนท่านลงเทศน์ทุกวัน ถ้าไม่ดีท่านก็จวกตอนเทศน์นั่นแหละ นั่งคอตกเหงื่อแตก

    จะเล่าเรื่องสักเรื่องหนึ่งนะ ที่วัดนี่หลวงพ่อท่านไม่ให้พระเป็นคนสำอางค์ คือว่าเป็นพระแล้วก็ทำงานอะไรไม่ได้ ทำงานหนักก็ไม่ได้ ทำงานอะไรก็ไม่ได้ กินกับนอนอย่างเดียวนี่ไม่ได้ ท่านไม่ชอบให้พระเป็นอย่างนั้นท่านจึงใช้พระทำงานกันมาก ท่านบอกว่ามันเป็นกุศลด้วย ทีีนี้พระทำงานก่อสร้างกันทุกวันๆมันก็เบื่อก็เซ็ง บางองค์ก็บอกว่าผมไม่อยู่แล้ววัดนี้ ผมต้องไปละเพราะว่ามีแต่งานอย่างเดียวผมจะไปละ ถ้าเหาะไม่ได้ผมไม่กลับวัดนะ บางท่านก็บอกว่าผมจะไปธุดงค์ละ สัก 6-7 องค์ได้ คิดจะไปธุดงค์กันไม่ต้องทำงาน

    วันนั้นหลวงพ่อเกิดลงศาลา พระก็นั่งเป็นแถวบนศาลา ท่านก็เทศน์เลยบอก "ผมนี่นะเลี้ยงหมาไว้ฝูงหนึ่ง ไอ้หมาพวกนี้มันเป็นหมาขี้เรื้อนกันแล้วมันก็คัน มันก็เกาตัวมันแหละ มันลุกสบัดไปแล้วมันก็บอกว่าที่นี่ไม่ดีมันก็ไปนอนที่อื่นอีก แล้วมันก็เกาตัวมันเองอีกแล้วมันก็โทษว่าที่นี้ไม่ดี" บอก "ไอ้หมาฝูงนี้มันไม่โทษตัวมันเองหรอก มันโทษว่าที่ไม่ดี มันจะต้องย้ายที่ไปเรื่อยๆ"

    แหม....โยมคิดดูเถอะ บนอาสนสงฆ์นั่งคอตกเลยหมาฝูงนี้ ท่านบอกไม่โทษตัวมันหมายความว่าความคิดฟุ้งซ่านมันอยู่ที่ตัวเราไม่ใช่สถานที่ สถานที่เขาอยู่เฉยๆ จิตของตัวเราเองเท่านั้นแหละไม่ภาวนา ไม่ให้จิตมันสงบ แหม....ด่าเสียถอนกลดกันหมดเลย โอ...ท่านมีวิธีด่าเจ็บแสบเหลือเกิน

    ทีนี้พระบวชด้วยกันจะมีพระเก่าพระใหม่อยู่ด้วย พระเก่าต้องเป็นตัวอย่างกับพระใหม่ใช่ไหม ธรรมชาติแล้วพระเก่าต้องดี พระใหม่เขาจึงเอาเป็นตัวอย่างได้ ถ้าพระเก่าเลวท่านมีวิธีสอนอีก ท่านก็สอนเลยว่า "เออ..คนเรามันมี 2 อย่าง ถ้าเก่าดีเขาเรียกว่า เก่าลายคราม มีคุณค่าราคาหาประมาณมิได้ และไอ้เก่าอีกอย่างหนึ่ง พระเก่าก็ดี คนเก่าก็ดี ถ้ามันเก่ากะโหลกกะลามันหาราคาไม่ได้"

    แหม..ไม่รู้ท่านหาศัพท์มาจากไหน ทีนี้ก็โจษกันซิ "องค์นั้นซีเก่ากะโหลกกะลา" แน่...คุยวิจารณ์กัน ตกกลางคืนเอาอีก "ไอ้ตัวมันเองไม่ดูตัว ไปโทษคนนั้นคนนี้เก่ากะโหลกกะลา" จวกย้อนศรอีกเอาเราเข้าอีกแล้ว ท่านรู้จริงโอ้โฮ

    แล้วมีอีกคนฟังเทศน์แล้วไม่ค่อยจำ พระฟังเทศน์แล้วไม่มีใครจำใช่ไหม ท่านก็บอก "เออ..หัวนี่คล้ายๆพระนะ มีผ้าเหลืองหุ้มนี่คล้ายๆพระ แต่ไม่ใช่หรอกหัวตอ ไอ้ตักน้ำรดหัวตอนี่มันยังดีนะมันยังเปียก คำสอนเข้าหูซ้ายออกหูขวามันยังผ่านบ้าง แต่ตักน้ำรดหัวหมาชิบพอมันเปียก สลัดพรืด หลุดหมดเลย ไอ้พระจังไรนี่ก็เหมือนกันสอนแล้วไม่จำ..." เรานี่ไม่รู้จะเอาหน้าไว้ไหน โอ้โฮ ไม่รู้ท่านเอาคำเปรียบเทียบมาจากไหน ท่านมีคำที่ปราบได้เด็ดขาด ด่ากันซึ่งๆหน้าอย่างนี้ใครเห็นใครจะอยู่ล่ะ พอเห็นหลวงพ่อมาก็หลบโน่นต้องบอกว่าท่านเก่ง เรากลัวจนลาน กลัวขนาดคุยกับท่านน่ะไม่รู้เรื่องหรอก "ครับๆ" แต่ไม่รู้เรื่องซักคำ ประหม่า แต่ถามคนที่่อยู่ข้างๆจึงจะรู้

    ตอนหลังท่านไม่ได้ลงกรรมฐาน ตอนท่านป่วยมากๆนี่ ท่านลงเมื่อครั้งสุดท้ายนี้ก็มีอยู่คราวหนึ่ง เมื่อปี 35 ทำบุญวันปิยมหาราชที่วิหาร 100 เมตร เด็กนักเรียนก็นั่งเป็นแถว พระก็มาแล้วละ แต่ยังมาไม่ครบ หลวงพ่อมาก่อน "เออ..พระเอ้ย ยังมาไม่ครบกันเหรอ มาครบหรือยัง" "ยังครับ" "เออ...เข้ามานั่งใกล้ๆ" ใครมาไม่ครบท่านก็ดูเอาเทปวาง "เออ...พระมาไม่ครบเหรอ..." เรานึกหลวงพ่อจะคุยอะไร ไม่ได้ด่ากันมานาน "เออ...นันต์ พระลงกรรมฐานครบไหมหว่า.." "ไม่ครบครับ" "เอ้าไปไหนกันหมดล่ะ" "ไม่ทราบครับ" "เลี้ยงสัตว์เดรัจฉานไว้ที่นี่เหรอ มันไม่คุ้มค่าข้าวของชาวบ้านเขานะ"

    อู้หู..ไม่รู้มาจากไหนเรานึกว่าจะคุยกันดีๆ ท่านมีวิธีสอนอีกแบบหนึ่ง คือจวกต่อหน้าคนเยอะๆ จิตมัันจะจำ จะอาย จำแม่น ท่านไม่กลัวเสียคน พระเวลาปลงอาบัติต้องไม่มีอนุปสัมบัน คือเป็นเณรก็ดี ฆราวาสก็ดี ไม่มีใช่ไหม ปลงอาบัติคือสารภาพว่าวันนี้ไปทำผิดอะไรมาตามพระวินัยไม่ให้ทำ แต่ท่านให้มีคนของท่าน ท่านต้องการให้พระอายจะได้จำไม่ทำอีก เรียกว่าจำจนวันตาย

    อย่างอาตมานี่มีอาบัติอยู่ตัวหนึ่ง จะเล่าถึงความชั่วของตัวเอง ปลงอาบัติไปหลายตัวแล้วมาถึงตัวหนึ่ง อาตมานี่ปลงกับหลวงพ่อตัวต่อตัวเลยนะ เป็นองค์แรกที่กล้าปลงกับท่าน จดมาเลย อาตมาก็บอก "ข้าแต่หลวงพ่อผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ยืนปัสสาวะ..." พูดยังไม่ทันจบหลวงพ่อบอก "หยุด ๆ ๆ ๆ แกปลงไม่ตกหรอก แกต้องไปยกขาข้างหนึ่ง" ด่าเราแสบเสียอีก แหม...จำจนตายเลย

    พอปลงอย่างนี้ไม่กี่วัน มันก็มีงานอยู่งานหนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดอยุธยานิมนต์หลวงพ่อไปอยุธยา ให้อาตมาไปด้วย พระก็ไปหลายองค์ ไอ้เราก็ไปเที่ยววัดมงคลบพิตร ฝนมันก็ตก ก็ปวดปัสสาวะ ก็หาที่ไม่ได้ที่ปัสสาวะที่วัดมงคลบพิตร มีที่ยืนทั้งนั้นนี่เราปลงอาบัติมาใหม่ๆ ก็นึก เอ...กูจะทำยังไงโว้ย คิดดูจะทำยังไง ก็เลยตัดสินใจไปบอกหลวงพ่อ ท่านบอก "ไอ้ระยำ ที่ยืนก็ต้องยืนซิ ที่ยืนจะไปนั่งมันงามที่ไหนล่ะ ที่ยืนก็ยืนเขาไม่ปรับหรอก" แหม....เราเถรตรงนี่ ลำบากเหมือนกัน กลัวก็กลัวท่าน แต่ก็ต้องเอาเพราะมันไม่สบายใจ จำไปตลอดชีวิต

    "เอ๋...เวลารับแขกหลวงพ่อท่านร่าเริง เวลาปรกติอยู่สองต่อสอง ท่านคุยยังไงบ้างครับ"

    เมื่อก่อนคุยไม่ออกหรอก มาตอนหลังนี่ได้มาอยู่ใกล้หลวงพ่อ เมื่อพ.ศ. 2525 ตอนนั้นท่านป่วยด้วย ตอนที่ท่านปัสสาวะไม่ออก กล้าตั้งแต่ตอนนั้น ตอนหลวงพ่อท่านจะกินยา ท่านจะปล่อยทุกอย่างมีอะไรก็คุยได้ดีทุกอย่าง คุยแบบเป็นตัวของท่านเองเลย ท่านมีเมตตาทุกอย่าง จะทำอะไรให้ก็ "ขอบใจนะลูกนะ" พูดเพราะ เรานี่พูดเลียนแบบไม่ได้ ท่านพูดเพราะมาก เป็นธรรมชาติของท่านจริงๆ แม้แต่พระพุทธเจ้าพูดกับหลวงพ่อ พูดลูกทุกคำเลย ดูท่านเขียนหนังสือซิ เขียนกับลูกดูซิ และหนังสือของท่านทุกตัวอักษรเลยนะ มีความหมายหมด เพราะว่าท่านเขียนด้วยสติสมบูรณ์ไม่เขียนลื่นไปลื่นมา

    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)



    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 146 เมษายน 2536 หน้า 103-105)


    12108887_10153691928969329_1810144176199581528_n.jpg 12109022_10153715443279329_7296510920200524345_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2020
  3. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    7.jpg

    เรื่อง นิทานเรื่องจริง


    10.jpg 11.jpg 12.jpg 13.jpg 14.jpg พ่อสอนลูก กันยายน 2553.jpg

    (จากหนังสือพ่อสอนลูก ฉบับพิมพ์เดือนกันยายน 2553 หน้า 10-14)

    เรื่องด้านบนนี้นำมาจากส่วน E-Book ของเวบวัดท่าซุง ตามลิงค์ url ด้านล่างนี้ครับ

    http://thasungmedia.com/wat/puy/ebook/index.php

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2019
  4. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
  5. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    ลพ.ศักดิ์สิทธิ์.jpg messageImage_1506275084850.jpg
     
  6. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    DSC_0236.JPG 20170311_121004.jpg
    หลวงพ่อสร้างวัด

    ขณที่มาอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 นั้น ทางวัดไม่มีเงินทองมาก ไม่มีพุทธบริษัทมาสงเคราะห์เหมือนสมัยนี้ ถือว่าอยู่กันตามอัตภาพ มีเงินก็ก่อสร้าง ถ้าประหยัดแรงงานได้พระก็ทำหันทุกวัน ไม่ได้ขาด ไม่มีวันพระ วันโกน อันที่จริงเรื่องทำงานนั้นเป็นงานที่สาธารณประโยชน์ เป็นงานการกุศล ทำแล้วก็ได้สบายใจ

    เมื่ออยู่กันไป พ.ศ. 2516 นั้น หลวงพ่อท่านจะสร้างโบสถ์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 หลัง เพราะหลังเก่านั้น เป็นที่ทรุดโทรมมาก หลังคาก็รั่วโหว่ ฝาผนังก็ผุ ก็ดำริว่า ท่านจะสร้างพระอุโบสถ บูรณะของเก่า แต่ท่านเจ้าอาวาสผู้นิมนต์ท่านมานั้น ยอมให้สร้างเหมือนกันแต่ต้องควบคุมการเงินเอง

    ฉะนั้นเป็นสิ่งที่ผิดปรกติ ผิดปรกติ คือ ไม่ได้หาเงินเอง แต่จะเอาเงินไปเก็บเอง ในฐานะตัวเองเป็นเจ้าอาวาส การที่จะทำอะไรอย่างนี้ เป็นการที่ทำลายศรัทธาของคนผู้มีศรัทธา เพราะว่าผู้ที่เอาเงินมาให้คือ ผู้มีศรัทธานั้น เขาไม่ไว้ใจเจ้าอาวาส เพราะว่าเคยสร้าง สั่งของมาแล้วเป็น 10 ปี ยังทำไปไม่ถึงไหน แต่ออกเงินให้ชาวบ้านเขากู้ บริษัทของตัวเองก็กินเหล้าเมายา เป็นที่ไม่ไว้วางใจของคนดี คนดีที่มีศีลมีธรรม

    เมื่อท่านเจ้าอาวาสยืนยันมาอย่างนั้น หลวงพ่อท่านก็ไม่ตกลงด้วย เพราะว่าเจ้าของเงินที่บริจาคมานั้นเขาไม่ไว้ใจ เจ้าอาวาสท่านจึงสั่งซื้อที่ตรงข้ามกับวัด คือฝั่งถนนที่ปัจจุบันเขียนว่า ศูนย์ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค นั่น 11 ไร่ ขณะนั้นยังเป็นป่า ป่ารกชัฏ เป็นป่าไผ่แถบหนึ่ง ตกลงมีโยมที่เป็นเจ้าของขายให้ในราคาถูก ไร่ละหมื่นบาท คือทำบุญด้วยเมื่อท่านตกลงซื้อที่จะสร้างพระอุโบสถขึ้นมาใหม่ โดยไม่ต้องผ่านเจ้าอาวาส

    เมื่อตกลงซื้อที่แล้ว ก็ต้องถากถางป่าที่ยังรกชัฏอยู่ อันที่จริงสมัยก่อนนั้นเราก็ไม่ค่อยมีเงินมาก ไม่ใช่ไม่มีเงินมาก คือ ไม่มีเงิน คือ ทำก่อนผ่อนทีหลัง จะหารถแทรกเตอร์มาดันป่าก็ไม่มี ฉะนั้นจึงต้องหาแรงงานชาวบ้านส่วนหนึ่ง จ้างเอามาฟัน ส่วนหนึ่งพระฟัน คือฟันป่าไผ่ให้เตียน เมื่อฟันป่าให้ล้มลงแล้ว ปล่อยให้แห้งสักช่วงหนึ่ง ก็จุดไฟเผาให้ลง เพื่อจะทำการวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ

    เมื่อป่าไผ่เตียนลงแล้ว ท่านก็ดำริขึ้นมาว่า ก่อนจะวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถนั้น ให้สร้างกำแพงรอบวัดก่อน ให้จ้างคนมา พระส่วนหนึ่ง ญาติโยมส่วนหนึ่ง มาทำกำแพงรอบวัด ทั้งหมด 11 ไร่ เมื่อทำกำแพงลงไปแล้ว ก็เริ่มสร้างกุฏิหลังแรก ฝั่งพระอุโบสถปัจจุบันนี้ คือ ตึกเศรษฐี อยู่ที่มุมเศรษฐีหลังแรกหลังใหญ่ ปัจจุบันทางขึ้นศาลา 3 ไร่ ศาลา 2 ไร่

    ตอนนั้นเมื่อลงขุดหลุมเสาแล้ว อาตมาเองก็ไปช่วยเขา ตั้งแต่ถมดินทุกอย่าง ก่ออิฐฉาบปูน ขนอะไรทุกอย่าง เมื่อสร้างหลังนั้นขึ้นมาแล้วก็สร้างกุฏิขึ้นพร้อมกันทีเดียว 10 หลัง ตั้งเสา เอาดินถมพื้น ขุดหลุม เทปูนทุกอย่าง ทำไปรวมกับช่างบางส่วน ขณะนั้นพระที่บวชอยู่ด้วยกันที่เป็นช่าง คือ พระวิเชียร ท่านเป็นช่าง เป็นหัวหน้าพระทำงานก่อสร้างครั้งนั้น พระก็ไม่มีกี่องค์ ก็มีอาตมา พระอนันต์ 2. หลวงพี่โอ หลวงพี่พระครูสมุห์พิชิต 3. พระวิเชียร 4. พระน้อม แล้วก็ 5. สามเณรสมศักดิ์ มีอยู่แค่นี้ที่ทำงานก่อสร้างกัน

    เมื่อขึ้นตึก 10 หลังนั้นทั้งหมดแล้ว ขึ้นเป็นเสา เสา ก็ถึงเวลาที่จะวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ ในวันที่ 17 มีนาคม 2517 ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4 ปี ฉลู การวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถนั้น ผู้ที่วางศิลาฤกษ์คือ หม่อมเจ้าสืบ ศุขสวัสดิ์ ทานบิดาของท่านเจ้ากรมเสริม ศุขสวัสดิ์ การวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถนั้น ก่อนวางศิลาฤกษ์จะขอเล่า อาจจะนอกเรื่องไปบ้าง ขอท่านผู้อ่านอย่าถือว่า มันจะดีหรือไม่ดีเล่าสู่กันฟัง

    ก่อนวางศิลาฤกษ์นั้น หลวงพ่อท่านจะบวงสรวงก่อนงาน 1 วัน มีจัดพิธีกรรมก่อน เมื่อจัดพิธีกรรมมีเครื่องบวงสรวงจัดที่หน้าอุโบสถปัจจุบันนั้นยังเป็น ที่ดินยังรกขรุ ๆขระ ๆ เพราะยังไม่ได้เกรด ได้ปรับอะไร ก็มีเจ้าของโรงสีเจ้าอยู่ข้างวัดยาง แกจะสร้างโรงสีใหม่ คือ โรงสีข้าวที่ข้างวัดยางนั้น ก็เอาชิ้นส่วนของโรงสีนั้นมาร่วมพิธีบวงสรวงด้วย หลวงพ่อก็บวงสรวง พอบวงสรวงเสร็จ ท่านก็บอก

    “เฮ้ย.. เจ้าของโรงสีเอ๊ย เข้ามาใกล้ๆนี่ พระภูมิเจ้าที่ เขามาขอนะเดือนหนึ่งแกทำเป็นแปะซะให้เขาสักครั้งได้ไหม เทวดาเขามาขอแป๊ะซะสักตัวเดือนละครั้งได้ไหม”

    เจ้าของโรงสีก็บอก “ได้ครับ”

    ก็เป็นอันว่าบวงสรวงเสร็จก็เลิกกันไป เจ้าของโรงสีก็กลับไปสร้างโรงสีต่อ ต่อมาเมื่อสร้างโรงสีเสร็จก็มีโรงสีแข่งกันสองโรง โรงเก่ากับโรงใหม่ โรงใหม่ขณะนั้นคนเข้าเยอะ ทำอะไรก็เจริญรุ่งเรืองมาก มีความคล่องตัวทุกอย่าง โรงสีเก่านี้มีอยู่ต้องล้มกิจการไปโดยปริยาย

    นี่จะว่าบวงสรวงไม่มีผลก็ไม่ได้ เพราะว่าหลวงพ่อท่านพูดก่อนที่โรงสีจะเสร็จว่า เทวดา พระภูมิเจ้าที่เขามาขอแป๊ะซะเดือนละชุดท่านว่าจะช่วย ก็ตรงตามนั้น หลวงพ่อท่านเป็นผู้ที่รู้จริง อย่างอาตมานั้น รู้เหมือนกันแต่ไม่จริง รู้ตามเขาว่า รู้ตามท่านบอก อย่างหลวงพ่อท่านรู้จริง

    ฉะนั้นท่านสาธุชนที่อยู่เบื้องหลัง ด้านหลังจะขอบอกเสียเลยว่า พระในพุทธศาสนานั้น มีเป็นแสนๆองค์ หรือหลายแสนองค์ ที่รู้จริงๆจากใจ จากตัวท่านเองจริงๆ นั้น รู้จริงๆนั้นมีน้อย รู้ตามตำรานั้นมีมาก คือรู้ตามขี้ปากของคนพูดมาแล้วจำมาพูดต่อนั้นมีมาก ฉะนั้นท่านทั้งหลายเมื่ออ่านหนังสือแล้ว ก็อย่าตกใจ เพราะคนนั้นมีบารมีไม่เท่ากัน จะให้รู้เหมือนกันทุกคนนั้นเป็นไปไม่ได้

    แต่เมื่อท่านทั้งหลายเป็นผู้มีปัญญา เมื่อพบสิ่งที่ดี สิ่งที่ประเสริฐ สิ่งที่เป็นของจริงแล้ว จงนำไปประพฤติปฏิบัติ ก็จะถือว่า ท่านเป็นผู้ที่ประเสริฐตาม เป็นผู้ที่ประเสริฐไปด้วย ถ้าท่านไม่เอาคำสั่งสอนของผู้ที่ประเสริฐไปประพฤติปฏิบัติ ท่านคงจะชอบเดียรถีย์ก็ตามใจ


    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากหนังสือประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หน้า 36-37)


    12033020_474094946101296_707889612865361534_n.jpg
     
  7. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    4.jpg

    สร้างวัดต่อ


    เมื่อผ่าน พ.ศ. 2520 มาแล้ว หลวงพ่อก็ดำริกับอาตมาว่า “นันต์ ต่อไปนี้เราก็ควรจะหยุดสร้างกันแล้ว เบากัน ที่เหนื่อยพักผ่อนไว้ไปเยี่ยมเขาวัดโน่นวัดนี่ ที่เขาเคารพนับถือดีกว่า ไม่เหนื่อย การก่อสร้างของเราจึงทุเลาลง ท่านจึงให้อาตมาเอากระเบื้องที่โรงงานสระบุรีถวายมาจำนวนมาก ให้เอาไปถวายวัดสุขุมาราม ที่อ. บางมูลนาก จ.พิจิตร จำนวน 1 คันรถหกล้อ เพราะว่าวัดเราหมดความจำเป็นที่จะสร้างแล้ว

    เมื่ออาตมาเอาสิ่งก่อสร้างบางส่วนไปถวายวัดอื่นเสร็จไม่กี่เดือน หลวงพ่อก็มีดำริว่า พระพุทธเจ้าท่านให้ลงมือสร้างต่อไป โดยขยายที่ไปทางข้างโรงพยาบาล ซื้อที่ข้างนั้น 30 กว่าไร่ และซื้อที่รอบศาลา 3 ไร่ปัจจุบัน ศาลา 2 ไร่ ซื้อที่ครบไปเลย ตอนนี้เองเมื่อลงมือก่อสร้างรุ่นหลังนี้ท่านสร้างคราวเดียวพร้อมกันใช้ช่าง หรือคนงานประมาณ 300 คน เห็นจะได้ เพราะขึ้นทีเดียวพร้อมๆกัน ท่านเล่า "สมเด็จ" คือ พระพุทธเจ้า ให้ท่านสร้างให้ลุยงานไปเลย

    ท่านบอกเรื่องเงินท่านจะหาให้ หลวงพ่อท่านก็สั่งเกรดที่ปรับที่ คือ ตัดต้นไม้ที่ไม่มีความจำเป็นออก ใช้รถแทรกเตอร์ไถลุยสิ่งที่ไม่จำเป็นออก เหลือไว้แต่ต้นไม้ใหญ่ๆ ตรงที่ศาลา 3 ไร่ ปัจจุบันก็ดี ตึกอำนวยการและพระจุฬามณีก็ดี ตึกกลางน้ำก็ดี แถวนั้นเป็นที่ลุ่มบ้าง ท่านก็สั่งแทรกเตอร์ขุดลานดินขึ้นไปถมเป็นเนิน ทำเป็นสระแล้วปลูกอาคารในสระที่ท่านเรียกว่า ตึกกลางน้ำก็ดี ตึกธัมมวิโมกข์ก็ดี ตึกอำนวยการก็ดี พระจุฬามณีก็ดี ศาลาพระนอนก็ดี ขึ้นพร้อมกันเลย ใช้คนงานมากหลายช่าง ท่านลุยงานใหญ่ทำพร้อมกันเลยทีเดียว เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก

    เมื่อทำงานอย่างนั้นแล้วคนเข้า มารายงานก็มาก คนเริ่มสนใจพระกรรมฐานเพิ่มขึ้น คนปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเพิ่มขึ้น จนการทำงานกฐินแต่ละคราว ที่พระพินิจอักษรปัจจุบันนั้นเต็ม ไม่พอต้อนรับญาติโยม ท่านเลยดำริสร้างศาลา 2 ไร่ขึ้นอีก 1 หลัง คือใช้เนื้อที่ 2 ไร่เพิ่มขึ้น เมื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้น คนปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น ก็จำเป็นต้องก่อสร้างสาธารณประโยชน์ ห้องพัก เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหลวงพ่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างนั้น ก็เริ่มสร้างพระขึ้นมา เรียกว่า พระชำระหนี้สงฆ์ คือ สร้างไว้ตามกำแพงที่วัด เริ่มแรกข้างศาลา 3 ไร่ ก่อน

    เรื่องพระชำระหนี้สงฆ์นั้น เป็นพระที่สร้างชำระหนี้สงฆ์ในอดีตทั้งหมดของตัวเอง คือ คนเราเกิดมานั้น ไม่ทราบว่า จะมีกรรมอะไรมาเบียดบังทำให้เกิดความขัดข้องหมองใจ ความขัดข้องในการทำธุรกิจ ความขัดข้องใจอยู่ไม่เป็นสุขก็ดี อาจเนื่องมาจากเคยหยิบเอาของสงฆ์มาใช้ในอดีต องค์สมเด็จพระบรมครูจึงแนะนำหลวงพ่อให้สอนวิธีชำระหนี้สงฆ์ ให้แก่ลูกศิษย์

    สมัยก่อนหลวงพ่อจะปรารภอยู่เสมอว่า การฝึกกรรมฐานก็ดี การปฏิบัติธรรมก็ดีมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบคือ

    - สุกขวิปัสสโก

    - เตวิชโช
    - ฉฬภิญโญ
    - ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    คือสุกขวิปัสสโกเป็นการปฏิบัติธรรมแบบเรียบๆ มีมรรคมีผล แต่ไม่มีความรู้พิเศษ ส่วนเตวิชโช หรือวิชชา 3 นั้น ปฏิบัติธรรมมีมรรคมีผลเหมือนกัน แต่จะมีความรู้พิเศษ มีทิพจักขุญาณ คือ มีความรู้เป็นทิพย์สามารถจะรู้ว่า คนเกิดมาจากไหนมาเป็นต้น คือมีญาณ 8 ประการ ส่วนฉฬภิญโญนั้น เป็นผู้ที่มีฤทธิ์มาก สามารถจะแสดงฤทธิ์ได้ 5 อย่าง ถ้า 6 อย่างก็จะได้อภิญญา 6 คือหมดกิเลสไปด้วย

    แต่อีกอย่างหนึ่งเขาเรียกว่า ปฏิสัมภิทัปปัตโต คือ ปฏิสัมภิทาญาณ คือ จะมีความรู้พิเศษกว่าองค์อื่นๆ สามารถจะรู้ภาษาสัตว์ ภาษานกภาษากา ภาษาสัตว์ต่างๆทุกชนิด มีความเฉลียวฉลาดในการสอนธรรม หรือปฏิบัติธรรมกว่าองค์อื่น แต่ขณะนี้ที่พูดอยู่นี้ที่เขียนหนังสืออยู่นี้ วัดท่าซุงหรือวัดจันทราราม ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานท่านสอนไว้ ก็คือสอนกรรมฐานทั้งหมด 40 กอง พร้อมด้วยมหาสติปัฏฐานสูตร

    แต่ก็มีพิเศษอย่างหนึ่งคือ การฝึกมโนมยิทธิ คือ มีฤทธิ์ทางใจ บางคนก็มาพูดว่าสอนนอกลู่นอกทาง จะไม่ขอวิจารณ์คนอื่น แต่จะขอพูดให้ญาติโยมเข้าใจว่า มโนมยิทธินั้นพระพุทธเจ้าสอนมาก่อน ขอให้ท่านผู้เป็นมิจฉาทิฎฐิไปอ่านในพระไตรปิฎก เรื่องอภิญญา ไม่ใช้เพ้อฝันหรือแต่งขึ้นมาเอง เป็นการถอดอทิสสมานกาย ออกไปเที่ยวท่องตามภพต่างๆได้ ตามที่พระพุทธเจ้าสอน ขออย่าให้ท่านได้โง่เหมือนอาตมาว่า ตาบอดคลำช้าง คือ รู้ไม่ทั่ว ไม่ใช่ที่พูดนี่จะรู้ทั่ว ถึงฟังมาทั่ว ครูบาอาจารย์สอนมาทั่ว แต่ปฏิบัติไม่ทั่ว

    ฉะนั้นขณะนี้ก็จึงสอนมโนมยิทธิเป็นบางเวลา ส่วนมากก็จะสอนกรรมฐาน 40 ไม่ใช่อาตมาสอน คือ หลวงพ่อราชพรหมยานท่านสอนให้ไว้ครบ ทั้งเป็นวีดีโอเทปก็ดี ทั้งเป็นคาสเซทก็ดี ท่านสอนไว้ครบถ้วนทุกอย่าง ถ้าอาตมาจะสอนเองก็จะพาญาติโยมที่มีศรัทธาแล้วเข้ารกเข้าทางเข้าป่าจะหาทางไปพระนิพพานไม่เจอ เพราะผู้สอนอย่างอาตมานั้นก็ยังเป็นผู้คลำทางอยู่ไม่เหมือนครูบาอาจารย์ท่าน เป็นผู้ที่พบพระนิพพานแล้วจะง่ายในการแนะนำ ขอท่านทั้งหลายจงนำไปประพฤติปฏิบัติเองก็แล้วกัน

    เมื่อท่านสร้างศาลา 2 ไร่เสร็จ ก็มาสร้างศาลา 3 ไร่ เมื่อสร้างศาลา 3 ไร่เสร็จ ก็มาจบที่ป่าไผ่ เป็นโรงอาหารแถวนั้น ให้สร้างกุฏิรอบนอกเสร็จ ก็ซื้อที่หลังวัดไปอีกเป็น 100 ไร่ เรียกว่าป่า 100 ไร่ ท่านก็สั่งให้สร้างหอไตร มีพระยืน 30 ศอก เมื่อช่างสร้างผนังแล้ว ก็ให้สร้างอาคารใช้พื้นที่ 25 ไร่ 3 แถวขึ้น และสั่งทำกำแพงล้อมรอบวัด การทำกำแพง (มันอาจจะเล่าไม่ติด ไม่ต่อกัน ขอท่านทั้งหลายก็อย่าเวียนหัวไปด้วยก็แล้วกัน นึกอย่างไรได้ก็เล่ากัน)

    การสร้างกำแพงวัดมีประวัติว่ารอบวัดด้านนอกนี่ยาวประมาณร่วม 2 กิโลเมตรละมัง ประมาณนั้นเพราะที่คดๆ เคี้ยวๆ ที่ซื้อหลายเจ้าของไม่ติดไม่ต่อกัน แต่เมื่อติดต่อกันแล้วก็เป็นที่คดๆเคี้ยวๆ ก็สร้างกำแพงรอบนอก หลวงพ่อเล่าให้ฟังว่า ที่สร้างกำแพงรอบนอกเป็นเขตวัดนั้น ท่านว่า ภายภาคหน้าจะมีปัญหา พระท่านมาสั่งให้สร้างเมื่อสร้างเสร็จ ก็สร้างรอบนอกชั้นเดียวไปก่อน ก็ให้สร้างเลาะพื้นที่ไปเลยเทลาดยาวรอบนอก รอบที่รอบรั้วกำแพงวัด

    ท่านเล่าให้ฟังภายหลังว่าเมื่อสร้างเสร็จก็จะมีเทวดาที่ปกปักรักษาสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิจะขนสมบัติเข้ามาในพื้นที่วัดทั้งหมด เพื่อจะให้ฝากไว้ในเขตของสงฆ์จะได้ดูแลง่าย ไม่ต้องดูแลว่าใครจะมาเอาสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิไปใช้ ท่านจะช่วยเงินด้วย เมื่อท่านทำกำแพงรอบนอกเสร็จชั้นเดียว คือสูงประมาณ 2-3 เมตร เสร็จแถวเดียวก่อน หลวงพ่อบอกว่า พระมาบอกให้เสร็จสองชั้น ให้ทำทางเดินรอบ หลวงพ่อท่านก็บอกว่า เหนื่อยไม่อยากทำ ท่านก็ทำชั้นเดียวไปก่อน

    เมื่อทำช่วงนั้นเสร็จท่านก็มาเทพื้นคอนกรีตทั้งหมด ในวัดที่มีส่วนอยู่ สร้างศาลา 12 ไร่ขึ้นมา สร้างศาลา 4 ไร่ ติดกับ 2 ไร่เพิ่มขึ้นมา สร้างอาคารรอบ สร้างรั้ว สร้างรอบหมด ท่านพุทธบริษัท หรือญาติโยมที่อยู่ภายหลังอาจจะอยู่หลังหลายสิบปี หรืออาจจะล้มตายสูญหายไปหมด แต่จะมีหนังสือที่เป็นประวัติวัดอยู่ ขอให้ทราบว่า หลวงพ่อสร้างศาลา 2 ไร่ก็ดี คนก็เต็มแน่น เมื่อเวลามีงานกฐินก็ดี เป่ายันต์เกราะเพชรก็ดี คนจะแน่นมาก จนจัดขึ้น 2 รอบ 3 รอบ เมื่อ 2 รอบ 3 รอบก็แน่นแล้ว สร้างศาลา 4 ไร่ขึ้น คนก็เต็มอยู่ดี ก็ยังแน่น แน่นชนิดกราบไม่ได้ 2 รอบ 3 รอบเหมือนกัน

    เมื่อคนเต็มอย่างนี้แล้วก็ไปสร้างศาลา 12 ไร่ คือมีพื้นที่คลุม 12 ไร่ก็จัดงานพิธีกรรมทีหนึ่ง เช่นงานเป่ายันต์เกราะเพชรครั้งหนึ่ง หรือกฐินครั้งหนึ่ง คนก็จะมากันเต็ม เต็มศาลา เป่ายันต์เกราะเพชรครั้งหนึ่ง 2 รอบ ก็เต็มศาลา 12 ไร่ ทั้ง 2 รอบ ถ้าท่านอยู่เบื้องหลังนานเข้าหลายปีก็จะสงสับว่าทำไม สร้างทำไมศาลาใหญ่โต ก็จงตอบเขาไปได้เลยว่า ครั้งที่หลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าซุงอยู่นั้น พอมีงานคราวหนึ่ง เป็นกฐินก็ดี เป่ายันต์เกราะเพชรก็ดีคนจะเต็มหาช่วงกราบไม่ได้

    เมื่อหลวงพ่อท่านสร้าง สร้างส่วนศาลา 25 ไร่ยังไม่เสร็จ ท่านก็สร้างโรงเรียนฝั่งตรงข้ามพระจุฬามณี มีหอพักรับนักเรียนมาอยู่ประจำมีการให้ทุนการศึกษา เมื่อจบมัธยม 6 แล้ว ถ้าเด็กสอบติดมหาวิทยาลัยของรัฐ ก็จะให้ทุนเด็กนั้นคนละ 7 หมื่น 2 พันบาท จนจบปริญญาตรี 4 ปี แต่ทยอยให้เดือนละ 1,500 ตลอดไป แต่เด็กนั้นจะต้องประพฤติดี ปฏิบัติชอบตั้งใจเล่าเรียน

    ท่านสาธุชนคงพอทราบเมื่อสร้างโรงเรียนยังไม่ทันเสร็จก็ซื้อที่หลัง โรงพยาบาลประมาณ 27 ไร่ สร้างพระมหาวิหาร 100 เมตรขึ้นปัจจุบันนี้ โดยสร้างใช้เวลา 2 ปีเสร็จ มีกำแพงล้อมรอบ มีพระพุทธรูป มีวิหาร มีมณฑปแก้วหน้าพระวิหาร 2 หลัง เทพื้นคอนกรีต ทั้งหมดหน้าพระวิหารใช้เวลา 2 ปี โดยช่าง 3-4 ช่างรวมกัน ใช้คนงานประมาณ 100 คน เมื่อสร้างมหาวิหาร 100 เมตรเสร็จ ก็มีดำริจะสร้างมณฑปวิหารสมเด็จองค์ปฐม มีการหล่อรูปสมเด็จองค์ปฐม

    หลวงพ่อนั้นท่านสับเปลี่ยนย้ายกุฏิมาเรื่อยๆ สมัยก่อนๆนั้นท่านอยู่ท่านจำวัดอยู่ที่ตึกริมน้ำ ภาษาชาวบ้านว่า "ตึกริมน้ำ" อยู่ที่วัดเก่าคือ ตรงข้ามกับพระอุโบสถ ฉันอาหารที่นั้นแล้วก็จำวัดที่นั่น ทำงานที่นั่นทั้งหมด เมื่อท่านสร้างตึกกลางน้ำขึ้น จึงเปลี่ยนที่จำวัดคือ ย้ายมาที่ตึกกลางน้ำตอนเย็นๆ ก็จะมาจำวัดที่ตึกกลางน้ำ ฉันเช้าที่ตึกกลางน้ำเสร็จก็จะไปทำงานที่ตึกอินทราพงศ์อยู่ริมน้ำ

    เมื่อตอน 5 โมงเช้า ก็จะฉันภัตตาหารที่ตึกริมน้ำ คืออินทราพงศ์ นั้นแล้วก็จะทำงาน เสร็จจากนั้นก็จะรับแขกที่ตึกรับแขก สมัยก่อนหลวงพ่อรับแขกทีแรกๆเลย รับแขกที่ใต้ถุนหอกรรมฐานเก่า และต่อมาก็มารับแขกที่ตึกนวราช เมื่อรับแขกที่ตึกนวราชได้ 2-3 ปี ก็มารับแขกที่ตึกกองทุน เมื่อตึกกองทุนไม่สะดวกก็ย้ายไปรับแขกที่ ตึกนวราชใหม่ที่ข้างโบสถ์เก่าและพระวิหารเก่าฝั่งแม่น้ำ

    คราวหนึ่งเมื่อสร้างมหาวิหาร 100 เมตรเสร็จ พ.ศ. 2532 ก็เป็นสิ่งที่จะต้องจำกันว่าในวัดทั้งหมดนั้น หลวงพ่อท่านเป็นผู้ชี้แนะให้สร้างทำทั้งหมด พวกเราเป็นผู้ช่วยสนับสนุนท่าน สนับสนุนหมายความว่า เป็นผู้ดูแลช่างบ้าง เป็นผู้เช็คงานที่ท่านสั่งทำบ้าง เป็นผู้ช่วยงานที่เราทำได้บ้าง แต่คำสั่งนั้นหลวงพ่อเป็นผู้สั่งแต่เพียงผู้เดียว เมื่อท่านสร้างมหาวิหาร 100 เมตรเสร็จ ก็มีส่วนหนึ่งที่หล่อรูปหลวงพ่อยืนไว้ในวิหาร 100 เมตรนั้น ที่ข้างรูปหล่อ หล่อยืนนั้นนะเป็นทองเหลือง หล่อสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นภาพที่เหมือนมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หลวงพ่อท่านรูปร่างอย่างนั้น

    ปรกติแล้วในวิหาร 100 เมตร เป็นที่เจริญพระกรรมฐานของญาติโยม สมัยท่านหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่จะนั่งกรรมฐานกลางวันเหมือนปัจจุบัน ตอนเย็นก็เหมือนกัน นั่งเป็นปรกติเหมือนปัจจุบันคือตอนเที่ยงนั่งครั้งหนึ่งเลิกบ่าย 2 โมง ตอนเย็นก็นั่งสวดมนต์ ทำวัตร 5 โมงเลิกประมาณ 1 ทุ่ม บางคราวหลวงพ่อก็มาร่วมเจริญพระกรรมฐานด้วย แต่ส่วนมากท่านป่วย ป่วยมาก

    ตอนหลังนั้นเมื่อทำพิธีพุทธาภิเษกก็มาทำในมหาวิหาร 100 เมตร มีญาติโยมมาร่วมเข้าพิธีกันแน่นไปหมด แน่นจัดโดยอากาศก็ระบายไม่ค่อยออกเพราะคนแน่น ไอตัวคนก็ขึ้นสูง มานั่งแต่ละคราวก็มีคนจำนวนมาก การทำพุทธาภิเษกนี้ก็มีหลายวาระ คือพระก็ดี สมเด็จองค์ปฐมก็ดี ตอนหลังๆนั้นทำที่นี่ทั้งหมด

    เมื่อทำพิธีกรรมอะไรที่นี่ทั้งหมดแล้ว มีอยู่คราวหนึ่งท่านออกตรวจงานก็มาดูในพระวิหาร อาตมาก็ถาม หลวงพ่อครับตรงหลวงพ่อข้างหลวงพ่อยืนนี้ หลวงพ่ออนุญาตให้เป็นที่เก็บศพหลวงพ่อใช่ไหมครับ ท่านบอกว่า เออ เราก็เสนอหน้าไปถามแบบไหนครับ หลวงพ่อก็หยุด ท่านหันมามอง นี่ ข้าบอกเอ็งซะเลยนะ ข้าไม่สร้างที่เพื่อบูชาตัวข้าเองหรอกนะ ใครจะสร้างก็สร้างไปเถอะ ข้าไม่สร้างเพื่อบูชาตัวข้าเอง นี่เป็นการที่ครูบาอาจารย์บอกกับอาตมาเอง

    เมื่อหลวงพ่อพูดอย่างนี้ เราก็นึกว่า เออ ลูกศิษย์ชั้นเลวนี่มันคือเราเอง ไม่เคยเฉลียวใจว่า จะสร้างให้หลวงพ่อนี่ไม่เคย จะสร้างให้ท่าน จะสร้างบูชาท่านไม่มีเลย จิตเรานี่เลวจริงๆ เมื่อคิดได้ดังนี้ก็ไปปรึกษาผู้ใหญ่ มีท่าน ดร. ปริญญา นุตาลัย มีท่านผู้ใหญ่หลายท่าน ทุกท่านที่ไม่ได้เอ่ยนามาในที่นี้ก็คงทราบเพราะเป็นศิษย์มีความอาวุโสมากหลาย ถ้าจะกล่าวในที่นี้มันก็เยอะ แต่ไม่ใช่เฉพาะศิษย์ผู้อาวุโสเท่านั้น..

    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากหนังสือประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หน้า 60-64)

    25289480_967613586725811_7119813541009865174_n.jpg
     
  8. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    6.jpg

    ความดำริ
    สำหรับ อาตมานั้น เมื่ออยู่กับท่านมา 20 ปี รู้ว่าท่านเป็นผู้ประเสริฐ แต่ก็ไม่ขอพูดว่าท่านประเสริฐกว่าใครทั้งหมด หรือประเสริฐกว่าพระองค์ใดในตอนนี้ เพราะอาตมาพูดไม่ได้ เพราะเราไม่ทราบว่าพระองค์อื่นท่านทำอย่างไร แต่เมื่ออยู่กับพระเดชพระคุณท่าน ท่านสอนให้เราละความชั่วทุกอย่าง โดยท่านไม่ปรานีคนชั่ว

    ท่านลงสอนกรรมฐานทุกคราว ท่านจะตำหนิพระที่ทำไม่ดี ทำตัวเป็นเดียรถีย์ในพุทธศาสนา จะเรียกว่าพระไม่ได้ ท่านบอกพวกนี้เป็นโจร อาศัยผ้าเหลืองหุ้มห่อกายมาหากินในพุทธศาสนา เมื่อท่านปรารภอย่างนี้ทุกวัน เราเองก็ไม่ใช่พระที่ดี ก็ยังมีนิวรณ์เต็มอัตราคือ คิดชั่วอยู่เป็นประจำคิดชั่วในที่นี้คือ นิวรณ์คุมใจอยู่เป็นประจำคือ

    1. ชอบเสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่นิ่มนวล นึกถึงคนสวยคนงาม ก็ตามคิดถึง อยู่เป็นนิจ อย่างนี้คือ นิวรณ์ ตัวที่ 1

    2. นิวรณ์ตัวที่ 2 คือมักโกรธ ใครทำไม่ถูกใจก็โกรธ มีใครทำไม่ถูกใจก็นึกว่า คนนั้นมัน ด่าเราวันนั้นวันนี้ อารมณ์ก็เร่าร้อน

    3. ง่วงเหงาหาวนอน

    4. อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทางเป็นประจำ

    5. สงสัยไม่หยุดหย่อน

    แล้วก็เมื่อท่านสอนท่านตำหนิอยู่อย่างนี้ทุกวัน จิตเราก็ชั่วเป็นประจำอย่างนี้ก็ละอายใจ เมื่อเห็นครูบาอาจารย์ก็หลบ เพราะจิตเราชั่ว ท่านบอกคนก็ดี พระก็ดี ถ้านิวรณ์คุมใจ เป็นทาสนิวรณ์นั้น จะเอาอะไรมาดี ความดีก็ไม่มีในตัว ห่มผ้าเหลือง ก็ไม่ใช่พระ เป็นเปรตอาศัยพุทธศาสนาหากิน เราก็นึกอยู่ในใจเพียงว่า เราเป็นเปรตทุกวัน เป็นเปรตอยู่ทุกวัน ครูบาอาจารย์ก็สอนให้เราระงับความชั่ว เราก็ระงับไม่ได้สักที อย่างนี้ก็อาศัยผ้าเหลืองเขาหลอกชาวบ้านหากินไปวันๆ

    แล้วความอายใจที่ท่านตำหนิอยู่อย่างนี้ทุกวัน คือ นึกว่า ชาตินี้จะพ้นนรกหรือเปล่าก็ยังไม่ทราบ แต่ก็นึกว่า เอา เอาล่ะ คนเราน่ะ เกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ มันจะดีเลยไม่ได้ ก็ต้องมาฝึกทำความดีกันต่อไป ถ้าจะลงนรกก็ยอมละ แต่ข้าขอปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นึกเข้าข้างตัวเองว่า พระพุทธเจ้า ท่านก็บำเพ็ญบารมีมามาก 6 ปี กว่าท่านจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ เราก็พึ่งบวชมาพรรษาเดียว 2 พรรษา จะให้เป็นอย่างงั้น ก็จะเก่งเกินพระพุทธเจ้าไป ก็นึกเข้าข้างตัวเอง ก็ฝืนทนมาว่า 6 ปีนี้

    ถ้าเราปฏิบัติแล้วไม่ได้มรรคได้ผลอะไรเลย ก็จะสึกเหมือนกัน สึกแล้วก็คงจะไปหาสิ่งที่ปรารถนาจะได้ ของสวยงามๆ อ่อนๆ นิ่มๆ ที่ทุกคนปรารถนาคือ รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัส สิ่งที่ถูกใจ เมื่อบวชอยู่กับท่านต้นๆพรรษา 1 พรรษา 2 พรรษา 3 ก็ทำไปทำมาเป็นปกติ มองดูแล้วตัวเองไม่มีความเจริญทางด้านสมาธิ หรือปัญญาอะไรเลย มีแต่ความฟุ้งซ่านเข้ามาประทับจิตอยู่เสมอ

    ท่านทั้งหลาย ที่อ่าน ยังไม่ได้บวชอยากจะบวช ก็จงจำไว้ว่า ความตั้งใจนั้นเป็นสิ่งที่ดี การปฏิบัติธรรมนั้น แม้จะไม่ได้วันนี้ วันหนึ่งก็ต้องเป็นของเรา เมื่อบวชมาได้สัก 3 พรรษาได้ก็นึกเข้าใจ เอ๊! เรานี่บวชมาแล้ว ไม่มีความเจริญเลย สมาธิก็ไม่เคยทรงตัว เป็นภาพนิวรณ์ปกติหาความเจริญใส่จิตไม่ได้ ปกติเป็นคนขี้เกียจ อยากได้อย่างเดียวก็คือ สำเร็จโดยไม่ต้องออกแรง

    คิดอยู่อย่างนั้น ก็เกิดความละอายใจ พอเราบวชมาแล้วก็โกหกชาวบ้านเขาหากินอยู่เป็นประจำ มีอยู่วันหนึ่ง คิดอย่างนี้ก็ออกบิณฑบาตสายเรือ เรียกว่า ไปทางน้ำ ต้องพายกันไป 2 องค์ ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรได้ ไปกลับเป็นสายเรือประจำของทางสายแม่น้ำสะแกกรัง

    เมื่อพาย ไปก็คิดไปว่า เรานี่ไม่อยากจะอยู่แล้ว ก็คิดไป เอ! บิณฑบาต เขาก็หาว่าเราเป็นพระ หาว่าเราเป็นผู้ประเสริฐ ยกมือไหว้เมื่อให้ก็ยกมือไหว้ เมื่อให้แล้วก็ยกมือไหว้ เราก็ยังเลวเต็มอัตราศึก ปกตินึกละอายใจก็พายเรือไป ก็นึก ก็มองเห็นแพผักตบชวาลอยน้ำ มีเรือวิ่งสวนมา มีคลื่นกระทบแรงๆ เรือเราก็เรือเล็กพอเรือเครื่อง เรือเร็วสวนมา เราก็ปรับเรือให้รับคลื่น ไม่ให้เรือเราล่ม ก็เอาสิ่งที่เห็นด้วยตานั้นมาคิดปรับกับตัวเองว่า ชีวิตตัวเราเองนั้นน่าจะเปรียบเหมือนกับกองสวะที่ลอยตามน้ำไปนี่

    เพราะกอสวะมันไม่มีหางเสือ มันไม่มีสมอง มันก็ลอยตามยถากรรมของมัน มันอาจจะแปะตรงนั้นก็ได้ มันอาจจะแปะตรงตลิ่งตรงนี้ก็ได้ พอลอยไปตามยถากรรม หาจุดหมายปลายทางไม่ได้ ชีวิตของตัวเราเองนั้นน่ะ เมื่อมีมันสมองแล้วนี่จะปล่อยให้ชีวิตล่องลอยเหมือนกอผักตบชวาอย่างนั้นรึ

    ใจ ก็มาตามคิด ไม่ใช่ เมื่อเรามีมันสมองแล้วนี่ ก็ต้องบังคับมันให้เข้าตามทิศทางสิ่งที่ดีได้ ไม่ใช่ปล่อยชีวิตเหมือนแพสวะ ลอยตามน้ำไปหาจุดหมายปลายทางไม่ได้ เมื่อเรามีมันสมองมีปัญญา เกิดมาเพื่อปรารถนาพระนิพพาน ปรารถนาพระนิพพาน เมื่อตั้งจิตปรารถนาอย่างนี้แล้ว ก็ต้องใช้ปัญญาของตัวเอง การจะไปพระนิพพานได้ ทำยังไง ก็ต้องมีศีลบริสุทธิ์ มีจิตตั้งมั่น ตัดสังโยชน์ 3 ได้ ก็จะเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้น

    เมื่อมีแบบแผนอย่างนี้แล้ว เมื่อมีปัญญาก็ต้องหัดจิตของเราให้เข้าตามแบบแผน ที่พระพุทธเจ้าวางไว้ พอคิดได้อย่างนั้น ก็นึกว่า เอาล่ะ อดทน เมื่อเห็นแพสวะอย่างนี้แล้ว เราก็จะไม่เป็นแพสวะ เราต้องตั้งมั่นเป้าหมายของชีวิตว่า ชาตินี้ที่ปรารถนาคือพระนิพพาน แต่การปฏิบัติธรรมนั้นก็ต้องมีอุปสรรค มีสิ่งที่กระทบกระเทือนกระทั่งใจ มีความเบื่อหน่าย มีอุปสรรคนานาประการไม่เหมือนกันทุกคน

    อุปสรรคนั้นก็เหมือนเรือที่เราพายลอยตามน้ำไปตามนั้น ก็ต้องมีเรือที่เป็นเรือใหญ่กว่า มีลูกคลื่นกระทบมาที่เรือเรา เมื่อมีอุปสรรคกระทบกระแทกเรือเราอย่างนั้น เราก็ต้องมีความสามารถในการเอาตัวรอด ไม่ให้เรือร่มได้โดยใช้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ ฉะนั้นการปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ก็ต้องมีอุปสรรคในการกระทำความดีก็ต้องต่อสู้เหมือนกับเรือกระทบกับคลื่น ใหญ่

    เมื่อคิดอย่างนั้นแล้ว ก็ เออ! มีความชื่นใจขึ้นมาอีก พอพายเรือต่อไปเรื่อยๆ ก็จะถึงปลายทางก็คิดว่า การพายเรือนั้น ไม่ใช่พายทีเดียว จ้ำทีเดียวถึงจุดหมายปลายทาง มันต้องพายบ่อยๆ พายถูกทาง พายโดยอุตสาหะ ก็จะถึงจุดหมายปลายทาง ก็คิดมาเปรียบเทียบกับชีวิตของตัวเองว่า เมื่อพายเรือไปบ่อยๆแล้ว ก็จะถึงจุดหมายปลายทาง ชีวิตเรายังมีเวลาอีกหลายปีอยู่

    การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน ถ้าเราปฏิบัติไม่หยุดไม่หย่อน ปฏิบัติไปตามกำลังของเราเรื่อยๆ โดยไม่ผิดทาง ก็จะถึงจุดหมายปลายทางเหมือนเราที่กำลังพายเรือนี้เหมือนกัน ฉะนั้นเมื่อพายเรือกลับมาถึงวัด ก็มีความคิดว่า เออ เราจะอดทนต่อไป

    เมื่อฉันเช้าเสร็จแล้ว ก็เข้ามาที่กุฏิ ก็อธิษฐานต่อหน้าพระว่า เราจะบวชต่อไปอีกดีหรือเปล่า ถ้าจะบวชต่อไปอีกก็ขอให้หลวงพ่อปาน หลวงพ่อช่วยตอบให้ด้วย ก็ไปเปิดประวัติหลวงพ่อปาน อ่าน คือ เปิดไม่ได้เรียงหน้า 1 หน้า 2 เปิดหน้าไหนก็อ่านหน้านั้น เมื่ออธิษฐานเสร็จก็เปิด หลวงปู่ปานก็ตอบอกมาเลยว่า ถ้าอยากดี ก็อย่าใจร้อน จะเสียผลให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ มักได้ผลเอง ตรงนี้เป็นคำตอบที่ว่า ชื่นใจ เราก็ปิดหนังสือ เราไม่อ่านต่อ มีกำลังใจปฏิบัติต่อไปอีก

    เมื่ออยู่กันต่อไป ก็ทำงานกันเป็นปกติ ก็ขอวกมาเล่าถึงตอนที่วางศิลาฤกษ์พระอุโบสถแล้ว ซึ่งขณะนี้ พ.ศ. 2538 นั้นได้รื้อหลังเก่าออกหมด ได้สร้างเข้ามาแทนที่ใหม่ ช่วงหลัง 10 หลัง ตอนนั้นแต่ละหลังข้างบนเป็นไม้ ไม้ยาง ข้างล่างเป็นคอนกรีตฉาบปูน แต่ขณะนี้ได้รื้อแล้วทั้ง 10 หลังนั้น ได้สร้างเป็นคอนกรีต ทั้งบน ทั้งล่างหมด ขอให้ญาติโยมทั้งหลายทราบไว้ด้วย

    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากหนังสือประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หน้า 38-40)


    10406387_10153732487539329_2035573500687677103_n.jpg 17309179_760119854146809_2098687066075560509_n.jpg
     
  9. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    พระสายเหนือ


    เมื่อ พ.ศ. 2518 หลวงพ่อท่านก็ป่วยมาตลอด ก็ให้จัดงานหล่อรูปหลวงปู่ปานกับรูปหลวงปู่ใหญ่ ที่อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถนั้น 2 องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ เสด็จมาในงานเททองหล่อรูปหลวงปู่ปาน

    ก่อนจะจัดงานนั้นขึ้น หลวงพ่อได้พาลูกศิษย์ไปกราบนมัสการพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ สายทางเหนือ เรียกว่าสายพระเหนือ ท่านบอกว่า พระให้พาลูกศิษย์ไปรู้จักกับพระสายเหนือ โดยที่ท่านเจ้ากรมเสริม ได้พิมพ์หนังสือออกจำหน่ายในภายหลัง คือ หนังสือเรื่องล่าพระอาจารย์ มีอยู่แล้ว ถ้าเล่าไปก็อาจจะผิดพลาดบ้าง เพราะไม่ได้ไปในเหตุการณ์ ถ้าท่านทั้งหลายอยากทราบก็ไปหาซื้อหนังสือนี้อ่าน

    ก็ขอเล่าแต่เฉพาะที่ว่า เมื่อพระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบมาที่วัดท่าซุง ก็มี


    หลวงปู่บุดดาถาวโร นี่พระอรหันต์องค์หนึ่ง

    หลวงปู่คำแสนเล็ก วัดดอนมูล

    หลวงปู่คำแสนใหญ่ (พระครูสุคันธศีล) วัดสวนดอก

    ครูบาอินทจักรรักษา วัดบ่อน้ำหลวง

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง

    หลวงปู่กล่อม (พระธรรมวราลังการ) วัดบุปผาราม

    หลวงปู่ชุ่มโพธิโก วัดวังมุย และ

    ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย วัดทุ่งหลวง พร้อมด้วย

    ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม


    เมื่อท่านมาที่วัดพวกเราผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า เป็นผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติความดี ก็มีความซาบซึ้งปิติยินดี เป็นอย่างมาก เมื่อนิมนต์ท่านมาแล้วนี่ หลวงพ่อให้จัดกุฏิ 10 หลัง อยู่ที่ด้านหลังพระอุโบสถนั้นเป็นที่รับรอง จะมีเจ้าหน้าของวัด ขณะนี้บวชอยู่หลายองค์ ขณะนั้นยังไม่ได้บวชเป็นผู้มีความเลื่อมใส ปฏิบัติรับใช้ท่านประจำองค์ มีญาติโยมที่ขณะนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่หลายท่าน ที่มรณภาพไปแล้วก็หลายองค์ หลายท่านเป็นแม่ครัวจัดอาหารถวายท่านเป็นสำรับ เป็นชุดๆ

    เมื่อพระสุปฏิปันโนมาตอนเช้าๆ มีการใส่บาตรกัน ท่านก็จะมารับบาตร มีหลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ เป็นต้น ท่านนั่งรับบาตรอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ พวกเราก็เอาอาหารคาวหวานไปถวายท่าน ท่านก็นั่งกันเป็นแถว ไม่ได้ลุกเดิน นั่งเก้าอี้ถือบาตร พวกเราเป็นพระก็ดี เป็นญาติโยมก็ดี ก็ไปใส่บาตรตอนเช้า เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้ว ท่านก็ไปฉันภัตตาหารในกุฏิ มีลูกศิษย์ที่วัดจัดไว้ปรนนิบัติรับใช้ ก็เอาอาหารคาวหวานไปถวายท่าน อย่างนี้เป็นประจำทุกวันตลอดงาน

    พวกเรานี่เป็นผู้มีศรัทธาเคารพนับถือดีอยู่แล้วภัตตาหารของหลวงพ่อ หลวงปู่ทั้งหลาย ก็มีคนจัดมาถวาย แต่พวกเราลูกศิษย์ก็เยอะ เมื่อหลวงพ่อ หลวงปู่ทั้งหลายฉันภัตตาหารเสร็จ ก็มีพวกลูกศิษย์เอาไปรับประทานกัน หลังจากครูบาอาจารย์ฉันภัตตาหารเสร็จ ถือว่าของเหลือนั้นเป็นมงคล เป็นสิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นมงคล เป็นกำไรชีวิต อิ่มด้วย คงจะรสเลิศ

    เมื่อญาติโยมทุกท่านที่นำอาหารไปถวายพระสุปฏิปันโนที่มาในงานเสร็จ ก็จะยกสำรับมาคืนญาติ ก่อนจะถึงญาติผู้ใหญ่ พวกที่ถือมานั่นก็จะชิมเสียก่อนแล้ว ก่อนจะมาถึงปลายมือก็เหลือน้อยถือว่าเป็นยา เป็นทิพย์ เป็นมงคล ก็จะแบ่งกันกินกันถ้วนหน้า คนที่ถือต้นมือจะได้มาก คนที่ถือปลายมือก็จะได้น้อยหน่อย

    องค์ไหนที่เป็นพระ อรหันต์ ที่ครูบาอาจารย์บอกว่า พระอรหันต์ ก็จะเป็นที่เพ่งเล็งเป็นจุดสนใจของบรรดาลูกศิษย์ที่มีศรัทธาแก่กล้า มีอยู่คราวหนึ่ง เป็นสำรับของหลวงปู่บุดดา ถาวโร ซึ่งลูกศิษย์ได้ยกมาหลังจากท่านฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ก็มีอาหารที่เหลือจากท่านถือว่าเป็นมงคลอันสูง ก็ค่อยแบ่งกันกิน เหมือนพี่เหมือนน้อง แบ่งกันคนละเล็กละน้อย กว่าจะถึงแม่ครัวปลายมือก็จะเหลือน้อยแล้ว ก็บอกว่า

    นี่ นี่..สำรับของหลวงปู่บุดดา ใครจะเอาก็มา ใครจะเอาก็มาแบ่ง คนมาทีหลังได้อะไรก็เอาทุกอย่าง ก็มีอยู่ชามหนึ่งที่เหลืออยู่ คนส่วนมากก็จะ เข้าใจว่า เป็นน้ำลิ้นจี่ ลิ้นจี่กระป๋อง แต่เนื้อนั้นนะ มีผู้เอาไปหมดแล้ว ก็เหลือแต่น้ำ แต่ถึงเหลือแต่น้ำ ก็ไม่ว่ากัน เป็นยา เป็นมงคล บางคนก็ดื่มไปบ้าง แบ่งให้คนอื่นดื่มบ้าง ดื่มไปหลายคน ไม่มีใครว่าอะไร

    พอมาถึงคนที่ช่างสังเกต ช่างสงสัย พอดื่มเข้าไปหน่อย ก็ออกปาก นี่มันอะไรว่ะ น้ำลิ้นจี่อะไรวะ ไม่หวานเลย ทุกคนที่กินเข้าไปหลายคนแล้ว แต่ไม่มีใครปรารภขึ้น พอมีผู้อาวุโสทักว่า นี่น้ำอะไรวะ ไม่หวานเลยน้ำลิ้นจี่ ลูกศิษย์ที่อยู่ก้นกุฎิอยู่ในเหตุการณ์ก็ว่า ไหนไหนไหน ผมขอดูหน่อย เมื่อลูกศิษย์ก้นกุฏิที่ถือมาขอดู ก็บอกว่า นี่น้ำลิ้นจี่ที่ไหนครับ มันจะหวานได้อย่างไรละครับ ก็นี่มันน้ำล้างฟันปลอมหลวงปู่นี่ แต่พวกเราก็ซัดกันไปหลายอึ๊ก

    แล้วพอพูดว่าน้ำล้างฟัน ปลอมหลวงปู่เท่านั้น ผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า ถือว่าเป็นมงคลก็เกิดอาการลำไส้ปั่นป่วน ก็ดึงของเก่าที่กินอยู่เบื้องแรกออกมา พุ่งออกมา โอกอาก โอก พุ่งเป็นหลาวออกมาจากลำไส้ แสดงถึง (หัวเราะ) ศรัทธาที่มีอยู่นั้นมันปั่นป่วน จึงดึงน้ำล้างฟันปลอมหลวงปู่ออกมาหมด ท่านสาธุชนคิดดู ก็เป็นการที่ฮือฮา หัวเราะกันน้ำตาไหล ว่านี่นะ

    การดื่มน้ำฟันปลอมของหลวงปู่นั้นมีฤทธิ์มาก เขาวิจารณ์กัน บอกแล้วว่า กูนึกแล้ว น้ำลิ้นจี่อะไรวะ กูเห็นมีพริกลอยอยู่ กูนึกแล้วว่า มันทำไมถึงไม่หวาน แต่พวกที่ดื่มไปก่อนนั้นแล้วก็หลายคน ก็นึกหัวเราะว่า ศรัทธานั้นดี พระพุทธเจ้าสรรเสริญ แต่ปัญญาน้อยไป เลยเป็นอย่างที่เล่ามานี้แหละ

    การทำบุญกับพระสุปฏิปันโน นั้น เราก็ทำกันเฉพาะกลางวัน ส่วนกลางคืนเราก็ปิดประตูสนทนากัน ไปกราบไปภาวนากันเป็นปกติ เมื่อหลวงพ่อท่านนิมนต์อย่างนี้ ท่านก็ถวายจตุปัจจัยทุกอย่างให้ท่าน ไปบูรณะวัดของท่านทุกองค์

    ฝั่งพระอุโบสถปัจจุบันนั้น หลวงพ่อท่านสร้างพร้อมๆกัน เกือบทั้งหมด เมื่อสร้างพระอุโบสถแล้ววางศิลาฤกษ์ แล้วก็สร้างกุฏิ 10 หลัง สร้างอาคารธรรมสถิต สร้างศาลานวราช สร้างศาลาพระพินิจอักษร อยู่ในคราวเดียวกันเลย เมื่อขึ้นก่อสร้าง พร้อมๆกันเหล่านั้น ก็มีการใช้จ่ายมาก แต่ถึงกฐินที เราก็จะชำระหนี้สินครั้งหนึ่ง

    วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2520 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จครั้งนั้นอีกวาระหนึ่ง รายละเอียดนั้นหลวงพ่อเราเคยเล่าไว้ในหนังสือพระเมตตา เมื่อท่านไปอ่านก็จะรู้ ประวัติที่ท่านคุยกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นเช่นไร อาตมาอ่านมาเที่ยวเดียวก็จำไม่หมด หากท่านสนใจก็จะรู้ บ้านเมืองเราตอนนั้นยังไม่สงบมากนัก

    แต่ท่านก็รับรองกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า บ้านเราไม่เป็นขี้ข้าใคร จะค่อยๆเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ขณะนี้ พ.ศ. 2538 เมื่อมองย้อนไปถึง พ.ศ. 2520 ก็จะรู้ว่าขณะนั้นกับขณะนี้ บ้านเมืองเจริญขึ้นมามาก ก็จะตรงกับที่ท่านพูดกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า บ้านเมืองเราจะค่อยๆเจริญเหมือนแสงอาทิตย์เริ่มขึ้น

    เมื่อพ.ศ. 2520 นั้น ที่มีความสำคัญก็เพราะว่า หลวงปู่ชุ่มโพธิโก ที่เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ที่เข้านิโรธสมาบัติ เป็นพระที่มีความสำคัญในสายเหนือองค์หนึ่ง หลวงปู่ชุ่มนั้น เป็นผู้ที่เคารพรักกับหลวงพ่อมาแต่อดีตกาล ตั้งแต่หลายแต่ชาติมาแล้ว ได้ไปเยี่ยมหลวงพ่อเราที่กุฏิ โดยที่ท่านขอไปเยี่ยมเอง ท่านเล่าว่า ได้ขึ้นไปบนกุฏิท่าน ท่านบอกว่า ห้องของน้องสวยงาม นั่งอยู่ก็มาเยี่ยม แต่จริงๆ แล้วท่านจะมาพูดธุระส่วนตัว

    หลวงพ่อเล่าให้รู้ภายหลังว่า ท่านมาหาแล้วก็บอกว่า น้องต้องอยู่ช่วยบ้านเมืองต่อไปอีก แต่พี่จะมรณภาพก่อน ขอมอบลูกแก้วจักรพรรดิ์ ที่เป็นของตระกูลเรา ที่รักษาไว้ให้น้องรักษาต่อไปจะได้บูรณะวัด สร้างวัดได้ตามประสงค์ ฉะนั้น หลวงปู่จึงได้มอบลูกแก้วจักรพรรดิ์ ให้หลวงพ่อได้สร้างวัดต่อไป

    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)


    (จากหนังสือประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หน้า 57-59)

    326930_3144773501109_1318149757_3083116_651204784_o%20(1).jpg 12004678_10153731148744329_8036444688120418173_n.jpg 12087986_10153703835354329_1765207288910610663_n.jpg
    0b.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2018
  10. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    สมบัติพ่อให้ : ธงมหาพิชัยสงคราม
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี


    ............ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้ส่งเจ้าพระยาโกษาปาน ไปทำสัมพันธ์ไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔
    ซึ่งได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่า
    ?........... เมื่อเรือสำเภาอันจะเข้าสู่กรุงฝรั่งเศสนั้น จะต้องผ่านวังน้ำอันวนเชี่ยวใหญ่ เรือสินค้ามากมายถูกดูดลงสู่วังน้ำวน จมลงนับร้อย เรือสำเภาอันเจ้าพระยาโกษาปานราชทูตโดยสารมานั้น จะถูกดูดเข้าวังวน ปะขาวอาจารย์ของเจ้าพระยาโกษาปาน ได้ตั้งพิธีขึ้น ระลึกถึงพุทธานุภาพ ทำอาโปกสิณ บัดหนึ่งก็เกิดลมสลาตันยกเรือสำเภาของพระยาโกษาปาน ข้ามผ่านวังน้ำวนนั้นไปเป็นที่อัศจรรย์ ...........ในเวลาเที่ยง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ทรงให้ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์แม่นปืนสองหมู่ หมู่หนึ่งชุดแต่งกายแดงร้อยคน หมู่หนึ่งชุดแต่งกายดำร้อยคน ตั้งกองอยู่ตรงข้ามกัน ห่างกันสักสี่สิบห้าสิบวา ฝ่ายทหารชุดแต่งกายแดงทั้งร้อยคน ยิงปืนไปยังหน่วยทหารแต่งกายดำ ลูกปืนเข้าสู่ลำกล้องของทหารแต่งกายดำทั้งร้อยกระบอก พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงตรัสว่า พระเจ้าแผ่นดินสยาม มีทหารแม่นปืนเช่นนี้หรือไม่ ? เจ้าพระยาโกษาปานตอบว่า ในเมืองสยามไม่มีทหารแม่นปืน เหมือนเช่นในฝรั่งเศส เพราะอาวุธปืน ไม่อาจทำอันตรายทหารสยามได้ จึงไม่มีความจำเป็น ในการตั้งกองทหารปืน พระเจ้าหลุยส์ ที่ ๑๔ จึงตรัสว่า มีเหตุเช่นนั้นจริงหรือ ?
    ......... เจ้าพระยาโกษาปานจึงกราบทูลตอบว่า ?ข้าพระพุทธเจ้า จะขอแสดงให้ทอดพระเนตรในวันพรุ่ง โดยขอให้หน่วยทหาร ทั้งชุดแดงและชุดดำ เป็นผู้ยิงปืน?
    ...........ในวันรุ่งขึ้น ปะขาวได้ตั้งศาลเพียงตา แลวางสายสิญจน์รอบปักธงธวัชแล้ว ให้กลาสีเรือชายสยามทั้งร้อย เข้าไปอยู่ภายในวงรอบสายสิญจน์ มลฑลพิธี ภายนอกห่างไปสักยี่สิบวา ทหารชุดแต่งกายแดง และทหารชุดแต่งกายดำ พร้อมปืนยืนรออยู่ เมื่อปะขาวผู้ทรงศีลให้สัญญาณ เจ้าพระยาโกษาปาน จึงกราบทูลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ รับสั่งให้ทหารปืนทั้งหมด เล็งยิงไปยังกลาสีเรือชายสยามทั้ง ๑๐๐ คนนั้น ...................เสียงปืน ๒๐๐ กระบอก ดังสนั่นหน้าพระที่นั่ง ควันปืนอบอวลคลุ้งกระจาย ลูกกระสุนปืนทั้ง ๒๐๐ นัด มิได้ระคาย แม้ชายเสื้อทหารสยามทั้งหลาย เป็นที่อัศจรรย์ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จึงทรงตรัสถามเจ้าพระยาโกษาปานว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มียอดทหารเช่นนี้อีกเท่าใด? เจ้าพระยาโกษาปานกราบทูลตอบว่า ?ชายสยามเหล่านี้ เป็นเพียงประชาชนชาวบ้านธรรมดาทั่วๆ ไป ที่เกณฑ์มาเป็นกลาสีเรือเท่านั้น ส่วนทหารของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้านั้น เยี่ยมยอดกว่านี้มากมาย

    (ความจริงแล้ว กลาสีเรือทั้ง ๑๐๐ คนนี้ คือหน่วยอาทมาต ที่ได้ศึกษา วิชาชาตรี เจนจบในตำหรับพิชัยสงครามมาเป็นอย่างดีแล้ว) ..........พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ตรัสสรรเสริญ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่ามีบารมี ที่มีทหารหาญ ที่แกร่งกล้าและคงทนแก่ศาสตราวุธ จึงสามารถรักษาประเทศสยาม ให้เป็นเอกราชไว้ได้..........?


    ตัดตอนจาก : สมบัติพ่อให้ โดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    ............................................................................................................................................................................................................................................................................

    ด้านบนนี้เป็นข้อความมีการแชร์กันในโลกโซเชี่ยลแต่ในหนังสือสมบัติพ่อให้ ไม่มีบทความดังกล่าวอยู่ครับ

    ทางเวบวัดท่าซุงได้เขียนบทความโพสท์ในเวบวัดวันนี้เป็นเรื่อง "เปิดบันทึกฉบับเดิมสมัย สมเด็จพระนารายณ์" ตามที่ผมก๊อปมาลงด้านล่างนี้ครับ


    ................................................................................................................................................................................................


    เปิดบันทึกต้นฉบับเดิม
    สมัย "สมเด็จพระนารายณ์"


    ...จากกระแสละคร "บุพเพสันนิวาส" ทำให้คนไทยหันมาสนใจประวัติศาสตร์กันมากขึ้น ต่างก็ไปขุดคุ้ยหาเรื่องราว แล้วก็โยงกันมาหา "วัตถุมงคล" สำคัญของวัดท่าซุงจนได้ นั่นก็คือ "ธงมหาพิชัยสงคราม"

    ความจริงแล้วก็ไม่เกี่ยวกันสักนิด ถ้าได้อ่านตามต้นฉบับเดิม แล้ว
    สังเกตข้อความที่วงเล็บไว้ (ตัวสีแดง) ที่เอาไปโยงให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น แต่ก่อนอื่นขอตัดตอนเฉพาะที่กล่าวถึงไว้ ตามเว็บไซด์ต่างๆ ดังนี้

    - https://www.gotoknow.org/posts/147293
    - http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=3&q_id=1035
    - https://sites.google.com/site/wwwdjnonmixcom/tha-ha-nth-har/bthkhwam-th-thhar-1/kxngxathmat

    "...พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จึงทรงตรัสถามเจ้าพระยาโกษาปานว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มียอดทหารเช่นนี้อีกเท่าใด เจ้าพระยาโกษาปานกราบทูลตอบว่า

    ชายสยามเหล่านี้ เป็นเพียงประชาชนชาวบ้านธรรมดาทั่วๆ ไป ที่เกณฑ์มาเป็นกลาสีเรือเท่านั้น ส่วนทหารของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้านั้น เยี่ยมยอดกว่านี้มากมาย


    (ความจริงแล้ว กลาสีเรือทั้ง ๑๐๐ คนนี้ คือหน่วยอาทมาต ที่ได้ศึกษา "วิชาชาตรี" เจนจบใน "ตำหรับพิชัยสงคราม" มาเป็นอย่างดีแล้ว)

    พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ตรัสสรรเสริญ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่ามีบารมี ที่มีทหารหาญ ที่แกร่งกล้าและคงทนแก่ศาสตราวุธ จึงสามารถรักษาประเทศสยาม ให้เป็นเอกราชไว้ได้.."

    ...จากเนื้อเรื่องที่เล่ามา แล้วมีการอธิบายประกอบในวงเล็บ (สีแดง) โดยเติมตามความเห็นของตนไปด้วย ซึ่งไม่เกี่ยวกับต้นฉบับแต่อย่างใดเลย

    แต่ถ้าจะวินิจฉัยวิชาการอยู่ยงคงกระพันของชาวไทยสมัยนั้น โดยเฉพาะ "เจ้าพระยาโกษาเหล็ก" และ "พระยาสีหราชเดโชไชย" ต่างก็ได้ร่ำเรียนวิชาจาก "ตำราพระร่วง" ที่เมืองสวรรคโลกกันมาแล้ว เพียงแต่ในประวัติมิได้กล่าวถึงแค่นั้นเอง


    เปิดบันทึกต้นฉบับเดิม
    พระราชพงศาวดารกรุงสยาม "ฉบับบริติชมิวเซียม"



    "...ฉะนั้น ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของไทย นับว่ามีพระราชพงศาวดารหลายฉบับ ที่มีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย


    ณ โอกาสนี้จะขอนำ "พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม" มาโดยย่อ ซึ่งยังคงสำนวนแบบโบราณไว้ แต่มีวงเล็บและหัวข้อเพิ่มเพื่อความเข้าใจง่าย ดังนี้ว่า

    หนังสือ "พระราชพงศาวดารกรุงสยาม" นี้ เป็นสมบัติของ "บริติชมิวเซียม" ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ปรากฎในประวัติว่า J.Hurst Hayes Esq. เป็นผู้มอบให้เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ (พ.ศ. ๒๔๙๑)

    การที่จะพบหนังสือพระราชพงศาวดารเรื่องนี้ ก็เนื่องจาก "นายขจร สุขพานิช" ซึ่งได้รับทุนจากต่างประเทศ ให้ไปทำการค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ ได้พบหนังสือเรื่องนี้เข้าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑

    จึงได้ถ่ายไมโครฟีล์มเล่มต้นและเล่มปลายส่งไปให้กรมศิลปากรพิจารณา กรมศิลปากรเห็นว่าพระราชพงศาวดารฉบับนี้อาจมีประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย จึงขอให้ถ่ายไมโครฟีล์มส่งเข้ามาให้หมดทั้ง ๓๐ เล่ม

    การพิมพ์ครั้งนี้ กรมศิลปากรได้ให้พิมพ์ตามต้นฉบับเดิม มิได้ตัดคำว่าศักราชและวันออก ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สนใจได้พิจารณาว่าการเขียนพระราชพงศาวดารนั้นเป็นมาอย่างไร


    กรมศิลปากร
    ๒๒ มกราคม ๒๕๐๗


    ราชทูตเดินทางไปฝรั่งเศส
    ...สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระนารายณ์) ได้ทรงฟัง "พระยาวิชาเยนทร์" กราบทูลพรรณนาสมบัติ ณ เมืองฝรั่งเศสวิเศษต่าง ๆ มิได้ทรงเชื่อ

    พระราชดำริจะใคร่เห็นความจริง จึ่งมีพระราชดำรัสแก่เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ว่า เราจะแต่งกำปั่นให้ไปถึงเมืองฝรั่งเศส จะได้ผู้ใดเป็นนายกำปั่นออกไปสืบดูของวิเศษ ยังจะมีจริงสมเหมือนคำพระยาวิชาเยนทร์หรือประการใด

    เจ้าพระยาโกษาจึ่งกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าไม่เห็นผู้อื่น ซึ่งจะเป็นนายกำปั่นไปถึงเมืองฝรั่งเศส ได้เห็นแต่ "นายปาน" ผู้น้องข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว อาจไปสืบข้อราชการ ณ เมืองฝรั่งเศส ดุจกระแสพระดำริได้ จึ่งมีพระราชโองการตรัสให้หา "นายปาน" เข้ามาเฝ้าแล้วตรัสว่า

    "...ไอ้ปานมึงมีสติปัญญาอยู่ กูจะใช้ให้เป็นนายกำปั่นไป ณ เมืองฝรั่งเศส สืบดูสมบัติพระเจ้าฝรั่งเศส ยังจะสมดังคำพระยาวิชาเยนทร์กล่าวหรือจะมิสมประการใด..."

    นายปานกราบทูลพระกรุณารับอาสาจะไปเมืองฝรั่งเศส สืบให้ได้ราชการตามรับสั่ง แล้วกราบบังคมลาออก ไปจัดแจงการทั้งปวงในกำปั่น ให้เที่ยวสืบหาคนดีมีวิชาก็ได้ "อาจารย์คนหนึ่ง" ได้เรียนในพระกรรมฐานชำนาญญาณกระสินธุ์ (กสิณ) และรู้วิชาการต่าง ๆ แต่เป็นนักเลงสุรา ยอมจะไปด้วย

    นายปานมีความยินดีนัก แล้วจัดหาพวกฝรั่งเศสเป็นล้าต้า ต้นหน คนท้าย ลูกเรือ พร้อมเสด็จ ก็ให้เจ้าพระยาโกษาพาเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลา

    ทรงพระกรุณาตรัสสั่งให้แต่งพระราชสาส์น แล้วตั้งให้ "นายปาน" เป็นราชทูต กับข้าหลวงอื่นเป็นอุปทูตและตรีทูต ให้จำทูลพระราชสาส์น

    คุมเครื่องมงคลบรรณาการออกไปจำเริญทางพระราชไมตรี ณ เมืองฝรั่งเศส ตามราชประเพณี แล้วพระราชทานรางวัล และเครื่องยศแก่ทูตานุทูตโดยควรแก่ฐานาศักดิ์

    รอดจากวังน้ำวนในท้องทะเลจนฝรั่งทึ่ง
    ครั้นได้ฤกษ์ นายปานราชทูต กับอุปทูต ตรีทูต ก็กราบถวายบังคมลา พาพรรคพวกบ่าวไพร่มาลงกำปั่นใหญ่ ใช้ใบออกจากพระนครไปในท้องทะเลประมาณ ๔ เดือน ก็บรรลุถึงวนใหญ่ ใกล้ปากน้ำเมืองฝรั่งเศส

    บังเกิดเหตุลมพายุใหญ่พัดกำปั่นไปในกลางวนเวียนอยู่ถึง ๓ วัน บรรดาคนในกำปั่นร่ำร้องไห้รักชีวิตอื้ออึงไป ด้วยกำปั่นลำใดลงสู่วนนั้นแล้ว ก็จมลงสิ้นลำกำปั่นทุก ๆ ลำ

    ซึ่งจะรอดพ้นวนไปนั้นหามิได้มีสักลำหนึ่ง แต่นายปานราชทูตยังมีสติอยู่ จึ่งปรึกษาอาจารย์ว่า กำปั่นเราลงเวียนอยู่ในวนถึง ๒ - ๓ วันแล้ว ท่านจะคิดอ่านประการใด กำปั่นจึงจะพ้นวนได้ เราทั้งหลายจึ่งจะรอดจากความตาย

    ฝ่ายอาจารย์จึงเล้าโลมเอาใจราชทูตว่า ท่านอย่าตำใจ เราจะแก้ไขให้พ้นภัยจงได้ แล้วให้แต่งเครื่องสักการบูชา จุดธูปเทียน

    แล้วอาจารย์จึ่งนุ่งขาว ห่มขาว เข้านั่งสมาธิเจริญพระกรรมฐานทางวาโยกระสินธุ์ (กสิณ) ณ ครู่หนึ่ง จึ่งบันดาลเกิดมหาวาตะพายุใหญ่ หวนหอบเอากำปั่นนั้น ขึ้นพ้นจากวนได้

    คนทั้งหลายมีความยินดียิ่งนัก ก็แล่นใบไปถึงเมืองปากน้ำเมืองฝรั่งเศส จึ่งให้บอกแก่นายด่านและผู้รักษาเมือง กรมการ ว่ากำปั่นมาแต่พระมหานครศรีอยุธยา โปรดให้ทูตานุทูตจำทูลพระราชสาส์น คุมเครื่องมงคลราชบรรณาการมาจำเริญทางพระราชไมตรีพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส

    เจ้าเมืองกรมการก็บอกข้อราชการขึ้นไป ให้กราบบังคมทูลให้ทราบ พระเจ้าฝรั่งเศสจึ่งโปรดให้เสนาบดีจัดแจงเรือแห่ลงมารับ พระราชสาส์น กับทั้งทูตานุทูตขึ้นไปยังพระนคร ให้สำนักที่อยู่ ณ ตึกสำหรับรับแขกเมือง

    แล้วโปรดให้ทูตานุทูตเข้าที่เสด็จออก จึ่งถวายพระราชสาส์นและเครื่องมงคลราชบรรณาการ พระเจ้าฝรั่งเศสดำริพระราชปฏิสันถารให้เลี้ยงทูตตามธรรมเนียม

    สั่งให้ล่าม ถามทูตถึงทางอันมาในทะเลนั้น สะดวกดีหรือว่ามีเหตุประการใดบ้าง ครั้นได้ทรงทราบว่ากำปั่นตกเวียนอยู่ในวนใหญ่ถึง ๓ วัน จึ่งขึ้นจากวนได้ สงสัยพระทัยนัก

    ด้วยแต่ก่อนแม้นว่ากำปั่นลำใดตกลงในวนนั้นแล้ว วนก็ดูดจมลงไปสิ้น มิอาจรอดขึ้นได้แต่สักลำหนึ่ง จึงให้ล่ามซักถามทูตอีก

    ทูตก็ให้การยืนคำอยู่ มิได้ทรงเชื่อ จึ่งให้สืบถามบรรดาฝรั่งเศสลูกเรือ ๆ ก็ให้การสมคำราชทูตทั้งสิ้น เห็นเป็นมหัศจรรย์นัก จึ่งให้ซักถามราชทูตว่า คิดอ่านแก้ไขประการใด กำปั่นจึ่งรอดพ้นจากวนได้


    วาทะของราชทูตที่ผูกใจพระเจ้าฝรั่งเศส

    ราชทูตให้กราบทูลว่า ข้าพเจ้าคิดกระทำสัตยาธิษฐาน ขอเอาพระกฤษฎานุภาพแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองฝ่าย ซึ่งเริ่มแรกจะผูกพระราชสัมพันธมิตรแก่กัน ขอจงอย่าได้เสียสูญขาดทางพระราชไมตรีจากกันเลย เอาความสัตย์ข้อนี้เป็นที่พำนัก

    ด้วยพระเดชาพระคุณพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองฝ่าย ก็บันดาลเกิดมหาวาตะพายุใหญ่ พัดหวนหอบเอากำปั่นขึ้นพ้นจากวนได้

    พระเจ้าฝรั่งเศสได้ทรงฟังคำราชทูต เห็นจริงด้วย พระราชดำริว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุธยามีบุญมากเสมอด้วยพระองค์ ก็ทรงพระมหากรุณาแก่ราชทูต พระราชทานรางวัลเป็นอันมาก

    อยู่มาเพลาวันหนึ่ง จึ่งให้หาทูตานุทูตเข้ามาเฝ้าหน้าพระลาน แล้วให้หาพลทหารฝรั่งเแม่นปืน ๕๐๐ เข้ามายิงให้แขกเมืองดู ให้แบ่งกันออกเป็นสองพวก ๆ ละ ๒๕๐ ยืนเป็นสองแถว ยิงปืนให้กระสุนกรอกเข้าไปในลำกล้องปืนแห่งกันและกันทั้งสองฝ่าย มิได้พลาดผิดแต่สักครั้ง

    แล้วให้ล่ามถามราชทูตว่า ทหารแม่นปืนดังนี้พระนครศรีอยุธยามีหรือไม่ ราชทูตให้ล่ามกราบทูลว่า ทหารแม่นอย่างนี้ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยามิได้นับถือใช้สอย พระเจ้าฝรั่งเศสได้ทรงฟังเคืองพระทัย จึ่งให้ซักถามทูตว่า พระเจ้ากรุงไทยนับถือทหารมีฝีมือประการใดเล่า

    ราชทูตก็กราบทูลว่า พระเจ้ากรุงไทยทรงนับถือใช้สอยทหารคนดีมีวิชา อันทหารแม่นปืนดังนี้ จะยิงใกล้และไกลก็หามิได้ถูกต้องกาย ทหารบางจำพวกเข้าไปในระหว่างข้าศึกมิได้เห็นตัว ลอบตัดเอาศีรษะนายทัพ นายกองพวกข้าศึกมาถวายได้

    ทหารบางจำพวกก็คงทนอาวุธต่าง ๆ จะยิงฟันแทงประการใดก็มิได้เข้า และทหารมีวิชาอย่างนี้ จึ่งทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงใช้สอยสำหรับพระนคร

    พระเจ้าฝรั่งเศสมิได้ทรงเชื่อ ตรัสว่าราชทูตไทยเจรจาอ้างอวดเกิดนัก จึ่งสั่งให้ซักถามว่าทหารไทยมีวิชาเหมือนว่านั้น มีมาในกำปั่นบ้างหรือไม่ จักให้สำแดงถวายจะได้หรือมิได้

    ราชทูตได้เห็นวิชาของอาจารย์ ประจักษ์จักษุอยู่แล้วจึ่งให้ทูลว่า ทหารที่เกณฑ์มาสำหรับกำปั่นนี้ เป็นทหารกองนอก มีวิชาแต่อย่างกลาง จะสำแดงถวายให้ปรากฏก็ได้ จึ่งสั่งให้ถามว่าจะสำแดงได้อย่างไร

    ราชทูตให้ทูลว่า ขอรับพระราชทานให้ทหารที่แม่นปืนทั้ง ๕๐๐ นี้ จงระดมยิงทหารของข้าพระพุทธเจ้าโดยไกลและใกล้

    ทหารข้าพระพุทธเจ้าจะห้ามกระสุนปืนทั้งสิ้น มิให้ตกต้องกาย พระเจ้าฝรั่งเศสได้ทรงฟัง เกรงพลทหารจะยิงทหารไทยตาย จะเสียทางพระราชไมตรีไป จึ่งสั่งให้ห้ามการนั้นเสีย ราชทูตให้กราบทูลว่า

    พระองค์อย่าทรงพระวิตกเลย ทหารข้าพเจ้ามีวิชา อาจห้ามได้ซึ่งกระสุนปืนมิให้ต้องกายได้เป็นแท้ จะเป็นอันตรายนั้นหามิได้

    เวลาพรุ่งนี้ขอให้ตั้งเบญจา ๓ ชั้นในหน้าพระลาน ให้ดาดเพดานผ้าขาว และปักราชวัติฉัตรธงล้องรอบ แล้วให้ตั้งเครื่องโภชนาหารมัชชมังสาสุราบานไว้ให้พร้อม

    ให้ป่าวร้องชาวพระนครมาคอยดูทหารข้าพระพุทธเจ้า จะสำแดงวิชาให้ปรากฏเฉพาะหน้าพระที่นั่ง แล้วถวายบังคมลาออกไปสู่ที่สำนัก


    ทหารไทยแสดงวิชาคาถาอาคมให้ฝรั่งกลัว

    พระเจ้าฝรั่งเศสสั่งให้จัดแจงการทั้งปวง ให้พร้อมตามคำราชทูตทุกประการ ครั้นรุ่งเช้า ราชทูตจึ่งให้อาจารย์แต่งศิษย์ประมาณ ๑๖ คน ให้ผูกเครื่องล้วนลงเลขยันต์คาถาสาตราคมเสร็จแล้ว

    ให้อาจารย์นุ่งขาว ใส่เสื้อครุยขาว และพอกเกี้ยวพันผ้าขาว ศิษย์ ๑๖ คนนั้นใส่กางเกง เสื้อ หมวกปัศ ตูแดงทั้งสิ้น เป็น ๑๗ คน กับทั้งอาจารย์ใหญ่ พาเข้ามาสู่หน้าพระลาน กราบถวายบังคมแล้วให้ขึ้นนั่งบนเบญจา แล้วให้กราบทูลว่า

    ขอให้ทหารแม่น ปืน ๕๐๐ ยิงทหารทั้ง ๑๗ คน ซึ่งนั่งอยู่บนเบญจานั้น พระเจ้า ฝรั่งเศสก็สั่งทหารทั้ง ๕๐๐ ให้ระดมยิงทหารไทยพร้อมกัน

    ด้วยอำนาจคุณพระรัตนตรัย และคุณเลขยันต์ สรรพอาคมคาถา วิชา คุ้มคอรงป้องกันอันตราย พลฝรั่งทั้งหลายยิงปืนนกสับ ทั้งใกล้และไกลเป็นหลายครั้ง เพลิงปากนกก็มิได้ติดดินดำ และมิได้ลั่นทั้งสิ้น

    ทหารไทยทั้ง ๑๗ คนก็รับพระราชทานโภชนาหาร และมัชชมังสาสุราบานเป็นปรกติ มิได้มีอาการสะดุ้งหวั่นไหว พลทหารฝรั่งทั้งปลายก็เกรงกลัวย่อท้อรอหยุดอยู่สิ้น

    อาจารย์ทหารไทยจึ่งร้องอนุญาตไปว่า ท่านจงยิงอีกเถิด ทีนี้เราจะให้เพลิงติดดินดำ จะให้กระสุนออกทั้งสิ้น พลทหารพร้อมกันยิงอีกนัดหนึ่ง เพลิงก็ติดดินดำ

    กระสุนก็ออกจากลำกล้องตกลงตรงปากบอกบ้าง ห่างออกไปบ้าง ลางกระสุนก็ไปตกลงที่ใกล้เบญจา แต่จะได้ถูกต้องทหารไทยผู้ใดผู้หนึ่งหามิได้

    พระเจ้าฝรั่งเศสทอดพระเนตร เห็นดังนั้นก็ทรงเชื่อ เห็นความจริงของราชทูต ทรงพระโสมนัสตรัสสรรเสริญวิชาทหารไทยว่า ประเสริฐหาผู้เสมอมิได้ สั่งให้พระราชทานเงินทองเสื้อผ้าเป็นรางวัลแก่ทหารไทยเป็นอันมาก ให้เลี้ยงดูเสร็จแล้วกลับไปสู่ที่สำนัก

    จำเดิมแต่นั้นมาก็ทรงเชื่อถือถ้อยคำราชทูต จะเพ็ดทูลประการใดก็เชื่อถือ มิได้มีความสงสัย ทรงพระมหาการุญภาพแก่ราชทูตยิ่งนัก

    อยู่มาวันหนึ่ง จึงสั่งให้ถามทูตว่า ทหารไทยที่มีคุณวิชาวิเศษประเสริฐดังนี้ ในพระนครศรีอยุธยามีเท่านี้และหรือ หรือยังมีทหารอื่นอยู่อีกมากน้อยเท่าไร

    ราชทูตให้กราบทูลว่า ทหาร เหล่านี้เป็นแต่กองนอก สำหรับเกณฑ์จ่ายมากับเรือลูกค้าวานิช มีวิชาเพียงนี้เป็นแต่อย่างต่ำ

    อันทหารกองในสำหรับรักษาพระนครนั้น มีวิชาการต่าง ๆ วิเศษกว่านี้มีมากกว่ามาก ได้ทรงฟังก็เชื่อถือ พระราชดำริก็เกรงฝีมือทหารไทยยิ่งนัก


    พระเจ้าฝรั่งเศสมีพระกายสีต่าง ๆ


    และพระเจ้าฝรั่งเศสนั้น เสด็จออกเหนือราชาอาสน์อันสูง เพลาเช้าแลเห็นสีพระกายแดง เพลากลางวันเห็นพระกายมีสีอันเขียว เพลาเย็นเห็นสีพระกายขาว ราชทูตเข้าเฝ้าเป็นหลายเวลา ได้เห็นดังนั้นมีความสงสัยนัก

    อยู่มาวันหนึ่งจึ่งตรัสถามทูตว่า ตัวท่านเป็นขุนนางผู้ใหญ่ หรือเป็นขุนนางผู้น้อย กล่าวถ้อยคำสัตย์จริงยิ่งนัก อนึ่งอย่าง ธรรมเนียมพระนครศรีอยุธยา

    ถ้าและขุนนางผู้ใดพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงพระเมตตาโปรดปรานมากกว่าข้าราชการทั้งปวง และพระราชทานอภัยแก่ขุนนางผู้น้นเป็นประการใด เราก็จะโปรดปรานประทานอภัยแก่ท่านเหมือนฉะนั้น

    ราชทูตคิดจะใคร่เห็นพระกายซึ่งมีสีต่าง ๆ หลายวันมาแล้ว ครั้นได้โอกาสจึ่งให้กราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นแต่ข้าราชการผู้น้อยสำหรับใช้แต่ไปมาค้าขายในนานาประเทศ ทั้งสติปัญญาก็น้อยนัก อันข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งมีสติปัญญายิ่งกว่าข้าพระพุทธเจ้านั้นมีเป็นอันมาก

    อนึ่งอย่างธรรมเนียมข้างกรุงพระนครศรีอยุธยา ถ้าพระองค์ทรงพระมหากรุณาขุนนางผู้ใดมากกว่าข้าราชการทั้งปวง ก็พระราชทานอภัยโปรดให้ผู้นั้นเข้าเฝ้าใกล้พระองค์ กราบถวายบังคมถึงพระบาทยุคลทุกครั้ง

    พระเจ้าฝรั่งเศสได้ทรงฟังก็เชื่อ จึ่งโปรดพระราชทานอภัยให้ราชทูตเข้าไปถวายบังคมถึงฝ่าพระบาททุกเวลาเฝ้า ราชทูตจึ่งได้เห็นราชอาสน์ อันเรี่ยรายไปด้วยทับทิมโดยรอบในเพลาเช้า

    เพลากลางวันนั้นเรี่ยรายไปด้วยพลอยมรกต เพลาเย็นเรี่ยรายไปด้วยเพชร แสงแก้วขึ้นจับพระองค์ จึ่งมีสีต่าง ๆ อย่างละ ๓ เวลา

    ปรากฏครั้นอยู่มาวันหนึ่ง เสด็จออกประพาสพระอุทยาน ทรงม้าสีขาวเป็นราชพาหนะ ประดับด้วยเครื่องม้าล้วนแล้วด้วยแก้วต่าง ๆ และมีพลอยทับทิมดวงหนึ่งใหญ่เท่าผลหมากสงทั้งเปลือก ผูกห้อยคอม้าพระที่นั่ง

    แสงทับทิมนั้นจับพระองค์และตัวม้าแดงไปทั้งสิ้น พร้อมด้วยราชบริพารแห่แหนไปเป็นอันมาก โปรดให้ราชทูตตามเสด็จด้วย

    ครั้นถึงพระอุทยาน จึ่งตรัสสั่งให้ถามทูตว่า พลอยทับทิมดวงใหญ่เท่านี้ พระนครศรีอยุธยามีมากหรือน้อย ราชทูตให้กราบทูลว่า

    ข้าพระพุทธเจ้าเป็นแต่คนภายนอกมิใช่ชาวพระคลัง ซึ่งจะกราบทูลว่ามีมากน้อยเท่าใดนั้น เกรงจะเป็นเท็จ แต่รับพระราชทานเห็นครั้งหนึ่ง

    เมื่อพระเจ้ากรุงไทยเสด็จออกไปประพาสพระอุทยาน ทรงม้าพระที่นั่งสีขาว มีพลอยทับทิมดวงหนึ่งผูกคอม้าพระที่นั่ง มีสัณฐานใหญ่ประมาณเท่านี้

    พระเจ้าฝรั่งเศสได้ทรงฟังก็เข้าพระทัยในคำราชทูต ทรงพระโสมนัสตรัสสรรเสริญว่า ราชทูตเจรจาไพเราะ ควรจะเอาไว้เป็นอย่าง

    ได้สั่งให้จดหมายเอาถ้อยคำไว้เป็นฉบับสืบไปภายหน้า แล้วเสด็จเที่ยวประพาสอุทยานจนเพลาเย็น ก็เสด็จกลับเข้าพระราชวัง



    ขอเข้าชมพระราชสมบัติตามคำสั่งพระเจ้ากรุงไทย


    เวลาวันหนึ่งราชทูตเข้าเฝ้า จึ่งให้กราบทูลพระกรุณาว่า ลูกค้า ณ เมืองนี้เข้าไปค้าขาย ณ พระนครศรีอยุธยา กราบทูลพระเจ้าอยู่หัวกรุงไทยสรรเสริญของวิเศษต่าง ๆ และภายในพระราชนิเวศน์ว่างามหาที่สุดมิได้

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะใคร่เห็นความจริง จึ่งดำรัสใช้ข้าพระพุทธเจ้าให้จำทูลพระราชสาส์น กับทั้งเครื่องมงคลราชบรรณาการ ออกมาจำเริญทางพระราชไมตรีด้วย

    พระเจ้าฝรั่งเศสได้ทรงฟังก็ทรงโสมนัส ดำรัสสั่งให้ข้าหลวงพาทูตานุทูตเข้าไปเที่ยวชมท้องพระโรงข้างใน และพระราชฐานทั่วทั้งสิ้น ตรัสสั่งว่าให้จำเอาไปทูลพระเจ้ากรุงไทยเถิด

    เจ้าพนักงานกรมวังก็พาพวกแขกเมือง เข้าไปชมพระราชนิเวศน์สถานที่ข้างในตามรับสั่ง ราชทูตก็จดหมายแต่บรรดาที่ได้เห็นนั้นทุกประการ ถูกต้องสมคำ "พระยาวิชาเยนทร์" ซึ่งกราบทูลนั้น แล้วกลับออกมาเฝ้า ทูลสรรเสริญสมบัติในพระราชฐานว่า งานเสมอทิพพิมานในเทวโลก

    พระเจ้าฝรั่งเศสก็ทรงพระโสมนัสเชื่อถือถ้อยคำราชทูต ทรงพระการุญภาพเป็นอันมาก พระราชประสงค์จะใคร่ได้พืชพันธุ์ไว้ จึ่งพระราชทานนางข้าหลวงให้เป็นภรรยาราชทูตคนหนึ่ง

    แล้วพระราชทานเครื่องแต่งตัวอย่างฝรั่ง ล้วนประดับด้วยพลอยต่างๆ กับฉลองพระองค์ทรงองค์หนึ่ง แล้วให้เขียนรูปราชทูต และจดหมายถ้อยคำไว้ทุกประการ

    และราชทูตอยู่สมัครสังวาสกับด้วยภรรยาจนมีบุตรชายคนหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนบิดา อยู่ (มา) ประมาณ ๓ ปี ราชทูตจึงให้กราบทูลถวายบังคมลา แล้วให้ฝากบุตรภรรยาด้วย พระเจ้าฝรั่งเศสก็พระราชทานเงินทองเสื้อผ้า และสิ่งของวิเศษต่าง ๆ แก่ทูตานุทูตเป็นอันมาก..."
    จบ

    ...หมายเหตุ : บันทึกเรื่องนี้สอนให้คิดได้มากมาย เช่น พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสอาจคิดว่า "ท่านโกษาปาน" มีวิชาคงกะพัน อยากได้เชื้อสายที่คงกะพันอยู่ในฝรั่งเศส

    หรืออาจคิดว่า "ท่านโกษาปาน" ฉลาดทางการเจรจา จึงอยากได้เชื้อสายไว้บ้าง แต่นับว่าท่านโกษาปานทำงานสำเร็จสมดังมุ่งหมาย

    พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึงเจริญพระราชไมตรีกับกรุงสยาม และไม่อยากเป็นศัตรูด้วยเกรงขาม ในอานุภาพแห่งทหารไทยที่แสดงไว้แต่ครั้งกระโน้น..


    อ้างอิง - https://th.wikisource.org/wiki/พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม_หน้าที่_๓๗๑-๗๔๓



    ............................................................................................................................................................................................................................................................................


    จากเวบวัดท่าซุงตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

    http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=2514#17

     
  11. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    12301601_10153794402834329_6017660346175462679_n.jpg


    อนาคตวัดท่าซุง

    หลวงพ่อบอกว่าวัดเราจะโทรมอีกครั้งอีก 180 ปี แล้วจะมีคนมาบูรณะใหญ่อีกครั้งหนึ่ง จะมีพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณอายุ 27 ปี พร้อมด้วยพระเจ้าธรรมิกราชมาช่วยกันบูรณะ ที่หลวงพ่อพูดนี่ตอนงานฝังลูกนิมิตวัดท่าซุง ปี 2520 ตอนนั้นหลวงพ่ออยู่ในโบสถ์ กำลังจะกลบลูกนิมิตลูกสุดท้าย วันนั้นหลวงพ่อเข้าโบสถ์ หลวงพี่เป็นพระเด็กก็กลัว ไม่กล้าเข้าไป ก็มีพวกผู้ใหญ่และดร.ปริญญาเข้าไป ท่านได้บรรจุแผ่นทองคำและมีข้อความจารึกในแผ่นทองคำ เดี๋ยวจะให้ด๊อกเตอร์อ่านให้ฟัง

    จารึกไว้อย่างนี้นะครับ "เราพระมหาวีระ มีพระราชานามว่า ภูมิพล เป็นผู้อุปถัมภ์ร่วมด้วยพุทธศาสนิกชนเป็นส่วนใหญ่ สร้างวัดนี้เป็นพุทธบูชา เมื่อศักราชล่วงไปแล้ว 2,700 ปีปลาย จะมีพระเจ้าธรรมมิกราชนามว่า สิริธรรมราชา สืบเชื้อสายมาจากเชียงแสนและสุโขทัย ร่วมด้วยกับพระอรหันต์มาสืบพระศาสนาวัดนี้ต่อไป คณะของเราขอโมทนาแต่อยู่ช่วยไม่ได้เพราะไปนิพพานหมดแล้ว"


    วันนั้นหลวงพ่อพูดจบ คนร้องไห้กันเยอะเลย เพราะว่าสร้างกันมาด้วยความทุกข์ด้วยความเหนื่อยยากจริงๆ ขนาดจะตัดลูกนิมิตอยู่แล้ว มารยังมาผจญเลย ใครจะอยู่ช่วยบูรณะก็อยู่นะ



    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ มิถุนายน 2536 หน้า 98)



    แผ่นจารึกใต้โบสถ์.jpg
     
  12. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710




    พิธีบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๕๐ วัน แห่งการมรณภาพของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทาราม(ท่าซุง) ณ มหาวิหาร ๑๐๐ ปี หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ศาลา ๑๒ ไร่) วัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัด อุทัยธานี

    วันอาทิตย์ที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑


    https://www.facebook.com/PathToNirvana/
     
  13. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    1014641_171354779708649_554765535_o.jpg


    การทำหนังสือรวมคำสอน


    นึกถึงหลวงพ่อทำหนังสือแจก ท่านคืนบุญให้คนทำบุญคุ้ม สังเกตดูหลวงพ่อทำงานนะ สังเกตคนเอาเงินมาช่วยท่าน อย่างท่าน "มหาถวัลย์ วัดโพธิ์เมืองปัก" ท่านเอาคนมาทำบุญ เอาปลาร้ามาให้หลายคราว เวลาท่านไปช่วย ท่านหาเงินให้เป็นแสนเป็นล้าน หลวงพ่อท่านเป็นอย่างนี้ เป็นจริตของท่านอย่างนี้

    "ท่านอยากเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ แต่หนังสือนี่มีอะไรอยู่อย่างหนึ่ง สมัยก่อนเมื่อหลวงพ่อยังอยู่ เวลาเราอยากจะชาร์จแบตเตอรี่เรา เราก็มาหาท่าน กำลังใจมันดีขึ้น เดี๋ยวนี้ที่ชาร์จแบตเตอรี่เราไม่มี แต่พอทำหนังสือ อู้ฮู...เหมือนกับอยู่กับท่านเลย"

    เรื่องนี้พูดกันหลายหนแล้วว่า เรื่องพระธรรมคำสอนที่หลวงพ่อนำมาเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่พระพุทธเจ้าสอนหลวงพ่อมา ตอนทำหนังสือท่านก็มาคุย หลวงพ่อบอกว่า "ตั้งแต่หนังสือเรื่องคู่มือปฏิบัติกรรมฐานเป็นต้นมา ไม่ได้ใช้สมองเลย..นันต์ ข้าไม่ได้เตรียมตัว ข้าไม่ได้จดบันทึก ข้าจะพูดไปเรื่อยๆ" นี่เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าท่าน พระพุทธเจ้าท่านคุมทำ

    ทีนี้เมื่อด๊อกเต้อร์ปริญญามาทำหนังสือรวมคำสอนนี้ งานนี้เป็นงานพุทธภูมิ งานของพระพุทธเจ้าด้วย คือใช้คนก็ต้องใช้คนมีเชื้อ ไม่ใช่ดูถูกนะ พวกอื่นอาจจะกำลังใจไม่พอ ต้องหาต้นฉบับ ต้องพิมพ์ ต้องตรวจคำผิด ฯลฯ แทบจะคนเดียวเลยนี่ มันก็เหนื่อย ทำหนังสือนี่ไม่ใช่สบายเลยนะ เหนื่อยตัวเป็นเกลียวเลยนะ ลองทำดูเถอะ มันต้องจดจ่อกับตัวหนังสือทุกตัวเลย ขุดดินง่ายกว่า

    "แต่จริงๆ แล้วอยากจะกราบเรียนตรงนี้ว่า หลวงพ่อท่านคุมของท่าน เวลาติดอะไรขึ้นมาประเดี๋ยวต้องหาเจอ จะติดบาลีหรืออะไรก็แล้วแต่ประเดี๋ยวต้องหาเจอ อย่างนี้จึงบอกว่าเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก"

    การทำตำราของท่าน มีเวลาว่างชั่วโมงทำได้ 1 ม้วนก็ทำ ไม่ใช่ยกย่องครูบาอาจารย์นะ ท่านเป็นพระที่ขยันจริงๆ ท่านป่วยเสียงไอค่อกๆ แค่กๆ พอพูดได้หน่อยก็ไปทำแล้ว ทำชั่วโมงก็หยุดหอบ พอร่างกายดีก็เอาใหม่ เทปที่ท่านทำเป็นร้อยเป็นพันคาสเซท คิดดู...

    "ในเล่ม 2 มีอยู่ชุดหนึ่ง รู้สึกว่าจะทำทั้งคืนเลย เพราะนอนไม่หลับ พอนอนไม่หลับอัดเทป แล้วก็เข้าส้วม เข้าส้วมเสร็จกลับมาอัดต่อ 3 ม้วน 4 ม้วน 5 ม้วน ไม่ตายให้มันรู้ไป มีแรงก็ทำ ไม่ได้ห่วงความตายเลย"

    หลวงพ่อบอกว่ามารมันเอาท่านตลอด เพราะว่าจะสอนคนไปนิพพาน แต่ท่านไม่ยอม มารมันทำกายทำไป ถ้ามีแรงกูจะทำไม่ยอมแพ้ อย่างเรานี่มารยังไม่ทันมาเราก็แพ้แล้ว ตรงกันข้าม

    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)


    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ เมษายน 2537 หน้า 98)

    28276608_10156228773979329_3377389635937924283_n.jpg
     
  14. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    54355.jpg 54356.jpg 54357.jpg 54358.jpg 54353.jpg 54354.jpg
     
  15. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    26166221_974078352746001_6514646231911642784_n.jpg

    เรื่องตลกของพระ

    พระนี่มีเรื่องตลกหลายเรื่อง เดี๋ยวจะเล่าสัก 2 เรื่อง เวลาชาวบ้านเขาตาย เขานิมนต์พระไปสวด เวลามานิมนต์ก็ปุบปับไปเลย 4 องค์ ไปสวดอภิธรรม หัวหน้าก็ขึ้น กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา.. พอถึงบท ปุคคโล.. วนไปวนมาหลายตลบลงไม่ได้ สักประเดี๋ยว โยมหัวเราะกันครืน เลยบอก หยุดๆเถอะ ตั้งต้นกันใหม่

    รุ่งขึ้นอีกปีไปอีก ไปถึงก็ตั้งตาลปัตร อีกองค์พระแก่ตั้งตาลปัตรข้างๆตัว พอเหลือบไปเห็น เอ...มันบ้าหรือเปล่าวะ ตั้งตาลปัตรในกระโถน เราสวดไม่ได้เลย หัวร่อคิกๆ

    แหม...ตาลปัตรเขามีที่ตั้งไม่ตั้ง ดันไปตั้งในกระโถน หัวเราะจนสวดไม่ได้เลย


    "ไอ้เรื่องนี้ผมก็เคยเห็น เรื่องตั้งตาลปัตรผิด ในสมัยเณรเขียนบทสวดต่างๆ ไว้ที่ตาลปัตร พอสวดๆไป กาวที่แปะไว้มันหลุดสวดไม่ได้เลย"


    "เวลาให้ศีลก็เหมือนกัน ตอนสรุป สีเลนะ สุคติง ยันติ สีเลนะ โภคสัมปทา แล้วก็สีเลนะ สุคติง ยันติ สีเลนะ โภคสัมปทา แล้วก็ขึ้นอยู่อย่างนั้นแหละ เอาลงไม่ได้ ว่าไปว่ามามันก็ไม่ลงสักที

    ก็พอดีเดชบุญบารมีท่านช่วย หมามันวิ่งเข้ามาบนศาลา กัดกัน โอ..ตัสสมา (ตัสสะหมา) สีลัง วิโสทะโย เออ..หมาช่วยได้ นึกออก โยมบอกสาธุ แหม..ท่านนี่เก่ง เก่ง ได้หมาเป็นที่พึ่ง"


    ของฉันก็มีอีกเรื่องหนึ่ง ตอนเขาบวชกัน 180 องค์ พอดึกๆชักง่วง นาคบอก อุปัชฌา โยเย ภันเต โหหิ

    พระคู่สวดบอก ไม่ใช่ อุปัชฌา โมเม ภันเต โหหิ หนักกว่าเก่าอีก

    พระครูตี๋บอก อุปัชฌาย์ไม่โมเม มีตราตั้ง พระที่รอบวชกำลังง่วง ตาสว่างเลย



    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ ตุลาคม 2536 หน้า 96-97)


    0.jpg

    การเจิมป้าย


    มีอยู่คราวหนึ่ง อยู่ตึกกลางน้ำกัน ก็จะไปทำบุญ หลวงพ่อท่านลงฉันแล้ว เราก็ต้องออกผ่านท่าน ไปถึงบอก "หลวงพ่อครับเขานิมนต์ผมเปิดร้าน เขาเจิมกันยังไงครับ"

    เราไม่รู้เรื่องเลยนี่ ถามอีก "หลวงพ่อครับเจิมกี่จุดครับ" เห็นเขาเจิมกันหลายจุด ใช่ไหม

    ท่านบอก "เออ..เจิม 3 จุดเท่านั้นนะนึกถึงพระรัตนตรัยมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์"

    ถามอีก "แล้วไอ้ที่ขมวด ๆ ข้างบนน่ะอะไรครับ"

    ท่านก็บอก "พอจุด 3 จุดแล้ว เขียนอุณาโลม ก็ว่า อุณาโลมา ปะชานะเต แล้วว่าคาถา สัมปติฉามิ"

    จะถามอีกว่า แล้วจะม้วนข้างหน้าหรือม้วนข้างหลังครับ ก็กลัวโดนดุ เลยไม่ถาม

    "แล้วตอนที่แต้มจุดให้ว่าคาถาอะไรครับ"

    นะโมพุทธายะ ตอนครูบาอาจารย์อยู่ไม่เคยสนใจพวกนี้ เพราะไม่คิดจะเลียนแบบครูบาอาจารย์ ใช่ไหม...

    "เอ....แล้วหลวงพี่ขอคาถาเป่าหัวไว้บ้างหรือเปล่าครับ"

    ไม่ได้ขอทั้งนั้น เพราะไม่เห็นหลวงพ่อเป่าให้ใครนี่ อ้อ..มีอยู่องค์หนึ่ง หลวงเตี่ย เรากำลังเดินตามหลวงพ่อออกกำลังในตอนเย็น พวกก็วิทยุมาบอก พระจะมาพบ เราก็บอก พบไม่ได้หรอกมืดแล้ว ไม่รู้ใครนี่ หลวงเตี่ย ท่านก็ตื๊อเหมือนกัน ไปยืนหน้าประตูหลวงพ่ออีก ยืนถือพานเฉย หมาก็เห่า

    หลวงพ่อบอก "เฮ้ย..แกไปดูซิใครมาวะ" ออกไป อ้าว..เจ้าคณะภาคใหม่นี่ ท่านเป็นเจ้านายนี่ รีบกลับมาบอกหลวงพ่อ เจ้าคณะภาคใหม่ครับ หลวงเตี่ยหลวงพ่อให้เข้ามา เข้ามาก็รับแขกตรงที่มีหมาเยอะๆนั่นแหละ

    หลวงเตี่ยเข้ามากราบหลวงพ่อ บอกหลวงพ่อขอรับผมขอโทษด้วยที่หลวงพ่อไปแอล.เอ.ปีนั้น ไอ้นั่นมันจะแบ่ง 30 เปอร์เซ็นต์ ผมขับมันไปเลย แล้วท่านก็ขอพรหลวงพ่อ หลวงพ่อก็จับบ่าสองบ่าแล้วก็เป่าหัว บอก "รองสมเด็จได้แน่" หลวงเตี่ยบอก "หลวงพ่อครับขอสมเด็จไม่ได้หรือครับ" หลวงพ่อบอก "ใจเย็น ๆ ไปทีละขั้นซิ" แต่ท่านก็ใจหายแล้วละ เห็นหลวงพ่อเป่าหัวเจ้าคณะภาคนี่แหละ


    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 158 เมษายน 2537 หน้า 96-97)



    oHJRl7jzIP9nKya7xZM40VANN7ajBVQM-AQEgvmjYn5OTN7ZllhfS5jrX3PILIhi.jpg oHJRl7jzIP9nKya7xZM40RiFeXw8P2dcuqGNJo09BinEXeXkdqblzaIAXx4z5sru.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2021
  16. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    3-6a.jpg



    มีอยู่คราวหนึ่งปลายๆประมาณ พ.ศ. 2530 ได้ อาตมาเดินบิณฑบาตอยู่ คิดในใจว่า ถ้าหลวงพ่อมรณภาพนี่ จะมีเงินบูรณะวัดรึเปล่า แล้วจะอยู่กันยังไง คิดเสมอ คิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ของตัวเราเอง ก็คิดว่า ลูกศิษย์หลวงพ่อนี่เป็นร้อยเป็นพันอาจจะถึงหมื่น อาจจะถึงแสน แม้อยู่ใกล้อยู่ไกลก็ดี แต่ปกติถ้าเราบอกบุญกึ่งบังคับ

    เมื่อหลวงพ่อมรณภาพไปแล้วนี่ คิดในใจว่า อยากจะขอร้องญาติโยมที่เคารพรักนี่ทำเป็นสมาชิกของวัดที่อุปการะวัดเลย เป็นผู้ที่บำรุงวัดว่า ปีหนึ่งจะขอเขาคนละร้อยบาท 100 คนก็ได้หมื่นบาท 300 คนก็ได้ 30,000 บาทต่อปี พันคนก็ได้แสนบาท หมื่นคนก็ได้ล้านบาทต่อปี แสนคนก็ได้ 10 ล้านบาทต่อปี ให้เขาส่งเงินมา ปีละ 100 บาท ต่อปีต่อทุนเป็นสมาชิกจนกว่าจะตายจากกัน

    ก็เราทำอย่างนี้ก็จะมีเงินมาบำรุงวัดโดยแน่นอน ถ้าปีละ 100 ต่อคนเขาก็ไม่หนักใจ เมื่อคิดอย่างนี้ก็อยู่ในใจตลอด ก็คิดไปเรื่อย ก็หมื่นคนก็ได้ปีละตั้ง 1 ล้าน แสนคนก็อาจจะปีละ 10 ล้าน สมาชิกอย่างนี้นะถ้ามีอย่างนี้นี่ปีละ 10 ล้าน เราก็ทราบว่ามีเงินพอจะดูแลวัดไม่ให้สลายตัวง่าย เมื่อคิดอย่างนี้ก็อยู่ในใจ ไม่ได้บอกใคร อยู่ในใจเสมอ

    เวลา ผ่านไปตั้งเป็นเดือน ท่านก็มาคุยลอยๆว่า เฮ้ย คนเราถ้าคิดจะทำอะไร ที่คิดไว้น่ะ ไม่ต้องไปทำหรอกนะ รบกวนเขาเกินไป ท่านพูดลอยๆ ไม่ได้พูดกับเรา เราก็นึกว่า โอย นี่ถูกต้องแล้ว ครูบาอาจารย์ก็รู้ว่าเราคิด ห้ามเราทำเป็นการรบกวนญาติโยมเกินไป เขาจะรำคาญ นี่การคิดในใจเฉยๆ ไม่ได้บอกใคร ท่านยังรู้

    ฉะนั้นเมื่อเรามาพบครูบาอาจารย์ คือหลวงพ่อของเรา อย่างนี้ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้ภูมิใจเลยว่า สมแล้วไม่เสียชาติในการเกิดในชาตินี้ คือ พบพระแท้ พระที่สามารถจะสอนให้เราพ้นทุกข์จากวัฏฏะได้

    อันที่จริงพระในพุทธศาสนา ในประเทศไทย เราก็มีมากเป็นผู้ที่ประเสริฐ สามารถที่จะให้เราพ้นทุกข์ได้เหมือนกัน แต่เราก็มีความศรัทธาเคารพในคำสอนที่ท่านสอนเรา เช่นหลวงพ่อได้แนะนำเราไว้ทุกอย่างโดยไม่ปิดบัง


    ท่านทั้งหลาย มีอยู่คราวหนึ่งท่านพูดไว้ว่า คนเราจะลงมาเกิดจากเทวดา จากพรหมนั้นจะเกิดเพื่อบำเพ็ญบารมีหวังมรรคหวังผล เกิดเพื่อความพ้นทุกข์จากวัฏฏะ เมื่อท่านทั้งหลายเกิดมาพบพระพุทธศาสนา คนที่จะได้มรรคได้ผลนี่บุญจะให้ได้พบพระดี

    สำหรับท่านเอง สมัยก่อนพอท่านบวชมา จริงๆพระก็เยอะ แต่มีความพอใจในหลวงปู่ปาน มีความเคารพ เมื่อท่านจะบวชก็มีคู่สวดพร้อมอุปัชฌาย์ที่เป็นพระอรหันต์ คือ อุปัชฌาย์ท่านอยู่วัดบ้านแพน เป็นพระอรหันต์ เป็นอุปัชฌาย์ เป็นผู้สั่งสอนให้

    เมื่ออยู่กับหลวงปู่ปาน หลวงปู่ปานก็พุทธภูมิเต็มก็สอนทั้งสมถะ วิปัสสนา และให้ไปหาอาจารย์ที่เป็นพระอริยะเจ้าให้ไปเรียนกับหลวงพ่อโหน่ง หลวงพ่อเนียมท่านก็พอใจ เมื่อท่านเข้ามาเรียนในกรุงเทพก็มาพบสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดอนงคาราม ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ก็มีความพอใจ

    ฉะนั้นท่านจึงสรุปว่าคนเรานะถ้าต้องการมรรคต้องการผลในการปฏิบัติดีแล้วนี่ จะพอใจครูบาอาจารย์ที่มีมรรคมีผลทั้งสิ้น สำหรับท่านจะพอใจเฉพาะพระที่มีมรรคมีผล พระที่ไม่มีมรรคไม่มีผล เป็นหมื่นเป็นแสนก็ยังไม่พอใจจิตมันไม่ยอม จิตมันพอใจเฉพาะพระที่มีมรรคมีผล

    ฉะนั้นท่าน สาธุชนหรือลูกศิษย์หรือหลวงพ่อเราที่อยู่ร่วมกันนี้ ที่มาพบกัน ที่เป็นลูกศิษย์อยู่ไกลก็ดี อยู่วัดก็ดี อยู่ใกล้ก็ดี อยู่ต่างจังหวัด ต่างอำเภอ ต่างประเทศก็ดี ขอจงถามจิตตัวเองว่าท่านพอใจในคำสอนไหม พอใจในการปฏิบัติไหม พอใจในการลดละกิเลสไหม พอใจในมรรคผลเพื่อไปพระนิพพาน ไม่ต้องการมาเกิดไหม

    เมื่อท่านพอใจอย่าง นี้ ขอให้ภูมิใจได้ว่า ชาตินี้ท่านเดินใกล้พระนิพพานเข้ามาแล้ว เดินถูกทางแล้ว อย่าได้เขว อย่าได้เถลไถลไปเสียที่ไหน


    หลวงพ่อท่านเคยพูดอยู่เหมือนกันว่า ลูกของท่านทุกคนที่ลงมาเกิดนั้น ไม่ใช่เป็นผู้หมดบุญมา เป็นผู้มาเกิดตามกันไปเพื่อจะพ้นทุกข์จากวัฏฏะสงสาร ทุกคนที่ตามลงมาเกิดต้องการจะไปพระนิพพาน ท่านบอกว่าลูกของฉันทุกคนน่ะ แม้จะโต๋เต๋ไปบ้างระหว่างท่ามกลาง เมื่ออกุศลกรรมเข้าก็จะเขวไปบ้าง แต่บั้นปลายแล้ว ลูกของฉันไปนิพพานหมด

    นี่จงภูมิใจว่า พ่อแม่เรารักเรา หวังจะต้องการสั่งสอนเราให้พ้นจากวัฏฏะสงสาร


    ท่านเคยปรารภไว้ในศูนย์อารมณ์ คือฟังได้บ้าง จำได้คร่าวๆว่าท่านปรารภกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันว่า อาตมาร่างกายตอนนี้ป่วยเหลือเกิน ป่วยทุกลมหายใจ แต่พวกเราก็ดีเป็นผู้ที่ปรารถนาความพ้นทุกข์สนใจปฏิบัติธรรม หวังการไม่เกิดอีก ถ้าลูกปรารถนาดีอย่างนี้ก็จะขอทนทรมานสังขารสักระยะหนึ่ง เพื่อให้ใจมั่นคงในพระพุทธศาสนา มีความมั่นคงในการปฏิบัติความดีมีความมั่นคงในพระนิพพานแล้ว เมื่อถึงวาระนั้น ท่านบอกว่าอาตมาก็จะขอลาญาติโยมและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปหาที่ที่ตัวเองจะต้องไป

    นี่เป็นคำปรารภ คือปรารภกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เป็นจริงตามนั้นทุกประการ


    หลวงพ่อก่อนจะมรณภาพก็ปรารภว่า ลูกของฉันน่ะมาหมดแล้ว ลูกของฉันมั่นคงแล้ว งานก่อสร้างทุกอย่างในวัดก็สร้างครบหมด จะเป็นโรงเรียนก็ดี จะเป็นโรงพยาบาลก็ดี จะเป็นวัดก็ดี ส่วนไหนที่ขาดไม่ได้ทำไม่มี อบรมธรรมก็ดีทำจนถึงที่สุด

    จะขอพูดเรื่องบั้นปลายหลังจากอยู่กับท่าน ท่านป่วยทุกวันหลวงพ่อนี่กินยาทุกวัน กินยาต่ำกว่า 100 เม็ดไม่มี ต่อวันนะ กินเพื่อพวกเราผู้อยู่เบื้องหลัง กินเพื่อให้ร่างกายทรงตัวอยู่ชั่วขณะเพื่อจะได้อบรมธรรมเป็นกำลังใจแก่เรา ท่านปรารภกับอาตมาอยู่เป็นคราวๆว่า เมื่อสร้างวัดครบหมดแล้วนี่ก็ไม่มีอะไร เรื่องวัดก็ดี เรื่องโรงเรียนก็ดี ก็สั่งเสียไว้หมดทุกอย่าง ก็ทำหนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามนั้น


    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากหนังสือประวัติหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หน้า 67-69)

    12033020_474094946101296_707889612865361534_n.jpg 14469669_10154610278504329_2776779117707648872_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2018
  17. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    IMG_20180101_141333.jpg

    หลวงพ่อบอกว่าไปนิพพานไม่ได้

    มีคนอยู่คนหนึ่งร้องไห้ไปหาหลวงพ่อที่วัด เขาบอกว่าเขามีนิมิต นิมิตเขานี่ 10 ครั้งจะถูกสัก 9 ครั้ง เขานิมิตแม่นมาก อย่างคราวนี้หลวงพ่อไปบอกกับเขาว่า "ชาตินี้ไปนิพพานไม่ได้หรอก" ด้วยความเสียใจ ร้องไห้เอารถตีไปที่วัดท่าซุง ไปถึง 2 ทุ่ม หลวงพ่อออกมารับเฉยเลย "เออ...ลูกสาวเหรอ มายังไงๆ เข้ามาหานี่" ที่ตึกอินทราพงษ์ ตอนนั้นอาตมาเป็นยาม ผู้หญิงคนนั้นสะอึกสะอื้นอยู่อย่างนั้นแหละ

    หลวงพ่อถาม "เป็นยังไง พูดไปซิ" เขาก็เล่าให้ฟังถึงนิมิตที่หลวงพ่อบอกว่าเขาไปนิพพานไม่ได้ เสียใจ เสียชาติเกิดจริงๆ ใครพูดก็ไม่เชื่อแต่หลวงพ่อพูดนี่เชื่อ แม้ในนิมิต ถ้าเป็นเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ?

    หลวงพ่อบอกว่า "อย่างนี้เขาเรียกว่า อุปสมานุสสติเต็ม ถ้าพูดว่าไปนิพพานไม่ได้แล้วเสียใจแสดงว่ากำลังใจที่ไปนิพพานมันเต็มแล้ว ถ้าอุปสมานุสสติกรรมฐานไม่เต็ม มันไม่เสียใจหรอก"

    ขนาดคนร้องไห้มาอย่างหนัก หายร้องเลย ยิ้มแป้นกลับเลย แหม...ฉีดยาเข็มเดียวโรคหายเลย อย่างเราปะเหลาะเท่าไรคงไม่หาย


    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ มีนาคม 2536 หน้า 77)


    25552058_972402526246917_4933889764586376833_n.jpg 28167686_10156226234544329_7759813134204553525_n.jpg
     
  18. ลืมจัง

    ลืมจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +822
    ความเมตตาของหลวงพ่อช่างหาประมาณมิได้ ขอกราบสุดหัวสุดใจครับ
     
  19. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710
    1.1.jpg

    เรื่อง คนไม่ดี


    มันมีอยู่ข้อหนึ่งที่อ่านแล้วยังไม่เชื่อหลวงพ่อ มาตีตั้งนาน หลวงพ่อบอกว่า "ถ้าเราดีเสียแล้วนี่ ไม่เห็นคนอื่นชั่ว"

    ไอ้เราก็นึกในใจค้าน ไอ้คนนี้มันปล้นเขามา มันโกงเขามามันก็ชั่วอยู่แล้วนี่ แล้วทำไมหลวงพ่อว่าถ้าเราดีเสียอย่างไม่เห็นคนอื่นชั่ว ก็มันชั่วเห็นๆอยู่แล้วนี่
    เราก็เห็นๆมันโกงเขานี่ ศีลก็ไม่มี ลักขโมยก็เป็น มันไม่เห็นดีเลย จะว่าดียังไง

    ก็มาเถียงหลวงพ่อในใจว่า เอ๊ มันเป็นยังไง เราก็มาอ่านด้วย แล้วทำสมาธิไปด้วยว่าไอ้ที่ท่านพูดน่ะมันเป็นยังไง ต้องอ่านทีละตัวเลยนะ ต้องให้มันรู้เลย

    ท่านก็สรุปบอกว่า ถ้าเราดีเสียแล้วนี่ สมมุติว่าเราดีนี่ เราก็รู้ว่าไอ้นี่ที่มันทำชั่วนี่มันกรรมอะไรของมันมาให้ผล ถ้าเราดีก็มีญาณ มีญาณใช่ไหม มีสมาธิ เอ้อ ไอ้นี่มันกรรมของมัน มันทำชั่วเพราะอกุศลกรรมในชาติก่อนมา จะไปโกรธมันไม่ได้หรอก มันไม่อยากจะทำชั่วหรอก อกุศลกรรมมันให้ผล อภัยทานมันก็ปรากฏ มันก็ไม่โกรธ

    แต่เราไม่ถึงนั่นนี่ เราไม่ถึงดีซิมันถึงโกรธ ไอ้ตัวนี้กว่าจะยอมรับได้ โอ้โฮ เถียงในใจกับหลวงพ่อเสียนาน พอปัญญามันไม่ยอมรับมันก็ฟุ้งปรุงแต่งไปเรื่อยนะ ทีนี้ต้องผิดแน่หลวงพ่อ (หัวเราะ) หลวงพ่อต้องผิด เราต้องถูก ทำไมมันโกงเขาไปว่ามันดี เราต้องรู้บุพกรรม

    หลวงพ่อพระราชภาวนาโกศล(อนันต์ พทฺธญาโณ)

    (จากคอลัมภ์ "จากคำบอกเล่า" ธัมมวิโมกข์ สิงหาคม 2538 หน้า 98)

    17191658_756013101224151_2078093516476630849_o.jpg 12088117_10153716957444329_1286681502667442176_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2021
  20. Wannachai001

    Wannachai001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    8,844
    กระทู้เรื่องเด่น:
    112
    ค่าพลัง:
    +225,710


    Ase37je69Z_RobA2VXXPTCRrVCT_SRqYzd_oFN6Go2z9neHAZyOQo2CzpByDYCRN.jpg
    IMG_20170809_132850.jpg
    IMG_20170809_131222.jpg IMG_20170809_132237.jpg IMG_20170809_132443.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...