เรื่องเด่น สัมมาสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 5 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ อิอิ

    มีพุทธพจน์บางแห่ง ตรัสว่า


    "ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้ง ๕ และได้เริ่มทำความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ ไม่เลื่อนหลง กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม ก็เรียกได้ว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ได้เริ่มระดมความเพียรต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวเด็ดเดี่ยวแล้ว" * *(องฺ.จตุกฺก.21/12/19 - ขุ.อิติ. 25/292/319)
    -การพยายามชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ เป็นความหมายอย่างหนึ่งของหลักธรรมที่เรียกว่า ชาคริยานุโยค - ดูองฺ.ติก.20/455/143)



    ข้ออุปมาของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับสมาธินี้ ก็น่าฟัง ท่านว่า สมาธิทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้องค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับมัน ผนึก ประสานกันอยู่ ไม่พร่า ไม่ฟุ้งกระจาย เหมือนน้ำผนึกประสานแป้งเข้าเป็นก้อนเดียว และทำให้จิตสืบต่ออย่างนิ่งแน่วมั่นคง เหมือนเปลวเทียนในที่สงัดลม ติดไฟอยู่สงบนิ่ง ลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี (ดู สงฺคณี. อ. 209 วิสุทฺธิ. 3/37...)
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คงเข้าใจแล้วนะว่า คนที่เข้ามาด่า มจด. เพราะเอาของพระพุทธศาสนา (พระพุทธเจ้า) ไม่เอาของหลวงตา
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลุงแมว วิ.แบบอะไรก็ได้ ของลุงแมวดิ ว่าปาย
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ่านหนังสือไม่เกิน 5 บรรทัด กลับไปดูใหม่
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถ้ายังงั้นก็ยกเว้น เพราะอะไร? เพราะมันเกี่ยวข้องกับเรื่องนิวรณ์ ๕ คคห.ต่อนั่น อิอิ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ


    ความมุ่งหมายและประโยชน์ของสมาธิ: มองอย่างทั่วไป


    ความมุ่งหมายของสมาธิที่ใช้อย่างถูกต้อง หรือพูดตามศัพท์ว่า ความมุ่งหมายของสัมมาสมาธินั้น เป็นที่ชัดเจนว่า เพื่อเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาอย่างได้ผลดี

    อย่างที่พูดง่ายๆว่า สมาธิเพื่อปัญญา ดังบาลีว่า "สมาธิเพื่ออรรถคือยถาภูตญาณทัสสนะ" บ้าง * "สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอรรถเป็นอานิสงส์" บ้าง * "จิตวิสุทธิเพียงแค่มีทิฏฐิวิสุทธิเป็นอรรถ" บ้าง*

    อีกทั้งพุทธพจน์ต่อไปนี้ด้วย

    "สมาธิที่ศีลบ่มรอบแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาที่สมาธิบ่มรอบแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตที่ปัญญาบ่มรอบแล้ว ย่อมหลุดพ้นโดยชอบเทียว จากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ" (ที.ม.10/77/99)

    ……
    ความหมายศัพท์ และคัมภีร์อ้างอิง * ตามลำดับ

    * สมาธิเพื่ออรรถคือยถาภูตญาณทัสสนะ - สมาธิเพื่อจุดหมายคือการรู้เห็นตามเป็นจริง (วินย.8/1084/406)

    * สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นอรรถ เป็นอานิสงส์ - ความมุ่งหมายและผลสนองที่พึงประสงค์ของสมาธิ คือการรู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น (องฺ.ทสก.24/1/2)

    * จิตวิสุทธิเพียงแค่มีทิฏฐิวิสุทธิเป็นอรรถ - การบำเพ็ญสมาธิให้จิตบริสุทธิ์ มีจุดหมายอยู่แค่จะทำความเห็นความเข้าใจให้ถูกต้องบริสุทธิ์ (ม.มู.12/298/295)
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ที่ลุงแมวพูดนี่ เป็นเชิงสัญญลักษณ์ว่า
    คนที่มีภูมิจิตแบบ มจด.นี่มันใช้ไม่ได้
    มักทำในสิ่งไม่น่าจะทำ ไม่น่าจะพูด
    เเค่ทำเพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้น แต่มันตรงกันข้ามเลย
    มันยิ่งโชว์เลว เหมือนกาเอาขนยูงสีขาวสะอาด
    มาหุ้มตัวเองไว้ แต่พฤติกรรมห่างจากนกยูงมาก
    นี่เเหล่ะยุค ถิ่นกาขาวแต่ปลายยุคแล้วเดี๋ยว
    ก็ถูกล้างไปหมดเหลือแต่ยูงแท้ กาแท้ เข้าใจไหม
     
  8. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อจาก คคห.บนโน่น (ลุงแมวโพสต์แทรกก่อน มาไม่ทัน)

    แม้ว่าสมาธิจะมีความมุ่งหมายดังกล่าวนี้ก็จริง แต่สมาธิก็ยังมีคุณประโยชน์อย่างอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากจุดมุ่งหมายนั้นอีก ประโยชน์บางอย่าง เป็นผลพลอยได้ ในระหว่างการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายของสมาธินั้นเอง บางอย่างเป็นประโยชน์ส่วนพิเศษออกไป ซึ่งต้องอาศัยการฝึกฝนยิ่งกว่าธรรมดา บางอย่างเป็นประโยชน์ที่เกื้อกูล แม้แก่ท่านที่ได้บรรลุจุดหมายของสมาธิเสร็จสิ้นไปแล้ว
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คนที่มีภูมิจิตแบบ มจด.นี่มันใช้ไม่ได้ มักทำในสิ่งไม่น่าจะทำ ไม่น่าจะพูด

    ผมไม่ได้ทำอะไรให้ใครเลย เออ แค่ลงบทความสัมมาสมาธิ .... แต่ก็มีคนมาทำมาพูดขัดลากออกไปนอกเรื่องทุกที ก็ปล่อยให้ มจด.ทำไปตามกุศลเจตนา ปัญหาก็ไม่มีไม่เกิด แต่นี่ลุงแมว ร้อนรนร้อนตัวเองแล้ว มาโทษ มจด. ทม. หือ

    383388b4cb05edc366458929509a49ed.jpg
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ ต่อ :p

    โดยสรุป พอจะประมวลประโยชน์ของสมาธิได้ ดังนี้

    ก. ประโยชน์ที่เป็นจุดหมาย หรืออุดมคติทางธรรม

    ประโยชน์ที่เป็นความมุ่งหมายแท้จริงของสมาธิตามหลักพระพุทธศาสนา คือ เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่ง แห่งการปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด อันได้แก่ ความหลุดพ้นจากกิเลส และทุกข์ทั้งปวง

    ๑) ประโยชน์ที่ตรงแท้ของข้อนี้ คือ การเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งสภาวธรรมตามเป็นจริง เรียกตามศัพท์ว่า เป็นบาทแห่งวิปัสสนา หรือทำให้เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ ดังได้กล่าวแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่วิชชาและวิมุตติในที่สุด

    ๒) ประโยชน์ที่รองลงมาในแนวเดียวกันนี้ แม้จะไม่ถือว่าเป็นจุดหมายที่แท้จริง คือ การบรรลุภาวะที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสชั่วคราว ที่เรียกว่าเจโตวิมุตติประเภทยังไม่เด็ดขาด กล่าวคือ หลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจพลังจิต โดยเฉพาะด้วยกำลังของฌาน กิเลสถูกกำลังสมาธิ กด ข่ม หรือทับไว้ เรียกเป็นศัพท์ว่า วิกขัมภนวิมุตติ

    ข. ประโยชน์ในด้านการสร้างความสามารถพิเศษเหนือสามัญวิสัย

    ข้อนี้เป็นเรื่องของผลสำเร็จอย่างสูงสุดในทางจิต หรือเรียกสั้นๆว่า ประโยชน์ในด้านอภิญญา ได้แก่การใช้สมาธิระดับฌานสมาบัติเป็นฐาน ทำให้เกิดฤทธิ์ และอภิญญาขั้นโลกีย์อย่างอื่นๆ หูทิพย์ตาทิพย์เป็นต้น จำพวกที่ปัจจุบันเรียกว่า ESP (Extrasensory Perception)

    ค. ประโยชน์ด้านสุขภาพจิต และการพัฒนาบุคลิกภาพ

    ตัวอย่างในข้อนี้ ทำให้เป็นผู้มีจิตใจ และมีบุคลิกลักษณะ ที่เข้มแข็ง หนักแน่น มั่นคง สงบ เยือกเย็น สุภาพ นิ่มนวล สดชื่น ผ่องใส กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เบิกบาน งามสง่า มีเมตตากรุณา มองดูรู้จักตนเอง และผู้อื่นตามความเป็นจริง

    (คนมีนิวรณ์ มีลักษณะตรงข้าม เช่น อ่อนไหว ติดใจหลงใหลง่าย หรือหยาบ กระด้าง ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราด หงุดหงิด วู่วาม จุ้นจ้าน สอดแส่ ลุกลี้ลุกลน หรือหงอยเหงา เศร้าซึม หรือขี้หวาด ขี้ระแวง ลังเล)

    สมาธิเตรียมจิตให้อยู่ในภาพพร้อม และง่ายแก่การปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ และเสริมสร้างนิสัยที่ดี รู้จักทำใจให้สงบ และสะกดยั้งผ่อนเบาความทุกข์ที่เกิดขึ้นในใจได้ เรียกอย่างสมัยใหม่ว่า มีความมั่นคงทางอารมณ์และมีภูมิคุ้มกันโรคทางจิต

    ประโยชน์ข้อนี้จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ในเมื่อใช้จิตที่มีสมาธินั้น เป็นฐานปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน คือดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ตามดูรู้ทันพฤติกรรมทางกายวาจา ความรู้สึกนึกคิด และภาวะจิตของตนที่เป็นไปต่างๆ มองอย่างเอามาเป็นความรู้สำหรับใช้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่ยอมเปิดช่องให้ประสบการณ์และความเป็นไปเหล่านั้น ก่อพิษเป็นอันตราย แก่ชีวิตจิตใจของตนได้เลย ประโยชน์ข้อนี้ ย่อมเป็นไปในชีวิตประจำวันด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2017
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ง. ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น

    ๑) ใช้ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลาย หายเครียด เกิดความสงบ หายกระวนกระวาย ยั้งหยุดจากความกลัดกลุ้มวิตกกังวล เป็นเครื่องพักผ่อนกาย ให้ใจสบาย และมีความสุข เช่น บางท่านทำอานาปานสติ (กำหนดลมหายใจเข้าออก) ในเวลา ที่จำเป็นต้องรอคอย และไม่มีอะไรที่จะทำ เหมือนดังเวลานั่งติดในรถประจำทาง หรือปฏิบัติสลับแทรกในเวลาทำงานใช้สมองหนัก เป็นต้น

    ประโยชน์ข้อนี้ อย่างสมบูรณ์แบบ ได้แก่ ฌานสมาบัติ ที่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย ใช้เป็นที่พักผ่อนกายใจ เป็นอยู่อย่างสุขสบายในโอกาสว่างจากการบำเพ็ญกิจ ซึ่งมีคำเรียกเฉพาะว่า เพื่อเป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร

    ๒) เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน การเล่าเรียน และการทำกิจทุกอย่าง เพราะจิตที่เป็นสมาธิ แน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กำลังกระทำ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก ไม่เลื่อนลอยเสีย ย่อมช่วยให้เรียน ให้คิด ให้ทำงานได้ผลดี การงานก็เป็นไปโดยรอบคอบ ไม่ผิดพลาด และป้องกันอุบัติเหตุได้ดี เพราะเมื่อมีสมาธิ ก็ย่อมมีสติกำกับอยู่ด้วย ดังที่ท่านเรียกว่าจิตเป็นกัมมนียะ หรือกรรมนีย์ แปลว่า ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน ยิ่งได้ประโยชน์ในข้อ ๑) มาช่วยเสริม ก็ยิ่งได้ผลดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

    ๓) ช่วยเสริมสุขภาพกาย และใช้แก้ไขโรคได้ ร่างกาย กับ จิตใจอาศัย กัน และมีอิทธิพลต่อกัน ปุถุชนทั่วไป เมื่อกายไม่สบาย จิตใจก็พลอยอ่อนแอเศร้าหมอง ขุ่นมัว ครั้นจิตใจ ไม่มีกำลังใจ ก็ยิ่งซ้ำให้โรคทางกายนั้นทรุดหนักลงไปอีก แม้ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ พอประสบเรื่องราวให้เศร้าเสียใจรุนแรง ก็ล้มป่วย เจ็บไข้ไปได้

    ส่วนผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งสมบูรณ์ (โดยเฉพาะท่านที่มีจิตหลุดพ้นเป็นอิสระแล้ว) เมื่อเจ็บป่วยกาย ก็ไม่สบายอยู่แค่กายเท่านั้น จิตใจไม่พลอยป่วยไปด้วย ยิ่งกว่านั้น กลับใช้ใจที่สบาย มีกำลังจิตเข้มแข็งนั้น หันกลับมาส่งอิทธิพลบรรเทา หรือผ่อนเบาโรคทางกายได้อีกด้วย อาจทำให้โรคหายง่ายและไวขึ้น หรือแม้ใช้กำลังสมาธิระงับทุกขเวทนาทางกายไว้ก็ได้ * (*ที.ม.10/93/117 สํ.ส.15/122/38 ; 130/39 สํ.ม.19709203)

    ในด้านดี ผู้มีจิตใจผ่องใสเบิกบาน ย่อมช่วยให้กายเอิบอิ่ม ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายดีเป็นภูมิต้านทานโรคไปในตัว ความสัมพันธ์นี้ มีผลต่ออัตราส่วนของความต้องการ และการเผาผลาญใช้พลังงานของร่างกายด้วย เช่น จิตใจที่สบายผ่องใสสดชื่นเบิกบานนั้น ต้องการอาหารน้อยลง ในการที่จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์ผ่องใส เช่น คนธรรมดามีเรื่องดีใจ ปลาบปลื้มอิ่มใจ ไม่หิวข้าว หรือพระที่บรรลุธรรมแล้ว มีปีติเป็นภักษา ฉันอาหารวันละมื้อเดียว แต่ผิวพรรณผ่องใส เพราะไม่หวนละห้อยความหลัง ไม่เพ้อหวังอนาคต * (*สํ.ส.15/22/7)

    ไม่เฉพาะจิตใจดี ช่วยเสริมให้สุขภาพกายดีเท่านั้น โรคกายหลายอย่าง เป็นเรื่องของกายจิตสัมพันธ์ เกิดจากความแปรปรวนทางจิตใจ เช่น ความมักโกรธบ้าง ความกลุ้มกังวลบ้าง ทำให้เกิดโรคปวดศีรษะบางอย่าง หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดได้ เป็นต้น เมื่อทำจิตใจให้ดีด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ช่วยแก้ไขโรคเหล่านั้นได้

    ประโยชน์ข้อนี้จบสมบูรณ์ ต่อเมื่อมีปัญญาที่รู้เท่าทันสภาวธรรมประกอบอยู่ด้วย*

    ……….

    อ้างอิง * สุดท้าย
    * สภาพกายจิตสัมพันธ์นี้ อาจแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ ตามขั้นของพัฒนาการทางจิต
    ขั้นต่ำสุด ทุกข์กาย ซ้ำทุกข์ใจ คือ ผลต่อกาย กระทบจิตด้วย พอไม่สบายกาย ใจพลอยไม่สบายด้วย ซ้ำเติมตัวเองให้หนักขึ้น

    ขั้นกลาง ทุกข์กาย อยู่แค่กาย คือ จำกัดขอบเขตของผลกระทบได้ ความทุกข์ความไม่สบายมีอยู่แค่ไหน ก็รับรู้ตามที่เป็นแค่นั้น วางใจได้ ไม่ให้ทุกข์ทับถมลุกลาม

    ขั้นสูง ใจสบาย ช่วยกายคลายทุกข์ คือ เมื่อร่างกายทุกข์ ไม่สบาย นอกจากไม่เก็บไปก่อทุกข์แก่ใจแล้ว ยังสามารถใช้สมรรถภาพที่เข้มแข็ง และคุณภาพที่ดีงามของจิต ส่งผลตีกลับมาช่วยกายได้อีกด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2017
  12. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    โฮ่จริงๆ ไม่มีใครเขาไปคิดแบ่งแยกพระพุทธ พระธรรม พระอริยะสงฆ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน
    ให้ออกเป็นเสี่ยงๆ อย่างที่ปัญญาสำส่อน
    เจ้าเข้าใจหรอกเจ้ามาจากลิง
    มุขเสี้ยมตื้นๆ เลิกเหอะเก็บเสื่อกลับบ้านได้แล้ว
    พอแล้ว พอแล้ว
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    โฮ่จริงๆ ไม่มีใครเขาไปคิดแบ่งแยกพระพุทธ พระธรรม พระอริยะสงฆ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน
    ให้ออกเป็นเสี่ยงๆ

    นี่ล่ะโฮ่จริง ยิ่งพูดยิ่งแสดงความเห็น ยิ่งเห็นว่าโฮ่จริงๆ ไม่เข้าใจแม้แต่พระรัตนตรัย อิอิ มั่วกันไปหมดลุงแมวเอ้ย เลิกเหอะ ๆ
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ความมุ่งหมาย และประโยชน์ของสมาธิ: สรุปตามประเภทของสมาธิภาวนา

    ถ้าสรุปตามพระบาลี การฝึกอบรมเจริญสมาธิ มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา (การเจริญสมาธิ) มี ๔ อย่าง ดังนี้ คือ

    ๑. สมาธิภาวนา ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร (การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
    ๒. สมาธิภาวนา ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
    ๓. สมาธิภาวนา ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
    ๔. สมาธิภาวนา ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย"* (องฺ.จตุกฺก.21/41/57 ที.ปา.11/233/233)

    แบบที่ ๑ บาลีขยายความว่า ได้แก่ ฌาน ๔ ข้อ นี่ก็คือ การเจริญสมาธิในลักษณะที่พูดอย่างชาวบ้านว่า เป็นวิธีหาความสุขแบบหนึ่ง ตามหลักที่แบ่งความสุขเป็น ๑๐ ขั้น* (* เช่น ม.ม.13/100/96 สํ.สฬ. 18/413/278) ซึ่งประณีตขึ้นไปตามลำดับ คือ กามสุข สุขในรูปฌาน ๔ ขั้น สุขในอรูปฌาน ๔ ขั้น และสุขในนิโรธสมาบัติ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย นิยมเจริญฌานในโอกาสว่าง เพื่อเป็นการพักผ่อนอย่างสุขสบาย ที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร

    แบบที่ ๒ บาลีขยายความว่า ได้แก่ มนสิการอาโลกสัญญา (กำหนดหมายในแสงสว่าง) อธิษฐานทิวาสัญญา (กำหนดหมายว่าเป็นกลางวัน) เหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน มีใจเปิดโล่ง ไม่ถูกนิวรณ์ห่อหุ้ม ฝึกให้เป็นจิตที่มีความสว่าง

    อรรถกถาอธิบายว่า การได้ญาณทัสสนะในที่นี้ หมายถึงการได้ทิพยจักษุ และท่านกล่าวว่า ทิพยจักษุนั้นเป็นยอดของโลกิยอภิญญาทั้ง ๕ ฯลฯ บางแห่งท่านกล่าวถึงญาณทัสสนะนี้คำเดียว หมายคลุมถึงโลกิยอภิญญาทั้ง ๕ ดังนั้น ประโยชน์ข้อนี้จึงหมายถึงการนำเอาสมาธิไปใช้เพื่อผลสำเร็จทางจิต คือความสามารถพิเศษจำพวกอภิญญา

    แบบที่ ๓ คือการตามดูรู้ทันความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นดับไป ในความเป็นอยู่ประจำวันของตน ดังที่บาลีไขความไว้ว่า เวทนา สัญญา และวิตกทั้งหลาย จะเกิดขึ้น จะตั้งอยู่ จะดับไป ก็เป็นไปโดยรู้ชัด

    แบบที่ ๔ บาลีขยายความว่า ได้แก่ การเป็นอยู่โดยมีปัญญา มองดูรู้ทันอยู่เสมอ ถึงความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูป เป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นของรูป เป็นดังนี้ ความดับไปของรูป เป็นดังนี้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นดังนี้ เกิดขึ้นดังนี้ ดับไปดังนี้ มองอย่างกว้างๆ ก็คือ การใช้สมาธิเพื่อประโยชน์ทางปัญญา เป็นอุปกรณ์ในการเจริญวิปัสสนา อย่างที่เรียกว่า เป็นบาทฐานของวิปัสสนา เพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ อาสวักขยญาณ หรือวิชชาวิมุตติ* (ดูคำอธิบายของอรรถกถา ที่ ที.อ.3/257 องฺ.อ.2/396... และพึงเปรียบเทียบกับ องฺ.ติก.20/226/56 และ องฺ.ฉกฺก.22/300/361 ด้วย)

    ตามคำอธิบายของอรรถกถา จะเห็นว่า ประโยชน์อย่างที่ ๑ และ ๒ เป็นด้านสมถะ ส่วนประโยชน์อย่างที่ ๓ และ ๔ เป็นด้านวิปัสสนา


    ประโยชน์อย่างอื่นๆที่ได้กล่าวข้างต้น แม้จะไม่มีระบุไว้ในพระบาลีนี้ ก็พึงเห็นว่า เป็นประโยชน์พลอยได้สืบเนื่องออกไป ซึ่งพึงได้รับในระหว่างการปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ ๔ อย่างนี้บ้าง เป็นข้อปลีกย่อยกระจายออกไป ไม่ต้องระบุไว้ให้เด่นชัดต่างหากบ้าง
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ท่านก็ได้สรุปอานิสงส์คือผลได้ต่างๆของสมาธิภาวนา หรือการฝึกเจริญสมาธิไว้เหมือนกัน ดังที่แสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์มี ๕ ประการ คือ (วิสุทฺธิ.2/195-6)

    ๑) เป็นวิธีการพักผ่อนอย่างสุขสบายในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมสุขวิหาร)

    ข้อนี้ เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา (คือ ระดับฌาน) สำหรับพระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้ทำกิจเพื่อความหลุดพ้นเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ต้องใช้ฌานเพื่อบรรลุภูมิธรรมใดๆ ต่อไปอีก อ้างพุทธพจน์ว่า

    "ฌานเหล่านี้ เรียกว่าเป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร ในอริยวินัย (ระบอบของอริยชน หรือแบบแผนของพระอริยะ) * (ม.มู.12/102/73)

    ๒) เป็นบาท หรือเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา

    ข้อนี้ เป็น อานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนาก็ได้ หรือขั้นอุปจารก็พอได้ แต่ไม่โปร่งนัก ประโยชน์ข้อนี้ใช้สำหรับพระเสขะและปุถุชน อ้างพุทธพจน์ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง" (สํ.ข.17/27/18)

    ๓) เป็นบาทหรือเป็นปทัฏฐาน แห่งอภิญญา

    ข้อนี้ เป็น อานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา สำหรับผู้ได้สมาบัติ ๘ แล้ว เมื่อต้องการอภิญญา ก็อาจทำได้ เกิดขึ้นได้ อ้างพุทธพจน์ว่า

    "จิตนุ่มนวลควรแก่งาน...จะน้องจิตไป เพื่อประจักษ์แจ้งด้วยด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมที่พึงประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา อย่างใดๆ ก็ถึงความเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่" (องฺ.ติก.20/542/331)

    ๔) ทำให้ได้ภพวิเศษ

    ข้อนี้ หมายถึงการเกิดในภพที่ดีที่สูง เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา สำหรับปุถุชนผู้ได้ฌานแล้ว และฌานมิได้เสื่อมไปเสีย ทำให้ได้เกิดในพรหมโลก อ้างพุทธพจน์ว่า

    "เจริญปฐมฌานขั้นปริตตกุศลแล้ว เกิดที่ไหน ? ย่อมเข้าร่วมพวกเทพพรหมปาริสัชชา" (อภิ.วิ.35/1107/570)

    อย่างไรก็ดี แม้สมาธิขั้นอุปจาร ก็สามารถให้ภพวิเศษ คือกามาวจรสวรรค์ ๖ ได้

    ๕) ทำให้เข้านิโรธสมาบัติได้

    ข้อนี้ เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา สำหรับ (พระอรหันต์ หรือพระอนาคามี) ผู้ได้สมาบัติ ๘ แล้ว ทำให้เสวยความสุขอยู่ได้โดยไม่มีจิต ตลอดเวลา ๗ วัน อ้างญาณในนิโรธสมาบัติ ในปฏิสัมภิทามัคค์ * (ขุ.ปฏิ.๓๑/๒๒๕/๑๔๗)
     
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ความมุ่งหมายและประโยชน์ของสมาธิ: ในแง่ช่วยป้องกันความไขว่เขว

    ความเข้าใจในเรื่องประโยชน์ หรือความมุ่งหมายในการเจริญสมาธินี้ จะช่วยป้องกัน และกำจัดความเข้าใจผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ และชีวิตพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้เป็นอันมาก เช่น ความเข้าใจผิดว่า การบำเพ็ญสมาธิเป็นเรื่องของการถอนตัว ไม่เอาใจใส่ในกิจการของสังคม หรือว่า ชีวิตพระสงฆ์ เป็นชีวิตที่ปลีกตัวโดยสิ้นเชิง ไม่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น

    ข้อพิจารณาต่อไปนี้ อาจเป็นประโยชน์ ในการป้องกัน และกำจัดความเข้าใจผิดที่กล่าวมาแล้วนั้น

    - สมาธิเป็นเพียงวิธีการเพื่อเข้าถึงจุดหมาย ไม่ใช่ตัวจุดหมาย ผู้เริ่มปฏิบัติอาจต้องปลีกตัวออกไป มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตในสังคมน้อยเป็นพิเศษ เพื่อการปฏิบัติฝึกอบรมช่วงพิเศษระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงออกมามีบทบาทในทางสังคมตามความเหมาะสมของตนต่อไป อีกประการหนึ่ง การเจริญสมาธิโดยทั่วไป ก็มิใช่จะต้องมานั่งเจริญอยู่ทั้งวันทั้งคืน และวิธีปฏิบัติก็มีมากมาย เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับจริยา เป็นต้น

    - จะเห็นได้จากหลักฐาน เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในหลักสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ว่าบุคคลบางคน อาจใช้เวลาปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ นั้นอย่างจริงจังต่อเนื่องกัน เป็นเวลาเพียง ๗ วันเท่านั้น ก็บรรลุอรหัตผลได้ สำหรับท่านที่สำเร็จผลเช่นนั้นแล้ว การใช้สมาธิต่อจากนั้นไป ตามปกติก็คือ เพื่อประโยชน์ในข้อทิฏฐธรรมสุขวิหาร ส่วนเวลาที่เหลืออยู่มากมายในชีวิต ก็สามารถใช้ให้เป็นไปตามพุทธพจน์ที่มีเป็นหลักมาแต่ดั้งเดิม คือ "จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย - ภิกษุทั้งหลาย จงจาริกไปเพื่อประโยชน์สุขของพหูชน เพื่อเกื้อการุณย์แก่ชาวโลก"

    - การดำเนินปฏิปทาของพระสงฆ์ ขึ้นต่อความถนัด ความเหมาะสม ของลักษณะนิสัย และความพอใจส่วนตนด้วย บางรูปอาจพอใจและเหมาะสมที่จะอยู่ป่า บางรูปถึงอยากไปอยู่ป่า ก็หาสมควรไม่ มีตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุบางรูปไปปฏิบัติธรรมในป่า * (องฺ.ทสก.24/99/216...) และแม้ภิกษุที่อยู่ป่า ในทางพระวินัยของสงฆ์ ก็หาได้อนุญาตให้ตัดขาดจากความรับผิดชอบทางสังคมโดยสิ้นเชิง อย่างฤๅษีชีไพรไม่ * (* ให้พิจารณาจากวินัยบัญญัติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ ในด้านการเลี้ยงชีพ เป็นต้น และบทบัญญัติให้พระภิกษุทุกรูป มีส่วนร่วม และต้องร่วม ในสังฆกรรม อันเกี่ยวกับการปกครอง และกิจการต่างๆ ของหมู่คณะ)

    - ประโยชน์ของสมาธิ และฌานที่ต้องการในพุทธธรรม ก็คือ ภาวะจิตที่เรียกว่า "นุ่มนวล ควรแก่งาน" ซึ่งจะนำมาใช้เป็นที่ปฏิบัติการของปัญญาต่อไป ส่วนการใช้สมาธิและฌานเพื่อประโยชน์อื่นจากนี้ ถือเป็นผลได้พิเศษ และบางกรณีกลายเป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงสนับสนุน ตัวอย่างเช่น

    ผู้ใดบำเพ็ญสมาธิเพื่อต้องการอิทธิปาฏิหาริย์ ผู้นั้นชื่อว่าตั้งความดำริผิด อิทธิปาฏิหาริย์นั้น อาจก่อให้เกิดผลร้ายได้มากมาย เสื่อมได้ และไม่ทำให้บรรลุจุดหมายของพุทธธรรมได้เลย * (ขอให้นึกถึงกรณีของพระเทวทัต และนักบวชก่อนสมัยพุทธกาล)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2017
  17. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ต่อ


    ส่วนผู้ใดปฏิบัติเพื่อจุดหมายทางปัญญา ผ่านทางวิธีสมาธิ และได้อิทธิปาฏิหาริย์ด้วย ก็ถือเป็นความสามารถพิเศษไป

    อย่างไรก็ดี แม้ในกรณีปฏิบัติด้วยความมุ่งหมายที่ถูกต้อง แต่คราวใดที่ยังไม่บรรลุจุดหมาย การได้อิทธิปาฏิหาริย์ ย่อมเป็นอันตรายได้เสมอ * (เป็นปลิโพธ คือ อุปสรรคอย่างหนึ่ง ของ วิปัสสนา (วิสุทธิ.1/122) เพราะเป็นเหตุให้เกิดความหลงเพลิน และความติดหมกมุ่น ทั้งแก่ตนและคนอื่น และอาจเป็นเหตุพอกพูนกิเลส จนถ่วงให้ดำเนินต่อไปไม่ได้

    พระพุทธเจ้า แม้จะทรงมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย แต่ก็ไม่ทรงสนับสนุนการใช้อิทธิปาฏิหาริย์ เพราะไม่ใช่วิถีแห่งปัญญา และความหลุดพ้นเป็นอิสระ ตามพุทธประวัติจะเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิปาฏิหาริย์ในกรณีเพื่อระงับอิทธิปาฏิหาริย์ หรือเพื่อระงับความอยากในอิทธิปาฏิหาริย์

    - สำหรับท่านผู้ฝึกอบรมก้าวหน้าไปในมรรคแล้ว หรือสำเร็จบรรลุจุดหมายแล้ว มักนิยมใช้การเจริญสมาธิขั้นฌาน เป็นเครื่องพักผ่อนอย่างสุขสบายในโอกาสว่างๆ เช่น พระพุทธองค์เอง แม้จะเสด็จจาริกสั่งสอนประชาชนจำนวนมาก เกี่ยวข้องกับคนทุกชั้นวรรณะ และทรงปกครองคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ แต่ก็ทรงมีคุณสมบัติอย่างหนึ่ง คือ ฌายี และฌานสีลี * หมายความว่า ทรงนิยมฌาน ทรงพอพระทัยประทับในฌาน แทนการพักผ่อนอย่างธรรมดาในโอกาสว่าง เช่นเดียวกับพระสาวกเป็นอันมาก อย่างที่เรียกว่าทิฏฐธรรมสุขวิหาร คือ เพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ที่ปรากฏว่าทรงปลีกพระองค์ไปอยู่ในที่สงัดเป็นเวลานานๆ ถึง ๓ เดือน * (สํ.ม.1363/421) เพื่อเจริญสมาธิ ก็เคยมี

    การนิยมหาความสุขจากฌานนี้ บุคคลใดจะทำแค่ไหนเพียงใด ย่อมเป็นเสรีภาพส่วนบุคคล แต่หากความติดชอบมากนั้น กลายเป็นเหตุละเลยความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ย่อมถูกถือเป็นเหตุตำหนิได้ ถึงแม้จะเป็นความติดหมกมุ่นในขั้นประณีต

    กล่าวโดยพื้นฐาน ระบบชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ว่าตามหลักบทบัญญัติในทางวินัย ย่อมถือเอาความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นหลักสำคัญ ความเจริญรุ่งเรืองก็ดี ความเสื่อมโทรมก็ดี ความตั้งอยู่ได้และไม่ได้ก็ดี ของคณะสงฆ์ ย่อมขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อส่วนรวมนั้นเป็นข้อสำคัญ

    เมื่อมองโดยรวม ในขั้นสูงสุด ย่อมเห็นชัดว่า สำหรับพระพุทธเจ้า และท่านที่ปฏิบัติถูกต้อง สมาธิมาช่วยหนุนการบำเพ็ญกิจเพื่อพหูชน
    ……..

    ที่อ้างอิง *
    * เช่น ม.ม. 12/82/78....พึงสังเกตตามเรื่อง ในคัมภีร์รุ่นหลังๆ กล่าวถึงพวกฤาษีชีไพรก่อนสมัยพุทธกาล ที่เจริญฌานได้เก่งกล้า นิยมเอาฌานเป็นกีฬา จึงมีศัพท์เรียกว่า ฌานกีฬา ซึ่งหมายความว่า ฌานเป็นเครื่องเล่นสนุก หรือสิ่งสำหรับหาความเพลิดเพลินยามว่าง ของพวกนักพรต (เช่น ขุ.อป.32/3/26...)
    ที่กล่าวถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า (สํ.อ.329...) และพุทธสาวกที่ยังไม่บรรลุอรหัตผล (ธ.อ.7/81/...) ว่าเล่นฌานก็มีบ้าง แต่ที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ว่าเล่นฌานกีฬา ยังไม่พบเลย

    เรื่องนี้ ควรเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับความแตกต่างในการดำเนินชีวิตว่า วิถีชีวิตแบบใด เป็นที่พึงประสงค์ในพุทธศาสนา และวิถีชีวิตแบบใด เหมาะกัน หรือยอมให้ได้ สำหรับผู้ที่พัฒนาอยู่ในระดับไหน

    ......

    (พุทธธรรมแต่หน้า 779 ไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2017
  18. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    หลักฐานทางคัมภีร์ที่ใช้อ้างอิงคร่าวๆ

    เกี่ยวกับหลักฐานที่มา มีข้อควรรู้บางอย่าง คือ

    ก. สำหรับผู้คุ้นกับคัมภีร์พุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อเห็นอักษรย่อคัมภีร์ ก็รู้ได้ทันทีว่า อันใดเป็นคัมภีร์ในพระไตรปิฎก อันใดเป็นคัมภีร์รุ่นหลัง แต่สำหรับผู้ไม่คุ้น อาจสังเกตง่ายๆจากเลขบอกที่มาคือคัมภีร์ในพระไตรปิฎก เรียงเลข ๓ ช่อง เป็น เล่ม/ข้อ/หน้า ส่วนคัมภีร์รุ่นหลังเรียงเลขเพียง ๒ ช่อง เป็น เล่ม/หน้า นอกจากนั้น คัมภีร์ที่เป็นอรรถกถา อักษรย่อจะลงท้ายด้วย อ. ที่เป็นฎีกา จะลงท้ายด้วย ฎีกา

    ข. ตามปกติ เรื่องใดอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นต้นที่สำคัญกว่าแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างหลักฐานที่มาในคัมภีร์ชั้นรองลงไป ที่สำคัญน้อยกว่า เช่น อ้างพระไตรปิฎกแล้ว ก็ไม่ต้องอ้างอรรถกถาอีก เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีคำอธิบายเพิ่มเติม เป็นต้น

    ค. เมื่ออ้างที่มาหลายแห่ง จะเรียงตามลำดับประเภท หมวด และรุ่นของคัมภีร์ เช่น เรียงพระไตรปิฎกก่อนอรรถกถา อรรถกถาก่อนฎีกา หรือในจำพวกพระไตรปิฎกด้วยกัน ก็เรียงพระวินัยก่อนพระสูตร พระสูตรก่อนพระอภิธรรม ในพระสูตรด้วยกัน ก็เรียงตามลำดับนิกาย ในนิกายเดียวกัน ก็เรียงตามลำดับคัมภีร์ เป็น วินย. ที.สี. ที.ม. ที.ปา. ม.มู. ม.ม. ฯลฯ อภิ.สํ. อภิ.วิ. ฯลฯ วินย.อ. ที.อ. ม.อ. ฯลฯ วิภงฺค.อ. ฯลฯ วินย.ฎีกา. ฯลฯ เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษ เช่น เป็นคัมภีร์ลำดับหลัง แต่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้มาก เป็นหลักฐานใหญ่เฉพาะกรณีนั้น ก็เรียงไว้ข้างต้น หรือคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องนั้นไว้คล้ายกัน ก็เรียงไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น

    .........

    หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่แต่งกันทั่วไปจำนวนมาก ที่ไม่ได้แสดงหลักฐานที่มา บางครั้งก็ทำให้ผู้อ่านสับสนหรือถึงกับเข้าใจผิด จับเอาเรื่องในคัมภีร์รุ่นหลัง หรือมติของพระอรรถกถาจารย์ เป็นต้น ว่าเป็นคำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า

    บางที แม้แต่ผู้แต่งหนังสือเหล่านั้นเอง ก็สับสนหรือเข้าใจผิดอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็นข้อที่พึงระวังในเรื่องความสับสนเกี่ยวกับหลักฐานที่มานี้

    ในการแสดงพุทธธรรม ผู้แสดงถือว่าได้พยายามที่จะแสดงตัวพุทธธรรมแท้ อย่างที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอนและทรงมุ่งหมาย ในการนี้ ได้ตัดความหมายอย่างที่ประชาชนเข้าใจออกโดยสิ้นเชิง ไม่นำมาพิจารณาเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องข้างปลาย ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจตัวพุทธธรรมที่แท้แต่ประการใด
     
  19. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ผู้ศึกษาใหม่ผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา เคยได้ยินได้ฟังมาว่า ฝึกสมาธิ ฝึกจิตฝึกใจ ทำสมาธิ ฯลฯ ดีเหลือเกิน ดีจัง ดียังงั้นดียังงี้ ยิ่งมาค่อยๆอ่านบทความนี้วันละบรรทัดสองบรรทัด อ่านถึงประโยชน์ของสมาธิ เออ ดีจริงๆด้วย

    ครั้นมีคนชวนไปฝึกไปทำสมาธิที่สำนักนั้น วัดโน่น ให้ศึกษาให้จงดีก่อนว่าเจ้าสำนักนั้นๆ มีภูมิทางปฏิบัติแค่ไหน คนเป็นๆมีจิตวิญญาณ มันมีธรรมดาธรรมชาติของมัน (ของมัน ไม่ใช่ของเรา)

    ดูตัวอย่างนี้

    (จขกท. คคห.39)

    ขอบคุณมากสำหรับทุกๆ ความเห็นค่ะ

    แต่ว่า ถ้าการฝึกสมาธิมันเสี่ยงกับการเป็นบ้า ทำไมเราถึงสนับสนุนคนให้ฝึกกันละคะ เพราะก็ไม่มีใครรู้หรอกว่าตัวเองมีเชื้อบ้าอยู่ในตัวไหม น่าจะสนับสนุนให้ศึกษาธรรมมะให้เข้าใจก็พอแล้ว คนที่เข้าใจธรรมมะจากการศึกษาก็พ้นทุกข์ได้ ไม่เห็นต้องมาเสี่ยงปฏิบัติ

    ดิฉันไม่รู้ว่าตัวเองมีเชื้อมากก่อนไหม แต่รู้ว่าตัวเองสุขภาพจิตดีก่อนเกิดเหตุ

    แต่เคยได้ยินว่าฝึกแล้วอาจจะบ้าได้ แต่เสียดายไม่เคยคิดเลยว่ามันใกล้ตัวไป ก็ไม่ได้เคร่งเครียดอะไรในการฝึก ทำไปตามปกติสบายสบาย จนมันผิดปกติถึงได้พยายามแก้ไขเอง นี่เองจุดหักเข้าสู่ความตาย

    พอเห็นอาการทางกายหายไป แล้วดิฉันเริ่มหลงเพราะเห็นพระที่ดิฉันนับถือที่สุดในชีวิตเอาพระองค์เล็กๆใส่มาในตัวเรา ต่อจากนั้นก็รู้สึกไปว่าติดต่อทางจิตกับท่านตลอดเวลา... เจอมุขนี้ มือใหม่จะรับมือไหวได้ยังไง

    หมอยังทำให้เบาใจได้ระดับนึงคือเขาคิดว่ามันเป็น Bipolar มากกว่า schizophrenia
    (ข้อแตกต่างของสองอันคือ schizophrenia จะไม่มีทางหาย แต่ bipolar หายได้)

    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html
     
  20. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ค่อยๆอ่านไปวันละ 5 บรรทัดนะขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...