ประวัติหลวงพ่อเชย(ตเชย ติสสร) วัดบางกระสอบ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ช่างวูด, 6 พฤษภาคม 2017.

  1. ช่างวูด

    ช่างวูด สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2017
    โพสต์:
    11
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19
    ประวัติ ของหลวงพ่อเชย ติสโร (เชย1)
    หลวงพ่อเชย ดิสฺสร นามเดิมของท่านคือ เชย เพชรประดิษฐ์ โยมบิดาชื่อ ประดิษฐ์ โยมมารดาชื่อ แก้ว เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน ๑๒ ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๓ เกิดที่ตำบลท้องคุ้งบน อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทปราการ มีพี่น้อง ๒ คนคือ หลวงพ่อเชย ดิสฺสร และนายปลั่ง เพชรประดิษฐ์ ในช่วงเยาว์วัยท่านสนใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา บิดามารดาจึงนำท่านฝากไว้กับ หลวงพ่อปาน ที่วัดบางกระสอบ ท่านจึงได้รับการประสิทธิประสาทวิชาจากหลวงพ่อปาน จนอายุครบบวช ก็ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดบางกระสอบในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยมี หลวงพ่อจันทร์ วัดท้องคุ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเพิ่ม วัดหนามแดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับนามฉายาว่า ดิสฺสร

    หลวงพ่อเชย ได้รับประสิทธิ์ประสาทสืบทอดวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อปาน ทั้งพุทธาคม วิทยาคม วิปัสสนากัมมัฏฐาน อักขระและภาษาขอม จนมีความเชี่ยวชาญในด้านคันถะธุระและวิปัสสนาธุระ อีกทั้งแก่กล้าในด้านเวทย์มนต์คาถาลงเลขยันต์ และได้ช่วยหลวงพ่อปานสร้างวัตถุมงคลจนจดจำกรรมวิธีได้อย่างละเอียดละออ

    เมื่อหลวงพ่อปานได้ชราภาพลงมาก ท่านได้เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาแทน มีพระสงฆ์อุบาสก - อุบาสิกา และประชาชนมาเรียนวิปัสสนากับท่านเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกๆ ปี จึงทำให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ภายหลังเมื่อสิ้นหลวงพ่อปานแล้ว ท่านก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางกระสอบ ปกครองพระภิกษุสงฆ์ สามเณรและศิษย์ สร้างถาวรวัตถุ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะให้เจริญรุ่งเรือง และเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงมีคนนับถือศรัทธาเคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก ท่านได้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ สิริรวมอายุ ๖๒ ปี ๔๐ พรรษา

    พระปิดตาหลวงพ่อเชย

    หลวงพ่อเชยได้ดำเนินการสร้างพระปิดตาประเภทเนื้อคลุกรักขึ้นมาพิมพ์หนึ่ง ซึ่งเรานิยมเรียกขานกันว่า พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ เป็นพระปิดตาเนื่อคลุกรักที่ได้รับความนิยมโดดเด่นอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์เป็นพระปิดตาพิมพ์ครึ่งซีก ด้านหลังส่วนมากจะโค้งมนอย่างที่เรียกว่า หลังประทุน



    พิมพ์ทรงของพระปิดตาของหลวงพ่อเชย งดงามให้ความรู้สึกอุดมสมบูรณ์สมดังลักษณะของพระมหากัจจายนะทุกประการ กอปรด้วยพระอุทร (ท้อง) ที่อ้วนท้วน บ่งบอกความมั่งคั่ง พระกร (แขน) ที่ยกขึ้นปิดพระเนตร (นัยน์ตา) และพระกรที่โอบพระอุทรทำเป็นเส้นขนาดใหญ่มั่นคงและลากขึ้นปิดพระกรรณ (หู) ทั้งสองข้าง รับกับพระเพลา (ตัก,ขา) ที่แสดงอาการประทับนั่งแบบ ขัดเพชร ซึ่งกว้างเป็นพิเศษ แสดงถึงฐานที่รองรับพระวรกายไว้อย่างมีเสถียรภาพ พิจารณาโดยรวมแล้ว พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ มีศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้รับอิทธิพลหรือแบบอย่างจากพระปิดตาของอาจารย์หรือสำนักอื่น สักเท่าใดนัก

    จากคำบอกเล่า มวลสารที่ใช้ในการสร้างพระปิดตาหลวงพ่อเชยนั้น ได้แก่ผงวิเศษที่ได้มาจากการเขียนและลบพระคาถา อันได้แก่ผงอิทธิเจ ซึ่งมีอานุภาพทางเสน่ห์นิยมอย่างประเสริฐ นอกจากนี้ยังมีว่าน ๑๐๘ อันประกอบด้วย ยอดมหาเสน่ห์ที่เรียกกันว่า ว่านดอกทอง ว่านเสน่ห์จันทร์ขาวจันทร์แดง ฯลฯ และเกสรต่างๆ รวมทั้งต้นดีเหนียว ต้นระงับพิษ และต้นหงอนไก่ กับวัสดุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆ อีกมาก เหล่านี้คือเนื้อหลักในการสร้างพระปิดตาหลวงพ่อเชย

    ก่อนการสร้างต้องนำวัสดุต่างๆ ที่ได้เตรียมไว้ ไปตากแดดให้แห้งสนิท แล้วเอามารวมกันสุมไฟ จนไหม้เกรียมได้ที่แล้วให้เอากะละมังหรือวัสถุอื่นลักษณะคล้ายกันมาครอบไว้ กรรมวิธีดังกล่าวนี้เรียกว่า สะตุ จากนั้นจึงนำมาบดหรือตำ ร่อนด้วยตะแกรงอย่างละเอียดที่สุด เพื่อที่เมื่อถึงเวลานวดผสมกับน้ำรัก จะได้ผสมผสานเป็นเนื้อหนึ่งเนื้อเดียวกัน การบดผงกับน้ำรัก ที่เรียกกันว่าเนื้อคลุกรักนั้น ต้องใช้เวลาในการบดผสมระหว่างเนื้อหลักกับน้ำรักเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องทำการบดผสมบนหินบดยา อันเป็นหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหน้าเรียบ บดผสมครั้งหนึ่งๆ นำมากดเป็นพระปิดตาได้ไม่ถึง ๒๐ องค์

    หลังจากกดเป็นองค์พระเรียบร้อยแล้ว ก็ใช้ไม้เสียบก้นถอดออกจากพิมพ์นำไปปักไว้กับลำต้นกล้วย ปล่อยผึ่งทิ้งไว้ในที่ร่มและใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำพอหมาดคลุมไว้อีกชั้นหนึ่ง เป็นการบ่มรักให้แห้งสนิท ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน ในระหว่างการรอให้แห้งสนิทนั้น หลวงพ่อจะปลุกเสกบริกรรมของท่านไปจนตลอดไตรมาส ซึ่งจะเห็นได้ว่ากว่าจะสร้างพระปิดตาเนื้อคลุกรักได้สำเร็จนั้นต้องอาศัยความตั้งใจและความมานะพยายามอย่างยิ่ง พระที่ได้จึงมีจำนวนน้อยมากและหาได้ยาก

    สีสันวรรณะของพระปิดตาหลวงพ่อเชยซึ่งมีส่วนผสมของว่าน ๑๐๘ และต้นไม้มงคลเสียเป็นส่วนใหญ่ เนื้อแท้ของท่านจึงไม่ค่อยจะออกไปทางสีน้ำตาลเหมือนพระเนื้อคลุกรักของอาจารย์อื่นๆ แต่สีจะไปทางเขียวเข้มจนถึงดำ และมีความแกร่งมาก

    พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ สามารถแบ่งพิมพ์ตามลักษณะของการหักของ พระกร (แขน) ได้เป็น ๒ พิมพ์ คือ



    พิมพ์แขนหักศอก (นิยม) กับ



    พิมพ์แขนกลม

    พระปิดตาหลวงพ่อเชยนั้นกล่าวกันว่ามีพุทธานุภาพเด่นในทางเมตตามหานิยม โดยท่านพูดกับศิษย์ว่า “ทางคงกระพันไม่จำเป็นแล้วอย่าใช้ สู้เมตตามหานิยมไม่ได้ มีคนเมตตาแล้วใครทำอะไรไม่ได้”

    ขออณุญาติแชร์ประวัติท่านนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...