ทานอาหารปรับสมดุลร้อนเย็น

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย jaipet674, 21 ธันวาคม 2016.

  1. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    ความสำคัญของสมดุล ร้อนเย็น

    สำหรับแพทย์แผนจีน และไทย สมดุลร้อนเย็น หรือ สมดุล หยิน หยางเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การที่สภาวะร้อนเย็นในร่างกายไม่สมดุลนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆและความเสื่อมของร่างกาย ร่างกายของคนเรานั้นถูกออกแบบมาให้ทำงานในสภาวะที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป ถ้าความร้อนเย็นในร่างกายไม่สมดุล(ร้อนหรือเย็นเกิน) อวัยวะต่างๆก็จะถูกความร้อนหรือความเย็นส่วนเกินทำอันตรายทำให้อวัยวะในร่างกายเสื่อม ไม่สามารถทำงานได้ดีเสียสมดุล และเป็นโรคต่างๆตามมา แต่ถ้าสามารถรักษาสมดุลได้ ร่างกายก็จะสามารถทำงานได้เต็มที่และเกิดความเสื่อมช้าลงลง

    Note เนื่องจากศาสตร์เกี่ยวกับการปรับสมดุลร่างกายของแพทย์แผน ไทย-จีน เป็นสิ่งที่ซับซ้อนมาก ตัวผู้เขียนเองมีเพียงแค่ความรู้เบื้องต้นเท่านั้น การจะปรับสมดุลร่างกายด้วยอาหาร หรือ ยาสมุนไพร มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งแพทย์ที่มีความชำนาญจริงๆ ใช้ตำรับยาสมุนไพรที่เหมอะกับร่างกายของคนไข้แต่ละคนรักษา แต่อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถที่จะพึ่งแพทย์อย่างเดียวได้ต้องพึ่งตัวเองด้วย เพราะท่านไม่ได้อยู่กับเราทุกวัน ไม่ได้ดูอาหารที่เรารับประทานทุกวัน ความรู้เบื้องต้นที่เขียนในเว็บนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนควรรู้เพื่อเอาใว้บรรเทาอาการของโรคต่างๆครับ
     
  2. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    ผมเคยเป็นคนที่ไม่เชื่อในศาสตร์สมดุลร้อนเย็น ในสมัยก่อนที่ผมศึกษาธรรมชาติบำบัดใหม่ๆ ผมเริ่มศึกษโภชนาการบำบัดจากฝรั่ง ณ เวลานั้นผมอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น อากาศหนาว ผมทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ผักผลไม้ส่วนมากทานดิบไม่ผ่านความร้อนเพราะกลัวสูญเสียวิตามินและเอนไซม์ เช่น ผักผลไม้ปั่น ทานธัญพืชหุงสุก เนื้อสัตว์น้อย ทานน้ำมันไม่ผ่านความร้อน

    โชคร้ายที่ตอนนั้นผมไม่มีความรู้เรื่องสมดุลร้อนเย็น ผักผลไม้รวมถึงธัญพืชและน้ำมัน ที่ผมรับประทาน ณ เวลานั้น 90% เป็นอาหารฤทธิ์เย็น จากร่างกายที่ไม่ค่อยแข็งแรงก็ทรุดหนักลง เริ่มทนหนาวไม่ได้ มือเท้าเย็น ปัสสาวะบ่อยสีจาง ตื้อๆมืนๆ เพลียๆ นอนไม่ค่อยหลับเป็นระยะเวลาหลายเดือน ก็งงตัวเองว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นทั้งๆที่ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ทานน้ำอย่างถูกวิธี

    ผมกลับมาหาแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อตรวจเช็คสุขภาพ ปรากฏว่า ฮอร์โมนผิดปรกติไปถึง 5 ชนิด แพทย์แผนปัจจุบันก็รักษาไม่หาย สุดท้ายพอผมเริ่มเปิดใจเรียนรู้หลักสมดุลร้อนเย็น ผมก็เริ่มปรับสมดุลในร่างกาย อาการต่างๆก็ค่อยๆดีขึ้น ใครจะเชื่อถ้าไม่ได้เจอด้วยตัวเองว่าสมดุลร้อนเย็นจะมีผลต่อร่างกายมากขนาดนี้ ดังนั้นผมอยากให้ท่านเปิดใจเชื่อแล้วลองปรับสมดุลร่างกายของท่านดู

    ในประเทศไทยมีแพทย์ธรรมชาติบำบัดหลายท่าน(เช่น คุณหมอ ใจเพชร กล้าจน(หมอเขียว), หมอแดง และอีกหลายๆท่าน)ที่ใช้ การปรับสมดุลร้อนเย็นเป็นหนึ่งในวิธีในการรักษาผู้ป่วย แล้วพบว่าผู้ป่วยนั้นหายหรือทุเราจากโรคร้ายต่างๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดัน โรคปวดตามส่วนต่างๆ ๆลๆ

    สำหรับการปรับสมดุลร้อนเย็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้คือ

    1. อาการและสาเหตุที่ของสภาวะร้อนเย็นไม่สมดุล

    2.วิธีปรับสมดุลร้อนเย็น
     
  3. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    สภาวะร้อนเย็นไม่สมดุล

    สภาวะร้อนเย็นไม่สมดุลสามารถแบ่ง ออกเป็น 3 อาการคือ

    1.สภาวะร้อนเกิน 2.สภาวะเย็นเกิน 3.สภาวะร้อนเกินละเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน [1]

    สภาวะร้อนเกิน

    คนส่วนมากในประเทศไทยจะเป็นสภาวะนี้

    สาเหตุหลัก

    1. อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน เช่น อยู่ในที่ๆอุณหภูมิสูง ตากแดดมากเกิน แม่ครัวที่ต้องทำอาหารแล้วต้องอยู่ใกล้เตาไฟนานๆ เป็นต้น
    2. กินอาหารที่มีฤทธิ์อุ่น หรือ ร้อนมากเกินไป เช่น ขนุน ทุเรียน ลำไย ผักคะน้า พริก ขิง ข่า ข้าวเหนียว อาหาร ปิ้ง ย่าง ทอด ๆลๆ
    3. กินอาหารที่ผ่านการทำอาหารที่ทำให้ฤทธิ์ร้อนในอาหารเพิ่มขึ้นมากเกินไป เช่น ปิ้ง ย่าง ผัดด้วยไฟแรง อบ ต้มนานๆ ๆลๆ
    4. ทานอาหารที่มีพลังงานมากเกิน (แคลอรี่เยาะเกิน)
    5. ทานน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือ ผิดวิธี
    6. อารมณ์ เครียด โกรธ และ หงุดหงิด
    7. อื่นๆ เช่น ทำงานหนักเกิน ออกกำลังกายมากเกิน มีเพศสัมพันธ์มากเกิน และเป็นโรคต่างๆ เช่น เป็นไข้สูง นอนไม่หลับ เป็นต้น

    ตัวอย่างอาการภาวะร้อนเกินทั่วไป[1,2]

    - รู้สึกร้อน ขี้ร้อน ทนอากาศร้อนมากไม่ค่อยได้
    - ปัสสาวะน้อยสีเข้ม
    - ลมหายใจร้อน
    - ปากแห้ง มีแผลในช่องปาก (แผลร้อนใน) คอแห้ง ริมฝีปากแตก เจ็บคอ เสียงแหบ
    - ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ปวดตึงตามเนื้อตัว
    - มือเท้าร้อน
    - ตาแดง ตาแห้ง น้ำตาแห้ง ท่อน้ำตาอุดตัน แสบตา ปวดตา ตามัว ขี้ตาข้นเหนียว ไม่ค่อยมีขี้ตา เป็นต้อชนิดต่างๆ
    - หายใจร้อน ไอ เสมหะเหนียวข้น เสมหะขุ่นสีเหลืองหรือเขียว
    - มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่างๆของร่างกาย เส้นเลือดแตกใต้ผิวหนัง พบรอยจ้ำเขียว
    - ลิ้นแดง
    - ท้องผูก อุจจาระแข็ง
    - ออกร้อนท้อง แสบท้อง ปวดท้อง
    - ตกกระสีน้ำตาล หรือสีดำตามร่างกาย
    - ทานอาหารฤทธิ์ร้อน แล้ว อาการจะแย่ลง


    Note ในบางครั้งคนที่เป็นสภาวะร้อนเกินอาจจะแสดงอาการของภาวะเย็นเกินได้ เช่น ท้องอืด เนื่องจากความร้อนในร่างกายสะสมมากจนมันตีกลับมาเป็นเย็น (ร้อนตีกลับมาเป็นเย็น[1]) แต่วิธีปรับสมดุลก็ทำเหมือนสภาวะร้อนเกิน
     
  4. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    สภาวะเย็นเกิน

    สาเหตุหลัก

    1. อยู่ในสภาพอากาศที่เย็น เช่น อยู่ในที่ๆอากาศหนาว อยู่ในห้องแอร์ๆ เป็นต้น
    2. ทานอาหารฤทธิ์เย็นมากเกินไป โดยเฉพาะผักและผลไม้ฤทธิ์เย็นสด
    3. ทานน้ำมากเกิน
    4. ทานอาหารแช่เย็นมากเกิน เช่น น้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำผลไม้แช่เย็น น้ำเต้าหู้แช่เย็น ๆลๆ
    5. ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
    ตัวอย่างอาการภาวะเย็นเกินเกินทั่วไป[1,2]

    - รู้สึกหนาว ขี้หนาว ทนหนาวมากไม่ได้
    - ปัสสาวะสีใส ปริมาณมาก
    - อุจาระเหลวสีอ่อน มักท้องเสีย
    - หน้าซีดผิดปกติจากเดิม
    - ตาแฉะ ขี้ตามา ตามัว
    - เสมหะมาก ไม่เหนียว สีใส
    - หนักหัว หัวตื้อ
    - ริมฝีปากซีด
    - ขอบตา หนังตาบวมตึง
    - เฉื่อยชา เคลื่อนไหวช้า
    - ท้องอืด จุก เสียด
    - มือเท้ามึนชา เย็น สีซีดกว่าปกติ หนาวสั่นตามร่างกาย
    - เท้าบวมเย็น
    - ทานอาหารฤทธิ์เย็น แล้ว อาการจะแย่ลง
    Note ในบางครั้งคนที่เป็นสภาวะเย็นเกินอาจจะแสดงอาการของภาวะร้อนเกินได้ เนื้องจากความเย็นในร่างกายสะสมมากจนมันตีกลับมาเป็นร้อน (เย็นตีกลับมาเป็นร้อน[1]) แต่วิธีปรับสมดุลก็ทำเหมือนสภาวะเย็นเกิน


    สภาวะร้อนเกิน และ เย็นเกิน เกิดขึ้นพร้อมกัน



    ตัวอย่างอาการภาวะเย็นเกินและร้อนเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน[1]

    - มีไข้สูงแต่หนาวสั่นหรือมือเท้าเย็น
    - ตัวร้อนร่วมกับท้องอืด
    - ปวด บวม แดง ร้อน ร่วมกับมึนชาตามเนื้อแขนขา
     
  5. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    วิธีการปรับสมดุลร้อนเย็น

    1. ทานอาหารปรับสมดุล
    2. ดื่มน้ำถูกวิธี
    3. สวนล้างลำไส้
    4. ฝึกสมาธิ เพื่อลดระดับอารมณ์
    5. ทาหรือพอกตัวด้วยสมุนไพร
    6. ออกกำลังกายอย่างพอดี


    ผลของอาหารกับสภาวะร้อนเย็นในร่างกาย

    อาหารสามารถแบ่งออกตามฤทธิ์ร้อนเย็นได้ 5 ประเภทคือ

    หยิน คือ เย็น กับ ค่อนเย็น รสชาติ หวาน ฉุน

    หยาง คือ อุ่น กับ ร้อน รสชาติ เค็ม เปรี้ยว

    กลาง


    - อาหารฤทธิ์ อุ่นและร้อน เช่น กระเทียม พริก ขนุนสุก คะน้า กระชาย ข้าวเหนียว ๆลๆ มีผลทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น

    - อาหารฤทธิ์ค่อนเย็นและเย็น เช่น แตงโม สาลี่ ผักบุ้ง ผักกาดหอม ตำลึง ๆลๆ มีผลทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง

    - อาหารฤทธิ์กลาง เช่น ผักตำลึงลวก ผักกาดนึ่ง มะระสุก(เนื้อสีเหลือง)ต้ม ทานแล้วปลอดภัยกับทุกสภาวะ และจะช่วยลดสภาวะร้อนเกินในร่างกายลงอย่างช้าๆ

    รสชาติของอาหาร กับ ฤทธิ์ร้อนเย็น

    -โดยส่วนมากอาหารรสหวานจะมีฤทธิ์อุ่น แต่ก็มีบางชนิดมีฤทธิ์เย็น เช่น หล่อฮังก้วย

    - โดยส่วนมากอาหารรสเปรี้ยวจะมีฤทธิ์เย็น แต่ก็มีบางชนิดมีฤทธิ์อุ่น เช่น น้ำส้มสายชู น้ำหมักเอนไซม์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

    - พืชรสชาติขม บางชนิดมีฤทธิ์ร้อนดับร้อน เช่น ใบบัวบก "เมื่อเข้าไปในร่างกายจะไปกระตุ้นให้ร่างกายขับความร้อนออก ถ้าขับออกได้จะเย็นลง แต่ถ้าขับออกไม่ได้ความร้อนจะทวีคูณ" [1]
     
  6. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
  7. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    [​IMG]

    น้ำถั่ว 5 สีปั่น บำรุงธาตุ บำรุงสุขภาพ

    ถั่ว 5 สีปั่น สุดยอดการบำรุงธาตุทั้ง 5 ในร่างกาย

    อ้างอิง [​IMG]

    ถั่วแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการปรับธาตุในร่างกาย พร้อมบำรุงอวัยวะภายในต่างๆ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นต่างกัน

    1. ถั่วดำ (ธาตุน้ำ) บำรุงไต
    2. ถั่วเขียว (ธาตุไม้) บำรุงตับ
    3. ถั่วแดง (ธาตุไฟ) บำรุงหัวใจ
    4. ถั่วขาว (ธาตุโลหะ) บำรุงปอด
    5. ถั่วเหลือง (ธาตุดิน) บำรุงม้าม

    ถั่วดำ มีสารที่ช่วยบรรเทาอาการปวดลำไส้เล็ก บำรุงโลหิต ขับปัสสาวะ ขจัดพิษ บำรุงไต บำรุงสายตา และเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการบวมน้ำ เหน็บชา ดีซ่าน ไตเสื่อม

    ถั่วเขียว แก้ร้อนใน ถอนพิษจากพืชและสารหนู บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต รักษาอาการกระหายน้ำ ลำไส้อักเสบ เบาหวาน ช่วยกระตุ้นประสาท

    ถั่วแดง ช่วยขับปัสสาวะ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้ลมพิษ ดีซ่าน บรรเทาอาการปวดข้อและบวม กำจัดหนอง แก้อาหารเป็นพิษ รักษาอาการลำไส้อักเสบ หรือถ่ายเป็นเลือด

    ถั่วขาว ช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้ง ให้ดูดซึมแป้งและน้ำตาลน้อยลง จึงมีส่วนทำให้น้ำหนักลดลงได้ (อันนี้สาวๆ คงถูกใจกันมากแน่ๆ เลยใช่ไหมคะ ^__^)

    ถั่วเหลือง ป้องกันการขาดแคลเซียมในกระดูกและบำรุงระบบประสาทในสมอง

    เห็นไหมคะว่าแต่ละถั่วสุดยอดมาก อย่ากระนั้นเลยด้วยความโลภอยากทานทุกถั่วเพื่อบำรุงให้ครบสรรพคุณในคราวเดียว อยากอร่อยด้วย เลยเกิดการทำถั่ว 5 สีปั่นแก้วนี้นั่นเอง ง่ายมากค่ะ มาดูวิธีทำกันเลย

    ถั่วแต่ละชนิดจะสุกไม่พร้อมกัน ดังนั้นระยะเวลาแช่น้ำก็จะไม่พร้อมกันนะคะ แต่ admin เพจนี้ขี้เกียจค่ะ เลยหาวิธีทำง่ายๆ รวบรัดสำหรับแม่บ้านยุคใหม่ค่ะ ล้างถั่วให้สะอาด แช่ถั่วไว้ 1 คืน ขอแนะนำให้แยกแช่นะคะ เพราะอะไรเดี๋ยวมาดูกันค่ะ เมื่อได้ถั่วแช่น้ำเรียบร้อยแล้ว นำถั่วไปต้ม โดยเริ่มจากถั่วดำก่อนเพราะสุกยากสุด (ปกติประมาณ 2 ชม.) ต้มไปสัก 30 นาทีก็ใส่ถั่วแดงตาม สุกยากอันดับ 2 ต้มต่อไปเรื่อย รวมกันสัก 1 ชม. ก็ใส่ถั่วขาวตาม ต้มต่ออีกสัก 30 นาทีก็ใส่ถั่วเหลือง และถั่วเขียวตามลำดับ รวมๆ ก็คือต้มประมาณ 2 ชม. เมื่อถั่วนิ่มครบแล้วก็ยกลง เทน้ำทิ้งได้ เราก็จะได้ถั่ว 5 สีสำหรับนำมาปั่นแล้ว

    เพิ่มความอร่อยด้วยน้ำเชื่อมตามชอบ ปั่นใส่น้ำแข็ง ดื่มแล้วฟินสุดๆ ขอบอก

    หมายเหตุ อันนี้เป็นการทำแบบขี้เกียจนะคะ เพราะเราต้องเอาถั่วมาปั่นรวมกันอยู่แล้ว ก็เลยต้มรวมกันได้ ถ้าใครจะเอาถั่วไปประกอบอาหารอย่างอื่นก็ต้มแยกแต่ละอย่างค่ะ ทีนี้เราคงไม่มาเสียเวลาต้มทุกวันหรอก (ความขี้เกียจของแอดมินเอง เอ๊ยไม่ใช่ ความไม่มีเวลาของคนรุ่นใหม่ต่างหาก อิอิ) ต้มทีเดียวเลยค่ะ แล้วแบ่งเก็บไว้เป็นถุงๆ แช่ฟรีสไว้ ทุกเช้าก็เอามาวันละถุงมาปั่นค่ะ แต่อย่าเยอะเกินไปนะคะ ไม่ควรเกินสัปดาห์นึง เพื่อความสดใหม่ของอาหารค่ะ และเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรากับถั่วถ้าเราทำเก็บไว้นานกินไป จริงๆ ทางที่ดีที่สุด ก็ทำสดใหม่ทุกครั้งนั่นแหล่ะค่ะ

    อ้อ!! แถมเคล็ดลับในการจะต้มถั่วแยกชนิดนะคะ
    สำหรับถั่วดำ ให้ต้มน้ำให้เดือด แล้วเอามาแช่ถั่วสัก 30 นาทีก่อนแล้วเทน้ำทิ้ง หลังจากนั้นแช่ถั่วในน้ำธรรมดาค้างคืนไว้จะทำให้ถั่วสุกเร็วขึ้น

    สำหรับถั่วแดง ขณะต้มให้ใส่ช้อนสแตนเลสลงไปด้วย จะช่วยให้สุกเร็วขึ้นค่ะ
     
  8. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    ถั่วเขียวต้มน้ำตาล

    ถั่วเขียวต้มน้ำตาลดูจะเป็นของหวานที่ใครๆ ก็สามารถทำกินเองได้ แต่ทำแล้วจะอร่อยรึป่าว อันนั้นถือเป็นอีกเรื่องนึงครับ

    ที่ท่านว่ากันว่ามันทำง่ายที่สุด ส่วนประกอบน้อยที่สุด และตรงไปตรงมาที่สุด ง่ายขนาดลุกขึ้นมาทำตอนตีสองได้น่ะ คิดดู

    วันนี้ผมมีเคล็ดลับทำให้ต้มถั่วเขียวมีน้ำใส หอม น่ากินยิ่งขึ้นครับ
    บาง ท่านบอกว่าให้ต้มไปสักพัก แล้วเทน้ำทิ้ง เทน้ำสะอาดลงไป ก็จะได้ถั่วเขียวต้มน้ำตาลน้ำใสน่าทาน แต่คุณค่าทางอาหารก็เสียไปกับน้ำที่เททิ้งครับ

    ผมมีวิธีทีดีกว่านั้น ครับ ก่อนที่คุณจะนำถั่วเขียวไปต้มควรนำถั่วไปคั่วก่อน เพราะการคั่วจะทำให้ถั่ว หอม เวลาต้มก็ไม่เหม็นเขียว เมื่อนำมาต้มก็ต้มน้ำน้อยๆ ก่อนให้พอแตกแล้วค่อยผสมน้ำตาลลงไป คนให้เข้ากันแล้วจึงเติมน้ำลงไปอีก ปรุงรสตามใจชอบ วิธีนี้จะทำให้ต้มถั่วเขียวของเรามีน้ำใสกิ๊งเลยทีเดียวครับ

    ทีนี้ มาดูกันว่า มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง


    Ingredients


    1. ถั่วเขียว (คัดเอาถั่วเสีย เศษผง และ ถั่วหินออกแล้ว) 1/2 ถ้วย
    2. น้ำตาลทรายแดง 1/4 ถ้วย
    3. น้ำตาล ทราย 1/2 ถ้วย (ไว้แต่งรสตามชอบ)
    4. เกลือ 1/8 ช้อนชา
    5. น้ำ 6 ถ้วย


    Direction:


    1. แยกถั่วที่ดี และถั่วที่เสีย ได้โดยการนำน้ำใส่อ่างผสม และเทถั่วลงไป คัดถั่วที่ลอย และเม็ดสีดำออก

    2. ล้างถั่วให้สะอาด

    3.นำถั่วที่ได้คั่วด้วยไฟอ่อน จนให้มีกลิ่นหอม
    เอาถั่วที่คั่วแล้ว ไปแช่น้ำเปล่าประมาณ 3 ชั่วโมง (ผมล่อไปทั้งคืน)
    ช่วงนี้แหล่ะที่ถั่วจะขยายตัว ก็คอยมาเติมน้ำสักครั้งเมื่อเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมงครึ่ง ก็จะกำลังดี

    เหตุที่ีต้องแช่น้ำทิ้งไว้ 3 ชั่วโมงก็เพราะจะได้ไม่ต้องต้มนาน
    ถ้าใจร้อน หรือเวลาจำกัด ท่านว่าให้แช่ถั่วในน้ำร้อน (ผมก็ไม่เคยลองเหมือนกัน)

    4. นำถั่วเขียวลงไปต้ม (ปริมาณน้ำกะเอา) เมื่อน้ำเดือด ปรับไฟเป็นไฟอ่อน อย่าเพิ่งใส่น้ำตาลเด็ดขาด ต้มไปจนกว่า ถั่วจะสุกนุ่ม บานเล็กน้อย

    5. ต้มๆ คนๆ ไปเรื่อยๆ จนถั่วเขียวเริ่มบานออก แล้วจึงใส่น้ำตาลทรายแดง เหยาะเกลือนิดหน่อย (ย้ำ! ว่านิดเดียว) ชิมรสหวาน จืดตามใจชอบ แล้วตักกินได้เลย (ระวังร้อน)

    เกร็ด ที่ต้องใส่น้ำตาลทีหลังเพราะถ้าเราใส่น้ำตาลลงไปก่อน จะทำให้จุดเดือดของน้ำสูงขึ้น ทำให้ถั่วสุกยากขึ้นนั้นแล

    คำเตือน เนื่องจากหลังจากปรุงเสร็จ ถั่วเขียวจะขยายตัวเป็นปริมาณประมาณ 1.5 เท่าของปริมาณเดิม ดังนั้นเวลากะก็กะให้พอว่ามันขยาย 1.5 เท่าแล้วไม่เหลือ ไม่ล้นเกิน

    หลายคนคงนึกด่าผมในใจ “ไอ้เฮ้ แล้วจะรู้ได้ไงฟร่ะ ว่ามันสุกแล้ว” ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เดาๆ เอาว่ามันหอมๆ แล้วเปลี่ยนสีก็ยกขึ้น
     
  9. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    Tips & Hints

    ถั่ว เขียวต้มน้ำตาลเป็นอาหารปราบเซียน ชื่อเหมือนทำง่าย แต่ต้องให้เทคนิค และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเยอะถ้าจะทำให้ดีได้ หรือ เรียกได้ว่าเป็นเมนูลูกแหง่ เลยก็ว่าได้ เพราะต้องหมั่นดูเสมอ

    1. เวลาคั่วต้องคั่วด้วยไฟอ่อน ห้าม ให้ สุกมากไปหรือ มีสีดำเด็ดขาด เพราะจะทำให้เวลาต้ม ถั่วจะไม่มีวันนิ่ม หรือถ้าต้มนานๆ การสุกก็จะไม่สม่ำเสมอ

    2. การดูว่า เวลาต้มถั่วสุกไหม ต้องหมั่นดู ทุก 5 นาทีเพราะระยะจากสุก กลายเป็นบานเละ ห่างกันไม่มาก ต้องหมั่นดูเสมอ

    3.คนมากคนแรงไม่ได้เพราะจะทำให้น้ำขุ่นไม่น่าทาน

    4.ใจร้อนใส่น้ำตาลเร็ว ก่อน ถั่วนุ่มสุกไม่ได้ เพราะน้ำตาลเมื่อละลายในน้ำ ทำให้น้ำมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถั่วเขียวจึงสุกยาก (มาก)

    5. น้ำตาลมีผลทำให้น้ำใสขึ้นได้

    6. ถ้าใส่น้ำตาลทรายแดง(น้ำตาลที่ไม่ฟอกสี)จะอร่อยยิ่งขึ้น น้ำตาลทรายแดงจะหอมหวาน และเข้ากันกับถั่วเขียวมากกว่าน้ำตาลทรายขาวครับ

    7. ใช้ไฟ แรงๆ น้ำไม่ต้องมากพอถั่วเขียวแตกใส่น้ำตาล ต้มให้น้ำตาลเข้าเนื้อถั่วดีแล้ว ค่อยเติมน้ำลงไป ตามที่ต้องการ ใช้ไฟอ่อนจนเดือน เราก็จะได้ถั่วเขียวต้มน้ำใส

    เห็นเคล็ดลับแล้ว ต้องบอกเลยว่า เมนูปราบเซียนจริงๆครับ ถ้าจะทำให้ดีได้
    จะเห็นได้เลยว่าเมนูนี้ สูตรอาหารไม่เกี่ยว เทคนิควิธีการ และฝีมือล้วนๆ

    ———————————–
     
  10. jaipet674

    jaipet674 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2016
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    สรรพคุณ

    ถั่วเขียวมีฤทธิ์เย็น รสหวาน ทำให้มีคุณสมบัติเด่นในการขับร้อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะและของเหลวอื่น ๆ รักษาอาการบิด แก้หวัด คออักเสบ ถอนพิษที่เกิดจากสารหนู

    ช่วยลดความดันโลหิต แก้เบาหวาน บำรุงสายตา เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของไตและม้าม

    แก้อาการตกขาว และอาการน้ำอสุจิเคลื่อนบ่อย (อันนี้ ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันนะ ว่าเคลื่อนยังไง)

    เปลือกหุ้มเมล็ดถั่วเขียวเป็นแหล่งเส้นใยที่ดี จึงช่วยป้องกันท้องผูกริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาโรคตาแดง ตาอักเสบ ช่วยให้เจริญอาหาร

    ถั่วเขียวมีปริมาณไขมันต่ำกว่าถั่วลิสงและถั่วเหลือง จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

    วิธีใช้

    ต้มถั่วเขียวกับน้ำตาล หรืออาจไม่เติมน้ำตาลก็ได้ กินเป็นยาและอาหาร ช่วยแก้ร้อนในและเพิ่มพลัง

    ต้มถั่วเขียวกับแกนกะหล่ำปลี กรองเอาเฉพาะส่วนน้ำมาดื่ม รักษาอาการคางทูม

    ต้มถั่วเขียวกับลูกเดือยและสะระแหน่ เติมน้ำตาลเล็กน้อย กินรักษาอาการร้อนใน ตาแดง ริดสีดวงทวาร และโรคผิวหนัง

    ต้มถั่วเขียวกับแตงกวา ฟักทอง และเปลือกแตงโม กินแก้ร้อนใน ถอนพิษ และบำบัดโรคผิวหนัง

    ต้มถั่วเขียวกับถั่วแดง และลูกเดือย กินบำบัดอาการของโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร บวมน้ำ หรือต้องการถอนพิษ

    ต้มถั่วเขียวกับสาหร่ายทะเล และน้ำตาลกรวด กินเพื่อลดระดับไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดความดันโลหิต

    ต้มถั่วเขียวโดยไม่ใส่น้ำตาล กินทุกวันจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน

    ข้อควรระวัง

    ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับม้าม หรือท้องเสียบ่อย ๆ ไม่ควรกิน
     

แชร์หน้านี้

Loading...