ข้อแตกต่าง ในพรหมวิหาร4 ระหว่างปุถุชนกับพระโสดาบัน นั้นคือ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ผู้ธรรมดา, 4 มิถุนายน 2015.

  1. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,014
    คนธรรดา มีพรหมวิหาร อยู่ 100 เต็ม
    แต่พอถูก โลกกระทำ หรือ โลกธรรมแปด มากระทบ
    มีแต่ชักดิ้น ชักงอ ไปตามสิ่งที่เข้ามากระทำ
    แล้วก็ปรุงแต่ง เพิ่มเติม ตามความอยากเข้าไปอีก
    ไม่มีโอกาศระลึกถึง พรหมวิหาร ได้เลย
    หรือ ถ้ามี ก็มีน้อย ชนิดที่ว่า ถูกกระทบ สิบครั้ง
    จะรู้สึกตัว ซักครั้งหนึ่ง ก็เป็นบุญแล้ว

    ส่วนโสดาบัน มีพรหมวิหาร อยู่ 100 เหมือนกัน
    แต่เวลาที่โดน โลกกระทำ จะระลึกถึง พรหมวิหารได้ 25 ครั้ง
    ส่วนอีก 75 ครั้ง ก็ยังชักดิ้นชักงอ ไปตามมัน
    ปรุงแต่งไปตามมันอีก
    ประมาณว่า ถูกกระทบสิบครั้ง ทนได้ 2-3 ครั้ง

    สกิทาคา ถูกกระทบ สิบครั้ง ทนได้ 5 -6 ครั้ง

    อนาคา ถูกกระทบ สิบครั้ง ทนได้ 7 - 8 ครั้ง

    อรหันต์ ถูกกระทบสิบครั้ง ก็จะยกพรหมวิหาร มาสู้ได้ทั้งสิบครั้ง
     
  2. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    ไม่ผมดูแล้วคุณไม่มีเจโต
    1.เตโชกสินคุณไม่มี คนที่มีของเก่าทางเตโชกสินมาตั้งแต่กำเนิดจักกระที่6เขาจาเปิดของเขาเลย ถึงแม้ว่าเขาจากินเหล้า1เดือนเต็ม พอเขามานั่งดูไฟแค่ชั่วโมงเดียวเท่านั้นแหล่ะ เขาก็ใช้เจโตได้แล้ว
    2.คุณ nopphakan เธอมีบารมีทางเตโชกสินมาตั้งแต่กำเนิด ระดับ60%คนพวกเนี้ยทำสมาธิระดับระนิวรณ์หรือได้ฌาน1หน่อยเดียวเท่านั้น ฌาน1สำหรับคนพวกเนี้ยง่ายเหมือนกระพริบตา แต่สำหรับคุณกับผมนั้นยากมาก เธอก็มีเจโตแล้ว แต่สำหรับคุณนั้นต้องได้ระดับ ฌาน4ถึงจามีเจโตเกิดถึงจาได้แสง
    3.จักระที่1คุณเยอะมาก จักกระที่1สัมพันธ์กับ 7 ถ้า1มาก 7ก็ปิด จักระ7คุณปิดเพราะกามมาก
    จัก 2เปิด30 จัก3เปิด10 จัก4เปิด60จัก 5เปิดน้อยจัก6เปิด10
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493

    เห็นที่เอกวีร์พูดแล้ว

    นึกถึงคำพูดของหลวงพ่อคูณที่ท่านว่า "สัจจะ สัจจัง อธิษฐามิ" คืิอท่านถือสัจจะ คำไหนคำนั้น แต่เอกวีร์นี่ยังไม่แน่ใจ คิกๆ ต้องแอบดูหน่อย (deejai)
     
  4. ผู้ธรรมดา

    ผู้ธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2015
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +369
    ตกลงคุณบอลกำลังจะบอกอะไรกับผมหรือครับ เอาตรงๆเลย อ้อมๆแล้วผมงงจัด
     
  5. ผู้ธรรมดา

    ผู้ธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2015
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +369
    อืม ผมขอถามนอกประเด็นหน่อยเถอะ สงสัยมาก คุณนพการหรือท่านอื่นพอจะอธิบายได้ไหมว่า คำภาวนาแต่ละคำมีข้อดีพิเศษในด้านอภิญญาต่างกันอย่างไร
     
  6. ผู้ธรรมดา

    ผู้ธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2015
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +369
    เช่น พุทโธ นะมะพะทะ สัมปะจิตฉามิ โสตัตตะภิญญา พุทธังเมฆนิมิตจิตตังมะอะอุ ธัมมัง~อุอะมะ สังฆัง~อะมะอุ มีความต่างในผลการใช้งานอย่างไรบ้างครับ แล้วผมควรใช้คำไหนถึงเหมาะสมกับจริตที่สุดครับ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ลองตั้งโจทก์ใหม่ (เหตุการณ์อื่นๆได้อีก คือ ให้มีฝ่ายเขากับฝ่ายเรา) ให้ใกล้ตัวนิดหนึ่ง

    พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา หากต้องการจะวัดจิตใจคนทั่วๆไป (ยังไม่ต้องถึงอริยบุคคล) จึงสมมุติเหตุการณ์ขึ้น ระหว่าง ลูกเรา กับ ลูกคนอื่น ....เกิดมีเรื่องทำร้ายกันบาดเจ็บ เรื่องถึงโรงพัก ลูกเราเป็นฝ่ายผิด ต้องถูกดำเนินคดี เราซึ่งเป็นพ่อเป็นแม่ จะ (วางใจ) ใช้พรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ข้างเขากับข้างเราอย่างไร จึงไม่เสียพรหมวิหารธรรม
     
  8. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,436
    ค่าพลัง:
    +35,021
    คำภาวนาจะเป็นผลเมื่ออยู่ในโหมดที่จิตเป็นทิพย์คือ หลังจากภาวนาไปแล้ว
    และลืมคำภาวนาและจิตเข้าสู่สภาวะความเป็นทิพย์และอยู่ในโหมดท่องเที่ยว
    หรือโหมดส่งจิตออกไปที่อื่นๆนะครับ..ไม่ใช่โหมดที่จิตใช้งานได้
    ในสภาวะลืมตาปกติทั่วๆไปนะครับ.

    พุทโธ จะเหมือนเราไปดูและมองเห็นคล้ายๆตาแมว คือเห็นได้เป็นวงกลมและเห็นเฉพาะ
    สิ่งที่จำเป็นจะต้องเห็น ไม่ว่าเราจะมองไปซ้ายหรือขวา
    ส่วนถ้าจะเห็นอย่างอื่น ณ โฟกัสนั้นต้องอฐิษฐานครับ

    นะมะพะธะ จะเหมือนเราไปยืนอยู่สถานที่นั้นๆ
    และกำลังสมาธิต้องพอมีไม่งั้นจะส่งผลต่อร่างกายได้
    บทนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเดินธาตุแบบในดง จิตจะข้าม
    ไปโหมดวิญญานธาตุได้ คือไปทางเห็นเส้นสายพลังงาน

    สัมปะจิตฉามิ จะเหมือนเราไปดูและจะมองเห็นเหมือนจอ LCD
    เวลามองซ้ายมองขวา สิ่งที่เห็นจะค่อยๆปรากฏขึ้นมาเองครับ..
    .และสามารถใช้เรียกของเก่าขึ้นมาให้ใช้งานได้ในสภาวะนั้นๆ
    แต่เป็นการเรียกใช้ของเก่าในกรรมฐานนั้นๆเป็นกองๆไป..
    .เช่น กสิณน้ำก็กสิณน้ำ กสิณไฟ
    ก็กสินไฟ ทีละอย่างและถ้าสามารถใช้กรรมฐานกองนั้น
    ในสภาวะลืมตาได้ในระดับพลังงานครับ

    โสตัสตะภิญญา จะเหมือนเราไปยืนและไปดูอยู่ในสถานที่นั้นๆ
    และเวลาเรามองซ้ายและขวา
    ภาพจะปรากฏขึ้นมาก่อนที่เราจะหันไป
    มองพร้อมรายละเอียดที่ชัดเจนเสมือนเราไปยืน
    ดูอยู่ตรงนั้นจริงๆ และเป็นคาถารวมอภิญญาในที่นี้ก็คือ
    ถ้าเราใช้กสิณ ก็จะรวมกสิณในกลุ่ม
    นั้นๆได้ เช่น รวมกสิณดิน น้ำ ลม ไฟ มาใช้งานได้
    หรือ รวมกสิณสีได้ หรือ ถ้าเน้นไปทาง
    ทิพย์จักขุก็จะเห็นได้ชัดเจนแจ่มใส
    พูดง่ายๆรวมความสามารถในแต่ละด้านให้อยู่ใน
    ระดับใช้งานที่ดีได้นั่นเอง...

    ส่วนคาถาเฆขจิตนั้น ที่ขึ้นต้น พุทธังเฆขนิมิตรฯ
    ตัวนี้จะทำให้เราหาตัวจิตและตามตัวจิต
    ไม่เจอ ย้ำว่าไม่เจอนะครับเพราะจะเหมือน
    เน้นการท่องเที่ยว และไปไกลมากครับ
    คืออาจเลยไตรภพเราได้ครับ....

    โดยพื้นฐานเราภาวนาอะไรก็ได้ครับแล้วแต่ชอบ
    เพราะคำภาวนาเป็นเครื่องเชื่อมโยงให้จิต
    สงบ..แม้แต่ในสภาวะลืมตาปกติแค่ทำความรู้สึก
    รับรู้ว่ามีลมกระทบเข้าและออกที่ปลายจมูก

    เพื่อสร้างสติทางธรรม
    ไม่จำเป็นต้องภาวนาเลยก็ได้ครับ.
    .ส่วนจะภาวนาแล้วเป็นผลได้
    เราควรสร้างสติทางธรรมให้ได้ก่อน
    ไม่งั้นเราจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เห็น
    และตามตัวจิตไม่ทันครับ
    และอาจทำให้ยึดติดกับการได้ไปเห็น
    ในโหมดพิเศษต่างๆได้อย่างไม่รู้ตัวครับ..

    ปล.ส่วนในระดับใช้งานได้แล้วในสภาวะลืมตาปกติ
    ผลก็ใกล้เคียงกัน แต่คำว่า นะโมพุทธายะ ผลจะครอลคลุม
    กว่าเป็นไปตามความสามารถของกำลังจิตและระดับสมาธิใช้งาน
    แต่บางทีไม่ต้องใช้คำภาวนาก็ได้ครับ
    เพราะมันจะเร็วกว่าที่เราจะนึกคำภาวนาได้อยู่แล้วครับ
    ประมาณนี้ครับ
     
  9. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    เขียน ๑๐.๒๕

    เพื่อเป็นการป้องกันภัย จากพวกปากหอยปากปู ปากหวานก้นเปรี้ยว
    มือถือสากปากถือศีล อิจฉาตาร้อน ปากเธอไม่ตรงกะหั้วใจ (เพลง:เรย์) บลาๆๆ

    เลยขอยกตัวอย่าง "นักรบแสงแห่งหมู่บ้านในนิทาน" มาเป็นตุ๊กตานะครับ ฮิฮิฮิ

    เค้าเคยโม้ว่ารับมือกะเวทนาทั้งหลายที่มากระทบได้หมด ทุกรูปแบบ
    แม้บางทีจะช้าบ้าง ก็แค่ไม่กี่วิ ในเวลาอารมย์บูด เหนื่อย เครียด เซ็ง...

    เค้าว่า เค้ารับมือด้วยเทคนิคหลากหลาย ตั้งแต่ช่างหัวมัน ไม่เกี่ยวกะเรา
    มันมาเดี๋ยวมันก็ไป ทำใจเป็นก้อนหิน แยกตัวรู้กับสิ่งที่ถูกรู้ออกจากกัน

    หรือเล่นของสูง อย่างชุดมัลติฟังชั่น ที่ชื่อ "ธรรมะเก้าตา จากเกาะนาฬิเกร์"
    คือ อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา
    ธรรมมะฐิตตา ธรรมะนิยามมตา อิทัปปัจยตา
    สุญญตา ตถตา อตัมมยตา

    เอ...จำได้ถูกหมดรึป่าวหว่า เรียงผิดลำดับไม๊น๊า
    ยังมีอีกมาก ที่ลากออกมา พอเป็นกษัย ๕๕๕ (คาราบาว)

    เนี่ยๆ เค้าว่าเค้าใช้ของพวกเนี้ย ตามแต่สถานการณ์ที่เกิดวงจรปฏิจจะน่ะนะ
    เหตุเพราะ "วิธีการที่ดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป" นะ เนอะ

    เทคนิคต่างๆ เหล่านี้ เค้าว่าเค้าฝึกฝนและค้นหา มาจนเชี่ยวแล้ว (โม้ก็ช่างเค้า)
    สิ่งกระทบใจต่างๆ มีโอกาสน้อยมาก ที่จะสร้างความเสียหายให้แก่ความมั่นคงแห่งจิต น่ะนะ

    ถ้าแบบเนี้ยนะ ก็หมายฟามว่า นักรบแสง เค้าเป็นอรหันต์แล้ว รึเปล่าครับ
    สงสัยจังเลยอ่ะ แต่ก็ดูเหมือนเค้าจะเป็นพวกตายด้าน อีกแบบนึงน่ะนะครับ ๕๕๕
    เห็นเฉยได้ตลอดตลอด นิ่งๆ แต่บางทีก็ปล่อยหลุด ให้มันมันส์มันส์บ้าง ล่ะมั้ง นะ

    ท่าน nilakarn มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ หรือท่านใดจะเสริมก็เชิญ ตามสะดวก


    กระต่ายป่า แห่งเกาะนาฬิเกร์ / ชาวหมู่บ้านในนิทาน

    .
     
  10. ผู้ธรรมดา

    ผู้ธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2015
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +369
    อาการอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นอุเบกขาในจิตที่แท้จริงครับ
     
  11. ผู้ธรรมดา

    ผู้ธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2015
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +369
    เช่นเกิดขันธ์4อย่างใดๆขึ้นในใจก็ใช้สติดูมันเฉยๆ จนมันดับไปเองแบบนี้หรือครับ
     
  12. ผู้ธรรมดา

    ผู้ธรรมดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2015
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +369
    หรือเวลาขันธ์4ปรุงขึ้นมา ปัญญาจะเข้ามาพิจารณาเพื่อตัดปั๊บจนทุกอย่างดับลงไป แบบนี้หรือไม่
     
  13. pukub

    pukub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2014
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +219

    ขึ้นว่า พรหมวิหาร 4 แล้ว
    ถ้าผู้ปฏิบัติเข้าถึงพรหมวิหาร 4 แล้ว ไม่ว่า จะเป็นคนธรรมดา หรือ บุคคลโสดาบัน ก็ไม่ต่างกัน

    เรื่องนี้ คล้ายกับเคยมีผู้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
    ถ้าคนที่ทำบุญมาก ๆ กับคนที่ไม่ค่อยทำ บุญน้อย(ในเรื่องให้ทาน) เมื่อบวชแล้ว จะมีความต่างกันอย่างไร?
    พระพุทธเจ้าตอบว่า ต่างในด้านปัจจัย คือคนที่ทำบุญมาก จะได้รับปัจจัยง่ายกว่า มากกว่า
    ถ้าคนที่ทำบุญมาก กับคนที่ไม่ค่อยทำบุญ เข้าถึงนิพพานแล้ว จะมีความต่างกันอย่างไร?
    พระพุทธเจ้าตอบว่า ในข้อนี้ ไม่มีความต่างกันในนิพพาน

    คนที่เข้าถึงอารมณ์ของพรหมวิหาร 4 ได้จริง แล้ว
    ก็มีความ เมตตา กรุณา มุธิตา อุเบกขา เหมือนกัน
    แผ่ไปโดยไม่มีประมาณ ไม่มีต้น ไม่มีปลาย คือไม่มีที่สิ้นสุด ก็คือเป็น อิฟินิตี้
    เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะพระหรือคน ถ้าแผ่เมตตาแบบอินฟินิตี้ ก็ได้อินฟินิตี้เหมือนกัน
    เพราะเป็นอินฟินิตี้เหมือนกัน เลยไม่ต่างกัน

    แต่....
    จะต่างกันตรงที่พระ หรือผู้ที่ปฏิบัติสูง จะทรงอารมณ์แบบนั้นได้นานกว่า
    ส่วนคนธรรมดา อาจจะทำได้แค่แปปเดียว เมื่อออกจากอารมณ์นั้น ก็ไม่ได้มีพรหมวิหาร 4 ต่อ
    เพราะว่าคนธรรมดา มีกิจมาก มีงานมาก มีเรื่องให้คิดมาก จึงยาก ที่จะทรงพรหมวิหาร 4 ได้ตลอดเวลา

    จึงขอตอบว่า ถ้าอยู่ในอารมณ์เหมือนกันไม่ต่าง
    ถ้าจะต่าง ก็ตรงความนาน ของการคงอารมณ์นั้นไว้
    พระ และบุคคลชั้นโสดาฯ ขึ้นไป ย่อมทำได้ดีกว่าแน่นอน ในการคงอารมณ์ไว้

    ดังนั้นจึงไม่แปลก ที่พระอริยะเก่ง ๆ เรามีความรู้สึกว่าอยู่ใกล้ ๆ แล้ว รู้สึกดี รู้สึกอิ่มเอิบ
    รู้สึกถึงบารมี ก็เพราะเขามีพรหมวิหาร 4 อยู่ตลอดเวลา





     
  14. pukub

    pukub เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2014
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +219
    จะมีต่างอีกอันคือ คนธรรมดาบางคนก็ทำได้ไม่ถึง 4
     
  15. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เห็นตัวเราเองอุปปาทานว่าตัวเราเองทุกข์ ก็คือเมตตาตัวเราเอง
    เห็นคนอื่นอุปปาทานว่าเค้าทุกข์ ก็คือเมตตาคนอื่นๆ
     
  16. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ดูตัวเราเองคลายอุปปาทานว่าเราทุกข์ ก็คือมีกรุณาต่อตนเอง
    ดูคนอื่นคลายอุปปาทานว่าเค้าทุกข์ ก็คือกรุณาต่อคนอื่นๆ

    ดูคนอื่นคลายอุปปาทานได้สำเร็จคือมุทิตาคนอื่นๆ

    ในที่สุด อยู่เฉยๆ ไม่ดูตัวเองหรือคนอื่น อุปปาทานในทุกข์
    ก็คือมีอุเบกขา
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    พรหมวิหาร 4 ผมว่าเป็นเรื่องของความเคยชินมากกว่า บางครั้งเราอาจจะปฏิบัติในหลักพรหมวิหาร 4 โดยไม่รู้ตัว เช่นเวลาเราให้ความช่วยเหลือคนอื่น แต่ท่านที่เจริญอยู่เป็นประจำก็คิดว่ามีนะ แต่นับว่าดีมากๆถ้าคนเราในสังคมจะมีพรหมวิหาร 4 พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องคุ้มครองโลก เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
     
  18. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,014








    หลัก อนุสสติ เป็นหลักที่นักทำสมาธิ จะต้องรู้ จะต้องเข้าใจ
    หมั่นท่องจำให้ไว้มั่น เพราะเป็น หลักที่ ปฏิบัติแล้ว
    จะทำให้มีอานุภาพมาก หากทำไม่ถูกวิธี
    มันก็เหมือน กับ นกแก้ว นกขุนทอง
    ที่ร้องแจ้วๆ เรื่อยไป แต่ไม่รู้ความหมาย
    ไม่มีอานุภาพอะไร ฝึกไปก็ไร้ประโยชน์


    ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    สายนี้มี หลวงปู่มั่น และคณะพระป่า ภาวนา พุทโธ เป็นอารมณ์
    และหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ภาวนา นะมะพะทะ หรือ หัวใจพระพุทธเจ้า
    สายนี้ เวลาที่ภาวนาต้องเน้นที่ ให้รำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
    ตลอดเวลาที่ภาวนา ท่านจะได้มาช่วยปกปักรักษาเรา ขณะที่เรา
    ฝึกสมาธิ มารจะไม่เข้าแทรก หรือ หลอกลวงให้หลงทาง และ
    พวกที่ฝึกด้วย การภาวนา คาถาพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ก็รวมอยู่ใน
    นี้ด้วย ให้ภาวนาว่า พุทโธ


    ๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
    มีสาย หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ที่เรียกว่า วิชชาธรรมกาย
    เวลาที่ฝึก ต้องระลึกถึง คุณของพระธรรม ตลอดการฝึก
    ให้ภาวนาว่า ธัมโมๆๆๆๆๆ หรือ ธรรมกายๆๆๆๆๆ


    ๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    สายนี้จะระลึกถึงคุณของพระอริยบุคคล หรือ พระอาจารย์ของตน
    เป็นอารมณ์ เวลาภาวนาก็ ระลึกถึงคุณของอาจารย์ไปด้วย
    ให้ภาวนาว่า สังโฆๆๆๆๆๆๆ


    ๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
    สายนี้ ต้องเป็นผู้ที่ รักษาศีลแปด เป็นอารมณ์ เวลาภาวนา
    ต้องระลึกถึง ศีลแปดของเราด้วย ให้ภาวนา ศีลๆๆๆๆๆๆๆ
    หรือ สีลังๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


    ๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
    สายนี้เป็นของ พวกที่ชอบบริจาค หรือ ผู้ที่ทรงพรหมวิหารอยู่
    เมื่อทำสมาธิก็ระลึกถึง ผลของทาน ไปด้วย ไม่ว่าทานนั้นเรา
    จะทำหรือไม่ได้ทำ เพราะแค่อนุโมทนา เราก็ได้บุญด้วยเหมื่อนกัน
    แต่อาจจะน้อยกว่า ให้ภาวนาว่า ทานๆๆๆๆๆๆ หรือ จาคาๆๆๆๆ


    ๖. เทวานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    เหมาะกับผู้ที่บูชาเทวดา อินทร พรหม เวลาภาวนาก็ให้นึกถึง
    คุณของเทวดาไปด้วย ให้ภาวนาว่า เทวาๆๆๆๆๆ หรือ เทวดาๆๆๆๆๆ


    ๗. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    สายนี้เป็นแนวของพระอริยะ และพวกขึ้กลัวความตาย
    พวกตกใจง่าย ให้ภาวนา หรือ นึกถึงความตายบ่อยๆ
    ขณะที่ทำสมาธิ ให้ภาวนาว่า เราต้องตายๆๆๆๆๆๆๆ หรือ
    มรนังๆๆๆๆๆๆ


    ๘. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
    สายนี้เป็นของพวกที่ต้องการละสักกายะทิฏฐิ ละสังโยชน์สาม
    พวกที่เดินมรรคแปด ต้องนึกถึงนิพพานอยุ่เสมอๆ
    ไม่งั้นสัมมาทิฏฐิจะไม่เปิด เส้นทางนิพพานที่หวังไว้ จะมืิดมนรางเลือน
    เข็มทิศแห่งนิพพาน จะเอนเอียง ชึ้องศาได้ไม่ตรง ไม่รู้สึกว่า อยากไป
    นิพพานซักที เวลาภาวนา ให้ระลึกถึงคุณของพระนิพพาน แล้ว
    ภาวนาว่า นิพพานๆๆๆๆๆๆ หรือ นิพพานังๆๆๆๆๆๆๆ


    ๙. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
    สายนี้ เป็นสายเดียวกับพวกที่ฝึกสติปํฏฐาน เป็นการฝึกแนว
    เดียวกัน แต่คนละด้าน คือ กายคตาสติ เป็นการเพ่งกาย
    เพื่อตัดความอยาก ส่วนกายานุปัสสนา เป็นการพิจารณากาย
    เพื่อตัดความเศร้า เสียใจ เวลาภาวนา ให้ระลึกถึง กายไม่เที่ยงๆๆๆ
    หรือ กายก่อทุกข์ๅๅๅๅๅ หรือ กายไม่ใช่ของเราๅๅๅๅ หรือ
    กายสมมุติๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


    ๑๐. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและวิตกจริต
    สายนี้เหมาะกับพวก เพ่งลมหายใจ เน้นระลึกถึง อารมณ์อุเบกขา
    พวกที่ใจโลเล หลอกง่าย ใจง่าย ขึ้กลัว เวลาฝึกให้ภาวนาว่า
    อุเบกขาๆๆๆๆๆๆ หรือ จับลมหายใจเข้าว่า เข้า
    จับลมหายใจออกว่า ออก หรือ (เข้า ออก)ๆๆๆๆๆๆๆ
     
  19. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,014





    จะต้องทำตามหน้าที่พ่อก่อน
    คือ สอนสั่งในทางที่ถูกที่ควร
    หากสอนเกินสามครั้ง เค้ายังไม่เชื่อ
    ก็ต้องใช้อุเบกขา ปล่อยวาง
    ให้เป็นไปตามกฏแห่งกรรม เท่านั้น
    ช่วยไม่ได้ แต่เราสามารถอธิษฐาน
    ให้เหตุการณ์ บรรเทาเบาบางลงได้

    อย่าฝืนกฏแห่งกรรม
    ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม แล้ว
    จะมองเห็นเรื่องราวต่างๆ
    เป็นแค่กฏแห่งกรรมลงโทษ
    ไม่ได้เป็นใหญ่โตอะไร
    ใครๆ เค้าก็โดนกันทุกคน
     
  20. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,611
    ค่าพลัง:
    +3,014






    ต้องพิจารณาดูก่อนนะครับว่า
    เค้าเขียนก่อนที่เค้าจะบรรลุ อรหันต์
    หรือว่าเขียนตอนที่บรรลุแล้ว


    เพราะถ้าหากว่า เขียนในตอนที่บรรลุธรรมแล้ว
    ได้เป็นอรหันต์ วิธีที่ใช้อยู่จะผิดทันที


    แต่ถ้าหากว่า เค้าเขียนตอนที่เค้า
    เริ่มต่อสู้กับ กิเลส ไปเรื่อย
    จนกระทั่งได้บรรลุธรรม จน บรรลุอรหันต์
    อันนี้ วิธีของเค้าถูกต้องแล้ว
    เพราะสามารถพลิกแพลงการต่อสู้ได้ตลอดเวลา
    ผู้ที่ต่อสู้ ก็สามารถต่อสู้ได้ตลอดไป ไม่มีเหนื่อย


    ส่วนผลที่เค้าจะได้
    มันก็ต้องขึ้นอยู่กับควมพยายามของเค้าแล้ว


    ส่วนใครจะเอาวิธีของเค้าไปลองทำดู
    ผมก็ว่า ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
    ส่วนทำแล้วมันติดขัดตรงไหน
    ก็ลองมาตั้งคำถามกันอีกครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...