พยากรณ์กรรม โดยยึดหลักธรรมคำสอนพระพุทธเจ้า

ในห้อง 'บริการรับดูดวง' ตั้งกระทู้โดย รัตนชาติ, 7 มีนาคม 2011.

  1. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    องคุลิมาลปริตร

    เริ่มจากตำนานของบทสวดนะคะ ทำไมถึงได้ชื่อว่า อังคุลีมาลปริตร
    องคุลีมาร หรือ พระองคุลีมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุ<wbr>ทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่าย<wbr>เถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้<wbr>วย ชื่อ องคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า องคุลิมาล แปลว่า นิ้วเป็นพวง (องคุลิ แปลว่า ข้อนิ้ว, นิ้ว มาล แปลว่า พวง) แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้<wbr>าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ มันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองต<wbr>ักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้<wbr>งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่<wbr>างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิ<wbr>ดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิ<wbr>มาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้<wbr>หนึ่งพันคนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่<wbr>คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่<wbr>คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล จนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก<sup>[1]</sup>


    อังคุลิมาลปริตร คือ ปริตรของพระองคุลิมาล

    มี ประวัติว่า วันหนึ่งเมื่อพระองคุลิมาลออกบิ<wbr>ฑบาตรอยู่ ท่านได้พบหญิงมีครรภ์คนหนึ่<wbr>งกำลังเป็นทุกข์ เพระคลอดบุตรไม่ได้ จึงเกิดความสงสาร ได้กลับมาวัดเข้าเฝ้าพระพุ<wbr>ทธเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนพระปริ<wbr>ตรนี้แก่พระองคุลิมาล ท่านจึงได้กลับไปสาธยายแก่หญิ<wbr>งนั้น เมื่อนางได้ฟังพระปริตรนี้ก็<wbr>คลอดบุตรได้โดยสะดวก ทั้งมารดาและบุตรได้รับความสวั<wbr>สดี
    บทขัดอังคุลิมาลปริตร - -

    1. ปะริตตัง ยัง ภะนันตัสสะ
    นิสินนัฏฐานะโธวะนัง
    อุทะกัมปิ วินาเสติ
    สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง.

    (คำแปล - น้ำล้างที่นั่งของพระองคุลิ<wbr>มาลผู้สวดพระปริตรใด สามารถขจัดอันตรายทั้งปวงให้<wbr>หมดไปได้)

    2. โสตถินา คัพภะวุฏฐานัง
    ยัญจะ สาเธติ ตังขะเณ
    เถรัสสะ อังคุลิมาลัสสะ
    โลกะนาเถนะ ภาสิตัง
    กัปปัฏฐายิง มะหาเตชัง
    ปะริตตัง ตัง ภะณามะ เห.

    (คำ แปล - พระปริตรใดที่<wbr>พระมหาโลกนาถทรงภาษิตไว้แก่<wbr>พระองคุลิมาลเถระ สามารถยังการคลอดบุตรให้เป็<wbr>นไปได้โดยสวัสดีในทันที ขอเราทั้งหลายจงร่วมกั<wbr>นสวดพระปริตรซึ่งมีเดชใหญ่ คงอยู่ตลอดกัปนั้นเถิด

    - - อังคุลิมาลปริตร - -

    ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต
    นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา
    เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ, โสตถิ คัพพัสสะ.

    (คำ แปล - ดูก่อนน้องหญิง นับแต่เราเกิดโดยอริยชาตินี้แล้<wbr>ว เราไม่เคยคิดปลงชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์<wbr>ของเธอ)
    อนึ่ง ตั่งที่พระองคุลิมาลนั่<wbr>งสวดพระปริตรนี้ ได้กลายเป็นตั่งศักดิ์สิทธิ์ ถ้าไม่สามารถนำหญิงที่คลอดบุ<wbr>ตรยากมานั่งที่ตั่งนี้ได้ ก็ให้นำน้ำล้างตั่งไปรดศี<wbr>รษะจะทำให้คลอดบุตรง่าย เปรียบดังน้<wbr>ำไหลออกจากกระบอกกรองน้ำ แม้กระทั่งสัตว์ที่ตกลูกยาก เมื่อนำมาที่ตั่งนี้ก็จะตกลูกง่<wbr>าย นอกจากการคลอดบุตรแล้ว ตั่งนี้ยังสามารถรักษาโรคอื่<wbr>นๆได้ด้วย
     
  2. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    มงคลจักรวาลใหญ่

    มงคลจักรวาลใหญ่

    สิริธิติมะติเตโชชะยะสิทธิมะหิ<wbr>ทธิมะหาคุณาปะระมิตะปุญญาธิการั<wbr>สสะ
    สัพพันตะรายะนิวาระณะสะมัตถะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ทวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณานุ<wbr>ภาเวนะ
    อะสีตตะยานุพยัญชะนานุภาเวนะ อัฏฐุตตะระสะตะมังคลานุภาเวนะ ฉัพพันณะรังสิยานุภาเวนะ เกตุมาลานุภาเวนะ
    ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาเวนะ
    สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ พุทธานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ
    เตชานุภาเวนะ อิทธานุภาเวนะ พะลานุภาเวนะ เญยยะธัมมานุภาเวนะ
    จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุ<wbr>ภาเวนะ นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ อัฏฐังคิกะมัคคานุภาเวนะ อัฏฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ
    ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ ทะสะพะละญาณานุภาเวนะ สัพพัญญุตตะญาณานุภาเวนะ
    เมตตากะรุณามุทิตาอุเบกขานุ<wbr>ภาเวนะ สัพพะปะริตตานุภาเวนะ ระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ
    ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุ<wbr>กขะโทมะนัสสุปายาสา วินัสสันตุ
    สัพพะอันตะรายาปิวินัสสันตุ สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ
    ทีฆายุตา ตุยหัง โหตุ สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทา
    อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคั<wbr>งคามะหาสะมุททา อารักขะกา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุ

    คำแปลมงคลจักรวาลใหญ่

    ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาปุริสลั<wbr>กษณะ ๓๒ ประการ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็<wbr>นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้<wbr>ชอบโดยพระองค์เอง
    ผู้มีบุญญาธิการอันกำหนดมิได้ ด้วยพระฤทธิ์อันใหญ่ และพระคุณอันใหญ่
    สำเร็จด้วยพระสิริ พระปัญญาเป็นเครื่องตั้งมั่น พระปัญญาเป็นเครื่องรู้ พระเดชและพระชัย ผู้สามารถห้ามสรรพอันตราย
    ด้วยอานุภาพแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ด้วยอานุภาพแห่งมงคล ๑๐๘ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ
    ด้วยอานุภาพแห่งพระเกตุมาลา
    ด้วยอานุภาพแห่งพระบารมี ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระอุปปารมี ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระปรมัตถปารมี ๑๐ ประการ
    ด้วยอานุภาพแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธรัตนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมรัตนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระสังฆรัตนะ
    ด้วยอานุภาพแห่งพระเดช ด้วยอานุภาพแห่งพระฤทธิ์ ด้วยอานุภาพแห่งพระกำลัง ด้วยอานุภาพแห่งพระเญยยธรรม
    ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ ๘ หมื่น ๔ พัน ด้วยอานุภาพแห่งโลกุตตรธรรม ๙ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งอริยมรรค ๘ ประการ
    ด้วยอานุภาพแห่พระสมาบัติ ๘ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระอภิญญา ๖ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณในสัจจะ ๔
    ด้วยอานุภาพแห่งพระญาณมีกำลัง ๑๐ ประการ ด้วยอานุภาพแห่งพระสัพพัญญุตญาณ
    ด้วยอานุภาพแห่งพระเมตตา พระกรุณา พระมุทิตา พระอุเบกขา แห่งพระปริตรทั้งปวงด้วยอานุ<wbr>ภาพแห่งอันระลึกถึงพระรัตนตรัย
    แม้เหล่าโรค โศก อุปัทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส ทั้งปวง ของท่าน จงสิ้นสูญไป แม้เหล่าอันตรายทั้งปวง จงสิ้นสูญไป
    สรรพ ดำริทั้งหลายของท่านจงสำเร็จด้<wbr>วยดี ความเป็นผู้มีอายุยืนจงมีแก่ท่<wbr>าน ท่านจงเป็นผู้มีความพร้อมเพรี<wbr>ยงด้วยความเป็นอยู่สิ้น ๑๐๐ ปี ทุกเมื่อ
    เทพเจ้าทั้งหลาย ผู้คุ้มครองสถิตย์อยู่<wbr>ในอากาศและบรรพตไพรสณฑ์ ภูมิสถาน แม่น้ำคงคามหาสมุทร จงตามรักษาท่านทั้งหลายทุกเมื่อ เทอญฯ
     
  3. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    มงคลจักรวาลน้อย

    มงคลจักรวาลน้อย
    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆา นุภาเวนะ พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง ติณณัง ระตะนานัง อานุภาเวนะ จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุ<wbr>ภาเวนะ ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ ชินะสาวะกานุภาเวนะ สัพเพ เต โรคา สัพเพ เต ภะยา สัพเพ เต อันตะรายา สัพเพ เต อุปัททะวา สัพเพ เต ทุนนิมิตตา สัพเพ เต อะวะมังคะลา วินัสสันตุ อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก สิริวัฑฒะโก ยะสะวัฑฒะโก พะละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก สุขะวัฑฒะโก โหตุ สัพพะทา ฯ
    ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา
    อะเนกา อันตะรายาปิ <wbr> วินัสสันตุ จะ เตชะสา
    ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง สตถิ ภาคยัง สุขัง พะลัง
    สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา
    สะตะวัสสา จะ อายู จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต ฯ

    <wbr> คำแปล
    ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้<wbr>งปวง ด้วยอานุภาพแห่งธรรมทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่ง รัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมขันธ์ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ด้วยอานุภาพแห่งพระไตรปิฎก ด้วยอานุภาพแห่งพระสาวกของพระชิ<wbr>นเจ้า ขอโรคทั้งหลายทั้งปวงของท่าน ขอภัยทั้งหลายทั้งปวงของท่าน ขออันตรายทั้งหลายทั้งปวงของท่<wbr>าน ขออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงของท่<wbr>าน ขอลางร้ายทั้งปวงของท่าน ขอ อวมงคลทั้งหลายทั้งปวงของท่าน จงพินาศไป
    ขอท่านจงเจริญด้วยอายุ เจริญด้วยทรัพย์ เจริญด้วยศิริ เจริญด้วยยศ เจริญด้วยกำลัง เจริญด้วยวรรณะ เจริญด้วยสุข ในกาลทั้งปวง
    ขอทุกข์ โรคภัย และเวรทั้งหลาย ขอความโศก ศัตรูแลอุปัทวะ ทั้งหลาย ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นอเนก จงพินาศไปด้วยเดช
    ขอความชนะ ความสำเร็จแห่งทรัพย์ ลาภ ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง ศิริ อายุ และวรรณะ โภคะ ความเจริญแลเป็นผู้มียศ ขอความเป็นผู้มีอายุยืนร้อยปี และความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่<wbr>จงมีแก่ท่านฯ
     
  4. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ชินบัญชร

    ชินบัญชร แปลว่า กรง ซี่กรงของพระชินเจ้า
    ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุ<wbr>ทธเจ้า และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรื<wbr>อเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้<wbr>งปวงได้
    ชินบัญชร ปัจจุบันใช้เรี<wbr>ยกพระคาถาภาษามคธชุดหนึ่ง นัยว่าเป็นนิพนธ์ของเจ้าประคุ<wbr>ณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เรียกว่า พระคาถาชินบัญชร ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถป้องกั<wbr>นสรรพอันตรายทั้งหลายได้เหมื<wbr>อนเกราะเพชรและให้โชคให้<wbr>ลาภตามที่ปรารถนาได้
    คาถาชินบัญชร (มีคำแปล)
    เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและตั้งคำอธิษฐานว่<wbr>า
    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

    เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

    ๑.ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เยปิวิงสุ นะราสะภา
    พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้<wbr>งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
    ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่<wbr>งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว
    เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ
    เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้<wbr>นจากกิเลสและกองทุกข์

    ๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก มุนิสสะรา
    มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั<wbr>้น

    ๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
    ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิ<wbr>ษฐานเหนือเศียรเกล้า
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะพระธรรมอยู<wbr>่ที่ดวงตาทั้งสอง
    พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่<wbr>งสรรพคุณอยู่ที่อก

    ๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก
    พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

    ๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเล
    พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่<wbr>หูซ้าย

    ๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
    มุนีผู้ประเสริฐคือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดั<wbr>งพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุ<wbr>กเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลั<wbr>ง

    ๗.กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
    พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุ<wbr>ญทรงคุณอันวิเศษ
    มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่<wbr>ปากเป็นประจำ

    ๘.ปุณโณ อังคุลิมาโลจะ อุปาลี นันทะสีวะลี เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ
    พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
    พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที<wbr>่หน้าผาก

    ๙.เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
    ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
    ส่วน พระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชั<wbr>ยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้<wbr>ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศี<wbr>ลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

    ๑๐.ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะ ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
    พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้<wbr>าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

    ๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
    พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
    เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู<wbr>่บนนภากาศ

    ๑๒.ชินนานา วะระสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
    อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
    ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิ<wbr>ด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
    สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้<wbr>อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

    ๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา วะสะ โต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
    ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชิ<wbr>นเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
    เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศั<wbr>ยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
    แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้<wbr>งภายนอกและภายใน
    อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
    เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พิ<wbr>นาศไปอย่าได้เหลือ

    ๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพเต มะหาปุริสาสะภา
    ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้<wbr>ำเลิศทั้งปวงนั้น
    จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
    ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้<wbr>มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี<wbr>ฉะนี้แล

    ๑๕.อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข
    ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
    ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ
    สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
    สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
    ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิ<wbr>บาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
    จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอั<wbr>นตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
    ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่<wbr>งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
    แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็<wbr>นนิจนิรันดรเทอญฯ

    พระ คาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์<wbr>ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคั<wbr>มภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติ<wbr>มให้ดีขึ้น เป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็<wbr>นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิ<wbr>ดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงและตั้งคำอธิษฐานว่<wbr>า
    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
     
  5. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    พุทธคุณ พาหุง มหากา

    พุทธคุณ พาหุง มหากา

    จากคำสอนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
    หลวงพ่อจรัญ " พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดูเคราะห์ร้ายก็<wbr>ต้องสะเดาะเคราะห์
    อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่<wbr>ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ
    บอกว่าโยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุ<wbr>ให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด "พาหุงมหากา" หายเลย
    สติก็ดีขึ้นเท่าที่ใช้ได้<wbr>ผลสวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา
    จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล "

    <hr>
    <<เริ่มสวด>>
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ๑. พุทธคุณ
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ


    ๒. ธรรมคุณ
    สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


    ๓. สังฆคุณ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)
    ๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรั<wbr>ตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยั<wbr>กขัง
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
    เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณั<wbr>นตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

    ๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
    เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
    หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
    ๕. มหาการุณิโก
    มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
    ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
    นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
    พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
    สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
    จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
    มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
    สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
    * ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

    กราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังต่อไปนี้
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
    เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที<wbr>่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่<wbr>วนกุศลดังนี้


    คาถาแผ่เมตตาตนเอง

    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
    อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
    อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
    อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอั<wbr>นตรายทั้งปวง
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
    ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุ<wbr>ขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุ<wbr>กข์ภัยทั้งปวงเถิด

    แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
    สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกั<wbr>นและกันเลย
    อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์<wbr>ใจเลย
    สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ<wbr>้นเถิดฯ


    บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)
    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้<wbr>าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั<wbr>้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้<wbr>ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
    - ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

    <<จบบทสวด>>
    <hr> คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้<wbr>งแปดบท กล่าวคือ

    บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ

    บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้<wbr>างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
    บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่<wbr>อสู้
    บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
    บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
    บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
    บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุ<wbr>ศโลบาย
    บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

    เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรื<wbr>อการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร
    นอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น
    ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์<wbr>และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้<wbr>องทำความเข้าใจคำอธิบายบทต่างๆ
    ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู<wbr>่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจ
    เราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกั<wbr>นให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน

    ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่<wbr>าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็<wbr>ทรงสามารถเอาชนะได้
    จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรู<wbr>หมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
    คำแปล- พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมา
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลั<wbr>งยิ่งกว่าพระยามาร
    พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์<wbr>อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้<wbr>ไปได้
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปั<wbr>กษ์หรือคู่ต่อสู้
    คำแปล- อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามาร
    เข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทั<wbr>ตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี
    เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
    คำแปล- ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี<wbr>้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า
    ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็<wbr>นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่
    องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึ<wbr>งกับองคุลีมาลเลิกเป็<wbr>นโจรและยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่ง
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้<wbr>ร้าย
    คำแปล- โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์<wbr>ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่<wbr>เรา

    ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ
    ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่<wbr>าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กั<wbr>บพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้<wbr>งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่<wbr>โทษพระองค์โดยแท้
    จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดี<wbr>ความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ
    คำแปล- นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสั<wbr>ณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่<wbr>เรา

    ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้<wbr>าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า
    จึงถือเป็นบทที่ใช้<wbr>เอาชนะในการโต้ตอบ
    คำแปล- สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่<wbr>ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สู<wbr>งประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มืดมัวเมา
    องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้<wbr>วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้<wbr>เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ
    ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้<wbr>มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์<wbr>เหลี่ยมกุศโลบาย
    คำแปล- องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ
    นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิ<wbr>ธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

    ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้<wbr>าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็<wbr>นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้<wbr>ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า
    จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิ<wbr>มานะของตน
    คำแปล- พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอั<wbr>นบริสุทธิ์
    มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่<wbr>างแน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้<wbr>วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา


    คำแปล มหาการุณิโก


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสั<wbr>ตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสั<wbr>ตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้<wbr>าพเจ้า


    ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชั<wbr>ยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยิ<wbr>นดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็<wbr>นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบั<wbr>ลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้<wbr>าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้<wbr>าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้<wbr>าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

    ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้<wbr>าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
    ------------------------------<wbr>------------------------------<wbr>------------------------------<wbr>-----------------------


    ที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก
    ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุ<wbr>งศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็<wbr>จพระพนรัตน์
    วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่<wbr>สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์<wbr>ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชั<wbr>ยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้<wbr>ทัพ
    สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา
    ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ
    เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล
    จะสมความปรารถนาทุกประการ


    เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกั<wbr>บสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว

    คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ<wbr>่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่<wbr>งครองจีวรคร่ำ

    สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รั<wbr>ตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน
    ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่<wbr>าวกับอาตมาว่า
    "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วั<wbr>ดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึ<wbr>กถวายพระเกียรติแก่สมเด็<wbr>จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็น เจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์<wbr>ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุ<wbr>ปราชาแห่งพม่าและ ประกาศความเป็นอิ<wbr>สระของประเทศไทย
    จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่<wbr>ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"
    ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็<wbr>ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่<wbr>ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้<wbr>วยพระกรรมฐานมีสติ อยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็<wbr>นไม่ม
    ี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสั<wbr>งขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชั<wbr>ยมงคล
    และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุ<wbr>ดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้<wbr>งหมดออกเสร็จสิ้น
    อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวั<wbr>นหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้<wbr>นำพระซุ้มเสมาชัย
    ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้<wbr>งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กั<wbr>บวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ
    ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้<wbr>อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพั<wbr>ฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ
    อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็<wbr>นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์<wbr>บ้าง

    วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้<wbr>เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบั<wbr>นไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรั<wbr>บลงไปด้านล่าง
    มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็<wbr>ยอมตาย
    คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่<wbr>ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น.
    อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดั<wbr>งที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้<wbr>จริงๆ
    อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่<wbr>าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร
    ก็คือบทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้<wbr>วศรีอโยธเยศ
    คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้<wbr>ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็<wbr>จพระนเรศวรมหาราช"
    พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริ<wbr>ญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย
    "พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิ<wbr>โกนาโถหิตายะ
    และจบลงด้วยภาวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆา นุภาเวนะสะทาโสตถี ภะวันตุเต"
    อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา
    อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็<wbr>จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้<wbr>ถวายให้พระบาท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กั<wbr>บพระมหาราชวังและในระหว่างศึ<wbr>กสงคราม
    จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็<wbr>จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้<wbr>ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพี<wbr>ยงลำพังสองพระองค์กับสมเด็<wbr>จพระอนุชาธิราชเจ้า
    ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนั<wbr>บแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทั<wbr>พพม่าด้วยการกระทำยุทธหัตถี
    มีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่<wbr>ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึ<wbr>กจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์<wbr>ในตอนที่เข้ากัน
    พระศพของพระมหาอุ<wbr>ปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิ<wbr>ปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริ<wbr>ญอยู่เป็นประจำนั่นเอง

    อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่<wbr>ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่<wbr>า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ
    ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้<wbr>แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็<wbr>นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุ<wbr>ดของพระบรมศาสดา
    จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้<wbr>มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมี<wbr>ธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมี<wbr>ชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรื<wbr>องตลอดกาลนาน
    มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากั<wbr>นให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว
    ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้<wbr>ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภั<wbr>ยไปอย่างถ้วนหน้า

    ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็<wbr>จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น
    ที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุ<wbr>งมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็<wbr>ทรงพบเช่นกัน
    โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี<wbr>้
    "เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมื<wbr>องจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่<wbr>าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้<wbr>องหนักหนา
    และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ<wbr>้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้<wbr>งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์<wbr>พระและพระองค์ก็ทรงเจริ<wbr>ญรอยตามพระบาทสมเด็<wbr>จพระนเรศวรมหาราช
    ด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบั<wbr>นดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"
    สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชิ<wbr>นบัญชร
    เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุ<wbr>ณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหั<wbr>นต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึ<wbr>งมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต
    อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง
    บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหู<wbr>เกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุ<wbr>กบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้าเพื่<wbr>อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ"
    เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน" แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรื<wbr>อภาวนาของเราเอง
    เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม" ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเม
    ชะยะมังคะลานิ"
     
  6. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจั<wbr>กรให้เป็นไปหรือดำเนินไป
    พระสูตรว่าด้วยการหมุ<wbr>นวงล้อธรรม ขับเคลื่อนพระศาสนา เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปั<wbr>ญจวัคคียทั้ง๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ คือภายหลังจากการตรัสรู้แล้ว ๒ เดือน ซึ่งก็คือวันอาสาฬหบูชาในสมัยปั<wbr>จจุบันนั่นเอง เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยมัชฌิ<wbr>มาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุดทั้ง ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ความจริงของอริยะ หรือความจริงอันประเสริฐทั้ง ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ<wbr>ญาณ(ญาณชนิดตรัสรู้เองโดยชอบอั<wbr>นยอดเยี่ยม)
    ท่านโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรู<wbr>ปแรกในพระศาสนา เรียกว่าเป็น ปฐมสาวก
    ปฐมเทศนา
    แสดงธรรมเป็นครั้งแรกในโลก แก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕
    (จาก พระไตรปิฎก ฉบับสมาคมศิษเก่ามหาจุ<wbr>ฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
    [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปั<wbr>ญจวัคคีย์ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไ<wbr>ม่ควรเสพ คือ
    การประกอบตนให้พัวพันด้<wbr>วยกามสุขในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค)
    เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน
    ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    การประกอบความเหน็ดเหนื<wbr>่อยแก่ตน เป็นความลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค)
    ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้<wbr>น
    นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้<wbr>วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด
    ย่อมเป็นไปเพื่<wbr>อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรั<wbr>สรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?
    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละคือ
    ปัญญาอันเห็<wbr>นชอบ(สัมมาทิฏฐิ) ๑,
    ความดำริชอบ(สั<wbr>มมาสังกัปปะ) ๑,
    เจรจาชอบ(สั<wbr>มมาวาจา) ๑,
    กระทำชอบ(สั<wbr>มมากัมมันตะ) ๑,
    เลี้ยงชีวิ<wbr>ตชอบ(สัมมาอาชีวะ) ๑,
    พยายามชอบ(สั<wbr>มมาวายามะ) ๑,
    ระลึกชอบ(สั<wbr>มมาสติ) ๑,
    ตั้งจิตชอบ(สั<wbr>มมาสมาธิ) ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปั<wbr>ญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน.
    [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็<wbr>บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็<wbr>นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รั<wbr>กก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้<wbr>นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้<wbr>วยอำนาจความเพลิน(นันทิ) มีปกติเพลิดเพลิน(นันทิ)ในอารม<wbr>ณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือ วิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิ<wbr>ปทาอริยสัจ คืออริยมรรคมีองค์ ๘นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ............. ตั้งจิตชอบ ๑.
    [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟั<wbr>งมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขอริยสัจ.(ญาณทัสสนะ<wbr>ที่ ๑)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.(ญาณทัสสนะที่ ๒)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.(ญาณทั<wbr>สสนะที่ ๓)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขสมุทัยอริยสัจ.(<wbr>ญาณทัสสนะที่ ๔)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.(ญาณทัสสนะที่ ๕)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๖)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขนิโรธอริยสัจ.(<wbr>ญาณทัสสนะที่ ๗)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.(ญาณทัสสนะที่ ๘)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๙)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้(คือ)ทุกขนิโรธคามินีปฏิ<wbr>ปทาอริยสัจ.(มรรค) (ญาณทัสสนะที<wbr>่ ๑๐)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(<wbr>มรรค)นี้นั้นแล ควรให้เจริญ.(ญาณทัสสนะที่ ๑๑)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้<wbr>งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ(<wbr>มรรค)นี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.(ญาณทัสสนะที่ ๑๒) (แสดงสรุปญาณทัสสนะทั้ง ๑๒ อาการ ในบทอริยสัจ ๔)
    ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒
    [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริ<wbr>งของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้วเพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริ<wbr>งของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
    อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้<wbr>วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริ<wbr>บ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.
    ก็แลเมื่อพระผู้มี<wbr>พระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑั<wbr>ญญะว่า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้<wbr>นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.
    [๑๗] ครั้นพระผู้มี<wbr>พระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็<wbr>นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ บันลือเสียงว่า
    นั่นพระธรรมจักรอั<wbr>นยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็<wbr>นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี
    อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
    เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
    เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุ<wbr>มหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
    เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...
    เทวดาที่นับเนื่<wbr>องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้<wbr>นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า
    นั่นพระธรรมจักรอั<wbr>นยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็<wbr>นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี
    อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
    ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั<wbr>้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.
    ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้<wbr>ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่<wbr>หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุ<wbr>ทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้<wbr>แล้วหนอ
    [ "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" - โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ]
    เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑั<wbr>ญญะ ด้วยประการฉะนี้.
    <center> ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

    ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
    </center> [๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่<wbr>นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่<wbr>า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่า
    ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุ<wbr>นั้น. (เอหิภิกขุอุปสัมปทา)
    [๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้<wbr>ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุทั้<wbr>งหลายที่เหลือจากนั้น ด้วยธรรมีกถา.
    เมื่อพระผู้มี<wbr>พระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้<wbr>วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
    ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวั<wbr>ปปะและท่านพระภัททิยะว่า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้<wbr>นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็<wbr>นธรรมดา.
    ท่านทั้งสองนั้น ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความ สงสัยได้แล้ว
    ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่<wbr>นในคำสอนของพระศาสดา
    ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่<wbr>า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้<wbr>บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่<wbr>า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า
    ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุ<wbr>ทั้งสองนั้น.
    ครั้งนั้น พระผู้มี<wbr>พระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั<wbr>้งสามนำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุ<wbr>ที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา.
    ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิ<wbr>ณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น.
    วันต่อมา เมื่อพระผู้มี<wbr>พระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้<wbr>วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
    ได้เกิดขึ้นแก่ท่<wbr>านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่<wbr>า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้<wbr>นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็<wbr>นธรรมดา.
    ท่านทั้งสองได้เห็น ธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัย ได้แล้ว
    ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่<wbr>นในคำสอนของพระศาสดา
    ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่<wbr>า ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้ อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่<wbr>า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า
    ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
    พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุ<wbr>ทั้งสองนั้น.
     
  7. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    บทสวด ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

    บทสวด ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
    อวัมเม สุตัง
    ( ข้าพเจ้า ( คือพระอานนท์เถระ ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ )
    เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
    ( สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า )
    พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ
    ( เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิ<wbr>ปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี )

    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ
    ( ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตื<wbr>อนพระปัญญจวัคคีย์อย่างนี้ว่า )

    เทฺวเม ภิกขะเว อันตา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ เหล่าอย่างนี้ )
    ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา ( อันบรรพชิตไม่ควรเสพ )

    โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค
    คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด
    หีโน ( เป็นธรรมอันเลว ) คัมโม ( เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน ) โปถุชชะนิโก ( เป็นของคนผู้มีกิเลสหนา )
    อะนะริโย ( ไม่ใช่ของคนไปจากข้าศึกคือกิเลส ) อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ )

    โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ( คือประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้<wbr>วยตนเหล่านี้ใด )
    ทุกโข ( ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ)
    อะนะริโย ( ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส )
    อะนัตถะสัญหิโต ( ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่างหนึ่ง )

    เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา
    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่<wbr>นนั้น )
    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( อันตถาคตได้ตรัสนูแล้วด้วยปั<wbr>ญญาอันยิ่ง )
    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ )
    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ
    ( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงั<wbr>บจากิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

    กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้นเป็<wbr>นไฉน )
    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา ( ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ )
    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    ( ย่อมเป็นไปเพื่อเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ
    ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง )
    เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ )
    สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ )
    สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
    วาจาชอบ ( วาจาชอบ )
    สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ )
    สัมมาอาชีโว (เลี้ยงชีวิตชอบ )
    สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
    สัมมาสะติ ( การระลึกชอบ )
    สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

    อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลข้อปฏิบัติที่เป็<wbr>นกลางนั้น )
    ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา (ที่คตถาคต ได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง )
    จักขุกะระณี ญาณะกะระณี ( กระทำดวงตาคือกระ ทำญาณเครื่องรู้ )
    อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
    (ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้<wbr>าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ )

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริ<wbr>ง คือ )
    ชาติปิ ทุกขา ( แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ )
    ชะราปิ ทุกขา ( แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์ )
    มะระณัมปิ ทุกขัง ( แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์ )
    โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุ<wbr>กปายาสาปิ ทุกขา
    ( แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ )
    อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รั<wbr>กที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ )
    ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ( ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่<wbr>รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ )
    ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
    ( มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ )
    สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ
    ( ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ )

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง
    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุให้ทุกข์อย่<wbr>างแท้จริง คือ )
    ยายัง ตัณหา ( ความทะยานอยากนี้ใด )
    โปโนพภะวิกา ( ทำให้มีภพอีก )
    นันทิราคะสะหะคะตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอนาจความเพลิดเพลิน )
    ตัตระ ตัตราภินันทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )
    เสยยะถีทัง ( ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ )
    กามะตัณหา ( ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ )
    ภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความมีความเป็น )
    วิภะวะตัณหา ( ความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น )

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง
    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แลเป็นความดับทุกข์ )
    โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ
    ( ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่<wbr>นแหละใด )
    จาโค ( ความสละตัณหานั้น ) ปะฏินิสสัคโค ( ความวางตัณหานั้น )
    มุตติ ( การปล่อยตัณหานั้น ) อะนาละโย ( ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น )

    อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง
    ( ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แลเป็นข้อปฏิบัติให้ถึ<wbr>งความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ )
    อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ( ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลส นี้เอง )
    เสยยะถีทัง ( ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ )
    สัมมาทิฏฐิ ( ปัญญาอันเห็นชอบ ) สัมมาสังกัปโป ( ความดำริชอบ )
    สัมมาวาจา ( วาจาชอบ ) สัมมากัมมันโต ( การงานชอบ )
    สัมมาอาชีโว ( ความเลี้ยงชีวิตชอบ ) สัมมาวายาโม ( ความเพียรชอบ )
    สัมมาสะติ ( ความระลึกชอบ ) สัมมาสะมาธิ ( ความตั้งจิตชอบ )

    อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่เป็นทุกข์อริยสัจ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้


    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกข์อริยสัจนี้นั้นแล เราได้กำหนดรู้แล้ว

    อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล ควรละเสีย

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกข์สมุทัยอริยสัจนี้แล เราละได้แล้ว

    อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรจอริยสัจ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรจอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว


    อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสั<wbr>จ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสั<wbr>จนั้นแล ควรให้เจริญ

    ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว
    ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
    จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย จักขุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว
    ปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้<wbr>เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสั<wbr>จนั้นแล อันเราเจริญแล้ว


    ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
    เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้ตามความเป็นจริงอย่<wbr>างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ของเรา
    ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว

    เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
    สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
    อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้<wbr>พร้อมเฉพาะปัญญาเครื่องตรัสรู้<wbr>ชอบ
    ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่<wbr>าในโลก เป็นไปพร้อมด้วยกับเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์
    ทั้งใมณพราหมณ์ เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น

    ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
    เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ
    ดูก่อนภิษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ปัญญาอันเห็นตามเป็นจริงอย่<wbr>างไรในอริยสัจ๔ เหล่านี้ของเรา
    มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว

    อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก
    สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ
    อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงได้บืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปั<wbr>ญญา เครื่องตรัสรู้ชอบ
    ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่<wbr>าในโลก เป็นไปกับด้วย เทวดา มาร พรหม ในหมู้สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทพยดา มนุษย์

    ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ
    ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่<wbr>เราแล้ว
    อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ
    ว่า การพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก

    อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว

    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
    พระภิกษุปัจจวัคคีย์ก็มีใจยินดี<wbr>เพลิดเพลินภาษิตของของพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้า

    อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
    ก็แล เมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่

    อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ
    จักษุในธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีอายุโกณทัญญะ
    "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ
    ว่า " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้<wbr>นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้นทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา "

    ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
    ก็เมื่อธรรมจักรอันพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้า ให้เป็นไปแล้ว

    ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    เหล่าภูมิเทวดา ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

    เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
    อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
    พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
    ว่านั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้
    อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็<wbr>นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
    อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้

    ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิ<wbr>เทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

    จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้<wbr>นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

    ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้<wbr>นดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือ

    ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสี<wbr>ยงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่น

    ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้<wbr>นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่น

    นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
    เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวั<wbr>ตดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้<wbr>นนิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น

    ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
    พรหมเจ้าที่เกิดในชั้นพรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้<wbr>นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า

    "เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
    อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา
    พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ
    ( นั่นจักรคือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้อันพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
    อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้ ดังนี้ " ฯ )

    อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ
    โดยขณะหนึ่งครู่หนึ่งนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้<wbr>วยประการฉะนี้ ฯ

    อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ
    ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป

    อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ
    ทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มี<wbr>ประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก
    อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ
    ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้<wbr>งหลายเสียหมด ฯ

    อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ
    ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่<wbr>งอุทานขึ้นว่า
    อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ
    โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญ

    อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ
    เพราะเหตุนั้น นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นเทียว
    ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มี<wbr>อายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ
     
  8. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตำนานธชัคคปริตร

    ตำนานธชัคคปริตร

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ นครเวสาลี ได้ทรงแสดงที่มาของท้าวสั<wbr>กกะเทวราช ให้แก่เจ้าลิจฉวี นามว่ามหาลี ได้สดับความว่า


    มีมานพผู้หนึ่งชื่อ มะฆะ อยู่ในอะจะละคาม แคว้นมคธรัฐ ได้จัดทำสถานที่ชายป่าไกลบ้<wbr>านให้เป็นที่ร่มรื่นรมณียสถาน แล้วพักนั่งเล่น นอนเล่นอยู่ ณ สถานที่นั้น


    ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งเดินทางผ่<wbr>านมา เห็นชานป่าแห่งนั้นเ ป็นที่รมณียสถานก็ตรงเข้<wbr>าไปแวะพักแลเห็น มะฆะมานพนั่งพักอยู่ก่อนแล้ว ชายผู้นั้น ก็ไม่พอใจ


    กล่าวตู่ขึ้นว่า เอ่ะ เจ้านี้มายังไงนะ บังอาจมานั่งบนที่ของข้าได้ ไป..ไปเสียให้พ้น อากาศยิ่งร้อนๆอยู่ เดี๋ยวพ่อก็แพ่นกระบาลเสียด้<wbr>วยไม้เท้านี้หรอก


    มะฆะมานพ พอได้ฟังดังนั้นแทนที่จะโกรธ กลับคิดว่า เออ...ดีนะ รมณียสถานแห่งนี้ เราเป็นผู้สร้างขึ้นคนทั้<wbr>งหลายชอบตำหนิว่าไม่มีประโยชน์ มาบัดนี้มีผู้เห็นประโยชน์ในสิ่<wbr>งที่เราสร้างขึ้นแล้ว ดีหละ..เราจักสร้างสถานที่เช่<wbr>นนี้ต่อไป


    มะฆะมานพได้เดินออกจากชายป่านั้<wbr>นโดยดี มิได้ถือโกรธเลย พร้อมทั้งยัง ได้ไปสร้างที่รื่นรมย์ยังที่อื่<wbr>นๆ ต่อไป


    แล้วเหตุการณ์ก็เป็นเช่นเดิม สร้างเสร็จก็มีผู้มาอ้างสิทธิ์<wbr>จับจองเป็นเจ้าของ แทนที่มะฆะมานพจะโกรธกลับคิดว่า การที่เราสร้าง สามารถทำให้ผู้อื่นมีความสุข


    เราย่อมได้รับบุญ บุญนั้นย่อมทำให้เรามีความสุ<wbr>ขไปด้วย


    กาลต่อมา แม้ในขณะเดินทาง มะฆะมานพจะต้องนำเอามีดหรื<wbr>อจอบติดมือไปด้วยเสมอ เมื่อเห็นว่าหนทางไม่ราบเรียบมี<wbr>หญ้าขึ้นปกคลุมรก ทางมีหลุมเป็นบ่อ ระหว่างทางมีกิ่งไม้ระเกะระกะรุ<wbr>งรัง มะฆะมานพนั้น ก็จะเอาจอบถาก มีดหวด ทำให้ตลอดทางเป็นที่ร่มรื่น สะดวกสบายแก่ผู้สัญจรไปมา


    เมื่อนาย มะฆะมานพทำเช่นนี้เป็นอาจิณ ผู้คนชนทั้งหลายที่สัญจรไปมาก็<wbr>พากันเข้าไปถามว่า สหายท่านกำลังทำอะไรอยู่ มะฆะมานพก็ตอบว่า เรากำลังทำทางไปสวรรค์ ชนเหล่านั้นก็ขอร่วมทำด้วย จนมีสมัครพรรคพวกเป็นเพื่อนถึง ๓๓ คน มะฆะมานพ จึงพาทำทางได้ระยะไกลถึง ๒ โยชน์ หมู่ชนทั้งหลาย


    เมื่อเดินทางได้รั<wbr>บความสะดวกสบาย ต่างก็พากันสรรเสริ<wbr>ญมะฆะมานพและบริวารเป็นอันมาก


    ฝ่ายนายบ้าน ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปกครองท้องถิ<wbr>่น เห็นฝูงชนยกย่องสรรเสริ<wbr>ญมะฆะมานพและบริวาร ก็บังเกิดความริษยา จึงหาเรื่องเข้ามาว่ากล่าวว่า เจ้าทั้ง


    หลายกระทำอะไรไร้ประโยชน์ ทำไมไม่ใช้เวลาและแรงที่มี<wbr>ไปหาเนื้อหาปลามาเป็นอาหาร วัยฉกรรจ์อย่างพวกเจ้าควรที่<wbr>จะไปเที่ยวเล่น ดื่มสุรา เที่ยวดูการละเล่นยังจะสนุกเพลิ<wbr>ดเพลินเสียกว่า อย่ามามัวเหนื่อยเปล่ากับ เรื่องไม่เป็นประโยชน์เหล่านี้<wbr>อยู่เลย


    มะฆะมานพและบริวารทั้ง ๓๓ คน ก็หาได้เชื่อฟังคำของนายบ้านไม่


    นายบ้านจึงผูกใจโกรธ นำเรื่องไปเท็จทูลพระราชาว่า มะฆะมานพและบริวาร เป็นคนเกเรไม่ทำมาหากิน คอยดักปล้นสะดมผู้คนที่เดินทาง


    พระราชา พอได้ฟังคำเท็จทูลของนายบ้านก็<wbr>หลงเชื่อ มีรับสั่งให้พนัก งานไปจับตัวมะฆะมานพและบริวารทั<wbr>้ง ๓๓ คนมาลงโทษด้วยการให้นอนลงกับพื้<wbr>นแล้วต้อนช้างพลายผู้ดุร้ายให้<wbr>ไปเหยียบ


    ขณะที่ช้างพลายที่ดุร้<wbr>ายจะมาเหยียบนั้น มะฆะมานพได้สั่งให้บริวารทั้ง ๓๓ คน เจริญเมตตาไว้ในใจ อย่าผูกโกรธ เคืองแค้นต่อนายบ้าน แผ่เมตตาให้แก่พระราชาและช้<wbr>างพลายที่จะตรงมาเหยียบ


    ด้วยอานุภาพแห่<wbr>งเมตตาของมะฆะและบริวาร ช้างพลายที่ดุร้ายนั้นพลัน ก็ยืนสงบนิ่ง ไม่ยอมที่จะก้าวเดินไปเหยี<wbr>ยบมะฆะและบริวาร


    ข้างพระราชาทรงประทั<wbr>บทอดพระเนตรการลงทันต์อยู่ ทรงเห็นว่าช้างไม่ยินยอมที่จะย่<wbr>างเหยียบคนทั้ง ๓๓ ก็ให้พนักงานนำเอาเสื่<wbr>อลำแพนมาปกคลุมร่างของคนทั้ง ๓๓ คนเสีย ด้วยคิดว่าช้างอาจจะเห็นเป็นคน เลยมิกล้าที่จะเดินเหยียบได้


    เมื่อชาวพนักงานนำเสื่<wbr>อลำแพนมาคลุมร่างมะฆะมานพและบริ<wbr>วารมิดชิดแล้ว จึงให้ควาญช้างไสช้างพลายนั้<wbr>นให้ก้าวเหยียบไปบนเสื่อลำแพน มิใยที่ควาญช้างจะโขกสับ บังคับไสช้างพลายนั้นให้เดินสั<wbr>กปานใด ช้างนั้นก็ยืนสงบนิ่ง มิขยับ เขยื่อนเลื่อนไปแม้แต่ก้าวเดียว


    พระราชาครั้นได้<wbr>ทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงดำริว่า เอ... นี่มันเกิดอาเภทเหตุอัศจรรย์<wbr>ใดกันหนอ ทำไมชนทั้ง ๓๓ คนนี้ จึงมิได้มีอันตรายใดๆ


    จากการลงทันต์ในครานี้เลย ชะรอยเราต้องเรียกมาไตร่สวนดู<wbr>ให้รู้ความจริง และแล้วจึงทรงมีพระดำรัสเรี<wbr>ยกมะฆะมานพและบริวารเข้าเฝ้า


    เมื่อมะฆะมานพและบริวารได้เข้<wbr>าเฝ้าเบื้องหน้าพระพักตร์แล้ว


    พระราชาจึงทรงมีพระดำรัสตรั<wbr>สถามขึ้นว่า อาชีพที่สุจริตในแผ่นดินนี้มี<wbr>ออกมากมาย เหตุใดพวกเจ้าจึงพากันเป็นโจร ประกอบทุจริต


    มะฆะมานพครั้นได้ฟั<wbr>งพระราชาทรงตรัสตำหนิถามดังนั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่องค์ราชะผู้ประเสริฐ ข้าพระพุทธเจ้าและสหาย มิได้เป็นผู้ทำอาชีพทุจริตผิ<wbr>ดกฎหมาย พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นสุจริตชน สิ่งที่ข้าพระพุทธเจ้าทำ คือทางไปสวรรค์ แต่กลับถูกกล่าวหาว่าเป็นโจร เหตุเพราะนายบ้านมีความริษยา ผูกโกรธคิดกลั่นแกล้งใส่<wbr>ความพวกข้าพระพุทธเจ้า ถ้าพระองค์ไม่เชื่อ ขอได้ทรงโปรดให้ขุนทหารไปเรี<wbr>ยกชาวบ้านมาไตร่ถาม ความจริงก็จะปรากฏ


    พระราชาจึงส่งขุนทหาร ไปเกณฑ์ชาวบ้านมาไตร่ถาม จึงได้ทรงทราบความจริง ว่ามะฆะมานพ และบริวารได้ชวนกันทำงาน ไปสวรรค์จริงๆ จึงทรง


    ปราโมทย์ยินดี ทรงพระราชทานช้างพลายตัวนั้น ให้แก่มะฆะมานพ และบริวาร อีกทั้งยังทรงมีรับสั่งให้ นายบ้านผู้มีจิตริษยานั้น ตกเป็นทาสของมะฆะมานพด้วย


    ข้างมะฆะมานพและสหาย เมื่อได้เห็นอานิสงส์ผลบุญ ที่พวกตนได้ร่วมกันกระทำ ปรากฏให้เป็นที่ประจักษ์ จิตโสมนัส ศรัทธาในการบำเพ็ญบุญนั้นมากยิ่<wbr>งขึ้น ซึ่งนอกจากทำทาง ทำสถานที่ร่มรื่นให้ผู้คนและสั<wbr>ตว์ ที่กำลังเดินทางได้หยุดพักแล้ว ยัง ได้ช่วยกันทำศาลาพักผ่อน ขุดสระ ทำปลูกพืชผักผลไม้เอาไว้ให้ผู้<wbr>คนที่หิวกระหายได้ตักดื่ม เก็บกิน จนเป็นที่สำราญของผู้คนที่เดิ<wbr>นทางผ่านไปมา ณ ตำบลบ้านนี้


    นอกจากมะฆะมานพ จะเป็นผู้ชอบบำเพ็ญบุญดังกล่<wbr>าวมาแล้ว ยังจะเป็นผู้ปฏิบัติ ข้อวัตตะบท ๗ ประการ โดยบริบูรณ์ คือ


    - ปฏิบัติเลี้ยงดูรักษาบิดามารดา

    - อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
    - กล่าวความสัตย์ ไม่โกหก
    -ไม่พูดหยาบคาย
    - มีวาจาที่สุภาพ เรียบร้อย ระรื่นหูแก่ผู้ได้สดับ ไม่ส่อเสียดยุยง
    -ไม่ตระหนี่ ยินดีในการให้
    - เป็นผู้ที่มีปกติไม่โกรธ

    ครั้นเมื่อถึงกาลมรณะสมัย มะฆะมานพและสหายได้ทำกาลกิริ<wbr>ยาลง ด้วยสิ้นอายุขัย ผลบุญที่ตนได้ทำเอาไว้ ส่งผลให้มะฆะมานพ ไปบังเกิดเป็นพระอินทร์


    ในเทพพิภพ พร้อมด้วยสหายอีก ๓๒ องค์ จึงรวมเป็นเหล่าเทพ ๓๓ องค์ เทพนครแห่งนั้น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ตาวะตึงสะ หรือ ดาวดึงส์สวรรค์ ซึ่งแปลว่า ๓๓


    ส่วนเทพยดา ที่สถิตในเทพนครนี้อยู่เดิม เห็นเทพบุตรเกิดขึ้นใหม่ มีวรกายสง่างาม รัศมีกายเรืองรอง จึงใคร่ผูกสมัครมิตรไมตรี พากันจรลี ไปจัดสรรคัดหาโภชนาหารอันเลิศรส พร้อมกับเหล้าหอม ชื่อคันธบาน แล้วชวนกันนำไปเลี้ยงแก่<wbr>บรรดาเทพบุตรทั้ง ๓๓ องค์ที่บังเกิดใหม่


    พระอินทร์ จึงแอบกระซิบแก่เทพบริวารทั้ง ๓๒ ว่า อย่าดื่มน้ำคันธบานนั้น แต่ให้แสร้งทำประหนึ่งว่า ได้ดื่มน้ำเหล้านั้นเข้าไปด้วย


    ฝ่ายเทพดาที่สถิตอยู่ในเทพพิ<wbr>ภพเดิม ก็มิได้คิดระแวงอันใด จึงพากันดื่มเหล้าหอมนั้นเข้าไป จนเมามายหมดสติ มิอาจทรงกายอยู่ได้ จึงลงนอนและหลับไปในที่สุด ฤทธิ์แห่งเหล้าหอมนั้น ทำให้เทพดาเก่าหลับไปนานถึง ๔ เดือน


    พระอินทร์จึงกล่าวแก่เทพบริ<wbr>วารว่า พวกเทพเหล่านี้ มัวเมา ประมาท จนขาดสติ นอนได้แม้ในที่ที่มิมีใครนอน แถมส่งเสียงเอะอะละเมอเหมือนกั<wbr>บคนบ้า ผ้าผ่อนภูษาก็หลุดลุ่ย ขืนให้อยู่บนเทพพิภพรังแต่<wbr>จะทำให้ เทพนครเสื่อมเสีย มาเถิดสหายทั้ง ๓๒ เอ๋ย มาช่วยกันจับเทพขี้เมาเหล่านี้<wbr>โยนลงสู่มหาสมุทรกันเถิด


    เมื่อเทพขี้เมาเหล่านั้น โดนจับโยนลงมหาสมุทร ร่างกระทบภาคพื้นพิภพใต้มหาสมุ<wbr>ทร เทพวิมานที่สำเร็จด้วยบุญฤทธิ์<wbr>ของเทพขี้เมาเหล่านั้นก็ปรากฏขึ<wbr>้น มีสภาพดุจดัง เทพนครบนสวรรค์มิได้ผิด จะต่างก็ตรงต้นปาริจฉัตตกะ ซึ่งมีอยู่บนเทพนครชั้นดาวดึงส์ แต่ในเทพพิภพมีแต่ต้นแคฝอย ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ต้นจิตตปาตลี


    เทพขี้เมาทั้งหลาย เมื่อฟื้นคืนสติขึ้นมา จึงได้รู้ว่าพวกตนถูกเทพบุ<wbr>ตรใหม่ทั้ง ๓๓ องค์ จับโยนลงมาอยู่ในมหาสมุทร ก็ให้นึกละอาย แล้วก็พากันดำริขึ้นว่า


    นี่คงเป็นเพราะชาวเราทั้งหลายมั<wbr>วเมาประมาท กินเหล้าจนขาดสติหลับไป จึงโดนเทพใหม่เหล่านั้นกลั่<wbr>นแกล้งให้ได้อาย เป็นเพราะน้ำเหล้าหอมนั้นเชียว


    เราทั้ง หลายเอ๋ย ต่อนี้ไปจงอย่ากินเหล้าอีกเลย ด้วยว่าดำริเช่นนี้ เทพขี้เมาเหล่านี้ ก็เลยเป็นเทพที่ไม่ยอมเมาอีกต่<wbr>อไป จนได้ชื่อว่า อสูร


    อสูรนั้น ได้พักอาศัยอยู่ใน อสูรพิภพ ซึ่งมีสภาพเหมือนกับเทพนครทุ<wbr>กอย่าง ซึ่งทุกอย่างก็สำเร็จได้ด้วยบุ<wbr>ญฤทธิ์ของตน ของตน ต่างตนต่างก็อยู่อย่างเป็นสุข สถิตสถาพร และมีหัวหน้าที่สำเร็จด้วยบุ<wbr>ญฤทธิ์ ชื่อว่า ท้าวเวปจิตติอสูร


    กาลต่อมา ลุถึงฤดูต้นแคฝอยออกดอก เหล่าอสูรทั้งหลายต่างพากั<wbr>นหวนคำนึงนึกถึง เทพนครสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของต้นปาริจฉั<wbr>ตตกะ มีดอกใหญ่สีสวยกลิ่นหอม เมื่อถึงคราวฤดูออกดอกก็ส่งกลิ่<wbr>นทำให้เทพนครหอมอบอวนเป็นที่รื่<wbr>นรมณ์ยิ่งนัก


    เหล่าอสูรทั้งหลาย ก็พากันหวนคำนึงระลึกถึง เทพนครสวรรค์ เวปจิตติอสูร ผู้เป็นหัวหน้า จึงชักชวนพลโยธา จัดเตรียมเป็นกองทัพ เพื่อไปชิงเอาเทพนครสวรรค์กลั<wbr>บมาเป็นของตน พร้อมทั้งยกทัพ ขึ้นไปท้ารบกับพระอินทร์


    องค์อินทราชจึงมีเทวบัญชา ให้ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ แต่งกองทัพเทวดาลงไปรักษาเชิ<wbr>งเขาพระสุเมรุในทิศทั้ง ๔ คอยสู้รบ รุกรับ ขับไล่ต่อกรกับพวกอสูร ซึ่งบางครั้งก็มีชัย บางครั้งก็พ่ายแพ้ คราใดที่ท้าวจาตุมทั้ง ๔ พ่าย ก็พาทัพเทวดาถอยร่นขึ้นไปจนถึ<wbr>งประตูสวรรค์ องค์อินทร์ก็ต้องคุมทัพออกมารุ<wbr>กไล่รบแก่ทัพอสูรด้วยพระองค์เอง และก่อนที่จะออกรบ องค์อินทรธิราช ได้ทรงตรัสสั่งแก่บรรดา พลเทวดาว่า


    ถ้าพลเทวดา หวาดกลัว สะดุ้ง และมีขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ก็ให้แลดูชายธงที่ปลิวไสวอยู่<wbr>บนราชรถศึกของพระองค์ หรือไม่ก็แลดูชายธงขององค์<wbr>เทวะชื่อปชาบดี ของพระวรุณเทวราช หรือพระอีสานเทวราชเพื่อเป็<wbr>นกำลังใจว่า ผู้นำ ผู้เป็นที่พึ่งของเรายังสถิตอยู<wbr>่กับเรา


    เหล่าบรรดาพลทหารเทวดาทั้งหลาย เมื่อได้แลเห็<wbr>นชายธงของมหาเทวะทั้ง หลายที่กล่าวนามมาแล้ว จึงมีกำลังมีใจที่ฮึกเหิม ทำสงครามอย่างเกรียงไกร มีชัย


    ในที่สุดอีกทั้งยังสามารถจับตั<wbr>วท้าวโพจิตราสูร หัวหน้าของอสูร ทั้งปวงได้


    ท้าวโพจิตราสูร เมื่อโดนจับก็ยิ่งผูกโกรธ กล่าวคำหยาบช้า ด่าว่าพระอินทร์และเทพที่เกิ<wbr>ดใหม่ทั้ง ๓๓ องค์ นานาประการ แต่หมู่เทพและองค์อินทร์ก็หาได้<wbr>โกรธไม่ อีกทั้งยังให้อภัย ปล่อยท้าวโพจิตราสูรให้เป็นอิ<wbr>สระ สงครามระหว่างเทวะกับอสูรก็<wbr>สงบลง แต่นั้นเป็นต้นมา


    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสต่<wbr>อไปว่า เช่นนั้นแลภิกษุทั้งหลาย คราใดที่เธอทั้งหลายไปอยู่ในป่<wbr>าก็ตาม อยู่ใต้โคนไม้ก็ตาม อยู่ในเรือนว่างก็ตาม อยู่ในที่รกชัฏก็ตาม ความหวาดกลัว ความสะดุ้งผวา ขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้นแก่<wbr>เธอ เธอทั้งหลายพึงชนะความกลัวเหล่<wbr>านั้น ด้วยการระลึกถึงเรา ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิ<wbr>ชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้<wbr>งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา เพื่อจะชนะความหวาดกลัว เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงคุ<wbr>ณของพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้<wbr>าทรงตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่บุคคลพึงเห็นรู้ได้<wbr>ด้วยตนเอง ไม่จำกัดกาลเวลาสามารถเรียกให้<wbr>ผู้อื่นมาดูได้ด้วย เป็นสิ่งที่บุคคลพึงน้อมเข้<wbr>ามาใส่ตน เป็นคุณสมบัติของผู้รู้ทั้งหลาย ดังนี้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายมิพึงระลึกถึ<wbr>งพระธรรม เพื่อจะครอบงำความกลัว เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงคุ<wbr>ณของพระสงฆ์ว่า เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง


    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ซึ่งมีอยู่ ๔ คู่ ๘ พวก พระสงฆ์สาวกเหล่านี้ เป็นผู้คงแก่การบูชา เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้คู่ควรแก่การรับทาน เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ดังนี้


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลาย พากันมาระลึกถึง คุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรมเจ้า คุณของพระสงฆ์เจ้า เห็นปานนี้ ความสะดุ้งกลัว หวาดผวา ขนพองสยองเกล้า จักมิอาจครอบงำเธอ ดังนี้แล
     
  9. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    บทสวดธชัคคสูตร

    ธชัคคสูตร



    .....เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ

    .....ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพะยุฬโห อะโหสิฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสะมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ

    .....อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ ปะชาปะติสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ

    .....อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ

    .....อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ ฯ

    .....ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุฉัมภี อุตะราสี ปะลายีติ ฯ

    .....อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสะมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ

    .....อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ - สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ

    .....สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ

    .....สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    .....สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะลายีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วัตะวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา

    อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเร วะ ภิกขะโว
    อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
    โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
    อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
    โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
    อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
    เอวัมพุทธัง สะรันตานังธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
    ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วาโลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ

    คำแปล


    ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้
    .....สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทั<wbr>บอยู่ที่พระเชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี<wbr>ใกล้พระนครสาวัตถี ใน เวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิ<wbr>กษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้าว่า “พระพุทธเจ้าข้า” ดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุ<wbr>ทธพจน์ต่อไปว่า
    .....ภิกษุทั้งหลาย เรื่องราวในอดีตกาลอันไกลโพ้<wbr>นเคยมีมา แล้ว ได้เกิดสงครามระหว่างเหล่<wbr>าเทวดากับเหล่าอสูรขึ้น ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เทพ ตรัสเรียกเทวดาในสวรรค์ชั้<wbr>นดาวดึงส์มาสั่งว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าพวกเทวดาเข้าสู่สงครามแล้<wbr>วเกิดความกลัว หวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ขอให้ท่านทั้งหลายแลดู<wbr>ยอดธงของเรา เพราะเมื่อพวกท่านแลดู<wbr>ยอดธงของเราแล้วความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จั<wbr>กหายไป
    .....ถ้าพวกท่านทั้งหลายแลดู<wbr>ยอดธงเราไม่ได้ ก็ขอให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่<wbr>อปชาบดี เพราะเมื่อท่านทั้งหลายมองดู<wbr>ยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จั<wbr>กหายไป
    .....ถ้าท่านทั้งหลายแลดู<wbr>ยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดีไม่ได้ ก็ให้แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุ<wbr>ณ เพราะเมื่อท่านแลดู<wbr>ยอดธงของเทวราช ชื่อวรุณแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จั<wbr>กหายไป
    .....ถ้าท่านทั้งหลายแลดู<wbr>ยอดธงของเทวราชชื่อวรุณไม่ได้ ก็ให้ แลดูยอดธงของเทวราชชื่ออีสาน เพราะเมื่อท่านแลดู<wbr>ยอดธงของเทวราชชื่ออีสานแล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จั<wbr>กหายไป
    .....ภิกษุทั้งหลาย แท้จริงแล้ว เมื่อเหล่าเทวดาทั้งหลายแลดู<wbr>ยอดธงของท้าวสักกเทวราช แลดูยอดธงของเทวราชชื่อปชาบดี แลดูยอดธงของเทวราชชื่อวรุณ หรือแลดูยอดธงของเทวราชชื่ออี<wbr>สาน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่ บางทีก็หายได้ บางทีก็ไม่หาย เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าท้าวสักกเทวราชยังไม่สิ<wbr>้นราคะ ยังไม่สิ้นโทสะ ยังไม่สิ้นโมหะ ยังกลัว ยังหวาดสะดุ้ง ยังต้องหนี
    .....ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราตถาคตกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าพวกเธอ ทั้งหลายไปอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ ตามบ้านร้าง หรือที่อื่นใดแล้วเกิด ความกลัว หวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้า ขอให้เธอทั้งหลายระลึกถึ<wbr>งเราตถาคตว่า
    .....“เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์<wbr>เองทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้<wbr>อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงเป็นครูของเหล่าเทวดาและมนุ<wbr>ษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ทรงมี<wbr>ความสามารถในการจำแนกธรรมสั่<wbr>งสอนสัตว์ ฯ”
    .....ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึ<wbr>งตถาคตอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จั<wbr>กหายไป
    .....ถ้าระลึกถึงตถาคตไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงพระธรรมว่า “พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้<wbr>าตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้<wbr>วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้<wbr>ผลได้ไม่จำกัดกาล สามารถ แนะนำผู้อื่นให้มาพิสูจน์ได้ว่า “ท่านจงมาดูเถิด” ควรน้อมนำมาไว้ในตัว ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ฯ”
    .....ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อท่านทั้งหลายระลึกถึ<wbr>งพระธรรมอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จั<wbr>กหายไป
    .....ถ้าระลึกถึงพระธรรมไม่ได้ ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า “พระสงฆ์เป็นสาวกของพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้วปฏิบัติ เพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่<wbr>องออกจากทุกข์ ปฏิบัติเหมาะสม ได้แก่บุคคล เหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงลำดับได้ ๘ ท่าน นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้ควรแก่สักการะที่<wbr>เขาน้อมนำมาบูชา ควรแก่สักการะที่เขาเตรียมไว้ต้<wbr>อนรับ ควรรับทักษิณาทาน เป็น ผู้ที่บุคคลทั่วไปควรให้<wbr>ความเคารพ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ”
    .....ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์แล้ว ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าที่มีอยู่จั<wbr>กหายไป ที่เป็นเช่นนี้เพราะตถาคตเป็<wbr>นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้<wbr>นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ ไม่มีความกลัว ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่หนี พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสพุทธพจน์นี้แล้วจึงตรั<wbr>สนิคมคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า
    .....ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายไปอยู่ตามป่า ตามโคนไม้ หรือตามบ้านร้าง ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าแล้<wbr>วพวกเธอก็จะไม่มี ความหวาดกลัว ถ้าพวกเธอทั้งหลายไม่สามารถระลึ<wbr>กถึงพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่ในโลก ผู้แกล้วกล้ากว่านรชน ก็ให้ระลึกถึงพระธรรม อันสามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์ ที่เราแสดงไว้ดีแล้วเถิด ถ้าพวกเธอไม่สามารถระลึกถึ<wbr>งพระธรรมที่สามารถนำสัตว์<wbr>ออกจากทุกข์อันเราแสดง ไว้ดีแล้ว ต่อจากนั้น ก็ให้ระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นเนื<wbr>้อนาบุญของโลกไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายน้อมรำลึกถึ<wbr>งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าก็จักไม่มีแล ฯ
     
  10. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    อภยปริตร

    นิทานธรรมมะ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td align="center"> [​IMG] </td></tr><tr><td> ตำนานพระปริตร : อภยปริตร
    ตำนาน

    ครั้ง หนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเพศ ๑๖ อย่าง แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบั<wbr>งเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์มีอั<wbr>นตรายอย่างหนึ่ง อย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย

    ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี คือ เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญ

    พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียม ประจำพิธีและสิ่งของ ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก

    ครา นั้น พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทูลขึ้นว่า เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธี<wbr>กรรมใด ๆ เลย ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไปรู้

    ราชาโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น

    พระ ผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ภัยอันตรายใด ๆจะพึงบัง เกิดมีแก่พระองค์ จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้น หามีไม่ สุบินนิมิตของพระองค์ เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้<wbr>นในอนาคต หวังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว และในที่สุดพระผู้มีพระภาค จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย

    บัด นี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บั<wbr>งเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญ

    บทสวดอภยปริตร

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
    ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
    และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
    ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
    ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
    และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
    ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า
    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
    ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
    และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
    ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์เจ้า
    </td></tr></tbody></table>
     
  11. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    วัฏฏกปริตร

    ตำนานวัฏฏกปริตร

    วัฏ ฏกปริตร นี้ มีนิยมให้พระสวดในงานขึ้นบ้<wbr>านใหม่ เปิดสถานที่ทำงานใหม่ เปิดโรงงานใหม่ เปิดฟาร์มใหม่ เปิดร้านใหม่ ถือเป็นมนต์ป้องกันอัคคีภัย อนุโลมตามเหตุ ที่บังเกิดขึ้นของมนต์บทนี้ ดังนั้น จึงเป็นมนต์ที่น่ารู้ น่าให้พระสงฆ์สวด ตามประเพณีที่ผู้ใหญ่นิยมทำกั<wbr>นมา
    วัฏ ฏกปริตร แปลว่า มนต์เครื่องป้องกันของพญานกคุ่ม คือ เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์<wbr>เสวยพระชาติเป็นนกคุ่<wbr>มทรงกระทำสัตยาธิษฐานห้ามไฟ ดังนั้น ท่านพระโบราณจารย์จึงได้อัญเชิ<wbr>ญพระปริตร ของพญานกคุ่มมาเข้าในพิธี<wbr>สวดมนต์ในงานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ดังกล่าวแล้ว แม้ในยันต์ของพระเวทย์ต่างๆที่<wbr>นิยมทำไว้ประจำบ้าน สำหรับท่านที่นิยมผ้ายันต์ เช่น ยันต์ฉิมพาลี เป็นต้น ก็นิยมทำยันต์นกคุ่มไว้ด้วย โดยถือว่ายันต์นกคุ่ม เป็นยันต์ป้องกันไฟ นี่แสดงว่า วัฏฏกปริตร ทรงอานุภาพเรืองนามอยู่ในกลุ่<wbr>มพระปริตรทั้งหลาย ปริตรหนึ่ง วัฏฏกปริตร นี้ มีตำนานเล่าไว้ว่า
    สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ในแคว้นมคขธรัฐ วันหนึ่งเสด็จเข้าไปบิ<wbr>ณฑบาตในพระนครพร้อมด้วยภิกษุทั้<wbr>งหลาย ครั้นเวลาปัจฉาภัต (ฉันเสร็จแล้ว) เสด็จดำเนินกลับผ่านป่าใหญ่ โดยพุทธประสงค์หาความสงัด เพื่อจะได้เร้นอยู่เป็นผาสุกวิ<wbr>หารตามสมณวิสัย
    ขณะ นั้น บังเอิญไฟไหม้ป่าลุกลามมาก เปลวไฟรุ่งเรือง ร้อนแรงทั้งลุกลามมาใกล้พระภิ<wbr>กษุทั้งหลาย ซึ่งขณะเดินติดตามพระผู้มี<wbr>พระภาคเจ้ามาด้วย ภิกษุที่ขลาดต่อมรณภัยก็ไม่<wbr>อาจสงบใจไว้ได้ ชวนเพื่อนหาอุบายป้องกันต่<wbr>างๆเป็นต้นว่า เราควรจะจุดไฟขึ้น เพื่อต้อนรับไฟป่าแล้วไฟป่<wbr>าจะถอยกลับไปไหม้ทางอื่น แต่ในที่สุดก็ถูกเพื่อนที่ฉลาด ใจหนักแน่น ตำหนิ ห้ามว่า “คุณพูดอะไร?” ปลา ดจริง ทำไมจึงไม่มองดูพระสัมมาสัมพุ<wbr>ทธเจ้าผู้เป็นยอดของบุ<wbr>คคลในโลกนี้ และแม้ทั้งเทวโลกพระองค์เสด็<wbr>จเป็นประธานอยู่ในหมู่เรา ไฉนพระองค์จะไม่ช่วยป้องกันปล่<wbr>อยให้ไฟไหม้พวกเราเล่า ช่างคิดไปได้ จะให้ไฟห้ามไฟ นี่แสดงว่าท่านไม่รู้กำลังของพุ<wbr>ทธานุภาพเลย ที่ถูกเราควรจะรีบคิดตามเข้<wbr>าไปใกล้พระองค์ เพื่อจะได้ประจักษ์ชัดว่<wbr>าพระองค์ทรงป้องกันพระองค์<wbr>และพวกเราให้พ้นอัคคีภัย ได้อย่างไร ว่าแล้วก็ชวนกันสาวท้าวรีบเดิ<wbr>นติดตามขึ้นไปล้<wbr>อมพระบรมศาสดาอย่างใกล้ชิด
    ครั้ง นั้น พระบรมศาสดาประทับยืนในท่<wbr>ามกลางภิกษุสงฆ์บริษัทเพื่อเผชิ<wbr>ญหน้ากับไฟป่ากำลัง ลุกลามมารอบๆแต่ด้วยพุทธานุภาพ ไฟป่าที่ลุกลามมาใกล้ได้หยุ<wbr>ดลงในที่ ๑๖ กรีสะ โดยรอบ เหมือนคบหญ้าดับลงด้วยกำลังน้ำ ฉะนั้น (คำว่า กรีสะ นั้นเป็นมาตราวัดพื้นที่โบราณ ๑ กรีสะ เท่ากับเนื้อที่ ๖๒ ตารางเมตร)
    เมื่อ ภิกษุเหล่านั้น ได้ประจักษ์พุทธานุภาพเป็นมหั<wbr>ศจรรย์ด้วยนัยน์ตาของตนเองอย่<wbr>างนั้น ก็สรรเสริญพระพุทธานุภาพด้<wbr>วยประการต่างๆพระบรมศาสดาจารย์<wbr>จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ตรงนี้ มิใช่เพียงแต่จะเป็นที่ป้องกั<wbr>นไฟในคราวนี้คราวเดียวเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ตรงนี้ มิใช่เพียงแต่จะเป็นที่ป้องกั<wbr>นไฟในคราวนี้คราวเดียวเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ตรงนี้ มิใช่เพียงแต่ จะเป็นที่ป้องกันไฟในคราวนี้<wbr>คราวเดียวเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ตรงนั้นจะไม่ถูกไฟไหม้อี<wbr>กตลอดเวลาอีกกับป์หนึ่ง ที่นี้ชื่อว่า กัปปัฏฐิติปาฏิหาริย์ ภิกษุทั้งหลาย ไฟป่าไหม้มาถึงสถานที่นี้แล้ว พับลงนั้น เป็นเพราะอานุภาพของเราในบัดนี้ ก็หาไม่ ที่ถูกนั้น ควรจะว่า เป็นเพราะอานุถาพของความสัตย์<wbr>ของเราในกาลก่อนโน้น”

    ครั้นพระ ผู้มีพระภาคเสด็จนั่งแล้ว ได้ทรงพระมหากรุณาตรัสเล่าถึ<wbr>งความเป็นมาของเรื่องนี้แก่ภิ<wbr>กษุทั้งหลาย ผู้กำลังกระหายฟังอยู่รอบๆที่<wbr>ประทับนั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้น พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็<wbr>นพญานกคุ่ม มีร่างกายใหญ่ อยู่ในราวไพรแห่งมคธรัฐนี้ เมื่อพญานกคุ่มออกจากไข่แล้ว ยังนอนอยู่ในรัง ด้วยยังไม่มีกำลังที่<wbr>จะไปหาอาหารกินเองได้ เพราะยังอ่อน ไม่มีกำลังที่จะกางปีกบินได้ และไม่มีกำลังที่จะยกเท้าเดิ<wbr>นได้ จึงยังตกเป็นภาระในการเลี้ยงดู<wbr>ของมารดาบิดา อนึ่งตามปกติป่าที่พญานกคุ่มอยู<wbr>่นี้ ไฟป่ามักจะลุกลามไหม้อยู่เป็<wbr>นประจำ ดังนั้นวันหนึ่งได้เกิดไฟป่<wbr>าไหม้ใหญ่โตเสียงสนั่นหวั่นไหว และลุกลามไหม้มาถึงสถานที่นั้<wbr>นด้วย ฝุงนกทั้งหลายกลัวความตายส่งเสี<wbr>ยงร้องอยู่อึ่งหมี ที่มีกำลังก็พากันบินหนีจากรั<wbr>งของตนๆ ไป แม้นกมารดาบิดาของพญานกคุ่มก็<wbr>อยู่ในทำนองนั้น เมื่อมองไม่เห็นวิธีใดที่จะช่<wbr>วยลูกได้ แม้จะรักลูกปานใดก็จำต้องทิ้<wbr>งให้พญานกคุ่มนอนเผชิญกับไฟป่<wbr>าแต่ตัวเดียว ตามวิสัยนกรีบบินหนีจากป่านั้<wbr>นไปจนสุดกำลัง ที่ไฟจะไหม้ลุกลามสืบไปไม่ได้
    พญา นกคุ่มโพธิสัตว์ นอนอยู่ในรังตัวเดียว ชูคอขึ้นมองดูไฟป่ากำลังไหม้ลุ<wbr>กลามอย่างน่าสะพึงกลัวยิ่ง พลางคิดว่า “ถ้าเรามีกำลังปีกบินได้ เราคงบินหนีไปเช่นเดียวกับนกทั้<wbr>งหลาย หรือว่า ถ้าเรามีกำลังขาเดินได้ เราคงต้องวิ่งหนีไฟ เช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย นี่มารดาบิดาก็หนีเราไปแล้ว คงมีเราผู้เดียว ขณะนี้ไม่มีสิ่งอื่นใดเป็นที่พึ<wbr>่ง เป็นที่ป้องกันสำหรับเราแล้ว เมื่อมองไม่เห็นที่พึ่<wbr>งในภายนอกแล้ว ทันใดนั้น พญานกคุ้มก็ระลึกถึงที่พึ่ง คือพระธรรมคุณ ที่พระสัพพัญญูพุทธเจ้าในอดีต ได้ทรงประกาศไว้ดีแล้ว ยังทรงคุณปรากฏอยู่ในโลกนี้ จึงได้ตั้งสัตยาธิษฐานขออานุภาพ พระธรรมคุณ บันดาลให้ไฟกลับ เพื่อให้ตนและลูกนกที่ยังเหลื<wbr>ออยู่ในป่านั้นได้ประสบความสวั<wbr>สดี ตามพระบาลีว่า “ อตฺถิ โลเก สีลคุโณ สจฺจํ โสเจยฺยนุทยา ” เป็นอาทิ
    ความ ว่า “แท้จริง ศีลคุณ สัจจะ ความหมดจดและความเอ็นดู ยังมีบริบูรณ์อยู่ในโลก ด้วยความสัตย์นั้น เราขอกระทำสัตยาธิษฐาน ซึ่งหาสิ่งอื่นใดเสมอมิได้ เราใคร่ครวญถึงกำลังพระธรรมแล้ว ระลึกถึงพระพุทธเจ้าในปางก่อน อาศัยกำลังแห่งความสัตย์นั้น จึงกระทำสัตยาธิษฐานว่า “ เรามีปีก แต่ไม่มีขน บินไม่ได้ เรามีขา แต่ไม่มีแรงยก เดินไม่ได้ เรามีมารดาบิดา แต่ทั้งทั้งสองกลัวภัยหนี<wbr>เราไปแล้ว ข้าแต่ไฟ ขอท่านจงกลับเสียเถิด ”
    ด้วย อานุภาพของสัตยาธิษฐานที่<wbr>พญานกคุ่มกระทำขึ้น ในทันใดไฟมีเปลวอันใหญ่ที่ลุ<wbr>กโรจน์โชตนาการ ได้เว้นสถานที่ของพญานกคุ่มไว้<wbr>ประมาณ ๑๖ กรีสะ โดยรอบ แล้วดับลงเหมือนคบหญ้าที่ลุ<wbr>กโพลงอยู่ด้วยไฟ ถูกกดให้จมลงในน้ำ ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอานุภาพของความสัตย์ ได้ช่วยป้องกันความวิบัติ ให้ความเกษมสำราญแก่พญานกคุ่ม ตลอดมวลสัตว์ทั้งหลายที่อาศั<wbr>ยอยู่ในป่านั้น และถึงความเจริญสืบมาจนอายุขัย
    เรื่อง พญานกคุ่มนี้ เป็นต้นเหตุให้ชาวพุทธ สนใจเชื่อมั่นในอานุภาพของวั<wbr>ฎฎกปริตร ที่พระโบราณาจารย์นิยมเป็นมนต์<wbr>สำหรับสวดในงานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ดังกล่าวแล้ว ถึงทำเป็นรูปยันต์นกคุ่มปิดบู<wbr>ชาไว้ตามบ้านเรือนก็มีไม่น้อย
    วัฏฏกปริตร*
    อัตถิ โลเก สีละคุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
    เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สั<wbr>จจะกิริยะมะนุตตะรัง
    อาวัชชิตวา ธัมมะพะลัง <wbr>สะริตวา ปุพพะเก ชิเน
    สัจจะพะละมะวัสสายะ <wbr> สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
    สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติ ปาทา อะวัญจะนา
    มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะเวทะ ปะฏิกกะมะ
    สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัชชะลิโต สิขี
    วัชเชสิ โสฬะสะ กะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถาสิขี
    สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ

    คำแปล
    คุณคือศีล สัจจะ ชีวิตที่สะอาด และความเอื้ออาทรมีอยู่ในโลก ด้วยความสัตย์นั้น ข้าพเจ้าจักกระทำสัจกิริยาอย่<wbr>างยอดเยี่ยม
    ข้าพเจ้าขอน้อมรำลึกถึงพลานุ<wbr>ภาพแห่งพระสัทธรรม น้อมรำลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้<wbr>ทรงพิชิตมารในอดีต ได้กระทำสัจกิริยา ยึดมั่นในกำลังแห่งสัจจะที่ข้<wbr>าพเจ้ามีอยู่ จึงขอทำสัจกิริยาว่า
    ปีกทั้งสองข้างของข้าพเจ้ามีอยู<wbr>่ แต่ก็ยังไม่แข็งแรงพอที่จะบิ<wbr>นได้ เท้าทั้งสองข้างของข้าพเจ้ามี<wbr>อยู่ แต่ก็ยังไม่แข็งแรงพอที่จะเดิ<wbr>นได้ พ่อแม่ก็พากันบินหนีไฟออกไปเสี<wbr>ยแล้ว พระเพลิงเอ๋ย ขอท่านจงดับเสียเถิด
    พร้อมกับเมื่อข้าพเจ้ากระทำสั<wbr>จกิริยา เปลวเพลิงที่ลุกโชนรุ่งโรจน์<wbr>ใหญ่หลวงนัก ก็กลับเว้นที่ไว้ ๑๖ กรีส เหมือนเปลวไฟตกถึงน้ำแล้วมอดดั<wbr>บ ฉะนั้น
    ไม่มีผู้ใดเสมอด้วยสัจจะของข้<wbr>าพเจ้า นี้คือสัจบารมีของข้าพเจ้าฯ
     
  12. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ตำนานอนันตลักขณสูตร

    ตำนานอนันตลักขณสูตร:p:p
    :p
    เมื่อ พระพุทธองค์แสดงธรรมจักกัปปั<wbr>ตตสูตรโปรดเบญจวัคคีย์จบ และพระโณฑัญญะได้ดวงตาเห็<wbr>นธรรมแล้วและได้รับการอุ<wbr>ปสมบถในสำนักของพระศาสดาใน วันเพ็ญเดือน ๘ แล้ว ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ก็ได้ทรงอธิ<wbr>บายขยายเนื้อความ พระธรรมจักรนั้นให้กับฤาษี<wbr>เบญจวัคคีย์ที่เหลือฟังต่อไปอี<wbr>กในวันต่อมา ท่านวัปปะก็ได้ดวงตาเห็นธรรมแล้<wbr>วก็ทูลขออุปสมบถ พระองค์ก็ประทานการอุปสมบถให้<wbr>เหมือนกับท่านโกณฑัญญะ วันต่อมา ท่านภัททิยะ ท่านมหานามะ และวันต่อมา ท่านอีสสชิได้ดวงตาเห็นธรรม และทูลขออุปสมบถตามลำดับ เมื่อทรงเห็นว่าเบญจวัคคีย์ทั้<wbr>งห้านั้นมีอินทรีย์ แก่กล้าควรที่จะเจริญวิปั<wbr>สสนากรรมฐานต่อไปได้ จึงได้ทรงแสดงอนันตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความย่อดังนี้
    :p:p
    :p
    ขันธ์ห้า คือรูปได้แก่ร่างกาย, เวทนา การเสสวยอารมณ์ที่เป็นสุขเป็นทุ<wbr>กข์หรือเฉยๆ, สัญญา ความจำหมายได้รู้ สังขาร สภาวธรรมที่เกิดกับจิต มีหน้าที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรื<wbr>อชั่ว และวิญญาณ ได้แก่จิต ขันธ์ทั้งหมดนี้เป็นอนัตตาไม่<wbr>ใช่ตัวตนไม่ใช่ตน ถ้าขันธ์ห้านี้เป็นตัวเป็นตนแล้<wbr>วไซร้ นธ์ห้าไม่พึงเป็นไปเพื่<wbr>อความอาพาธ และพึงหวังได้ว่าขันธ์ห้<wbr>าของเราจงเป็นอย่างนี้ หรือว่าจงอย่าเป็นอย่างนี้เลย เพราะขันธ์ห้าไม่เที่ยงจึงเป็<wbr>นทุกข์ สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ย่อมมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ควรเห็นว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา
    :p:p
    :p
    พระพุทธองค์ตรัสสอนเบญจวัคคีย์<wbr>ให้ละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์<wbr>ห้าเสีย โดยตรัสว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม ทั้งหมดเป็นแต่สักว่ารูป เป็นสักว่าเวทนา เป็นสักว่าสัญญา เป็นสักว่าสังขาร เป็นสักว่าวิญญาณเท่านั้น ควรพิจารณาเห็นตามที่เป็นจริ<wbr>งอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา พระอริยสาวกทั้งหลาย เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายแล้วย่<wbr>อมคลายความกำหนัดรักใคร่ เมื่อปราศจากความกำหนัดรักใคร่<wbr>แล้ว จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วย่อมเกิ<wbr>ดญานว่า จิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่ควรทำเพื่อความเป็<wbr>นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว

    :p

    เมื่อพระศาสดาทรงแสดงอนันตลั<wbr>กขณสูตรจบลง ปัญจัคคีย์ท้งห้าได้บรรลุ<wbr>พระอรหันตผลเป็นอริยบุคคลชั้นสู<wbr>งสุดในพระพุทธศาสนา
     
  13. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    บทสวด อนัตตลักขณสูตร

    บทสวด อนัตตลักขณสูตร พร้อมคำแปล

    เอวัมเม สุตัง
    อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
    พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทะเย
    เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิ<wbr>ปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
    ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคียเย ภิกขู อามันเตสิ
    ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์(ให้ตั้<wbr>งใจฟังภาษิตนี้ว่า)

    รูปัง ภิกขะเว อนัตตา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    รูปัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปนี้จักได้เป็นอัตตา(ตั<wbr>วตนของเรา)แล้ว
    นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ
    รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่<wbr>ออาพาธ(ความลำบาก)
    ลัพเภถะ จะ รูเป
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในรูปตามใจหวัง
    เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อโหสีติ
    ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อนัตตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปนั้นเป็นอนั<wbr>ตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    ตัสมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ
    เพราะเหตุนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    นะจะ ลัพภะติ รูเป
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปตามใจหวัง
    เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มาอโหสีติ
    ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    เวทนา อนัตตา
    เวทนา(คือความรู้สึกอารมณ์) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    เวทนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้จักได้เป็นอัตตา(ตั<wbr>วตนของเรา)แล้ว
    นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ
    เวทนานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่<wbr>ออาพาธ(ความลำบาก)
    ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในเวทนาตามใจหวัง
    เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ
    ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อนัตตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่เวทนานั้นมิใช่ตั<wbr>วตนของเรา
    ตัสมา เวทนา อาพาธายะ สังวัตตะติ
    เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    นะจะ ลัพภะติ เวทะนายะ
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวั<wbr>ง
    เอวัง เม เวทนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ
    ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    สัญญา อนัตตา
    สัญญา(คือความจำ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญานี้จักได้เป็นอัตตา(ตั<wbr>วตนของเรา)แล้ว
    นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ
    สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่<wbr>ออาพาธ(ความลำบาก)
    ลัพเภถะ จะ สัญญายะ
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสัญญาตามใจหวัง
    เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ
    ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยัสมา จ โข ภิกขะเว สัญญา อนัตตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัญญานั้นมิใช่ตั<wbr>วตนของเรา
    ตัสมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ
    เพราะเหตุนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    นะจะ ลัพภะติ สัญญายะ
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวั<wbr>ง
    เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ
    ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    สังขารา อนัตตา
    สังขารทั้งหลาย(คือสภาพที่เกิ<wbr>ดกับใจ ปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้จักได้เป็<wbr>นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
    นะ ยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง
    สังขารทั้งหลายนี้ก็ไม่พึงเป็<wbr>นไปเพื่ออาพาธ
    ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสังขารทั้<wbr>งหลายตามใจหวัง
    เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขาร มา อเหสุนติ
    ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อนัตตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายนั<wbr>้นมิใช่ตัวตนของเรา
    ตัสมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ
    เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่<wbr>ออาพาธ
    นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้<wbr>งหลายตามใจหวัง
    เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อเหสุนติ
    ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    วิญญาณัง อนัตตา
    วิญญาณ(คือใจ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
    วิญญานัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตา(ตั<wbr>วตนของเรา)แล้ว
    นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ
    วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่<wbr>ออาพาธ
    ลัพเภถะ จะ วิญญาเน
    อนึ่ง บุคคลพึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง
    เอวัง เม วิญญานัง โหตุ เอวัง เม วิญญานัง มา อโหสีติ
    ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
    ยัสมา จะ โข ภิกขะเว วิญญานัง อนัตตา
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณนั้นมิใช่<wbr>ตัวตนของเรา
    ตัสมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ
    เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
    นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเน
    อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในวิ<wbr>ญญาณตามใจหวัง
    เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อโหสีติ
    ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    รูปัง นิจจัง วา อนิจจัง วา ติ
    รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจจัง ภันเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุ<wbr>ขเล่า
    ทุกขัง ภันเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปะริณา มะธัมมัง
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตัง ภันเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    เวทะนา นิจจา วา อนิจจา วาติ
    เวทนาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจจา ภันเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุ<wbr>ขเล่า
    ทุกขัง ภันเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปะริณามะธัมมัง
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตัง ภันเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    สัญญา นิจจา วา อนิจจา วาติ
    สัญญาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจจา ภันเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุ<wbr>ขเล่า
    ทุกขัง ภัน เต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปะริณามะธัมมัง
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตัง ภันเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    สังขารา นิจจา วา อนิจจา วาติ
    สังขารทั้งหลายเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจจา ภันเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุ<wbr>ขเล่า
    ทุกขัง ภันเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปะริณามะธัมมัง
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กัลลังนุตัง สะมะนุปัสสิตุง
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตัง ภันเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

    ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
    ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
    วิญญาณัง นิจจังวา อนิจจัง วาติ
    วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
    อนิจจัง ภันเต
    ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุ<wbr>ขเล่า
    ทุกขัง ภันเต
    เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
    ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
    สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    วิปะริณามะธัมมัง
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
    ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
    เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เมอัตตาติ
    ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
    โน เหตัง ภันเต
    หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

    ตัสมาติหะ ภิกขะเว
    เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย
    ยังกิญจิ รูปัง
    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคะตะปัจจุปันนัง
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อัชฌัตตัง วาพหิทธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนัง วา ปณีตัง วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    ยันทูเร สันติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สัพพัง รูปัง
    รูปทั้งหมด ก็เป็นสักว่ารูป
    เนตัง มะมะ
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหะมัสมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    นะ เมโส อัตตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็<wbr>นจริงแล้วอย่างนี้

    ยากาจิ เวทะนา
    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกา วา สุขุมา วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนา วา ปณีตา วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    ยันทูเร สันติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สัพพา เวทะนา
    เวทนาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าเวทนา
    เนตัง มะมะ
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหะมัสมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    นะ เมโส อัตตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวะ เมตัง ยะถา ภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็<wbr>นจริงแล้วอย่างนี้

    ยากาจิ สัญญา
    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกา วา สุขุมา วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนา วา ปณีตา วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    ยันทูเร สันติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สัพพา สัญญา
    สัญญาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสัญญา
    เนตัง มะมะ
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหะมัสมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    นะ เมโส อัตตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวะ เมตัง ยะถา ภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็<wbr>นจริงแล้วอย่างนั้น

    เยเกจิ สังขารา
    สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่<wbr>ง
    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อัชฌัตตา วา พหิทธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกา วา สุขุมา วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนา วา ปณีตา วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    เยทูเร สันติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สัพเพ สังขารา
    สังขารทั้งหลายทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสังขาร
    เนตัง มะมะ
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหะมัสมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    นะ เมโส อัตตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็<wbr>นจริงแล้วอย่างนั้น

    ยังกิญจิ วิญญาณัง
    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง
    ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
    อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา
    ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
    โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา
    หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
    หีนัง วา ปณีตัง วา
    เลวก็ดี ประณีตก็ดี
    ยันทูเร สันติเก วา
    อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
    สัพพัง วิญญาณัง
    วิญญาณทั้งหมด ก็เป็นสักว่าวิญญาณ
    เนตัง มะมะ
    นั่นไม่ใช่ของเรา
    เนโสหะมัสมิ
    เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
    นะ เมโส อัตตาติ
    นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
    ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็<wbr>นจริงแล้วอย่างนั้นดังนี้

    เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่<wbr>อย่างนี้
    รูปัสสะมิงปิ นิพพินทะติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป
    เวทะนายะปิ นิพพินนะติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนา
    สัญญายะปิ นิพพินทะติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัญญา
    สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสังขารทั้งหลาย
    วิญญานัสมิงปิ นิพพินทะติ
    ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ
    นิพพินทัง วิรัชชะติ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายความติด
    วิราคา วิมุจจะติ
    เพราะคลายความติด จิตก็พ้น
    วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ
    เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ดั่งนี้
    ขีณา ชาติ. วุสิตัง พรัหมจริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ
    อริย สาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี<wbr>้มิได้มี

    อิทะมะโวจะ ภะคะวา
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง
    อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู
    พระภิกษุปัญจวัคคีก็มีใจยินดี
    ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง
    เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มี<wbr>พระภาคเจัา
    อิมัสสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
    ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
    ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุตจิงสูติ
    จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์พ้<wbr>นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล

    จบ อนัตตลักขณสูตร
     
  14. pintongpun

    pintongpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +267
    ผมได้ส่ง PM ไปแล้วไม่ทราบคุณปัตจะตังได้รับหรือยังครับ หากได้รับแล้วขอความกรุณาชี้แนะผมด้วยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
     
  15. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ทักทาย เล่าสู่กันฟัง จากปัตจะตัง

    สำหรับเพื่อน ๆ ที่ติดตามกระทู้นี้และได้รับการพยากรณ์ แนะนำเรื่องพื้นฐานการปฏิบัติธรรม สมาทานศีลห้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ(ขึ้นกองกรรมฐานก่อนจะมีกำลัง)แผ่เมตตา อธิษฐานจิต คงทราบแล้วว่าดีอย่างไร จะค่อยๆ มีมาเพิ่มเติมต่อๆไปนะค่ะ บทสวดมนต์ที่ให้สวดนั้นมีคำแปล รวมทั้งตำนานเหตุเกิดบทสวดมนต์นั้น ลองอ่านดูนะค่ะ แล้วบทไหนที่ตรงกับตนเอง ก็นำไปสวดได้นะค่ะ (สำหรับคนที่ยังไม่ได้รับการพยากรณ์ก็ได้ค่ะ) ส่วนคนที่พยากรณ์แล้ว ก็จะแนะนำให้ตรงจุดเสียของตนเองแล้ว
    ส่วนที่พยากรณ์ไปแล้ว คำถามที่ถามมาก็คือจุดที่เป็นจุดบอดในการดำเนินชีวิตของแต่ละคน เป็นกรรมที่ต้องมาชดใช้ในชาตินี้ ยังไงก็หนีไม่พ้น ชดใช้ อโหสิกรรมเท่านั้นจึงจะหมดกรรม
    การที่ตั้งชื่อหัวข้อกระทู้นี้ว่า พยากรณ์กรรม ก็มีความหมายนะค่ะ
    การพยากรณ์ คือ การทำนาย คาดเดา เหตุการณ์ อดีต ปัจจุบัน อนาคต
    กรรม คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
    ถ้าเราประกอบกุศล กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เราก็จะได้รับสิ่งที่เป็นกุศล (เหตุ - ผล)
    ถ้าเราประกอบอกุศล กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เราก็จะได้รับสิ่งที่เป็นอกุศล (เหตุ - ผล)
    ไม่ว่าจะบุคคลใด สรรพสัตว์ใด ทุกชีวิต ทุกดวงจิต ที่ยังเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสาร
     
  16. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    คำอธิษฐาน

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]คำอธิษฐาน[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ขอผลบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ส่วนใดที่เป็นบุญเป็นกุศล ข้าพเจ้าขอถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และอุทิศถวายต่อ บิดา มารดา เทพ เทวา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองดูแลรักษาข้าพเจ้า ท่านพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย พระพรหมทั้งหลาย และเทวดาทั้งหลาย เจ้าที่ เจ้าทาง ขอท่านโปรดช่วยให้บุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วนี้จงส่งผลให้ข้าพเจ้าได้บรรลุธรรมและเจริญในบุญบารมีชั้นสูงยิ่งๆขึ้นไป ช่วยเปิดโชค เปิดลาภ เปิดทิศ เปิดทางประทานแสงสว่าง เปลี่ยนสิ่งที่ร้ายให้กลับกลายเป็นดี เกิดความมั่งมีศรีสุข ขอให้ได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าและพระอริยบุคคลทั้งหลาย ขอให้ข้าพเจ้าจงได้ตาทิพย์ หูทิพย์ เจโตปริยญาณ พร้อมด้วยดวงตาเห็นธรรมสำเร็จมรรคผลพระนิพพานโดยเร็วพลันเถิด[/FONT]
    [FONT=&quot] ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีปัญญาญาณ มีความเฉลียวฉลาด ฟังธรรมแม้เพียงเล็กน้อยก็เกิดปัญญาญาณรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งหลาย รู้แจ้งเห็นธรรมแม้ตั้งแต่เพียงปฐมวัย มีพระรัตนตรัยเป็นสรณเป็นที่พึ่งทุกภพทุกชาติ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา มีกำลังแห่งอินทรีย์ในการที่จะทำลายอาสวกิเลสให้สิ้นไปเป็นสมุทเฉทประหาร[/FONT] [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] ขอให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มีทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ ในการที่จะกระทำบำเพ็ญกุศลอยู่ทุกเมื่อ ขออย่าได้มีอุปสรรคใดๆมาขัดขวางการกระทำบำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้ทำบุญกับเนื้อนาบุญอันประเสริฐมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานพร้อมด้วยหมู่แห่งพระอริยบุคคลทั้ง ๘ ทั้งหลาย[/FONT]
    [FONT=&quot] เกิดภพใด ชาติใด ขอให้ข้าพเจ้าจงมีโภคทรัพย์สมบัติมากมาย สมบูรณ์ บริบูรณ์ ถึงพร้อมด้วยกาลสมบัติ บริวารสมบัติ ทรัพย์สมบัติ กุลสมบัติ ปัญญาสมบัติ และสมบูรณ์ในมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ บรรลุนิพพานสมบัติโดยเร็วเถิด ด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญของข้าพเจ้าทั้งหลายจงทำให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ และปัญญาญาณอยู่ทุกเมื่อ อย่าได้ประมาท มัวเมา เดินหลงผิดทาง [/FONT]
    [FONT=&quot]ปฏิบัติผิดทาง ขอให้ข้าพเจ้าปฏิบัติตนอยู่ในวิสุทธิศีล ตั้งตนตั้งมั่นอยู่ในสัมมาทิฐิ สัมมามรรค สัมมาปฏิบัติ ขอให้ข้าพเจ้าจงพ้นจากสรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย สรรพเคราะห์ เสนียดจัญไรทั้งหลายจงพ้นไปจากตัวของข้าพเจ้า[/FONT]
    [FONT=&quot] ถ้าหากข้าพเจ้ายังไม่ถึงมรรคผลนิพพานแล้วเพียงใด ขึ้นชื่อว่าความทุกข์ ความเศร้าโศก ความเดือดร้อน ความเศร้าหมอง ความว่าไม่รู้ ความว่าไม่มี ความขัดข้องใดๆ ความขัดเคืองใดๆ จงอย่าได้ปรากฏมีแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความคล่องตัวในทุกประการ ปรารถนาสิ่งใดในทางที่ชอบธรรมแล้วขอให้สำเร็จตามเจตนามุ่งมาตรปรารถนาทุกประการเทอญ[/FONT] [FONT=&quot]ขอให้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาล เหลือกิน เหลือใช้ เหลือเก็บอย่าได้มีความขัดเคือง ขัดสน แม้แต่ประการใดเลย ขอให้ข้าพเจ้าจงมีแต่ความสุขสวัสดี พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูลผล ในทุกภพชาติกำเนิด อย่าได้ตกไปสู่โลกที่ชั่วคือนรก เปรต อสุรกายและสัตว์เดรรัจฉาน[/FONT]
    [FONT=&quot] อนึ่งขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีเมตตามหานิยมเป็นที่รักใคร่เมตตา เอ็นดู ของหมู่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย บุคคลใดได้เห็น ได้พบ ได้พูด ได้คุย จงเกิดความเมตตา เอ็นดู และมีความเลื่อมใสในตัวของข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ขอให้ข้าพเจ้าเกิดอยู่ในหมู่แห่งบัณฑิต และสัตบุรุษทั้งหลาย ขอให้ห่างไกลจากคนพาลมารอกุศล อย่าได้พบเห็นคนพาล ขอให้คนดีมีกุศลมาอุดหนุนค้ำจุนช่วยเหลือให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรมเถิด[/FONT]
     
  17. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    คำอธิษฐานจิต

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]-->
    [FONT=&quot]คำอธิษฐานจิต[/FONT][FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
    [FONT=&quot] ขอให้ทรัพย์นี้เป็นทรัพย์ต่อทรัพย์ เป็นบุญต่อบุญ เป็นสมบัติต่อสมบัติ ให้ข้าพเจ้ามีมหาสมบัติเอาไว้ทำทานไม่รู้จักหมดจักสิ้น ตั้งแต่แรกเกิด จนสิ้นอายุขัย ขอให้ทรัพย์ที่ได้มา เป็นทรัพย์ที่สะอาดบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญมหาทานบารมี กับเนื้อนาบุญของโลก[/FONT]
    [FONT=&quot] ขอให้ข้าพเจ้า มีความสะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ เอาชนะอุปสรรคทั้งปวง ให้มีสุขภาพแข็งแรง อายุขัยยืนยาว ได้สร้างความดี ตลอดชีวิตทุกชาติไป เมื่อจะละสังขาร ขอให้จิตผ่องใส ละจากกายมนุษย์แล้ว ให้เกิดใหม่ ด้วยทิพยกาย แล้วกลับไปสู่เทวโลกตามกำลังบุญของข้าพเจ้า ครั้นจะกลับมาเกิด ให้เกิดในดินแดนที่รุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา เกิดในตระกูลสัมมาทิฐิ ครอบครัวมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ค้ำจุนพระพุทธศาสนา ให้ได้สร้างแต่ความดี และบรรลุธรรมตั้งแต่เยาว์วัย รักษาได้มั่นคงจนสิ้นอายุขัย ให้ได้ที่สุดแห่งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ห่างไกลจากคนพาลทั้งหลาย คนพาลและศัตรูครอบงำไม่ได้ สร้างบารมีรุดหน้าไปไม่ถอยหลังกลับ อย่าพลาดพลั้งกระทำความผิด มีชีวิตเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งแสวงบุญ สร้างบารมี อยู่ในสุคติ ไม่พลัดไปอบาย[/FONT]
    [FONT=&quot] ความชั่วแม้เล็กน้อย อย่าได้คิด อย่าได้พูด อย่าได้ทำ ให้ได้ทำแต่ความดี ตราบชีวีหมดสิ้นอายุขัย บาปกรรมอันใด ที่ผิดพลาดทำไป ตั้งแต่ปฐมชาติ ปฐมกัป ทั้งหมดทั้งสิ้น ขออย่าได้ตามทัน ไม่มีโอกาสส่งผลตลอดไป บุญกุศลใด ที่ตั้งใจกระทำไว้ดีแล้ว ให้ ส่งผลก่อน ส่งผลศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธิ์มีเดช มีอานุภาพ เป็นอัศจรรย์ทันตาเห็น ขอให้คำอธิษฐานทั้งปวงนี้ จงเป็นผลสำเร็จ ติดตามข้าพเจ้า ไปทุกภพทุกชาติ ตราบกระทั่งเข้าสู่พระนิพพานเทอญ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ[/FONT]
    [FONT=&quot] [/FONT]
     
  18. harryp05

    harryp05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +123

    สาธุค่ะ กับทุกบทสวดมนต์ และสิ่งดีๆ ที่นำำมาลงให้อ่านกัน

    แต่ว่าคุณปัตจะตังยังไม่ได้ช่วยดู และแนะนำให้เลยค่ะ รบกวนด้วยนะคะ
     
  19. diya

    diya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,950
    ค่าพลัง:
    +13,031
    ขออนุโมทนาสาธุค่ะ ขอหยิบยืมไปใช้สวดตามโอกาสบ้างนะคะ
     
  20. รัตนชาติ

    รัตนชาติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +93
    ยินดีค่ะ และขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...