พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันนี้นำเสนอพระพิมพ์ทวารวดีของสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้าท่านหนึ่งครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010023.JPG
      P1010023.JPG
      ขนาดไฟล์:
      187 KB
      เปิดดู:
      73
    • P1010024.JPG
      P1010024.JPG
      ขนาดไฟล์:
      204.5 KB
      เปิดดู:
      73
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไม่ตรวจทางนามจะทราบหรือว่า องค์นี้คือสมเด็จอัศจรรย์โกลาฤกษ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    วันนี้ผมคิดว่าคุณหนุ่มท่าจะเหนื่อยกับผมมาก เพราะผมขุดตรงนั้นที ตรงนี้ที เละเทะไปหมดแล้ว ..ก๊ากกกกกกก มาช่วยกลบหน่อยเร็วววท่านเลขาฯ...
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 14 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 10 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>:::เพชร:::, chantasakuldecha+, dragonlord+, sithiphong+ </TD></TR></TBODY></TABLE>เจ้าของพระทวารวดีมาพอดี...เหมือนจะรู้เลยนะ..55555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2009
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ผมเองมีพิมพ์นี้อยู่เช่นกัน เพียงแต่องค์ผู้อธิษฐานจิต จะเป็นกลุ่มหลวงปู่องค์อภิญญาใหญ่ครับ ซึ่งกลุ่มองค์อภิญญาใหญ่ ที่ทราบมีหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน , หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงปู่บุญวัดกลางบางแก้ว ,พระสังฆราช (แพ) เป็นต้นครับ

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    กลบไม่ไหวครับ

    พึ่งเคลียงานเสร็จครับ

    ยอมมมมมมมมมมมม
    แล้ววววววววววววววววววว
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG]

    อ่า หาไม่ได้แน่นอนครับ ผมเองเหลือไม่กี่องค์แล้วเช่นกัน

    ท่านรองเพชร แบ่งให้ผมบ้างนะครับ
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ่า นำมาให้ผมชมบ้างสิครับ

    [​IMG] [​IMG]

    ได้โปรดเถอะ :'(
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    น้องเขา"ฆ้อน"ผมแล้ว เลยต้องนำพระทวารวดีของสมาชิกรักษ์พระวังหน้าอีกท่านมาให้ชมกัน..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    "เตาไมโครเวฟ" ใช้ผิดวิธี..เสี่ยงอันตราย!

    ˹ѧ

    http://www.khaosod.co.th/view_news....ionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBd09TMHhNUzB3TlE9PQ==

    "เตาไมโครเวฟ" ใช้ผิดวิธี..เสี่ยงอันตราย!



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>เตือนภัย "ไมโครเวฟ" ใช้ผิดวิธีโดยไม่ระมัดระวัง อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง

    ปัจจุบัน ไมโครเวฟเป็นเครื่องไฟฟ้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกและแทบทุกครัวเรือนมีอยู่ติดบ้าน แต่ถ้าไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย จึงออกประกาศเตือนข้อแนะนำการใช้ไมโครเวฟอย่างถูกวิธี

    นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้อง กันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า "เตาไมโครเวฟ" เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการปรุงและอุ่นอาหาร แต่หากใช้อย่างไม่ถูกวิธีอาจได้รับอันตรายจากคลื่นไมโครเวฟ หรือถูกไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าชอร์ต ระเบิด หรือเพลิงไหม้ได้ จึงขอแนะนำวิธีใช้เตาไมโครเวฟอย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    1. นำอาหารที่จะปรุงหรืออุ่นใส่เตาไมโครเวฟ และปิดประตูให้สนิท ตั้งอุณหภูมิและเวลาให้เหมาะสมกับลักษณะของอาหาร แล้วปล่อยให้เครื่องทำงานไปจนครบกำหนดเวลาที่เตาจะปิดเครื่องเองโดยอัตโนมัติ อย่าเปิดประตูก่อนที่เครื่องจะตัดการทำงาน

    2. ไม่ยืนใกล้ๆ หรือแนบหน้าดูอาหารในเตาไมโครเวฟ เพราะอาจได้รับอันตรายจากคลื่นไมโครเวฟที่รั่วไหลออกมา รวมถึงไม่นำอาหารที่อุ่นในเตาไมโคร เวฟบรรจุไว้ในภาชนะที่ติดไฟง่าย เช่น จานกระดาษ กระดาษฟอยล์ ภาชนะโลหะมีขอบเคลือบเป็นโลหะมันวาว แก้วคริสตัล และห้ามนำวัตถุเคมี กระดาษ ดอกไม้แห้ง ผ้าหรือวัสดุติดไฟง่าย สมุนไพรแห้ง ไข่ดิบทั้งฟอง อาหารที่บรรจุในภาชนะสุญญากาศมาอบหรืออุ่นในเตาไมโครเวฟ เพราะอาจเกิดการระเบิดจนติดประกายไฟและเกิดเพลิงไหม้ได้

    3. ขณะอุ่นอาหารในเตาไมโครเวฟ ควรเจาะรูอาหารที่บรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิด เพื่อให้ไอน้ำในอาหารระเหยได้ง่าย จะช่วยป้องกันการพองตัวและการระเบิดของอาหาร

    สำหรับวิธีการต้มน้ำ ห้ามต้มน้ำในภาชนะผิวเรียบ เซรามิกหรือแก้วด้วยเตาไมโครเวฟ เพราะน้ำที่ต้มอาจระเบิดได้ เนื่องจากน้ำที่ต้มด้วยเตาไมโครเวฟมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของน้ำปกติโดยไม่มีอาการเดือดแสดงให้เห็นแต่อย่างใด เมื่อยกน้ำที่ต้มเดือดออกจากเตาไมโครเวฟ ให้ปล่อยทิ้งไว้สักประมาณ 30 วินาที - 1 นาที จึงค่อยเปิดฝาภาชนะ เติมชา กาแฟ หรือใช้ช้อนคนน้ำ เพราะหากน้ำถูกรบกวนในทันทีที่ยกน้ำออกจากเตาไมโครเวฟจะทำให้น้ำเดือดอย่างฉับพลัน จนเกิดเป็นระเบิดน้ำเดือดขนาดย่อมพุ่งกระเด็นใส่ร่างกาย ทำให้ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นบางส่วน เกิดแผลพุพองตามใบหน้าและร่างกาย

    หลังใช้เตาไมโครเวฟเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรสวมถุงมือทุกครั้งที่นำภาชนะออกจากเตาไมโครเวฟ เพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อนของภาชนะ ห้ามนำเตาไมโครเวฟที่ชำรุด หรือมีไฟฟ้ารั่วมาใช้งาน รวมถึงติดตั้งสายดินกับเตาไมโครเวฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดในขณะนำอาหารเข้าและออกจากเตาไมโครเวฟ
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ศูนย์กลางพุทธศาสนาเก่าที่สุดในประเทศไทย

    คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม

    ˹ѧ

    เมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ศูนย์กลางพุทธศาสนาเก่าที่สุดในประเทศไทย

    คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม

    http://www.matichon.co.th/matichon/v...day=2009-11-05

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (แถวบนสุด-จากซ้ายไปขวา) ภิกษุอุ้มบาตรทำด้วยดินเผา แสดงการรับอิทธิพลพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ พบที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี (แถวล่าง-จากซ้ายไปขวา) บาตรดินเผาใส่เหรียญกษาปณ์รูปสังข์ พบที่คอกช้างดิน เมืองอู่ทอง

    (แถว 2 ?จากซ้ายไปขวา) คนชาติภาษาต่างๆ ที่เดินทางเข้ามาแลกเปลี่ยนค้าขายสิ่งของกับภูมิภาคสุวรรณภูมิสืบเนื่องถึงสมัยหลังๆ มีหลักฐานปูนปั้นรูปหน้าคนชาติภาษา พบทั่วไปตั้งแต่เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี, เมืองนครชัยศรี จ.นครปฐม, และที่เมืองคูบัว จ.ราชบุรี ฯลฯ

    (แถว 3) ตะเกียงโรมัน พบที่ ต.พงตึก จ.กาญจนบุรี บนเส้นทางเมืองอู่ทอง

    (แถวล่างสุด-จากซ้ายไปขวา) เหรียญโรมัน พบที่เมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นักโบราณคดีกรมศิลปากรอธิบายว่า ด้านหน้ามีรูปพระพักตร์ด้านข้างของจักรพรรดิซีซาร์ วิคโตรินุส (กษัตริย์โรมัน ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.812-814) สวมมงกุฎยอดแหลมป็นแฉก มีตัวอักษรล้อมรอบอยู่ริมขอบของเหรียญ IMP C VICTORINUS PF AUG ซึ่งเป็นคำย่อของ Imperator Caesor Victorinus Pius Ferix Auguste แปลว่า จักรพรรดิซีซาร์ วิคโตรินุส ศรัทธา ความสุข เป็นสง่า ส่วนด้านหลังของเหรียญเป็นรูปของเทพีอาธีนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ตัดทอนมาปรับปรุงใหม่จาก ประวัติวัฒนธรรม ลุ่มน้ำทวน-จรเข้สามพัน รายงานการสำรวจข้อมูลวัฒนธรรมสมัยโบราณในลุ่มน้ำทวน (จ.กาญจนบุรี)-จรเข้สามพัน (จ.สุพรรณบุรี) สิงหาคม-กันยายน 2552

    คณะดำเนินการ รองศาสตราจารย์ สุรพล นาถะพินธุ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

    คณะทำงาน นายภีร์ เวณุนันท์, นางสาวปรมปณต แก้วนนท์, นายกวิฎ ตั้งจรัสวงศ์, นายปติสร เพ็ญสุต, นางสาววิราวรรณ นฤปิติ, นางสาวณัฐภรณ์ ทัศนภิรมย์

    สนับสนุนทุนสำรวจโดย บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)

    อ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ใน www.sujitwongthes.com



    เมืองอู่ทอง ในเอกสารชมพูทวีป (อินเดีย) กับลังกาทวีป (ลังกา) เรียก "สุวรรณภูมิ" ส่วนเอกสารจีนเรียก "จินหลิน"

    ล้วนมีความหมายเหมือนกันคือ ดินแดนทอง ตรงกับชื่อในตำนานว่า อู่ทอง

    ที่ตั้งเมืองอู่ทอง อยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน โดยมีเส้นทางน้ำเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน คือลำน้ำทวน กับ ลำน้ำจรเข้สามพัน



    แม่น้ำทวน เป็นทางน้ำที่แยกจากแม่น้ำแม่กลองที่บริเวณใกล้เขื่อนวชิราลงกรณ์ (อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี) แนวของแม่น้ำไหลขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเกือบตรงกันข้ามกับทิศทางไหลของแม่น้ำแม่กลองที่เป็นต้นน้ำ จึงถูกเรียกว่าแม่น้ำทวน

    ช่วงครึ่งท้ายของแม่น้ำสายนี้เรียกว่าแม่น้ำจรเข้สามพัน ไหลขึ้นต่อไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงบริเวณเมืองอู่ทอง (อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี) จึงไหลเฉียงลงตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วระบายลงสู่แม่น้ำสุพรรณบุรีหรือแม่น้ำท่าจีน (ที่ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี)

    อาจเป็นไปได้ว่าแม่น้ำทวน-จรเข้สามพันเกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลในช่วงเวลาประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว มีแหล่งโบราณคดีที่เคยเป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระจายอยู่อย่างน้อย 17 แหล่ง รวมทั้งพบว่าบางแหล่งยังเป็นชุมชนที่ผู้คนอยู่อาศัยต่อมาในสมัยหลัง ช่วงที่นิยมศิลปะแบบทวารวดีอีกด้วย

    การใช้แม่น้ำทวน-จรเข้สามพันเป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญเพื่อประโยชน์ด้านต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนค้าขาย อาจปรากฏขึ้นตั้งแต่ราว 2,200-2,300 ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย



    1. "อู่ทอง" ศูนย์กลางพุทธศาสนาเก่าที่สุดของรัฐทวารวดี

    อู่ทองเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีร่องรอยการติดต่อกับอินเดียมาตั้งแต่หลัง พ.ศ.200-400 (พุทธศตวรรษที่ 3-5) <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (ภาพขวา) นายบรรหาร ศิลปอาชา แนะนำแนวทาง "แบ่งปันความรู้ เชิดชูศาสนา พัฒนาแหล่งน้ำลำคลอง" บริเวณคูน้ำคันดิน เมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา

    ทีมข่าวประชาชื่น มีรายงานในมติชน (ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2552 หน้า 21) ว่า คูน้ำคันดินเมืองอู่ทอง อยู่ใกล้ๆ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง ถนนมาลัยแมน ติดกับคลองชลประทาน เยื้องไปทางทิศเหนือ ลักษณะคูเมืองเป็นวงรี ซึ่งปัจจุบันมีสภาพตื้นเขินและจอกแหนวัชพืชขึ้นปกคลุมเต็มไปหมด

    คูเมืองที่จะมีการขุดคลอง และปรับปรุงภูมิทัศน์ในอนาคต แบ่งเป็น 2 โครงการ

    โครงการแรกเป็นการขุดลอกคูคลองระยะทาง 3 กิโลเมตร สร้างสะพานข้ามให้ชุมชนแทนสะพานไม้เดิม ให้มีทางเท้าสำหรับคนเดิน ติดไฟฟ้า พร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ตกแต่งให้สวยงาม

    โครงการที่สองเป็นการสร้างสถานีสูบน้ำสำหรับแก้ปัญหาน้ำท่วมด้วย เผื่อเวลาน้ำท่วมจะได้สูบออก หรือน้ำแห้งก็สูบน้ำเข้าจากคลองจรเข้สามพัน

    เพื่อให้คูเมืองเดิมของอู่ทอง มีความงดงามและรักษาไว้เป็นโบราณสถาน ที่แสดงความเป็น "เมืองอู่ทองของสุพรรณบุรี" ที่มีมาแต่โบราณ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ต่อมาอู่ทองเป็นเมืองท่าสำคัญของรัฐทวารวดี และเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของทวารวดี พุทธศาสนาที่ว่าคงจะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาแบบเถรวาทจากอินเดียใต้และลังกา

    "อู่ทอง" มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "สุวรรณภูมิ" ดินแดนที่พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีปที่มีอายุอยู่ในช่วงราว พ.ศ.200-300 ได้ส่งพระสมณทูต อุตตรเถระ และโสณเถระ มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาท แต่ไม่เคยพบหลักฐานอยู่ในจารึกของพระเจ้าอโศกเลย ผิดจากการส่งสมณทูตไปยังดินแดนอื่นๆ มีจารึกของพระองค์ระบุไว้อย่างชัดเจน

    หลักฐานเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการที่พระองค์ส่งสมณทูตมายังสุวรรณภูมิระบุอยู่ใน มหาวงศ์พงศาวดารลังกา ที่มีอายุอ่อนลงมาอีกมาก ความเข้าใจเรื่องดังกล่าวในอุษาคเนย์จึงมีรากฐานที่สำคัญมาจากการติดต่อสัมพันธ์กับลังกาเสียมากกว่า ซึ่งหมายถึงทั้งเครือข่ายของพระพุทธศาสนาเถรวาทและการค้า

    ดังนั้น การที่เมืองอู่ทองมีหลักฐานต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนรับวัฒนธรรมศาสนา จนถึงสมัยที่รับวัฒนธรรมศาสนาแล้ว ซ้ำยังดูเหมือนว่ามีลักษณะเชิงช่างที่เก่าแก่กว่าเมืองอื่นๆ ในวัฒนธรรมทวารวดี

    จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเมืองอู่ทองเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาอย่างเถรวาทที่เก่าแก่ที่สุดในวัฒนธรรมทวารวดีได้ แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวพันกับเรื่องการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกที่มีอายุเก่ากว่าหลักฐานเนื่องในพุทธศาสนาในเมืองอู่ทองราว 700 ปีเลยก็ตาม



    2. พระเจ้าอู่ทอง ไม่ได้มาจากเมืองอู่ทอง

    ไม่มีหลักฐานยืนยันได้เลยว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากเมืองอู่ทอง

    เมื่อพิจารณารากศัพท์แล้ว ชื่อ "อู่ทอง" คงจะสัมพันธ์กับคำว่า จินหลิน และสุวรรณภูมิ ในบันทึกของจีน และอินเดีย ตามข้อคิดเห็นของ มานิต วัลลิโภดม มากกว่า

    พระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง รายงานเสด็จตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี และ นิทานโบราณคดี เป็นหลักฐานชิ้นเก่าแก่ที่สุดที่พยายามอธิบายถึงพัฒนาการของเมืองอู่ทองอย่างจริงจัง เนื้อความตอนหนึ่งทรงสันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา น่าจะเคยครองราชย์ที่เมืองอู่ทองมาก่อน

    แต่เมืองอู่ทองจึงไม่ได้ร้างไปในช่วงหลัง พ.ศ.1700 แต่มีร่องรอยพัฒนาการทางงานช่างที่ต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ เมื่อพิจารณาจากเครือข่ายปริมณฑลของอู่ทอง โดยสัมพันธ์อยู่กับวัฒนธรรมขอมเสียมาก

    ร่องรอยของวัฒนธรรมขอมที่ว่าเป็นอย่างที่พบอยู่ทั้งใน ลพบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และเพชรบุรี กลุ่มวัฒนธรรมเหล่านี้ค่อยตกผลึกกลายเป็นกรุงศรีอยุธยาในช่วงแรกเริ่ม อู่ทองในฐานะเครือข่ายของวัฒนธรรมขอมลุ่มน้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ.1700-1900 จึงชวนให้คิดไปได้ว่า เมืองอู่ทองสัมพันธ์กับเครือข่ายของพระเจ้าอู่ทองในตำนาน <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    แผนที่แสดงแนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยและแม่น้ำที่สำคัญสมัยโบราณ เมื่อระหว่าง 6,000-3,000 ปีมาแล้ว (ดัดแปลงจาก Somboon Jarupongsakul, 1990, Geomorphology of the Chao Phraya Delta, Thailand, P. 63)</TD></TR></TBODY></TABLE>



    3. "อู่ทอง"ไม่เคยร้างมีชุมชนต่อเนื่องถึงอยุธยา

    เมืองอู่ทองมีประชากรอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนรับวัฒนธรรมศาสนาพุทธ-พราหมณ์ (จากชมพูทวีป) ต่อเนื่องมาถึงสมัยที่ร่วมอยู่ในวัฒนธรรมแบบทวารวดีเมื่อราวหลัง พ.ศ.1100 เรื่อยมาจนถึงช่วงหลัง พ.ศ.1600 ยังพบร่องรอยของกลุ่มงานช่างที่สามารถเปรียบเทียบรูปแบบได้ว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ.1600-1900

    หมายความว่า เมืองอู่ทองไม่ได้ร้าง หากแต่มีคงอยู่สืบเนื่อง

    ร่องรอยการอยู่อาศัยภายในเขตเมืองโบราณอู่ทองไม่ได้ขาดหายไปในช่วงเวลาหลัง พ.ศ.1500 อย่างที่มักจะเข้าใจกันมาแต่เดิม

    อาจจะกล่าวได้ว่า เมืองอู่ทองไม่ได้มีขนาดเล็กลงกลายเป็นเพียงชุมชนขนาดย่อมเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางการค้า อย่างที่มีข้อสันนิษฐานอยู่ในงานวิจัยบางชิ้น หากแต่เมืองอู่ทองมีปริมณฑลที่ขยายออกไปนอกเมือง

    ร่องรอยของวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับหริภุญชัย หรือกลุ่มงานช่างแบบที่นิยมอยู่ในฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงระหว่าง พ.ศ.1600-1800 และงานช่างแบบขอมถูกพบกระจายตัวอยู่โดยทั่วไปตลอดลำน้ำทวน ลำน้ำจรเข้สามพัน แสดงให้เห็นถึงเครือข่ายทางการเมือง และเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปจากยุคก่อน พ.ศ.1500 ต่างหาก

    มานิต วัลลิโภดม เป็นท่านแรกที่อธิบายว่า เมืองอู่ทองร้างไปก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

    บทความเรื่อง สุวรรณภูมิอยู่ที่ไหน (ในวารสารเมืองโบราณ) อ้างว่าเมืองอู่ทองร้างไปก่อน พ.ศ.1700 อาจเกิดจากการที่แม่น้ำท่าจีนเปลี่ยนเส้นทางน้ำ ทำให้ลำน้ำจรเข้สามพันตื้นเขินลง ตลอดทั้งเส้นลำน้ำเก่าที่ว่า พบโบราณวัตถุและลูกปัดจำนวนมาก ซึ่งท่านลงความเห็นว่าเก่ากว่าที่นครปฐม ท่านยังสรุปไว้ด้วยว่า อู่ทอง ก็คือจินหลิน และสุวรรณภูมิ ในบันทึกของจีนและอินเดียตามลำดับ

    บทความชิ้นดังกล่าวดูจะเป็นจุดตั้งต้นให้นักวิชาการรุ่นถัดมาใช้ในการอธิบายความว่าเมืองอู่ทองร้างไปเมื่อ พ.ศ.1700 ถือเป็นการล้มล้างความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าพระเจ้าอู่ทอง มาจากเมืองอู่ทอง มาโดยตลอด

    งานวิจัยเรื่อง การศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพัน ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สืบแสง พรหมบุญ และคณะ ได้อธิบายว่าเมืองอู่ทองไม่ได้ร้างไปเสียทีเดียว แต่ลดฐานะลงเป็นหมู่บ้าน มีผู้คนอาศัยสืบทอดวัฒนธรรมต่อกันมา เห็นได้จากคำบอกเล่าประวัติชุมชนในหมู่บ้านในรูปตำนาน หรือนิทานพื้นบ้าน



    4. ข้อเสนอแนะด้านการจัดการเมืองอู่ทอง เพื่อประโยชน์ต่อสังคมสมัยปัจจุบัน

    โบราณวัตถุ โบราณสถาน และร่องรอยกิจกรรมต่างๆ ของคนสมัยโบราณที่พบที่เมืองอู่ทอง ชี้ให้เห็นว่าประชากรของชุมชนโบราณแห่งนี้มีวิถีชีวิตใกล้ชิดแม่น้ำ และพึ่งพิงแม่น้ำ ทั้งเพื่อในการดำรงและการพัฒนาสังคม-วัฒนธรรม จนชุมชนได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค "สุวรรณภูมิ"

    เมืองอู่ทองควรอนุรักษ์ไว้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมอย่างละเอียดให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในภูมิปัญญาด้านต่างๆ ของคนสมัยโบราณที่ชุมชนนี้ แล้วนำความรู้ ความเข้าใจนั้นมาใช้และประยุกต์ใช้สำหรับแก้ไข ปรับปรุง หลีกเลี่ยง หรือลดทอนปัญหาประเภทเดียวกับที่เคยเกิดมาแล้วในอดีตที่กำลังเกิดอีกในปัจจุบัน และกำลังจะเกิดอีกในอนาคต

    การนำความรู้ความเข้าใจดังกล่าวมาใช้ น่าจะส่งผลให้สังคมวัฒนธรรมปัจจุบันไม่เพียงสามารถอยู่รอด แต่ยังสามารถดำรงอย่างยั่งยืน

    การดำเนินการเช่นนี้คือความหมายที่ถูกต้องของการอนุรักษ์เพื่อพัฒนา

    การอนุรักษ์เพื่อพัฒนาเมืองอู่ทองควรดำเนินการทั้งในองค์ประกอบทางกายภาพทั้งหมดทุกประเภทที่อยู่ในทุกทำเลของเมืองและปริมณฑลของเมือง และในองค์ประกอบทางวัฒนธรรมทั้งหมดของเมืองในทุกกาลเวลา จึงควรมีการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองอู่ทอง ดังนี้

    1.ดำเนินการฟื้นฟูระบบลำน้ำที่สามารถหล่อเลี้ยงทั้งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติของพื้นที่และชีวิตผู้คนในชุมชนนี้ได้ การขุดลอกและซ่อมแซมคูเมือง อู่ทองทั้งหมดพร้อมกันไปกับการขุดลอกลำน้ำจรเข้สามพันและลำน้ำทวนโดยเร่งด่วน

    2.จัดตั้งองค์กรที่มีภารกิจด้านอนุรักษ์เพื่อพัฒนาเมืองอู่ทองโดยเฉพาะ น่าจะทำให้การดำเนินการอนุรักษ์เพื่อพัฒนาเประสบความสำเร็จ ชื่อที่เหมาะสมขององค์กรนี้อาจตั้งว่า "สถาบันสุวรรณภูมิศึกษา"

    3.ควรมีการขุดค้นที่บริเวณเขารักษ์ หมู่ 1 บ้านดอนแสลบ ต.ดอนแสลบ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี เพราะมีหลักฐานถึงพัฒนาที่ต่อเนื่องของเมืองอู่ทอง ซึ่งจะช่วยในการตรวจสอบให้ทราบว่าเมืองอู่ทองมีพัฒนาการต่อเนื่องในช่วงหลัง พ.ศ.1800 จนถึงสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ หรือไม่ โดยควรมีการขุดค้นที่บริเวณฐานพระปรางค์บนยอดเขารักษ์ และที่บริเวณร่องรอยอาคาร และเจดีย์เก่าที่เชิงเขาด้วย<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2009
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ "สุวรรณภูมิ"ที่สุพรรณบุรี

    คอลัมน์ สยามประเทศไทย

    โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

    ˹ѧ��;������Ԫ�����ѹ : ˹ѧ��;�����س�Ҿ ����ͤس�Ҿ�ͧ������

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ศูนย์กลางพุทธศาสนาเก่าสุดของรัฐทวารวดี อยู่ที่เมืองอู่ทอง (อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี)

    นี่เป็นข้อสรุปหนึ่งที่ได้จากรายงานการสำรวจข้อมูลวัฒนธรรมสมัยโบราณในลุ่มน้ำทวน (จ.กาญจนบุรี)-จรเข้สามพัน (จ.สุพรรณบุรี) ระหว่างสิงหาคม-กันยายน 2552 (ตัดทอนมาปรับปรุงใหม่ พิมพ์ในพื้นที่สุวรรณภูมิวัฒนธรรม ฉบับวันนี้-แล้วอ่านฉบับสมบูรณ์ใน Sujit WongThes)

    แต่อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เมืองอู่ทอง เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาเก่าสุดในสุวรรณภูมิ เพราะบริเวณอื่นๆ ในอุษาคเนย์ยังไม่พบหลักฐานเกี่ยวกับพุทธศาสนาเก่ากว่าเมืองอู่ทอง จึงควรผลักดันให้มีการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

    รัฐบาลไทยควรสถาปนาหน่วยงานวิชาการเป็นแกนกลางของประเทศในภูมิภาคอุษาคเนย์ เพื่อร่วมกันศึกษาค้นคว้าวิจัยแลกเปลี่ยนแบ่งปันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับดินแดนและผู้คนสุวรรณภูมิ มีผู้เสนอให้เลือก 2 ชื่อ สถาบันสุวรรณภูมิ (SUVARNABHUMI INSTITUTE) หรือ สุวรรณภูมิศึกษา (SUVARNABHUMI STUDY)

    โดยมีขอบเขตเริ่มแรก อยู่บริเวณเมืองอู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี และปริมณฑลโดยรอบ ต่อไปข้างหน้าในอนาคตอาจขยายขอบเขตทีละน้อย ร่วมมือกับนานาชาติเพื่อศึกษา, ค้นคว้า, วิจัย ไปเกี่ยวข้อง "การค้าโลก"

    งานเริ่มแรกของสถาบันฯ มีผู้เสนอว่าควรทำที่เมืองอู่ทอง เช่น

    1) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทองฯ ถูกปล่อยให้ร้างไว้นานแล้ว สมควรปรับปรุงให้เป็น "สุวรรณภูมิ มิวเซียม" จัดแสดงเรื่องราวของสุวรรณภูมิโดยเฉพาะอย่างละเอียดถี่ถ้วน ครอบคลุมถึง "การค้าโลก" เมื่อราว 2,000 ปีมาแล้ว อันเป็นปัจจัยสำคัญให้มีชื่อ "สุวรรณภูมิ" อยู่ในเอกสารอินเดีย, ลังกา <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    2) ศึกษา, ค้นคว้า, วิจัย โดยรวบรวมความรู้เกี่ยวกับสุวรรณภูมิและเมือง อู่ทองที่เคยมีผู้ทำไว้แล้วให้เป็นระบบโดยจัดเก็บที่เดียวกันใน "สุวรรณภูมิ มิวเซียม"

    3) สร้างสรรค์กิจกรรมเกี่ยวกับความรู้เรื่องสุวรรณภูมิและอุษาคเนย์ แล้วแบ่งปันแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่ออันหลากหลาย เช่น หนังสือพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, เว็บไซต์, วีซีดี, ดีวีดี, ภาพยนตร์, ฯลฯ รวมถึงบรรยาย, เสวนา, ปาฐกถาตามสถาบันและแหล่งชุมชนต่างๆ

    4) ผลักดันให้สุวรรณภูมิอู่ทอง บริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy, Creative City, Creative Thailand) ก็เท่ากับกระตุ้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พร้อมกันไปด้วย

    "ไม่อยากให้การท่องเที่ยวจมปลักกับการทำการตลาด ต่อไปนี้ต้องมุ่งเรื่องของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกกับสื่อมวลชน หลังการประชุมที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม (กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2552 หน้า 3)

    นี่ไง "อดีตรับใช้ปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต"



    สุวรรณภูมิ แปลตามรูปศัพท์ว่าแผ่นดินทอง หรือดินแดนทอง แต่มีคำเฉพาะเรียกใช้มานานแล้วว่าแหลมทอง หมายถึงบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่ของอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว อันเป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วยสัตว์, พืชพันธุ์ธัญญาหาร และแร่ธาตุต่างๆ ทั้งเป็นแหล่งของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายที่ล้วนเป็นเครือญาติทางสังคมวัฒนธรรม และเป็นบรรพชนของคนไทยทุกวันนี้

    พจนานุกรม อธิบายคำ สุวรรณ [สุ-วัน] น. ทอง. (ส. สุวรฺณ; บ. สุวณฺณ). ภูมิ 1, ภูมิ- [พูม, พู-มิ, พูม-มิ-] น. แผ่นดิน, ที่ดิน. ภูมิ 2 น. พื้นความรู้, ปัญญา. ภูมิ 3 ว. สง่า, ผึ่งผาย, องอาจ. สุวรรณภูมิ น. ดินแดนทองคำ

    สุวรรณภูมิ เป็นชื่อเก่าแก่มีในคัมภีร์โบราณ เช่น มหาวงศ์พงศาวดารลังกา, ชาดกพุทธศาสนาในอินเดีย, และนิทานเปอร์เซียในอิหร่าน ฯลฯ เนื่องเพราะชาวสิงหล (ลังกา) ชาวชมพูทวีป (อินเดีย) และชาวอาหรับ-เปอร์เซีย (อิหร่าน) ที่เป็นนักเดินทางผจญภัยแลกเปลี่ยนค้าขายสิ่งของเครื่องใช้ ต่างพากันเรียกผืนแผ่นดินใหญ่ของอุษาคเนย์โบราณว่าสุวรรณภูมิไม่น้อยกว่า 2,500 ปีมาแล้ว

    ส่วนชาวฮั่น (จีน) ยุคโบราณ เรียกดินแดนนี้ว่าจินหลิน หรือกิมหลิน มีความหมายเดียวกันกับชื่อสุวรรณภูมิว่าแผ่นดินทอง,

    ดินแดนทอง, แหลมทอง

    ฉะนั้น สุวรรณภูมิจึงไม่ใช่ชื่อรัฐหรืออาณาจักร แต่เป็นชื่อดินแดนแผ่นดินใหญ่ของอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน ที่ขนาบด้วย 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิกอยู่ทางด้านตะวันออก กับมหาสมุทรอินเดียอยู่ทางด้านตะวันตก ส่งผลให้ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนค้าขายหรือ "จุดนัดพบ" ระหว่างโลกตะวันตก (หมายถึงอินโด-เปอร์เซีย และอาหรับ) กับโลกตะวันออก (หมายถึงจีนฮั่นและอื่นๆ) มีความมั่งคั่งและมั่นคง แล้วมีรัฐใหญ่ๆ เกิดขึ้นในยุคต่อๆ มา เช่น ทวารวดี, ฟูนัน, เจนละ, ศรีวิชัย, ทวารวดีศรีอยุธยา, ละโว้-อโยธยาศรีรามเทพ จนถึงกรุงศรีอยุธยา ฯลฯ ดึงดูดให้ผู้คนจากที่ต่างๆ ทุกทิศทางเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่ง ทำให้เกิดความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่ผสมผสานทางสังคมวัฒนธรรมและเผ่าพันธุ์จนเป็น "คนไทย" และเครือญาติ ชาติต่างๆ ในอุษาคเนย์ปัจจุบัน

    สุวรรณภูมิ คือนามอันเป็นมงคลที่คนแต่ก่อนยกย่องใช้เรียกชื่อบ้านนามเมืองสืบเนื่องหลายยุคหลายสมัย ได้แก่ รัฐสุพรรณภูมิ (ราวหลัง พ.ศ.1600) จนเป็นเมืองสุพรรณบุรี (ราวหลัง พ.ศ.1800) และจังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งชื่อเมืองสุวรรณภูมิ (ราว พ.ศ.2315 สมัยกรุงธนบุรี) แล้วเปลี่ยนเป็นอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อราว 100 ปีมาแล้ว

    ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2543
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เทคนิคอ่านหนังสือ"ขั้นเทพ"

    ˹ѧ��;������Ԫ�����ѹ : ˹ѧ��;�����س�Ҿ ����ͤس�Ҿ�ͧ������

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>การอ่าน ถือเป็นอาหารสมองชั้นเลิศของสมอง ดั๊บเบิ้ล เอ จัดโครงการ "ฝึกคิด สะกิดอ่าน กับ Double A Smart Kids" ขึ้น เพื่อเสริมสร้างเทคนิคการอ่าน การเขียน และการจดจำ ให้สามารถนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ โดยได้ "พญ.จิตรา วงศ์บุญสิน" ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ อีกทั้งยังเป็นคุณแม่ของลูกเจ้าของรางวัลเหรียญทองโอลิมปิคทางด้านวิชาการ สาขาชีววิทยา เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา มาเผยเทคนิคการอ่าน การเขียน และการจดจำ

    พญ.จิตราแนะนำว่า เทคนิคการอ่านเพื่อสร้างความจดจำ ไม่มีอะไรซับซ้อน เริ่มต้น 1.เตรียมพร้อมที่จะอ่าน โดยสร้างความสนใจ และเห็นความสำคัญในสิ่งที่จะอ่าน 2.หาสถานที่ที่เหมาะสม ไม่มีเสียงรบกวน 3.นั่งตัวตรงที่ขอบเก้าอี้ ไม่พิงพนัก 4.ปิดตาหายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อผ่อนคลาย ใช้นิ้วชี้นำข้อความไปเรื่อยๆ 5.อ่านบทนำ หัวข้อ ของผู้เขียน เพราะจะเป็นการรวบรวมเนื้อหาและขอบเขตของเนื้อหาทั้งหมด 6.ระหว่างอ่านต้องเตือนตัวเองว่าเนื้อเรื่องพูดถึงใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร 7.อ่านเนื้อหา ไม่ต้องอ่านทุกคำ บางครั้งช่วยด้วยการอ่านออกเสียง และที่สำคัญคือ 8.หลังอ่านจบ สรุปเนื้อหาสั้นๆ ซึ่งตรงนี้จะทำให้สามารถกลับมาทบทวนได้ง่าย ไม่ต้องมาอ่านหมดทั้งหน้าอีก และหากนำไปใช้บ่อยๆ ก็จะทำให้อ่านเร็วขึ้น ไม่ต้องใช้เวลาทั้งวันกับการอ่านหนังสือเพียงหน้าเดียวแล้วก็จำอะไรไม่ได้ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    จิตรา วงศ์บุญสิน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "หลังจากอ่านหนังสือจบ จะต้องมีการทบทวนภายใน 24 ชั่วโมง เพราะจากการทดลอง พบว่า หากทบทวนภายใน 24 ชั่วโมง จะทำให้จำได้ถึง 80% และใช้เวลาน้อยมากในการอ่านทบทวน ซึ่งต่างจากคนที่ทบทวนภายใน 7 วัน จะจำได้เพียง 50% ส่วนคนที่ทบทวนก่อนสอบจะจำได้เพียง 20-30% เท่านั้น"

    ปิดท้ายด้วยเทคนิคการจำ พญ.จิตราบอกว่า ให้ใช้การจำโดยการแต่งเรื่องสนุกๆ โดยนำคำต่างๆ หรือเรื่องที่ต้องการจำมาแต่งเป็นเรื่องเป็นราว หรือเป็นเรื่องตลก เป็นต้น หรืออีกวิธีคือ การจำโดยใช้แผนที่ หรือที่เรียกว่า Mind Mapping ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้เข้าใจง่าย และจำได้ง่ายขึ้น โดยบางครั้งอาจจะใช้วิธีการวาดรูปแทนข้อความบางข้อความเพื่อสร้างความจดจำ

    เทคนิคง่ายๆ แต่ได้ประโยชน์มหาศาล

    ˹ѧ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คาถาเสี่ยงโชค<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    บทนี้เป็นบทของการเสี่ยงทายทุกชนิด ท่านจะทำอะไรทุกอย่างในการพนันขันต่อ ก็ให้สวดบทนี้ก่อนจึงไป ( ท่านว่าให้สวดถึงเจ็ดครั้งจึงประเสริฐ ) ดังนี้
    <O:p

    นะโม ๓ จบ<O:p</O:p

    <O:p
    อินทะยะสัง เทวะยะสัง พรหมะยะสัง มะหาพรหมะยะสัง อิสียะสัง มะหาอิสียะสัง มุนียะสัง มะหามุนียะสัง ปุริสะยะสัง มะหาปุริสะยะสัง จักกะวัตติยะสัง มะหาจักกะวัตติยะสัง พุทธะยะสัง ปัจเจกะพุทธะยะสัง อะระหันตะยะสัง สัพพะสิทธิวิชชาจะระณะยะสัง สัพพะโลกาธิปะติญาณะยะสัง สัพพะโลกะจะริยะญาณะยะสัง เอเตนะ ยะเสนะ เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ มะมะ สุวัตถิ โหตุ มัยหัง สะวาหายะ นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุรูหุรู สะวาหายะ ฯ


    ได้ผลเป็นประการใด บอกกล่าวกันบ้างนะครับ

    ผมยังไม่เคยลองครับ

    http://palungjit.org/threads/%E0%...%84.22294/

    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=5779<!-- google_ad_section_end -->
     
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คุณหนุ่ม..เป็นไปได้นะครับ กระทู้เรื่องของการลงทุน เรื่องโชคลาภเล้กๆน้อยๆ นี่ผู้คนสนใจกันจริงๆ สงสัยต้องให้ได้ตังค์จากรัฐบาลกันซักงวด ๒ งวดแล้ว...
     
  19. dragonlord

    dragonlord เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +1,541
    สวัสดีคะท่านพี่ทั้งหลาย


    <table class="tborder" width="100%" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1"><tbody><tr> <td class="thead"> ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 70 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 67 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> <center"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </center"></td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> dragonlord, :::เพชร:::+, sithiphong+</td></tr></tbody></table>
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เป็นคาถาของหลวงพ่อองค์ใด วัดไหนหรือครับ เพื่อนผู้จดไปสวด จะได้ระลึกถึงท่าน ช่วยให้ได้โชคลาภกันไวๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...