พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    จากกระทู้ http://palungjit.org/threads/พระวัง...โลกอุดรเสก-ถ้าต้องการที่จะได้.22445/page-1659
    #33168 #33169

    ประวัติหลวงปู่สอ พันธุโล

    ����ѵ���ǧ����� �ѹ����1 :: ��ǧ�����紡�ѵ����, ��ǧ����� �ѹ����, ��ҹ���͹���, �������ǧ�����, �Ѵ��Һ�ҹ˹ͧ�ʧ [Powered by Makewebeasy.com]

    [​IMG]


    ชีวประวัติ และปฏิปทาของหลวงปู่สอ พันธุโล ( พระครูภาวนากิจโกศล ) วัดป่าบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

    ชาติภูมิ
    หลวงปู่สอ พันธุโล นามสกุล ขันเงิน ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2464 ที่บ้านทุ่งมน ตำบลทุ่งมน อำเภอลุมพุก ( คำเขื่อนแก้ว ) จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร ) บิดาชื่อนายตา ขันเงิน มารดาชื่อนางขอ ขันเงิน มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน 2 คน เป็นชายทั้งหมด คนแรกคือ หลวงปู่สอ พันธุโล คนที่สองคือ นายหมอ ขันเงิน ปัจจุบันอยู่ที่บ้านเดื่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย หลวงปู่สอ พันธุโล สมัยที่ท่านเป็นฆราวาสนั้นเป็นคนที่ชอบสนุกสนาน ร่าเริง เข้ากับหมู่คณะได้ทุกคน ขณะเดียวกันก็ยังเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความสามารถในการกล่าวกลอนสด ( ผญา ) ของคนอีสาน เป็นที่ชอบใจของผู้ฟังทำให้คนแปลกใจว่าทำไรหลวงปู่ จึงมีความสามารถมากเช่นนั้นจริงๆ ที่หลวงปู่สอ เรียนจบเพียงชั้น ป.3 แต่ถึงท่านจะชอบสนุกสนานรื่นเริง นิสัยประจำตัวอย่างหนึ่งของท่านที่มีอยู่โดยตลอด คือ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียรซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติอันสำคัญยิ่งที่ส่งผลให้การทำความเพียรของท่านในภายหลังจากอุปสมบทแล้วมีความเด็ดเดียวมั่นคงและเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ

    ครองฆราวาสวิสัย
    เมื่อครั้งที่ใช้ชีวิตฆราวาสอยู่นั้น เมื่ออายุได้ประมาณ 20 ปีเศษ หลวงปู่ได้แต่งงานกับนางบับ ซึ่งเป็นหญิงสาวชาวบ้านเดียวกันนั่นเอง หลังจากแต่งงานมีครอบครัวแล้วความรับผิดชอบทุกอย่างก็ตกอยู่กับท่าน เพราะท่านเป็นหัวหน้าครอบครัวจะต้องตื่นแต่เช้าขยันทำการงาน หนักเอาเบาสู้โดยหวังจะให้ภรรยา และลูกๆ มีความสุข บางครั้งต้องเดินทางรอนแรมไปต่างจังหวัดเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว หลายครั้งเมื่อกลับมาถึงบ้านก็มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับภรรยาบ้าง ตามประสาของฆราวาสเหมือนลิ้นกับฟันที่ต้องกระทบกันอยู่ทุกวัน
    ในช่วงมีครอบครัวนี้ ท่านมีบุตร 3 คน ดังนี้คือ

    1. นางอ่าง ขันเงิน ปัจจุบันอยู่บ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
    2. เป็นผู้ชาย ( ไม่ทราบนาม ) ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว
    3. นางนาง ขันเงิน ปัจจุบันอยู่บ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

    สาเหตุแห่งการออกบวช
    ความคิดครั้งแรกก่อนแต่งงานท่านคิดว่าชีวิตจะมีความสุขมีความราบรื่น แต่สุดท้ายก็คิดได้ตามหลักสัจจะธรรม ว่าการมีครอบครัวเป็นการทำให้หมดอิสรภาพแทบทุกอย่าง ต้องแบกภาระมากมายจิตใจก็หมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องของฆราวาสวิสัยในกิจการงานจนไม่มีเวลาเป็นของตนเอง ชีวิตมีแต่ความทรมานเร่าร้อนเหมือนนั่งอยู่บนกองไฟ ความรู้สึกเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับฆราวาสโดยทั่วไปมากนัก นอกจากผู้มีบุญบารมีเก่าที่เคยสั่งสมมาในอดีตชาติเท่านั้น หลวงปู่ได้ตัดสินใจบอกความประสงค์ของท่านต่อภรรยาว่าท่านปรารถนาจะออกบวช เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายต่อการครองเรือนแต่ภรรยาของท่านก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากอยู่ในระหว่างการสร้างเนื้อสร้างตัว และลูกก็เล็กอยู่ หลวงปู่ไม่ละความพยายามเมื่อมีโอกาสก็ขออนุญาตออกบวชอยู่เสมอ จนภรรยาของท่านต้องยินยอมแต่มีข้อแม้ว่าต้องออกบวชเพียง 15 วันเท่านั้น
    การบวชครั้งแรก
    ในปี พ.ศ.2496 ขณะอายุของหลวงปู่ได้ 32 ปี ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดสร่างโศรก ( วัดศรีธรรมาราม ) ตำบลในเมือง อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูปลัดบุญสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆ์รักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสาย เป็นอนุสาวนจารย์ ได้รับฉายาว่า พันธุโล หลวงปู่สอ พันธุโล ได้เล่าว่าท่านมีความสุขใจ และมีความพอใจมากที่ได้บวชสมความตั้งใจ ทำให้มีความปลอดโปร่ง เหมือนบุคคลที่เป็นโรคแล้วหายจากโรค เหมือนบุคคลที่ถูกขุมขังแล้วหลุดพ้นจากที่คุม ขังจิตใจมีความสงบเยือกเย็น มองเห็นชีวิตแห่งการบวชเป็นทางที่จะแสวงหาความสุขได้อย่างแท้จริง ในการบวชครั้งนี้ หลวงปู่สอ ท่านพยายามที่จะทำตามกำหนดเวลาของภรรยาคือ บวช 15วัน แต่ในขณะที่บวชอยู่นั้นมีความรู้สึกสบายกายสบายจิต คิดว่าจะบวชให้นานที่สุด และท่านก็ได้ขอผัดผ่อนภรรยาเรื่อยมา สุดท้ายเมื่อครบ 15วัน ท่านก็ไม่ได้สึกตามที่ภรรยากำหนดไว้ จึงทำให้ท่านได้อยู่ในเพศพรหมจรรย์ และปฏิบัติธรรมเพื่อความสงบสันติแห่งใจเรื่อยมาถึง 2 พรรษา ในปี พ.ศ.2496 ซึ่งเป็นพรรษาแรก หลวงปู่สอ ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองแสง ตำบลสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ( ปัจจุบันอยู่วัดป่าบ้านนาคูณ ) เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้แนะนำ สั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดถึงในการอบรมด้านสมาธิภาวนา


    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="98%" align=center><TBODY><TR><TD>ประวัติหลวงปู่สอ พันธุโล</TD></TR><TR><TD>ประวัติหลวงปู่สอ พันธุโล 2 [28 เมษายน 2552 21:40 น.]


    </TD></TR><TR><TD>ประวัติหลวงปู่สอ พันธุโล1 [28 เมษายน 2552 20:09 น.]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ครั้นต่อมาในพรรษที่สอง พ.ศ.2497 หลวงปู่สอ ท่านได้ไปจำพรรษา และฝึกภาวนาอยู่กับหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก วัดป่าหนองใคร้ ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้เคียงกับวัดบ้านหนองแสง หลวงปู่สอ ท่านเล่าว่าในพรรษานี้ท่านได้ตั้งใจท่องปาฏิโมกข์ และสามารถท่องได้จบภายใน 29 วัน ซึ่งนับว่าเป็นพระผู้มีความเพียร และความจำดีเป็นเลิศผู้หนึ่ง และในขณะที่หลวงปู่สอ กำลังมีความสุขใจอยู่กับการปฏิบัติธรรมในช่วง 2 พรรษานี้ ก็จำต้องมีอุปสรรคเข้ามาขัดขวาง ทำให้ต้องจำใจสละเพศพรหมจรรย์ที่สูงส่งนี้ไป คือในปี พ.ศ.2498 ภรรยาของท่านได้มาขอร้องให้สึกออกเพื่อไปช่วยทำบ้านใหม่ ปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น เพื่อทำให้ครอบครัวได้เกิดความอบอุ่นใจ มีความมั่นคงในเรื่องที่อยู่อาศัย ซึ่งท่านก็จำใจที่จะต้องสึกออกไปด้วยความอาลัยเสียดาย ถึงกระนั้นก็ตามหลวงปู่สอว่า แม้ท่านจะออกไปเป็นฆราวาสแล้วก็ตาม แต่จิตใจยังมีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นพระอยู่ และตั้งใจอย่างแน่วแน่ ว่าเมื่อใดหรือวันใดก็ตามที่ทำภารกิจทางครอบครัวเสร็จสิ้นลงแล้ว เมื่อนั้นหรือวันนั้นท่านจะเข้าอุปสมบททันที


    บวชครั้งสุดท้าย

    [​IMG]


    หลวงปู่สอ เล่าว่าการที่ท่านต้องจำใจสึกออกไปนั้น เนื่องจากบ้านเรือนที่ทำไว้ก่อนหน้านี้อยู่ในสภาพไม่ดี เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ท่านจะต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีก ปรากฏว่าในช่วงนี้หลวงปู่ต้องทำงานทุกอย่างชนิดหามรุ่งหามค่ำไม่มีเวลาที่จะไปเที่ยวเตร่หรือสนุกสนานกับใคร มุมานะทำงานทุกอย่างด้วยตนเองอย่างอดทน ใช้เวลาอยู่ประมาณ 2 ปี งานต่างๆ จึงเสร็จเรียบร้อย
    ในตอนเย็นวันหนึ่งหลวงปู่สอ ท่านได้บอกความประสงค์ของท่านให้ภรรยาทราบว่า ท่านปรารถนาจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้ภรรยาท่านไม่ห้าม แต่กลับอนุโมทนาในความตั้งใจดีของท่าน เมื่อตัดสินใจแน่วแน่เช่นนั้น ท่านจึงเดินทางลงไปภาคใต้เพื่อทำงานรับจ้างหาเงินมาซื้อเครื่องบริขารและจัดงานบวชของท่านเอง มีอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งควรบันทึกไว้เพื่อแสดงถึงสัจจะบารมี และอธิษฐานบารมีของท่านก็คือครั้งนั้นขณะลงเรือไปในทะเลเพื่อข้ามฟากไปทำงานซึ่งอยู่จังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ เรือเกิดเครื่องเสียอยู่หลายวัน ช่างเครื่องพยายามแก้ไขอย่างไรก็แก้ไม่ได้ ในช่วงที่มีอุปสรรคเช่นนี้ หลวงปู่สอ ซึ่งขณะนั้นคือนายสอ ได้นั่งสมาธิแล้วตั้งจิตอธิฐานว่า " ข้าพเจ้ามาครั้งนี้ก็หวังที่จะหาเงินไปจัดงานบวชของตัวเอง ถ้าหากบุญที่ข้าพเจ้าจะได้บวชในพระพุทธศาสนามีอยู่ ขอให้เครื่องนี้ติด และใช้งานได้ดีดังเดิม " ปรากฏว่าเครื่องเรือเกิดติดขึ้นจริงๆ และเข้าสู่ฝั่งได้ ท่านทำงานได้เงินพอสมควรแล้วก็กลับบ้านหนองแสง เพื่อจัดงานบวชตามความตั้งใจ
    ในปีพ.ศ.2501 หลวงปู่สอ ท่านจึงได้อุปสมบทอีกครั้งในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2501 ในขณะที่มีอายุ 37 ปี ณ พัทธสีมาวัดศรีธรรมาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์สวดชุดเดิม เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่สอ ท่านพยายามฝึกฝนอบรมตัวเอง ด้วยการทำข้อวัตรปฎิบัติ และฝึกสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ ท่านได้เร่งประกอบความเพียรมากขึ้นโดยลำดับ เพราะท่านตั้งใจไว้อย่างแรงกล้าว่า ในการบวชครั้งนี้จะต้องให้รู้ธรรมให้เห็นธรรมให้ได้ ถ้าไม่รู้ไม่เห็นธรรมถึงจะตายก็ยอมตายไม่เสียดายชีวิต เพราะฉะนั้นหลวงปู่สอ ท่านจึงมีลักษณะเด็ดเดี่ยว และอาจหาญ ในการประกอบความเพียร และมีลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของท่าน ก็คือท่านไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะหรือกับญาติโยม หากมีธุระจำเป็นใดที่จะต้องเกี่ยวข้อง ก็จะทำหรือพูดแต่พอประมาณเท่านั้นเอง เพราะเหตุนี้เองเมื่อท่านยังอยู่ในวัยหนุ่มท่านจึงชอบเที่ยววิเวกไปตามสถานที่ต่างๆ ฝึกฝนอบรมจิตใจจนแข็งแกร่ง แม้เมื่อมีปัญหาอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นจากการภาวนาท่านจะรีบเข้าไปกราบเรียนขอคำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เคารพนับถืออยู่เสมอ พระมหาเถระที่หลวงปู่ท่านให้เคารพนับถืออย่างยิ่ง และไปพักปฏิบัติธรรมรับการแนะนำสั่งสอนจากท่านเป็นประจำ คือ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน และหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีครูบาจารย์ที่ท่านได้เคยเดินทางไปธุดงค์ด้วยกัน เช่นหลวงปู่สาม อกิญจโณ หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ และหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นต้น
    ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่สอ ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดบ้านหนองแสง ศึกษาอบรมข้อปฎิบัติอยู่กับหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ( ปัจจุบันอยู่วัดป่าบ้านนาคูณ อำเภอบ้านผือ ) พอออกจากพรรษาแล้วท่านจึงเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี เพื่อศึกษาข้อวัตรปฎิบัติกับหลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งในครั้งนั้น ท่านต้องเดินทางธุดงค์รอนแรมพักภาวนาไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้เร่งรีบอะไร กว่าจะถึงจังหวัดอุดรธานีก็ใช้เวลาหลายวัน และเมื่อเข้าสู่วัดป่าบ้านตาดอันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงที่ท่านปรารถนาแล้ว ก็เข้าถวายสักการะหลวงปู่บัว ญาณสัมปันโน มอบถวายกายใจให้ท่านอบรมสั่งสอน และทำให้การปฏิบัติธรรมของท่านก้าวหน้าไปโดยลำดับ
    ในปีพ.ศ.2502 ซึ่งเป็นพรรษาที่สองของหลวงปู่สอ พันธุโล ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ในพรรษานี้ท่านได้เร่งความเพียร เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ศึกษาอบรมกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรม และในพรรษานี้เองที่หลวงปู่สอ ท่านได้นิมิตเห็นงูใหญ่ ตัวสีทอง เลื้อยเข้ามาหาในกุฎิในขณะนั่งสมาธิอยู่แล้วดันตัวท่านขึ้นขนดลำตัวเป็นวงกลมให้ท่านนั่ง ( ความละเอียดตอนนี้อ่านได้ในประวัติหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ) ซึ่งนิมิตอันนี้เองเป็นจุดที่เริ่มต้นที่จะให้ได้มาซึ่งพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ " หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ " อันเป็นพระพุทธรูปคู่บุญบารมีหลวงปู่สอ ท่านเล่าว่าเมื่อปรากฏนิมิตเช่นนั้นแล้ว ท่านได้เล่าถวายหลวงปู่บุญมีฟัง ต่อมาเมื่อหลวงปู่มหาบัว ทราบ จึงได้เรียกท่านไปสอบถามความเป็นไปต่างๆ ในขณะเกิดนิมิต และสุดท้ายหลวงปู่มหาบัว ท่านได้สั่งกำชับไม่ให้พูดให้ใครฟังอีก มันจะเกิดอะไรขึ้นก็อย่างไปสนใจให้พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหากเราส่งใจหลงใหลได้ปลื้มไปกับนิมิตที่ปรากฏ จะทำให้การปฏิบัติธรรมเนิ่นช้า และอาจเกิดวิปลาส ได้ง่าย หลวงปู่สอ เอง ท่านก็รับฟังคำแนะนำ ตักเตือนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยดี
    พอถึงฤดูกาลออกพรรษา ซึ่งเริ่มย่างเข้าฤดูหนาวหลวงปู่สอ ได้กราบลาพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน ไปเที่ยวธุดงค์ แถวจังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลยเพื่อหาประสบการณ์ ในสมัยนั้นเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว ทั้งสองจังหวัดนี้ป่าเขายังอยู่อุดมสมบูรณ์มาก อาจเรียกได้ว่าเป็นลักษณะป่าช้าดงเสือ เมื่อเดินทางผ่านไปพบสถานที่ใดเหมาะแก่การเจริญจิตภาวนาท่านก็จะหยุดพักภาวนา 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง บางแห่งพักนานเป็นเดือนๆ ก็มี และมีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไปพักอยู่บ้านนาบะฮี มีอาชีพเป็นชาวไร่ทำมาหากินกันอยู่ 3 ครอบครัว ท่านได้อาศัยญาติโยมทั้ง 3 ครอบครัวนี้ในการบิณฑบาต บางวันก็ได้ข้าวกับเม็ดกะบก บางวันก็ข้าวกับพริก และปลาร้า ท่านบอกว่าแม้อาหารการฉันจะอัตคัดขัดสน แต่การทำความพากเพียรทำสมาธิภาวนาดีมาก จิตใจมีความปลอดโปร่งสบายไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นกังวลกับสิ่งใดๆ ตรงที่หลวงปู่สอ พักภาวนานี้ เป็นถ้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า " ถ้ำพระ " ถ้ำแห่งนี้สมชื่อสมนามจริงๆ เพราะคนจะอยู่ได้ต้องมีจิตใจเป็นพระ คือ ต้องมีความอดทนเข้มแข็งจริงๆ ถ้าใครอยากจะเป็นพระให้มาภาวนาที่ถ้ำนี้ เมื่อเที่ยวธุดงค์ แสวงหาความสงบเย็นใจไปตามจังหวัดต่างๆพอสมควรแล้ว หลวงปู่สอ จึงวกกลับมาทางจังหวัดอุดรธานีอีกครั้ง


    ����ѵ���ǧ����� �ѹ���� 2 :: ��ǧ�����紡�ѵ����, ��ǧ����� �ѹ����, ��ҹ���͹���, �������ǧ�����, �Ѵ��Һ�ҹ˹ͧ�ʧ [Powered by Makewebeasy.com]

    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="98%" align=center><TBODY><TR><TD>ประวัติหลวงปู่สอ พันธุโล</TD></TR><TR><TD>ประวัติหลวงปู่สอ พันธุโล 2 [28 เมษายน 2552 21:40 น.]


    </TD></TR><TR><TD>ประวัติหลวงปู่สอ พันธุโล1 [28 เมษายน 2552 20:09 น.]


    </TD></TR><TR><TD>ดูทั้งหมด </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมเองเคยได้รับพระจากพี่ท่านนึงที่เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่สอ มาจำนวน 3 องค์ (แต่ตอนนี้ผมหาไม่เจอครับ ไม่ทราบว่า ผมนำไปใส่ในกล่องไหน)

    [​IMG]

    และพี่ท่านนี้ยังมอบพระวังหน้า ที่เลี่ยมทองมาให้ผมด้วยอีก 1 องค์ครับ

    ผมนำมาให้ชมด้วย แบบว่า ชัดๆครับ


    [​IMG]
    รูป สงวนลิขสิทธิ์ครับ

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • wang.JPG
      wang.JPG
      ขนาดไฟล์:
      38.2 KB
      เปิดดู:
      116
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    หากท่านใดเข้ามาแล้ว เห็นเพียง จากกระทู้ พระวังหน้าฯ

    ผมนำไปไว้ที่กระทู้ พระวังหน้าฯ ที่บอร์ด อกาลิโกด้วยครับ

    "

    http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=8477&page=136

    [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ข้อความส่วนตัว: สมัครสมาชิก <TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] วันนี้, 04:49 PM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>เชน<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Dec 2006
    ข้อความ: 265
    Groans: 0
    Groaned at 19 Times in 8 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 53
    ได้รับอนุโมทนา 1,851 ครั้ง ใน 437 โพส
    พลังการให้คะแนน: 150 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER>สมัครสมาชิก

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>สวัสดีครับพี่หนุ่มคงจำกันได้อยู่นะครับ อยากทราบว่าสมัครสมาชิก วังหน้าได้ที่ไหน ยังไงครับ ไม่ได้เข้ามานานเลย เลยไม่ได้รู้ความเคลื่อนไหวนะครับ
    __________________
    เจตสิก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ---------------------------------------

    สำหรับท่านที่สนใจจะสมัครสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า

    ผมมีกติกาอยู่สองเรื่อง คือ

    1.ต้องร่วมทำบุญ ร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ทำมาก ทำน้อยไม่เป็นไร ทำบ่อยๆดีครับ

    2.เข้ามาพูดคุยกันในกระทู้พระวังหน้าฯนี้ บ่อยๆ

    เมื่อถึงเวลา ผมจะขอเบอร์โทร.ของท่านเอง

    ไม่ต้อง pm เข้ามาหาผม ทั้งเรื่องของการดูพระพิมพ์ ,วัตถุมงคลต่างๆ และขอสมัครสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า นะครับ หากท่าน pm เข้ามาหาผม ผมจะคัดลอกข้อความของท่าน มาลงในกระทู้พระวังหน้าฯ โดยจะไม่ปิดชื่อสมาชิกเว็บพลังจิต เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมาแล้ว และจะตอบในกระทู้พระวังหน้าฯครับ

    ขอบคุณครับ
    พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

    #32318


    ชมรมรักษ์พระวังหน้า

    ผมยืนยันว่า ชมรมนี้ สมัครได้ยาก เมื่อสมัครแล้วก็ยากกว่าอีก

    การตั้งจิต ตั้งสัจจะ และสาบาน เป็นสิ่งที่ผมคิดไว้ในการที่จะคัดกรองท่านที่มีความศรัทธาในคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณ-อุตร) ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และหลวงปู่องค์อภิญญาใหญ่ในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 ต้องมีความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม , มีความมุ่งมั่น , ความอดทน , ความเพียร ,ความพยายาม และ ฯลฯ

    กว่าจะสมัคร ก็สมัครได้ยาก สมัครแล้วต้องรักษาการตั้งจิต ตั้งสัจจะ และสาบาน ยิ่งยากกว่า เนื่องจากหากสมัครมาเพื่อต้องการพระพิมพ์และหรือวัตถุมงคลแต่เพียงอย่างเดียว ผมจะบอกว่า ท่านที่สมัครมาในลักษณะนี้ได้พระพิมพ์และวัตถุมงคลไปได้แน่นอน แต่ผลที่จะติดตามมาในอนาคตก็คือ การปฎิบัติธรรม เมื่อท่านตั้งใจจะปฎิบัติธรรมเพื่อจุดมุ่งหมายคือพระนิพพานเมื่อไหร่ ท่านปฎิบัติธรรมมาได้ระยะหนึ่ง ท่านทำได้แค่ไหน ท่านปฎิบัติได้แค่ไหน ท่านก็จะอยู่ที่เดิม ไม่ได้ไปไหน เนื่องจากการทึ่ตั้งจิต ตั้งสัจจะ และสาบานต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ ฯลฯ กว่าจะตามไปแก้ไข โอ้ ไม่อยากคิดเลย

    ผมเองก็บอกมาหลายครั้งมากแล้วว่า กว่าที่ผมจะมาได้พบ ได้เห็น ได้รู้จักพระวังหน้า ก็เป็นระยะเวลาเป็น 10 ปี เสียเงินไปมากมาย
    แล้วท่านมีโอกาสดีกว่าผมมากนัก ไม่ต้องเสียเวลา(ซึ่งไม่รู้ว่า หาแล้วจะได้พบ ได้เห็น หรือไม่) ไม่ต้องเสียเงิน(ก็หลายแสนอยู่)

    คงบอกเพียงเท่านี้ครับ ลองอ่านดูในกระทู้พระวังหน้าฯนี้ดูนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

    มาย้ำครับ

    ต้องมีความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม , มีความมุ่งมั่น , ความอดทน , ความเพียร ,ความพยายาม และ ฯลฯ ในเรื่ององค์ความรู้ของท่านอาจารย์ประถม เรื่องคณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณ-อุตร) ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี และหลวงปู่องค์อภิญญาใหญ่ในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 และ พระวังหน้า ครับ

    หมายเหตุ หลวงปู่องค์อภิญญาใหญ่ในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 คือ กลุ่มหลวงปู่ที่ท่านอยู่ที่ชั้นสุทธาวาส ซึ่งท่านสามารถตัดเข้าสู่พระนิพพานได้ตลอดเวลา แต่หลวงปู่ท่านยังไม่ไป เนื่องจากสาเหตุส่วนหนึ่งเพราะหลวงปู่ท่านยังห่วงลูกหลานของท่านอยู่

    หลวงปู่องค์อภิญญาใหญ่ในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน , หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงปู่กรมพระยาปวเรศ , หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร , หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว , หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นต้น
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 100 คน ( เป็นสมาชิก 1 คน และ บุคคลทั่วไป 99 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. เชน

    เชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    268
    ค่าพลัง:
    +1,037
    ขอบพระคุณครับ แล้วจะร่วมทำบุญให้บ่อยๆขึ้นนะครับ และจะตั้งใจทำความดีให้มากเผื่อพี่หนุ่มจะรับเข้าชมรมสักวัน ขอบคุณมากๆครับ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  8. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    ช่วงค่ำไปทำบุญ,ไหว้พระ ที่มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้า

    ผมขอน้อมอุทิศ กุศลผลบุญ แก่กัลยาณมิตร ทุกท่าน ครับ
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ไหว้ 5 ครั้ง
    ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญ ญาณวรเถระ )
    วัดเทพศิรินทราวาส

    [​IMG]


    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html


    คัดลอกจาก http://www.konmeungbua.com/saha/Lung...pu_armpan.html

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาไร ตามแต่เหมาะต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวนั้น ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ


    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประณมมือว่า

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ 3 หน

    แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ
    อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ

    หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตามของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ

    สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโน สนฺทิฆฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติ ฯ

    หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ


    ครั้งที่ 3 ว่าพระสังฆคุณ คือ
    สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโยทกฺขิเนยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติฯ

    หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบ ของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    นั่งพับเพียบประณมมือตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ
    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ


    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้ว กราบลงหน 1 ฯ

    ข้า ฯ ขอ กราบไหว้คุณท่านบิดาและมารดา
    เลี้ยงลูกเฝ้ารักษา แต่คลอดมาจึงเป็นคน
    แสนยากลำบากกายไป่คิดยากลำบากตน
    ในใจให้กังวลอยู่ด้วยลูกทุกเวลา
    ยามกินพอลูกร้องก็ต้องวางวิ่งมาหา
    ยามนอนห่อนเต็มตาพอลูกร้องก็ต้องดู
    กลัวเรือดยุงไรมดจะกวนกัดรีบอุ้มชู
    อดกินอดนอนสู้ ทนลำบากหนักไม่เบา
    คุณพ่อแม่มากนักเปรียบน้ำหนักยิ่งภูเขา
    แผ่นดินทั้งหมดเอามาเปรียบคุณไม่เท่าทัน
    เหลือที่ จะแทนคุณ ของท่านนั้น ใหญ่อนันต์
    เว้นไว้ แต่เรียนธรรม์ เอามาสอนพอผ่อนคุณ
    สอนธรรมที่จริงให้ รู้ไม่เที่ยงไว้เป็นทุน
    แล้วจึงแสดงคุณ ให้เห็นจริงตามธรรมดา
    นั่นแหละจึงนับได้ ว่าสนองซึ่งคุณา
    ใช้ค่าข้าวป้อนมาและน้ำนมที่กลืนกิน ฯ

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผุ้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์และครูบาอาจารย์ เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ข้า ฯ ขอนอบน้อมคุณแด่ท่านครู ผู้อารี
    กรุณาและปรานีอุตส่าห์สอนทุก ๆ วัน
    ยังไม่รู้ ก็ได้รู้ ส่วนของครูสอนทั้งนั้น
    เนื้อความทุกสิ่งสรรพ์ดีชั่วชี้ ให้ชัดเจน
    จิตมากด้วยเอ็นดูอยากให้รู้เหมือนแกล้งเกณฑ์
    รักไม่ลำเอียงเอนหวังให้แหลมฉลาดคม
    เดิมมืดไม่รู้แน่เหมือนเข้าถ้ำเที่ยวคลำงม
    สงสัยและเซอะซมกลับสว่างแลเห็นจริง
    คุณส่วนนี้ควรไหว้ ยกขึ้นไว้ ในที่ยิ่ง
    เพราะเราพึ่งท่านจริงจึงได้รู้ วิชาชาญ ฯ

    (บทประพันธ์สรรเสริญคุณมารดาบิดา และ ครูบาอาจารย์ของ ท่านอาจารย์ จางวางอยู่ เหล่าวัตร วัดเทพศิรินทราวาส ลิขสิทธิ์เป็นของ ท่านเจ้าคุณพระโศภนศีลคุณ (หลวงปู่หลุย พาหิยาเถร) วัดเทพศิรินทราวาส)

    ต่อไปนี้ไม่ต้องประณมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่อง และร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้งพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณมีมารดาบิดา เป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือพระมหากษัตริย์ ทั้งเทพยดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยกมือไม่ขึ้น ก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้เป็นเครื่องพยุงตนให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดี ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และ ตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มขั้นของตน ๆ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( เจริญญาณวรเถระ )

    http://72.14.235.104/search?q=cache:...h&ct=clnk&cd=7

    [​IMG]

    สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนาย ทองสุก และนางย่าง

    เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย

    และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

    "ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของ
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "

    สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

    พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้
    เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน

    ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

    ความคิดเห็นส่วนตัวผม
    ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ท่านบอกกับผู้ที่ไปกราบท่านว่า ขอให้ทุกๆวันได้ไหว้ 5 ครั้ง จะได้เป็นศิริมงคลกับตนเอง จะเหมือนกับชื่อของท่าน (เจริญ) ครับ ท่านเจ้าคุณนรเอง ก็มีความเคารพในท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)มาก โดยท่านเจ้าคุณนรเอง เวลาเดินผ่านกุฎิของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(เจริญ)ทุกครั้ง ท่านเจ้าคุณนร ก็จะก้มลงกราบที่กุฎิอยู่ทุกครั้งครับ

    วันที่ 14 สิงหาคม 2550
    ขอเพิ่มเติมเรื่องราว ไหว้ 5 ครั้ง
    http://www.saktalingchan.com/index.p...icle&Id=262016

    [​IMG]


    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร​

    เจ้าพระคุณสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร
    วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

    1. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงนี้ เมื่อพระคุณท่านมีอายุเพียง 27 ปี มีพรรษา 7 ยั่งยืนตลอดมาเป็นเวลาช้านานถึง 53 ปีฯ

    2. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ นั้นมีอายุเพียง 56 ปี เท่านั้น ฯ

    3. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งธรรมเนียมการเทศนาธรรมในวันอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก เริ่มเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2471 ติดต่อกันมาถึงปัจจุบันนี้ นับเป็นเวลา 45 ปี ล่วงแล้ว ฯ

    4. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ แลบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบต่อมาเป็นเวลา 5 ปี ( ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2481 ) ฯ

    5. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ได้ถวายพระธรรมเทศนามงคลวิเสสกถาติดต่อกันถึง 4 รัชกาล คือตั้งแต่รัชกาลที่ 6-7-8-9 เป็นเวลาถึง 25 ปี ฯ

    6. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มีสัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก มากที่สุดถึง 6,666 องค์ ฯ

    7. เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เป็นต้นกำเนิดตำราไหว้ 5 ครั้งให้ศิษยานุศิษย์ปฏิบัติตาม หากผู้ใดไหว้ครบ 1 ปี เป็นกำหนด ผู้นั้นจักได้รับรูปที่ระลึกจากองค์ท่านด้านหน้าเป็นรูปองค์ท่าน ด้านหลังเป็นรูปยันต์ภควัม จากกรึกนามองค์ท่านเป็นอักษรย่อ โดยลำดับแห่งราชทินนามนั้น ๆ กระทั่งครั้งสุดท้ายได้จารึก 3 อักษรว่า พ.ฆ.อ. ซึ่งย่อจากราชทินนามว่า พุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระราชาคณะ ฯ

    8. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่มีอายุยืนยาวที่สุด คือ ท่านเจ้าคุณพระโศภณศีลคุณ ( หลวงปู่หลุย พาหิยเถร ) ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 23 ปัจจุบันอายุ 92 ปี พรรษา 67 ( เกิด 9 สิงหาคม 2426 ) ยังเดินลงโบสถ์ลงสวดมนต์ทำวัตรได้เป็นประจำทุก ๆ วัน เป็นพระเถราจารย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือยิ่งของท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ

    9. สัทธิวิหาริกของเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ที่ประพฤติปฏิบัติยอดเยี่ยม และเป็นพระเถระองค์สำคัญที่มีเกียรติคุณโด่งดังในปัจจุบัน คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ฯ ธมมฺวิตกฺโก ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกองค์ที่ 1740 ฯ

    ไหว้ 5 ครั้ง ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส

    ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ไม่ว่าเวลาใด ตามแต่เหมาะ ต้องไหว้ให้ได้ 5 ครั้งเป็นอย่างน้อย ในคราวเดียวกัน ถ้ามีดอกไม้ ธูปเทียน ก็บูชา ถ้าไม่มีก็มือ 10 นิ้วและปากกับใจ ควรไหว้จนตลอดชีวิต คือ

    ครั้งที่ 1 พึงนั่งกระโหย่งเท้าประนมมือว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสฺมพุทฺธสฺส ฯ 3 หน แล้วว่าพระพุทธคุณ คือ อิติปิ โส ภควา อรหสมฺมาสมฺพุทฺโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสาน&deg; พุทฺโธ ภควาติ ฯ หยุดระลึกถึงพระปัญญาคุณทรงรู้ดีรู้ชอบสิ้นเชิง พระบริสุทธิคุณทรงละความเศร้าหมองได้หมด พระกรุณาคุณทรงสงสารผู้อื่นและสั่งสอนให้ปฏิบัติตาม ของพระพุทธเจ้า จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 2 ว่าพระธรรมคุณ คือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธฺมโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺ จตฺต เวทิตพฺโพ วิญฺญหีติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณพระธรรมที่รักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 3ว่าสังฆคุณ คือ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสฺงโฆ ยทิทฺ จฺตตาริ ปุริสยุคานิ อฏฐ ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสฺงโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนฺยโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลิกรณีโย อนุตฺตรฺ ปุญฺญกฺเขตตฺ โลกสฺสาติ ฯ หยุดระลึกถึงคุณ คือ ความปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติชอบของพระอริยสงฆ์ จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    นั่งพับเพียบประนมมือ ตั้งใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ไม่ถือสิ่งอื่นยิ่งกว่าจนตลอดชีวิต ว่าสรณคมน์ คือ

    พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ
    ทุติยมฺปิ พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ
    ตติยมฺปิ พุทฺธสรณคจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ ธมฺมสรณคจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ สงฺฆสรณคจฺฉามิ ฯ

    ครั้งที่ 4 ระลึกถึงคุณมารดาบิดาของตน จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ครั้งที่ 5 ระลึกถึงคุณของบรรดาท่านผู้มีอุปการคุณแก่ตน เช่น พระมหากษัตริย์ และครูบาอาจารย์เป็นต้นไป จนเห็นชัดแล้วกราบลงหน 1 ฯ

    ต่อนี้ไปไม่ต้องประนมมือ ตั้งใจพิจารณาเรื่องและร่างกายของตนว่า จะต้องแก่ หนีความแก่ไปไม่พ้น จะต้องเจ็บ หนีความเจ็บไปไม่พ้น จะต้องตาย หนีความตายไปไม่พ้น จะต้องพลัดพราก จากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น มีกรรมเป็นของตัว คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงไม่แน่นอน เป็นทุกข์ลำบากเดือดร้อน เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของตน ฯ ครั้นพิจารณาแล้ว พึงแผ่กุศลทั้งปวงมีการกราบไหว้เป็นต้นนี้ อุทิศให้แก่ท่านผู้มีคุณ มีบิดามารดาเป็นต้น ตลอดจนชั้นสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ ทั้งเทพดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายว่า จงเป็นสุข ๆ อย่ามีเวรมีภัยเบียดเบียนกันและกัน รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

    การไหว้ 5 ครั้งนี้ ถ้าวันไหนขาด ให้ไหว้ใช้หนี้ 5 ครั้งในวันรุ่งขึ้น ถ้านั่งกระโหย่งเท้าไม่ได้ ก็นั่งพับเพียบ ถ้าไม่ได้ ก็นอนไหว้ เมื่อยอมือไม่ขึ้นก็ปากกับใจ ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นเครื่องหยุดตนให้เป็นคนดีไม่ให้เป็นคนชั่ว และให้ตั้งอยู่ในที่ดีไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถ้าผู้ใดประพฤติได้เสมอจนตลอดชีวิต ผู้นั้นจะอุ่นใจในตัวของตัวเอง มีความเจริญงอกงามไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นเสมอทุกคืนทุกวัน คุ้มครองป้องกันภยันตรายปราศจากความเสียหายที่ไม่เหลือวิสัย และตั้งตัวได้ในทางคดีโลกและทางคดีธรรม เต็มภูมิเต็มชั้นของตน ฯ ทุกประการ จบเท่านี้ ฯ

    ปัจฉิมโอวาท
    ของ
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรมหาเถระ
    วัดเทพศิรินทราวาส

    ไม่ตายควาวนี้ ก็ตายคราวหน้า อย่างเศร้าโศก เสียทีที่ศึกษาปฏิบัติมา ร้องให้เศร้าโศก ก็ร้องไห้เสร้าโศกสังขารที่
    เกิดแก่เจ็บตายนั้นเอง ที่ไม่ร้องไห้เศร้าโศกนั้นมิใช่จะเป็นคนใจไม้ใส้ระกำอะไร

    ธรรมของพระก็คือ
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
    ย่นลงก็ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แล้วปรินิพพาน
    ไม่ต้องเกิดมาแก่ มาเจ็บ มาตายอีก

    (มีบัญชาให้บันทึกไว้เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๙๔)
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วันนี้ ผมมาแนะนำ พระพิมพ์นางพญา และ พิมพ์ผงสุพรรณครับ

    พิมพ์นางพญา
    [​IMG]

    พิมพ์ผงสุพรรณ
    [​IMG]

    สำหรับทั้งสององค์นี้ แท้หรือไม่แท้ครับ

    แท้ในที่นี้ คือ มีผู้ที่สร้างขึ้น และ ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก

    ไม่แท้ในที่นี้ คือ การสร้างจากโรงงาน อาจจะนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกหรือไม่ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกก็ได้

    คิดว่าอย่างไร

    ติ๊กต๊อกๆๆๆๆๆๆๆๆ

    หุหุหุ
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    หากดูเนื้อหาทรงพิมพ์ เป็น ก็จะทราบว่า ใช่หรือไม่ใช่

    เนื้อพระที่อายุไม่น้อยกว่า 100 ปี ดูไม่ยาก

    ผมเห็นมาเยอะแล้ว ที่ดูพระเนื้อที่อายุเป็นร้อยกว่าปี ไม่เป็น

    ส่วนพระสมเด็จ ที่ทางคุณทวดขำ ได้สร้างหลังจากสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทิวงคตแล้ว และไม่ได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ก็มีมากเช่นกัน เหอๆๆๆๆๆ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    นำมาให้ชมกัน

    [​IMG]

    เป็นพระบูชา หลวงปู่กรมพระยาปวเรศทั้งสององค์ครับ

    ส่วนการสร้าง,การอธิษฐานจิต และอื่นๆ ผมขอไม่แจ้งบนบอร์ด(ในกระทู้พระวังหน้าฯ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....<!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]
    ดาวน์โหลด 1 ครั้ง
    20-10-2008 05:57 PM
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
  16. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่า...ผมดูไม่เป็นคร๊าบ หุ หุ
     
  17. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    วันนี้ เลี้ยงเพลและถวายสังฆทาน แด่พระสงฆ์จำนวน 5 รูป ที่บ้าน ครับ

    ผมขอน้อมอุทิศ กุศลผลบุญ แก่กัลยาณมิตร ทุกท่าน ครับ
     
  18. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,438

    สวัสดีท่านรองฯ ท่านเลขาฯ ยินดีด้วยครับสำหรับข่าวล่ามาแรง แซงโค้งล่าสุด :)
    สำหรับพระพิมพ์นางพญากับพระพิมพ์ผงสุพรรณ ไม่แท้ครับ
    กราบขอขมาฯต่้อองค์พระพิมพ์ทั้งสอง หากแม้นว่าทั้งสองเป็นพระแท้ครับ
     
  19. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่า...งั้นก็เข้าทางท่านเลขาเลยครับ หุ หุ
     
  20. newcomer

    newcomer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,317
    ค่าพลัง:
    +3,934
    วันนี้ร่วมบุญกับญาติธรรม พิมพ์หนังสือดูจิตปีแรก 200 เล่ม เพื่อแจกถวายเป็นพุทธบูชา ครับ

    ผมขอน้อมอุทิศ กุศลผลบุญ แก่กัลยาณมิตร ทุกท่าน ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...