พระเครื่องและประวัติโดยสังเขปของ หลวงพ่อบัว วัดแสวงหา จ.อ่างทอง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย BaByUltraMan, 12 มกราคม 2009.

  1. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    หลวงพ่อบัวนั้น ท่านจะมีนิสัยที่แปลกอยู่อย่างนึงก็คือเวลาท่าน รดน้ำมนต์ให้เมื่อน้ำมนต์จะหมดหรือว่า ใกล้หมดท่านจะ เอาถังคว่ำปิดหัวเลย

    ผมเองก็ไม่ทราบ ว่า ทำไมท่านถึงทำแบบนั้น

    หรือว่ามีเคล็ดอะไร หรือว่าท่านทำไปเฉยๆ

    แฮะๆ
     
  2. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ประวัติคณาจารย์สายหลวงปู่ศรี หลวงปู่ปรง วัดธรรมเจดีย์

    หลวงปู่ปรง พื้นเพ เป็นคนย่านวัดห้วยเจริญสุข ต.พักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

    ท่าน เกิดเมื่อวันเสาร์ ปีมะโรง พ.ศ.๒๔๔๗ เกิดปีเดียวกับหลวงปู่เย็นวัดสระเปรียญเเก่กว่าหลวงพ่อกวยหนึ่งปี ( หลวงพ่อกวยเกิด วันพุธ ปีมะเส็งพ.ศ.๒๔๔๘ )

    สมัยหนุ่ม ได้บวชเรียนกับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ รุ่นเดียวกับ หลวงพ่อปู่เย็นวัดสระปรียญ หลวงพ่อกวย วัดบ้านเเค หลวงพ่อเเพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อบัว วัดเเสวงหาอ่างทอง เป็นต้น

    สมัยตอนบวช นอกจากเรียนวิชากับหลวงพ่อศรีเเล้วก็เรียนกับอีกหลาย หลวงพ่อ เช่นหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐีหลวงพ่อคำวัดตลุกคู่ จ. อุทัย เเละกับอีกหลายอาจารย์ที่เป็นสงฆ์เเละฆราวาส

    จากนั้นสึกออกมามีครอบครัว เช่นเดียวกับหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญหลวงปู่เย็นบวชเเล้วสึกออกมามีครอบครัว เเล้วตอนเเก่ก็มาบวชอีก

    สายหลวงพ่อศรี มีทั้งสึกออกมามีครอบครัว เเละบางรูปก็ไม่สึก เช่นหลวงพ่อกวยหลวงพ่อเเพ เเละท่านอื่นๆ

    หลวงปู่ปรงกลับมาบวชอีกครั้งเมื่ออายุอยู่ในช่วงห้าส ิบกว่าถึงอายุหกสิบ

    หลังจากบวชอีกครั้ง ก็ออกธุดงค์ร่วมยี่สิบปีออกเเสวงหาความสงบเเละเรียนวิชาเพิ่มกับอีกหลายสาย
    เมื่ออายุได้ ๘๐ปี จึงหยุดธุดงค์เเละกลับมาที่สิงห์บุรีมาจำพรรษาที่วัดธรรมเจดีย์ คาดว่าหลวงปู่เป็นผู้สร้างวัดนี้

    ที่ วัดธรรมเจดีย์ ท่านได้ออกวัตถุมงคลเป็นรุ่นเเรกๆเเละหลายรุ่นจากประสบการณ์ของพระเครื่องของท่านทำให้ชื่อเสียงโด่งดังเเ ละมีคนรู้จักท่านมากขึ้น
    ช่วงปลายอายุ หลวงปู่ปรงได้ย้ายจากวัดธรรมเจดีย์มาจำพรรษาที่วัดห้วยเจริญสุขเพื่อช่วยสร้างโบสถ์ที่วัดนี้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน

    จน เมื่อปลายปี๒๕๔๐ หลวงปู่ปรงได้มรณภาพลงที่วัดห้วยเจริญสุข อายุได้ ๙๕ ปี ๔เดือนเเละ ๓ วัน ซึ่งไล่เลี่ยกับหลวงปู่เย็น ( มรณภาพ ปี ๒๕๓๙ อายุ ๙๔ปี )

    สรุป ท่านเรียนมาสายเดียวกับหลวงพ่อกวยเเละหลวงปู่เย็น ตำราอาคมเก่าๆของหลวงปู่ ปัจจุบันเก็บรักษาโดยอ.เซียน ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดธรรมเจดีย์

    ส่วนอีกชุดอยู่ที่ศิษย์ท่านนึงที่เป็นสงฆ์ซึ่งเป็นอีกท่านที่ใกล้ชิดหลวงปู่เเละของคัดลอกตำราของหลวงปู่ไว้

    ตำราชุดนี้ เขียนเเช่งไว้
    ใครไม่ได้ครอบครู เปิดดู ขอให้ตายอย่าได้มีโลงใส่ อย่างได้มีไฟเผา ผมเคยดู เเต่ไม่กล้าเปิดครับ
    ความจริงเเล้วประวัติ เรื่องราวอย่างละเอียดของท่าน ยังมีอีกมาก เเละน่าสนใจมากทีเดียว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • index.php.jpg
      index.php.jpg
      ขนาดไฟล์:
      60.7 KB
      เปิดดู:
      545
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2009
  3. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ประวัติคณาจารย์สายหลวงปู่ศรี หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ

    ชาติภูมิ

    หลวงปู่เย็น ทานรโต เป็นชาวเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยกำเนิดท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ เดือนสี่ ปีขาล พุทธศักราช ๒๔๔๕ เป้นบุตรคนแรกในจำนวนพี่น้อง ๖ คน ของ นายถิ่น นางแซ่ม ศรีศาสตร์ บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำนา ตัวท่านเองนั้นนอกจากจะช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพกสิกรรมแล้ว ยังมีฝีมือในเชิงช่างหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างปูน แม้กระทั้งการออกแบบบ้านเรือน หรือวัดวาอารามตลอดจนสลักลวดลายท่านก็ทำได้และฝีมือดีมากเสียด้วย จนกระทั่งอายุครบบวชหลวงปู่เย็นได้ทำการอุปสมบทตามประเพณีอันดีงามของชายไทย ทั่วไป ณ วัดเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน หลังจากได้เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาสมบูรณ์แล้ว ท่านได้ย้ายไปอยู่วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัด ธนบุรี (ในสมัยนั้น) กับพระที่เป็นญาติของท่านรูปหนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ภาษาบาลี และภาษาขอม จนกระทั่งสอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ ๔ ประโยค ระหว่างนั้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ในฐานะนักเทศน์ฝีปากเอก ที่ใดมีงานมงคลต่างๆ หรือแม้กระทั่งงานศพ หากประชาชนรู้ว่าได้นิมนต์มหาเย็นมาเทศน์ด้วยไม่ว่าอยู่ใกล้อยู่ไกลก็หลั่ง ไหลมาฟังเทศน์กันอย่างล้นหลาม ธุดงค์ลึกลับ สมัยที่หลวงปู่เย็นยังจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังฯ นั้น วันหนึ่งท่านเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินแบกกลดสะพายบาตรผ่านมา เกิดความรู้สึกเลื่อมใสในบุคลิกของท่าน จึงเข้าไปกราบนิมนต์ขอให้พระธุดงค์เข้ามาพักที่กุฎิก่อน และให้การต้อนรับสู้อย่างแข็งขัน ระหว่างการสนทนาตอนหนึ่ง หลวงปู่เย็นได้ขอให้พระธุดงค์เล่าถึงการเดินธุดงค์ของท่าน พระธุดงค์ก็มีเมตตาเล่าถึงการออกธุดงค์ไปยังเมืองลาว ต้องเดินผ่านเข้าไปยังหมู่บ้านหนึ่งที่มีชื่อว่า “บ้านแก้ว” ซึ่งเป็นที่เลื่องลือในเรื่องยาพิษยาสั่ง คนแปลกหน้าผ่านเข้าผ่านไปในหมู่บ้านเป็นต้องถูกลองยาเสมอ น้อยคนนักจะออกมาได้อย่างปลอดภัย หลวงปู่เย็นได้ฟังดังนั้นเกิดความสงสัยจึงถามท่านว่า “ท่านไม่กลัวเขาทำให้ตายหรือ” “เขาทำให้ตาย กินข้าวได้เราไม่กลัว” พระธุดงค์ตอบเป็นปริศนา หลวงปู่เย็นแม้ว่าจะไม่เข้าใจคำตอบกระจ่างนัก แต่ก็มิได้ซักถามต่อเมื่อได้สนทนาต่อไปเรื่อยๆ จึงรู้ว่าพระธุดงค์รูปนั้นไม่ใช่พระธรรมดา แต่เป็นพระอภิญญาที่เรืองวิทยาคมยิ่งรูปหนึ่ง จึงไม่เกรงกลัวต่ออะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจากสัตว์ร้าย ไข้ป่า หรือแม้กระทั่งคน ท่านได้ธุดงค์มาแล้วแทบจะทั่วแผ่นดินไทยยังไปถึงเมือง ญวน เขมร ลาว และพม่า ก่อนจะจากกัน พระธุดงค์ได้มอบของวิเศษอย่างหนึ่งไว้ให้หลวงปู่เย็นบอกว่าเป็นแก้วสารพัด นึก สามารถบันดาลให้เป็นไปตามปรารถนาได้ทุกประการ

    แก้วสารพัดนึก

    พระธุดงค์รูปนั้นเอื้อมมือหยิบก้านธูปที่หน้าหิ้งพระมาก้านหนึ่งแล้วดัดให้ เป็นรูปตัว “พ” ต่อจากนั้นก็หยิบสายสิญจน์มาพันผูกก้านธูปตัว “พ”นั้นหลายๆ รอบพร้อมกับร่ายมนตร์กำกับตัว “พ” ต่อจากนั้นก็ยื่นให้หลวงปู่เย็น และได้กำชับว่าตัว “พ” นี้คือแก้วสารพัดนึกหมายถึงการนึกอยากได้หรือต้องการอยากได้อะไรก็จะได้ดัง ใจปรารถนา ผู้ใดได้ไว้ครอบครองตั้งมั่นในศีลธรรม ในความดี ก็จะได้สมใจนึก ตัวพอ “พ” นี้ เป็นของวิเศษ อันเกิดจากพระวาจาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสไว้ที่โคนต้นโพธิ์ “พอ พอ แล้วใครไม่ต้องเป็นครูสอนเราแล้ว” พอเรารู้ในธรรมวินัยนี้ว่าเป็นของที่เลิศประเสริฐยิ่งนัก พระพุทธก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี เป็นของดีที่วิเศษ ยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ในโลกนี้ ดังคำบาลีว่า “ยังกิญจิ ระตะนังโลเก วิชชะติวิวิธัง ปุถุระตะนัง พุทธธะสะมัง นัตถิตัสสะมา โสตถี ภะวันตุเม” แปลว่า แก้วแหวนเงินทอง ทรัพย์สินใดๆ ในโลกนี้ มนุษย์หรือปุถุชนจะไขว่คว้าหามาได้โดยไม่ยากแต่ของวิเศษ ดีเลิศ ประเสริฐ ยิ่งกว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีอีกแล้วที่ดีกว่านี้ พระธุดงค์รูปนั้นท่านได้อธิบายถึงสรรพคุณและถ่ายทอดวิชาสร้างตัวอักษร “พ” ให้กับพระเย็น (หลวงปู่เย็น) จนหมดสิ้น หลวงปู่เย็นท่านจึงได้ก้มกราบพระธุดงค์รูปนั้น แต่พอครั้นเงยหน้าขึ้นมาปรากฎว่า พระธุดงค์รูปนั้นได้หายไปอย่างไรร่องรอย นับว่าน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง “ท่านบอกว่าชื่ออะไรก้ไม่รู้แต่จำหน้าท่านได้แม่นยำ มารู้ที่หลังว่าเป็นใครเมื่อได้เห็นรูปท่านนั่นแหละ” หลวงปู่เย็นบอก หลวงปู่เย็นชี้ให้ดูรูป “พระครูโลกอุดร” ที่ท่านใส่กรอบตั้งไว้บูชาข้างหัวนอนและว่า “อาจารย์รูปนี้แหละ ที่ทำให้สร้างวัดสร้างวาได้สำเร็จ”

    เสาะหาอาจารย์ดี

    หลวงปู่เย็นอยู่วัดระฆังโฆสิตารามได้ ๙ พรรษา ระหว่างนั้นก็ค่อยสดับตรับฟังว่ามีพระอาจารย์เก่งๆ ที่ไหนบ้าง พอได้ข่าวว่า หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิทยาอาคมแก่กล้า จึงเดินทางไปกราบนมัสการขอฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านจึงรับไหว้แล้วก็ได้ถ่ายทอดวิทยาการต่างๆ ให้ทั้งด้านวิชาอาคมการผสมธาตุสำหรับนำมาสร้างเครื่องมงคลตลอดจนวิชาแพทย์ แผนโบราณ การผสมยาด้วยความวิริยะอุสสาหะขยันขันแข็ง ไม่นานต่อมาหลวงปู่เย็นก็สามารถรับการถ่ายทอดวิชาการต่างๆ จากหลวงพ่ออิ่มอย่างหมดสิ้น หลวงพ่ออิ่มเห็นว่าไม่มีอะไรจะสอนให้อีกแล้ว แต่หลวงปู่เย็นก็ยังกระหายใคร่รู้ในวิทยาการอยู่อีก หลวงพ่ออิ่มจึงฝากฝังให้เรียนต่อกับพระครูศรี วัดสระปรางค์ จังหวัดสิงห์บุรี ท่านพระครูศรี วัดพระปรางค์รูปนี้ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมยิ่งในสมัยนนั้น มีลูกศิษย์ลูกหามาขอเรียนวิทยาคมจากท่านมากมาย และต่อมาได้กลายเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็หลายรูป เช่น หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อพิม หลวงพ่อทอง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองเป็นต้น ท่านพระศรีเมื่อทราบว่าหลวงปู่เย็นเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขา ซึ่งเป็นสหมิกกับท่าน และได้ฝากมาเรียนวิทยาคมเพิ่มเติม ก็รับไว้ด้วยความเต็มใจประกอบกับหลวงปู่เย็นเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที คอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ด้วยความขยันขันแข็ง และเป็นผู้ฝักใฝ่ในวิชาความรู้ จึงเป็นที่รักใคร่โปรดปรานของท่านพระครูศรี และได้เมตตาสั่งสอนถ่ายทอดความรู้ให้จนหมดเปลือกโดยไม่ปิดบังอำพราง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลวงปู่เย็นได้ธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี พบเจดีย์องค์หนึ่งซุกอยู่ในดงหญ้ารกทึบอยู่ในสภาพทรุดโทรม จึงรู้ว่าอดีตเคยเป็นวัดที่ถูกปล่อยปละละเลยทิ้งให้รกร้าง ด้วยกุศลเจตนาที่บังเกิดขึ้นในดวงจิตอย่างแรงกล้า จึงตั้งปณิธานที่จะบูรณะก่อสร้างขึ้นมาใหม่ หลวงปู่เย็นได้จัดการขายที่นาซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงท่านไปหลายแปลง นำเงินที่ได้ทั้งหมดมาซื้ออิฐ หิน ปูน ทราย และวัสดุก่อสร้าง อาศัยที่ท่านมีฝีมือในเชิงช่างอยู่ก่อนแล้ว จึงลงมือสร้างกุฎิขึ้นมาก่อน จากนั้นก็สร้างศาลาสำหรับประกอบศาสนกิจ หอสวดมนต์ ขุดสระน้ำ สร้างพระอุโบสถ (เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๒) เมรุเผาศพ (เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๔) จนกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองสวยงาม มีนามว่า “วัดกลางชูศรีเจริญสุข” ปัจจัยในการบูรณะวัดกลางชูศรีเจริญสุข จากวัดร้างให้กลับรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง ในชั้นแรกนั้นเป็นเงินจากการขายที่นาหลวงปู่เย็น ต่อมาเมื่อชาวบ้านได้เห็นเจตนาอันบริสุทธิ์ของท่านก็นำวัสดุก่อสร้างมาถวาย ผู้ใดถวายปูน ๑ ถุง หลวงปู่ก็มอบอักษร “พ”ให้หนึ่งตัว ปรากฎว่าตัว “พ”ที่หลวงปู่เย็นได้มอบสมนาคุณให้ไปนั้น ผู้ที่รับไปแล้วต่างประสบอภินิหารกันหลายต่อหลายราย ตั้งจิตอธิษฐานขอสิ่งใดมักจะสมหวังในสิ่งนั้นเสมอ เป็นที่เล่าลือจากปากต่อปาก จึงมีคนมาขอตัว “พ”จากหลวงปู่จำนวนมากผ็ที่มาจากที่ไกลไม่สามารถขนปูนมาได้ ก้ถวายปัจจัยตามราคาของปูน ๑ ถุง หลวงปู่ก็มอบตัว “พ”ให้ไป ๑ ตัว แต่ก่อนปูนถุงละ ๒๐ บาท ใครถวาย ๒๐ บาท ก็จะได้ตัว “พ” ไป ๑ ตัว เมื่อปูนขึ้นราคา ตัว “พ” ของหลวงปู่เย็นก็ขึ้นราคาตามไปด้วย ซึ่งผู้ที่รับไปไม่เคยคิดในเชิง “พุทธพาณิชย์” แม้หลวงปู่จะพูดอย่างอารมณ์ดีเสมอว่า “ตัว พ ของข้าเป็นพุทธพาณิชย์” ทุกคนก็รู้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ท่านได้มาล้วนแต่ถูกนำไปใช้ในการก่อ สร้างถาวรวัตถุภายในวัดทั้งสิ้น ช่วงที่หลวงปู่เย็นบูรณะก่อสร้างวัดกลางชูศรีเจริญสุขนี้ ในแต่ละวันหลังจากท่านออกบิณฑบาตฉันจังหันเสร็จ ก็จะมาขนหินขนทรายผสมปูนก่อสร้างหรือทำงานช่างไม้ด้วยตัวท่านเอง ถ้ามีญาติโยมเจ็บป่วยมาให้รักษา ท่านจะทำหน้าที่เป็นหมอ รักษาด้วยยาแผนโบราณบ้าง น้ำมนต์บ้าง โดยเฉพาะเรื่องฝีและแผล เนื้อร้ายแผลเน่านั้น หลวงปู่เย็นมีวิธีรักษาที่เฉียบขาดไม่เหมือนใคร ท่านจะใช้เหล็กเผาไฟจนแดงแทงตรงที่เป็นฝีแล้วพรมน้ำมนต์ ไม่กี่วันก็หานอย่างน่าอัศจรรย์ แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังมีคนไปให้ท่านรักษาอยู่เสมอ ตกกลางคืนหลังจากที่ท่านไหว้พระสวดมนต์แล้ว หลวงปู่เย็นก็จะมานั่งหักก้านธูปทำตัว “พ” ไว้แจกจ่ายสมนาคุณผู้ที่นำปูนมาถวายจึงกล่าวได้ว่าสิ่งก่อสร้างรุ่นเก่าภาย ในวัดกลางชูศรีเจริญสุข ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ กุฎิธรรมฐาน กุฎิต้อนรับญาติโยม เมรุ ล้วนแล้วแต่เกิดจากฝีมือของหลวงปู่เย็นทั้งสิ้น

    นิมนต์หลวงปู่บุดดามาสร้างความเจริญต่อ

    คราวหนึ่งหลวงปู่ได้ไปกิจนิมนต์ เห็นพระภิกษุรูปหนึ่งที่ขึ้นธรรมมาสน์ มีสำเนียงการเทศน์น่าฟังยิ่งนัก อีกทั้งกิริยาเต็มไปด้วยความสงบเยือกเย็นบ่งบอกถึงการเป็นพระนักปฎิบัติธรรม ในใจเกิดความผูกพันอยากได้พระรูปนี้มาอยู่ที่วัดที่ท่านกำลังสร้างอยู่ เพื่อจะได้ช่วยกันสร้างความเจริญรุ่งเรือง แต่ไม่กล้าเอ่ยปากด้วยเกรงว่าจะพาท่านมาอดมาอยากลำบากเสียเปล่าๆ จนเมื่อไตร่ตรองรอบคอบดีแล้วก็ให้เกิดกำลังใจครั้นพอเสร็จพิธี หลวงปู้เย็นก็เข้าไปกราบนมัสการพระภิกษุรูปนั้นแล้วนิมนต์ให้ไปอยู่ที่วัด กลางชูศรีเจริญสุข เพื่อช่วยกันพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง โดยยื่นขอเสนอว่าขอให้มาอยู่สักพักหนึ่งก็ได้ หรือถ้าอยู่นานได้ยิ่งดี พระเทศน์รูปนั้นรับปากทันที และบอกหลวงปู่เย็นว่าจะอยู่นานทีเดียวละ ทราบในภายหลังว่า พระภิกษุที่หลวงปู่เย็นนิมนต์ไปอยู่ด้วยนั้น มีนามเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “หลวงปู่บุดดา ถาวโร” หลังจากที่หลวงปู่บุดดา มาจำพรรษาอยู่ด้วยแล้ว หลวงปู่เย็นก็ได้สร้างวัดกลางชูศรีเจริญสุขให้เป็นวัดของนักปฎิบัติธรรมโดย แท้จริง โดยมีหลวงปู่เย็นเป็นผู้นำในการเจริญภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่เย็นมักจะหยอกพระเณร และศิษยานุศิษย์ของท่านเสมอเสมอว่า ตราบใดที่หลวงปู่บุดดายังอยู่ที่วัดกลางชูศรีเจริญสุขความเจริญรุ่งเรืองก็ มีมาเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะท่านเป็นพระแท้ ไม่ต้องทำอะไรลาภสักการะก็จะไหลมาเทมา ที่พูดกันว่า “ยามหลับได้เงินหมื่น ยามตื่นได้เงินแสน” หลวงปู่บุดดาได้ทำให้เป็นที่ประจักษ์มาแล้วหลายครั้งหลายหนเมื่อท่านจำวัด หลับอยู่ คนที่มาทำบุญกับท่านเกรงใจไม่กล้าปลุกจึงรวมปัจจัยใส่ซองแล้วค่อยๆสอดใส่มือ ท่านโดยไม่ให้รู้สึกตัว เมื่อวัดกลางชูศรีฯ เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาสมตามที่หลวงปู่เย็นได้ตั้งปณิธานไว้แต่ต้น ท่านก็ถวายให้หลวงปู่บุดดาดูแลรักษาต่อไป ส่วนหลวงปู่เย็นนั้นก็ออกเสาะหาวัดร้างเพื่อจะพลิกความเจริญ ให้กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ หลวงปู่เย็นท่านก็เล่าให้ฟังว่า ในเขตจังหวัดสิงห์บุรีติดกับจังหวัดชัยนาทมีวัดร้างอยู่แห่งหนึ่ง อยู่ใขเขตชัยนาท หลวงปู่ปรารภว่า ตั้งใจไว้ว่าสร้างเมรุเผาศพวัดกลางชูศรีฯ เสร็จ จะไปบูรณะวัดร้างแห่งใหม่ในเขต ชัยนาท นั่นคือ“วัดร้างการเปรียญ”

    วัดร้างการเปรียญ

    ณ ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท มีวัดเก่าแก่อยู่วัดหนึ่งชื่อว่า “วัดการเปรียญ” ตอนที่หลวงปู่เย็นไปพบนั้น ทางกรมศาสนาได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดสร้างมาแล้วประมาณ ๖๐-๗๐ ปี สิ่งที่หลงเหลือให้เห็นจึงมีแต่เพียงซากอิฐเก่าในดงหญ้ารก ซึ่งสันนิษฐานว่าจะเป็นโบสถ์ที่หักทรุดลงมา และใบเสมาแกะสลักที่เหลืออยู่เพียงครึ่งใบอีก ๒-๓ ชิ้น จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้กับวัดมานานกล่าวว่า สมัยก่อนโน้นมีคนเข้ามาขุดหาของมีค่าในวัดร้าง และได้ไปเป็นสมบัติส่วนตัวหลายชิ้น เช่นพระพุทธรูปบูชา ขนาดย่อม พระเครื่องของใช้ทำด้วยสัมฤทธิ์ โลหะ อื่นๆ และเครื่องปั้นดินเผา ตลอดจนพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พระอุโบสถวัดหัวเด่นเดิมที่นั้น วัดการเปรียญมีเนื้อที่อันเป็นธรณีสงฆ์อยู่ ๙๐ ไร่ แต่หลังจากทำการรังวัดใหม่ในปัจจุบันเหลือที่อยู่เพียง ๗๐ ไร่เศษ ภายในบริเวณวัดมีสระน้ำอยู่ ๒ สระ แต่ต่อมาภายหลังได้ถมเสียหนึ่งสระ จึงเหลือเพียงสระเดียว และเชื่อถือกันว่าเป็นสระน้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาหลวงปู่เย็นได้มาบูรณะวัดการเปรียญและทำการขุดลอกสระเพื่อจะได้กักเก็บ น้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี ได้พบตรงกลางสระมีเสาไม้ ๑๐ กว่าต้น ผู้เฒ่าซึ่งอยู่ที่นั้นมานานคาดว่าคงเป็นเสาหอไตรที่สร้างไว้กลางสระในสมัย ก่อน และเล่าต่อไปว่าคนรุ่นเก่าๆไม่มีใครกล้าลงไปในสระนั้น เพราะเคยมีคนตักน้ำไปกินไปใช้แล้วเกิดอาเพศขึ้นภายใน ๓ ถึง ๗ วัน บางคนลงไปอาบน้ำในสระ ปรากฎว่า ๒-๓ วันต่อมาผิวหนังตามตัวเกิดสะเก็ดเหมือนเกล็ดปลา บางคนก็เป็นผดผื่นคัน รักษาเท่าไรก็ไม่หายจนต้องจุดธูปขอขมาที่ข้างสระ อาการที่เป็นอยู่ก็หายไปอย่างน่าอัศจรรย์ ในการขุดลอกสระคราวนั้นได้ใช้รถแม็กโคตักเอาดินขึ้นมาจากสระ ทำไปได้จวนจะเสร็จอยู่แล้ว ก็ได้ไปตักเจอของแข็งสิ่งหนึ่งเข้าพยายามดึงเท่าไรก็ไม่สามารถเอาขึ้นมาได้ แถมรถแม็กโคก็ทำท่าจะเลื่อนลงไปในสระอีกด้วย แม้ว่าย้ายที่ใหม่ก็ไม่สามารถตักขึ้นมาได้อีก การขุดสระจึงต้องยุติลงเพียงแค่นั้น หลังจากหลวงปู่เย็นได้บูรณะวัด สร้างใหม่ให้มีสภาพร่มรื่นเหมาะแก่การ ปฎิบัติธรรมแล้วท่านได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น “วัดสระเปรียญ” โดยได้แรงจูงใจจากที่วัดนั้นเคยมีหอไตรอยู่กลางสระน้ำอันเป็นที่รวบรวมพระ คัมภีร์ต่างๆ เพื่อการศึกษาและปฎิบัติ หลวงปู่เย็นได้สร้างศาลาอเนกประสงค์ตรงบริเวณที่เคยเป็นโบสถ์เก่า สำหรับประกอบศาสนกิจของญาติโยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้สร้างกุฎิสงฆ์ขึ้น ๑๑ หลัง สร้างแท็งก์น้ำใหม่ ๒ ที่ สร้างแท่นพระสีวลี ๒ แท่น ปรับบริเวณวัดให้มีทางเดินสะดวกสบาย ปรับปรุงถนนเข้าวัดที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น สรางหอสวดมนต์ปฎิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณร และอุบาสิกาที่สนใจการปฎิบัติกรรมฐาน และสร้างกุฎิให้เจ้าของวัดในอดีตเรียกว่า “กุฎิเจ้าท้ายสระ” เพื่อปกปักรักษาดูแลวัด เพราะสมัยนั้นวัดร้างแห่งนี้ปราศจากผู้ดูแลจึงมีคนมาขุดหาของมีค่าไปเป็น สมบัติจนหมดสิ้น เหลือไว้เพียงซากอิฐเก่าๆ ให้ดูพอเป็นหลักฐาน หลวงปู่เย็นเคยกล่าวกับศิษย์ที่ใกล้ชิดตอนอยู่วัดสระเปรียญใหม่ๆ ด้วยความเชื่อมั่นว่า “เคยสร้างวัดกลางชูศรีฯ มาแล้ว จะต้องสร้างวัดนี้ขึ้นมาใหม่ให้ได้” และบัดนี้ท่านได้ทำตามที่ลั่นวาจาไว้แล้ว และยังคงทำต่อไปโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก

    หุ่นพยนต์ตัว พ.พาน

    จัดเป็นหุ่นพยนต์ชนิดหนึ่งในสายบน กล่าวคือเป็นตัวแทนของคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือเป็นของสูง ต่างจากหุ่นพยนต์ในสายทั่วไปคือมักจะแทนสัตว์ แทนอมนุษย์ มีขีดความสามารถเฉพาะส่วนเครื่องรางตัว พ. นั้นมีอุปเท่ห์ สรรพคุณ ฝอยท่วมหลังช้าง ทั้งขอได้ดั่งใจปราถนา แคล้วคลาด เตือนภัย เห็นผู้เขียนเปรยไว้แบบนี้บางท่านอาจคิดว่ากล่าวเกินจริง ประสปการณ์จากผู้บูชาต่างหากเป็นข้อพิสูจน์บทความชิ้นนี้ อย่าปรามาสเครื่องรางนิวเอจที่สร้างขึ้นไม่ถึง ๕๐ ปีนะครับของที่ครูบาอาจารย์อุทิศตนสร้างเพื่อสงเคราะห์ผู้คนทั้งหลายอย่าง ตั้งใจ แม้จะไม่เก่าเป็นร้อยๆปีแต่ก็ดีไม่ต้องเสี่ยงกับของเก๊ของฝีมือ เพราะตัว พ. พิจารณาง่าย
    มีข้อความในกระดานภายในวัดสระเปรียญแสดงคุณวิเศษชัดเจนดังนี้ “พ.พาน หมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ วิธีใช้ให้เรียก พ.นี้ว่า พ่อ ปรารถนาสิ่งใดบอกพ่อช่วยด้วย เป็นสิ่งมหัศจรรย์ประดุจแก้วสารพัดนึก นึกสิ่งใดจะสำเร็จ มีประสปการณ์มากมายเช่น ค้าขาย แคล้วคลาด เตือนภัย ทำน้ำมนต์ ป้องกันอันตราย นับถือให้มั่นมีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น”
    กรรมวิธีการสร้างท่านจะนำก้านธูปที่จุดบูชาพระแล้วพลีเอามาหักเป็นลักษณะ ตัวพยัญชณะ พ.พาน แล้วพันด้วยสายสิญจ์หรือด้ายสีขาว (หากเป็นด้ายสีแดงหรือส้มจะหายากยิ่ง) พันไปก็บริกรรมปลุกเสกไปจนสำเร็จเสร็จสิ้นแล้วท่านก็ปลุกเสกอีกที จะสังเกตุว่าบางตัวก็มีทองบางตัวก็ไม่มีเนื่องจากตอนที่ไปรับจากท่านท่านแจก ให้มาเปล่าๆแต่ท่านก็จะบอกให้เอาทองมาปิดแล้วเลี่ยมคล้องต่อมาท่านก็ปิดทอง ให้เลยแล้วท่านก็เอากระดาษทองนั่นแหละห่อมาให้ ภายหลังท่านแจกแบบเลี่ยมเดิมจากวัดเลยพร้อมใบคาถาปลุกเป็นแบบโรเนียวตัว พิมพ์ดีด บางครั้งไม่มีท่านก็จะบอกปากต่อปาก ยุคที่จัดเป็นฝีมือการเลี่ยมพลาสติกที่มาตรฐานของวัดคือฝีมือ ช่างชื่อห่วง จะมารับงานเลี่ยมถึงที่วัดโดยมีมอเตอร์ไซด์ซื้อหมูสีดำกับกล่องอุปกรณ์มา นั่งเลี่ยมแทบทุกวันเดินสายเลี่ยมให้กับวัดละแวกนั้นซึ่งก่อนหน้านั้นวัด หลวงพ่อกวยก็เคยใช้บริการตาห่วงเช่นกัน บางทีงานชุกเอากลับไปเลี่ยมที่บ้านก็มี หรือคนที่ได้รับเอาไปให้แกเลี่ยมเองก็มี ฝีมือปราณีตพร้อมปิดทองให้เสร็จสรรพ ทองที่ใช้จะเป็นทองสังเคราะห์นะครับไม่ใช่ทองแท้จึงเรียบตึงสวยงามไม่ปริแตก ส่วนช่างอีกคนชื่อช่างเลี้ยง อยู่ละแวกเดียวกันตะเวนรับงานในลักษณะเดียวกันมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่หลายคนที่เช่าตัว พ.มักจะเลือกที่เลี่ยมเก่าเลี่ยมเดิมก่อนเพราะดูง่ายส่วนตัวเปล่าๆเปลือยๆ หากมีความชำนาญก็จะพิจารณาได้ง่ายเช่นกันครับ ขนาดปกติประมาณปลายนิ้วก้อย หรือหัวแม่โป้ง ใหญ่ขนาดบูชาก็มี ๓ นิ้ว ๕ นิ้ว ใหญ่ขนาดที่หลวงปู่อุ้มได้ หรือพิเศษขนาดทีวี ๒๙ นิ้วก็มีทำให้เฉพาะคนหายากมาก ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่เย็นท่านสร้างตัว พ. มาตั้งแต่ช่วงแรกจนบั้นปลายแห่งสังขารท่านตรากตรำเพียรทำเพียรหักก้านธูปและ พันด้ายบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านเองมาตลอดมาช่วงท้ายๆก่อนมรณะภาพจึงมีพระ เณรลูกวัดและฆราวาสศิษย์วัดสระเปรียญมาช่วยกันบ้างอีกอย่างมีผู้คนต้องการ สูงมากยิ่งขึ้นไม่เพียงพอแก่ความศรัทธาของสาธุชนจึงต้องสร้างคราวละมากๆ แต่ความศักดิ์สิทธิ์มิได้ต่างกันแม้แต่น้อย คะเนดูว่าตัว พ. ที่มีหมุนเวียนอยู่นี้น่าจะมีจำนวนแค่พันกว่าตัวเท่านั้นเนื่องจากกรรมวิธี สร้างที่ซับซ้อน ความแรงในสายวิชาและช่วงหลังมีคนเสาะหากันมากบางคนเข้าไปกว้านเช่าออกมาจาก พื้นที่ ตอนนี้หายากแทบไม่มีแล้ว ต่อไปคงหาได้ไม่ง่ายอีกอย่างความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่ซ้ำมีจุดเด่นเฉพาะสาย เฉพาะตัว ที่สำคัญประสปการณ์ในทุกๆด้านจากผู้เคยบูชา


    จริยาวัตร

    หลวงปู่เย็นมีอายุ มากแล้ว แต่สิ่งที่น่าประทับใจที่หลวงปู่ได้ยึดถือมาตลอดก็คือท่านเป็นคนอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ พูดจาตรงไปตรงมาแบบคนโบราณไม่อ้อมค้อม มีความอ่อนน้อมถ่อมตนไม่เคยอวดอ้างว่าตัวท่านเองเก่งกาจแต่จะพูดถึงผู้อื่น ด้วยความชื่นชมยกย่องเสมอ เคยมีคนมาทดสอบภูมิปัญญาของท่านแต่เมื่อได้ฟังคำพูดที่แฝงด้วยคติธรรมของ หลวงปู่ต่างก็ยอมรับโดยดุษฎีว่าท่านรู้จริงปฎิบัติจริง หลวงปู่ไม่เคยว่ากล่าวให้ร้ายผู้ใด แม้ว่าผู้นั้นจะทำให้ขุ่นเคืองใจ หลวงปู่เย็นมีโรคประจำตัว คือ โรคหอบและระบบขับถ่ายไม่ปกติ แต่ถึงกระนั้นท่านก็ต้อนรับบรรดาญาติโยมที่มาหาท่านตั้งแต่เช้าจรดเย็นด้วย ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ท่านมีวิธีสั่งสอนธรรมะ ที่ทำให้ผู้ฟังสนุกสนานเพลิดเพลินไม่รู้เบื่อ ใครที่เคยไปหาท่านครั้งหนึ่งแล้วก็กลับไปอีกคนที่มีทุกข์ทางใจ หลังจากได้สนทนากับหลวงปู่เย็นก็จะเกิดกำลังใจต่อสู้กับอุปสรรคต่อไป


    วัตถุมงคล

    หลังจากทำบุญอายุครบ ๘๙ ปี ของหลวงปู่เย็น เมื่อวันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๓๔ ประมาณกลางเดือนมีนาคม ได้มีการขึ้นกุฎิกรรมฐานของหลวงปู่เย็นที่วัดกลางชูศรีเจริญสุขเป็นอาคารไม้ สองชั้นหลังเล็กกะทัดรัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ได้พบพระเครื่องจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดจนถึงรุ่นฝังลูก มิมิตฉลองพระอุโบสถ ตลอดจนรุ่นสร้างเมรุ ประเภทเนื้อดิน ได้แก่ พระขุนแผนหลังยันต์ “ตัว นะ” ซึ่งกล่าวว่าเป็นพุทธคุณทางเมตตาแรงมาก พระรอด ชาวบ้านศรัทธากันมาก ใครกลัวลูกหลานถูกเกณฑ์ทหาร ถ้าแขวนพระรอดของหลวงปู่เย็นมักจะจับได้ใบดำไม่ต้องเป็นทหาร พระนางพญาเนื้อดิน พระสรรณ์เนื้อดิน และพระตรีกายเนื้อผงใหญ่ซึ่งมีจำนวนน้อย สำหรับรุ่นฝังลูกนิมิตก็มีพระนาคปรก พระผงรูปเหมือนหลวงปู่เย็นนั่งสมาธิรูปสี่เหลี่ยมนางกวัก เหรียญ ๒ หน้ารูปหลวงปู่เย็นกับพระครูศรี ล็อกเกต รูปหลวงปู่เย็นอัดพลาสติก รุ่นสร้างเมรุเป็นรูปเหมือนอุดกริ่ง นอกจากนั้นก็มีเครื่องมงคลของหลวงพ่อกวยปะปนอยู่ด้วย ได้เค้าความจากหลวงปู่เย็นว่า ในปี ๒๕๒๒ ซึ่งมีงานฝังลูกนิมิตที่วัดกลางชูศรีเจริญสุขนั้น หลวงปู่ได้สร้างเครื่องมงคลจำนวนมาก เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ที่มาร่วมทำบุญ ท่านได้นิมนต์พระเกจิสายพระครูศรีมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกหลายรูปอาทิเช่น หลวงพ่อกวย หลวงพ่อพิม หลวงพ่อทอง หลวงพ่อปรง เป็นต้น ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๔ ได้มีพิธีเททองหล่อพระรุ่นแรกของหลวงปู่เย็นนับตั้งแต่หลวงปู่เย็นได้ศึกษา การผสมธาตุมาจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จนกระทั่งท่านอายุ ๘๙ ปี ก็เพิ่งเป็นครั้งแรกที่หล่อพระขึ้น หลวงปู่ได้จัดพิธีถูกต้องตามแบบอย่างโบราณครบถ้วน มีการจัดตั้งศาลเพียงตาบูชาครูบาอาจารย์ เจ้าของวัด เจ้าที่เจ้าทาง และเทพาอารักษ์ ปลุกเสกแผ่นยันต์เจิมเบ้าหลอม จุดไฟ สุมพิมพ์ จุดไฟหลอมโลหะ นำชนวนต่างๆ ที่บรรดาลูกศิษย์นำมาถวายใส่เบ้าหลอม ตลอดพิธีหลวงปู่ได้กำหนดจิตภาวนากระทั่งเสร็จพิธีพระเครื่องรุ่นนี้ได้แก่ พระกริ่งอุดด้วยผงผสมเศษเกศาหลวงปู่แหวน ตัว “พ” รูปเหมือน ๘๙ และพระพิฆเนศ ในโอกาสเดียวกันนี้ได้จัดสร้างพระผงขึ้นจำนวนหนึ่ง ได้แก่ สมเด็จทรงนิยม ๘๙ ตัว “พ” เนื้อผงทรงกลมพระผงรูปเหมือนหลวงปู่เย็น นอกจากนั้นยังมีเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ครึ่งองค์ทรงรูปไข่ซึ่งนับได้ว่าเป็น เหรียญรุ่นแรกของวัดสระเปรียญ เครื่องมงคลทั้งหมดเมื่อสร้างเสร็จแล้ว หลวงปู่ได้ทำการปลุกเสกเรื่อยมา จนกระทั่งถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ จึงได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่อีกครั้ง หลังจากงานทำบุญครบรอบ ๘๙ ปี ของหลวงปู่เย็นเสร็จสิ้นลงแล้ว ได้มีการสร้างเครื่องมงคลขึ้นอีกรุ่นหนึ่งเป็นผ้าพิมพ์รอยมือรอยเท้าของหลวง ปู่เย็น เรียกว่ารุ่นก้าวหน้าหลวงปู่เย็นให้เหตุผลในการสร้างวัตถุมงคลนี้ขึ้นว่า เท้ามีไว้เดินเพื่อประกอบธุรกิจ ส่วนมือมีไว้เพื่อสร้างสรรค์


    หลวงปู่เย็นอาพาธ

    หลังจากงานทำบุญอายุ ๘๙ ปี ผ่านพ้นไปแล้วบรรดาพุทธศาสนิกชนที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาต่อหลวงปู่เย็น ต่างพากันหลั่งมาขอเครื่องมงคลจากท่านไปบูชาเป็นจำนวนมาก ใครที่มีทุกข์ทางกายก็พากันมาให้หลวงปู่รักษา ด้วยวัยชราแถมยังมีโรคประจำตัวด้วยทำให้สังขารของท่านทรุดโทรมเรื่อยมา กลางวันต้องคอยต้อนรับญาติโยม กลางคืนต้องมานั่งทำตัว “พ” ที่ทำเสร็จแล้วก็แจกจ่ายกันไปหมด แล้วก็นัดให้มารับวันหลัง ใครที่มารับตัว “พ” ไปจากหลวงปู่เย็นท่านจะประสิทธิ์ให้ด้วยเสียงดังฟังชัดว่า “พ่อจงมาโปรดลูกคนนี้ให้เขากินอิ่มนอนหลับ พ่อจงโปรดลูกคนนี้เขาจะเอาอะไรก็ขอให้ช่วยเขาสมปรารถนา พระเจ้าพ่อจงมาโปรดลูกคนนี้ พระเจ้าแม่ลูกคนนี้ พุทธะ เต เชนะ ธัมมะ เต เชนะ สังฆะ เต เชนะ ความใดอย่าให้ถูก ปติเสวามิ พุทธะ เมตตาจิต ธัมมะเมตตาจิต สังฆะเมตตาจิต นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู อิสวาสุ สุสวาอิ พุทธะปิติอิ” (บทนี้จากในหนังสือโลกทิพย์เป็นผู้เผยแพร่ ส่วนที่ผมใช้ท่องเป็นอีกบทที่เคยเผยแพร่ไว้แล้ว) เมื่อว่างจากการต้อนรับญาติโยม หลวงปู่เย็นก็จะออกไปรดน้ำดูแลต้นไม้และบริเวณวัดให้ร่มรื่นเมื่อได้มา สะอาดตาเมื่อได้เห็นสะอาดหูเมื่อได้ยินแต่สิ่งที่ดี สบายใจเมื่อกลับไป จากการที่หักโหมกำลังเกินวัย ในเดือนเมษายน ๒๕๓๔ หลวงปู่เริ่มอาพาธด้วยอาการระบบขับถ่ายไม่ปกติฉันจังหันได้น้อย จนถึงฉันไม่ได้เลย เมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาลมาหลายครั้งแต่ก็ไม่ดีขึ้น อาการมีแต่ทรงกับทรุด ศิษย์ที่ใกล้ชิดจะนิมนต์ท่านไปรักษาที่กรุงเทพฯ แต่หลวงปู่ไม่ยอมไป ท่านถือเสียว่าถึงเวลาละสังขารแล้ว หลวงปู่ยอมเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลครั้งแรก เนื่องจากมีคนบอกกับท่านว่าภาระของท่านยังไม่เสร็จสิ้นวัดสระเปรียญยังไม่ เจริญถึงที่สุดตามที่ท่านได้ตั้งใจไว้ เมื่อได้รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอย่างเต็มที่อาการของท่านก็เริ่มทุเลาลง เป็นลำดับ หลวงปู่ได้กล่าวกับญาติโยมที่มาเยี่ยมเยือนท่านว่า “ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เป็นทุกข์อย่างยิ่งในชีวิต ร่างกายต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค จิตวิญญาณต้องการบุญกุศลเป็นอาหาร การได้พบได้เข้าใกล้ ได้ปฎิบัติต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นกุศลอย่างยิ่ง แต่ในชีวิตของคนบางคนและบางครั้งก็ยากที่จะทำได้” เมื่อหลวงปู่เย็นหายจากอาพาธออกจากโรงพยาบาลกลับมาอยู่วัดสระเปรียญ ท่านได้ดำริจะสร้างพระขึ้นโดยกล่าวว่า “การสร้างพระเป็นมหากุศลอย่างหนึ่งที่น้อยคนจะสร้างขึ้นมาได้ ด้วยอานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย จะช่วยปัดเป่าบรรดาทุกข์โศก โรคภัยไข้เจ็บและอันตรายต่างๆ ให้สิ้นไปอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มบุญบารมีให้แก่ตนเองและช่วยบูรณะวัดสระ เปรียญที่เก่าแก่กร้างมาเกือบร้อยปีให้เจริญรุ่งเรืองเพื่อสืบทอดพระพุทธ ศาสนาต่อไป” และนั้นคือที่มาของเครื่องมงคล “รุ่นชนะภัย”

    เครื่องมงคลรุ่นชนะภัย เครื่องมงคลรุ่นชนะภัยนี้ หลวงปู่เย็นได้ประกอบพิธีเททองหล่อขึ้นมาเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคน ๒๕๓๔ ซึ่งตรงกับวันมหามงคลวิสาขบูชา โดยจัดพิธีอย่างถูกต้องตรงกับตำหรับของบุรพาจารย์ ที่ท่านถ่ายทอดมาจากหลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขา จังหวัดสุพรรณบุรี และท่านพระครูศรี วัดพระปรางค์ จังหวัดสิงห์บุรี ชนวนต่างๆ ที่นำมาสร้างเครื่องมงคลรุ่นนี้ประกอบด้วยชนวนพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ ชนวนท่านเจ้ามา ชนวนหลวงปู่ทอง ชนวนพระอาจารย์ธรรมกิตติ ชนวนหลวงพ่อศรี ชนวนหลวงปู่อิ่ม ชนวนโลหะสัมฤทธิ์เก่าวัดกลางชูศรีเจริญสุข และชนวนของวัดสระเปรียญ ส่วนแผ่นอักขระลงยันต์ประกอบด้วย แผ่นอักขระลงยันต์ของพระครูโลกอุดร แผ่นยันต์พระอาจารย์ ๑๐๘ ยันต์พิชัยสงครามยันต์จักรพรรดิ ยันต์คุ้มกันภัย กันฟ้าผ่า กันไฟ
    ยันต์ มงคลคู่ชีวิต ยันต์เรียกคนมาสู่ไม่ขาด ยันต์มหาปราบ มหาระงับ มหาอำนาจ มหานิยม มหาระรวย มหาลาภ ยันต์จักรนารายณ์น้อยใหญ่ และยันต์ตามแต่อธิษฐานใช่ได้ ๑๐๘ ประการ นอกจากนั้นแล้วยังมีตะกรุดเหรียญเก่าที่สึกชำรุด และห่วงเหรียญจำนวนมาก นำมาหล่อหลอมรวมกันเป็นเครื่องมงคล ที่หลวงปู่เย็นตั้งใจสร้างและปลุกเสกเป็นพิเศษ เพื่อฝากไว้เป็นอนุสรณ์ก่อนอายุขัย มีอยู่ด้วยกัน ๓ ชนิด คือ ๑. พระพุทธมงคลชัยชนะภัย หรือ พระชัยสะดุ้งกลับ เนื้อทองผสม อุดมด้วยผงวิเศษ ผสมเส้นเกศาหลวงปู่เย็น ๒. เหรียญหล่อรูปหลวงปู่เย็นนั่งสมาธิในกลด เนื้อทองผสม ๓. เหรียญหล่อรูปพระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จและขจัดอุปสรรคทั้งปวง เนื้อทองผสม

    เครื่องมงคลรุ่นฉลองอายุ ๙๐ ปี เนื่องในโอกาสที่หลวงปู่เย็นมีอายุครบ ๙๐ ปี คณะศิษย์ได้ร่วมกันขออนุญาตหลวงปู่สร้างเครื่องมงคลเป็นอนุสรณ์ขึ้นชุดหนึ่ง และได้ทำพิธีพุทธภิเษกไป เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๕ เครื่องมงคลของหลวงปู่เย็นทานรโต ล้วนแต่เป็นของดีที่หายากในกาลต่อไปข้างหน้าทั้งสิ้น และโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางไปกราบรับของจากหลวงปู่โดยตรงยิ่งมีความประทับใจ มากเป็นพิเศษเพราะปีติที่ได้รับจากมือท่าน ได้ฟังเสียงของท่านแล้วต่างยิ่งมีความสุข เพราท่านเป็นพระคุยสนุกเรียกว่าได้พบได้เห็นได้พูดสนทนาธรรมกับท่านแล้วหาย เหนื่อย หลวงปู่เย็น ทานรโต ท่านเป้นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีจริยาวัตรงดงามผุดผ่องน่าเลื่อมใส แทบทุกคนที่ได้ไปพบเห็นท่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ท่าน เป็น “พระอริยะ” เป็นพระแท้ พระผู้ประเสริฐเลิศล้ำอย่างแท้จริง



    มรณานุสติ

    ในบางครั้งที่สนทนาธรรมกับหลวงปู่ หลวงปู่ท่านก็ให้พิจารณามรณานุสติไว้ ชิวิตคนเราจะได้ไม่ประมาท “สพฺเพ สตฺตา มริสสนฺติ มรณนติหิ ชิวิตํ” ซึ่งแปลว่าสัตว์ทั้งหลายมั้งมวล ย่อมต้องตายเพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุดอย่างนี้ อันกาลเวลาย่อมมีปกติเปลี่ยนแปลงไปไม่มีเวลาหยุดยั้ง ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ย่อมหมดไปสิ้นไปตามกาลเวลา มนุษย์เราทั้งหลายเกิดในโลกนี้ย่อมมีชรา ความแก่ความเฒ่าเริ่มเข้ามาหาเราอย่างเงียบๆ ไม่มีเวลาหยุดยั้งในที่สุดก็แตกสลายเข้าไปสู่อำนาจแห่งความตาย จะเป็นเด็กหรือเป็นผู้ใหญ่จะเป็นคนจนหรือคนรวย จะเป็นใครก็แล้วแต่เมื่อถึงคราวตายก็ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น ชีวิตทุกชีวิตถ้าหมดกรรมหมดอายุก็ต้องตายเหมือนกันหมดแม้แต่องค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย พระองค์เป็นผู้ประเสริฐ ประกอบด้วยปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระกรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ เมื่อถึงคราวของชีวิต ก็ต้องเข้าสู่ปรินิพพาน คือความตายเหมือนกัน เมื่อเป็นเช่นนี้จะเอาอะไรกับคนธรรมดาอย่างเราซึ่งบางครั้งก็เป็นผู้ที่เต็ม ไปด้วยกิเลส จักอยู่ค้ำฟ้าจักไม่ตายได้อย่างไร เพราะฉะนั้นพวกเราชาวพุทธทั้งหลายควรหมั่นพิจารณารู้ตามความเป็นจริงว่า... “ความตาย” เป็นของธรรมดาเป็นธรรมชาติล้วนๆที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามกฎของธรรมชาติ เมื่อเราพิจารณารู้เหตุดังนี้แล้ว เราก็จะเกิดปัญญา
    มรณภาพ ด้วยอาการสงบ โดยท่านมีโรคประจำตัวคือระบบขับถ่ายไม่ปกติ โรคหอบ ถุงลมโป่งพอง ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เวลา ๑๓.๔๕ รวมอายุได้ ๙๔ปี ๒เดือน ๑๑วัน สรีระของท่านหลังจากสวดอภิธรรม บำเพ็ญกุศลแล้วนำมาบรรจุใส่โลงแก้วประดิษฐานไว้ที่วัดสระเปรียญ เพื่อให้สาธุชามาสักการะขอพรกันอย่างสม่ำเสมอ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 14.jpg
      14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.2 KB
      เปิดดู:
      778
  4. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    พระยอดธงหลวงพ่อบัว วัดแสวงหา นั้น หลวงพ่อท่านได้ให้มีการจัดสร้างขึ้นเพื่อนำออกมาให้บูชา หลังจากสร้างโบถส์เสร็จ

    ในครั้งนี้ก็ได้จัดสร้างสมเด็จหล่อทองเหลืองขึ้นมาด้วย แต่เนื่องจาก เมื่อหล่อสมเด็จทองเหลืองเสร็จแล้ว เมื่อเย็นตัวลงพระผิดรูปไปเยอะ เช่น งอ หรือบิดเบี้ยว

    หลวงพ่อท่านจึงได้สั่งให้หยุดหล่อ จึงได้สมเด็จทองเหลือง มาประมาณ 50-100 องค์

    แล้วนำ ทองเหลืองที่เหลือมาสร้างพระยอดธง โดยหล่อกันเองหลังโบถส์ที่กำลังสร้าง

    มวลสารที่ทราบนั้นสอบถามมาจากท่านผู้รู้และเท่าที่ทราบคือ หลวงพ่อท่านได้ใส่ ชนวนของพระกริ่ง วัดสุทัศน์ลงไปด้วย

    พระยอดธง เป็นพระหล่อแบบโบราณ รูปทรงพระนั้นไม่สวยงามมาก มี รอยตะไบตกแต่ง องค์ในหลายๆจุดเพื่อนำเนื้อที่เกินออกไป

    อายุการสร้างประมาณปี 25490-2500 เพราะโบสถ์เริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2490 และแล้วเสร็จในปี 2500 ซึ่งในปีนี้ได้มีการแจกเหรียญรุ่นแรกให้แก่ญาติโยมที่ร่วมทำบุญและเหรียญรุ่นแรกก็มีการแจกมาเรื่อยๆ จนหมดไป

    ส่วนพระยอดธงนั้นได้นำออกมาให้บูชาประมาณปี 2509 เพื่อนำเงินจัดสร้างศาลาฯ ของวัดแสวงหา

    พระยอดธงนั้นมีจำนวน พอสมควรแต่ถ้าเทียบกับเหรียญรุ่นแรกแล้ว จำนวนนั้นยังน้อยกว่า ครับผม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P8050210.jpg
      P8050210.jpg
      ขนาดไฟล์:
      507.8 KB
      เปิดดู:
      1,411
    • P8050211.jpg
      P8050211.jpg
      ขนาดไฟล์:
      522.9 KB
      เปิดดู:
      325
    • P8040268.jpg
      P8040268.jpg
      ขนาดไฟล์:
      363.5 KB
      เปิดดู:
      720
    • P8040269.jpg
      P8040269.jpg
      ขนาดไฟล์:
      377.5 KB
      เปิดดู:
      629
  5. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    เหรียญอัลปาก้าลงยา

    ฉลองอายุ 60 ปี หลวงพ่อบัว

    ในปีนี้ได้จัดสร้าง เหรียญหลาย เนื้อตั้งแต่ ทองแดง เงิน อัลปาก้า

    และได้จัดสร้างเหรียญทองแดงลงยา อัลปาก้าลงยา เงินลงยา

    ส่วนสีที่พบเห็นก็มี น้ำเงิน แดง ขาว ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P8040222.jpg
      P8040222.jpg
      ขนาดไฟล์:
      449 KB
      เปิดดู:
      234
    • P8040223.jpg
      P8040223.jpg
      ขนาดไฟล์:
      394.8 KB
      เปิดดู:
      244
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2009
  6. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    พระกริ่งชุดนี้ ได้มีลูกศิษย์สร้างมาถวาย หลวงพ่อ และให้หลวงพ่อท่านปลุกเสกเพื่อออกมาให้บูชา เพื่อนำเงินไปสร้างพระอุโบถส์ ในระหว่างปี 2490-2500

    ตลอดจนในระยะเวลาที่สร้างโบถส์นั้นก็ได้จัดสร้าง พระสมเด็จทองเหลืองหล่อและพระยอดธงหล่อโบราณด้วย

    จำนวนของพระสมเด็จหล่อนั้นมีไม่มากประมาณ 50-100 องค์เท่านั้นเนื่องจาก เมื่อ หล่อเสร็จแล้วได้รูปแบบพระออกมาไม่สวยเท่าที่ควรจึงได้หยุดหล่อและได้ทำการ จัดสร้างพระยอดธงขึ้นมาแทน ครับ

    พระกริ่งของหลวงพ่อชุดนี้ ถือว่า หายากพอสมควร นานๆจะพบ พอๆกับสมเด็จหล่อ ที่ปัจจุบันไม่พบแล้ว ศิษย์รุ่นหลังอาจจะไม่ทราบ ว่าเป็นของหลวงพ่อครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P8040213.jpg
      P8040213.jpg
      ขนาดไฟล์:
      417.8 KB
      เปิดดู:
      898
    • P8040214.jpg
      P8040214.jpg
      ขนาดไฟล์:
      466.3 KB
      เปิดดู:
      588
    • P8040215.jpg
      P8040215.jpg
      ขนาดไฟล์:
      282.8 KB
      เปิดดู:
      399
    • P8040216.jpg
      P8040216.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380.7 KB
      เปิดดู:
      279
  7. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    พรุ่งนี้ กลับบ้านที่อ่างทอง

    ขอบารมีหลวงพ่อ คุ้มครอง สาธุๆๆ
     
  8. K_P

    K_P เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +3,536
    กราบหลวงพ่อบัวและสวัสดีครับ ขอบคุณสำหรับความรู้นะครับ
     
  9. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,009
    ค่าพลัง:
    +146,278
    ยังรออ่านอยู่ แต่คนเขียนไม่ว่างมาเขียน...แหะๆ
     
  10. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ประวัติคณาจารย์สายหลวงปู่ศรี หลวงปู่ปรง เพิ่มเติม

    วัดธรรมเจดีย์


    วัดธรรมเจดีย์ ตั้งอยู่ ต.สระเเจง อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เดิมเป็นวัดร้าง สันนิษฐานตามพระเครื่องที่มีการค้นพบที่วัด พิจารณาจากลักษณะเป็นพระโคนสมอในสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อวัดโคกเจดีย์ เป็นวัดร้าง ไม่มีป้ายบอกชื่อวัด มีเเต่โคกเจดีย์เก่าเเก่ มีสภาพชำรุดทรุดโทรม ถูกลักลอบขุดหาวัตถุโบราณ ปัจจุบันโคกเจดีย์ที่ว่านี้ ถูกปรับสภาพเรียบไปเเล้ว ไม่พบวัตถุโบราณเเละหรือพระเครื่องหลงเหลืออยู่เลย อีกสถานที่หนึ่งใกล้กับโคกเจดีย์นี้ ขณะปรับพื้นที่วัด ได้พบโครงกระดูกมากมาย เเละยังพบพระเครื่องเนื้อดินเผาอยู่ในหม้อดินถูกฝังไว้เเตกหักเสียหายเป็น จำนวนมากเนื่องจากการใช้รถปรับที่ให้เรียบ พระเครื่ององค์ดีๆหรือที่บิ่นชาวบ้านเก็บเอาไปบูชา สมัยก่อนใช้วิธีการคือใช้ลวดถักคล้องคอ เกิดเหตุอัศจรรย์คือ คนที่คล้องพระจะยังอยู่ เเต่คนที่เอาพระไปเก็บไว้บ้าน พระจะหายไป บางคนมาตามเจอ ปรากฎว่า พระกลับมาอยู่ที่เดิม องค์ที่เเตกชำรุดก็จะกลับมาอยู่ที่เดิมเช่นกัน
    เมื่อหลวงปู่ปรงมาจำพรรษาที่วัดนี้ ชาวบ้านได้สร้างกุฎิศาลามุงเเฝกให้ เเละได้ขออนุญาตทางกรมศาสนาตั้งชื่อวัดตามชาวบ้านที่เรียกว่า วัดโคกเจดีย์ หรือวัดดอนเจดีย์ เเต่หลวงปู่ปรงบอกชื่อวัดธรรมเจดีย์ดีที่สุด



    ลำดับเจ้าอาวาส
    ตั้งเเต่เป็นวัดเเละกลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอดีตเจ้าอาวาสเลย จนหลวงปู่ปรงได้มาจำพรรษาเเละกลายเป็นเจ้าอาวาสรูปเเรกของวัดยุคใหม่(วัด ธรรมเจดีย์)


    ประวัติหลวงปู่ปรง
    เดิมชื่อ ปรง ปิ่นทอง เกิดปีมะเส็ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นบุตรของคุณพ่อปั้น ปิ่นทอง เเละคุณเเม่ปลีก ปิ่นทอง มีพี่น้องสามคน คนเเรกชื่อ นานยโป้ย ปิ่นทอง คนรองชื่อนางเปล่ง จงกสิกรรม หลวงปู่ปรงเป็นคนสุดท้อง

    อุปสมบท
    อุปสมบทครั้งเเรกเมื่อพ.ศ.๒๔๖๘ ที่วัดห้วยเจริญสุข มีหลวงพ่อพระครูศรี วิริยะโสภิต วัดพระปรางค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อช้ามเเละหลวงพ่อผ่อง เป็นพระคู่สวด เรียนวิชากับหลวงพ่อศรีได้ ๖ พรรษา จากนั้นได้ลาสิกขาเพราะร้อนวิชา ออกมามีครอบครัวเเละใช้ชีวิตเเบบฆราวาส มีบุตรชายหนึ่งคน
    ท่านเคยใช้ชิวิตเเบบเสือ เเบบนักเลง ภายหลังกลับใจมาบวชอีกครั้ง หลวงปู่เข้าอุปสมบทครั้งที่สองปีพ.ศ.๒๕๐๔ ที่วัดราชประสิทธิ์ จ.สิงห์บุรี มีหลวงพ่อเตี้ยมเป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้น ท่านได้มาจำพรรษาที่วัดธรรมเจดีย์ ๓๐ พรรษา จากนั้นหลวงปู่ได้ออกธุดงค์ไปทางจังหวัดอุทัยธานี เข้าสู่ป่าใหญ่ ออกไปถึงประเทศเขมรเป็นเวลา ๓ ปี จึงกลับมายังวัดธรรมเจดีย์


    การศึกษาวิทยาคม
    ได้บวชเรียนเเละศึกษาวิชาต่างๆกับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ๖ พรรษา นอกจากนี้ยังได้เรียนวิชาจากพระสงฆ์เเละฆราวาสต่างๆดังนี้
    หลวงพ่อต้วม วัดสนามชัย ชัยนาท
    หลวงพ่อคำ จ.อุทัยธานี
    หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
    หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
    หมอเจียก จ.อุทัยธานี
    หลวง พ่อเคน วัดดงเศรษฐี จ.อุทัยธานี หลวงพ่อเคนนี้ เป็นอาจารย์หลวงปู่กวยด้วยเช่นกัน เก่งวิชารักษาโรค ประสานกระดูก มีวิชาเล่นเเร่เเปรธาตุ ทำตะกั่วให้เป็นทองคำได้เเบบหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
    อาจารย์รื่น อำเภอวิเชียร จ.เพชรบูรณ์
    อาจารย์อ้วน วัดด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี


    เสือกลับใจ
    หลังจากบวชครั้งที่สองปีพ.ศ.๒๕๐๔ หลวงปู่จำพรรษาที่วัดธรรมเจดีย์ โดยตัดทางโลกสิ้นเชิง สมัยนั้นทางกองปราบเคยส่งมือปราบมาฆ่าท่าน เพราะท่านเคยมีรายชื่ออยู่ในบัญชีดำ ทางกองปราบส่งคนปลอมตัวมาเเบบสามัญชน มาหลอกถามท่านว่า บวชทำไม จะสึกหรือไม่ หลวงปู่ตอบไปว่า บวชครั้งนี้ ขอบวชให้พระพุทธองค์ จะไม่ขอลาสิกขาอีกเเล้ว จนกว่าจะถึงฝั่งพระนิพพาน คนที่ปลอมตัวมา เห็นหลวงปู่พูดจาจริงจังดังนั้นจึงไม่ทำอะไรท่าน เเละได้ลบชื่อหลวงปู่ออกจากรายชื่อบัญชีดำ หลวงปู่ก็ได้ปฎิบัติธรรมอย่างจริงจังดังที่ท่านได้กล่าวออกไป
    จากนั้นท่านก็ไปศึกษาตำราเก่าของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สมัยนั้นหลวงพ่อทอง เป็นเจ้าอาวาส เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐที่อุทัยธานี หลวงปู่เก่งวิชาหลายอย่างที่เรียนจากหลวงพ่อศรี เช่น การทำเเหวนเเขน ลงตะกรุด เช่นตะกรุดสามกษัตริย์ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามดอก นอกจากนี้ยังเก่งเรื่องทำผงวิเศษ ทำสีผึ้ง ลงมีดหมอได้ขลัง เเละเก่งวิชาตะกรุดกระดอนสะท้อน คือ ถ้าถูกยิง ลูกปืนจะย้อนกลับ



    ปฎิปทา
    ๑. เป็นผู้คงเเก่เรียน ชอบศึกษา ทำผงได้เก่ง เก่งทางตะกรุด มีดหมอ ลงอาถรรพ์ วิชาหลายอย่างทำได้เเบบหลวงปู่กวย
    ๒. ชอบ ทำวัตถุมงคลเอง ที่หน้ากุฎิหลวงปู่มักนั่งจารตะกรุด หรือเขียนผ้ายันต์ คนไปกราบ บางครั้งนั่งลงยันต์ไป นั่งคุยไป เขียนเสร็จ เสกเดี๋ยวนั้นเลยก็มี
    ๓. ร้อนวิชา หลวงปู่ค่อนข้างร้อนวิชา อย่างที่กล่าว ท่านชอบลงของ ทำของด้วยตัวเอง
    ๔. ชอบ เลี้ยงสัตว์ หลวงปู่เลี้ยงหมา เเมว ไก่ ตอนเช้าๆท่านจะขุนข้าวให้มันเอง ปรกติหลังหกโมงเย็น หลังจารตะกรุด ท่านจะมาให้ข้าวพวกมัน เเมวคลุกข้าวให้กินในกุฎิ หมาจะมีข้าวในอ่างให้ข้างนอก เสร็จกิจ หลวงปู่จะสรงน้ำ ทำวัตรสวดมนต์ ปลุกเสกวัตถุมงคลเเละปฎิบัติธรรม
    ๕. ชอบ ยิงคุนกระสุน คันกระสุนนี้ ใช้ลูกดินยิงเเทนลูกธนู ท่านมักวางไว้ใกล้ตัว สมัยก่อน ใครเคยไปกราบ มักจะเห็นคันกระสุนวางข้างๆตัวท่าน



    คุณวิเศษ
    ๑. หาย ตัวได้ หลายครั้งที่ศิษย์พบเหตุการณ์ดังกล่าว เช่นขับรถมาถึงหน้ากุฎิ เห็นหลวงปู่นั่งจารตะกรุด พอลงรถมาถึง จะกราบท่านเเละนำของมาถวาย กลับมองไม่เห็น พอเดินไปเดินมา หาท่าน กลับเห็นท่านนั่งอยู่ที่เดิม พอถามว่าท่านไปไหน หลวงปู่ตอบว่า นั่งอยู่ตรงนี้ ไม่ได้ไปไหน ศิษย์ใกล้ชิดบางคนบอกมาว่า เวลาหลวงปู่เสก หรือลงตะกรุดให้เป็นกำบัง ต้องลงจนไม่มีใครเห็นตัวท่าน
    ๒. ถ่ายรูปไม่ติด หลายครั้งที่ท่านไปงานพิธีต่างๆ มีช่างมาขอถ่ายรูปท่าน บางครั้งหลวงปู่รำคาญ ถ่ายเเบบไม่เกรงใจ หรือท่านยังไม่พร้อม พวกช่างเลยกดชัตเตอร์ไม่ลง บางครั้งถ่ายไปไม่ติดก็เคยมี หลวงปู่เคยเหน็บตะกรุดชนิดหนึ่งที่ท่านทำให้คนทำบุญ เเต่ท่านพกติดตัว มีศิษย์ถาม ท่านเลยตอบไปว่า ท่านรำคาญพวกถ่ายรูป เลยต้องมีดีติดตัวไว้บ้าง ครั้งนึงมีศิษย์มาจากอเมริกา มากราบท่าน หลวงปู่ได้เอาตะกรุดชนิดนี้ออกมาให้ทำบุญ ท่านบอกว่า เงินหาได้ เเต่ตะกรุดเเบบนี้ หาได้ยากกว่าหลายร้อยเท่านัก
    ๓. ทำวัตถุมงคลได้ขลัง ท่านเป็นพระ ชอบพระเอง เเม้อายุมาก ผ้ายันต์ ตะกรุดจารเอง มีดหมอก็จารเอง สมเด็จยุคเเรกๆหลวงปู่ทำเอง รุ่นต่อมาเเม้ไม่ได้ทำเอง เเต่ก็คุมเรื่องมวลสาร เนื้อหา ส่วนผสมต่างๆ วัตถุหลักที่เป็นส่วนผสม เช่น ผงอิทธิเจ เเร่ เส้นเกศา เป็นต้น
    การปลุกเสก มีการอัญเชิญพระอรหันต์ เสกด้วยคาถาชินบัญชร พระคาถาธรรมจักรกัปปะวัตนสูตร พระผงท่านเด่นทางเมตตาเเรง เหรียญเเละตะกรุดก็มหาอุตม์ หยุดปืนได้ไม่เเพ้ใคร
    ๔. ลงอาถรรพ์ได้ ในสระที่วัด หลวงปู่ได้ขุดไว้ ให้ชาวบ้านได้ใช้น้ำอาบเเละกิน ท่านได้ลงอักขระทื่เสา ฝังไว้ที่ขอบสระทั้งสี่ด้าน ถือเป็นเขตวัด เขตอภัยทาน ต่อมีมีชาวบ้านบางกลุ่ม ถือวิสาสะ ไม่เกรงใจเขตวัดเขตอภัยทาน มาดักปลาในสระไปทำอาหารกินกัน ต่อมาเกิดอาเภท บ้านถูกไฟไหม้ ต้องคดีติดคุก มีอันเป็นไปต่างๆนานา เรื่องนี้เป็นที่โจษขานกันมาก ลองไปถามเเถววัดดู เเล้วจะทราบดี



    มรณภาพ
    ในบั้นปลายชีวิต หลวงปู่ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดห้วยเจริญสุข บ้านเกิดท่าน มาช่วยสร้างโบสถ์ จากนั้น ท่านก็จำพรรษาที่วัดนี้ จนมรณภาพ


    วัตถุมงคล


    ๑. เหรียญ
    เหรียญรุ่นเเรก เเบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ
    ๑. เหรียญรูปใบมะยมขอบหยัก ด้านหน้ารูปหลวงปู่ปรง ด้านหลังเป็นยันต์ ออกให้วัดช่องลม จ.สิงห์บุรี ปีพ.ศ.๒๕๓๓ เนื้อทองเเดงกะหลั่ยเงินเเละทองเเดงผิวไฟ
    ๒. เหรียญรูปไข่ ออกให้วัดช่องลม ปีเดียวกับเหรียญใบมะยม ด้านหน้ารูปหลวงปู่
    ปรง นั่งทับปืนสั้นสองกระบอก ด้านหลังเป็นพระพุทธรูป หลวงพ่อหิน มีเนื้อ
    ทองเเดงรมดำเเละรมน้ำตาลเป็น เหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาวัตถุ
    มงคลประเภทเหรียญ
    เหรียญใบมะยมเเละเหรียญนั่งปืน สร้างโดยอาจารย์มานะหรืออาจารย์เเดง สมัยที่บวชเป็นเจ้าอาวาสวัดช่อง
    ลม ต่อมาอาจารย์เเดงได้ลาสิกขา จากนั้นอาจารย์ทวีศักดิ์ก็มาเป็นเจ้าอาวาสเเทน เหรียญนี้มีการทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดช่องลม โดยมีหลวงปู่ปรง หลวงพ่อเเพ เเละเกจิอื่นๆ เเละหลวงปู่ปรงก็ได้ปลุกเสกเดี่ยวอย่างเต็มที่ หลังจากพิธีได้มีการนำเหรียญที่เสกมาลองยิง ปรากฎว่ายิงไม่ออกสักนัด
    ๓. เหรียญใบเสมา ออกที่วัดธรรมเจดีย์วัดท่าน สร้างปีเดียวกันสองเหรียญที่ออกให้วัดช่องลม ด้านหน้าหลวงปู่ปรงนั่งทับงู ซึ่งเป็นปีเกิดของท่าน ด้านหลังยันต์พุทธซ้อน
    เหรียญทั้งสามเเบบ หมดจากวัดไปหลังจากที่ออกได้ไม่นาน เพราะมีประสบการณ์สูงมาก คือ ด้านมหาอุตม์เเละคงกระพัน เหรียญทั้งสามเเบบออกในคราวหลวงปู่อายุ ๘๕ ปี

    เหรียญรุ่นสอง ลักษณะเป็นเหรียญใบมะยมปี ๒๕๓๗ เนื้อทองเเดงรมน้ำตาล ด้านหน้ารูปหลวงปู่ ด้านหลังพญานาคคู่ ออกในคราวหลวงปู่อายุ ๙๐ ปี

    เหรียญ รุ่นสาม ออกปี ๒๕๓๘ ลักษณะ เป็นรูปใบมะยมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เนื้อตะกั่วหล่อ ถอดพิมพ์จากเหรียญรุ่นสอง ศิษย์ทำมาถวาย ด้านหน้า หลวงปู่ปรงเต็มองค์ ด้านหลังเรียบ หลวงปู่จารตัว นะ ให้ทุกเหรียญ สมัยก่อนใครไปกราบ ท่านจะเเจกให้ฟรี


    เหรียญออกให้วัดอื่น
    ๑. เหรียญกลมขี่งู ออกให้วัดหัวเด่น ปี ๒๕๓๙ เนื้อทองเเดงรมน้ำตาลเเละรมดำ ด้านหน้ารูปหลวงปู่นั่ง มีงูด้านล่าง ด้านหลังยันต์นะพุทธซ้อน ยันต์ประจำตัวหลวงปู่ สร้าง ๕๐๐๐ เหรียญ เข้าร่วมพิธีปี๓๙ ของวัดโฆสิตาราม งานพิธีพุทธาภิเษกวัดโคกดอกไม้ เเละพิธีที่วัดใหม่เจริญธรรม ก่อนนำเข้าร่วมพิธีต่างๆ หลวงปู่ปรงได้ทำการเสกเดี่ยวก่อนเป็นเวลา ๑ เดือน
    ๒. เหรียญรูปไข่นั่งบัว ออกให้วัดหัวเด่น ปี ๒๕๓๙ เนื้อทองเเดงรมดำ กะหลั่ยเงินเเละกะหลั่ยทอง สร้าง ๑๐๐๐๐ เหรียญ หลวงปู่ปรงเสกเดี่ยว ๑ เดือนกว่า เสกจนพอใจก่อนบอกให้อาจารย์สมานนำเหรียญกลับ
    ๓. เหรียญใบมะหวด ออกให้วัดห้วยเจริญสุข ด้านหน้ารูปหลวงปู่ครึ่งองค์ ด้านหลังรัชกาลที่ ๕ เนื้อทองเหลืองกะหลั่ยทอง ออกปี ๒๕๔๐ ซึ่งเป็นเหรียญรุ่นสุดท้าย ก่อนที่หลวงปู่มรณภาพ


    ๒.รูปหล่อ
    ๑.รูปหล่อบูชารุ่นเเรก ออกวัดธรรมเจดีย์ ขนาด ๓ นิ้ว เนื้อทองเหลืองรมน้ำตาล สมัยก่อน ออกจากวัดองค์ละ ๕๐๐ บาท
    ๒.รูป หล่อโบราณรุ่นเเรก ออกให้วัดช่อมลม ปี ๒๕๓๓ เป็นรูปหล่อเนื้อทองผสม หล่อโบราณ ไม่ค่อยสวยเเต่ดูเข้มขลัง ก้นตัน สร้างจำนวนน้อย เหตุที่ไม่ค่อยสวย เพราะช่างรีบสร้าง เพราะกลัวไม่ทันงานหลวงปู่ รูปหล่อนี้ มีอภินิหารเเละประสบการณ์สูงมาก เด่นทางมหาอุตม์เเละทางคุ้มครอง ถือเป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในบรรดาพระเครื่องของหลวงปู่ปรง
    ๓.รูปหล่อฉีด ออกปี ๒๕๓๖ คราวหลวงปู่อายุ ๙๐ ปี
    ๔.รูปหล่อตั้งหน้ารถ

    ๓.พระผง

    ๔.ตะกรุด

    ๕.มีดหมอ

    ๖.ผ้ายันต์
    มีผ้ายันต์กันไฟ ผ้ายันต์สิวลี ผ้ายันต์เสริมดวง หลวงปู่จารเองหมด
    ๗.เครื่องรางอื่น
    เช่นปลัดขิกเนื้องาเเละไม้ รักยม สมเด็จงาเเกะ นามบัตร

    ๘.รูปถ่าย
    รูปถ่ายขนาดบูชา รูปถ่ายขนาดห้อยคอ ล็อกเก็ต

    พระชุดนอกวัด
    เป็นพระเครื่องที่ศิษย์สร้างถวาย ให้ท่านปลุกเสก มี
    ๑.รูปหล่อก้นอุดผง ลักษณะเป็นรูปหลวงปู่ทรงชลูด ก้นอุดผง มีเนื้อทองเหลือง เนื้อนวโลหะเเละเนื้อเงิน
    ๒.เเหวนมงคลเก้า เนื้อเงินเเละเนื้อทองเหลือง






    ประสบการณ์วัตถุมงคล

    ๑.เหรียญรุ่นเเรกปืนเเตก
    ๒.เหรียญตะกั่วต้านปืน
    ๓.ตะกรุดกำบัง
    ๔.มีดหมอกันผีปอบ
    ๕.ผ้ายันต์กันไฟ


    Credit by ประวัติหลวงปู่ปรงเเละวัตถุมงคลต่างๆของท่าน
     
  11. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ประวัติคณาจารย์สายหลวงปู่ศรี หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตตาราม (บ้านแค)

    หลวง พ่อกวย ชุตินฺธโร มีนามเดิมว่า กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ ปีมะเส็ง ณ หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ ๙ ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นบุตรของคุณพ่อ ตุ้ย ปั้นสน ซึ่งบ้านเดิมอยู่วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มารดาชื่อคุณแม่ต่วน เดชมา เป็นคนบ้าน แค ท่านทั้งสองมีบุตรและธิดาด้วยกัน ๕ คน

    1. คนที่ ๑ ชื่อนายตุ๊ ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
    2. คนที่ ๒ ชื่อนายคาด ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
    3. คนที่ ๓ ชื่อนายชื้น ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
    4. คนที่ ๔ ชื่อนางนาค ปั้นสน (ถึงเเก่กรรม)
    5. คนที่ ๕ พระกวย ชุตินฺธโร (มรภาพเเล้ว)
    เด็ก ชายกวย เมื่อโตขึ้นมา โยมบิดาได้ส่งมาเรียนหนังสือกับหลวงปู่ขวด วัดบ้านแค หลังจากหลวงปู่ขวดก็มรณภาพ บิดามารดาจึงได้นำเด็กชายกวยมาเรียนหนังสือขอมต่อกับอาจารย์ดำ วัดหัวเด่น ซึ่งใกล้ ๆ กับวัดบ้านแค หลังจากนั้นก็มาช่วยทางบ้านประกอบอาชีพ ทำไร่ไถนาตามประสาอาชีพของทางครอบครัว
    อุปสมบท
    [​IMG]

    ต่อมาเมื่อครบอายุบวช จึงเข้าอุปสมบท โดยมีพระอุปัชฌาย์ คือ พระชัยนาทมุนี มี หลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เเละพระอาจารย์หริ่งเป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ เวลา ๑๕ นาฬิกา๑๗ นาที อายุ ๒๐ ปี ณ วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีฉายาว่า ชุตินฺธโร แปลว่า "โลกนี้มีแต่ความวุ่นวายของโลก หนักไปด้วยกิเลส ตัณหาคือ โลภ โกรธ หลง ทั่งสิ้น ถ้าท่านผู้ใดตัดกิเลส ตัณหาได้ก็จะถึงซึ่งฝั่งพระนิพพาน" ​
    วิชาการเเหล่เเละเทศน์
    เมื่อ อุปสมบทแล้วก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านแค ตอนนั้นหลวงปู่มา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ พระกวย ชุตินฺธโร จึงหัดเทศน์เวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร, ทานกัณฑ์ ท่าน ชอบเทศน์แหล่หญิงหม้ายซึ่งกล่าวถึงพระนางมัทรี ตอนที่องค์พระเวสสันดร ถูกเนรเทศออกนอกเมือง ไปบวชอยู่ในป่า หลักฐานในเรื่องนี้คือใบลานเทศน์ต่างๆที่หลวงพ่อเก็บรักษาไว้ เเละบางอันท่านได้ประทับตราสิงห์ชูคอเอาไว้ บางอัน หลวงพ่อเขียนไว้ว่า พระกวยสร้างถวาย หรือพระกวยสร้างส่วนตัวหลังจากนั้นหลวงพ่อได้ไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน เพื่อเรียนวิชารักษาโรคระบาด หรือโรคห่าเเละโรคไข้ทรพิษ
    เรียนวิชากับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์
    ต่อ มาในวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ท่านได้มาอยู่ที่วัดวังขรณ์ ต.โพธิ์ชนไก่ ๒ พรรษา ในพรรษาต่อมาได้เรียนธรรมโท แต่พอสอบไล่ เป็นไข้ไม่สบายเลยไม่ได้สอบ จึงมาคิดได้ว่าปริยัติธรรมก็เรียนมาพอสมควร จึงอยากจะเรียนวิปัสสนากรรมฐานและอาคมตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลัง จึงได้เดินทางไปเรียนวิชากับหลวงพ่อศรี วิริยะโสภิต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อได้เรียนวิชาทำแหวนนิ้ว ซึ่งแหวนนิ้วของหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ใต้ท้องวงจะตอกตัวขอมอ่านว่าอิติ ของหลวงพ่อกวยก็เช่นกันและท่านยังได้ได้เรียนวิชาอีกหลายอย่าง กับ หลวงพ่อศรีนี้ หลวงพ่อกวยได้ ยันต์เเรกที่หลวงพ่อสำเร็จเเละท่านมั่นใจในยันต์นี้มาก นั่นคือ ยันต์มงกุฎพระเจ้า ซึ่งหลวงพ่อมักใช้ปลุกเสกพระเเละเครื่องรางต่างๆ ท่านมั่นใจในยันต์นี้มากเเละได้ใช้ยันต์นี้ลงในหลังเหรียญรุ่นเเเรกของท่าน โดยบรรจุยันต์นี้ครบสูตร เเละท่านยังได้ทำเป็นตรายางเพื่อประทับผ้ายันต์เเละรูปถ่ายบางรุ่น คือมีความหมายทางคุ้มครองเเละช่วยเสริมดวง จนกลายมาเป็นชื่อยันต์เสริมดวงที่เรียกกันนั่นเองนอก จากนี้ ตามที่ได้ข้อมูลว่า ยันต์เเละคาถานะโมตาบอด หลวงพ่อก็ได้มาจากหลวงพ่อศรี ยันต์นี้ นอกจากใช้จารเครื่องรางเเล้ว ท่านยังใช้บรรจุที่หลังเหรียญรุ่นสองของท่าน หลัง จากเล่าเรียนกับหลวงพ่อศรี ท่านก็มาจำพรรษาอยู่วัดหนองตาแก้ว ต.โคกช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ที่วัดตาแก้วนี้ หลวงพ่อได้ปลูกต้นสมอไว้ ๑ ต้น ปัจจุบันยังอยู่ หลวงตาสมาน เคยไปอยู่วัดหนองตาแก้ว ได้นำไก่แจ้เอาไปนอนบนต้นสมอ ปรากฏว่าไก่ไม่ยอมนอน ไม่ทราบว่าหลวงพ่อได้ลงวิชาอะไรไว้ ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อ เพิ่งอายุ ๒๘ ปี พรรษาได้ ๘ พรรษา แสดงว่าหลวงพ่อเป็นผู้มีอาคมตั้งแต่ยังเป็นพระหนุ่มๆต้น สมอที่หลวงพ่อลงอาคมนี้ ปัจจุบันยังอยู่เเละไม่มีใครกล้าไปตัดหรือทำอะไร เพราะกลัวอาถรรพ์ เคยมีพระบางรูปขึ้นไปตัด เเต่ก็ต้องเจอกับอาถรรพ์จนเสียชีวิตมาเเล้ว
    ตำราในโพรงไม้
    ต่อ มา ในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้มาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท อีก ๑ พรรษา ได้เรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ ในขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม ได้มีเพื่อนภิกษุชื่อ แจ่ม ได้เดินทางท่องเที่ยว ไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพณ์แรงมาก คล้ายมีเทพและเทวดารักษา จึงได้มาชักชวนพระกวยให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้ พระภิกษุกวย จึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า "ถ้าจะให้ข้าพเจ้าเอาตำรานี้ไปเก็บรักษาไว้ ขอธูปที่จุดนี้ให้ไหม้ให้หมดดอก" แต่ปรากฏว่าธูปได้ไหม้ไม่หมด พระภิกษุกวยจึงได้เสี่ยงสัตย์อธิษฐานขึ้นมาใหม่ว่า "ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือ ประชาชนเท่านั้น" แล้ว ก็จุดธูปขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายปรากฏว่าธูปได้ไหม้หมดทั้ง ๓ ดอก หลวงพ่อจึงได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้าของตำราและอัญเชิญเอาตำรานั้นมา เก็บไว้ เกี่ยว กับตำรานี้ มีคำร่ำลือกันว่า ก่อนหน้านั้นมีคน ๆ หนึ่งได้นำตำราชุดนี้มาเก็บไว้ในบ้าน ได้เกิดเหตุวิบัติ เจ็บไข้ล้มตาย จึงเอาตำราชุดนี้มาทิ้งไว้ที่ดังกล่าว พระภิกษุกวย เมื่อได้ข่าวดังนั้นก็มาเปิดตำราดู ก็ปรากฏว่ามีลายลักษณ์อักษรบอกไว้ในตำราว่า ตำรานี้ห้ามเอาไปไว้บ้านใคร ๆ ทั้งสิ้น มิฉะนั้นจะฉิบหาย ท่านจึงได้ศึกษาตำรายันต์และคาถาจากตำราเล่มนี้ ปัจจุบันตำราเล่มนี้ยังอยู่ที่วัด หน้าปกเขียนว่า ครูแรงด้วยสีแดง นับ ว่าหลวงพ่อกวยท่านเป็นพระที่ได้ตำราเเบบเเปลกกว่าพระอื่นๆทั่วไป ส่วนพระภิกษุเเจ่มที่เป็นคนพาหลวงพ่อไปเอาตำรานี้ภายหลังได้สึกเเละผันชีวิต ไปเป็นอ้ายเสือ เรื่องตำรายันต์ที่หลวงพ่อคัดลอกและเรียนมานี้ ปัจจุบันบางส่วนยังอยู่ที่วัด บาง ส่วนอยู่ที่ศิษย์หลวงพ่อหลายๆท่าน เช่นที่อาจารย์เหวียน มณีนัย บ้านท่าทอง ต.ปากน้ำ อ.เดิมบาง จ.สุพรรณบุรี อยู่ที่วัดท่าทอง อยู่ที่อาจารย์โอภาสหรือ(มรณภาพเเล้ว) วัดซับลำใย จ.ลพบุรี อยู่ที่อาจารย์แสวง(มรณภาพเเล้ว) วัดหนอง อีดุก อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ตำราเก่า สมุดบันทึก ตลอดจนของเก่าๆที่หลวงพ่อเก็บไว้ บางอย่างท่านจะห่อปกด้วยกระดาษ เเละมักจะเขียนว่าห้ามทำสกปรก จะจับถือให้เบามือ เเสดงว่าหลวงพ่อท่านเป็นคนรักของเเละมีระเบียบ หลวงพ่อไม่หวงของเเต่ไม่ชอบให้ทิ้งขว้าง ตำ รายาเเละเลขยันต์ต่างๆ ที่ท่านได้จดบันทึกไว้ บางเล่มท่านจะเขียนหน้าปกไว้ ว่า ห้ามหยิบ ห้ามจับ ครูเเรง บางเล่มจะเขียนสั่งว่า เปิดดูจุกตาย เป็นต้น
    เรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
    เมื่อ หลวงพ่อออกจากวัดหนองแขมแล้ว ได้ไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำ แหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่นๆ ศิษย์ร่วมรุ่นของหลวงพ่อที่เป็นที่รู้กันคือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย จาก คำบอกเล่าจากพระภิกษุแบนและพระหลวงตา ตลอดจนศิษย์รุ่นเก่าได้พูดตรงกันว่า หลวงพ่อกวยตอนที่อยู่ที่วัดก็เป็นพระที่มีอาคมเหมือนพระทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อท่านกลับมาจากเรียนวิชาจากเมืองเหนือ (หมายถึง นครสวรรค์) เมื่อท่านกลับมาท่านเก็บตัว พูดน้อย มีจิตมหัศจรรย์ วาจาสิทธิ์ เรื่อง ที่หลวงพ่อไปเรียนวิชามากับหลวงพ่อเดิมนี้ มีหลักฐานคือมีรูปถ่ายของหลวงพ่อเดิม มีจารด้วย เป็นรูปถ่ายพรรษาท้ายๆของหลวงพ่อเดิมลายมือ พบในกุฏิของหลวงพ่อ หลักฐานอีกอย่างหนึ่งคือ ลุงหล่อน คนสักยันต์แทนหลวงพ่อ ตอนนั้นลุงหล่อนได้ทำบุญเเละได้รูปหลวงพ่อเดิมมาสองรูปกับเเหวนหลวงพ่อเดิม หนึ่งวง รูปนั้นเป็นรูปหลวงพ่อเดิมพรรษาท้ายๆ อีกรูปเป็นรูปหลังเเววหางนกยูง ข้อมูล จากลุงหล่อน ได้กรุณาเล่าว่า สมัยนั้นเดินไปกับหลวงพ่อ ตอนนั้นลุงยังหนุ่มๆอายุยี่สิบเศษๆ เดินเท้าจากบ้านเเคไปตาคลี ใช้เวลาหนึ่งวัน ไปค้างที่วัดหนองโพสามคืน ลุงหล่อนได้คุยเเละนวดให้หลวงพ่อเดิมด้วย ลุงบอกว่าหลวงพ่อ เดิมนั้นใจดี มีเมตาตามาก หลวงพ่อกวยเคยขอเรียนวิชาทำทอง เล่นแร่แปรธาตุ แต่หลวงพ่อเดิมไม่สอนให้ ท่านจึงเรียนมาเท่านั้น
    การสักยันต์
    ต่อ มาเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพ่อกลับมาอยู่วัดบ้านแค หลวงพ่อได้ทำการสักให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดสักกันทั้งกลางวันกลางคืน ทางเดินสมัยก่อนต้องเดินเท้าเอา ลำบากมาก อย่างดีก็ขี่จักรยาน รถ ๒ แถว มีเข้าวัด ๑ คัน ออก ๑ คัน เท่านั้น มีศิษย์สักมาก ได้จดบัญชีไว้ ๔ หมื่น ๔ พันคน ต่อมา หลวงพ่อเห็นว่าสมควรแก่เวลา หลวงพ่อได้หยุดสัก เปลี่ยนมาทำพระเเละแต่เรื่องรางของขลัง เช่น ตะกรุด, มีดหมอ, แหวน แขน เป็นต้น ช่วงนั้น ข้าวยากหมากเเพง โจรร้ายเต็มบ้านเมือง โดยเฉพาะ เเถวภาคกลางตอนล่าง เเถบนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี เป็นเเหล่งกบคานของก๊กเสือร้ายหลายกลุ่ม ชาวบ้านเเคก็ได้อาศัยบารมีหลวงพ่อเพื่อคุ้มครองครอบครัวเเละทรัพย์สิน ของมีค่าต่างๆ ก็จะเอามาฝากหลวงพ่อที่วัด ลูกเมียก็จะมาขอนอนที่วัดเพราะกลัวโจรฉุด วัวควายก็พากันเอามาผูกในลานวัด จาก คำบอกเล่าของคนเก่าๆที่บ้านเเค เล่าว่า พวกโจร เสือต่างๆไม่มีใครกล้ากับหลวงพ่อ มีอยู่รายนึงเป็นเสือมาจากอ่างทอง พาสมุนล้อมวัดบ้านเเคตอนกลางคืน เห็นว่าวัวควายของชาวบ้านที่ลานวัดมีเยอะมาก เเต่ก็โดนตะพดหลวงพ่อจนต้องรีบพาสมุนกลับเเละก็ไม่มาเเถวบ้านเเคอีกเลย เขาว่าในสมัยนั้นเมื่อเสือ เดินผ่านวัดหลวงพ่อ ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง
    ผลงานทางศาสนา
    หลวง พ่อไม่ชอบการก่อสร้าง ชอบความเป็นอยู่แบบสมถะ แม้กุฏิของหลวงพ่อก็เป็นไม้ทรงไทยโบราณ แต่การก่อสร้างนั้น หลวงพ่อยกหน้าที่ให้กรรมการวัด แม้การก่อสร้างก็ให้กรรมการวัดและชาวบ้านทำ ยกเว้นส่วนที่ยากจึงจ้างช่างทำ ฉะนั้น ทางวัดจึงมีแต่กุฏิเก่า ๆ ที่สร้างใหม่ก็มีมีแต่พระอุโบสถ, ศาลาทำบุญ กุฏิชุตินฺธโร ที่ศิษย์สร้างถวายเท่านั้น เกี่ยว กับพระอุโบสถนั้น ศิษย์หลวงพ่อ โยมเช้า เเผ้วเกตุ ซึ่งมีศักดิ์เป็นตาของท่านเจ้าอาวาสวัดโมสิตารามรูปปัจจุบัน เล่าว่า สมัยก่อนได้ไปกับหลวงพ่อ ไปหาอิฐเก่าๆตามวัดร้าง โดยใช้เกวียนขน เพื่อมาทำฐานพระอุโบสถ นอกจากนี้คนในตระกูลยิ้มจูบางท่าน ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของหลวงพ่อ ได้เล่าให้ฟังว่า เคยมาช่วยหลวงพ่อถมดินรอบพระอุโบสถ เวลาไปช่วยงาน หลวงพ่อจะเเจกพระให้ทุกครั้ง
    สมณศักดิ์
    วัน ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๑ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒ อายุ ๗๔ ปี ๕๔ พรรษา ด้วยอาการสงบ ก่อน หน้านี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ หลวงพ่อได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉันโรค ว่าหลวงพ่อเป็นโรคขาดอาหารมาเป็นเวลา ๓๐ ปี ได้ให้สารอาหารประเภทโปรตีนกับหลวงพ่อ เป็นเวลาถึง ๑ เดือน ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อยู่โรงพยาบาลได้ไม่นาน ก็กลับวัด เมื่อ กลับวัดหลวงพ่อก็ยังได้ฉันอาหารเพียงวันละ ๑ ครั้ง เช่นเดิม โดยไม่เปลี่ยนความตั้งใจ หลวงพ่อยังคงคร่ำเคร่งในการสร้างและปลุกเสกวัตถุมงคล
    มรณภาพ
    ใน เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงพ่อได้วงปฏิทิน วันที่ท่านเริ่มเจ็บเอาไว้ด้วยสีน้ำเงิน และวงปฏิทิน วันที่ท่านมรณภาพเอาไว้ด้วยตัวหนังสือสีแดง คือวันที่ ๑๑ มีนาคม และ ๑๑ เมษายน ๒๕๒๒ พร้อมทั้งเขียน พระคาถา นะโมตาบอด ให้ไว้เป็นคาถาแคล้วคลาดและกำบัง หลวงพ่อเขียนว่า "อาตมาภาพพระกวย " นะตันโต นะโมตันติ ตันติ ตันโต นะโม ตันตัน" จะมรณภาพ วันที่ ๑๑ เมษายน เวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที" พอ วันที่ ๑๑ มีนาคม หลวงพ่อก็ล้มป่วย ไม่มีโรคอะไร เพียงแต่ไม่มีกำลัง ฉันอาหารไม่ได้ ไม่ยอมไปโรงพยาบาล มีอาการไข้แทรก ฉันอาหารแทบไม่ได้เลย ไม่มีรสชาติ บางครั้งท่านพ่นข้าวออกจากปาก ไม่ยอมฉัน แล้วหยิบแผ่นตะกรุดขึ้นมาจาร บางครั้งก็จับสายสิญจน์ ปลุกเสกวัตถุมงคล กลางคืนก็จับสายสิญจน์ปลุกเสกวัตถุมงคล บางคืนถึงสว่าง ร่างกายของท่านปกติก็ผอมมากอยู่แล้วกลับผอมหนักเข้าไปอีก วัน ที่ ๑๐ เมษายน กลางคืนมีศิษย์มาเฝ้าท่านเต็มไปหมด ตอนเช้ายิ่งมาก เพราะท่านจะมรณภาพ แต่ท่านก็ไม่มรณภาพ ท่านผอมมากมีแต่หนังหุ้มกระดูก มีแต่ประกายตาที่สดใสเท่านั้น จนกระทั่งตกกลางคืนท่านก็ไม่มรณภาพ ค่อน สว่างวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๒ ทางกรรมการวัดและศิษย์ใกล้ชิดได้ประชุมปรึกษากันว่า สงสัยในกุฏิท่านจะลงอาถรรพณ์เอาไว้ ตลอดจนตำราอักขระเลขยันต์ ตลอดจนรูปครูบาอาจารย์ คงจะไม่มีใครกล้ามารับท่านแน่ อยากเห็นท่านไปดี จึงปรึกษากัน นำท่านออกมาที่หอสวดมนต์ เมื่อเตรียมที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว อุ้มท่านมาจำวัดที่เตียงที่หอสวดมนต์ ท่านลืมตาขึ้นเป็นการสั่งลา ครั้งสุดท้าย แล้วหลับตาพนมมือเกิด อัศจรรย์ ระฆังใบใหญ่ที่หอสวดมนต์ได้ขาดตกลงมา ดังหง่าง ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ดังยาวนาน ศิษย์ที่อยู่ศาลาเข้าใจว่าท่านมรณภาพแล้ว จึงได้ตีระฆัง คือคาดว่ามีคนตีระฆัง เมื่อจับเวลาดู เป็นเวลา ๗ นาฬิกา ๕๕ นาที จับชีพจรท่านดู ปรากฏว่าท่านมรณภาพแล้ว ตรงกับวันที่ ๑๒ เมษายน ซึ่งวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยโบราณ ปัจจุบันทางวัดเเละเหล่าบรรดาศิษย์หลวงพ่อจึงยึดเอาในวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญ ประจำปีเพื่ออุทิศและระลึกถึงหลวงพ่อ จบ ประวัติของหลวงพ่อคร่าวๆเเต่เพียงเท่านี้ ขอให้หลวงพ่อคุ้มครองทุกท่านให้มีแต่ความสุขความเจริญ ชีวิตไม่ตกต่ำเหมือนกับคำพรของหลวงพ่อ ที่เคยให้ไว้
    "ขอศิษย์ทั้งหลาย จงอย่าอด อย่าอยาก อย่ายาก อย่าจน อย่าต่ำกว่าคน อย่าจนกว่าเขา"
    หมาย เหตุ ข้อมูลต่างๆ เเกัไขเเละดัดเเปลงจาก ข้อมูลของเก่าครูสมจิต(เฒ่า สุพรรณ)ที่เขียนไว้ในหนังสือนะโมเเละหนังสืออิทธิปาฎิหารย์หลวงพ่อกวยเล่ม เเดงที่เขียนโดยครูสมจิต เเละจากการบอกเล่าของศิษย์รุ่นเก่าของหลวงพ่อ
    ครูบาอาจารย์เเละวิชาอาคมของหลวงพ่อกวย
    ๑.หลวงพ่อเฒ่า วัดคังคาว
    [​IMG]
    หลวง พ่อเฒ่า เป็นพระอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่๔ ชื่อจริงคือ หลวงพ่อปั้น เเต่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงพ่อเฒ่า เป็นเจ้าอาวาสรูปเเรกของวัดคังคาว วัดนี้อยู่ไม่ไกลจากวัดหลวงพ่อกวย หลวงพ่อเฒ่านั้นเป็นพระร่นพี่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ทั้งสองรูปได้ศึกษาวิชาจากตำราเดียวกัน เเละมีการเเลกเปลี่ยนวิชากันด้วยวัตถุ มงคลที่สำคัญของหลวงพ่อเฒ่า คือ ตะกรุดโทน ผ้าเเดง โดยเฉพาะผ้ายันต์นั้น นับเป็นผืนเดียวในเมืองไทยที่มีการตัดอักขระขายเป็นตัว ผ้ายันต์ที่ว่านั้นคือ ผ้ายันต์ค่ายกล ซึ่งยังมีชื่อเรียกเเตกต่างออกไป เช่น ผ้ายันต์อาฬวกยักษ์ ผ้ายันต์จักรณีย์ เป็นต้น ลักษณะของผ้าจะเป็นตารางทั้งผืนโดยมีอักขระสี่ตัว อะปะจะคะ เดินสลับกันทั้งผืนเป็นค่ายกล ยันต์สี่ตัวของหลวงพ่อเฒ่านั้น มีหลายเกจิที่นำมาใช้สืบทอดต่อจากหลวงพ่อเฒ่า อาทิเช่น หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อป่วน วัดโพธิ์งาม หลวงพ่อฉาบ วัดคลองจันทร์ หลวงพ่อเจ้ย วัดห้วยเจริญสุข สำหรับ หลวงพ่อกวยนั้น ท่านเกิดไม่ทันหลวงพ่อเฒ่า เเละท่านก็สืบทอดยันต์นี้ โดยใช้จารเครื่องราง เเละทำผ้ายันต์ค่ายกลเเเบบหลวงพ่อเฒ่า มีทั้งเขียนมือเเละพิมพ์ หลักฐานคือ ยันต์ค่ายกลที่หลวงพ่อได้คัดลอกไว้ในตำราเเละสมุดบันทึกเก่าๆของท่าน
    ๒.หลวงศรี วัดพระปรางค์
    [​IMG]
    หลวง พ่อศรีเป็นพระเกจิที่โด่งดังของจ.สิงห์บุรี มีลูกศิษย์มากมาย ที่ไปเรียนวิชากับท่านเเละมีชื่อเสียงอาทิเช่น หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ หลวงพ่อบัว วัดเเสวงหา หลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา หลวงพ่อเเพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อปรง วัดธรรมเจดีย์ หลวงพ่อเย็น วัดสระเปรียญ เป็นต้นหลวงพ่อกวยได้สร้างเเหวนตามตำรับของหลวงพ่อศรี โดยมีคาถาอิติอยู่ที่ใต้ท้อง เเละท่านก็ชอบใช้คาถาอิติจารเครื่องรางด้วย
    ๓.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
    [​IMG]
    หลวง พ่อไปเรียนวิชากับหลวงพ่ออิ่ม ได้วิชา เช่นวิชามนต์จินดามณี การทำผงจินดามณี วิชามือยาว ศิษย์ร่วมสำนักที่โด่งดังคือ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ทั้งหลวงพ่อมุ่ยเเเละหลวงพ่อกวย ได้สร้างผ้ายันต์โดยสืบทอดต่อจากของหลวงพ่ออิ่ม ซึ่งลักษณะรูปเเบบของผ้ายันต์จะดูคล้ายเเละตัวยันต์จะเหมือนกัน ผ้ายันต์ชนิดนี้ของหลวพ่อกวยจะเรียกว่า ผ้ายันต์อิทธิเจหรือผ้ายันต์สารพัดดีสารพัดกัน
    ๔.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
    [​IMG]
    ก่อน ที่หลวงพ่อกวยจะเดินไปหาหลวงพ่อเดิมกับลุงหล่อน ก่อนหน้านี้ท่านก็เคยไปเรียนกับหลวงพ่อเดิมมาบ้างเเล้ว ท่านเรียนวิชาทำมีดหมอ ตะกรุด เเละปลุกเสกเครื่องรางจากหลวงพ่อเดิม โดยเฉพาะมีดหมอนี้ ของหลวงพ่อกวยเเท้ๆนับเป็นมีดหมอที่หายาก เเละมีราคาเเพงรองจากของหลวงพ่อเดิมทีเดียว
    ๕.หลวงพ่อเเบน วัดเดิมบาง
    หลวงพ่อได้เรียนวิชาทำผ้าขอดจากหลวงพ่อเเบน ผ้าขอดของหลวงพ่อกวยดังมากเเละก็หายากด้วยนอก จากนี้ยังมี หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง หลวงพ่อพวง วัดหนองกะโดน ซึ่งอาศัยจากหลักฐานคือ บัยทึกที่ท่านได้เขียนเอาไว้ ระบุคาถาเเละเจ้าของยันต์ เเต่ไม่ทราบเเน่ชัดว่า ท่านเรียนมาโดยตรงหรือเปล่า หรือรับทอดต่อมาจากใคร
    ๖.ฆราวาส
    หลวง พ่อเคยเล่าให้หมอเฉลียว เดชมา ฟังว่า ท่านเรียนวิชาเเผนโบราณจากครูฟุ้ง ครูจำปีซึ่งเป็นศิษย์สายหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เรียนวิชาถอนของ ถอนคุณไสย เเละวิชาสะเดาะกุมารในท้องนอก จากนี้ก็เรียนจากครูลุน ครูเพ็ง อาจารย์เเเหล่ม วัดท่าช้าง เป็นศิษย์สายหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เรียนวิชาอาบว่านยา วิชาสัก วิชาหินเบา วิชาสักเเละอาบว่านยานี้ ทำให้หลวงพ่อโด่งดังมาก ก่อนที่ท่านจะทำพระเเละเครื่องราง
    ๗.ตำราศักดิ์สิทธิ์จากโพรงไม้ เป็น ตำราเก่าที่ภิกษุเเจ่มพาหลวงพ่อไปเอาจากโพรงไม้ดังที่ได้กล่าวมาเเล้ว นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้จดบันทึกยันต์จากหลวงพ่อต่างๆ ที่ท่านเห็นว่าสวย ท่านจะคัดลอกเก็บไว้ หลักฐานคือ ในบันทึกเก่าๆของหลวงพ่อ มียันต์ต่างๆที่ท่านจดไว้มากมาย เเม้กระทั่งยันต์ของเสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อาจารย์ของท่านเจ้าคุณนรหลวงพ่อ ก็กวยท่านก็มี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2009
  12. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ประวัติคณาจารย์สายหลวงปู่ศรี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

    พระธรรมมุนี หรือหลวงพ่อแพ เขมังกโร มี นามเดิมว่า "แพ ใจมั่นคง" เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๘ ตรงกับขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเส็ง ณ บ้านสวนกล้วย เลขที่ ๙๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี บิดาชื่อ นายเทียน ใจมั่นคง มารดาชื่อ นางหน่าย ใจมั่นคง มีพี่น้องร่วมสายโลหิต ๔ คน ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง

    เมื่ออายุได้ ๘ เดือน มารดาผู้ให้กำเนิดได้ถึงแก่กรรม ดังนั้น นายบุญ และนางเพียร ขำวิบูลย์ สามีภรรยาซึ่งมีศักดิ์เป็นอา ได้ขอเด็กชายน้อยๆ ที่มีอายุเพียง ๘ เดือน จากนายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้า โดยรับอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม


    ๏ การศึกษา

    เมื่อ อายุได้ ๑๑ ปี บิดามารดาบุญธรรมได้นำเด็กชายแพไปฝากอยู่วัดกับสำนักอาจารย์ป้อม เพื่อที่จะศึกษาเล่าเรียนตามแบบโบราณนิยม คือ การเรียนภาษาไทย ภาษาขอม นอกจากนั้น ยังได้เรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ ทางธรรมก็มีพระมาลัยสูตร และยังได้หัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์

    ปี พ.ศ.๒๔๖๑ เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี บิดามารดาบุญธรรมได้ส่งไปศึกษาต่อที่สำนักวัดอาจารย์สม ภิกษุชาวเขมร วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ การศึกษาในกรุงเทพฯ ขั้นแรกได้เริ่มเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ (อัตโถ อักขระสัญญโตฯ), เรียนมูลกัจจายนสูตร เป็นเวลา ๑ ปี ต่อมา ก็ไปเป็นนักเรียนบาลีไวยากรณ์ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพฯ

    ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๖๓ เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้ ๑๖ ปี ก็ได้เดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อเยี่ยมบิดาผู้ให้กำเนิดและบิดามารดาบุญธรรมๆ ของท่านเห็นว่าท่านโตแล้ว จึงได้ร่วมบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๓ ณ วัดพิกุลทอง ตำบลพิกุลทอง อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพัน จันทสโร เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงคราม ตามเดิม จนเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖ ท่านสอบนักธรรมตรีได้ (ในสมัยนั้นผู้เข้าสอบต้องอายุ ๑๙ ปีจึงจะมีสิทธิ์ เข้าสอบได้) นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก จากนั้นท่านได้ไปเล่าเรียนที่ วัดมหาธาตุฯ โดยเป็นศิษย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)

    ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ นายเทียน ใจมั่นคง บิดาผู้บังเกิดเกล้าก็ได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงเดินทางกลับไปจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อจัดการศพบิดา แล้วกลับมาอยู่วัดชนะสงครามเช่นเดิม

    สามเณรเปรียญแพ ขำวิบูลย์ ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในวันขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันพุธที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ ณ พระอุโบสถวัดพิกุลทอง โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์, ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมังกโร" แปลว่า ผู้ทำความเกษม

    ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว พระแพ เขมังกโร หรือมหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อที่จะได้นำความรู้ ความสามารถที่ได้ฝักใฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า และประโยชน์ต่อชุมชนและพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ พระแพ เขมังกโร พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ และในปีเดียวกันนั้นท่านสอบนักธรรมชั้นโทได้

    โดยความมุมานะพยายาม โดยอาศัยแสงสว่างจากเทียนไขหรือตะเกียง โดยส่วนมากเพราะสาเหตุนี้ นัยน์ตาอันเป็นส่วนสำคัญของสังขาร ก็เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง ทุกครั้งที่ตรากตรำอ่านหนังสือมากเกินไปในที่สุด นายแพทย์โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้แนะนำไม่ให้อ่านหนังสืออีกต่อไป มิฉะนั้น นัยน์ตาอาจพิการได้ ดังนั้นภายหลังจากสอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยคแล้ว การศึกษาด้านพระปริยัติธรรมก็ต้องยุติลง แต่ด้วยความที่เป็นผู้มีใจใฝ่การศึกษา พระภิกษุแพ เขมังกโร จึงได้ศึกษาและปฏิบัติสมถกัมมัฎฐาน วิปัสสนากัมมัฎฐานในสำนักของพระครูภาวนา วัดเชตุพน จนชำนาญ และดำเนินการสั่งสอนให้แก่ประชาชนทั่วไป

    ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๗๑-๒๔๗๒ ท่านได้รับหน้าที่เป็นครูสอนบาลี โดยสอนตามคณะต่างๆ ของวัดชนะสงคราม

    ใน ปี พ.ศ.๒๔๗๔ พระอาจารย์หยด พวงมสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขาบท ทำให้ตำแหน่งว่างลง ชาวบ้านพิกุลทองและชาวบ้านจำปาทอง จึงนิมนต์ให้พระแพ มารับเป็นเจ้าอาวาส ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะนั้นท่านได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบิดาและญาติพี่น้อง ซึ่งท่านได้พักที่วัดพิกุลทอง ท่านเห็นว่าเป็นวัดพิกุลทองบ้านเกิดเมืองนอน ตอนนี้เสนาสนะชำรุดทรุดโทรมมาก โดยเฉพาะพระอุโบสถซึ่งสร้างมา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ และขณะนั้นท่านได้หยุดพักรักษานัยน์ตา ประสงค์จะพักผ่อนหาความสงบ คิดว่าเมื่อตาหายดีแล้ว ก็จะศึกษาบาลีลันักธรรมต่อตามความตั้งใจเดิม จึงรับปากว่าจะมาอยู่วัดพิกุลทอง ในระหว่างที่ยังว่างเจ้าอาวาสอยู่ ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุเพียง ๒๖ ปี

    ปี พ.ศ.๒๔๘๒ คณะสงฆ์แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลถอนสมอ และในปีเดียวกันหลวงพ่อพิจารณาเห็นว่าพระอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมาก พระสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรมแต่ล่ะครั้ง ต่างกลัวไม้หลังคากระเบื้องหล่นถูกศีรษะ ไม่มีจิตเป็นสมาธิ จึงเริ่มคิดที่จะปฏิสังขรพระอุโบสถ


    ๏ เริ่มเรียนจิตศาสตร์

    เมื่อ ท่านอายุประมาณ ๒๔-๒๕ ปี สมัยยังศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ ท่านได้เริ่มสนใจในทางปฏิบัติ เพื่อหาความสงบทางใจ จึงเข้าอบรมและปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสำนักพระครูภาวนาฯ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ได้ความรู้ในแถวทางปฏิบัติมาพอสมควร และยังได้ศึกษาจากท่านอาจารย์พระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นพระฐานานุกรม และศิษย์ผู้ใกล้ชิด สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ ซึ่งทางเชี่ยวชาญทางด้านสร้าง-ลบผง พุทธคุณ พระครูใบฎีกาเกลี้ยงท่านได้เมตตาสั่งสอนอบรม และมอบตำราเกี่ยวกับจิตศาสตร์วิทยาคมให้

    ต่อมาทราบว่าในท้องที่ อำเภอบางระจัน มีพระอาจารย์เรืองวิทยาคมอยู่รูปหนึ่ง มีคนนับถือและเกรงกลัวมาก เพราะวาจาศักดิ์สิทธิ์ ชื่อ หลวงพ่อศรี เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ ท่านจึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ จนมีความสามารถและเป็นที่โปรดปรานของหลวงพ่อศรี เป็นอย่างยิ่ง ท่านเล่าว่า หลวงพ่อศรี เมตตาสอนวิทยาคมให้อย่างไม่ปิดบังอำพราง และในขณะที่ก่อสร้างพระอุโบสถ หลวงพ่อศรีก็แนะนำให้ท่านสร้างแหวน และทุกครั้งที่ท่านได้สร้างเสร็จ ท่านจะนำไปถวายหลวงพ่อศรีปลุกเสก (ท่านถามหลวงพ่อศรีว่า สร้างแล้วคนนิยมกันไหม หลวงพ่อศรี ท่าน บอกว่านิยมมาก ให้สร้างมากๆ ท่านจะสนับสนุน) ด้วยความเมตตาของหลวงพ่อศรีนี้เอง ทำให้ท่านได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ได้สำเร็จในเวลา ๒ ปีเศษ


    ๏ หล่อสมเด็จทองเหลือง

    เมื่อ หลวงพ่อมีบารมีมากขึ้นตามลำดับ วัดหลายวัดต่างนิมนต์ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างวัด วิหาร ถาวรวัตถุต่างๆ มากมายหลายวัด และเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ทางวัดแถบ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ก็ได้นิมนต์ท่านร่วมงาน หลวงพ่อเล่าว่า ท่านเพลียมากจึงชวนศิษย์ไปจำวัด ที่หอสวดมนต์ โดยมีคนหลายนอนอยู่ก่อนแล้ว ก่อนนอนท่านเอาผ้าอาบน้ำฝนใส่ไว้ในย่าม จึงรู้สึกว่าย่ามใหญ่ คิดว่าคนที่นอนอยู่คงเข้าใจว่าเป็นเงิน ด้วยความอ่อนเพลียท่านจึงหลับไป พอท่านตื่นจากจำวัดเวลาเช้ามืด พบว่าย่ามหายไปแล้ว จึงแจ้งทางวัดทราบ สำหรับสิ่งของในย่ามมีเพียงของเล็กๆ น้อยๆ แต่ของที่สำคัญก็คือ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ซึ่งได้รับจากสมบัติของโยมวัดชนะสงคราม จึงเป็นของที่แท้ และทรงคุณค่าทางด้านจิตใจของหลวงพ่อมาก ท่านจึงเสียดายเป็นอย่างมาก

    ญาติโยมช่วยกันติดตาม ปรากฏว่าได้รับของอื่นคืนครบทุกชิ้น ยกเว้นพระสมเด็จ สอบถามผู้ขโมยได้ความว่าได้นำไปขายให้บุคคลไม่ทราบชื่อ ไม่สามารถติดตามคืนได้ หลวงพ่อเล่าว่าท่านเสียดายมาก ระหว่างนั้นต้องไปขอยืมสมเด็จวัดระฆังจากอาจารย์หยด ซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาส มาติดตัวไปก่อนด้วยความเคารพในบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นอย่างยิ่ง ทำให้หลวงพ่ออธิษฐานขอบารมี ณ วัดไชโยวรวิหาร ขอสร้างพระโลหะพิมพ์สมเด็จขึ้นใช้เอง และแจกจ่ายให้กับผู้เคารพศรัทธา จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ประมาณเดือน ๖ ท่านได้นำช่างมาเททองหล่อ ที่ด้านใต้โบสถ์หลังเก่า โดยได้รับโลหะจากผู้ที่มาร่วมพิธีนำมาหล่อ เช่น เครื่องเงิน ขันลงหิน โต๊กทาน เชียนหมาก ตะบันหมาก สตางค์แดง สตางค์ข้าว สตางค์สิบ ทองเหลือง เป็นจำนวนมาก

    ๏ สมณศักดิ์ที่ได้รับ

    พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ทำกิจปริยัติธรรมวินัย ที่ พระคณุศรีพรหมโสภิต

    พ.ศ.๒๕๑๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ

    พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระสุนทรธรรมภาณี

    พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสิงหคณาจารย์

    พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕ ในวาระครบ ๖๐ พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสิงหบุราจารย์

    พ.ศ.๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นกรณีพิเศษ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี (พระราชพิธีกาจญนาภิเษก) ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมมุนี


    ๏ การมรณภาพ

    ใน ระยะหลัง หลวงพ่อได้งดรับกิจนิมนต์ โดยคำแนะนำจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวเองได้ รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน และโรคชรา จนเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๑ ทางคณะแพทย์ไดเห็นสมควรนำหลวงพ่อเข้าพักรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากตรวจพบว่าหลวงพ่อเป็นโรคปอดอักเสบ ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนอาการดีขึ้น ต่อมาในวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ ท่านอาการทรุดลง จนกระทั่งเวลา ๐๑.๓๐ น. ของวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๑ ท่านได้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ทางคณะแพทย์ได้ทำการช่วยจนหลวงพ่อฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ และทางได้ถวายดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น

    จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๒ ท่านได้ละสังขารอย่างสงบ ณ ห้อง ๙๐๑ ชั้น ๙ อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร ๙๔ ปี โรงพยาบาลสิงห์บุรี สิริอายุรวม ๙๔ พรรษา ๗๓




     
  13. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ประวัติคณาจารย์สายหลวงปู่ศรี หลวงพ่อหล่ำ วัดวังจิก สุพรรณบุรี

    หลวงพ่อหร่ำ กิตฺติสาโร




    สถานะเดิม ชื่อ หร่ำ นามสกุล เครือแก้ว
    สูติกาล ชาตะ ปีระกา พ.ศ. 2427 เกิดที่บ้าน บางคาง ต. วังลึก อ. สามชุก จ. สุพรรณบุรี
    เป็นบุตรของ นายรอด นางชัง เครือแก้ว มีพี่น้องร่วมบิดา 3 คน ดังนี้
    1) นางฉัตร เครือแก้ว
    2) นายหริ่ม เครือแก้ว
    3) นายหร่ำ เครือแก้ว ( พระอธิการหร่ำ กิตฺติสาโร ) คู่แฝด
    บรรพชาอุปสมบท
    ณ พัทธสีมาวัดกระเสียว อ. สามชุก จ. สุพรรณบุรี โดยมี .... พระครูวิริยสุนทร ( หลวงพ่อเล็ก ) วัดวังหิน เป็นอุปัชฌาย์

    “พระผู้มีวาจาสิทธิ์”
    หลวงพ่อหร่ำ กิตฺติสาโร เป็นที่เคารพศรัทธาและรักใคร่ของญาติโยมสาธุชนทั้งหลายเพราะพระเดชพระคุณ หลวงพ่อท่านเป็นสุปฎิปันโน พระผู้ปฎิบัติชอบอยู่ในสีลาจารวัตร จนชาวบ้านหรือบุคลทั่วไป ได้ขนานนามว่า “พระผู้มีวาจาสิทธิ์” มีวิทยาคมทางเมตตามหานิยมทางน้ำมนต์ต่างๆ จึงมีพุทธศาสนิกชนทั่วไป ต่างหลั่งไหลมานมัสการท่านโดยมิได้ขาดสายทุกวัน วันๆหลวงพ่อต้องมานั่งต้อนรับแขกวันละหลายชั่วโมง และมีเรื่องมากมายที่เป็นไปตามวาจาสิทธิ์ที่ท่านได้พูดต่อญาติโยม โดยเฉพาะคนที่ประพฤติผิดศีลธรรม ถ้าท่านทักใครคนนั้นต้องมีอันเป็นไป ตามวาจาที่ท่านพูด
    วันๆ หนึ่งจะมีญาติโยมมาพูดคุยมาขอรดน้ำมนต์กับท่านทั้งวันมิได้ขาด ทำให้หลวงพ่อท่านมีเวลาพักผ่อนน้อย ปกติหลวงพ่อท่านชอบฉันหมากเป็นประจำและชานหมากของหลวงพ่อน้อยคนนักที่จะได้ และคนที่ได้ชานหมากไปแล้วก็ถือว่าได้วัตถุมงคลชั้นดีของหลวงพ่อไปบูชา และเมื่อได้มาพกติดตัวแล้วมักจะโชคดีและแคล้วคลาดจากอันตรายเสมอ ครั้งนั้นหลวงพ่อท่านได้สร้างเหรียญรูปของท่านเป็นครั้งแรกเป็นเหรียญรูปดอก จิกครึ่งตัว ด้านหลังเป็นยันต์ของหลวงพ่อและได้นำมาจ่ายให้กับทุกคนที่มากราบไหว้ท่าน และอำนาจบารมีอันศักดิ์สิทธิ์เหรียญของหลวงพ่อนั่นใครได้ไปแล้วมักแคล้วคลาด จากอันตรายเสมอ และได้สอบถามผู้ที่เคยมีเหรียญพกมาแล้วต่างก็พูดกันว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก แม้แต่รูปถ่ายของหลวงพ่อที่มีกาน้ำ 3 ใบนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก มีครั้งหนึ่งชาวบ้านวังลึกคนหนึ่งมีรูปถ่ายของหลวงพ่อไว้บูชากับบ้าน วันหนึ่งมีลมพายุพัดในฤดูร้อนพัดมาอย่างรุนแรงมาทั้งลมมาทั้งฝน บ้านบางหลังได้รับความเสียหาย ชาวบ้านคนที่เกรงว่าพายุจะพัดบ้านตนเองจึงหยิบรูปถ่ายของหลวงพ่อมาอาราธนาขอ บารมีหลวงพ่อหร่ำ เป็นที่พึ่งขอให้ปัดเป่าลมพายุให้หายด้วย เป็นที่อัศจรรย์ลมพายุหายไปในชั่วอึดใจ
    มีอยู่ครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2491 ในปีนั้นทางวัดวังจิกมีงานประจำปี และในขณะนั้นจะเป็นยุคโจรผู้ร้ายชุกชุม เสือร้ายในยุคนั้นคือ เสือดำ เสือฝ้าย เสือใบ เสือชม ออกปล้นชาวบ้านอยู่เสมอจนชาวบ้านขยาดกลัว และเรียกว่า “ชุมเสือ” ในชุมเสือฝ้าย และเรียกสั้นๆว่า พวกเสือ งานวัดปีนี้ก็มีพวกเสือต่างๆมาคุมงานแทนเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนตำรวจไม่กล้ามาเพราะอิทธิพลเสือร้ายมีมาก เสือร้ายพวกนี้ไม่กลัวบารมีหลวงพ่อหร่ำ ได้พาพวกมาปล้นวัดวังจิก เพราะได้ทราบข่าวว่า นายย้อย เศรษฐีมีเงินแห่งบ้านวังลึกได้นำทรัพย์สินไปมาฝากกับหลวงพ่อ เพราะเก็บเอาไว้เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย พวกเสือชุมหนึ่งจึงพาพวกมาปล้นวัดหลวงพ่อหร่ำได้ทรัพย์สินไปมาก และเป็นช่วงที่พระในวัดได้ฝากเสื้อผ้าข้าวของที่จะลาสิกขาในวันสองวันจึงถูก เสือปล้น ขนใส่กระทะใบบัวขนาดใหญ่ที่ทางวัดมีไว้เพื่อหุงข้าวในงานวัดขนไปหมดและ ประกาศห้ามมิให้ชาวบ้านมองดู ถ้าใครมองดูจะยิงให้ตาย หลวงพ่อมิได้ทำอะไรปล่อยให้พวกเสือขนของไปหมดจนพระในวัดรูปหนึ่งได้พูดกับ หลวงพ่อว่า หลวงพ่อมันเอาให้หมดเลย หลวงพ่อตอบว่า ช่างมันเอาไปไม่ได้ใช้ไม่ได้หรอก เป็นจริงดังคำที่หลวงพ่อพูด เสือที่ปล้นของไปนั้น ยังไม่พ้นเขตบ้านวังจิก ก็ถูกเสืออีกชุมหนึ่งซุ่มยิงจนตายหมดทั้งสองฝ่าย
    มีอยู่วันหนึ่งขณะหลวงพ่อนั่งคุยกับญาติโยมบนวัด มีพวกเสือชุมหนึ่งประมาณ 10 คน เดินสะพายปืนผ่านหน้าวัดไป หลวงพ่อมองดูแล้วถามว่า “ใคร” ญาติโยมด้วยกันที่นั่งคุยด้วยก็บอกว่า พวกเสือปล้น หลวงพ่อพูดว่า มันไปไม่ถึงบ้านมันหรอก เป็นจริงดังคำพูด พวกเสือที่ปล้น เดินพ้นเขตวัดเข้าทุ่งนา ก็ถูกอีกพวกหนึ่งยิงตายจนหมด
    มีอยู่วันหนึ่งชาวบ้านวันลึกคนหนึ่งไปเกี่ยวข้าวบ้านปากดง หนุ่มคนที่มีเหรียญหลวงพ่ออยู่เพียงเหรียญเดียวขณะเกี่ยวข้าวอยู่เหรียญหลวง พ่อหล่นหาย ต่อมาเจ้าของนาเองได้เผาวังข้าวเพื่อทำนาใหม่ ปรากฏว่ามีซังข้าวกอหนึ่งไฟไม่ไหม้ เจ้าของนาไปดูพบเหรียญหลวงพ่อหร่ำที่คนเกี่ยวข้าวทำหายไว้เอง ต่อมาเจ้าของนาคนที่ได้เหรียญหลวงพ่อหร่ำใส่กระเป๋าเสื้อติดตัวไว้ ขณะนำฟ่อนข้าวมาใส่เครื่องรูดข้าว เหรียญหลวงพ่อหล่นลงในถังเครื่องทำให้เครื่องยนต์ดับ เจ้าของนาแปลกใจจึงค้นดูในกองข้าวพบเหรียญหลวงพ่อตกอยู่
    อิทธิปาฎิหารย์หลวงพ่อหร่ำ กิตฺติสาโร นั้นมีมากนัก ได้คัดมาเฉพาะบางเรื่องเท่านั้นและขอบคุณท่านผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสทุกท่านที่ได้กรุณาให้ข้อมูลนี้มาเขียนเล่าสู่กันฟัง และขอขอบคุณ คุณพ่อกรี เกิดสมบูรณ์ ที่กรุณาให้ข้อมูลมาในครั้งนี้

    สาเหตุมรณภาพ
    เมื่อครั้นอายุหลวงพ่ออย่างเข้าสู่วัยชราภาพ คือเป็นไปตามอายุสังขารของมนุษย์ต้องมีโรคภัยมาเบียดเบียน หลวงพ่อได้ประสบกับโรคต่อมลูกหมากอักเสบขึ้น เมื่อคืนวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2510 เวลาประมาน 20.30 น. ท่านเกิดอาพาธหนักกะทันหัน ท่านพระครูทองหยด ปวโร พร้อมด้วยญาติโยมได้นำท่านส่งโรงพยาบาลสุพรรณบุรี สารครินทร์ เพื่อทำการรักษาแพทย์จึงได้ทำการผ่าตัดรักษาโรคที่หลวงพ่อประสบอยู่ และรักษาตัวอยู่ที่โรงบาล ถึง 15 วัน ท่านจึงมรณภาพ เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 เวลา 09.30 น. ด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ 83 ปี 46 พรรษา



    หลวงพ่อหร่ำกับวัดเขาดิน
    หลวงพ่อหร่ำ กิตฺติสาโร นอกจากเป็นพระปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของบรรดาศิษยานุศิษย์แล้ว ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาที่ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาได้สร้างวัดวาอาราม ให้เป็นที่พักสงฆ์นอกจากวัดที่ท่านอยู่แล้ว ท่านยังมาริเริ่มสร้างวัดอีก 2 แห่ง คือวัดลำพระยา และวัดเขาดิน ท่านเป็นผู้ที่ทำงานเห็นคุณประโยชน์ของส่วนรวมมาโดยตลอด สร้างสาธารณูปการมากมาย แม้กระทั่งวัดเขาดินก็ยังได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากท่าน จึงได้มีวัดเขาดินทุกวันนี้
    ตามประวัติที่ท่านผู้เม่าผู้แก่ได้เล่นให้ฟังว่า ในสมัยนั้น บ้านเขาดินก็เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช ลักษณะของหมู่บ้านที่ภูเขาดินและรกเป็นป่าธรรมชาติเขาและวัดสำนักสงฆ์ใน บริเวณหมู่บ้านก็ไม่มี ทางชาวบ้านเขาดิน ในสมัยนั้นก็มีคณะกรรมการ คือ ผู้ใหญ่เทียบ เหมือนแก้ว นายโปร่ง สุดสงวน นายยวน โสขุมา นายน้อม รอดไผ่ ครูชื่น น้ำดอกไม้ นายไล้ นายหล่อ เหมือนแก้ว นายทวี เหมือนแก้ว นายสนิท เทียนเบ็ญจะ นายสิริ ทองเครือ นายจุน สว่างศรี ทั้งหมดนี้เป็นคระกรรมการที่ริเริ่มจะสร้างวัดเขาดิน
    เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 คณะกรรมการเหล่านี้ได้เดินทางกันไปทางเรือ เพราะสมัยนั้นหนทางยังไม่มีต้องใช้เส้นทางเรือ คณะกรรมการเหล่านั้นได้แจวเรือ ซึ่งมีนายบุญธรรม แจวท้ายเรือ และมีนายพะยอม มะรุมเมือง เป็นผู้แจวหัวเรือ แล้วคณะกรรมการได้ขึ้นไปกราบนมัสการหลวงพ่อหร่ำที่กุฎิ เพื่อให้หลวงพ่อได้มาช่วยนำศรัทธาของญาติโยมมาสร้างเสนาสนะ เพื่อใช้เป็นที่พำนักสงฆ์
    หลวงพ่อหร่ำ กิตฺติสาโร ได้มาทำการสร้างพระประธานบนยอดเขา เมื่อปี พ.ศ. 2509 จนเสร็จตอนนั้นการก่อสร้างมีความยากลำบากมาก เพราะไม่มีเครื่องมือทันสมัยเหมือนอย่างปัจจุบัน
    หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2510 หลวงพ่อ ก็ถึงแก่กรรมมรณภาพ ถือว่าหลวงพ่อได้สร้างหัวใจสำคัญของวัดเขาดิน นั้นคือ”พุทธปฎิมา” อันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน หลวงพ่อได้มองการไกลของการก่อสร้างพระประธานไว้บนยอดเขา การสร้างอะไรไว้ที่สูงเสี่ยงต่อการโดนฟ้าผ่า หลวงพ่อได้สลักคาถาไว้เพื่อป้องกันฟ้าผ่าที่หลังพระประธาน นั้นคือ
    “ พุทโธ กัญจะ กัญจะ พุทโธ อากาเส ธีปัง กะโรมิ ”
    คาถาบทนี้ ถือว่าเป็นคาถาที่บรรนดาลูกศิษย์ใช้ป้องกันอันตรายต่างๆทางกรรมการก็ได้สืบ สานเจตนาของหลวงพ่อได้ช่วยบริจาคทรัพย์บ้าง ที่ดินบ้าง เพื่อสร้างเสนาสนะ กุฎิสงฆ์ เป็นต้นมา


    <hr width="350">
    วัตถุมงคลหลวงพ่อหร่ำ
    อาจารย์สมจิตเคยลงไว้ในลานโพธิ์หลวงพ่อหร่ำท่านนอกจากสร้างเหรียญรุ่นแรก เหรียญพระปัจเจกพระพุทธเจ้าแล้วท่านยังสร้างพระแก้บนฐานอุดด้วยเทียนชัย
    หลวงพ่อหร่ำเป็นศิษย์สายหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ รุ่นพี่หลวงพ่อกวย พระเกจิที่มีอาคมขลัง วาจาสิทธิ์ยิ่งนัก ลำพังเหรียญรุ่นเเรกก็หาชมยากมาก โดยเฉพาะเหรียญบล็อกประจวบ ซึ่งเอาบล็อกเหรียญหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลักมาทำ จึงปรากฎรอยตามเหรียญ
    พระผงนั้น พระผงหลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก สุพรรณบุรี หลวงพ่อไม่ได้สร้างเอง เเต่พระในวัดช่วยกันทำ ผสมมวลสารต่างๆ เเล้วนำไปถวายหลวงพ่อ ท่านก็ปลุกเสก พระองค์นี้เป็นชุดที่พระในวัดที่หลวงตาพัวสร้างถวาย เอกลักษณ์คือ ด้านหลังจะมียันต์เเละบอกชื่อวัด ว.วังจิก พระลักษณะเดียวกันนี้ หลังหลวงพ่อมรณภาพก็มีทำมาอีก เเต่มีการบอกพ.ศ.ไว้ด้วย พระเนื้อผงของหลวงพ่อหร่ำ จัดว่าเป็นของดี ที่หาชมได้ยากมากๆ องค์นี้ได้มาตั้งเเต่ปี๒๕๓๖ ตั้งเเต่นั้นมา ยังไม่เจอองค์ที่สองอีกเลย สอบถามนักสะสม คนท้องถิ่น ก็ได้คำตอบมาว่า หายากมากๆ คนที่มีก็หวงมากๆด้วย เนื้อหา มวลสาร ดีจริงๆครับสำเร็จวิชาชาตรี เเต่หลังๆ เปลี่ยนมาเน้นทางเเค้ลวคลาด



    หลวงพ่อหร่ำศิษย์หลวงพ่อศรี
    ต่อไปจะขอกล่าวถึงครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อ เท่าที่มีกลักฐานแน่ชัด ตลอดจนมนต์และคาถาที่หลวงพ่อเรียนมา ว่าเรียนมาจาก สายไหน กรืออาจารย์องค์ใด ถ้าไม่กล่าวถึงอาจารย์ของท่าน พระประวัติก็จะไม่สมบูรณ์ แต่จะขอกล่าวถึงอาจารย์หรือครูบาอาจารย์ที่สอนทางวิปัสสนาและอาคม ตลอดจนการทำเครื่องรางของขลังเท่านั้น แต่เดิมเมื่อ หลวงพ่อบวชตั้งแตพรรษาแรก อายุท่าน ๒๐ ปี พอพรรษาต่อ ๆ มาท่านก็เรียนเทศน์มหาชาติและเรียนนักธรรม จนกระทั่งพรรษา ๘ หรือ อายุท่านได้ ๒๘ ปี ท่านจึงเรียนวิปัสสนากรรมฐาน ครูบาอาจารย์ของท่านเท่าที่ทราบ คือ
    หลวงพ่อศรี วิริยะโสภิต หรือหลวงพ่อสี อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อได้มาเรียน วิปัสสนา จะเรียนอยู่กี่พรรษาไม่แน่ชัด แต่มีหลักฐานแน่ชัดคือปีแรกที่เรียนวิปัสสนา แสดงว่าหลวงพ่อได้เรียนวิปัสสนาและอาคมเพียงปีเดียวก็สำเร็จ นอกจากนั้นหลวงพ่อศรียังมีศิษย์ที่เป็นพระมีวิชาดีหลาย องค์ เช่น หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์, หลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อเฟื่อง วัดแหลมคาง, หลวงพ่อ ฟัง วัดสะเดา สิงห์บุรี, พระครูพิมพ์ วัดสนามชัย อ.สรรคบุรี, หลวงพ่อบัว วัดแสวงหา อ่างทอง, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่ปรง วัดธรรมเจดีย์ จ.สิงห์บุรี ฯ หลวงพ่อศรีนี้ ปัจจุบันเหรียญท่านรุ่นแรกและรุ่นเดียวของท่านมีราคาแพงมาก แพงอันดับ ๑ ของจังหวัดสิงห์บุรี เมื่อท่านมรณ ภาพ ได้ทำฌาปนกิจ ปรากฏว่ามีดาวขึ้นใจเวลากลางวัน แม้รูปหล่อท่านกับสถูป ที่เก็บอัฐิของ ท่านปัจจุบันศักดิ์สิทธิ์มา

    <hr width="320">


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ว่างๆจะพยายามหาเหรียญรุ่นแรกของแต่ละ คณาจารย์มาลงให้ครบครับ แฮะๆ
     
  15. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อหล่ำ วัดวังจิก บล๊อกนิยม สภาพสวยๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P8310001.jpg
      P8310001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      590 KB
      เปิดดู:
      203
    • P8310002.jpg
      P8310002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      563.3 KB
      เปิดดู:
      191
  16. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P8040262.jpg
      P8040262.jpg
      ขนาดไฟล์:
      478.8 KB
      เปิดดู:
      1,418
    • P8040263.jpg
      P8040263.jpg
      ขนาดไฟล์:
      491.1 KB
      เปิดดู:
      356
  17. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,009
    ค่าพลัง:
    +146,278
    มาโชว์อีกน่ะ
     
  18. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ตอนนี้ที่มีก็เหรียญหลวงพ่อแพ ปี 2502 อีกเหรียญแต่สภาพสึก มากๆ ยังหาสวยๆไม่ได้ครับ หลวงปู่ปรง นั่งงูพอดีผมให้คนอื่นบูชาไปแล้ว กำลังหาเหรียญนั่ง ปืน มาแทนแฮะๆqsqu
     
  19. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    เหรียญหลวงพ่อแพ รุ่นแรก (เขมรแดง) ปี 2502 ครับ บล๊อก พุฒหางยาว

    ได้มาสภาพเหลือแค่นี้แล้วครับแฮะๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P9010018.jpg
      P9010018.jpg
      ขนาดไฟล์:
      568.5 KB
      เปิดดู:
      807
    • P9010019.jpg
      P9010019.jpg
      ขนาดไฟล์:
      573.9 KB
      เปิดดู:
      383
  20. BaByUltraMan

    BaByUltraMan เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,919
    ค่าพลัง:
    +4,647
    ประวัติคณาจารย์สายหลวงปู่ศรี หลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา

    หลวงพ่อ ฟุ้ง เป็นเกจิเก่าในสายหลวงพ่อศรี ที่ผมเคยอ่านประวัติของท่าน ที่ตีพิมพ์ในหนังสือลานโพธิ์เมื่อปี ๒๕๒๙ ซึ่งเป็นเวลาที่ผมยังเด็กเเต่เริ่มมีความสนใจพระเครื่องเเละเครื่องรางของ ขลัง ต่อมาหลังเลิกเรียน ผมมักไปยืนตามเเผงหนังสือ เพื่อเปิดดูหนังสือพระต่างๆ จนวันนึง ทำให้ผมได้มาพบกับคอลัมน์หลวงปู่กวย ที่เขียนโดยคุณเฒ่า สุพรรณในหนังสือนะโม เเม้กระนั้น เวลาจะผ่านมานาน เเต่ก็ยังไม่ลืมเกจิที่เก่งๆ ที่ชื่อหลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดาองค์นี้

    นับ เป็นโอกาสดีที่ศิษย์หลวงปู่กวยที่ผมรู้จักท่านนึงที่เชียงราย ยังเก็บต้นฉบับที่ลงเรื่องราวของหลวงพ่อฟุ้งไว้ ได้มีน้ำใจส่งต้นฉบับเก่า มาให้ทางเวป ได้ลงเรื่องราวเเละข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุมงคลเเบบต่างๆของท่าน เพื่อเป็นประโยชน์ในการอนุรักษ์เเละเทิดทูน คุณครูบาอาจารย์ ศิษย์ในสายคุณพ่อศรี ต่อไปครับ



    ประวัติวัดสะเดา

    วัด สะเดา ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตก ของลำแม่ลาในเขตหมู่ 1 ตำบลแม่ลา อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี จะสร้างขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. เท่าไหร่ไม่ปรากฏเพียงแต่ได้รับคำบอกเล่าจากชาวบ้านในท้องถิ่นว่า ประชาชนในท้องถิ่นนั้นเดิมเป็นคนอินเดียอพยพมาประกอบอาชีพจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนาและประมงในลำแม่ลา เพราะในสมัยนั้นปลาชุกชุมมาก และเป็นปลาที่มีรสดี สีสวยจึงเป็นที่ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นของดีเมืองสิงห์บุรีทีเดียว
    ดังคำพังเพยว่า “ปลาแม่ลา น้ำยาบางเลา สาวงามบ้านแป้ง แตงบ้านไร่”

    ส่วน ใหญ่ของประชาชนที่อพยพ มานี้นับถือพุทธศาสนา ในสมัยที่ไม่มีวัดจะบำเพ็ญกุศล ต่างก็พากันไปบำเพ็ญกุศลในท้องถิ่นเดิมของตน เป็นเช่นนี้มาเป็นเวลานาน จึงได้ปรึกษาหารือกันเพื่อจะสร้างวัดไว้บำเพ็ญกุศลในบริเวณนี้ แต่ก็ยังไม่มีโอกาส ต่อมามีพระภิกษุรูปหนึ่ง เดินธุดงค์มาจากที่อื่น(ไม่ทราบว่ามาจากไหน) มาถึงป่าสะเดาริมฝั่งลำแม่ลา ทิศตะวันตกและปักกลดพักแรมที่นั่น ประชาชนที่เห็นและทราบข่าวต่างก็ดีใจมาก ด้วยใจศรัทธาและนานๆ จะพบพระสักครั้งหนึ่ง ชาวบ้านได้ปรึกษาหารือกับพระธุดงค์รูปนั้นถึงการสร้างวัด ซึ่งท่านก็ยินดีสนับสนุน จึงได้ตกลงสร้างเป็นวัดขึ้น โดยระยะแรกสร้างเป็นกุฏิเล็กๆ 1 หลังก่อน เพื่อให้พระอยู่อาศัย และสร้างเป็นศาลาเล็กๆ ไว้ประกอบการกุศล พร้อมกับอาราธนาพระธุดงค์รูปนั้นอยู่จำพรรษาเสียที่นั่น ชาวบ้านเรียกพระธุดงค์รูปนั้นว่า “หลวงพ่อนิล” วัดที่สร้างขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า “วัดแม่ลา” เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งลำแม่ลา หลวงพ่อนิลเป็นพระที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ท่านได้ร่วมมือกับชาวบ้านจัดการก่อสร้างวัดนี้ให้เจริญสืบมาจนถึงทุกวันนี้
    วัดนี้มีเจ้าอาวาส ปกครองมาแล้วหลายองค์ แต่มีรายงานปรากฏบ้างไม่ปรากฏบ้าง เรียงตามลำดับเจ้าอาวาสดังนี้
    1. หลวงพ่อนิล (ริเริ่มสร้างวัดประมาณ พ.ศ. 2415)
    2. หลวงพ่อเลี้ยง
    3. หลวงพ่อศรี
    4. หลวงพ่อจับ
    5. หลวงพ่อฟุ้ง (พระอธิการฟุ้ง อุตฺตโม)
    วัด นี้มีพระจำพรรษาปีละไม่มากนัก เพราะหมู่บ้านที่อยู่ใกล้วัด และบำเพ็ญกุศลวัดนี้มีน้อย ทั้งการคมนาคมไปมาไม่สะดวกในสมัยก่อนถ้าถึงฤดูน้ำต้องอาศัยเรือพายตามลำน้ำ แม่ลา หรือตัดผ่านทุ่งนาของชาวบ้าน ดูแล้งก็ต้องอาศัยลำแม่ลาเช่นกัน
    ต่อ มาวัดแม่ลาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสะเดา” มีเรื่องเล่าว่ามีพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่ง (เข้าใจว่าจะเป็น พระครูสิงห์ราชมุณี วัดระนาม อ.อินทร์บุรี) ได้การตรวจการคณะสงฆ์ถึงวัดนี้ และเห็นสภาพวัดมีต้นสะเดาใหญ่ (วัดโดยรอบต้น 8 เมตร สูงประมาณ 1 เส้น) และต้นเล็กอีกเป็นจำนวนมากขึ้นอยู่ในบริเวณวัด จึงได้ปรารภกับเจ้าอาวาสในสมัยนั้น (หลวงพ่อฟุ้ง) ว่าควรจะถือเอาต้นสะเดานี้เป็นสัญลักษณ์ของวัดและขนานนามวัดนี้ว่า “วัดสะเดา”
    เจ้าอาวาสและประชาชนเห็นด้วย จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดแม่ลา มาเป็นวัดสะเดา



    ประวัติหลวงพ่อฟุ้ง

    หลวง พ่อท่านเกิด ในตระกูล นิลวัฒนา เมื่อวันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง หรือตรงกับวันที่ 18 กันยายน 2435 โยมบิดาของท่านชื่อ หลง โยมมารดาชื่อ ฉ่ำ ท่านเกิดที่บ้านตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี มีพี่น้องร่วมบิกามารดาเดียวกัน 5 คน ดังนี้
    1. หลวงพ่อฟุ้ง
    2. นายสุก โตเสม
    3. นายสอน โตเสม
    4. นายสี โตเสม
    5. นางโต๊ะ ยิ้มจันทร์
    เมื่อ เยาว์วัยได้เข้าเรียนหนังสืออยู่กับพระที่วัดบางกระบือ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี โดยเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอม มีความรู้พอแก่วิชาที่เรียนแล้วได้ออกจากวัดมาอยู่ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ ตามตระกูลเดิมคือ ทำนา และการประมงในลำแม่ลา อันเป็นถิ่นที่มีปลาชุกชุม รสดี สีสวย ของจังหวัดสิงห์บุรี ท่านได้ช่วยบิดา-มารดา ประกอบอาชีพทำมาหากินด้วยความอุตสาหะมานะบากบั่นเป็นอย่างดีมาจนอายุได้ 19 ปี ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหารเป็นรั้วของชาติ (เป็นทหารช่างอยู่อยุธยา) อยู่ 2 ปี ครั้นปลดประจำการแล้วบิดามารดาประสงค์จะให้บวชเรียนสืบอายุพระศาสนา ซึ่งเรื่องนี้หลวงพ่อเคยเล่าว่าตรงกับความใฝ่ฝันของท่านคืออยากบวชเป็นทุน เดินอยู่แล้ว จึงยินดีตอบรับเพื่อตอบแทนสนองคุณของพ่อแม่ด้วยความกตัญญูกตเวที



    เป็นลูกศิษย์พระครูศรี

    เมื่อ ตกลงที่จะบวชแล้วบิดาก็ได้นำไปฝากอยู่กับพระอาจารย์ที่วัดบางกระบือ อันเป็นวัดที่ใกล้บ้าน และได้เข้าบรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่..........มิถุนายน พ.ศ.2457 ณ พัทธสีมาวัดสิงห์ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี โดยมีท่านพระครูศรีวิระยะโสภิต (หลวงพ่อพระครูศรี) วัดพระปรางค์ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระใบฎีกาบัตรกับ พระอาจารย์จับ เป็นกรรมวาจาและอนุสาวจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วอุปัชฌาย์ใต้ตั้งนามให้ว่า อุตฺตโม เมื่อออกจากพระอุโบสถแล้วก็เข้าจำพรรษาอยู่ที่วัดราษฎร์บำรุง ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ทั้งนี้ด้วยความประสงค์ของเจ้าอาวาสวัดมีศักดิ์เป็นปู่ของท่านซึ่งประสงค์จะ ให้พระหลานได้อยู่ใกล้ชิดเพื่อสะดวกแก่การอบรมสั่งสอน ในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ ก็ยังปฏิบัติหน้าที่ของสัทธิวิหาริกที่ดีอีกพึงปฏิบัติพระอุปัชฌาย์ของตน จึงเป็นที่รักเป็นที่วางใจแก่พระอุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อพระครูศรี ขณะนั้นหลวงพ่อพระครูศรีฯ ท่านเป็นเถระคณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม มีเวทมนตร์คาถาอาคมในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อนี้มี เรื่องเล่าเอาไว้มากมาย แต่จะขอยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่ง คือ มีเด็กวัดซุกซนเที่ยวปีนต้นไม้เล่น หลวงพ่อเผลอปากทักไปว่า “จะปีนขึ้นไปทำไม เดี๋ยวก็ตกลงมาหรอก” เมื่อสิ้นคำพูดของหลวงพ่อ ปรากฏว่าเด็กคนนั้นตกลงมาจริงๆ เดชะบุญที่ปีนขึ้นไปไม่สูงมากนักจึงตกลงมาไม่ได้รับบาดเจ็บ และหลังจากนั้นหลวงพ่อจะระมัดระวังไม่ทักไม่ดุเด็กอีกเลย หลวงพ่อศรีท่านเป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่โด่งดังในสมัยนั้น โดยชื่อเสียงของท่านดังไปทั่วทั้งภาคกลาง โดยเฉพาะแถบสิงห์บุรี, อ่างทอง, ชัยนาทและนครสวรรค์ เมื่อหลวงพ่อฟุ้งท่านใกล้ชิด และเป็นศิษย์ที่ท่านอุปสมบทให้ด้วยตัวของท่านเอง ย่อมเป็นโอกาสดีที่จะได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ จากหลวงพ่อศรีและทราบว่า หลวงพ่อฟุ้งได้รับ การถ่ายทอดมาจนครบทุกวิชาของหลวงพ่อศรี ศิษย์ของหลวงพ่อศรี อีกรูปหนึ่งที่ยังมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ขณะนี้ เมื่อเอ่ยชื่อเสียง ทุกท่านต้องรู้จักดี คือ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงพ่อแพท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อศรีรุ่นหลังหลวงพ่อฟุ้งมาก เพราะพรรษาต่างกันประมาณ 20 พรรษา หลวงพ่อฟุ้ง จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ที่วัดราษฏร์บำรุงเป็นเวลา 5 พรรษา ต่อมาหลวงปู่ท่านมีความประสงค์จะให้ไปจำพรรณรอยู่ที่วัดแม่ลา(วัดสะเดา) ต.แม่ลา เพราะเป็นวัดที่ท่านอุปการะแต่ก่อนทั้งเป็นความประสงค์ของเจ้าอาวาสและบรรดา ญาติ ๆ แถวแม่ลานั้นด้วย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมาอยู่วัดแม่ลา(วัดสะเดา) ในขณะที่มีหลวงพ่อ........เป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อท่านเป็นพระที่ใฝ่ใจศึกษาหาความรู้พระธรรมวินัย และตั้งใจปฏิบัติสม่ำเสมอ ด้วยดีเสมอมา เป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรสำรวมและมีอิริยาบถอันนิ่มนวล สงบเสงี่ยมเรียบร้อย



    ในปี พ.ศ. 2467 วัดสะเดาว่างเจ้าอาวาสลงคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงพ่อฟุ้งท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสสืบแทน เมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วหลวงพ่อท่านก็ริเริ่มดำเนินการพัฒนาวัด ด้วยการซ่อมแซมปรับปรุงเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้มีสภาพมั่นคงขึ้น และจัดการสร้างเสนะที่สำคัญและ.......เป็นขึ้นมาใหม่ด้วยความอุตสาหะอัน แรงกล้ายอมสละกำลังกาย สติปัญญา และความสามารถทุกอย่างเพื่อความเจริญของวัด และโดยเหตุที่ท่านมีความรู้ในทางช่างเป็นอย่างดี การก่อสร้างภายในวัดจึงจัดทำเอง โดยขอแรงชาวบ้านในท้องถิ่นบ้าง ต่างถิ่นบ้างมาช่วยกันโดยไม่ต้องเสียค่าจ้าง ท่านรับภาระหนักในการพัฒนาวัดเป็นอย่างมากแทบจะกล่าวได้ว่าวัดสะเดายิ่งใหญ่ ขึ้นมาในยุคสมัยที่ท่านครองวัดเป็นเจ้าอาวาสอยู่




    แม้ว่า ท่านจะเป็นนักพัฒนาทางด้านวัตถุชั้นแนวหน้า ถึงกระนั้นท่านก็สนใจในการพัฒนาทางด้านจิตใจด้วย ข้อนี้จะเห็นได้จากการที่ท่านประกอบไปด้วยคุณธรรมความดี เป็นที่ประทับใจแก่ศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั้งหลาย คุณธรรมความดีของหลวงพ่อมีดังนี้

    1. อินทรีย์สังวร ท่านสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้มีความยินดียินร้ายเพราะเห็นรูป ฟังเสียงดมกลิ่น ลิ้มรส และสัมผัสเข้าครอบงำจิตใจได้ ท่านวางใจเป็นอุเบกขาในอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ ไม่ฟูขึ้นเพราะอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ชอบมีลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ไม่แฟบลงเพราะ อนัฏฐารมณ์ คือ ความไม่ชอบมีความเสื่อมจากลาภ ยศ เป็นทุกข์เพราะถูกนินทา คุณธรรมพวกนี้หลวงพ่อท่านถือเคร่งครัดมากดังจะเห็นได้ว่าท่านไม่ทะเยอทะยาน ในเรื่องเหล่านี้เลย แม้บางครั้งศิษยานุศิษย์บางคน ปรารถนาให้ท่านมีสมณศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติบ้าง ได้มาปรารภกับท่าน แทนที่ท่านจะสนใจ กลับถูกท่านสั่งสอนเป็นคติเสมอว่า ลาภ ยศ อันเป็นสิ่งที่คนอื่นปรารถนานั้นล้วนเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ทั้งสิ้น และเวลาตายแล้วก็เอาติดตัวไปไม่ได้ จะมีก็แต่บุญกุศล หรือคุณธรรมความดีที่เราสร้างไว้เท่านั้น
    2. เมตตาธรรม ความรัก ความเห็นใจ ความปรารถนาดี ซึ่งเป็นคุณธรรมของผู้หลักผู้ใหญ่ คุณธรรมข้อนี้หลวงพ่อมีบริบูรณ์จริง เพราะท่านมีความรัก ความปรารถนาดี ความเห็นใจแก่ศิษยานุศิษย์และคนทั่วไป ดังจะเห็นได้ว่าท่านมีอารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใสร่าเริงต่อบุคคลทั้งที่เป็นญาติ มิตร ศิษยานุศิษย์ และคนอื่นๆ เสมอกัน มีความรู้สึกที่เป็นความปรารถนาดี ปรารถนาสงเคราะห์ต่อกัน แสดงความยินดีต่อบุคคลที่ได้ดี แสดงความเห็นอกเห็นใจเมื่อยามเดือดร้อน วางตนเป็นที่พึ่งต่อบุคคลทั่วไปเหมือนพ่อแม่เป็นที่พึ่งแก่ลูก หรือเหมือนร่มโพธิ์ ร่มไทร ให้ความร่มเย็นแก่วิหคทั้งหลาย เมตตาธรรมของท่านนั้นครอบคลุมถึงสัตว์เดรัจฉาน ดังจะเห็นได้ว่าท่านเลี้ยวแมว หมาเอาไว้มากมาย ความดีของหลวงพ่อยังมีอีกมากมายกว่านี้ ที่นำมาแจ้งแก่ท่านผู้อ่านก็เพื่อเป็นแบบอย่างแบบฉบับแก่ผู้ที่ใฝ่ดีทั้ง หลาย






    <hr class="hrcolor" width="100%" size="1"> [​IMG]

    Credit by
     

แชร์หน้านี้

Loading...