Magnet Generator .... พลังงาน Free ... ทางเลือกยุคน้ำมันแพง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Pew Pew, 10 กรกฎาคม 2008.

  1. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    พลังงานทางเลือก

    รถสปอตพลังงานไฮโดรเจน

    [​IMG]

    รถยนต์สปอตที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน ที่มีสมรรถภาพสูง โดยที่เจ้ารถคันนี้ใช้เชื้อเพลิง แต่ในความสวยปราดเปรียวนั้น ราคาก็สูงปรี๊ด แถมยังใช้พลังงานไฮโดรเจนอีกด้วย


    ตัวรถนั้นทำด้วยอลูมิเนียม และ ตัวที่นั่งทำด้วยไม้แบบคลาสสิค ซึ่งน้ำหนักจะเบากว่า เมื่อเปรียบเทียบกับรถธรรมดา และในรถ (หรือในเครื่องยนต์) มีอุปกรณ์เก็บไฟฟ้าที่เก็บได้มากมายที่ชาร์ตกับระบบเบรคที่ปฏิรูปแล้ว ทำให้รถยนต์มีพละกำลังในการเร่งเครื่องขึ้นเป็นอย่างมาก

    [​IMG]

    [​IMG]

    รถสปอร์ตพลังงานไฮโดรเจน

    [​IMG] นี่คือ FC Sport ชื่อรุ่นของรถยนต์ฮอนด้าสปอร์ต 3 ที่นั่งที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนได้ถูกเผยโฉมให้ทั่วโลกตะลึงในงาน L.A. Auto Show

    ถึงแม้จะเป็นเพียงแนวคิดการออกแบบรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งอนาคต ซึ่งยังไม่มีแผนจะออกจำหน่ายในเร็วๆ นี้ แต่ก็ถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้กับสิ่งแวดล้อมของเรา

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  2. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    Gym ปั่นไฟ มีจริงๆนะเนี่ย ...

    ฟิตเนสส์ร่วมด้วยช่วยกัน

    ...ต่อจากผับร่วมด้วยช่วยกัน
    อันนี้ตรงประเด็นกว่าอีก
    คนไปผับยังอาจจะนั่งกินเหล้าเฉื่อยๆ กันบ้าง
    แต่ไปยิมไม่มีใครนั่งเฉยๆ แน่นอน
    คนเข้ายิมก็เพื่อเผาผลาญพลังงานอยู่แล้ว
    แต่จะเผาไปเปล่าๆ ทำไม เอามาใช้ประโยชน์ดีกว่า

    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/GDU72PD3vIs width=425 height=350 type=application/x-shockwave-flash wmode="transparent"></EMBED>


    [​IMG]
    ยิมปั่นไฟนี้อยู่ที่ฮ่องกง
    คนออกแบบคือ Lucien Gambarota
    กับ Doug Woodring
    เขาเปลี่ยนเอาพลังงานที่คนใช้ในการออกกำลังกาย
    มาช่วยปั่นไฟในยิม และพลังงานส่วนที่เหลือ
    (มันคงเหลือเยอะมากเพราะใครๆ ก็ตั้งหน้าตั้งตาเบิร์นแคลอรี่)
    ก็เอามาเก็บในรูปของแบตเตอรีได้

    ตอนนี้ยิมปั่นไฟยังอยู่ในขั้นทดลอง
    มีอุปกรณ์ออกกำลังไม่มากที่ใช้ปั่นไฟได้
    แต่จุดประสงค์คือจะขยายไอเดียนี้ไปทั่วโลก
    และส่งเสริมให้ผู้ผลิตเครื่องออกกำลังกาย
    ติดตั้งตัวปั่นไฟมาด้วยตั้งแต่ตอนผลิต

    ที่จริงนี่ก็คือ California Fitness ที่มีสาขาในบ้านเรา
    แต่ของเราคงยังไม่ได้ 'Green' ขนาดนี้
    ผอมด้วย ประหยัดไฟด้วย

    Go Green!

    จาก inhabitat
     
  3. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ปั่นจักรยาน - แบบนี้ไม่ได้ไฟ แต่ได้เสื้อผ้าสะอาด ก็ยังพอมีประโยชน์นะคร้าบ...

    เครื่องซักผ้า ปั่นด้วย 2 ขาของฉันเอง

    [​IMG]


    ช่วงนี้ปีใหม่ หลายคนผุดไอเดียใหม่ๆ มากมายให้กับที่ทำงาน แต่ในอีกหลายมุมของโลก ยังมีนักคิดค้นนวัตกรรมเพื่อคนยากไร้อยู่ ดังเช่นนักประดิษฐ์หลายๆ คนที่หนูอุ่มเคยเอาผลงานเด็ดๆ ของเขามาฝากไว้ และล่าสุดก็เป็นผลงานของนักศึกษาคณะวิศวะจาก MIT มหาวิทยาลัยชื่อดังของอเมริกาที่ผุดไอเดียสร้างเครื่องซักผ้า ที่ไม่ต้องเสียปลั๊ก แต่ใช้พลังงานของ "สองขา" ของเราเอง

    อยากรู้จัก เครื่องซักผ้าใช้ขาปั่น ต้องคลิกดูวิดีโอสาธิตการใช้งานจริงกันด้านในค่ะ

    นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย MIT ได้ ใช้เวลาพัฒนากว่า 4 ปี ในการคิดค้น พัฒนา "จักรยานซักผ้า" หรือ
    "bicilavadora" ซึ่งเป็นการผสมระหว่างภาษาสเปน และอังกฤษ ที่มาจากคำผสมของคำว่า "จักรยาน และ เครื่องซักผ้า"

    ที่หัวใจหลักคือการดัดแปลงถังน้ำมันขนาด 55 แกลลอน มาทำหน้าที่เป็นถังซักผ้า พร้อมกับใส่มอเตอร์ และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในเพื่อให้มันทำงานได้อย่างฉลุย จากนั้นก็ตัดต่อส่วนจานปั่นของจักรยานเข้าไป เพื่อให้ใช้พลังจากสองขาเราขับเคลื่อนมอเตอร์ให้ปั่นไปในที่สุด

    โดยแรกเริ่มเดิมที แนวคิดนี้เคยได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวที MIT IDEAS เมื่อปีที่ 2005 ที่ผ่านมา และได้มีการพัฒนาให้ใช้งานได้จริงในที่สุด

    และนี่ก็เป็นการสาธิต "bicilavadora" ให้กับเด็กยากไร้ในแถบสลัมของเปรู เพื่อที่จะส่งมอบนวัตกรรมดีๆ ให้กับผู้ยากจนในแถบประเทศโลกที่ 3 กันต่อไป

    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/xd4gPZAdQJw&color1=0xb1b1b1&color2=0xcfcfcf&hl=en&feature=player_embedded&fs=1 width=425 height=344 type=application/x-shockwave-flash allowfullscreen="true"></EMBED>

    ได้ทั้งเสื้อผ้าที่สะอาดๆ ได้ทั้งสุขภาพที่แข็งแรง ทั้งยังไม่สิ้นเปลืองพลังงานใดๆ เลย น่ายกย่องไอเดียนี้เป็นที่สุดค่ะ ว่าแต่ ขณะปั่นต้องถอดเสื้อผ้าไหมคะ เพราะมิฉะงั้นจะเหม็นเหงื่อแย่...อิอิ





    Tag: , จักรยาน, จักรยานซักผ้า, MIT, bicilavadora, เครื่องซักผ้า
    เขียนโดย greenmblog ที่ 2009-02-20 18:13:23 น. 3




    <NOBR>
    </NOBR>
     
  4. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เรามาประยุกต์พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้กับฟาร์ม


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
    ลักษณะการใช้งาน
    ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ สามารถสูบน้ำ ทั้งจากแหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดินที่เป็นบ่อบาดาล ตั้งแต่เวลาที่มีแสงอาทิตย์จนอาทิตย์ลับขอบฟ้า แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อไปขับเคลื่อนมอเตอร์ของเครื่องสูบน้ำ ให้สูบน้ำในเวลากลางวัน น้ำที่สูบได้จะถูกเก็บไว้ในถังเก็บน้ำซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง น้ำจากหอสูงจะมีแรงดันเพียงพอที่จะไหลไปสู่บ้านผู้ใช้น้ำในบริเวณใกล้เคียง
    คุณลักษณะของระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
    1. ใช้เครื่องสูบน้ำที่ได้รับออกแบบพิเศษเพื่อใช้กับพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉพาะ
    2. ใช้ได้กับทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ กรณีไฟฟ้ากระแสตรงใช้แรงดัน 30-300 โวลต์ กรณีไฟฟ้ากระแสสลับใช้แรงดัน 90-240 โวลต์ ความถี่ 50/60 Hz
    3. อุปกรณ์ป้องกันการเสียหายเมื่อน้ำแห้ง
    4. อุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์เสียหายจากกรณีไฟตก
    5. อุปกรณ์ควบคุมแสดงสถานภาพการทำงานของเครื่องสูบน้ำ
    6. มีระบบตัดการทำงานในกรณีน้ำในถังเก็บน้ำเต็ม และทำงานในกรณีน้ำในถังเก็บน้ำลด

    ตัวอย่างการนำน้ำที่สูบได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์
    ปลูกพืชต่างๆ เช่น สบู่ดำ ปาล์มน้ำมัน พืชสวนครัว ฯลฯ
    เลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ โค ปลา กุ้ง
    น้ำดื่ม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2009
  5. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ความจริง ณ วันนี้ธุรกิจพลังงานทดแทน(Fossil)ขยายตัวมากๆครับ
    ในบ้านเราก็กระจายอยู่ทั่วประเทศแล้วมีจังหวัดละหลายๆแห่ง
    โรงสีข้าวหันไปใช้เชื้อเพลิงแกลบ
    โรงน้ำตาลไปใช้ชานอ้อย
    โรงอุตสาหกรรมใช้เศษไม้-เหง้ามัน
    โรงน้ำตาลบางแห่งผลิต Alcoholขายให้รถยนต์
    เลิกใช้น้ำมันเกือบหมด
    แต่ข้อเสียคือ-รวมโรงพวกนั้นพลังงานแค่ไม่ถึง5%ของทั้งประเทศ
    ไฟฟ้าเหลือก็ขายให้ไฟฟ้าภูมิภาค
    ลงทุนกัน Megawattละราวๆ30-50ล้านบาท(เครื่องเก่าหรือใหม่)
    1MWขายไฟได้ปีละ 2.8x1000x24x365=24,528,000 บาท
    หักค่าใช้จ่าย(15ล้าน+)แล้วสามารถคืนทุนในเวลาไม่นานครับ
    ยามฉุกเฉินเราคงไม่ขาดไฟฟ้าแสงสว่าง ทั่วประเทศเลย
    แต่ห้ามเปิด แอร์-มอเตอร์-เตาไฟฟ้า -ขดลวดความร้อนฯลฯ
    ยังเล่นคอมพ์ได้นะ กินไฟนิดเดียว
    ในรูปก็คือโรงงานพวกๆกัน ภาคกลางกับภาคเหนือ
    รูปที่1โรงใช้แกลบขนาด 1.5 MW รูปที่2โรงใช้ชานอ้อย 50 MW
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    พบกระทู้ ผู้คิดค้นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังแม่เหล็ก แต่ยังไม่สำเร็จ ใครสนใจก็ e-mail ไปปรึกษากันได้จ้า..


    [​IMG]
    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=610 border=0><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=white>หัวข้อ : <WBR>เครื่องยนต์พลังงานแม่เหล็ก</TD></TR><TR><TD width="100%" bgColor=#ccff99>เนื้อหา : <WBR> พอน้ำมันแพงได้พบแต่ไบโอดีเซล ก๊าฃชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ ไม่เห็นใครพูดถึงการหาพลังงานใหม่มาทดแทนกันบ้าง
    จะมีก็แต่เครื่องตรีเอกานุภาพ ดีครับได้ความรู้เรื่องศาสนาด้วย ผมจึงขอเปิดประเด็นเครื่องยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง
    แต่ใช้พลังงานจากแม่เหล็กแทน ซึ่งเป็นพลังงานมหัสจรรย์และไม่หมด ให้ผู้สนใจได้ร่วมสนทนาและช่วยกันพัฒนา
    ว่าจะเป็นไปได้มากน้อนอย่างไร
    </TD></TR><TR><TD align=right width="100%" bgColor=#ccff99>จาก กาล
    [16 กรกฎาคม 2547] A:203.144.143.250 X:203.118.111.200
    </TD></TR>
    <TR><TD width="100%" bgColor=#ccff99>คำตอบ : <WBR>รู้สึกว่าจะเพิ่งคุยกันไปใน www.pantip.com ถ้ายังไงลองไปตั้งกระทู้ที่นั่นดูนะครับ <CENTER>
    [​IMG] </CENTER></TD></TR><TR><TD align=right width="100%" bgColor=#ccff99>จาก PUFF
    [17 กรกฎาคม 2547] A:128.205.248.234 X:
    </TD></TR>
    <TR><TD width="100%" bgColor=#ccff99>คำตอบ : <WBR> เรียนทุกท่านที่สนใจเรื่องของแม่เหล็ก
    ก็เป็นแนวความคิดทางด้านพลังงานอย่างหนึ่งที่ส่าสนใจมากครับ ผมขอเรียนท่านว่า ผมเคยทำงานวิจัยเพื่อค้นคว้าหาทางนำเอาพลังงานแม่เหล็กมาใช้เพื่อเป็นพลังงานแบบได้เปล่า หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องจักรกลนิรันดร์ นั้น เนื่อจากผมได้เสียเวลาวิจัยและค้นคว้าหาทางอยู่นาน ( มีทีมงานด้วยครับ ) แต่ก็ไม่พบว่าพลังงานแม่เหล็กสามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้เป็นพลังงานทดแทนได้เลย ผมจึงเลิกล้มการสนใจในแม่เหล็ก แล้วหันมา วิจัยในเรื่องของพลังงานทดแทนใหม่ที่มีชื่อว่า เครื่องกำเนิดพลังงานตรีเอกานุภาพ ครับ ส่วนคนที่ไม่ทราบเรื่องของพลังงานตรีเอกานุภาพ ขอเชิญเข้าไปดูได้ใน www.trinityhydro.com ครับ ตอนนี้มีกระทู้ให้ออกความคิดเห็นด้วยนะครับ
    <CENTER>
    [​IMG] </CENTER></TD></TR><TR><TD align=right width="100%" bgColor=#ccff99>จาก เอกพันธุ์ ธีรกุล contact@trinityhydro.com
    [22 กรกฎาคม 2547]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ที่มา : http://www.teenet.chula.ac.th/forum/allmsg.asp?ID=1298
     
  7. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    อีกหนึ่งไอเดียของคนไทยเราเองครับ

    ในเวปบล็อก มีการแสดงความคิดเห็น และข้อคิดในแง่มุมต่างๆกันด้วย
    ใครสนใจโครงการพวกนี้ ลองลิงค์ไปอ่านดูก็น่าจะดีครับ


    พลังงานแม่เหล็ก

    posted on 29 Oct 2007 13:37 by deltaforce

    พลังงานที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มาจากเชื้อเพลิง ประเภทฟอสซิล ซึ่งเมื่อเกิดการ เผาไหม้แล้วจะทำให้เกิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ในขณะที่พลังงานจากธรรมชาติ เช่นพลังงานน้ำ พลังานแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม เป็นพลังงานที่สะอาด แต่ก็ยากต่อการนำมาใช้งาน และไม่สะดวกนัก
    แม่เหล็กถาวร ก็เป็นพลังงานกึ่งธรรมชาติ ซึ่งเมื่อเรานำมา ออกแบบ เพื่อเปลี่ยนจากพลังงานสนามแม่เหล็กให้เป็นพลังงานกล ในเบื้องต้นนี้ ได้เป็นแบบ 3 มิติ
    -Stator Turbine คือ ชุดใบพัดแม่เหล็ก ส่วนที่ตรึง อยู่กับที่
    -Rotor Turbine คือ ชุดใบพัดแม่เหล็ก ส่วนที่ เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นส่วนที่ให้พลังงานกล (หมุน)
    [​IMG]
    [​IMG]ภาพต่อไป
    [SIZE=+0][SIZE=+0][SIZE=+0]การเพิ่มกำลังในการหมุน [/SIZE][/SIZE][/SIZE]
    [SIZE=+0][SIZE=+0][SIZE=+0]โดย การออกแบบให้มีการทำงาน ซ้อนๆ กัน จำนวนหลายๆ ชั้น ทำให้มีแรงร่วม ที่แกนเพลาส่งกำลัง เพิ่มมากขึ้นด้วย [/SIZE][/SIZE][/SIZE]
    [​IMG]

    ภาพต่อไป
    การประกอบ เข้ากับตัวโครงสร้างภายนอก โดยจะมี ล้อส่งกำลัง อยู่ภายนอก เพื่อนำไปใช้งาน
    [​IMG]
    ภาพต่อไป
    เป็นลักษณะ การนำไปใช้งาน ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยจะมี ห้องเกียร์ทดกำลัง เป็น ตัวกลาง
    [​IMG]
    อย่างไรก็ตาม อาจจะมีการ ออกแบบปรับปรุง แบบใหม่ โปรดติดตาม ตอนต่อไป ครับ


    ที่มา : http://deltaforce.exteen.com/20071029/entry
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2009
  8. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ชอบใจอันนี้ ราคาไม่แพงมาก เอาไปติดตั้งที่ไหนก็น่าจะสะดวกดี

    ชุดโซล่าเซลแขวนก็ได้ วางบนพื้นหรือหลังคาก็ได้ 85W/hour


    <!-- สินค้า/บริการ

    --><SCRIPT>document.title = ' ' + document.title;document.keywords = ' -. ' + document.keywords;</SCRIPT><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD style="PADDING-RIGHT: 20px"><TABLE class=ProductPictureBorder height=150 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]


    [​IMG]

    <TABLE class=ProductPictureBorder height=150 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE class=ProductPictureBorder height=150 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD><TD>ชุดโซล่าเซลแขวนก็ได้ วางบนพื้นหรือหลังคาก็ได้ 85W/hour


    รหัสสินค้า: 000068
    ราคา 2,500.00 บาท

    รายละเอียด: ชุดโซล่าเซลแขวนก็ได้ วางบนพื้นหรือหลังคาก็ได้
    หรือแขวนไว้ที่กำแพงและต่อหลอดไฟฟ้าไว้ด้านใต้ตัวเครื่องก็ได้ ดัดแปลงได้เยอะเลย
    เช่น สามารถดัดแปลงใส่ใน หลอดโคมไฟสวน หลอดไฟสว่างหน้าบ้าน ไฟทางเดิน เป็นต้น
    ขนาด 210x 260 x 300 มม.โครงสร้างเหล็กหนาสีพ่นกันสนิม ภายในมีแบตเตอรี่แห้งอยู่ในตัวเรียบร้อยแล้ว
    สามารถใช้งานได้โดยพลังงานแบตเตอรี่ภายในตัวเครื่อง และชาร์จแบตเตอรี่ได้โดยพลังงานแสงอาทิตย์

    ท่านสามารถใช้งานได้กับหลอดตะเกียบ12V. ได้ดังนี้
    หลอดตะเกียบ 7 วัตต์ ใช้งานได้ประมาณ 12 ชั่วโมง
    หลอดตะเกียบ 11 วัตต์ ใช้งานได้ประมาณ 7.5 ชั่วโมง
    หลอดตะเกียบ 13 วัตต์ ใช้งานได้ประมาณ 6.5 ชั่วโมง

    กล่องเหล็ก+แผงโซล่าเซล+แบตเตอรี่ ราคา 2,500 บาท
    แถมหลอดตะเกียบให้ท่านเลือกได้ 1 ดวงเท่านั้น ฟรี!!!
    ราคานี้ไม่รวมโคมไฟฟ้าแบบต่างๆ ตามรูปที่ท่านต้องการ
    เมื่อใส่โคมไฟฟ้าแล้วด้านหลังของกล่องเหล็กนี้จะมีที่แขวน
    หรือนำไปประกอบกับเสาแบ๊ปเป็นโคมไฟฟ้าทางเดินก็ได้
    ถ้าไม่ใส่โคมไฟฟ้าก็ใส่ขายาง 4 ชิ้นที่เป็นรูป + แทนเพื่อใช้วางบนพื้นหรือหลังคาบ้าน

    หมายเหตุ: รูปโคมไฟฟ้าที่ท่านเห็นนั้น ประกอบอยู่ใต้กล่องเหล็กหนาพ่นสีกันสนิมใบนี้
    เมื่อใช้งานจนแบตเตอรี่หมด ท่านต้องชาร์จด้วยพลังงแสงอาทิตย์ให้เต็มก่อนใช้งานใหม่

    หรือมีรุ่นอืนให้ท่านเลือกอีก คลิ๊กเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: ด้านล่างนี้ได้เลย !!!
    เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง: http://www.bksolar.com/product.detail.php?lang=th&id=1013193

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่มา : http://www.bksolar.com/product.detail_76495_th_717131
     
  9. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    รถยนต์แม่เหล็ก ดีไซน์ล้ำ น่าลองขับ!

    [​IMG]


    The MAG คือชื่อของรถยนต์ที่ใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นผลงานการออกแบบขอชาวสโลวาเดียMatúš Procháczka

    งานออกแบบของเขานอกจากจะสวย ทำให้ตัวรถน้ำหนักเบากว่ารถทั่วไปถึง 50% แล้ว ยังได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมอีกด้วย

    โดย Matúš ให้สัมภาษณ์ว่า "อนาคตของรถยนต์สปอร์ต 2 ที่นั่งคือ ะต้องใช้เครื่องยนต์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100% และต้องมีหน้าตาที่ไม่ธรรมดา"

    แต่ติดปัญหาแค่นิดเดียวว่า จะหาถนนที่ไหนไปวิ่ง เพราะถนนทั่วไปยังไม่ได้รองรับระบบแม่เหล็กไฟฟ้าน่ะสิ
     
  10. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    เท่าที่ลองอ่าน เก็บข้อมูลต่างๆมาระยะหนึ่ง มีความคิดเห็นว่า ระบบสูบน้ำโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ มาเก้บไว้ น่าจะ work ที่สุด เพราะเห็นราคาอุปกรณ์ก็ไม่แพงมากแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าถ้าทำขึ้นจริงจะมีค่าใช้จ่ายมากขนาดไหน ( ตอนนี้คิดแบบนั่งเทียนคิด )

    ต้องค่อยๆหาข้อมูลเชิงลึกบ้างแล้ว ว่าคชจ.จริงเป็นอย่างไรบ้าง

    ใครที่เตรียมตัวสถานที่เชิงกลยุทธ์ไว้หลบภัย หรือเตรียมสู้ภัยพิบัติ ก็น่าจะคิดเอาไปทำจริงได้นะครับ เพราะดูแล้วมีค่าใช้จ่ายเฉพาะตอนเริ่มต้นเท่านั้น เมื่อได้น้ำพอเพียงแล้ว มันจะสามารถทำอะไรต่อได้อีกมากมายครับ หลังจากให้มันทำงานสูบน้ำไปเรื่อยๆ แล้วเมื่อระบบเสถียรแล้ว ก็สร้างระบบปล่อยน้ำจากแทงคืมาปั่นไฟ และทำระบบประปาได้ทันที เป็นเฟสที่สอง น่าจะ work work นะ



    ลักษณะการใช้งานระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์<TABLE id=AutoNumber40 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top height=20>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=25>
    4<NOBR> </NOBR>ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์


    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD height=20>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" border=0><TBODY><TR><TD class=text-news height=20>
    ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ได้รับการออกแบบ ให้สามารถสูบน้ำ ทั้งจากแหล่งน้ำผิวดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน ที่เป็นบ่อบาดาล ตั้งแต่เวลา ที่มีแสงอาทิตย์จรดเย็น โดยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ จะทำหน้าที่ เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อไปขับเคลื่อนมอเตอร์ ของเครื่องสูบน้ำ ให้ทำการสูบน้ำตลอดทั้งวัน

    </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD height=20>
    ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ควรจะได้รับการออกแบบ ให้มีการกักเก็บน้ำให้ได้ปริมาณมากที่สุด ในเวลากลางวัน เพื่อนำน้ำที่สูบได้ไป ใช้ประโยชน์สูงสุด ควรจะมีการเก็บสำรองนํ้า ไว้ใช้ในวันที่มีแสงแดดน้อย และการเก็บน้ำที่ดี ควรจะเก็บในปริมาณสำรอง ไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของปริมาณน้ำที่ใช้ใน 1 วัน

    </TD></TR><TR><TD height=20>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD height=20>
    4<NOBR> </NOBR>ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD height=20>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text-green height=20>
    1. ระบบสูบน้ำผิวดิน






    </TD></TR><TR><TD vAlign=center height=20><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="54%">[​IMG]</TD><TD width="46%">
    คือ การสูบน้ำจากแหล่งน้ำผิวดิน เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง เขื่อน ฝายน้ำล้น เป็นต้น



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=20>2. ระบบสูบน้ำใต้ดินที่เป็นบ่อบาดาล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    </TD></TR><TR><TD vAlign=center height=20><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="54%">
    [​IMG]

    </TD><TD width="46%">
    คือ การสูบน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน ( บ่อนํ้าบาดาล ) เพื่อนำมาใช้ประโยชน์


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=25>
    4<NOBR> </NOBR>ลักษณะของถังเก็บน้ำ

    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD height=20>
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="98%" border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD height=25>
    หอถังเหล็กทรงลูกฟุตบอล

    </TD><TD>
    หอถังสูงแบบประปา ก. และ ประปา ข.

    </TD><TD>
    ถังเก็บน้ำแบบ ฝ. 33

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD class=text-topic height=25>
    4<NOBR> </NOBR>อุปกรณ์ที่สำคัญของระบบสูบนํ้าพลังงานแสงอาทิตย์

    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD height=20>
    1. แผงเซลล์แสงอาทิตย์

    1. <LI class=text-news>
      อุปกรณ์ควบคุม / ปรับแรงดันไฟฟ้า

      <LI class=text-news>
      เครื่องสูบน้ำ
    2. ถังเก็บน้ำ
    </TD></TR><TR><TD height=20>

    </TD></TR><TR><TD height=20>
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#468326 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" border=1><TBODY><TR bgColor=#000000><TD bgColor=#c5dcf6 colSpan=3></TD></TR><TR><TD width=1 bgColor=#c5dcf6 rowSpan=2></TD><TD>
    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR class=text-white align=middle bgColor=#63a2e7><TD align=middle bgColor=#468326 colSpan=6 height=24>
    ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการออกแบบระบบสูบน้ำ

    </TD></TR><TR align=middle><TD align=left bgColor=#c5dcf6 colSpan=6></TD></TR><TR class=text-news><TD align=middle bgColor=#ecf1fb>
    ลักษณะของแหล่งนํ้า

    </TD><TD align=middle bgColor=#eff3ff colSpan=5>
    เพื่อเลือกชนิดของเครื่องสูบนํ้า

    </TD></TR><TR class=text-news><TD align=middle bgColor=#efefef>
    ปริมาณความต้องการนํ้าต่อวัน

    </TD><TD align=middle bgColor=#efefef colSpan=5>
    เพื่อคำนวณขนาดของระบบ

    </TD></TR><TR class=text-news><TD align=middle bgColor=#ecf1fb>
    ระดับหัวยกนํ้า (TOTAL DYNAMIC HEAD)

    </TD><TD align=middle bgColor=#eff3ff colSpan=5>
    เพื่อคำนวณระยะท่อทางดูด ทางส่ง

    </TD></TR><TR class=text-news><TD class=text-news align=middle width=251 bgColor=#efefef>
    ระยะทางเดินท่อส่งนํ้า

    </TD><TD align=middle width=286 bgColor=#efefef colSpan=5>
    เพื่อคำนวนค่าสูญเสียแรงดันนํ้าในท่อ

    </TD></TR><TR align=middle><TD align=left bgColor=#c5dcf6 colSpan=6></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    </TD><TD width=1 bgColor=#c5dcf6 rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#c5dcf6></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD height=20>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR bgColor=#000000><TD bgColor=#c5dcf6 colSpan=3></TD></TR><TR><TD width=1 bgColor=#c5dcf6 rowSpan=2></TD><TD>
    <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#468326 cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=1><TBODY><TR class=text-white align=middle bgColor=#63a2e7><TD align=middle bgColor=#468326 height=24>
    จุดเด่น ของระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย

    </TD></TR><TR align=middle><TD align=left bgColor=#c5dcf6></TD></TR><TR class=text-news><TD align=middle bgColor=#ecf1fb>
    ลงทุนครั้งเดียว ไม่ต้องเสียค่าไฟฟ้ายาวนานกว่า 25 ปี

    </TD></TR><TR class=text-news><TD align=middle bgColor=#efefef>
    ติดตั้ง ใช้งาน เคลื่อนย้ายง่ายและรวดเร็ว

    </TD></TR><TR class=text-news><TD align=middle bgColor=#ecf1fb>
    ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดูแล บำรุงรักษา แผงเซลล์แสงอาทิตย์

    </TD></TR><TR class=text-news><TD class=text-news align=middle bgColor=#efefef>
    สามารถเพิ่ม ลด ขนาดของระบบได้ตามความต้องการ

    </TD></TR><TR class=text-news><TD class=text-news align=middle bgColor=#eff3ff>
    ไม่มีเสียงรบกวนขณะทำงาน ไม่มีมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

    </TD></TR><TR class=text-news><TD class=text-news align=middle bgColor=#efefef>
    ได้รับการออกแบบให้สามารถทำงานในทุกสภาวะอากาศ โดยเฉพาะภูมิประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น

    </TD></TR><TR class=text-news><TD class=text-news align=middle bgColor=#eff3ff>
    ไม่มีค่าใช้จ่ายในด้านเชื้อเพลิง

    </TD></TR><TR align=middle><TD align=left bgColor=#c5dcf6></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    </TD><TD width=1 bgColor=#c5dcf6 rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#c5dcf6></TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD width="100%">ที่มาของข้อมูล : เอกสารเผยแพร่ความรู้ของ บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2009
  11. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ที่อุบล เขามีการทำโครงการศึกษาอยู้พอดี ใครสนใจน่าจะติดต่อเข้าไปขอชม โครงการจากของจริงก็ได้ ไม่ต้องลงทุน ขอข้อมูลมาศึกา แล้วคิดต่อยอด จะประหยัดเวลา start up ไปได้โข

    ที่มา : http://www.eng.ubu.ac.th/~me/detail.htm


    [​IMG] <TABLE id=table32 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=605 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมีการพัฒนาทางด้านพลังงานไฟฟ้าไปอย่างมาก มีระบบไฟฟ้าพื้นฐานกระจายครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศแล้ว แต่ก็ยังคงมีชุมชนบางชุมชนซึ่งห่างไกลจากระบบสายส่งไฟฟ้า ทำให้ขาดแคลนไฟฟ้าใช้ทั้งในการดำรงชีวิตทั่วไปและในการประกอบอาชีพ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีการดำเนินโครงการหลายโครงการเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าดังกล่าว เช่น การติดทั้งแผงโซลาเซลสำหรับผลิตไฟฟ้าใช้ตามบ้านเรือนเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีหลายชุมชนที่แม้มีไฟฟ้าใช้ตามบ้านเรือนแล้ว แต่ก็ยังขาดแคลนไฟฟ้าใช้ในพื้นที่การเกษตร เนื่องจากพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่มักอยู่ไกลจากที่พักอาศัย จึงไม่สามารถเดินสายไฟฟ้าเข้าไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆได้ เช่น ระบบแสงสว่าง และเครื่องสูบน้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพาะปลูกพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอเช่นพืชผักสวนครัวต่างๆ แล้ว การสูบน้ำเพื่อรดพืชผักจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรมักใช้วิธีการสูบน้ำด้วยเครื่องยนต์ดีเซล แต่เนื่องจากในภาวะปัจจุบันราคาน้ำมันสูงขึ้นมาก จึงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อย่างมาก
    จากเหตุผลดังกล่าวจึงมีความพยายามหาพลังงานทางเลือกอื่นเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลในการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งหากพิจารณาจากศักยภาพของประเทศไทยแล้วจะพบว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์นั้นเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูงมาก ดังนั้นหากสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้กับระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตรกรรมได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างมาก เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นพลังงานที่สะอาดและมีความคุ้มค่าในระยะยาว
    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้นเป็นระบบที่มีเงินลงทุนสูง การที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรเลือกใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการเกษตรจึงเป็นไปได้ยาก นอกจากจะสามารถแสดงให้เห็นความเป็นไปได้และการคืนทุนที่ชัดเจน อีกทั้งยังควรสาธิตการใช้งานให้เห็นจริง อนึ่งเนื่องจากอุปกรณ์เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้านั้นยังมีประสิทธิภาพจำกัด จึงจำเป็นต้องสร้างระบบสูบน้ำให้ใช้งานในสภาวะที่เหมาะสมที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้ให้สูญเสียน้อยที่สุดอีกด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในกรณีใช้กับแหล่งน้ำแบบต่างๆ เช่นแหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน หรือที่ใช้กับระบบสูบที่แตกต่างกัน เช่นระบบสูบที่ใช้มอเตอร์กระแสตรง หรือที่ใช้มอเตอร์กระแสสลับ เป็นต้น
    โครงการนี้มุ่งทำการออกแบบและทดสอบระบบการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อหาระบบที่เหมาะสมกับลักษณะของแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ โดยเบื้องต้นจะใช้พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นแหล่งศึกษาเนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ประกอบกับยังมีชุมชนที่ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อการเกษตรจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่หลายแบบ ได้แก่ บางพื้นที่เป็นพื้นที่แล้งจัด เช่นบริเวณอำเภอเดชอุดม เป็นต้น และบางพื้นที่เป็นพื้นที่ชุ่มริมแม่น้ำ เช่นพื้นที่ริมแม่น้ำมูล เป็นต้น ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์อย่างนี้จะส่งผลให้การศึกษานี้ได้ข้อมูลที่กว้างขวางขึ้นด้วย

    [​IMG]
    • เพื่อศึกษาความเหมาะสมการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับสูบน้ำเพื่อพื้นที่ทำกินทางการเกษตรตามสภาพท้องถิ่น
    • เพื่อหาระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับแต่ละลักษณะของแหล่งน้ำ
    • ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนในระบบสูบน้ำ แทนระบบเดิมซึ่งใช้เครื่องยนต์ดีเซล เพื่อลดการใช้น้ำมันดีเซล
    [​IMG]
    • ศึกษารวบรวมข้อมูลความเหมาะสมการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำสำหรับพื้นที่ทำการเกษตร โดยจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่ตั้งโครงการที่เหมาะสม แนวทางการเลือกที่ตั้งโครงการ และแนวทางการจ่ายไฟให้แก่ระบบสูบน้ำเพื่อการเกษตร ตลอดจนศึกษาผลปรโยชน์ของโครงการ และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเกษตรกร ชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • ออกแบบระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับสูบน้ำสำหรับพื้นที่ทำกินทางการเกษตร โดยให้ได้ระบบที่มีคุณลักษณะต่างๆกัน 8 แบบดังนี้
    • ระบบสูบน้ำผิวดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานกับปั๊มกระแสตรง แบบไม่ใช้แบตเตอรี่ และมีถังเก็บกักน้ำ
    • ระบบสูบน้ำผิวดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานกับปั๊มกระแสสลับ แบบไม่ใช้แบตเตอรี่ และมีถังเก็บกักน้ำ
    • ระบบสูบน้ำใต้ดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานกับปั๊มกระแสตรง แบบไม่ใช้แบตเตอรี่ และมีถังเก็บกักน้ำ
    • ระบบสูบน้ำใต้ดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานกับปั๊มกระแสสลับ แบบไม่ใช้แบตเตอรี่ และมีถังเก็บกักน้ำ
    • ระบบสูบน้ำผิวดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานกับปั๊มกระแสตรง แบบมีแบตเตอรี่ และมีถังเก็บกักน้ำ
    • ระบบสูบน้ำผิวดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานกับปั๊มกระแสสลับ แบบมีแบตเตอรี่ และมีถังเก็บกักน้ำ
    • ระบบสูบน้ำใต้ดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานกับปั๊มกระแสตรง แบบมีแบตเตอรี่ และมีถังเก็บกักน้ำ
    • ระบบสูบน้ำใต้ดินด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้งานกับปั๊มกระแสสลับ แบบมีแบตเตอรี่ และมีถังเก็บกักน้ำ
      ทั้งนี้ระบบที่ออกแบบจะมีจำนวนและขนาดของอุปกรณ์ต่างๆอย่างเหมาะสมและให้ทดสอบกับระบบให้น้ำทั้งแบบระบบปกติและระบบน้ำหยดควบคู่กันไปด้วย
    • ทำการติดตั้ง และทดสอบระบบที่ออกแบบในข้อ 2.3.2 เพื่อให้แน่ใจว่าระบบสามารถใช้งานได้จริง
    • การดำเนินการในข้อ 2.3 นั้นที่ปรึกษาจะจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้ผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จ
    • ทำการทดลองระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ออกแบบและก่อสร้างตามข้อ 2.3 และ 2.4 โดยทำการทดสอบกับพืชชนิดต่างๆ ที่คัดเลือกไว้แล้ว
    • สรุปข้อดีข้อด้อยของการประยุกต์พลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำเพื่อการเกษตร และข้อดีข้อด้อยของระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบต่างๆ ที่ออกแบบไว้
    • สร้างโปรแกรมเพื่อช่วยคำนวณการออกแบบระบบสูบน้ำด้วยแสงอาทิตย์สำหรับพืชที่ใช้ทดสอบ โดยโปรแกรมสามารถแสดงผลการออกแบบเป็นข้อมูลดังต่อไปนี้
    • จำนวน ขนาดและชนิดของปั๊ม
    • จำนวนและขนาดของเครื่องแปลงกระแส (Inverter)
    • จำนวนและขนาดของแผงโซลาเซล
    • จำนวนและขนาดของถังเก็บน้ำ
    • ค่าใช้จ่ายทั้งหมด, ระยะเวลาคืนทุน NPV, FIRR, EIRR
    • ราคาผลผลิตพืชที่ปลูก
    • จัดทำเอกสารเผยแพร่ผลการศึกษา โดยมีสื่อเผยแพร่ดังต่อไปนี้
    • แผ่นพับ แบบ 4 สี จำนวน 5,000 แผ่น
    • แผ่นโป๊สเตอร์ แบบ 4 สี ขนาด 50 x 80 ซม. จำนวน 2,000 แผ่น
    • วิดีโอ วีซีดี หรือ ดีวีดี ที่มีเนื้อหาแสดงลักษณะและองค์ประกอบของระบบพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับสูบน้ำเพื่อพื้นที่ทำกินทางการเกษตร และผลการทดสอบ โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 นาที จำนวน 100 แผ่น
    • จัดการอบรมเผยแพร่ผลการศึกษา โดยแบ่งการฝึกอบรมเป็น 2 กลุ่มดังนี้
    • กลุ่มที่ 1 สำหรับพนักงาน กฟภ. จำนวน 70 คน ประกอบด้วยพนักงานจาก กฟข. ต่างๆ เขตละ 5 คน และพนักงานจากส่วนกลางอีก 10 คน
    • กลุ่มที่ 2 สำหรับเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากสถาบันหรือหน่วยงานด้านการศึกษาวิจัย และหน่วยงานท้องถิ่นอีกจำนวน 50 คน
    การถ่ายทอดเทคโนโลยีการดำเนินโครงการอย่างละเอียดทุกขั้นตอนโดยมีบุคลากรของ กฟภ. 1 คน เข้าร่วมเป็นคณะทำงานกับที่ปรึกษาในทุกขั้นตอน
    [​IMG]
    • ได้ต้นแบบระบบ และขนาดอุปกรณ์ของระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ และพืชชนิดต่างๆ
    • ได้โปรแกรมช่วยออกแบบอุปกรณ์สำหรับระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ และพืชชนิดต่างๆ
    • ประชาชนทั่วไปได้ความรู้เกี่ยวกับการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    อีกหนึ่งตัวอย่าง ที่แม่ฮ่องสอนครับ แสดงว่า work




    Solar พัฒนาระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=bodytext><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD width="100%" colSpan=2>Solar พัฒนาระบบสูบน้ำแสงอาทิตย์ ดักแผนรัฐทุ่ม 250 ล. ขยายโครงการปี 50

    </TD></TR><TR vAlign=top><TD width="100%" colSpan=2></B>
    ผู้จัดการรายวัน SOLAR ดึงพันธมิตร ร่วมพัฒนาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ขยายตลาดหวังพัฒนาศักยภาพชุมชน หลังจากที่ก่อนหน้าได้ทดลองนำระบบนี้ทดลองใช้กับเกษตรกรในบางจังหวัดที่ทำการเกษตรน้ำน้อย หวังเดินตามรอยการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง ขณะที่รัฐมีนโยบายขยายโครงการระบบสูบน้ำระบบนี้ปี 2550 มากกว่า 500 ระบบ ในทุกภูมิภาคของประเทศ มูลค่ากว่า 250 ล้านบาท
    นางสาววันดี กุญชรยาคง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน) (SOLAR) เปิดเผยว่า ความร่วมมือกับ บริษัท กรุนด์ฟอส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการนำเอาประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของทั้งสองบริษัทอันเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในทั้งสองเทคโนโลยีมาร่วมกันพัฒนาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์โดยมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานของระบบ และการขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยในความร่มมือครั้งนี้ ส่งผลดีต่อบริษัทฯ ในด้านการที่มีหุ้นส่วนทางธุรกิจที่เข้มแข็งระดับชั้นนำของโลก ก่อให้เกิดการช่วยเหลือ แลกเปลี่ยน เทคโนโลยี อันเป็นส่วนในการพัฒนาองค์กร และส่งเสริมธุรกิจให้มั่นคงและเติบโตต่อไปในอนาคต
    ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความต้องการระบบสูบน้ำ เพื่อการจัดสรรน้ำให้ได้อย่างมีคุณภาพ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์นี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดสรรน้ำ ในการอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล โดยในการร่วมมือกันในครั้งนี้ทั้งสองบริษัทมุ่งหวังในการขยายโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ในปี 2550 มากกว่า 500 ระบบในทุกภูมิภาคของประเทศ มูลค่ากว่า 250 ล้านบาท นางสาววันดีกล่าว
    โดยการร่วมมือกับพันธมิตรเป็นผลจากการที่ SOLAR ได้ศึกษาโครงการเกษตรกรรมน้ำน้อย และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์อื่นๆ ตามโครงการ ซึ่งบริษัทได้เผยแพร่ความรู้เพื่อให้หลายหน่วยงาน ตลอดจนประชาชนเข้าใจถึงประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ และบริษัทได้ติดตั้งเครื่องให้กับเกษตรกรที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อทำการเกษตรด้วยการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เข้ามาช่วยในการดึงน้ำเข้าสู่ระบบสายส่งพาดผ่านกล้าไม้ที่ปลูกและน้ำจะหยดเป็นระยะห่างกันต้นละ 1 ฟุต ซึ่งพบว่า ประสบผลสำเร็จมาก เนื่องจากประหยัดน้ำมันที่ใช้ในการวิดน้ำเข้าสู่แปลงผักของเกษตรกร รวมทั้งกระจายไปยังอุดรธานีและนครราชสีมาเพิ่ม เนื่องจากเกษตรกรปลูกพืชสวนครัวกันมาก และทำการเกษตรกันมาก ซึ่ง SOLAR เข้าไปลักษณะการติดตั้งฟรี เพื่อให้เป็นที่รู้จักของชาวบ้านก่อน
    อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ได้เจรจากับทางกระทรวงกลาโหม เพื่อนำเสนอรายละเอียดและข้อมูลและประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งหากเอกชนนำมาใช้ จะช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน นอกจากนี้ SOLAR ยังจะหันมาทำการปลูกพืชด้วยการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว คือการปลูกพืชแบบไฮโปรเทอร์มิส โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกพืชดังกล่าวด้วย สำหรับ บริษัท กรุนด์ฟอส (ประเทศไทย) จำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเดนมาร์ก เป็นผู้ผลิตเครื่องสูบน้ำรายใหญ่ของโลกที่ประกอบธุรกิจมากว่า 60 ปี มีการผลิตเครื่องสูบน้ำหลายชนิดทั้งเครื่องสูบน้ำหลายชนิดทั้งเครื่องสูบน้ำสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องสูบน้ำชนิดปรับรอบได้ รวมทั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ โดยในปีที่ผ่านมา มียอดจำหน่ายรวมกว่า 90,000 ล้านบาท ที่มา: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 13 ธันวาคม 2549

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></B>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2009
  13. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ลิงค์สวนจิตรลดา

    http://www.kanchanapisek.or.th/kp1/nonprofit/scpwps.html

    ที่สวนจิตลดาก็มีโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมรายละเอียด แต่เห็นเขาเขียนไว้ว่า ห้ามนำข้อมูลเผยแพร่ต่อ ก่อนได้รับอนุญาต เลยไม่กล้า ใครสนใจก็คลิกลิงค์ไปดูต่อกันเองนะครับ ( ดูได้ ไม่ต้องขออนุญาต )
     
  14. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 10px; TEXT-ALIGN: justify" vAlign=top>มีบริษัทฯทำธุรกิจวางระบบผลิตกระแสไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยครับ ตัวอย่างนี้ เป้นผสมผสานระหว่างลมกับโซล่าเซลล์



    ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน

    ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานโดยปรกติแล้วจะเป็นการร่วมกันผลิตไฟฟ้าระหว่างแผงเซลล์อาทิตย์และกังหันลม และ/หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันดีเซล หรือไบโอดีเซล ไฟฟ้าที่ถูกผลิตได้ในระหว่างวันจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ที่มีการควบคุมระบบอย่างสมบรูณ์
    </TD><TD vAlign=top rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD style="TEXT-ALIGN: justify" vAlign=top>
    ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานของแอนเน็กซ์
    ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานของเรานั้นจะทำการติดตั้งโดยพิจารณาจากความเหมาะสมของแสงอาทิตย์และความเร็วลม ซี่งในภูมิภาคอินโดจีนมีความพร้อมของทั้งสองแหล่งทรัพยากรนี้ โดยเมื่อแหล่งพลังจากดวงอาทิตย์ลดลงในช่วงฤดูมรสุม ในทางกลับกันพบว่าลมก็จะพัดแรงขึ้นด้วย ดังนั้นระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานจึงถูกเสนอให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมเนื่องจากต้นทุนที่ต่ำกว่า

    แอนเน็กซ์ พาวเวอร์ ได้รับความไว้วางใจในระบบที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้าและระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในระบบเชื่อมต่อโทรคมนาคม โดยเฉพาะพื้นที่ที่ห่างไกลจากระบบสายส่งไฟฟ้า หรือบริเวณที่มีปัญหาเรื่องไฟฟ้าจากสายส่ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายสูงในการดำเนินระบบ และต้องการการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ รวมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลหรือระบบที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งทางไฟฟ้าบางระบบ จึงได้รับการเสนอเป็นทางออกสำหรับการเชื่อมต่อไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ห่างไกล </TD></TR><TR><TD colSpan=2>การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานลมของแอนเน็กซ์ และการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน จะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า โดยทีมของเรามีประสบการณ์ในการติดตั้งในแถบภูมิภาคอีนโดจีนตั้งแต่ทางด้านการคมนาคมสื่อสาร ไปจนถึงระบบที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้าขนาดเล็กในเขตพื่นที่ห่างไกล ซึ่งแต่ละระบบจะถูกออกแบบตามความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ และติดตั้งโดยทีมติดตั้งของแอนเน็กซ์ </TD></TR><TR><TD style="TEXT-ALIGN: justify" colSpan=2>
    ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานทำงานอย่างไร
    เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมของแอนเน็กซ์เริ่มผลิตไฟฟ้าเมื่อความเร็วลม 2.5 เมตร/วินาที จากนั้นไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ หรือสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าได้โดยตรง พลังงานที่จะถูกส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องส่งผ่านมายัง
    อินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดความร้อนสูง โวลต์ของแบตเตอรี่ต่ำ และความต้องการไฟฟ้าสูงมากเกินที่กำหนด แบตเตอรี่จะถูกออกแบบให้สามารถประจุไฟฟ้าเพียงพอกับความต้องการในช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์และลม ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละระบบ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สูบน้ำ ยังช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย

    วันอังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน 2550 สูบน้ำมาใช้โดยไม่ให้โลกร้อน

    Posted by เดชนิยม , ผู้อ่าน : 1047 , 14:52:04 น.


    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    สูบน้ำมาใช้โดยไม่ให้โลกร้อน

    . สองสามปีมานี้พูดถึงฤดูฝนหรือหน้าฝนไม่ค่อยจะถูก โดยเฉพาะในเรื่องของเวลาที่เป็นหน้าฝน มันมีทั้งมาเร็ว มาล่า มาน้อย มามาก มาสั้นและมานาน แตกต่างกันไปและไม่มีรูปแบบแน่นอนตามสภาพภูมิศาสตร์ของที่ตั้งหรือสภาพแวดล้อม ที่ฝนควรตกไล่ตามเมฆฝนที่เคลื่อนตัวตามลมหรือร่องมรสุมที่พัดจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียขึ้นไปทางเหนือที่เรียกกันว่าแนวมรสุมตะวันตกเฉียงใต้(ของประเทศไทย)ที่พัดเข้าบ้านเราทางแถบภาคใต้ตอนบนในประมาณเดือนเมษายนถึงต้นพฤษภาคม แล้วต่อไปที่ภาคกลางตอนล่าง ตอนกลาง ตอนบน และภาคตะวันออก แล้วไปต่อที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับแล้วฝนจะซาลงหรือทิ้งช่วงก่อนวกกลับลงมาหลังไปปะทะมวลอากาศเย็นจากเมืองจีนเป็นฝนในฤดูหรือฝนในพรรษาอีกครั้งและไปหมดเอาราวเดือนมกราคมหรืออาจเลยหลงไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ในภาคใต้อีกครั้ง นี่ว่าด้วยรูปแบบที่ควรเป็นแต่ที่เป็นจริงมันไม่มีอะไรเป็นแบบเป็นแผนเลยสักอย่าง
    ที่พูดถึงเรื่องฝน เพราะเมืองไทยยังเป็นเมืองเกษตรกรรม คนชนบทส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร อาจมีอยู่บ้างที่ผันชีวิตไปรองรับภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการเหมือนๆคนในเมือง ดังนั้นภาคชนบทจึงต้องการน้ำฝนและแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตรหรือประมงน้ำจืดเป็นหลัก
    ฤดูฝนที่แปรปรวนหนึ่ง แหล่งเก็บน้ำเช่น เขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ สระน้ำ บ่อน้ำ ที่มีไม่เพียงพอหนึ่ง และประสิทธิภาพในการจัดการน้ำ เช่น การลำเลียงสู่ไร่นา การจำแนกและจัดสรรการใช้น้ำ เป็นต้นที่ยังอ่อนด้อยอีกหนึ่ง นับเป็นสามอุปสรรคสำคัญด้านน้ำสำหรับวิถีเกษตรกรรมอย่างยิ่ง

    [​IMG] [​IMG]
    แหล่งเก็บน้ำธรรมชาติในบ้านเราหรือห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯได้รับการเหลียวแลหรือบูรณะน้อยมาก อาจทำบ้างในด้านสิ่งแวดล้อมเช่นการเฝ้าระวังปัญหาสารปนเปื้อนและมลภาวะ การกำจัดขยะหรือวัชชพืชในลำน้ำ เป็นต้น แต่ในด้านกายภาพที่สำคัญแล้วทำน้อยมาก เช่นการขุดลอกเพื่อเพิ่มความจุในการเก็บกัก การปรับแต่งความลาดเอียงของท้องน้ำหรือการตัดแนวลำน้ำใหม่ให้ตรงหรือลัดเพื่อช่วยการไหล การขยายคอคอดหรือคอขวดในลำน้ำ นั้น หากไม่นับโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เช่นโครงการที่ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการที่เขื่อนบางลาง จังหวัดนราธิวาส โครงการพัฒนาคลองอู่ตะเภา จังหวัดชุมพร หรือโครงการแก้มลิงรับน้ำตอนเหนือและตะวันออกของกรุงเทพฯแล้วก็แทบจะไม่เคยได้เห็นในที่อื่นๆเลย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นงานระดับท้องถิ่น
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งในเรื่องน้ำในทุกๆลักษณะตั้งแต่การปลูกและรักษาป่าเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำ การสร้างฝายชลอและยกระดับน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ป่า การทำฝนหลวง การสร้างเขื่อนในพื้นที่รับน้ำสำคัญ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ เขื่อนคลองท่าด่าน เขื่อนกั้นแม่น้ำปากพนัง เป็นต้น การสร้างแก้มลิงรับน้ำ การตัดและขยายลำน้ำเพื่อระบายน้ำลงทะเล ให้ตรงและลัด ไปจนถึงการรักษาชีวิตและคุณภาพของน้ำ และอีกนานัปการโดยเฉพาะที่ไปถึงราษฏรโดยตรงคือการเกษตรทฤษฏีใหม่เพื่อชีวิตที่พอเพียงที่ทรงพระราชทานแนวคิดให้แบ่งพื้นที่การเกษตรเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งนั้นคือแหล่งน้ำเพื่อรองรับการเกษตรและการประมงในบ้าน

    [​IMG] [​IMG]

    ปริมาณน้ำฝนที่ตกในปีหนึ่งๆมากกว่า 850,000 ล้านลูกบาสก์เมตร แต่สามารถเก็บกักไว้ใช้ในระบบผลิตไฟฟ้า ระบบชลประทาน ระบบประมงน้ำจืดและการอุปโภคบริโภคทั่วๆไป(ที่รวมถึงการเกษตรนอกระบบชลประทาน)ที่มีการจัดการต่ำ ได้ทั้งหมดรวมกันประมาณ 240,000 ล้านลูกบาสก์เมตรเท่านั้น น่าเสียดายส่วนที่ไหลลงทะเลไปหลังจากอาละวาดท่วมท้องนาท้องไร่ สิ่งก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม บ้านเรือนประชาชน และแม้กระทั่งกลืนกินชีวิตผู้คน จนยับเยินน้ำตานองหน้าทั่วกันแล้ว
    กว่า 70% ที่กลายเป็นโทษมหันต์แทนที่จะเป็นคุณอนันต์

    [​IMG]
    ภาครัฐทั้งโดยส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นควรต้องเร่งสร้างแหล่งเก็บกักน้ำขนาดต่างๆตามความเหมาะสมหรือข้อจำกัดต่างๆโดยเร็ว โครงการสร้างบ่อน้ำสำหรับแต่ละหมู่บ้านจำนวน 90,000 บ่อ ที่เคยได้ยินมาและค่อนข้างฮือฮาในปลายรัฐบาลก่อนนั้นนับเป็นสิ่งที่ดีควรแก่การสนับสนุน เพราะจะเป็นรากฐานให้แก่ชุมชนได้เป็นอย่างดี แต่เสียใจที่ไม่ได้ติดตามความคืบหน้ามาเล่าสู่กันฟัง ก็ได้แต่หวังว่าแม้จะยังไม่ได้ทำ ก็อย่าถึงกับคิดจะยกเลิกโครงการนี้ก็แล้วกัน
    สิ่งที่ต้องคิดต่อไปหลังจากมีแหล่งเก็บกักน้ำแล้ว คือการนำน้ำไปใช้ ในระดับชาติคือระบบชลประทาน ที่เห็นค่อนข้างสมบูรณ์และเป็นหน้าเป็นตาคือระบบชลประทานลุ่มเจ้าพระยา ที่เกษตรกรสามารถใช้น้ำจากระบบชลประทานได้อย่างกว้างขวาง คลองชลประทานและคลองไส้ไก่ที่กระจายตัวทั่วถึงพื้นที่การเกษตรอันกว้างใหญ่นี้จะช่วยให้ผลิตผลการเกษตรที่สำคัญคือข้าวได้ผลดีกว่าที่อื่นๆแน่นอน
    หากมองในระดับชุมชนหรือหมู่บ้านและในบ้าน แหล่งน้ำธรรมชาติคือ แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง และที่สร้างขึ้นคืออ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สระ และบ่อน้ำ สิ่งที่ต้องคิดคือสูบน้ำและหอพักน้ำ การสร้างหอพักน้ำนั้นมักมุ่งหวังใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคหรือเพื่อการสุขาภิบาลเป็นหลัก เช่นระบบประปาหมู่บ้าน การจ่ายน้ำไปยังผู้ใช้จะใช้ระดับความสูงของหอพักน้ำที่ยิ่งสูงมากยิ่งมีแรงโน้มถ่วงสูงน้ำก็จะไหลแรงกว่าหอพักน้ำที่ต่ำกว่า แต่สำหรับเพื่อการเกษตรแล้วมีทั้งที่มีหอพักน้ำที่ต้องสร้างกันใหญ่โตและมีความจุมากๆและทั้งที่ไม่มีหอพักน้ำ
    สูบน้ำหรือปั๊มน้ำก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งเพื่อการใช้น้ำ มีหน้าที่ยกน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินชนิดต่างๆหรือรวมถึงแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ขึ้นไปยังหอพักน้ำ หรือ ในการเกษตรอาจมีลักษณะผลักน้ำไปตามเส้นท่อที่ขึ้นๆลงๆไม่มากนักเพื่อจ่ายตรงให้แก่ต้นไม้ สนามหญ้า บ่อกุ้ง บ่อปลาหรือแหล่งใช้น้ำที่อยู่ไกลๆออกไป ปั๊มน้ำที่พบเห็นมีหลายขนาดเป็นทั้งปั๊มน้ำโดยตรงหรือที่ดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์เพื่อการเกษตรก็มี ปั๊มน้ำทั้งสองแบบนี้กินน้ำมันเป็นอาหาร(ดีเซลเป็นส่วนใหญ่) และถ่ายเสียงดัง เหม็นและมักมีเขม่าสีดำเปื้อนหน้าตาและเสื้อผ้าแถมมาให้ด้วย ในภาวะที่น้ำมันแพงลิตรละเกือบ 30 บาทและไม่มีท่าทีที่จะกลับไปถูกลงกว่า 25 บาทได้เลยนั้น นับว่าต้นทุนการใช้น้ำจากปั๊มแบบนี้แพงเอาการทีเดียว

    ต้นทุนการสูบน้ำตามเรือกสวนไร่นา หมู่บ้านในชนบท ตลอดจนหน่วยงานภาคสนามของหลายส่วนราชการที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง ถ้าจะให้ย้ำกันตรงๆก็เช่น หน่วยงานของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธ์พืช กรมทรัพยากรชายฝั่ง ในกำกับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเองก็ตามที่ ใช้เครื่องสูบน้ำประเภทใช้น้ำมันนั้นเคยคิดต้นทุนโดยตรงและโดยอ้อมข้างท้ายนี้บ้างหรือเปล่า
    กรณีแรก : ต้นทุนโดยตรง
    จากเสป็คเครื่องสูบน้ำนำเข้าจากอเมริกายี่ห้อคุ้นหูและติดตลาดยี่ห้อหนึ่งขนาด 6.5 แรงม้า อัตราการไหล 930 ลิตรต่อนาทีหรือประมาณ 50 ลบ.ม.ต่อชั่วโมงที่ระดับความสูงยกน้ำ 33 เมตร หรือระยะส่งทางราบ 330 เมตร ระบุความสิ้นเปลืองน้ำมันอยู่ที่ 1 ลิตรต่อปริมาณน้ำที่สูบได้ 246 แกลลอนคิดเป็นลิตรได้ที่ 932 ลิตร ถ้าลองเทียบต่อไปว่าความถูกต้องหรือเป็นไปตามเสป็คอยู่ที่ 90% น้ำมัน 1 ลิตรก็จะสูบน้ำได้เพียง 839 ลิตร หรือประมาณ 0.84 ลบ.ม. แล้วเทียบบัญญัติไตรยางค์กลับไปดูว่าถ้าสูบน้ำ 1 ลบ.ม.จะใช้น้ำมันเท่าไร ตัวเลขออกมาที่ 1.19 ลิตร ในขณะที่น้ำมันดีเซลในขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 29 บาทต่อลิตร คูณกลับเข้าไปจึงถึงบางอ้อว่าค่าสูบน้ำสูงถึง 34.50 บาทต่อน้ำ 1 ลบ.ม. อันนี้แม้จะยังไม่นับความสิ้นเปลืองน้ำมันหล่อลื่นและความสิ้นเปลืองน้ำมันโดยตรงที่จะสูงขึ้นจากความเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ก็ถือว่าแพงระยับอยู่แล้ว
    กรณีที่สอง : ต้นทุนโดยอ้อม
    ต้นทุนโดยอ้อมในที่นี้คือความสูญเสียในด้านสิ่งแวดล้อม ที่คำนวณเป็นเงินตราไม่ได้ เพราะการเดินเครื่องเผาน้ำมันนั้นจะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนที่น่าจะอนุมานได้ว่าใกล้เคียงกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเครื่องปั่นไฟขนาด 6 แรงม้า กำลังผลิตติดตั้ง 2,700 วัตต์ ชนิดที่ใช้น้ำมันดีเซลที่จะสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนสูงถึง 750 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 kWH คือจะใช้ไฟฟ้าเท่ากับ 2.7 kWH ต่อหนึ่งชั่วโมงที่เดินเครื่องและทำให้เกิด คาร์บอน 2.7* 750 คือ 2,025 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ชั่วโมงการใช้งานที่เท่ากัน เลยทีเดียว (อนุมานตามการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงไฟฟ้าในประเทศไทยที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดเดียวกัน)
    [​IMG]
    ในทางตรงกันข้าม ระบบผลิตไฟฟ้าเพื่อเป็นต้นกำลังของเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับการนำมาขับเครื่องสูบน้ำหรือปั๊มน้ำนั้นมีศักยภาพสูงสุด มีความสูญเสียในการแปลงพลังงานต่ำมากโดยการพัฒนาปั๊มน้ำหรือสูบน้ำที่เรียกว่า Solar Pump ขึ้นเป็นการเฉพาะ ทั้งเพื่อการสูบน้ำจากน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลและเพื่อการสูบน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินทั่วไป และมีหลายขนาดให้เลือกตามระดับยกน้ำและปริมาณน้ำที่ต้องการ ซึ่งขนาดปั๊มที่เหมาะกับความต้องการจะต้องใช้กำลังไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มากน้อยต่างกันไปและทำให้ราคาระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ถูกแพงตามกันไปด้วย อย่างไรก็ตามระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์หรือปั๊มที่นำเข้ามาจำหน่ายในขณะนี้ก็มีข้อจำกัดที่ไม่รองรับปริมาณน้ำที่มากเกินกว่า 150 ลิตรต่อนาที(หรือประมาณ 54 ลูกบาสก์เมตรต่อวัน)ที่ความสูง (Head) 20 เมตร แต่หากเป็นการสูบและส่งจ่ายในแนวราบที่ระดับความสูงไม่เกิน 5 เมตร ปริมาณที่สูบได้จะมากขึ้นถึง 240 ลิตรต่อนาทีหรือประมาณ 86 ลบ.ม.ต่อวัน (คำนวณที่ชั่วโมงรับแสง 6 ชั่วโมงต่อวัน) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นบรรดาผู้ผลิต Solar Pump ก็ยังพัฒนากันอย่างไม่หยุดยั้ง จึงมั่นใจได้ว่าประสิทธิภาพของปั๊มจะสูงขึ้นๆในไม่ช้า
    จะเป็นการดีสักแค่ไหนที่นับแต่การซื้อและติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้ว จะไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นใดในระหว่างใช้งานอีกเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการสูบน้ำจากปั๊มน้ำทั่วไปที่ซดน้ำมันราคามหาโหดเช่นในขณะนี้
    แถมจะอิ่มเอมใจได้ว่ามีส่วนช่วยในการชลอและบรรเทาปัญหาโลกร้อนอีกด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  16. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    วันศุกร์ ที่ 6 มิถุนายน 2551

    ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ลดโลกร้อนและถูกกว่า
    Posted by เดชนิยม , ผู้อ่าน : 532 , 18:17:37 น.


    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD> [​IMG]
    ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ลดโลกร้อน
    ผมได้ติดตามท่าทีของกระทรวงพลังงานในการผลักดันการใช้พลังงานทดแทนแล้วค่อนข้างเห็นใจและขอบคุณต่อความเหนื่อยยากในเรื่องเหล่านี้ที่เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทย แต่กลายเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนฉุกเฉินแบบตั้งตัวไม่ทันเอาเลยทีเดียว
    พลังงานที่มีบทบาทสูงและกระทบความเป็นอยู่หรือปากท้องของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหรือที่จริงน่าจะเป็นทั้งโลกด้วยซ้ำไปในปัจจุบันคือพลังงานในภาคเชื้อเพลิงและขนส่งหรือว่ากันอย่างเจาะจงไปเลยก็คือ “น้ำมัน”


    ความจริงน้ำมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคขนส่งเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อภาคเกษตรที่เป็นรากเหง้าในการดำรงชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศด้วยเหมือนกัน เพราะการเกษตรสมัยใหม่ใช้เครื่องจักรกลมากขึ้นและเครื่องจักรกลเหล่านั้นใช้น้ำมันเป็นหลัก
    น้ำมันแพง ต้นทุนผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารก็แพงขึ้นเป็นเงาตามตัว
    ใช้น้ำมันมากเท่าไร ก็สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนมากขึ้นด้วยเท่านั้น


    ในบรรดาเครื่องมือเครื่องไม้ในการทำการเกษตรนอกจากจะเป็นเครื่องจักรกลเกษตรเช่น รถเพื่อการไถพรวน รถเพื่อการหว่าน โรยหรือหยอดเมล็ด รถเพื่อการเก็บเกี่ยว เป็นต้นแล้ว ยังมีเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญยิ่งชนิดที่แทบจะขาดไม่ได้เลยคือ “เครื่องสูบน้ำ” หรือ “ปั๊มพ์น้ำ” นั่นเอง
    เครื่องจักรกลต่างๆที่ยกตัวอย่างมาใช้เครื่องยนต์ที่เป็นต้นกำลังซึ่งมีแรงม้าสูงและเป็นการยากที่จะหาเครื่องมือชนิดอื่นที่ไม่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนมาทดแทนได้ เว้นแต่เครื่องสูบน้ำ
    ปัจจุบันการพัฒนาเครื่องสูบน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าเป็นต้นกำลังเพื่อเดินเครื่องสูบน้ำได้ก้าวหน้าไปมาก คือ มีอินเวอร์เตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมมอเตอร์อย่างซ๊อฟท์สตาร์ทคือให้มีกระแสกระโชกขณะสตาร์ทที่ต่ำอย่างหนึ่งและแปลงไฟกระแสตรงที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับตามชนิดและความต้องการของมอเตอร์อีกหน้าที่หนึ่ง พร้อมๆกับที่พัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการสูบน้ำได้ในปริมาณมากๆในระยะเวลาหนึ่งๆ(Flow Rate)โดยใช้แผงเซลล์ให้น้อยลงควบคู่ไปด้วย อย่างไรก็ตามในด้านปริมาณน้ำที่จะสูบได้ต่อวันจะไม่อาจเทียบได้กับเครื่องสูบน้ำชนิดใช้น้ำมันที่มีอัตราไหลต่อวินาทีต่อพื้นที่หน้าตัดท่อที่เท่ากันสูงกว่า ทั้งยังสามารถสูบได้ต่อเนื่องตลอดเวลาที่มีน้ำมันเดินเครื่อง
    แต่เมื่อมองต้นทุนที่เป็นค่าสูบน้ำต่อลูกบาสก์เมตรภายใต้เงื่อนไขราคาน้ำมันที่เป็นอยู่ปัจจุบันคือที่ราวๆ 40 บาทต่อลิตรแล้ว ต้นทุนสูบน้ำโดยการใช้ Solar Pump ถูกกว่าครับ
    แปลกแต่จริงที่ตัวเลขความสิ้นเปลืองน้ำมันต่อปริมาณน้ำที่สูบได้เป็นเรื่องที่หาได้ยากเย็น ไม่ปรากฏในคุณลักษณะ(Specification)ของผลิตภัณฑ์ทั้งชนิดที่นำเข้าหรือที่ผลิตในประเทศ และหาแทบไม่ได้แม้แต่ในสถาบันการศึกษาทั้งด้านการเกษตรหรือด้านวิศวกรรมเครื่องกล ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือสถานศึกษาพูดคล้ายๆกันว่าเป็นเรื่องยากเพราะมีหลายปัจจัยที่จะทำให้อัตราความสิ้นเปลืองนี้แตกต่างกันไป เช่น การเร่งความเร็วรอบเพื่อให้สูบน้ำได้มากหรือเร็วขึ้น หรือระดับการยกน้ำตลอดจนระยะทางในการส่งน้ำ เป็นต้น
    ภายใต้ราคาน้ำมันที่นับวันจะแพงขึ้น ตัวเลขนี้มีความสำคัญมากขึ้นทุกทีเพราะเป็นข้อมูลที่ควรรู้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะกำหนดหรือสร้างสมมุติฐานที่เป็นตัวแปรสำคัญแล้วให้ผู้ผลิตระบุอัตราสิ้นเปลืองนี้ออกมาตามสมมุติฐานที่กำหนดนั้นให้ได้
    ที่ผ่านมาอาศัยการสังเกตจากการใช้งานเป็นหลัก ผมเองก็พึ่งเจ้าของบ่อกุ้งบ่อปลาที่มีประสบการณ์ใช้เครื่องสูบน้ำเป็นประจำหลายรายในการเก็บข้อมูล หลายรายไม่รู้วิธีคำนวณปริมาณน้ำ บอกผมเหมือนๆกันว่าบ่อที่อยู่ตรงหน้าผมนั่นมีน้ำลึกเท่านั้นเท่านี้และสูบน้ำออกโดยใช้เครื่องสูบน้ำชนิดเครื่องยนต์เบนซินยี่ห้อดังๆยี่ห้อหนึ่งขนาดท่อดูดและส่งน้ำเท่าโน้น สูบน้ำออกได้หมดในเวลาเท่านู้นชั่วโมงโดยหมดน้ำมันไปทั้งถังน้ำมันของเครื่องที่พอดี
    ผมก็ต้องเริ่มต้นคำนวณปริมาตรบ่อหรือปริมาตรน้ำและไล่หาสเป็คเครื่องสูบน้ำมาดูค่าต่างๆ เช่น อัตราการไหลที่ระดับยกน้ำต่างๆ แรงม้าที่ความเร็วรอบต่างๆ ขนาดความจุถังน้ำมัน เพื่อหาข้อมูลความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงหรือน้ำมันเพื่อหาต้นทุนในการสูบน้ำ
    ผลที่พอรวบรวมได้จากเครื่องสูบน้ำชนิดเครื่องยนต์เบนซิน ขนาดท่อ 3 นิ้วยี่ห้อหนึ่งซึ่งผลิตในประเทศ อายุใช้งานไม่เกิน 1 ปี มีอัตราการไหลที่ระดับยกน้ำไม่เกิน 2 เมตรที่ 1,100 ลิตร ต่อนาที ขนาด 5.5 แรงม้าที่ความเร็วรอบ 3,600 รอบต่อนาที สามารถสูบน้ำในบ่อที่มีปริมาตรประมาณ 180 ลูกบาสก์เมตรได้ในเวลา 3 ชั่วโมง และน้ำมันจากถังความจุ 3.6 ลิตรหมดพอดี
    ตรวจสอบจากการใช้งานของเจ้าของบ่อกุ้งบ่อปลาที่ว่า หลายรายแล้วใกล้เคียงกับสเป็ค ของเครื่องพอใช้ได้ โดยส่วนที่ได้เพิ่มมานอกเหนือสเป็คคือน้ำมันที่ใช้ไป 3.6 ลิตร
    คิดเป็นเงิน 144 บาทที่ค่าน้ำมันเบนซิน 40 บาทต่อลิตร
    คิดเป็นปริมาณน้ำที่สูบได้ 50 ลูกบาสก์เมตร ต่อ น้ำมัน 1 ลิตร
    คิดเป็นค่าสูบน้ำต่อลูกบาสก์เมตรที่ 0.80 บาท หรือ 80 สตางค์ต่อ 1 ลบ.ม.


    นี่ว่ากันถึงเครื่องสูบน้ำค่อนข้างใหม่ ซึ่งจะกินน้ำมันน้อยกว่าเครื่องที่เก่าค่อนข้างมากและไม่นับรวมค่าตัวเครื่องสูบน้ำที่อยู่ราวๆ 12,000-15,000 บาทที่หากจะนำไปเปรียบเทียบกับระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอายุการสูบน้ำราว 25 ปี แล้ว น่าจะต้องเปลี่ยนเครื่องสูบน้ำทั่วไปไม่น้อยกว่าสองรอบ และ ค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องที่ควรเปลี่ยนถ่ายทุกๆ 100-150 ชั่วโมงใช้งานคราวละประมาณ 1.5 ลิตร ที่ถ้าเป็นเกรดดีถังบรรจุ 5 ลิตรราคาอยู่ที่ประมาณ 1,800 บาท(คิดเป็น 9 สตางค์ต่อน้ำ 1 ลบ.ม.)
    โสหุ้ยเบ็ดเสร็จ เมื่อรวมกับความสิ้นเปลืองที่จะสูงขึ้นเมื่อเครื่องเก่าลงแล้ว น่าจะทำให้ต้นทุนสูบน้ำน่าจะอยู่ที่ราวๆ 1.00 บาทต่อลิตรที่ราคาน้ำมัน 40 บาทต่อลิตร
    คราวนี้ลองมาเปรียบเทียบกับต้นทุนสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้ Solar Pump ชนิดสูบน้ำผิวดิน (ที่ต่างไปจากชนิดสูบน้ำบาดาล) รุ่นที่มีขนาดท่อดูดและส่งน้ำ 3 นิ้วเท่ากันที่มีอัตราการไหลดีที่สุดในระดับยกน้ำไม่เกิน 6 เมตร เพื่อให้เทียบเคียงสมรรถนะได้ด้วยอย่างนี้ครับ
    เครื่องสูบน้ำที่นำมาเปรียบเทียบใช้แผงเซลล์ขนาด 120 วัตต์จำนวน 8 แผงเป็นต้นกำลังไฟฟ้าเดินเครื่องสูบน้ำที่มีอัตราการไหล 260 ลิตรต่อนาที ซึ่งอัตราการไหลระดับนี้จะอยู่ในช่วงความยาวช่วงคลื่นแสง(Wave Length) ที่เหมาะสมเท่านั้นซึ่งจะมีค่าเฉลี่ยชั่วโมงรับแสงในย่านดังกล่าวต่อปี ราววันละ 4.5 ชั่วโมง ดังนั้นจึงคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำที่สูบได้ต่อวัน 70 ลูกบาสก์เมตร หรือปีละ 25,200 ลบ.ม.และหากคำนวณตลอดอายุใช้งานแผงเซลล์ที่ไม่น้อยกว่า 25 ปี จะสูบน้ำได้ถึง630,000 ลบ.ม. ซึ่งระบบสูบน้ำนี้จะมีราคาขายที่เปรียบเหมือนต้นทุนที่ ประมาณ 280,000 บาท คิดเป็นต้นทุนในการสูบน้ำที่ 0.44 บาท หรือ 44 สตางค์ต่อลูกบาสก์เมตร เท่านั้น หรือหากเป็นรุ่นที่สามารถส่งน้ำขึ้นสูงได้ดีกว่า คือยกน้ำได้ถึงระดับ 90 เมตรซึ่งมีราคาขายใกล้เคียงกัน แต่จะมีอัตราการไหลต่ำลงคือที่ระดับยกน้ำสูงไม่เกิน 2 เมตรจะมีอัตราการไหล 210 ลิตรต่อนาทีที่จะสูบน้ำได้ตลอดอายุการใช้งานที่ 495,000 ลบ.ม. คิดเป็นต้นทุนในการสูบน้ำที่ 0.57 บาท หรือ 57 สตางค์ต่อลูกบาสก์เมตร และระบบนี้แทบไม่มีโสหุ้ยหรือค่าใช้จ่ายในระหว่างใช้งานและการบำรุงรักษาเลย ถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายส่วนนี้น่าจะไม่เกิน 6 และ 8 สตางค์ต่อลูกบาสก์เมตร ก็จะทำให้มีต้นทุน 50 สตางค์ และ 65 สตางค์ตามลำดับต่อการสูบน้ำ 1 ลบ.ม. เท่านั้น
    และหากมองในด้านสิ่งแวดล้อม แม้จะไม่มีตัวเลขการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของการสูบน้ำโดยตรง แต่หากเทียบเคียงกับการสร้างก๊าซนี้ในการผลิตไฟฟ้าโดยใช้น้ำมัน ที่จะสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง ประมาณ720 กรัมต่อการผลิตไฟฟ้า 1 หน่วย หรือ 1 kWh และการผลิตไฟฟ้าหนึ่งหน่วยดังกล่าวนั้นจะใช้น้ำมันระหว่าง 0.35-0.43 ลิตร หรือเฉลี่ย 0.39 ลิตร ดังนั้นน้ำมัน 1 ลิตรจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 2.5 หน่วย ซึ่งจะสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 1,800 กรัม หรือ 1.8 กิโลกรัม ซึ่งหากนำมาเทียบต่อว่าน้ำมัน 1 ลิตรสูบน้ำได้ 50 ลบ.ม.ก็หมายความว่าทุกๆการสูบน้ำ 1 ลบ.ม.จะสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 36 กรัม และหากนำจำนวนน้ำที่จะสูบได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นตัวต่ำคือ 495,000 ลบ.ม.แล้ว จะเห็นว่าลดการสร้างก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ให้แก่โลกได้ถึง17,820,000 กรัมหรือราว 17.82 ตัน ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการสูบน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำชนิดใช้น้ำมันให้ได้น้ำจำนวนเดียวกันในเวลา 25 ปี หรือปีละ 712.80 กิโลกรัม เลยทีเดียว
    แต่เนื่องจากปริมาณน้ำที่สูบได้ในแต่ละวัน มีจำนวนไม่มากนัก ในการใช้น้ำในปริมาณที่มากจึงต้องวางแผนอย่างรอบคอบและได้ประโยชน์สูงสุด
    ภายใต้ภาวะราคาน้ำมันที่สูงลิ่วและนับวันจะแพงขึ้นไปเรื่อยๆประกอบกับความต้องการลดภาวะโลกร้อนด้วยการช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในขณะที่การปลูกพืชเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกจะมากขึ้นและจะใช้น้ำก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว(โดยเฉพาะการปลูกปาล์มน้ำมันที่เป็นพืชซึ่งต้องการน้ำมากในระยะเริ่มต้นเสียด้วย) กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ จึงควรรับทราบข้อมูลและเรื่องราวเหล่านี้ไว้ เพื่อหาทางช่วยเหลือเกษตรกรและช่วยเหลือโลกไปพร้อมๆกัน โดยจะต้องตื่นตัว เช่นหาทางติดตั้งเพื่อการศึกษาและสาธิตเป็นการนำร่อง หาทางเพิ่มอำนาจซื้อของแพงๆเหล่านี้ด้วยการเจรจาหาสถาบันการเงินมารองรับเป็นสินเชื่อระยะยาว ดอกเบี้ยต่ำ หรือ การหนุนช่วยทางการเงิน(Subsidy) อื่นๆ เช่นเดียวกับที่กระทรวงพลังงานอุดหนุนโดยการจ่ายเงินเพิ่มในการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กรายน้อยนั้นก็ได้

    บทความนี้เขียนขึ้นรองรับวันสิ่งแวดล้อมโลก วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี และเฉพาะปีนี้มีการจัดงานค่อนข้างใหญ่โตระหว่างวันที่ 5-8 มิถุนายนนี้ ที่ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี เพื่อขอเป็นส่วนร่วมหนึ่งของกิจกรรมและการรำลึกถึงอะไรๆที่ดีงามต่อโลกบ้างอย่างนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    วันพุธ ที่ 16 กรกฎาคม 2551

    ทำไมการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่แพร่หลายในประเทศไทย ?

    Posted by เดชนิยม , ผู้อ่าน : 882 , 13:31:22 น.

    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    ทำไมการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่แพร่หลายในประเทศไทย
    คำถามที่ท้าทายนี้ไม่ใช่เฉพาะผู้อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตเซลล์แสงอาทิตย์เท่านั้นที่ต้องการคำตอบ แต่ผู้ที่รณรงค์ในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่รู้ถึงมหันตภัยของภาวะโลกร้อนอันเนื่องจากการผลิตและใช้พลังงานที่เป็นตัวการสำคัญในการสร้างก๊าซเรือนกระจกนั้นล้วนต้องการคำตอบนี้เช่นกัน
    นักธุรกิจอุตสาหกรรมแขนงนี้อยากรู้เพื่อเพิ่มยอดผลิตและขายเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
    นักสิ่งแวดล้อมอยากรู้และหาคำตอบไปใช้ผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชนิดนี้ให้มากเท่าที่จะมากได้เพื่อรักษาโลกไว้ให้น่าอยู่น่าอาศัยไปนานๆ
    คนที่ปิดหูปิดตาตัวเองไม่อยากรู้เรื่องนี้คือคนที่รับผิดชอบด้านการผลิตพลังงานหรือ ผลิตไฟฟ้า เพราะกลัวแรงขับเคลื่อนของสังคมที่จะผลักดันสนับสนุนให้เกิดการให้ใช้พลังงานทดแทนสะอาดโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์นี้อย่างกว้างขวางแล้วจะกระทบต้นทุนกลัวกำไรน้อยลง เงินปันผลหรือมูลค่าหุ้นที่ระดับบิ๊กๆมีส่วนได้เสียด้วยนั้นจะลดต่ำลง แต่แอบไปอ้างว่ากลัวค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นแล้วจะถูกประชาชนตำหนิหรือต่อต้าน โดยไม่ยอมรับข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงคือต้นทุนแฝงและประโยชน์ทับซ้อนในการบริหารจัดการ ที่หากส่วนนี้ลดไปน่าจะสามารถรองรับต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากแหล่งผลิตพลังงานสะอาดชนิดนี้ได้โดยไม่เหลือบ่ากว่าแรงนัก
    ไม่เคยมีการสำรวจและฟังความเห็นเลยสักครั้งว่า ถ้าประชาชนจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้นเล็กน้อยแลกกับก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง บรรเทาภาวะโลกร้อนให้ห่างไกลออกไป โดยไม่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยใดๆเลยนั้น ประชาชนจะรับไม่ได้
    เพียงเท่าที่เป็นความคิดของผู้เขียนที่อยู่ในแวดวงนี้มานานระดับหนึ่ง พอจะบอกเล่าถึงเหตุอันน่าจะเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ไม่แพร่หลายในประเทศไทยนั้น มีหลายปัจจัยผสมกัน ที่พอจะลองลำดับมาให้ได้เห็นกัน อย่างนี้
    1. ราคาสูงจึงใช้เงินลงทุนสูง
    ราคาของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เป็นอุปกรณ์หลักของระบบที่แม้จะผลิตได้ในประเทศแล้วแต่ก็ยังต้องพึ่งพิงวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีอยู่น้อยรายในขณะที่ความต้องการในตลาดมีอยู่มากเพราะนำไปใช้ได้ในอุตสาหกรรมหลายแขนงจึงมีราคาสูงและทำให้ราคาของระบบสุดท้ายสูงตามขึ้นไปด้วย
    2. ข้อจำกัดทางเทคนิคของระบบมีอยู่ค่อนข้างมาก
    ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีข้อจำกัดทางเทคนิคอยู่หลายประการที่เป็นเสมือนจุดอ่อนซึ่งทำให้ไม่เหมาะสมนักที่จะเป็นระบบหลักในการผลิตไฟฟ้าแบบที่จะคาดหวังได้ว่าจะพึ่งตัวเองได้อย่างเบ็ดเสร็จและสนองความต้องการได้ทุกประการ ด้วยเหตุต่างๆดังนี้
    2.1 ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งแผงเซลล์มากเมื่อเทียบกับกำลังไฟฟ้าหรือพลังงานไฟฟ้าที่จะผลิตได้
    ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 1 kW ซึ่งจะผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 100-120 kWh หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “หน่วย”นั้น ต่อเดือน จะต้องมีพื้นที่ติดตั้งที่เป็นที่โล่งรับแสงได้ดี ประมาณ 8 ตารางเมตร หรือหากรวมพื้นที่เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษาด้วยก็จะอยู่ที่ประมาณ 10 ตารางเมตร บ้านที่ใช้ไฟฟ้าเดือนละประมาณ 1,500 บาทหรือราว 500 kWh (ค่าไฟหน่วยละประมาณ 3 บาท)ต้องติดตั้งระบบฯที่ราวๆ 5 kW จะต้องใช้พื้นที่รองรับประมาณ 45-50 เมตร
    2.2 ช่วงเวลาและปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่สัมพันธ์กับความต้องการใช้
    ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จะผลิตได้ในเวลากลางวันที่มีแสงแดดจัด และมีรูปแบบปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ในวันที่มีลักษณะอากาศเหมือนๆจะใกล้เคียงกัน ในขณะที่ความต้องการใช้แตกต่างกันทั้งกลางวันและกลางคืน วันธรรมดาและวันหยุดเป็นต้น
    2.3 สภาพภูมิอากาศ
    ตามที่กล่าวแล้วว่าการผลิตไฟฟ้าต้องใช้แสงแดดเป็นหลัก(โดยเฉพาะแสงแดดที่ดีในขณะที่อุณหภูมิไม่สูงนักคือควรใกล้เคียง 25 องศาเซลเซียส) ดังนั้นในวันที่ฝนตก หรือมีเมฆมาก ท้องฟ้ามืดครึ้ม ตามฤดูกาลหรือเหตุใดๆก็ตาม ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าก็จะลดลงจนถึงไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เลยก็ได้ ปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุมข้อนี้ถือเป็นข้อจำกัดที่สำคัญหนึ่งของระบบนี้

    2.4 ทิศทางและความลาดเอียงของแผงเซลล์ที่มีผลต่อพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้
    โดยหลักทั่วไปแล้วแผงเซลล์ควรหันหน้ารับแบบตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ตลอดเวลาเพื่อลดการสะท้อนของแสงให้น้อยที่สุดที่นัยหนึ่งเพื่อให้แสงแดดผลิตไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด ดังนั้นสำหรับประเทศไทยที่อยู่ตอนบนของเส้นศูนย์สูตรจึงต้องหันด้านลาดของแผงไปทางทิศใต้ สำหรับมุมเอียงก็ขึ้นกับเส้นรุ้ง(Latitude) ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ที่นับจากใต้จดเหนือจะอยู่ที่ประมาณ 6-19 องศา หรือกล่าวโดยอนุโลมที่ 5-20 องศา ความควรจะเป็นในเรื่องทิศและความลาดเอียงบางครั้งอาจขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลังคาอาคารหรือที่ติดตั้งที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ความเสียหายเนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าที่ลดลงกรณี้นี้ก็ยังไม่มากมายนัก เว้นเสียแต่จะติดตั้งในลักษณะที่ฝืนอย่างรุนแรงทั้งในด้านทิศและมุมเอียงดังกล่าว
    2.5 ไฟฟ้าที่ผลิตได้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC )
    ในขณะที่อุปกรณ์ไฟฟ้าแทบทั้งหมดในประเทศไทยเป็นชนิดกระแสสลับ
    (Alternative Current :AC ) ทำให้ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์แปลงไฟ(Inverter)ที่นอกจากจะเกิดการสูญเสียขึ้นแล้ว ยังจะเกิดข้อจำกัดจากเทคโนโลยี่และพัฒนาการของอุปกรณ์นี้เข้ามาเป็นข้อจำกัดของระบบโดยรวมไปด้วย
    2.6 ข้อจำกัดในการเชื่อมโยงระบบเข้ากับระบบผลิตไฟฟ้าปกติ
    ในการเชื่อมโยงระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับระบบผลิตไฟฟ้าในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายคือการไฟฟ้านครหลวง และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าทั้งสองนั้นมีเงื่อนไขที่สำคัญคือเมื่อไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับลงเมื่อใดก็ตาม ไฟฟ้าที่เชื่อมโยงระบบอยู่จะต้องปิดตัวเองตามไปด้วยเพื่อความปลอดภัยของระบบบำรุงรักษาและป้องกันอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆด้วย
    ความไม่ยืดหยุ่นนี้ ทำให้ผู้จะติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้องเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นว่าจะติดตั้งระบบเพื่อการขายไฟที่เป็นแบบ Grid Connected หรือติดตั้งเพื่อใช้ไฟภายในของตนเท่าที่ผลิตได้เป็นเท่านั้นที่เป็น แบบ Stand Alone การผสมระบบเพื่อลดจุดด้อยหรือข้อจำกัดหรือเพิ่มประโยชน์ในขณะที่เกิดความต้องการเฉพาะดังตัวอย่างที่กล่าวมาไม่อาจทำได้
    2.7 วิกฤติศรัทธาจากการติดตั้งใช้งานครั้งสำคัญ
    โครงการดังว่านี้คือ โครงการติดตั้งไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับครัวเรือนในชนบทห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง(โครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร) จำนวน 203,000 ครัวเรือน ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค งานครั้งนั้นมีข้อผิดพลาดหลายประการ ประการหนึ่งอยู่ที่ราคากลางที่ต่ำไปเพราะขนาดที่ทดลองติดตั้งและใช้เป็นโมเดลหลักที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่บ้านสองธาร ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่นั้นใช้ขนาดแผงเพียง 75 วัตต์ และสภาพพื้นที่ติดตั้งทดสอบอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างง่ายหรือเข้าถึงสะดวกที่ทำให้ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการติดตั้งถูกประเมินต่ำกว่าในการติดตั้งจริงมาก แล้วเกิดการผลักดันให้ใช้ตัวเลขนี้หรือที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนักแต่เปลี่ยนขนาดแผงเซลล์ขึ้นเป็น 120 วัตต์ ประจวบกับผู้ผลิตแผงซึ่งล๊อคไว้เพียงรายเดียวที่ใกล้ชิดฟากรัฐบาลและเป็นผู้ผลักดันโครงการร่วมกับฝ่ายการเมืองเพื่อหาคะแนนนิยมในการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นด้วยสำหรับแผงเซลล์ชนิดคริสตัลไลน์ที่คิดเป็นประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ของแผงที่ติดตั้งทั้งหมดมีการปรับราคาแผงเซลล์ระหว่างดำเนินโครงการอีกต่างหากด้วย ทำให้ผู้ประมูลงานได้แม้จะเป็นแบบจับมือกันเสนอราคาโดยจ่ายหัวคิวแล้วก็ตามต้องลดต้นทุนในทุกรูปแบบที่รวมไปถึงการกดราคาอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจในการทำงานของระบบคืออินเวอร์เตอร์ลงต่ำมาก มีผลให้อุปกรณ์นี้ลดต้นทุนในส่วนของการระบายความร้อน และระบบการส่งสัญญาณเตือนเมื่อมีการจ่ายไฟเกินที่กำหนด และโดยราคากลางที่ต่ำนี้ยังมีผลต่อชนิดของแบตเตอรี่ไม่สามารถกำหนดเป็นแบตเตอรี่แบบ Stationary ชนิด Deep Cycles/Deep Discharge ที่แท้จริงได้อย่างที่เหมาะสมและควรจะเป็น ที่ใช้จริงในโครงการจึงเป็นเพียงโดยอนุโลมเท่านั้น
    เมื่อติดตั้งใช้งานในสภาพที่ผู้ใช้ไม่มีความเข้าใจการทำงาน และข้อจำกัดต่างๆ หรือการตรวจบำรุงรักษาเบื้องต้นอย่างง่าย เป็นต้น ทำให้เกิดการใช้งานเกินกำลังของระบบ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้านอกเหนือหรือเกินจากที่กำหนดและออกแบบไว้ ความเสื่อมของอุปกรณ์จึงเกิดขึ้นเร็วเกินคาด เช่น แบตเตอรีถูกใช้จนไฟหมด ระบบตัดการทำงานและเป็นเช่นนี้หลายครั้งเข้า การชาร์จแบตเตอรี่ไม่อาจทำให้เต็มได้อีกต่อไปจนหมดสภาพ หรือแม้เมื่ออินเวอร์ตเตอร์ส่งสัญญาณให้ชลอการจ่ายไฟผู้ใช้ก็ไม่นำพา ฝืนใช้งานจนระบบฯล่มถาวรก็มี
    อีกส่วนหนึ่งคือการวางแผนการจัดการ เช่นการติดตามผล การแนะนำ การจัดองค์กรชุมชนเรียนรู้หลักการทำงานและประสานการดูแล การบำรุงรักษาเบื้องต้น ไม่ได้ถูกทำให้มีขึ้นอย่างทันเวลา และแข็งแรงพอที่จะทำให้ระบบไฟฟ้าชุมชนชนิดนี้ก้าวเดินไปได้ อีกประเด็นที่สำคัญคือการโอนย้ายความรับผิดชอบระบบจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปให้องค์การบริหารส่วนตำบลเข้ามารับผิดชอบต่อ ทั้งๆที่ไม่เคยได้มีส่วนรับรู้ในระยะต้นซึ่งเป็นส่วนสำคัญนั้นมากนัก และ ท้ายที่สุดไม่อาจเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในด้านเทคนิคได้เท่าที่ควรจะเป็นเลยด้วย
    หลายๆข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ทำให้ประโยชน์ใช้งานของระบบลดน้อยถอยลง เสื่อมสภาพลงมาจนถึงภาวะใช้การไม่ได้ก็มีอยู่มาก จนเกิดเป็นความไม่น่าเชื่อถือของผู้ใช้ ผู้พบเห็นและ ผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ได้รู้ลึกถึงความเป็นมา เกิดเป็นวิกฤติศรัทธาของคนเหล่านั้นและขยายถึงผู้มีหน้าที่ขอและพิจารณางบประมาณของส่วนราชการ เพื่อการนี้หรือที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ไปเกือบทั้งหมด​
    [​IMG]
    3. มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆอยู่แล้วรวมทั้งสินค้าทดแทนใหม่อื่นๆ
    ไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคจำเป็น จึงมีการลงทุนและขยายงานด้านนี้โดยภาครัฐผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและฝ่ายจำหน่าย คือการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอย่างกว้างขวาง มีการกระจายระบบจำหน่ายไฟฟ้าออกไปค่อนข้างทั่วถึง กล่าวคืออยู่ในระดับสูงกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของผู้ต้องการใช้ไฟ สำหรับพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงก็ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟมาผลิตไฟฟ้าทั้งโดยรัฐหรือผู้ใช้แต่ละรายเอง เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บางพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอย่างอื่นสูงกว่า เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาดเล็ก ก็จะใช้รูปแบบนั้นๆแทน สำหรับในอนาคตในพื้นที่ห่างไกลก็จะมีระบบผลิตไฟฟ้าทางเลือกอื่นเข้ามาแข่งขันด้วยหลายอย่าง ทั้งระบบผลิตไฟฟ้าโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือกังหันลม ที่อยู่ในกลุ่มพลังงานสะอาดด้วยเช่นกัน หากเปิดกว้างออกไปก็จะมีระบบผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลและก๊าซชีวภาพเข้ามาแข่งขันอีกด้วย
    4. พฤติกรรมผู้บริโภคไม่สอดรับกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
    ในส่วนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการที่จะทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แพร่หลายในประเทศไทยหรือไม่นั้น มีสามประเด็นสำคัญ ดังนี้
    4.1 ความคุ้นเคยกับความสะดวกอย่างไม่มีขีดจำกัดของระบบไฟฟ้าปกติ
    ระบบไฟฟ้าปกติมีการผลิตและป้อนกระแสเข้าระบบจำหน่ายรองรับความต้องการใช้อยู่ตลอดเวลา โอกาสที่ไฟไม่พอมีอยู่น้อยมากๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่ระบบไฟฟ้าเป็นแบบเครือข่ายหรือ Net Work
    แนวคิดในการขอติดตั้งไฟฟ้า จะขอในลักษณะเผื่อไว้เกินกว่าที่ตั้องการใช้จริง สถานะที่เป็นอยู่คือความเหลือเฟือคือเกินความต้องการจนอาจเรียกได้ว่า “มีให้ใช้ไม่อั้น”ก็คงไม่ผิดนัก
    สวนทางกับการที่ไฟฟ้าที่จะผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับขนาดที่ติดตั้งที่ถูกคิดไว้ก่อนแล้วจากปัจจัยความพร้อมที่มี เช่น ค่าใช้จ่าย พื้นที่ติดตั้ง อุปกรณ์และความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด จำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้จะแน่นอนในระดับหนึ่งที่ใกล้เคียงกับที่ออกแบบและคำนวณไว้ซึ่งจะรู้อยู่แต่ต้นแล้ว ความต้องการใช้ที่นอกเหนือจากนี้ ระบบฯจะไม่อาจรองรับได้
    4.2 ความต้องการในด้านรูปลักษณ์และความสวยงามเชิงสถาปัตยกรรมหรือศิลปกรรม
    พฤติกรรมผู้บริโภคในลักษณะนี้เบื้องต้นส่งผลโดยตรงไปที่ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องหรือผลิตภัณฑ์ประยุกต์ต่างๆที่ฝ่ายผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์จะให้น้ำหนักกับประโยชน์ใช้สอยหรือคุณค่าทางวิศวกรรมมากกว่าความต้องการของผู้บริโภคที่เริ่มมองคุณค่าทางจิตใจ เช่น ความสวยงาม ความกลมกลืนกับส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นคุณค่าทางสถาปัตยกรรมหรือศิลปกรรม มากขึ้น
    4.3 ความตื่นตัวและสำนึกในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมยังมีอย่างจำกัด
    นับเป็นเรื่องใหญ่ที่เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทยในฐานะผู้บริโภคพลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า ที่ต้องรับรู้ว่าการผลิตไฟฟ้าในระบบปกติทั่วไปที่ใช้เชื้อเพลิงจากกลุ่มฟอสซิล คือ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ล้วนสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่จะทำให้โลกร้อนขึ้นๆ ทางที่จะช่วยโลกและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมคือการลดการใช้พลังงาน ลดการใช้ไฟฟ้าหรือหลีกเลี่ยงการใช้ไฟฟ้าในระบบปกติแล้วหันมาใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่สะอาดให้มากขึ้น​
    [​IMG]
    5. ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ควบคุมระบบ
    การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ควบคุมระบบที่สำคัญขึ้นอยู่กับรูปแบบหรือลักษณะการติดตั้ง หากเป็นชนิดติดตั้งอิสระ(Stand Alone)ซึ่งจะมีอุปกรณ์ควบคุมระบบ 3 รายการ คือ เครื่องควบคุมการประจุแบตเตอรี่ (Regulator/Charge Controller) แบตเตอรี่(Battery)ชนิดที่มีความสามารถในการคายประจุสูง (Deep Discharge/Deep Cycles) และ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจากไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ(Inverter) แต่หากเป็นชนิดติดตั้งแบบเชื่อมโยงกับระบบผลิตไฟฟ้าปกติ(Grid Connected)จะเหลืออุปกรณ์ควบคุมระบบเฉพาะเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าคืออินเวอร์เตอร์ เท่านั้น
    โดยเหตุที่การใช้งานในประเทศมีอยู่น้อยมาก ส่งผลให้มีผู้ผลิตน้อยรายอย่างยิ่ง ความเชื่อถือได้และพัฒนาการด้านเทคโนโลยี่ของอุปกรณ์เหล่านั้นจึงเป็นไปอย่างจำกัดด้วยเช่นกัน
    ทางแก้หนึ่งคือใช้การนำเข้าซึ่งมีผลให้ราคาสูงขึ้นบ้างและก็ต้องใช้เวลาส่งของที่นานขึ้น

    6. ลักษณะเฉพาะของอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดที่ไม่สอดคล้องกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
    โดยที่กล่าวแล้วว่าระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เป็นระบบผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ดังนั้นจึงย่อมไม่เหมาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่กินกระแสสูง โดยเฉพาะกระแสในขณะเริ่มเดินเครื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวเช่น เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ หรือมอเตอร์ในลักษณะต่างๆ
    นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ขับเคลื่อนดังที่ยกตัวอย่างข้างต้นแล้ว อุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนก็มักจะมีกำลังไฟฟ้าสูงๆที่จะกินพลังงานไฟฟ้ามากตามไปด้วยเช่นเดียวกันเช่น เตารีดไฟฟ้า ตู้อบไมโครเวฟ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กาน้ำร้อน เป็นต้น ซึ่งโดยหลักการหากใช้งานพร้อมๆกันจะสร้าง Peak Load ที่ใหญ่หรือสูงกว่าขนาดกำลังผลิตติดตั้งของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ อันจะมีผลให้ระบบตัดการทำงานก็ได้ กล่าวคือไม่อาจใช้งานได้นั่นเอง
    อุปกรณ์ไฟฟ้าดังที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้ายอดนิยมสำหรับครอบครัวคนชั้นกลางแทบทั้งสิ้น อุปสรรคข้อนี้จึงเป็นเรื่องบั่นทอนความนิยมของระบบนี้เป็นอย่างมาก

    7. การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องหรือประยุกต์ใช้งานลักษณะอื่นๆยังมีน้อย
    ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่พบเห็นค่อนข้างมากคือชุดโคมไฟส่องสว่าง ไฟสัญญาณ ซึ่งคล่องตัวในการติดตั้ง เคลื่อนย้าย แต่มักจะมีจุดอ่อนในด้านความสวยงาม ขนาดและน้ำหนัก และประโยชน์ใช้สอยที่ยังไม่เสถียรนักอันเนื่องจากอุปกรณ์ควบคุมระบบที่หากมีการพัฒนายิ่งขึ้น ความนิยมก็น่าจะเพิ่มขึ้นได้ไม่ยาก
    ส่วนการพัฒนาเพื่อให้เป็นต้นกำลังไฟฟ้าในรูปนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างเช่น รถ หรือ เรือ ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์นับว่ายังไกลอยู่มากสำหรับประเทศไทย
    การประยุกต์ใช้งานที่เป็นไปได้จริงในขณะนี้จึงอาศัยเท่าที่มีการประยุกต์ใช้งานแล้วในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ที่น่าจะนำมาใช้ในบ้านเราได้และเหมาะสมกับสถานการณ์น้ำมันแพงได้อย่างดี คือ ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์(Solar Pumping) ที่ผู้เขียนเคยวิเคราะห์แล้วว่ามีต้นทุนถูกกว่าการสูบน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำชนิดใช้น้ำมันอย่างแน่นอนนั้นก็แทบไม่มีใครมองเห็น
    8. ความรู้จักแพร่หลายของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องมีอยู่น้อยมาก
    อาจกล่าวได้ว่าความรู้ความเข้าใจถึงคุณลักษณะและประโยชน์ใช้สอยของเซลล์หรือแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ตลอดจนหลักการผลิตไฟฟ้าโดยระบบนี้มีอยู่น้อยมาก แทบไม่มีการเรียนการสอนไม่ว่าในระดับใดๆทั้งสิ้น คนที่พอรู้และเข้าใจการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์กระจุกตัวอยู่ในวงแคบๆ เช่นที่บางหน่วยงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่พอมีประสบการณ์บ้างจากโครงการติดตั้งไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับครัวเรือนในชนบทห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง(โครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร)จำนวนประมาณ 203,000 ครัวเรือน ในกลางปีพศ.2547 และบางหน่วยงานของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กับ บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าแผงเซลล์ และ อุปกรณ์ควบคุมระบบ ถ้าจะนอกเหนือไปจากนี้บ้างก็ในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง กับโดยความสนใจใคร่รู้ของบางคนบางกลุ่มเป็นการเฉพาะตัวเฉพาะกลุ่มเป็นสำคัญ
    ความเข้าใจที่ผ่านมาจึงสรุปง่ายๆเพียงว่าระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เหมาะสมกับพื้นที่ห่างไกล นอกระบบสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย เท่านั้น ทั้งๆที่ในปัจจุบัน ในประเทศที่เจริญแล้วและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจระดับหนึ่งมองว่าระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เป็นการผลิตไฟฟ้าจากภาคประชาชนรายครัวเรือนเพื่อเป็นกำลังไฟฟ้าสำรองหรือไฟฟ้าเสริมระบบผลิตไฟฟ้าปกติที่ดีเยี่ยม

    9. การขาดนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ ที่มีความเป็นไปได้ ชัดเจน มั่นคง และต่อเนื่อง
    ทิศทางในด้านพลังงานทดแทนในประเทศไทยแทบจะเป็นไปในเชิงรับไปตามแต่ละสถานการณ์ ความที่ติดอยู่ในกับดักของปัญหาเฉพาะหน้าด้านน้ำมันที่เป็นปัญหาพลังงานในภาคเชื้อเพลิงและขนส่ง จึงอาจลืมคิดถึงปัญหาของพลังงานภาคไฟฟ้าที่ได้เกิดขึ้นแล้วและจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต
    ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนโดยเทคโนโลยี่ใหม่ๆส่วนใหญ่จะมีต้นทุนสูงกว่าระบบผลิตไฟฟ้าปกติ อาจทั้งเพราะขนาดในการผลิตไม่ถึงเกณฑ์ที่จะทำให้ต้นทุนถูกลงไปถึงขั้นที่ถูกที่สุดด้วยข้อจำกัดที่เป็นเรื่องใหม่หรือสินค้าใหม่ของตลาด และค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาที่ยังต้องถมลงไปอีกมากมาย และนานาประการ ก้าวเดินของพลังงานทดแทนทั่วโลกจึงมีวิวัฒนาการคล้ายๆกันที่ภาครัฐจะต้องก้าวลงมาผลักดันและสร้างแรงจูงใจในระยะเริ่มต้น จนกว่าอุตสาหกรรมจะปรับตนเองโดยกลไกตลาดให้เดินได้ด้วยตนเองได้แล้ว จึงจะค่อยๆถอยออกไป
    การผลักดันและสร้างแรงจูงใจทำกันหลากหลายรูปแบบ ต่อเนื่องและยาวนานพอสมควร เพื่อให้เกิดการใช้งานที่กว้างขวางและอย่างที่เป็นที่ยอมรับเป็นอย่างดีอีกด้วย ทั้งการสนับสนุนค่าใช้จ่ายไปที่การติดตั้ง ทั้งการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาว ทั้งการสนับสนุนโดยการลดหย่อนภาษีให้ผู้ติดตั้ง ทั้งการรับซื้อไฟฟ้าคืน ทั้งในด้านสร้างโครงการรองรับการใช้งาน ทั้งการสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยพัฒนาที่เลยและก้าวหน้าไปถึงขั้นสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นต้น ด้วยทุกทิศทุกทางในการผลักดันและจูงใจพลังงานทดแทนต่างๆในแต่ละมุมโลกจึงค่อยๆพัฒนามาเป็นอย่างที่เห็นและจับต้องได้ในขณะนี้
    ประเทศไทยและนักอุตสาหกรรมไทยก็ไม่ต่างไปจากทุกประเทศที่ในระยะเริ่มแรกล้วนต้องการการผลักดันอย่างแข็งขันและแน่วแน่จากรัฐบาลเฉกเช่นเดียวกัน
    เนื้อหาข้างต้นทั้งหมดของบทความนี้คือส่วนหนึ่งของคำตอบที่ว่า “ทำไมการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่แพร่หลายในประเทศไทย?”
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  18. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    คัดลอกมาทั้งดุ้นให้อ่านกัน - น่าสนใจมากครับ พวกเราต้อง update ข้อมูลบ่อยๆ โลกกำลังเปลี่ยนไปรวดเร็วมากครับ



    รีสอร์ทยุคใหม่ ใช้พลังงานสะอาด

    [​IMG]
    บนเกาะ ซีร่า (Zira) มีพื้นที่ขนาด 1 ล้านตารางเมตร ตั้งอยู่บนอ่าวบาคู ณ ประเทศอาร์เซอร์ไบจัน กำลังจะเป็นที่โชว์ผลงานสถาปัตยกรรมเหนือชั้น นั่นคือ รีสอร์ทแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเน้นการผสานกับธรรมชาติให้มากที่สุด

    อยากรู้แล้วสิคะว่าความหรูหราสะดวกสบาย แบบที่ไม่ทำลายทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมนั่นต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? หนูอุ่มจะเล่าให้ฟังค่ะ

    [​IMG]

    ที่เกาะซีร่าบนยอดเขาอาร์เซอร์ไบจันแห่งนี้สถาปนิกตั้งใจจะสร้างให้เป็นที่ตั้งของโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้ง 7 แห่ง ภาบในประกอบไปด้วยรีสอร์ทส่วนตัว 300 หลังที่มองเห็นวิวทะเลสาบแคสเปี้ยน

    [​IMG]

    อยากรู้แล้วสิคะว่าความหรูหราสะดวกสบาย แบบที่ไม่ทำลายทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมนั่นต้องประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? หนูอุ่มจะเล่าให้ฟังค่ะ ที่เกาะแห่งนี้มีการ...
    [​IMG]


    * สร้างระบบทำน้ำร้อนและเย็น เชื่อมต่อกับปั้มน้ำที่สูบน้ำจากทะเลสาบแคสเปี้ยนโดยตรง
    * ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ไว้ที่หลังคาเพื่อสร้างพลังงานสะอาด และปล่อยความร้อนแทนฮีตเตอร์
    * ติดตั้งระบบกังหันลมใช้ปั่นไฟ
    * ระบบเก็บกักน้ำเสีย บำบัด และนำไปใช้ใหม่

    [​IMG]

    [​IMG]

    ไว้สร้างเสร็จเมื่อไหร่ หนูอุ่มจะไปงานเปิดตัวสักหน่อยค่ะ จองห้องสักคืนสองคืนคงไม่สะเทือนกระเป๋าหน้าท้องของหนูอุ่ม อิอิ

    ที่มา : http://mblog.manager.co.th/greenmblog/th-48529/

    English version : http://www.inhabitat.com/2009/02/02/zira-island-by-big-architects/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2009
  19. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ว้าว..! เบนซ์ใหม่ไฮบริด

    [​IMG]

    บริษัท เดมเลอร์ ผู้ผลิตรถยนต์หรูที่เป็นยอดปรารถนาของคนทั้งโลกอย่าง "เบนซ์" ได้โชว์ผลงานรถอีโค ภายใต้ชื่อรุ่นว่า "F-CELL Roadster" ถือเป็นรุ่นล่าสุดของแนวคิดการออกแบบรถยนต์รุ่น F-Series มีคนร่วมร่างแบบกว่า 150 คนในเวลา 1 ปี ออกมาเป็นรถไฮบริดใช้ไฟฟ้า 1.2 กิโลวัตต์ วิ่งได้ 24 กิโลเมตร/ชั่วโมง และทำความเร็วได้สูงสุด 342 กิโลเมตร/ชั่วโมง ตัวถังและเก้าอี้ทำจากไฟเบอร์กลาสซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีในรถแข่งฟอร์มูล่าวันด้วย

    คลิกเพื่อชมภาพสวยสะกดตาอื่นๆ อีกเพียบ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG][​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]
     
  20. Pew Pew

    Pew Pew เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    670
    ค่าพลัง:
    +1,807
    ทำฝันให้เป็นจริงกับเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์



    [​IMG]

    เมื่อเห็นเครื่องบินลำนี้บินได้บนท้องฟ้า ภาพติดตา และเสียงที่คอยก้องหูเราทุกวันที่ว่า "พลังงานแสงอาทิตย์เป็นเพียงเรื่องล้อเล่น" คงไม่เป็นจริงอีกต่อไปแล้ว

    เรามาทำความรู้จักชายที่มีฝันใหญ่ และเขาก็ทำได้สำเร็จกับผลงานชิ้นโบว์แดงคือการสร้างเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์อย่าง Sunseeker ทั้งสองรุ่นกันที่นี่ค่ะ


    [​IMG]

    ตั้งแต่ปี 1979 "อีริค เรย์มอนด์" ชายผู้หลงใหลในเสน่ห์ของเครื่องบิน ได้คิดฝันว่าอยากจะสร้างเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาขับบินโฉบไปรอบโลกได้สักวัน เขาได้ทำการทดลองร่างแบบ หาผู้ร่วมอุดมการณ์มาสร้างตัวต้นแบบของเครื่องบินปีกกว้าง น้ำหนักเบา และไร้มลพิษขึ้นมา

    หลังจากนั้น เขาก็ได้ก่อตั้งบริษัท Solar Flight อย่างเป็นทางการซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนทางเทคโนโลยีจากบริษัทญี่ปุ่นอย่างซันโยและอีกหลายบริษัท ในที่สุด 10 ปีถัดมาหลังจากทุ่มเทเวลา เงินทุน เดือนสิงหาคมปี 1990 ยานบินพลังงานแสงอาทิตย์ก็ได้ทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นเวลา 121 ชั่วโมง และทำการบินร่อนทั่วอเมริกาเป็นผลสำเร็จ เขาตั้งชื่อให้มันว่า Sunseeker

    [​IMG]

    และวันนี้ Sunseeker รุ่น 2 ก็ถือกำเนิดขึ้น โดยตั้งใจจะบินพาดผ่านยุโรป 8 ประเทศ ได้แก่ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ฮังการี สโลเวเนีย อิตาลี ฝรั่งเศส และ สเปน โดยใช้แบตเตอรี่ลิเธียมรุ่นใหม่

    [​IMG]

    ผลการเดินทางจะเป็นอย่างไร เราจะติดตามข่าวมาบอกคุณอีกครั้ง



    อาจกล่าวได้ว่า "อีริค เรย์มอนด์" กำลังเดินตามรอย "ฮาวเวิร์ด ฮิวจ์" บุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในวงการการบินรุ่นใหม่ ที่สร้างเครื่องบินสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกคนแรกของโลก แต่เขาถือเป็น ผู้นำแห่งวงการการบินสีเขียว เพราะเลือกที่จะสร้างนวัตกรรมแบบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม น่าชื่นชมมากค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...