เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24


    เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว

    เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
    เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด

    เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน

    เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
    เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด

    "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ"

    เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว

    เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด
    เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด

    "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ"

    พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด

    ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน

    ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด

    ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด

    "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”
     
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24


    {พระอิศวรให้เลือด ๑ หยดแก่เรามาพร้อมคณะพรหมเทพเทวราชคืออะไร?}

    กาลกำหนด, กำหนดอายุของโลก, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาล ประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่ง คืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่า เปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วนกว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของมนุษย์หรือสัตว์จำพวกนั้นๆ ในยุค นั้นๆ เรียกเต็มว่า "อายุกัป" เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี

    ที่กล่าวข้างต้นนั้น เป็นข้อควรรู้ที่พอแก่ความเข้าใจทั่วไป หากต้องการทราบละเอียด พึงศึกษาคติโบราณดังนี้

    กัปมี ๔ อย่าง ได้แก่
    ๑. มหากัป กัปใหญ่ คือ กำหนดอายุของโลก อันหมายถึงสกลพิภพ
    ๒. อสงไขยกัป กัปอันนับเวลามิได้ คือส่วนย่อย ๔ แห่งมหากัป ได้แก่

    ๑) สังวัฏฏกัป (เรียกเต็มว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป) กัปเสื่อม คือ ระยะกาลที่โลกเสื่อมลงจนถึงวินาศ

    ๒) สังวัฏฏฐายีกัป (สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป) ระยะกาลที่โลกพินาศแล้วทรงอยู่

    ๓) วิวัฏฏกีป (วิวัฏฏอสงไขยกัป) กัปเจริญ คือ ระยะกาลที่โลกกลับเจริญขึ้น

    ๔) วิวัฏฏฐายีกัป (วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป) ระยะกาลที่โลกเจริญแล้วทรงอยู่

    ครบรอบ ๔ อสงไขยกัปนี้ เป็นมหากัปหนึ่ง
    ๓. อันตรกัป กัปในระหว่าง ได้แก่ระยะกาลที่มนุษย์เสื่อมจนส่วนใหญ่พินาศแล้ว ส่วนที่เหลือดีขึ้นจริญขึ้นและมีอายุยืนยาวขึ้นตนถึงอสงไขย แล้วกลับเสื่อมทรามลง อายุสั้งลงๆ จนเหลือเพียงสิบปีแล้วพินาศ ครบรอบนี้เป็นอันตรกัปหนึ่ง ๖๔ อันตรกัปเช่นนั้นเป็น ๑ อสงไขยกัป
    ๔. อายุกัป กำหนดอายุของสัตว์จำพวกนั้นๆ เช่น อายุกัปของมหาพรหมเท่ากับ ๑ อสงไขยกัป

    โดยทั่วไป คำว่า "กัป" ที่มาโดดๆ มักหมายถึงมหากัป แต่หลายแห่งหมายถึงอายุกัป เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระองค์ได้ทรงเจริญอิทธิบาท ๔ เป็นอย่างดีแล้ว หากทรงจำนง จะทรงพระชนม์อยู่ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัปก็ได้ "กัป" ในที่นี้ หมายถุงอายุกัป คือจะทรงพระชนม์อยู่จนครบกำหนดอายุของคนในยุคนั้นเต็มบริบูรณ์ คือเต็ม ๑๐๐ ปี หรือเกินกว่านั้น ก็ได้

    ตามคติที่บางคัมภีร์ประมวลมาบันทึกไว้ พึงทราบว่า ตลอดมหากัปนั้นพระพุทธเจ้าจะอุบัติเฉพาะแต่ในวิวัฏฏฐายีกัป คือในระยะกาลที่โลกกลับเจริญขึ้น และกำลังทรงอยู่ เท่านั้น และกัปเมื่อจำแนกตามการอุบัติของพระพุทธเจามี ๒ อย่าง ได้แก่
    ๑. สุญกัป กัปสูญ หรือกัปว่างเปล่า คือกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ (รวมทั้งไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธสาวกและพระเจ้าจักรพรรดิธรรมราชาด้วย)
    ๒. อสุญกัป กัปไม่สูญ หรือกัปไม่ว่างเปล่า คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ แยกย่อยเป็น ๕ ประเภท ได้แก่

    ๑) สารกัป (กัปที่มีสารขึ้นมาได้โดยมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ) คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติพระองค์เดียว

    ๒) มัณฑกัป (กัปเยี่ยมยอด) คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๒ พระองค์

    ๓) วรกัป (กัปประเสริฐ) คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๓ พระองค์

    ๔) สารมัณฑกัป (กัปที่มีสาระเยี่ยมยอดยิ่งกว่ากัปก่อน) คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๔ พระองค์

    ๕) ภัทกัป (ภัททกัป หรือภัทรกัปก็ได้, กัปเจริญ หรือกัปที่ดีแท้) คือ กัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๕ พระองค์

    กัปปัจจุบัน เป็นภัทกัป มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๕ พระองค์ คือพระกกุสันธะพระโกนาคมน์ พระกัสสปะ พระโคตมะ ที่อุบัติแลว และพระเมตไตรย์ที่จะอุบัติต่อไป

    ในศาสนาฮินดู ถือว่า ๑ กัป (รูปสันสกฤตเป็น กัลป์) อันเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม (กลางวันเป็นอุทัยกัปคือกัปรุ่ง, กลางคืนเป็นขัยกัป คือกัปมลาย) ตั้งแต่โลกเริมต้นใหม่จนประลัยไปรอบหนึ่งนั้น มี ๒,๐๐๐ มหายุค แต่ละมหายุคยาว ๔,๓๒๐,๐๐๐ ปี โดยแบ่งเป็น ๔ ยุค (จตุยุค, จตุรยัค) เริ่มจากระยะกาลที่มนุษย์มีศีลธรรมและร่างกายสมบูรณ์งดงาม แล้วเสื่อมทรามลง และช่วงเวลาของยุคก็สั้นเข้าตามลำดับ คือ
    ๑. กฤตยุค ยัคที่โลกอันพระพรหมสร้างเสร็จแล้ว มีความดีงามสมบูรณ์อยู่ดังลูกเต๋าด้าน "กฤต" ที่มี ๔ แต้ม เป็นยุคดีเลิศ ๑,๗๒๘,๐๐๐ ปี (สัตยยุค คือยุคแห่งสัจจะ ก็เรียก; ไทยเรียก กฤดายุค)
    ๒. เตรตายุค ยุคที่มีความดีงามถอยลงมา ดังลูกเต๋าด้าน "เตรตา" ที่มี ๓ แต้ม ยังเป็นยุคที่ดี ๑,๒๙๖,๐๐๐ ปี (ไทยเรียกไตรดายุค)
    ๓. ทวาปรยุค ยุคที่ความดีงามเสื่อมทรามลงไปอีก ดังลูกเต๋าด้าน "ทวาปร" ที่มี ๒ แต้ม เป็นยุคที่มีความดีพอทรงตัวได้ ๘๖๔,๐๐ ปี (ไทยเรียก ทวาบรยุค)
    ๔. กลียุค ยุคที่เสื่อมทรามถึงที่สุด ดังลูกเต๋าด้าน "กลิ" ที่มีเพียงแต้มเดียว เป็นยุคแห่งความเลวร้าย ๔๓๒,๐๐๐ ปี

    139D483B-0FA5-41EF-8C78-5AFB015C09DC.png

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24

    โปรดวิสัชนายิ่งขึ้นไปอีก!! ตอนนั้นแหละ! การเพ่งวิมุตติตามจิตที่เข้าสู่กระแสธรรม ไล่ไปจนถึงวิมุตติญานทัสสนะและแปลงเป็นนิรุตติญานทัสสนะกถา ระดับอณูธาตุ (พระอรหันต์สาวกบารมีญาน)+{ เหล่าปฎิสัมภิทาญาน}

    #หากเข้าไม่ถึง วิมุตติ ๕ ย่อมไม่มีใคร สามารถวิสัชนาข้อนี้อย่างถูกต้องได้

    นี่ยังไม่รวมตอน อัญเชิญ พระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิมทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม พระธรรมราชา จะมีสังคีตอันเป็นทิพย์ประโคมตลอดในโลกทิพย์อันเป็นสูญญตาธรรม (สำหรับเหล่าปฎิสัมภิทา)
    EC23F386-E0B9-4FC0-A533-0EA8ABC2BAEF.jpeg
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงเป็นผู้เลิศในปฎิสัมภิทาอย่างนี้แลฯ



    บางคนบอก ลอกตำรามาสอน! ไปหามาดูหน่อย! ในสหโลกธาตุนี้ เอาแบบที่เราบอกเป๊ะๆ เลยนะ! เหมือนในกระทู้นี้และในกระทู้ สร้างพุทธวจนะปลอม ทำฌานไปด้วย นั่งสมาธิไปด้วย นี่ก็ 7 วันแล้ว! ไม่ใช่มานั่งโพสต์สุ่มสี่สุ่มห้า เล่นๆ

    และอีกอย่างนะ จะมีแต่ผู้ที่มีจิตใจที่บริสุทธิ์เท่านั้นที่เข้าใจ เข้าถึงในสิ่งที่เราแสดง ปุถุชนว่ายากสอนยาก จิตใจโสมม ไม่มีทางเข้าใจเข้าถึงแน่นอน!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24




    เพื่อที่จะประกาศคุณของ ปฎิสัมภิทาญาน

    หัวข้อธรรมและสภาวะธรรมการปุจฉาและวิสัชนานาธรรมทั้งปวงที่เราแสดงมาทั้งหมดเป็นระยะเวลา ๑๐ ปี ล้วนได้สภาวะมาจาก อภยปริตร เพียงบทเดียวเท่านั้น!

    ยังมีอีกเยอะ! คงไม่ต้องบอก! ว่ามากมายเพียงไร? ถ้าเข้าถึงได้

    จากการ อัญเชิญพระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บท ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม พระสัทธรรมราชา โดย ปฎิสัมภิทาญาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    ตอนเป็นพระดาบสไปแล้วไม่รับอาหารที่มาจากเลือดและเนื้อของสัตว์นะ เพราะต้องอยู่ป่าช้า ป่าชัฎ วัดร้าง ผู้แสวงหาแดนเกิดเยอะ! หากินเองได้ ซื้อแจกชาวบ้านด้วย ^_^
    “ผู้พิจารณาแล้วฉันไม่บาป” แต่จะไม่สะดวก!!



    อยากไปมาก ทุกๆวันนี้ก็แผ่กุศลไปที่นั่นอยู่ อยากอยู่สักระยะ กว่าจะลากเกวียนถึง! กางแผนที่สนุกทั่วไทย ไม่มีใครเอาก็จะไปลาว พม่า อินเดีย ฯลฯ ตายไกลๆก็ดี

    { เมื่อเราหรือท่านทั้งหลายปฎิบัติธรรม ตัวท่าน ตัวกูของกู มันก็ไม่มีอยู่ มีแต่ ธรรมที่อาศัยสังขารอันเน่าเปื่อยผุผังอยู่นี้ ดำเนินไป}
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2023
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    บุษบก

    มาจากภาษาอะไร

    อ่านว่า บุด-สะ-บก

    บุษบก” เป็นรูปคำสันสกฤต ถ้าเทียบเป็นบาลีก็ตรงกับคำว่า “ปุปฺผก” รากศัพท์มาจาก ปุปฺผ +

    (๑) “ปุปฺผ” (ปุบ-ผะ) รากศัพท์มาจาก ปุปฺผฺ (ธาตุ = แย้ม, บาน) + ปัจจัย

    : ปุปฺผ + = ปุปฺผ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่แย้มบาน” (2) “สิ่งที่เบ่งบานเหมือนดอกไม้”

    ปุปฺผ” ที่แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่แย้มบาน” หมายถึง ดอกไม้ (a flower) เป็นความหมายทั่วไป

    ปุปฺผ” ที่แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบ่งบานเหมือนดอกไม้” หมายถึง เลือด (blood) เป็นความหมายเฉพาะในบางแห่ง โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงระดูของสตรี (the menses)

    (๒) ปุปฺผ + (กะ)

    ” อ่านว่า กะ (ไม่ใช่ กอ) คำเต็มเรียกกันว่า “ สกรรถ” (อ่านว่า กะ สะ-กัด) หมายถึงลง ปัจจัย แต่คงมีความหมายเท่าเดิม แต่บางคำอาจเสริมความหมายขึ้นอีกเล็กน้อยว่า “มี-” หรือ “เกี่ยวกับ-”

    ในที่นี้ ปุปฺผ + = ปุปฺผก(ปุบ-ผะ-กะ) แปลว่า “ดอกไม้” (เท่าคำเดิม) บางทีมีความหมายเสริมขึ้นว่า “มีดอกไม้” หรือ “เกี่ยวกับดอกไม้”

    ความหมาย :

    (ก) “ปุปฺผก” บางแห่งแปลว่า “ผู้มีดอกไม้” หมายถึงสตรีที่อยู่ในช่วงเวลามีระดู

    (ข) ในอรรถกถาชาดก (สัตติคุมพชาดก วีสตินิบาต ชาตกัฏฐกถา ภาค 7 หน้า 78-88) เล่าเรื่องลูกนกแขกเต้าพี่น้อง 2 ตัว ตัวหนึ่งลมพัดไปตกที่กองหอกของพวกโจร ได้ชื่อว่า “สัตติคุมพะ” แปลว่า “กองหอก” ตัวหนึ่งลมพัดไปตกที่กองดอกไม้ของพวกฤๅษี ได้ชื่อว่า “ปุปผกะ” แปลว่า “กองดอกไม้”

    ปุปผกะ” เขียนแบบบาลีเป็น “ปุปฺผก” ตรงกับรูปคำสันสกฤว่า “ปุษฺปก

    ถ้า “บุษบก” มาจากคำสันสกฤตว่า “ปุษฺปก” และตรงกับบาลีว่า “ปุปฺผก” “บุษบก” ก็ควรจะมีความหมายเกี่ยวกับ “กองดอกไม้” มากกว่าที่จะเกี่ยวกับ “สตรีมีระดู”

    อย่างไรก็ตาม สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ปุษฺปก” ไว้ดังนี้ –

    (สะกดตามต้นฉบับ)

    ปุษฺปก : (คำนาม) กากหรือตะกอนทองเหลือง, ‘ขี้ทองเหลือง’ ก็ใช้ตามมติไท; ยานของท้าวกุเวร; โรคตา; กำไลเพ็ชร์; ภาชนะเหล็ก, โลหภาชน์; เชิงกรานหรือเตาไฟอันย่อมๆ; กาสีส์, เกลือเหล็ก (อันกัดด้วยกรดกำมถัน); calx of bless; the chariot of Kuvera; a disease of the eyes; a bracelet of diamonds; an iron-cup; a small earthen fireplace; green vitriol or sulphate of iron.”

    มีความหมายเดียวที่เข้าเค้าที่สุด คือ “ยานของท้าวกุเวร” (the chariot of Kuvera)

    “ยาน” ในความหมายเช่นนี้ย่อมหมายถึงรถทรงของเทพ มีลักษณะเป็นปราสาทอยู่ในตัว เช่นเวชยันตราชรถของพระอินทร์ก็มีลักษณะเป็นปราสาทหรือมณฑป อันเป็นแบบของรถโบราณ (the chariot) ตรงกับลักษณะของ “บุษบก” ที่เข้าใจกันในภาษาไทย

    บุษบก” ในภาษาไทย ถ้าจะว่ามาจากสันสกฤตก็คงอ้างได้ด้วยความหมายนี้

    พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

    บุษบก : (คำนาม) มณฑปขนาดเล็กแต่ด้านข้างโปร่ง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุเช่นพระพุทธรูปเป็นต้น.”

    ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับแก้บทนิยามใหม่ เป็นดังนี้ –

    บุษบก : (คำนาม) เรือนยอดแบบหนึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน เป็นอย่างเรือนโกง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุเช่นพระพุทธรูปเป็นต้น.”



    ผู้เขียนบาลีวันละคำเข้าใจว่า คำนี้น่าจะเป็น “เรือนโถง” (โถง – ถ ถุง)

    คำว่า “โถง” (โถง – ถ ถุง) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

    โถง : (คำนาม) อาคารที่เปิดโล่ง ๓ หรือ ๔ ด้าน, พื้นที่ใช้สอยบางส่วนของอาคาร มีลักษณะโล่ง เช่น โถงทางเข้า ห้องโถง. (คำวิเศษณ์) ที่เปิดโล่ง มีฝาเพียงด้านเดียวหรือไม่มีฝา เช่น ศาลาโถง วิหารโถง ปราสาทโถง.”

    การควรจะเป็นประการใด ขอฝากเพื่อนไทยที่รักเมืองไทย รักภาษาไทย และรักความจำเริญทางภาษาอันเป็นวัฒนธรรมของชาติ โปรดช่วยกันพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการด้วย เทอญ

    …………..

    ดูก่อนภราดา!

    : บุษบกเปรียบเหมือนเป็นเรือนร่าง

    : บุญที่สร้างเหมือนพระพุทธพิสุทธิ์ศรี

    : เกิดเป็นคนแม้นไม่ทำซึ่งกรรมดี

    : ก็เหมือนมีแต่บุษบกที่รกร้าง

    • 70602397_2469410949819294_3378525196062294016_n.jpg
    70336100_2469411479819241_3867231769279332352_n.jpg

    # ยามสางใกล้รุ่งของวันนี้ พบ บุษบก ตั้งตระหง่านตระการตาอยู่ ณ สถานที่เฉพาะในที่แห่งนั้น บุษบกมีสีแดงเจือทองสลับกัน ในระยะมุมกว้าง พื้นรองรับ เป็นพื้นอวกาศที่มีสีดำ มีอาณาเขตเฉพาะ มี เสียงสวดมนต์ ของสตรีเพศ ดังไพเราะก้องกังวาล ไม่ใช่คาถาอย่างที่เราสวดหรือเคยได้ยินกัน เป็นเสียงสตรี นางฟ้านางอัปสรสวรรค์นางใดก็มิอาจทราบได้ แต่สามารถระบุได้ว่า เป็นเสียงสตรีที่มีความไพเราะที่สุด ไม่เคยได้ยินมาก่อนที่ไหนเลยในชาตินี้ ระบุโดยนัยที่ทราบ สวดถวาย พระศรีอาร์ย ปรารถนาอัญเชิญให้ทรงโปรดเวไนยสัตว์ ในสหโลกธาตุฯ

    # ปัจจุบัน เราได้ย่ำยี ขันธ์ รูปที่คิดว่าสวยงามของกายมนุษย์ ตามพระสุคตทรงสั่งสอนฯ
    #ย่อมเป็นเหตุ ให้ได้พบ ได้เข้าถึง รูปภพที่สูงกว่า ละเอียดกว่า
    ###
    ไม่เคยปรากฎมาก่อนในชาติ เห็นที จะต้องค้นหาและไขความพระสูตรที่มีความเกี่ยวข้องกับ บุษบก
    (อย่าได้ปรากฎความสูญเสียบุคคลใน ๗ ราตรีเลย)




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    #รักษาศีล วิปัสสนา ศึกษาพระสูตร ดำรงสภาวะ ฌานวันที่ 8
    เมื่อมีศีลก็ได้สภาวะแบบมีศีล เมื่อไม่มีศีลก็ได้สภาวะแบบไม่มีศีล เจตนาลดละเลิกก็เป็นศีลข้อหนึ่ง!



    มาไขความกันในข้อแรก ชาดก นี้


    อรรถกถา สัตติคุมพชาดกว่าด้วย พี่น้องก็ยังต่างใจกัน
    พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระคทายวิหาร ใกล้ถ้ำมัททกุจฉิ ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท มหาราช ดังนี้.
    ความย่อว่า เมื่อพระเทวทัตกลิ้งศิลา สะเก็ดแตกมากระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็เกิดทุกขเวทนาเป็นกำลัง ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมากมาประชุมกันเพื่อเฝ้าเยี่ยมพระตถาคตเจ้า
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นพุทธบริษัทมาประชุมกันแล้ว มีพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เสนาสนะนี้คับแคบนัก จักมีการประชุมใหญ่ พวกเธอจงนำเราขึ้นคานหามไปที่ถ้ำมัททกุจฉิเถิด. ภิกษุทั้งหลายพากันกระทำตามพุทธดำรัส. หมอชีวกโกมารภัจได้จัดการรักษาพระบาทของพระตถาคตเจ้าให้ผาสุก.
    ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันในสำนักของพระศาสดาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัต แม้ตนเองก็ลามก แม้บริษัทของเธอก็ลามก พระเทวทัตนั้นเป็นคนลามก มีบริวารลามกอยู่อย่างนี้.
    พระศาสดาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุมสนทนาอะไรกัน? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในชาติก่อน พระเทวทัตก็เป็นคนลามก มีบริวารลามกเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้
    ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า ปัญจาละ เสวยราชสมบัติอยู่ในอุตตรปัญจาลนคร
    กาลนั้น พระมหาสัตว์บังเกิดเป็นลูกพญานกแขกเต้าตัวหนึ่ง สองตัวพี่น้องอยู่ที่สิมพลีวันใกล้สานุบรรพตแห่งหนึ่งในแนวป่า. ก็ในด้านเหนือของภูเขาลูกนั้น มีบ้านโจรเป็นที่อยู่อาศัยของโจร ๕๐๐ ในด้านใต้เป็นอาศรมสถานที่อยู่ของหมู่ฤาษี ๕๐๐ ตน.
    ในกาลเมื่อสุวโปดกสองพี่น้องนั้นกำลังสอนบิน บังเกิดลมหัวด้วนขึ้น สุวโปดกตัวหนึ่งถูกลมพัดไปตกระหว่างอาวุธของพวกโจรในโจรคาม เพราะสุวโปดกตกลงในระหว่างกองอาวุธ พวกโจรจับได้จึงตั้งชื่อว่า สัตติคุมพะ.
    ส่วนสุวโปดกตัวหนึ่งลมพัดไปตกระหว่างกองดอกไม้ที่เนินทรายใกล้อาศรมพระฤาษี เพราะสุวโปดกนั้นตกลงในระหว่างกองดอกไม้ พระฤาษีทั้งหลายจึงพากันตั้งชื่อนกนั้นว่า ปุปฺผกะ.
    สัตติคุมพสุวโปดกเจริญเติบโตในระหว่างพวกโจร บุปผกสุวโปดกเจริญเติบโตในระหว่างพระฤาษีทั้งหลาย.
    อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าปัญจาลราชประดับตกแต่งองค์ด้วยเครื่องสรรพาลังการ เสด็จทรงรถพระที่นั่งอันประเสริฐ เสด็จสู่ชายป่าอันเป็นรมณียสถานมีดอกไม้ผลไม้ผลิดอกออกผลงามดี ณ ที่ใกล้พระนคร โดยทรงประสงค์จะล่ามฤค พร้อมด้วยบริวารเป็นจำนวนมาก แล้วทรงประกาศว่า มฤคหนีออกได้โดยด้านหน้าที่ของผู้ใด อาชญาจะพึงมีแก่ผู้นั้น แล้วเสด็จลงจากราชรถ ทรงธนูศรประทับยืนซ่อนพระองค์อยู่ในซุ้มที่ราชบุรุษจัดทำถวาย.
    เมื่อพวกราชบุรุษพากันตีเคาะที่ละเมาะพุ่มไม้ เพื่อที่จะให้มฤคทั้งหลายลุกขึ้น เนื้อทรายตัวหนึ่งลุกขึ้น แลดูทางที่จะไป เห็นสถานที่ด้านพระราชาประทับยืนอยู่สงัดเงียบ จึงบ่ายหน้าตรงทิศนั้นเผ่นหนีไป. อำมาตย์ทั้งหลายร้องถามกันว่า มฤคหนีไปทางด้านหน้าที่ของใคร รู้ว่าทางด้านหน้าที่ของพระราชาแล้วพากันทำการยิ้มเยาะพระราชา.
    พระเจ้าปัญจาลราชทรงกลั้นการเย้ยหยันของเหล่าอำมาตย์ไม่ได้ ด้วยอัสมิมานะ เสด็จขึ้นสู่รถพระที่นั่งตรัสสั่งว่า เราจักจับมฤคนั้นให้ได้เดี๋ยวนี้ แล้วตรัสสั่งบังคับนายสารถีว่า จงขับรถไปโดยเร็ว เสด็จไปตามทางที่มฤคหนีไป. ราชบริษัทไม่สามารถจะติดตามรถพระที่นั่งซึ่งกำลังวิ่งไปโดยเร็วได้
    พระราชาสองคนกับนายสารถีเสด็จไปจนถึงเวลาเที่ยงวัน ไม่พบเนื้อจึงเสด็จกลับมา ทอดพระเนตรเห็นลำธารอันเป็นรมณียสถานใกล้โจรคามนั้น แล้วเสด็จลงจากราชรถทรงเสวยแล้วเสด็จขึ้น. ลำดับนั้น นายสารถีจึงเลิกเครื่องปูรถ แต่งให้เป็นที่บรรทมที่ภายใต้ร่มไม้. พระราชาทรงบรรทม ณ ที่นั้น ฝ่ายนายสารถีก็นั่งถวายงานนวดพระบาทยุคลของพระราชาอยู่. พระราชาทรงบรรทมหลับๆ ตื่นๆ ในระยะติดๆ กัน.
    ฝ่ายพวกโจรชาวโจรคามเข้าป่าเพื่อถวายอารักขาพระราชากันหมด.
    โจรคามวาสิโน โจราปิ รญฺโญ อารกฺขณตฺถาย อรญฺญเมว ปวิสึสุ ฯ.
    ในโคจรคามจึงเหลืออยู่แต่สัตติคุมพสุวโปดก กับบุรุษพ่อครัวชื่อปติโกลุมพะ สองคนเท่านั้น. ขณะนั้น สัตติคุมพสุวโปดกบินออกจากบ้านไปเห็นพระราชา จึงคิดว่า เราจักฆ่าพระราชาผู้กำลังหลับนี้เสีย เก็บเอาเครื่องประดับไปเสีย แล้วบินกลับไปยังสำนักของนายปติโกลุมพะ แจ้งเหตุนั้นให้ทราบ.
    พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๕ คาถาความว่า
    พระมหาราชาผู้เป็นจอมแห่งชนชาวปัญจาลรัฐ เป็นดุจนายพรานเนื้อ เสด็จออกมาสู่ป่าพร้อมด้วยเสนา พลัดจากหมู่เสนาไป.
    ท้าวเธอได้ทอดพระเนตรเห็นกระท่อมที่เขาทำไว้เป็นที่อาศัยของโจรทั้งหลายในป่านั้น สุวโปดกออกจากกระท่อมนั้นไปแล้ว กลับมาพูดแข็งขันกับพ่อครัวว่า มีบุรุษหนุ่มน้อย มีรถม้าเป็นพาหนะ มีกุณฑลเกลี้ยงเกลาดี มีกรอบหน้าแดง งดงามเหมือนพระอาทิตย์ ส่องแสงสว่างในกลางวัน ฉะนั้น.
    เมื่อถึงเที่ยงวัน พระราชากำลังบรรทมหลับพร้อมกับนายสารถี (สุวโปดกป่าวร้องว่า) เอาซิพวกเรา จงรีบไปชิงเอาทรัพย์ทั้งหมดของท้าวเธอเสีย เวลานี้ก็เงียบสงัดดุจกลางคืน พระราชากำลังบรรทมหลับพร้อมกับนายสารถี พวกเราจงไปแย่งเอาผ้าและกุณฑลแก้วมณี แล้วฆ่าเสียเอากิ่งไม้กลบไว้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคลุทฺโท ความว่า พระเจ้าปัญจาลราชมีพระอาการดุจนายพรานเนื้อ เพราะทรงแสวงหาเนื้อเหมือนนายพราน. บทว่า โอคโณ ความว่า ทรงล้าหลัง พลัดไปจากหมู่เสนา.
    บทว่า ตกฺการานํ กุฏีกตํ ความว่า พระราชานั้นได้ทอดพระเนตรเห็นหมู่บ้าน ซึ่งเขาทำไว้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกโจรในป่านั้น. บทว่า ตสฺส ความว่า ออกจากกระท่อมของโจรนั้น. บทว่า ลุทฺทานิ ภาสติ ความว่า นกสุวโปดกกล่าวถ้อยคำหยาบคายกับพ่อครัวชื่อปติโกลุมพะนั้น.
    บทว่า สมฺปนฺนวาหโน แปลว่า มีม้าเป็นพาหนะอันสมบูรณ์.
    บทว่า โลหิตุณฺหีโส ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยกรอบหน้าอันแดง งดงาม. บทว่า สมฺปติเก ได้แก่ บัดเดี๋ยวนี้ คือบัดนี้ ได้แก่ ในเวลาที่พระอาทิตย์ตั้งอยู่ในท่ามกลาง. บทว่า สหสา ความว่า สุวโปดกกล่าวว่า พวกเรามาช่วยกันทำอาการข่มขู่ แย่งชิงเอาโดยเร็วพลัน.
    บทว่า นิสฺสิเวปิ รโหทานิ ความว่า แม้บัดนี้เป็นที่ลับเหมือนค่ำคืน คือ นกสุวโปดกกล่าวคำนี้ว่า ในเวลาค่ำคืน คือในสมัยกึ่งรัตติกาล มนุษย์ทั้งหลายเล่นหัวอยู่ย่อมพากันนอน ย่อมชื่อว่าเป็นที่ลับได้ฉันใด บัดนี้ คือในเวลาที่พระอาทิตย์ตั้งอยู่ในท่ามกลางเห็นปานนี้ ย่อมเป็นฉันนั้นเหมือนกัน.
    บทว่า หนฺตฺวาน ความว่า ครั้นพวกเราปลงพระชนม์พระราชา ถือเอาผ้าผ่อนอาภรณ์พรรณแล้ว แต่นั้นจึงฉุดพระบาทท้าวเธอลากมา เอากิ่งไม้ปิดบังหมกไว้ในที่ส่วนข้างหนึ่ง.

    สัตติคุมพสุวโปดกนั้น ครั้นบินออกไปโดยเร็วครั้งหนึ่ง แล้วก็บินกลับไปยังสำนักของนายปติโกลุมพะ อีกครั้งหนึ่งด้วยประการฉะนี้. พ่อครัวปติโกลุมพะได้ฟังถ้อยคำของสุวโปดกนั้นแล้ว จึงออกไปดูรู้ว่าเป็นพระราชาแล้ว ก็สะดุ้งตกใจกลัว
    กล่าวคาถา ความว่า
    ดูก่อนสุวโปดกสัตติคุมพะ เจ้าเป็นบ้าไปกระมังจึงได้พูดอย่างนั้น เพราะว่า พระราชาทั้งหลายถึงจะเสด็จมาแต่ไกล ก็ย่อมทรงเดชานุภาพเหมือนดังไฟสว่างไสว ฉะนั้น.

    ลำดับนั้น สุวโปดกได้กล่าวตอบพ่อครัวปติโกลุมพะ โดยวจนประพันธ์คาถา ความว่า
    ดูก่อนปติโกลุมพะ ท่านเมาแล้วย่อมเก่งกาจมากมิใช่หรือ เมื่อมารดาของเราเปลือยกายอยู่ ไยท่านจึงเกลียดการโจรกรรมเล่า.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถ ตฺวํ มีความเท่ากับ นนุ ตฺวํ.
    บทว่า มตฺโต ความว่า เมื่อก่อนท่านได้ดื่มสุราเหลือเดนของพวกโจรเมาแล้ว ย่อมเก่งกาจคุกคามมากมิใช่หรือ? สุวโปดกกล่าว.
    บทว่า ภรรยา หมายเอาภรรยาหัวหน้าโจร. ได้ยินว่า ครั้งนั้นภรรยาหัวหน้าโจรนั้น นุ่งผ้ากรองด้วยกิ่งไม้เที่ยวอยู่.
    บทว่า วิชิคุจฺฉเส ความว่า เมื่อมารดาของเราเปลือยกายอยู่ บัดนี้ไยท่านจึงรังเกียจการโจรกรรม คือไม่อยากทำโจรกรรมเล่า.

    พระเจ้าปัญจาลราชทรงตื่นพระบรรทมได้ทรงสดับคำของสุวโปดกกล่าวกับพ่อครัวโดยภาษามนุษย์ ทรงดำริว่าสถานที่นี้มีภัยเฉพาะหน้า เมื่อจะทรงปลุกนายสารถีให้ลุกขึ้น จึงตรัสพระคาถา ความว่า
    ดูก่อนนายสารถีเพื่อนยาก จงลุกขึ้นเทียมรถ เราไม่ชอบใจนก เราจงไปอาศรมอื่นกันเถิด.

    ฝ่ายนายสารถีก็ลุกขึ้นโดยด่วน เทียมราชรถแล้ว กล่าวคาถากราบทูลว่า
    ข้าแต่มหาราชเจ้า ราชรถได้เทียมแล้ว และม้าราชพาหนะมีกำลังก็ได้จัดเทียมแล้ว เชิญพระองค์เสด็จขึ้นประทับเถิด จะได้เสด็จไปยังอาศรมอื่นพระเจ้าข้า.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลวาหโน ได้แก่พาหนะที่มีกำลัง คือม้าที่สมบูรณ์ด้วยกำลังมาก.

    เมื่อพระเจ้าปัญจาลราชเสด็จขึ้นประทับบนราชรถเท่านั้น ม้าสินธพทั้งคู่ก็วิ่งไปโดยเร็วดังลมพัด. สัตติคุมพสุวโปดกเห็นราชรถกำลังวิ่งไปถึงความเคียดแค้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
    พวกโจรในอาศรมนี้พากันไปเสียที่ไหนหมดเล่า พระเจ้าปัญจาลราชนั้นหลุดพ้นไปได้ เพราะพวกโจรเหล่านั้นไม่เห็น ท่านทั้งหลายจงจับเกาทัณฑ์ หอกและโตมร พระเจ้าปัญจาลราชกำลังหนีไป ท่านทั้งหลายอย่าได้ปล่อยให้มีชีวิตอยู่ได้เลย.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกนุเม เท่ากับ กุหึ นุ อิเม แปลว่า โจรในอาศรมนี้ไปไหนเสียหมดเล่าหนอ. บทว่า อสฺมึ ความว่า ในอาศรมนี้. บทว่า ปริจาริกา ได้แก่ โจรทั้งหลาย.
    บทว่า อทสฺสนา ความว่า พระเจ้าปัญจาลราชหนีพ้นไปได้ เพราะพวกโจรเหล่านั้นไม่ได้เห็น. บทว่า เอส คจฺฉติ ความว่า พระเจ้าปัญจาลราชหนีรอดเงื้อมมือพวกโจรเหล่านี้ เสด็จไปได้ เพราะไม่เห็น.
    บทว่า ชีวิตํ ความว่า เมื่อพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ อย่าได้ปล่อยไปเสีย ทุกคนจงจับอาวุธ วิ่งตามไปจับพระราชาให้ได้.

    เมื่อสัตติคุมพสุวโปดกนั้นร้องพลางบินตามพระราชาไปอยู่อย่างนี้ พระราชาก็เสด็จถึงอาศรมของฤาษีทั้งหลาย ขณะนั้นหมู่ฤาษีไปแสวงหาผลาผล มีปุปผกสุวโปดกตัวเดียวเท่านั้นอยู่ในอาศรม. มันเห็นพระราชาแล้ว บินออกมารับเสด็จ ได้ทำการปฏิสันถาร.
    พระบรมศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น ได้ตรัสพระคาถา ๔ คาถาความว่า
    ขณะนั้น ปุปผกสุวโปดก ตัวมีจะงอยปากแดงงาม ยินดีต้อนรับพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง พระองค์มิได้เสด็จมาร้าย พระองค์ผู้ทรงอิสรภาพ เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ ของสิ่งใดมีอยู่ในอาศรมนี้ ขอพระองค์ทรงเลือกเสวยของสิ่งนั้น
    ผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง ผลหมากเม่า อันเป็นผลไม้มีรสหวานเล็กน้อย ขอพระองค์จงเลือกเสวยแต่ที่ดีๆ ข้าแต่พระมหาราชา น้ำนี้เย็นนำมาแต่ซอกภูเขา ขอเชิญพระองค์ทรงดื่มถ้าทรงปรารถนา
    ฤาษีทั้งหลายในอาศรมนี้พากันไปป่าเพื่อแสวงหาผลาผล เชิญพระองค์เสด็จลุกขึ้นไปทรงเลือกหยิบเอาเองเถิด เพราะข้าพระองค์ไม่มีมือจะทูลถวายได้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏินนฺทิตฺถ ความว่า พอเห็นพระราชาแล้ว ก็ชื่นชมยินดี.
    บทว่า โลหิตตุณฺฑโก แปลว่า มีจะงอยปากแดง คือถึงส่วนแห่งความงาม. บทว่า มธุเก ได้แก่ ผลาผลที่มีรสหวาน.
    บทว่า กาสมาริโย ความว่า ขอพระองค์โปรดเสวยผลมะพลับ ผลมะหาด ผลมะซาง และผลหมากเม่า ซึ่งมีชื่ออย่างนี้ๆ. บทว่า ตโต ปิว ความว่า โปรดทรงดื่มน้ำ จากโรงน้ำดื่มนั้นเถิด.
    บทว่า เย อสฺมึ ปริจาริกา ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระฤาษี เหล่าใดเที่ยวไปอยู่ในอาศรมนี้ พระฤาษีเหล่านั้นไปสู่ป่าเพื่อแสวงหาผลาผล. บทว่า คณฺหวโห ความว่า พระองค์โปรดหยิบเอาผลาผลน้อยใหญ่. บทว่า ทาตเว แปลว่า เพื่อจัดถวาย.

    พระราชาทรงเลื่อมใสในการปฏิสันถารของปุปผกสุวโปดก
    เมื่อจะทรงทำการชมเชย จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถา ความว่า
    นกแขกเต้าตัวนี้เจริญดีหนอ ประกอบด้วยคุณธรรมอย่างยิ่ง ส่วนนกแขกเต้าตัวโน้นพูดคำหยาบคายว่า จงจับมัดพระราชานี้ฆ่าเสียอย่าให้รอดชีวิตไปได้เลย เมื่อนกแขกเต้าตัวนั้นรำพันเพ้ออยู่อย่างนี้ เราได้มาถึงอาศรมนี้โดยสวัสดี.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตโร ได้แก่ นกแขกเต้าในบ้านโจร.
    บทว่า อิจฺเจวํ ความว่า ส่วนเรา เมื่อนกแขกเต้าตัวนั้นเพ้อรำพันอยู่อย่างนี้ มาถึงอาศรมนี้แล้ว โดยสวัสดี.

    ปุปผกสุวโปดกฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
    ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ได้เจริญเติบโตที่ต้นไม้เดียวกัน แต่ต่างพลัดกันไปอยู่คนละเขตแดน สัตติคุมพะเจริญอยู่ในสำนักของพวกโจร ส่วนข้าพระองค์เจริญอยู่ในสำนักของฤาษีในอาศรมนี้ สัตติคุมพะนั้นเข้าอยู่ในสำนักของอสัตบุรุษ ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของสัตบุรุษ ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งสองจึงต่างกันโดยธรรม.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาตโรสฺมา ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า สัตติคุมพะนั้นกับข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองเป็นพี่น้องกัน. บทว่า โจรานํ ความว่า สัตติคุมพะนั้นเจริญในสำนักพวกโจร ข้าพระพุทธเจ้าเจริญในสำนักพวกฤาษี. บทว่า อสตํ โส สตํ อหํ ความว่า สัตติคุมพะเข้าอยู่สำนักอสัตบุรุษผู้ทุศีล ข้าพระพุทธเจ้าเข้าอยู่สำนักสัตบุรุษผู้มีศีล.
    บทว่า เตน ธมฺเมน โน วินา ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โจรทั้งหลายแนะนำสั่งสอนสัตติคุมพะนั้นด้วยธรรมของโจร และกิริยาโจร พระฤาษีทั้งหลายแนะนำสั่งสอนข้าพระพุทธเจ้าด้วยธรรมของฤาษี และอาจาระมรรยาทของฤาษี เพราะเหตุนั้น แม้สัตติคุมพะนั้นจึงแตกต่างจากข้าพระพุทธเจ้าโดยโจรธรรมนั้น ส่วนข้าพระพุทธเจ้าก็แตกต่างจากเขาโดยอิสิธรรม.

    บัดนี้ ปุปผกสุวโปดก เมื่อจะจำแนกธรรมนั้น จึงกล่าวคาถา ๒ คาถาความว่า
    การฆ่าก็ดี การจองจำก็ดี การหลอกลวงด้วยของปลอมก็ดี การหลอกลวงด้วยอาการตรงๆ ก็ดี การปล้นฆ่าชาวบ้านก็ดี การกระทำกรรมอันแสนสาหัสก็ดี มีอยู่ในที่ใด สัตติคุมพะนั้นย่อมศึกษาสิ่งเหล่านั้นในที่นั้น
    ข้าแต่พระองค์ผู้ภารตวงศ์ ในอาศรมของฤาษีนี้มีแต่สัจจธรรม ความไม่เบียดเบียน ความสำรวมและความฝึกอินทรีย์ ข้าพระองค์เป็นผู้เจริญแล้วบนตักของฤาษีทั้งหลายผู้มีปกติให้อาสนะและน้ำ.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกตี ได้แก่ การหลอกลวงด้วยของปลอม.
    บทว่า วญฺจนานิ ได้แก่ การหลอกลวงกันตรงๆ (ซึ่งๆ หน้า).
    บทว่า อาโลปา ได้แก่ การปล้นฆ่าชาวบ้านในเวลากลางวัน.
    บทว่า สหสาการา ได้แก่ การเข้าไปสู่เรือนแล้วจับเจ้าทรัพย์ ทำให้บอบช้ำแสนสาหัส โดยคุกคามขู่เข็ญด้วยความตาย.
    บทว่า สจฺจํ ได้แก่ สภาวธรรม. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สุจริตธรรม.
    บทว่า อหึสา ได้แก่ ความไม่เบียดเบียน มีเมตตาธรรมเป็นบุรพภาค.
    บทว่า สํยโม ได้แก่ ความสำรวมระวังในศีล. บทว่า ทโมได้แก่ การทรมานอินทรีย์.
    บทว่า อาสนูทกทายีนํ ความว่า แห่งพระฤาษีทั้งหลายผู้มีปกติ ให้อาสนะและอุทกวารีแก่ชนทั้งหลายผู้มาถึงเฉพาะหน้า. ปุปผกสุวโปดกเรียกพระราชาว่า "ภารตา".

    บัดนี้ เมื่อปุปผกสุวโปดก จะแสดงธรรมแก่พระราชาสืบไป ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ความว่า
    ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนใดๆ เป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ มีศีล หรือไม่มีศีล บุคคลนั้นย่อมไปสู่อำนาจของบุคคลนั้นนั่นแล
    บุคคลคบคนเช่นใดเป็นมิตร หรือเข้าไปซ่องเสพคนเช่นใด ก็ย่อมเป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น
    อาจารย์คบอันเตวาสิกย่อมทำอันเตวาสิกผู้ยังไม่แปดเปื้อนให้แปดเปื้อนได้
    อาจารย์ถูกอันเตวาสิกพาแปดเปื้อนแล้วย่อมพาอาจารย์อื่นให้เปื้อนอีก
    เหมือนลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรให้เปื้อน ฉะนั้น
    นักปราชญ์ไม่พึงมีสหายลามกเลยทีเดียว เพราะกลัวแต่การแปดเปื้อนด้วยบาปธรรม นรชนใดห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้ใบหญ้าคาของนรชนนั้นก็ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไปฉันใด การเข้าไปเสพคนพาลก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    นรชนใดห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของนรชนนั้นก็ย่อมหอมฟุ้งไปฉันใด การเข้าไปเสพนักปราชญ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความเปลี่ยนแปลงของตน ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่ควรเข้าไปเสพอสัตบุรุษ ควรเสพแต่สัตบุรุษ ด้วยว่า อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมพาให้ถึงสุคติ.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตํ วา ยทิ วา อสํ ความว่า จะเป็นสัตบุรุษ หรืออสัตบุรุษก็ตาม.
    บทว่า เสวมาโน เสวมานํ ความว่า เมื่ออาจารย์คบหาอันเตวาสิกย่อมทำอันเตวาสิกผู้ที่ตนคบ.
    บทว่า สมฺผุฏฺโฐ ความว่า อาจารย์ถูกอันเตวาสิกพาแปดเปื้อนแล้ว.
    บทว่า สมฺผุสํ ปรํ ความว่า อันเตวาสิกไปแตะต้องอาจารย์คนอื่นเข้า.
    บทว่า อลิตฺตํ ความว่า อาจารย์นั้นย่อมทำอันเตวาสิกนั้น ผู้ยังไม่แปดเปื้อนด้วยบาปธรรมให้แปดเปื้อนได้ เหมือนลูกศรที่เปื้อนยาพิษแล้วย่อมทำแล่งลูกศรที่เหลือให้แปดเปื้อนฉะนั้น.
    บทว่า เอวํ พาลูปเสวนา ความว่า แท้จริง ผู้ชอบคบหาคนพาล แม้จะไม่ได้กระทำความชั่วเลย ย่อมได้รับคำติเตียน และความเสื่อมเสียชื่อเสียง เหมือนห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้าคา (ย่อมมีกลิ่นเน่าฟุ้งไป) ฉะนั้น.
    บทว่า ธีรูปเสวนา ความว่า บุคคลผู้คบหาธีรชนก็ย่อมเป็นเหมือนใบไม้อันห่อคันธชาติ มีกฤษณาเป็นต้นฉะนั้น ถึงยังไม่อาจเป็นบัณฑิตได้ ก็ยังได้รับเกียรติคุณว่าคบกัลยาณมิตร.
    บทว่า ปตฺตปูฏสฺเสว ความว่า เหมือนดังใบไม้ที่ห่อของมีกลิ่นเหม็นและกลิ่นหอมฉะนั้น. บทว่า สมฺปากมตฺตโน ความว่า บัณฑิตรู้ความที่ญาณของตนแก่กล้า คือสุกงอมแล้วด้วยอำนาจการเกี่ยวข้องกับกัลยาณมิตร.
    บทว่า ปาเปนฺติ สุคตึ ความว่า ปุปผกสุวโปดกนั้นยังเทศนาให้ถึงอนุสนธิตามลำดับว่า สัตบุรุษคือสัมมาทิฏฐิบุคคลทั้งหลายย่อมยังหมู่สัตว์ที่อาศัยตน ให้ถึงสวรรค์อย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

    พระเจ้าปัญจาลราชทรงเลื่อมใสในธรรมกถาของปุปผกสุวโปดกนั้น.
    ฝ่ายหมู่พระฤาษีกลับมาจากป่า พระราชาทรงนมัสการพระฤาษีทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ เมื่อพระคุณเจ้าทั้งหลายจะอนุเคราะห์ข้าพเจ้า โปรดพากันไปอยู่ในสถานที่อยู่ของข้าพเจ้าเถิด ทรงรับปฏิญญาของฤาษีทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว เสด็จไปพระนคร ได้พระราชทานอภัยแก่สุวโปดกทั้งหลาย.
    ฝ่ายพวกฤาษีก็ได้พากันไปในพระนครนั้น พระราชาทรงนิมนต์หมู่พระฤาษีให้อยู่ในพระราชอุทยาน ทรงอุปัฏฐากบำรุงตลอดพระชนมายุแล้วเสด็จสู่สวรรคาลัย.
    ฝ่ายพระราชโอรสของท้าวเธอโปรดให้ยกเศวตฉัตรเสวยราชสมบัติสืบต่อมา ทรงปฏิบัติหมู่พระฤาษี เสมือนพระราชบิดา. ในราชสกุลต่อมานั้น ได้ยังทานให้เป็นไปแก่หมู่พระฤาษี ชั่วพระราชาเจ็ดพระองค์
    พระมหาสัตว์ เมื่ออยู่ในอรัญประเทศตามสมควรก็ไปตามยถากรรมของตน.

    พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในชาติก่อนพระเทวทัตก็เป็นคนลามก มีบริวารลามกเหมือนกันอย่างนี้
    แล้วทรงประชุมชาดกว่า
    สัตติคุมพสุวโปดกในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเทวทัต นี้
    โจรทั้งหลายได้มาเป็น บริษัทบริวารของพระเทวทัต
    พระราชาได้มาเป็น พระอานนท์
    หมู่แห่งฤาษีได้มาเป็น พุทธบริษัท
    ส่วนปุปผกสุวโปดกได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.


    จบอรรถกถาสัตติคุมพชาดกที่ ๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    สุภัททเถราปทานที่ ๙ (๔๙)
    ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยผอบไม้จันทน์
    [๕๑] พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่องบูชา
    ผู้มียศมาก ทรงถอนหมู่ชนขึ้นแล้ว จะเสด็จนิพพาน ก็เมื่อพระสัมพุทธ-
    เจ้าทรงยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหวแล้ว จะเสด็จนิพพาน หมู่ชนและ
    เทวดาเป็นอันมากได้ประชุมกันในเวลานั้น เราเอากฤษณาและดอกมะลิ
    ซ้อนใส่ผอบไม้จันทน์เต็มแล้ว ร่าเริง มีจิตโสมนัส ยกขึ้นบูชาพระผู้มี
    มีพระภาคผู้เป็นนระอุดม พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมใน
    โลก ทรงทราบความดำริของเรา ทรงบรรทมอยู่นั่นแล ได้ตรัสพระคาถา
    เหล่านี้ว่า ผู้ใดเอา (ร่ม) กฤษณาและมะลิซ้อนบังร่มให้เราในกาลที่สุด
    เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว บุคคลผู้นี้เคลื่อนจากโลก
    นี้แล้ว จักไปสู่หมู่เทวดาชั้นดุสิต เขาได้เสวยรัชสมบัติในชั้นดุสิต
    นั้นแล้ว จักไปสู่ชั้นนิมมานรดี เขาถวายดอกมะลิซ้อนอันประเสริฐสุด
    ด้วยอุบายนี้แล้ว จักปรารภกรรมของตนเสวยสมบัติ บุคคลผู้นี้จักบังเกิด
    ในชั้นดุสิตนั้นอีก เคลื่อนจากชั้นนั้นแล้ว จักไปสู่ความเป็นมนุษย์ พระ-
    มหานาคศากยบุตรผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้มีพระจักษุ ทรงยังสัตว์
    ให้ตรัสรู้เป็นอันมากแล้ว จักเสด็จนิพพานในกาลนั้น เขาอันกุศลมูล
    ตักเตือนแล้ว จักเข้าไปเฝ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว จักทูล
    ถามปัญหาในกาลนั้น พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ทรง
    ให้ร่าเริง ทรงทราบบุรพกรรมแล้ว จักทรงเปิดเผย (แสดง) สัจจะ
    ทั้งหลาย เขายินดีว่า ปัญหานี้ พระศาสดาทรงปรารภ (แก้) แล้ว
    มีใจชื่นชม ถวายบังคมพระศาสดาแล้วจักทูลขอบวช พระพุทธเจ้าพระองค์
    นั้น ทรงฉลาดในธรรมอันเลิศ ทรงเห็นว่าเขามีใจเลื่อมใส ยินดีด้วย
    กรรมของตน จักทรงให้บวช บุคคลผู้นี้พยายามแล้ว จักกำหนดรู้อาสวะ
    ทั้งปวงได้ แล้วจักไม่มีอาสวะนิพพานในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    จบ ภาณวารที่ ๕
    เราประกอบด้วยบุพกรรม มีจิตชื่นชม ตั้งมั่นด้วยดี เป็นบุตรผู้เกิดแต่
    พระหทัยของพระพุทธเจ้า อันธรรมนิรมิตดีแล้ว เราเข้าไปเฝ้าพระธรรมราชา
    แล้ว ได้ทูลถามปัญหาอันสูงสุด และเมื่อพระผู้มีพระภาคจะทรงแก้ปัญหา
    ของเราได้ตรัสกระแสธรรม เรารู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีใน
    ศาสนาอยู่ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่ ในแสนกัลป
    แต่กัลปนี้ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระผู้นายกอุดม ไม่ทรงมีอุปาทาน
    เสด็จนิพพานแล้ว ดังประทีปดับเพราะสิ้นน้ำมัน ฉะนั้น พระสถูปแก้ว
    ของพระผู้มีพระภาคสูงประมาณ ๗ โยชน์ เราได้ทำธงสวยงามกว่าธงทั้งปวง
    เป็นที่รื่นรมย์ใจ บูชาไว้ที่พระสถูปนั้น พระอัครสาวกชื่อติสสะ ของ
    พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป เป็นบุตรผู้เกิดในหทัยของเรา เป็นทายาท
    ในพระพุทธศาสนา เรามีใจเลวทรามได้กล่าววาจาอันไม่เจริญแก่พระอัคร-
    สาวกนั้น ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ความเจริญจึงได้มีแก่เราในภายหลังพระ-
    มุนีมหาวีรชินเจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลประกอบด้วยพระกรุณา ทรงประทานบรรพชา
    แก่เราบนที่บรรทมครั้งสุด ณ ศาลวันอันเป็นที่เวียนมาแห่งมัลลกษัตริย์
    ทั้งหลาย บรรพชาก็มีในวันนี้เดี๋ยวนี้เอง อุปสมบทก็ในวันนี้เอง ปรินิพพาน
    ก็ในวันนี้เอง เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดกว่าสัตว์ คุณ
    วิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้
    แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
    ทราบว่า ท่านพระสุภัททเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
    จบสุภัททเถราปทาน.


    อานันทเถราปทานที่ ๑๒ (๑๐)
    ว่าด้วยผลแห่งการกางฉัตรถวายพระพุทธเจ้า
    [๑๒] พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จออกจากประตูพระอารามแล้ว ทรง
    ยังเมล็ดฝนอมฤตให้ตกอยู่ ยังมหาชนให้เย็นสบาย พระขีณาสพผู้เป็น
    นักปราชญ์เหล่านั้นประมาณตั้งแสน ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มาก แวดล้อม
    พระสัมพุทธเจ้า ดุจพระฉายาตามพระองค์ ฉะนั้น เวลานั้น เราอยู่บน
    คอช้าง ทรงไว้ซึ่งฉัตรขาวอันประเสริฐสุด ปีติย่อมเกิดแก่เราเพราะได้
    เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้มีรูปงาม เราลงจากคอช้างแล้วเข้าไปเฝ้าพระนราสภ
    ได้กั้นฉัตรแก้วของเราถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระมหาฤาษี
    พระนามว่าปทุมุตระ ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงหยุดกถานั้นไว้
    แล้วตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้กั้นฉัตรอันประดับด้วยเครื่องอลังการ
    ทอง เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว สัตว์ผู้นี้ไปจาก
    มนุษยโลกแล้ว จักครอบครองดุสิต จักเสวยราชสมบัติ มีนางอัปสร
    ทั้งหลายแวดล้อม จักเสวยเทวราชสมบัติ ๓๔ ครั้ง จักเป็นอธิบดีแห่งชน
    ครอบครองแผ่นดิน ๘๐๐ ครั้ง จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๘ ครั้ง จัก
    เสวยราชสมบัติในประเทศราชอันไพบูลย์ในแผ่นดิน ในแสนกัลป พระ-
    ศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช
    จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสแห่งพระญาติของพระพุทธเจ้าผู้เป็น
    ธงชัย แห่งสกุลศากยะ จักเป็นพุทธอุปัฏฐาก มีนามชื่อว่าอานนท์
    จักมีความเพียร ประกอบด้วยปัญญา ฉลาดในพาหุสัจจะ มีความ
    ประพฤติอ่อนน้อม ไม่กระด้าง ชำนาญในบาลีทั้งปวง พระอานนท์นั้นมี
    ตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบระงับ ไม่มีอุปธิ จักกำหนดรู้อาสวะ
    ทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน มีช้างกุญชรอยู่ในป่า อายุ ๖๐ ปี
    ตกมันสามครั้ง เกิดในตระกูลช้างมาตังคะ มีงางอนงาม ควรเป็นราช-
    พาหนะฉันใด แม้บัณฑิตทั้งหลายก็ฉันนั้น ประมาณได้หลายแสน มี
    ฤทธิ์มาก ทั้งหมดนั้น ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นผู้ไม่มีกิเลส
    เราจักนมัสการทั้งในยามต้น ในยามกลาง และในยามสุด เรามีจิต
    ผ่องใส ปลื้มใจ บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เรามีความเพียร
    ประกอบด้วยปัญญา มีสติสัมปชัญญะ บรรลุโสดาปัตติผล ฉลาดใน
    เสขภูมิ ในแสนกัลปแต่ละกัลปนี้ เราก่อสร้างกรรมใด เราบรรลุถึง
    ภูมิแห่งกรรมนั้นแล้ว ศรัทธาตั้งมั่นมีผลมาก การมาในสำนักพระพุทธเจ้า
    ผู้ประเสริฐสุดของเรา เป็นการมาดีหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้ว พระ-
    พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
    และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
    ฉะนี้แล.
    ทราบว่า ท่านพระอานันทเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
    จบ อานันทเถราปทาน.
    -----------------------------------------------------
    รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ
    ๑. พุทธาปทาน ๒. ปัจเจกพุทธาปทาน
    ๓. สารีปุตตเถราปทาน ๔. มหาโมคคัลลานเถราปทาน
    ๕. มหากัสสปเถราปทาน ๖. อนุรุทธเถราปทาน
    ๗. ปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน ๘. อุปาลีเถราปทาน
    ๙. อัญญาโกณฑัญญเถราปทาน ๑๐. ปิณโฑภารทวาชเถราปทาน
    ๑๑. ขทิรวนิยเรวตเถราปทาน ๑๒. อานันทเถราปทาน
    ท่านรวบรวมคาถาทั้งหมดได้ ๖๕๐ คาถา.
    จบ อปทานพุทธวรรคที่ ๑
    -----------------------------------------------------
    สีหาสนิวรรคที่ ๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    https://84000.org/

    3798464E-BEAF-4359-8CE3-5BF2D7CEE5D0.jpeg

    รู้เห็นอะไรมา ไม่ควรสักแต่ว่ารู้ ควรทำให้แจ้ง อธิคม ฯ จึงผ่องใส?

    คำว่า อย่าเชื่อตำรา อย่าเชื่ออะไรโดยง่าย เหมาะที่สุด ก็เหล่าปฎิสัมภิทา อัญธัญญู

    ปฏิสัมภิทาย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ เป็นไฉน?
    ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอธิคม, ด้วยปริยัติ, ด้วยสวนะ, ด้วยปริปุจฉา, ด้วยปุพพโยคะ.
    ในเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น การบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าอธิคม. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บรรลุพระอรหัต ย่อมผ่องใส.
    พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้เรียนพระพุทธพจน์นั้น ย่อมผ่องใส.
    การฟังพระสัทธรรม ชื่อว่าสวนะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้สนใจเรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมผ่องใส.
    กถาเป็นเครื่องวินิจฉัย คัณฐีบทและอรรถบท ในพระบาลีและอรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่าปริปุจฉา. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้ที่สอบสวนอรรถในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีพระบาลีเป็นต้นที่ตนเรียนแล้ว ย่อมผ่องใส.
    การบำเพ็ญเพียรในวิปัสสนากรรมฐานอยู่เนืองๆ จนกระทั่งถึงสังขารุเปกขาญาณอันเป็นที่ใกล้อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ เพราะความที่การบำเพ็ญวิปัสสนานั้น อันพระโยคาวจรเคยปฏิบัติแล้วปฏิบัติเล่ามาในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ชื่อว่าปุพพโยคะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บำเพ็ญเพียรมาแล้วในปางก่อน ย่อมผ่องใส.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24


    A49F963E-98F3-40BF-90B2-A419C4BE7773.jpeg

    ถ้าเจอผู้เชี่ยวชาญ อย่างที่ทรงตรัสไว้ ที่นาลันทา เจอตอแน่!


    งานเข้าเหล่าปฎิสัมภิทา!
    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดจำนนโดยพยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี
    นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายนักพูด ๔ จำพวกนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔
    พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ
    นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    คำภีร์ VS คัมภีร์

    ปาฏิหาริย์ 3 ถ้าไม่ได้อัญเชิญโดยตรง ลำบาก ที่จะชนะ !

    2-3 เดือนก่อนรึ! ใจกลางกรุงเทพฯเลยหรือ?

    อย่าเป็นฤทธิ์ของ อหังการวิเศษมารล่ะกัน

    สังเกตุง่ายๆ 3-5 นาที เมฆดำ ลอยมารวมตัวกัน เป็นบริเวณเฉพาะ ไม่ปละปลาย!

    แม้จะมีแดดแรง ฟ้าใส เพียงไรก็ตาม

    มันเน้น เล่นตอนฟ้าใส เพื่อแสดงความอหังการ


    เหมือนหนังพ่อมดแม่มดร่ายมนต์นั่นแหละ!

    ถ้าใช่จริง! เดี๋ยวมีอีก ผู้ใช้ มันจะเสพติดฤทธิ์นี้ แผ่นดินไหว ฟ้าผ่ากันสนุกแน่คราวนี้ พายุเพียบ ถ้าใช่ ไม่แปลกที่จะเกิด สึนามิ ภูเขาไฟระเบิด ธาตุ ๔ พินาศได้ โรคระบาดใหม่




    สังเกตุได้ง่าย ถ้ามีความเปลี่ยนแปลงต่อโลก ห้วง 10-50 ปีชั่วอายุคน 2-3 เดือนที่ผ่านมา มหันตภัยใดไม่เคยเกิด แต่มันเกิด หลังจากที่สงบไปนาน ถ้าใช่ ก็ต้อง รีบเรียน ปฎิสัมภิทา

    ไม่มีปฎิสัมภิทา สู้ไม่ได้ ต่อให้มี ปาฏิหาริย์ 3 ก็เถอะ!

    เละไม่เละก็ ดู อียิปต์ ล่ะกัน!

    อยากอวดรู้แต่พระสัทธรรม แต่ไม่รู้จัก เภทภัยของ อสัทธรรม คิดได้ยังไง? ผู้รู้และเคยเข้าถึงมาแล้วย่อมกังวล ห่วงใยสรรพสัตว์

    ผู้ไม่กลัวตายในยามพลีชีพ ไม่กลัวความยากลำบาก ใจ ยังหวั่นไหว เข้าใจเข้าถึง เลย บ้าอยู่คนเดียว! ช่างน่าขันนัก สมเพช เวทนา ตนเอง


    ถ้ามันไม่มีจริง เราจะ ตกนอก ทิฐิ 62 ทันที ใครจะไปบ้าเสี่ยง! แลกกับ มรรคผล

    3987A664-D021-4540-AA11-E5F7A499EC35.jpeg

    FB80EFF1-A9BD-44B9-B840-CF7A82536A75.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24


    กิจกรรมวาดพุทธปฏิมากรบรรจุพระ

    ขอเรียนเชิญสาธุชน ร่วมกิจกรรมวาดรูปพระพุทธเจ้า 88 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์

    ท่านสามารถปริ้นส์ภาพลายเส้นในโพสต์นี้ #แล้วเขียนด้วยปากกาหรือดินสอสี ทับบนลายเส้น #โดยจะลงสีหรือไม่ก็ได้ บนกระดาษA3 หรือ A4 ด้วยความเคารพ ตั้งใจมั่นและพยายามให้สวยงามที่สุด กี่แผ่นก็ได้ ด้วยศรัทธา สติ และอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ (ความคิด) วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง)

    เพื่อเป็นการฝึกความเพียร ฝึกสมาธิ พิจารณาธรรม เพื่อเป็นพุทธบูชา ปลูกฝังกุศลปัจจัยต่อพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ และเพื่อให้ปฏิมากรของพระมหาไวโรจนพุทธเจ้าสำเร็จเป็นวรกายแห่งธรรม

    และขอความร่วมมือทุกท่าน ดังนี้
    ❌ไม่รับภาพที่ถ่ายเอกสาร
    ❌ไม่ต้องเขียนชื่อผู้เขียน หรือ วัน เดือน ปี สถานที่ ที่จารึก
    ❌ไม่ต้องเขียนคำอธิษฐาน

    เพื่อร่วมบรรจุในองค์พระมหาไวโรจนพุทธเจ้า ณ อารามจีนปากช่องเขาใหญ่ เป่าซานซื่อ

    ปิดรับสิ้นปี 2566

    กรุณาส่งมาที่….

    (วาดพระพุทธ)
    อารามจีนปากช่องเขาใหญ่ เลขที่ 951 หมู่ 10 (หนองกะจะ 2 ซอย 4) ต./อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 โทร. 082-591-5999

    กราบอนุโมทนาบุญครับ

    เพิ่มเติม
    ❤️กิจกรรมจารึกธรรม


    กิจกรรมเททองหล่อพระ และ ประกาศปณิธานโพธิสัตว์


    รับชมคลิปแนะนำอารามจีนปากช่องเขาใหญ่ ดินแดนโพธิสัตว์
    https://fb.watch/haruymZPip/?mibextid=BUZLm6

    สนใจติดตาม รับข่าวสาร หรือติดต่อสอบถาม เชิญเพิ่มเพื่อนที่ https://lin.ee/Ps2jZUD

    97AAA352-A34C-47EB-BC26-8FE282FE0389.jpeg B4EC4BDB-B7C2-470D-BDAB-CAABE5DFD091.jpeg 34249ACC-D4E4-42B5-95EF-AF6F0EC3F8BF.jpeg 3B234BDA-60EA-452E-A816-52650F0D708A.jpeg 7CD258B8-D3C5-4424-9A74-2C4218709E57.jpeg C7D6529D-24A8-4F91-9359-A4FF53F79009.jpeg 4BAA5A3E-F75B-4041-9FC2-CB6CDC12ACBD.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24


    ผลทางอธรรม ของ อหังการวิเศษมาร หมุนกลับเพิ่มกิเลสและธุลีในดวงตาแก่สัตว์โลก

    นี่คือข้อที่ เบื้องต้นที่กระทำให้ ไม่ทรงอยากจะขวนขวายที่จะดำริสั่งสอน

    แต่ด้วยเพราะพระมหาเมตตากรุณา ด้วยพระองค์ทรงมีที่ทรงเคารพพึ่งพิงพระธรรมนั้นอยู่จึงทรงตั้งพระทัยมั่นในการเปิดประตูพระนิพพาน

    เหตุหนึ่งที่ พระอัครสาวกแก้วเบื้องขวาต้องเข้านิพพานไปก่อน ผู้เป็นธรรมเสนาบดี ผู้สามารถหมุนพระธรรมจักรด้วยสาวกบารมีญาน ๑๔/๑๖ แห่งปฎิสัมภิทาญาน ได้แสดงธรรม เรื่อง ปฎิสัมภิทามรรค ถ่ายทอดไว้ เป็นการอันห้ามปฎิปักษ์ไว้ได้ด้วยญานทัสสนะแห่งคุณลักษณะ เฉพาะกาล


    ไม่ย่อยยับ พินาศสิ้น คงไม่พอใจ ตามวัฎจักรมาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    เหล่าพระโพธิสัตว์ลงมาเกิดอีก! หลังจากโลกถึงความพินาศ “บางพวกที่มีธรรม มีบทธรรม แม้โอปาติกะกำเนิด หรือมาจาก เทวโลก พรหมโลก มาสั่งสอน ชี้นำ เพราะระยะนั้นมนุษย์โลก หรือพระสัทธรรมได้เลือนลางหายไปจากใจของหมู่สัตว์แล้ว แม้คาถาบทเดียวบาทเดียวก็ไม่รู้จัก แม้แต่กุศลธรรมก็ไม่ทราบไม่มี



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
    ถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระ
    นั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน
    กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศล
    ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง
    จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตร
    ของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเจริญ
    ด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย
    เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจากอทินนาทาน
    ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากมุสาวาท ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา
    ควรงดเว้นจากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท
    ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม
    อย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบ
    ในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดา
    ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ
    อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ
    เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
    วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคน
    ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุ
    เจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง
    ๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ
    ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ
    ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ
    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี
    อายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑
    ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก
    มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไป
    ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก
    เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน
    คับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
    ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักร-
    *พรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรง
    ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
    ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑
    ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น
    ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
    สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง
    ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง
    พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง
    โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี
    ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
    เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้
    เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง
    โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
    แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
    *พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
    มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
    ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
    งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหาร
    ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่
    พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญ
    ทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จัก
    ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรง
    ผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น
    เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้
    และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้
    ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
    ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ
    ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม
    ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
    ถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระ
    นั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน
    กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศล
    ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง
    จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตร
    ของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเจริญ
    ด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย
    เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจากอทินนาทาน
    ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากมุสาวาท ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา
    ควรงดเว้นจากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท
    ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม
    อย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบ
    ในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดา
    ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ
    อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ
    เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
    วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคน
    ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุ
    เจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง
    ๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ
    ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ
    ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ
    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี
    อายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑
    ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก
    มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไป
    ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก
    เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน
    คับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
    ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักร-
    *พรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรง
    ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
    ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑
    ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น
    ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
    สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง
    ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง
    พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง
    โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี
    ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
    เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้
    เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง
    โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
    แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
    *พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
    มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
    ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
    งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหาร
    ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จักทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ในทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯ
    ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียว
    ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
    อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
    ต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ใน
    ทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯ


    ก็ระยะนั้น ฆ่ากันจนเหลือน้อย ! จนต้องสมสู่กัน ! ด้วยจำยอมก็ดีสมยอมก็ดี ลองยุคนี้ ผู้ใหญ่ล้มตายกันหมด เด็กไม่ถึง 10 ปี ยังไงก็ต้องมีสัมพันธ์ทางกามกันอยู่แล้ว ไม่พ้น เพื่อความอยู่รอดและดำรงเผ่าพันธุ์
    75148075-61D9-4C05-88A4-A021AD1E603C.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    บทสรุป จักกวัตติสูตร


    “อะไรที่ทำให้สงฆ์ ถึงความเป็นใหญ่ อันหาประมาณมิได้ ผู้ศึกษา ปฎิสัมภิทา ย่อมทราบชัดเจนอยู่แล้ว”

    {0} ดูกรภิกษุทั้งหลาย |เราไม่เล็งเห็นแม้|กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น <อันข่มได้แสนยาก>เหมือน###กำลังของมาร###นี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ****บุญนี้จะเจริญขึ้นได้อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ****
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯจบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓{0}


    ชัดเจนไหม ? นี่ จักกวัตติสูตร อนาคตพระพุทธเจ้า ภัยของมนุษย์ และตัดจบด้วย กำลังของมาร ที่ต้อง อาศัยบุญฯ







    [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่งอย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง {0}จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง{0} อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง {0}มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง{0}ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไรเล่า ฯ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่
    พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล ฯ
    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย
    อันสืบมาจากบิดาของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร
    ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ
    จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธาน
    สังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
    ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน
    สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท
    ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
    ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องวรรณะ
    ของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
    ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มี
    ความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
    สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
    ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุ
    จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายใน
    เรื่องสุขของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่
    ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
    เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ
    มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก
    สถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
    ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิต
    ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
    ความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิต
    ประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน
    กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา
    อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่
    ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
    แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง
    เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ
    เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
    ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะ
    ของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหา
    อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว
    เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้
    แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
    อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ
    จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓
    91352CE6-A533-412E-91C6-CC6DB81690A5.jpeg

    ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นพระสัพพัญญูอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดที่ไม่ทรงรู้ทรงทราบ ทรงมีพระมหากรุณาแก่เหล่าเวไนยสัตว์ ทรงเสด็จไปดีแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    B9FE4F87-F08E-472E-A4BD-6C73FA8F591A.jpeg

    เปรียบตนด้วยอุปมา ๙ อย่าง
    พระเถระมิได้กราบทูลปฏิเสธโดยตรงในที่ประชุมสงฆ์นั้น แต่ได้อุปมาเปรียบเทียบตน
    เองเหมือนสิ่งของ ๙ อย่าง คือ:-
    ? เหมือนดิน-น้ำ-ไฟ-ลม ซึ่งถูกของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทิ้งใส่ แต่ก็ไม่รังเกียจ
    ไม่เบื่อหน่าย ไม่หวั่นไหว
    ? เหมือนเด็กจัณฑาล ที่มีความสงบเสงี่ยมเจียมตัวอยู่เสมอเวลาเข้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ
    ? เหมือนโค ที่ถูกตัดเขา ฝึกหัดมาดีแล้ว ย่อมไม่ทำร้ายใคร ๆ
    ? เหมือนผ้าขี้ริ้ว สำหรับเช็ดฝุ่นละอองของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
    ? เบื่อหน่ายอึดอัดกายของตน เหมือนซากงู (ลอกคราบ)
    ? บริหารกายของตน เหมือนคนแบกหม้อน้ำมันที่รั่วทะลุ จึงมีน้ำมันไหลออกอยู่
    เมื่อพระเถระ กราบทูลอุปมาตนเองเหมือนเด็กจัณฑาล เหมือนผ้าชี้ริ้ว เป็นต้น ภิกษุ
    ปุถุชนถึงกับตื้นตัน ไม่อาจอดกลั้นน้ำตาได้ พระขีณาสพก็เกิดธรรมสังเวช ส่วนภิกษุผู้กล่าวฟ้อง
    ก็เกิดความเร่าร้อนขึ้นในกาย หมอบกราบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แล้วกล่าวขอขมาโทษ
    ต่อพระเถระ


    “ข้าพเจ้าก็มิอาจกลั้นนำ้ตาเช่นเดียวกัน ข้าพเจ้าจะน้อมนำการเปรียบเทียบตนนี้ ของท่านพระธรรมเสนาบดี ไปปฎิบัตินับแต่นี้ไป ธรรมสมบัติเหล่าใดที่ท่านถ่ายทอดไว้ก่อนเข้าสู่พระนิพพานก็ดี หากข้าพเจ้าเหมาะสมควรและคู่ควรกับธรรมสมบัติเหล่าใด ขอธรรมสมบัติเหล่านั้นจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าในอนาคตกาล”

    น้ำตาเย็นเป็นยา!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2022
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    ## หายนะจะมาเร็วกว่าเดิม ถ้า พญามาร มารอสูรนอกรีตในยุทธภพมาร ฯลฯ เดินเกมส์ เล่นนอกเกมส์


    ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับ เวลากี่ก้านธูปเพียงเท่านั้น
    B4CED796-52F3-42C3-9A69-DD6E5C3CA7E1.png




    ไขความ อายุเกิน20

    1.กำเนิดโรคระบาดชนิดใหม่ เกิดการติดเชื้อ ทำปฎิกิริยากับบุคคล อายุ20+ ขึ้นไป

    2.สภาพอากาศ วิกฤตเลวร้ายมาก ต้องเสี่ยงชีวิตออกไปอาหาร หรือ ฆ่ากันกินกันเองเพื่อความอยู่รอด/มีมาแล้ว กลุ่มติดทะเลเรืออัปปาง เป็นต้น

    3.ถูกครอบงำ โดยคัมภีร์มาร หรือ ปิฏกมาร /นิยมนำเด็กหญิงอายุน้อย มาบำเรอกาม

    4.มีความเป็นไปได้สูง เพราะไม่มีอาหาร เหลือเพียงหญ้า ตะไคร่น้ำ ฯลฯ # สำคัญว่านี่ เนื้อ! แสดงว่า ฆ่ากันกิน

    ฯลฯ

    ประเทศที่มีอัตราอาชญากรรมสูงสุด ประจำปี 2022 พบว่า ทวีปอเมริการใต้เข้าสูงสุด 3 อันดับจาก 10 อันดับแรก ส่วนไทยติดที่ 89 ส่วนไต้หวัน ฮ่องกงและญี่ปุ่นประเทศจากเอเชียเกาะอยู่ท้ายตาราง มีอาชญากรรมต่ำ จากทั้งหมด 137 ทั่วโลก
    ทางเว็บไซต์ world population review เปิดเผยดัชนี การจัดอันดับประเทศที่มีอัตราอาชญากรรมสุงสุด 10 ประเทศ ประจำปี 2022 โดยสูตรการหาค่าเฉลี่ยอัตราการเกิดอาชญากรรมจะรวมจำนวนอาชญากรรมที่รายงานทุกประเภทด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด แล้วคูณผลลัพธ์ด้วย 100,000 (ซึ่งปกติจะรายงานเป็นตัวเลข x จำนวนต่ออาชญากรรมต่อ 100,000 คน)

    ทั้งนี้ปัจจัยการเกิดอาชญากรรมของแต่ละประเทศก็มีหลากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ในบางประเทศระดับความยากจนและอัตราการว่างงานมีแนวโน้มที่มีผลต่ออัตราการเกิดอาชญกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจที่เข้มงวดและการลงโทษที่รุนแรง แสดงให้เห็นว่ามีการลดลงของอัตราการเกิดอาชญากรรม


    ภัยภายในของศาสนาพุทธ มีเพียงแค่ อามิสทายาท และ สัทธรรมปฎิรูป
    คือผลที่ได้รับ จากสัทธรรมปฎิรูป สัมมาทิฎฐิมาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีการล่มสลาย๑
    เป็นไปตามกรรมพุทธพยากรณ์อยู่แล้ว ในพระพุทธศาสนา


    แต่ อสัทธรรม เป็น มิจฉาทิฏฐิอยู่แล้วโดยปรมัตถ์ ยังเพิ่มดรีกรีเข้าไปอีก คลื่นลมจึงเร็วแรงขึ้น มันทำลายสิ้นเสียทุกสิ่ง๑


    ถ้าไม่ใช่คลิปตกแต่ง! ชัวร์ 100% ไม่ใช่มีคนเดียวแน่! พิกัดมาเลเซีย

    05F8CC9B-3809-4BFD-A8A3-E681187123A3.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2022
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    7268589D-65C6-4E23-BC8E-719AD9C294A1.jpeg
    884D8CEE-4889-42CB-90FB-CCEEA473207A.jpeg D639E197-8864-4B1E-9D56-4D9E40873370.jpeg


    F41A6F98-A7D9-491A-A664-4422D8BA8EA2.png 75AEEA5E-33EF-449D-8609-E79D5374CEEB.png 31877A4D-62DD-49C2-A3E9-12F98AEB7430.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2022
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24


    { นิรุตติ ดัก สายปฎิสัมภิทา โดยเฉพาะ ไม่เทศน์เรื่องนรกสวรรค์ แต่ท่าน วิสัชนาเรื่องพระศรีอาร์ยสวนกระแส }

    ท่านมรณภาพ ปี36 ปีนั้นผมบวชเณรน้อยพอดี 2ปี

    77B8FEC7-C20E-45F8-A1FA-4CE5F53CEC6C.jpeg

    17D2DD36-8E3F-47D1-8205-2626ACEFFB3C.jpeg

    มันจะได้ไปไหม? ยุคนี้ ! สวรรค์


    1E1EC7F3-1EED-43AA-8D8D-FB10B9CD083F.jpeg 03C9674A-F402-459A-B8FB-F7C09E14DE90.jpeg A26CB2C1-2CE9-4FBD-8AE9-AA14FAB4A0E8.jpeg 157F8438-8588-4D8D-A505-7BA37109B656.jpeg 10B95534-01A1-433C-B308-81BD1AEDE66B.jpeg

    {0}“ธัมโม หะเว ปาตุระโหสิ ปุพเพ”ซึ่งแปลว่า “ธรรมปรากฏอยู่ก่อน แล้วแล”ดังนี้เป็นต้น “ธรรม” ในลักษณะเช่นนี้ ในทางพุทธศาสนาหมายถึงกฎของธรรมชาติ หรืออำนาจอันลึกลับสูงสุดเหนือสิ่งใด ที่บันดาลให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปต่างๆ นานา

    #อยู่ฝ่ายหนึ่งหรือประเภทหนึ่ง, และอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามคือไม่มีการเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลง,##

    อันได้แก่ตัวกฎธรรมชาติ หรืออำนาจอันนั้นนั่นเอง ดังนี้ถ้าผู้ใด ได้รู้ ได้เห็น หรือได้เข้าถึงธรรมประเภทหลังนี้แล้วก็จะไม่หลงใหลในธรรมประเภทที่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป นับว่าเป็นสิ่งที่น่าประหลาดมหัศจรรย์ อีกอย่างหนึ่งสิ่งที่เรียกว่าธรรมนี้ยังเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดกาลอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ{0}

    เทศนาก่อนกระผมเกิดตั้ง 14 ปี

    “ท่านเห็นสินะขอรับ”

    มหัศจรรย์แห่ง 'ธรรม' พระธรรมเทศนาหน้าพระพักตร์พระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่ง 'ธัมมวิจักขณกถา' ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในโอกาสทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วิสาขบูชา ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารไชยาจ.สุราษฎ์ธานี เมื่อวันเพ็ญเดือนหก วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐ ซึ่งแสดงธรรมโดยพระธรรมโกศาจารย์ ในขณะดำรงสมณศักดิ์ พระราชชัยกวี(พุทธทาสภิกขุ)
    _____________________________________________________________________________________
    ธัมมวิจักขณกถา.
    ธรรมที่ควรพึงเห็นโดยประจักษ์
    ขอถวายพระพรเจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนมสุขทุกประการจงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร พระองค์สมเด็จพระปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ บัดนี้จักรับพระราชทานถวายวิสัชนา ในธัมมวิจักขณกถาฉลองพระเดชพระคุณ ประดับพระปัญญาบารมีถ้ารับพระราชทานถวายวิสัชนาไปมิได้ต้องตามโวหารอรรถาธิบายในพระธรรมเทศนาบทใดบทหนึ่งก็ดี ขอพระเดชะพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ และพระขันติคุณ ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานอภัยแก่อาตมะผู้มีสติปัญญาน้อย, ขอถวายพระพร.

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
    โย ธมฺม ปสฺสติ โส ม ปสฺสติ
    โย ธมฺม น ปสฺสติ โส ม น ปสฺส ตี-ติ
    ธมฺโม สกกจจ โสตพฺโพ-ติ.
    “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต”

    ณ บัดนี้ จักได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในธัมมวิจักขณกถา ด าเนินความตามวาระพระบาลีดังที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นนิกเขปเบื้องต้นว่า โยธัมมัง ปัสสะติ โส มัง ปัสสะติ ฯลฯ เป็นอาทิ ซึ่งมีใจความว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต”ดังนี้เป็นต้น เพื่อเป็นธรรมเทศนาเนื่องในโอกาสพระราชกุศลวิสาขบูชา ตามพระราชประเพณีก็แล ในการกุศลวิสาขบูชานี้ พุทธบริษัททั้งหลายย่อมทำการถวายการบูชาอันสูงสุด ด้วย กาย วาจา
    ใจแด่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า การบูชาด้วยกายก็คือการเดินเวียนเทียนประทักษิณเป็นต้น การบูชาด้วยวาจาก็คือการน้อมระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น อยู่ตลอดเวลาแห่งการกระทำวิสาขบูชาก็แต่ว่า การกระทพทั้งสามประการนี้จักสพเน็ตประโยชน์เต็มที่ได้ก็ด้วยการเห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า 'ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต' ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นเอง ดังนั้น จะได้ถวายวิสัชนาโดยพิสดารในข้อความอันเกี่ยวกับค าว่า 'ธรรม' ในที่นี้.

    “พระพุทธองค์จริงนั้น คือสิ่งที่เรียกว่าธรรม”
    “ธรรมนั้นแหละ คือพระพุทธองค์จริงองค์จริง”
    จากพระพุทธสุภาษิตนั้น ย่อมแสดงให้เห็นได้โดยประจักษ์อยู่แล้วว่า “พระพุทธองค์จริงนั้น คือสิ่งที่เรียกว่าธรรม” หรือ “ธรรมนั้นแหละ คือพระพุทธองค์จริงองค์จริง”,ด้วยเหตุนั้นเอง พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต, ต่อเมื่อเห็นธรรม จึงชื่อว่าเห็นตถาคต


    ก็แล ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น พระสรีระร่างกายของพระองค์ได้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนแห่งธรรมสำหรับเครื่องสักการบูชาแห่งสัตว์โลกทั้งหลายเป็นต้น. ครั้นพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว ก็มีพระสารีริกธาตุคือธาตุอันเนื่องกับพระสรีระนั้น ได้เหลืออยู่เป็นตัวแทนแห่งธรรมสืบไปตลอดกาลนาน ดังเช่น พรพบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ที่พุทธบริษัททั้งหลายมีสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเป็นประธาน ได้กระทไสักการบูชาเสร็จสิ้นไปแล้ว

    เมื่อสักครู่นี้ข้อนี้สรุปความได้ว่า พระพุทธองค์ พระองค์จริงนั้น ยังคงอยู่ตลอดกาล และเป็นสิ่งเดียวกันเสมอไป. ได้แก่สิ่งที่เรียกว่า“ธรรม” ส่วนนิมิตหรือตัวแทนแห่งธรรมนั้น เปลี่ยนแปลงได้ตามควรแก่สถานะ, คือจะเป็นพระสรีระของพระองค์โดยตรงก็ได้, หรือจะเป็นพระสารีริกธาตุก็ได้, หรือจะเป็นอุทเทสิกเจดีย์ มีพระพุทธรูปเป็นต้น ก็ได้, แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแต่มีความหมายอันส าคัญสรุปรวมอยู่ที่สิ่งที่เรียกว่า 'ธรรม'นั่นเอง“ธรรม”ในพุทธศาสนานั้น หมายถึงสิ่งทุกสิ่งจริงๆ,


    คำว่า “ธรรม”คำนี้ เป็นคำพูดที่ประหลาดที่สุดในโลก, เป็นคำที่แปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้, ได้มีผู้พยายามแปลคสภานี้เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ออกไปตั้ง ๒๐-๓๐ คำก็ยังไม่ได้ความหมายครบ หรือตรงตามความหมายของภาษาบาลีหรือของพุทธศาสนา,

    ส่วนประเทศไทยเรานี้โชคดีที่ได้ใช้คำคำนี้เสียเลยโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย, เราจึงได้รับความสะดวกไม่ยุ่งยากลำบากเหมือนพวกที่ต้องพยายามจะแปลคำคำนี้เป็นภาษาของตนๆคำว่า “ธรรม” เป็นคำสั้นๆ เพียงพยางค์เดียวแต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้ง น่ามหัศจรรย์เพียงไรเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาดูอย่างยิ่ง ดังต่อไปนี้,


    ในภาษาบาลี หรือจะเรียกว่าภาษาพระพุทธศาสนาก็ตาม คำว่า “ธรรม” นั้น ใช้หมายถึงสิ่งทุกสิ่งไม่ยกเว้นสิ่งใดเลย, ไม่ว่าจะเป็น สิ่งดี สิ่งชั่ว หรือสิ่งไม่ดี ไม่ชั่ว ก็รวมอยู่ในคำว่า “ธรรม” คำเดียวกันนี้ทั้งหมดดังพระบาลีว่า กุสลา ธัมมา, อกุสลา ธัมมา, อัพยากะตาธัมมา, เป็นอาทิ.ลักษณะเช่นที่กล่าวนี้ของคำว่า “ธรรม”ย่อมเป็นอย่างเดียวกันกับคำว่า “พระเป็นเจ้า”แห่งศาสนาที่มีพระเป็นเจ้า เช่น ศาสนาคริสเตียน เป็นต้น, คำคำนั้นเขาให้หมายความว่า สิ่งทุกสิ่งรวมอยู่ในพระเป็นเจ้าสิ่งเดียว,

    ดังนั้น แม้ในพุทธศาสนาเราถ้ากล่าวกันอย่างให้มีพระเป็นเจ้ากะเขาบ้างแล้ว เราก็มีสิ่งที่เรียกว่า“ธรรม” นี้อีกนั่นเอง ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็น “พระเป็นเจ้า”อย่างครบถ้วนสมบูรณ์, ทั้งนี้ ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่า“ธรรม”ในพุทธศาสนานั้น หมายถึงสิ่งทุกสิ่งจริงๆ,“ธรรม”เพียงพยางค์เดียว หมายความได้ถึง ๔ อย่างเพื่อให้เห็นได้อย่างแจ้งชัดและโดยง่ายว่าสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” หมายถึงสิ่งทุกสิ่งอย่างไรนั้น เราอาจจะทำการจำแรกได้ว่า “ธรรม” หมายถึงสิ่งเหล่านี้ คือ:-


    (๑) ธรรมชาติทุกอย่างทุกชนิด ล้วนแต่เรียกในภาษาบาลีว่า “ธรรม”, หรือ ธรรมในฐานะที่เป็นตัวธรรมชาตินั่นเอง

    (๒) กฎของธรรมชาติ ซึ่งมีประจำอยู่ในธรรมชาติเหล่านั้น ก็ล้วนแต่เรียกในภาษาบาลีว่า “ธรรม”อีกเหมือนกัน, นี้คือธรรมในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติ, และมีความหมายเท่ากันกับสิ่งที่เรียกว่า “พระเป็นเจ้า” ในศาสนาที่ถือว่ามีพระเป็นเจ้าอยู่อย่างเต็มที่แล้ว

    ,(๓) หน้าที่ต่างๆ ที่มนุษย์จะต้องประพฤติ หรือปฏิบัติกระทำในทางโลกหรือทางธรรมก็ตาม, นี้ก็เรียกโดยภาษาบาลีว่าธรรมอีกเหมือนกัน มนุษย์ต้องประพฤติให้ถูกให้ตรง ตามกฎของธรรมชาติจึงจะไม่เกิดความทุกข์ขึ้นมา, มนุษย์ส่วนมากสมัยนี้หลงใหลในทางวัตถุมากเกินไป ไม่สนใจสิ่งที่เป็นสุขทางนามธรรม,ข้อนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎของธรรมชาติจึงเกิดการยุ่งยากนานาประการที่เรียกกันว่า
    “วิกฤตการณ์”ขึ้นในโลกจนแก้กันไม่หวาดไม่ไหว,

    มนุษย์สมัยนี้มีการกักตุนเอาไว้เป็นของตัว หรือพวกของตัวมากเกินไป จนผิดกฎธรรมชาติจึงได้เกิดลัทธิอันไม่พึงปรารถนาขึ้นมาในโลก อย่างที่ไม่เคยเกิดมาแต่ก่อน ดังนี้ เป็นต้น, ข้อนี้เป็นตัวอย่างของการที่มนุษย์ประพฤติหน้าที่ของตน อย่างไม่สมคล้อยกันกับกฎของธรรมชาติ, หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือประพฤติผิดต่อธรรม ฝ่ายที่จะเป็นไปเพื่อดับทุกข์แต่ได้เป็นไปในฝ่ายที่จะสร้างความทุกข์ขึ้นมาในโลกอย่างไม่มีสิ้นสุด, นี้อย่างหนึ่ง


    (๔) ผลของการทำหน้าที่ หรือการปฏิบัติ, ที่เกิดขึ้นตามกฎของธรรมชาติ เช่น ความทุกข์ ความสุขหรือการบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือแม้ที่สุดแต่ความเป็นพระพุทธเจ้าของพระพุทธองค์ก็ดีซึ่งก็ล้วนแต่เป็นผลของการทำหน้าที่ หรือเป็นการปฏิบัติไปทั้งนั้นทั้งหมดนี้ ทุกชนิด ทุกอย่าง ก็ล้วนแต่เรียกโดยภาษาบาลีว่า “ธรรม”อีกเหมือนกัน, ทั้งหมดนี้คือความหมายอันกว้างขวางของคำว่า “ธรรม” ซึ่งมีอยู่เป็นประเภทใหญ่ๆ ๔ ประเภท

    สรุปแล้ว คำว่า “ธรรม”เพียงพยางค์เดียว หมายความได้ถึง 4 อย่าง คือ หมายถึงตัวธรรมชาติก็ได้,หมายถึงกฎของธรรมชาติก็ได้, หมายถึงหน้าที่ที่มนุษย์ต้องทำให้ถูกตามกฎของธรรมชาติก็ได้, และหมายถึงผลดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ ก็ได้, นับว่าเป็นคำพูดคำหนึ่งที่ประหลาดที่สุดในโลกและไม่อาจแปลเป็นภาษาอื่นได้ด้วยคำเพียงคำเดียว ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น,


    คนเราจะรู้ธรรม หรือเห็นธรรมได้ทั้งหมดอย่างไรกัน?
    เมื่อสิ่งที่เรียกว่า ธรรม มีมากมายมหาศาลอย่างนี้ ปัญหาจะเกิดขึ้นมาว่า คนเราจะรู้ธรรม หรือเห็น
    ธรรมได้ทั้งหมดอย่างไรกัน?
    เกี่ยวกับข้อนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เองแล้วว่า เราอาจจะรู้ได้ทั้งหมดและปฏิบัติได้ทั้งหมด ในส่วนที่จำเป็นแก่มนุษย์หรือเท่าที่มนุษย์จะต้องเข้าเกี่ยวข้องด้วย ส่วนที่เหลือนอกนั้น ไม่ต้องสนใจเลยก็ได้,


    ข้อนี้พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ธรรมที่ตถาคตได้ตรัสรู้ทั้งหมดนั้น มีปริมาณมากเท่ากับใบไม้หมดทั้งป่า, ส่วนธรรมที่น ามาสอนคนทั่วไปนั้น มีปริมาณเท่ากับใบไม้กำมือเดียว" คือ ทรงนำมาสอนเท่าที่จำเป็นแก่การทำความดับทุกข์โดยตรงเท่านั้นธรรมที่ทรงนำมาสอนนั้น แม้จะกล่าวกันว่า มีถึง ๘๔,๐๐๐ ข้อ หรือ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ก็ตาม ก็ยังสรุปลงได้ในคำพูดเป็นประโยคสั้นๆ เพียงประโยคเดียวว่า “สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ” ซึ่งแปลว่า“ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรสำคัญมั่นหมายว่า ตัวตนหรือของตน”ดังนี้,

    การรู้ข้อนี้ คือการรู้ธรรมทั้งหมด, การปฏิบัติข้อนี้คือการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา, และเป็นการมีชัยชนะเหนือความทุกข์ทั้งหมดได้ เพราะเหตุนั้น, ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ส่วนบุคคล หรือเป็นทุกข์ของโลกโดยส่วนรวมก็ตาม,ถ้าผู้ใดเห็นธรรมส่วนนี้โดยประจักษ์ ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นองค์พระตถาคต พระองค์จริงโดยแท้จริง,



    การเห็นธรรมในที่นี้ เมื่อกล่าวโดยใจความ หมายถึงการมีธรรมที่เป็นความดับทุกข์อยู่แล้วในตนและเห็นประจักษ์อยู่แล้วภายในใจตน ว่าความดับทุกข์นั้นเป็นอย่างไร, นี่แหละ คือหนทางออกทางเดียวของพวกเรา มนุษย์สมัยปัจจุบันนี้ที่อาจจะเห็นพระพุทธองค์พระองค์จริงได้ทั้งที่เขากล่าวกันว่า พระองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้วตั้งสองพันกว่าปี, แต่เราอาจจะเห็นพระองค์ได้โดยการนำมาใส่ไว้ในใจของเราเสียเลย,
    เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งขึ้นไปอีก,“ธรรม ปรากฏอยู่ก่อน แล้วแล”



    ข้อที่ควรทราบต่อไป ยังมีสืบไปอีกว่า สิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นั้น นอกจากจะเป็นคำพูดที่ประหลาดที่สุดในโลกโดยแปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้และหมายถึงสิ่งทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไรเลยดังนี้แล้วยังเป็นของประหลาดในข้อที่ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงเช่นเดียวกับสิ่งที่เรียกว่า “พระเป็นเจ้า” ในศาสนาของพวกที่มีพระเป็นเจ้านั้นเหมือนกัน,


    ข้อนี้ปรากฏอยู่ในบาลีขุททกนิกาย ชาดก ว่า “ธัมโม หะเว ปาตุระโหสิ ปุพเพ”ซึ่งแปลว่า “ธรรม ปรากฏอยู่ก่อน แล้วแล”ดังนี้เป็นต้น “ธรรม” ในลักษณะเช่นนี้ ในทางพุทธศาสนาหมายถึงกฎของธรรมชาติ หรืออำนาจอันลึกลับสูงสุดเหนือสิ่งใด ที่บันดาลให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น และ
    เปลี่ยนแปลงไปต่างๆ นานาอยู่ฝ่ายหนึ่งหรือประเภทหนึ่ง, และอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามคือไม่มีการเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลง, อันได้แก่ตัวกฎธรรมชาติ หรืออำนาจอันนั้นนั่นเอง

    ดังนี้ถ้าผู้ใด ได้รู้ ได้เห็น หรือได้เข้าถึงธรรมประเภทหลังนี้แล้วก็จะไม่หลงใหลในธรรมประเภทที่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป นับว่าเป็นสิ่งที่น่าประหลาดมหัศจรรย์ อีกอย่างหนึ่งสิ่งที่เรียกว่าธรรมนี้ยังเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดกาลอย่างไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆตั้งอยู่ในฐานะเป็นสิ่งสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด.



    อีกประการหนึ่ง สิ่งที่เรียกว่าธรรมนี้ยังเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดกาลยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เป็นต้นเสียอีก สมมติว่า ถ้าเอาอายุของดวงอาทิตย์เป็นต้น ไปเปรียบกับอายุของธรรมแล้วก็จะมีลักษณะเท่ากันกับการเอาอายุของยุงตัวหนึ่งไปเปรียบกันกับอายุของดวงอาทิตย์เป็นต้นอีกนั่นเอง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่น่าขบขันและน่าคิด อย่างไม่มีอะไรเหมือน ทั้งนี้ก็เพราะว่า ธรรม นั้นก็คือสิ่งที่เป็นความสมดุลย์หรือเหมาะสมที่จะคงอยู่ตลอดกาลนั่นเอง


    กฎทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า "สิ่งใดเหมาะสมที่จะอยู่สิ่งนั้นจะคงอยู่หรือเหลืออยู่, สิ่งใดไม่เหมาะสมที่จะอยู่คือเข้ากันไม่ได้กับสิ่งที่แวดล้อมเป็นต้นแล้ว สิ่งนั้นจะสูญไป" ดังนี้นั้นก็คือ กฎของธรรมชาติโดยตรง,และธรรมนั่นแหละเป็นเพียงสิ่งเดียว ที่จะยังคงอยู่ตลอดกาล อย่างไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่า“ธรรม” นั้น จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นสิ่งสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด


    จนกระทั่งแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกพระองค์ ก็ล้วนแต่ทรงเคารพธรรม, ทั้งที่พระพุทธเจ้าเองเป็นผู้ที่ได้ตรัสรู้ธรรม หรือท าให้ธรรมนั้นปรากฏแก่สายตาของสัตว์ทั้งปวง ซึ่งไม่อาจจะมองเห็นได้ด้วยสติปัญญาของตนเอง ข้อความนี้เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงรำพึง และตรัสไว้เองในคราวที่ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ซึ่งมีปัญหาเกิดขึ้นว่า พระพุทธเจ้าจะทรงอยู่โดยไม่มีอะไรเป็นที่เคารพ หรือหาไม่ดังนี้,



    ข้อความทั้งหมด ตามที่กล่าวมานี้ถ้าจะสรุปความให้สั้นที่สุด ก็จะสรุปได้ความว่า เนื้อตัวของเราทั้งหมด ก็คือธรรม, กฎธรรมชาติที่ควบคุมเราอยู่ก็คือธรรม หน้าที่ที่เราจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาตินั้นๆ ก็คือธรรม, และผลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่เรา ตลอดจนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในขั้นสุดท้ายของเรา ก็คือธรรมอีกนั่นเอง"ท่านทั้งหลาย จงมีธรรมเป็นดวงประทีป


    ...จงมีธรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัยเถิด"

    ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ธัมมทีปา ธัมมสะระณา” ซึ่งแปลว่า "ท่านทั้งหลาย จงมีธรรมเป็นดวงประทีป, จงมีธรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัยเถิด" ดังนี้, และพร้อมกันนั้นก็ได้ตรัสว่า"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต, ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต แม้ว่าผู้นั้นจะจับมุมจีวรของเราถืออยู่แล้วก็ตาม"ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น



    บัดนี้ เป็นการกล่าวได้ว่า เป็นโชคดีมหาศาลเป็นบุญกุศลมหาศาลของประชาชนชาวไทย ที่ได้มีมหาอัตตา หรือตนหลวงที่เป็นดวงวิญญาณของประเทศชาติ ที่เป็นธรรมิกราชาคือเป็นตนหลวงที่ประกอบด้วยธรรม,

    เป็นตนหลวงที่ทรงสรรเสริญธรรม, เป็นตนหลวงที่ทรงชักชวนประชาชนในธรรม, เป็นตนหลวงที่ทรงโปรดปรานผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม, และทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภ์เพื่อความมีอยู่แห่งธรรมในประเทศไทยและตลอดโลกทั้งปวง, ดังมีพระราชภารกิจต่างๆ ปรากฎเป็นประจักษ์พยานอยู่แก่สายตสของประชาชนชาวไทยทั้งมวลแล้ว,

    ส่วนที่ควรนับว่าเป็นกรณีพิเศษในวันนี้นั้น คือสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร ได้เสด็จมาถึงเมืองไชยานี้เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชาในที่เฉพาะหน้าแห่งพระธาตุเจดีย์อันเป็นที่ประดิษฐานแห่งพระบรมสารีริกธาตุประจำเมืองไชยานี้ย่อมเป็นการกระทำที่ส่งเสริมความมีอยู่แห่งธรรมในจิตใจของประชาชนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป, หรืออย่างน้อยก็จะยังคงมีอยู่อย่างเพียงพอแก่การที่จะคุ้มครองประชาชนส่วนนี้ให้ตั้งอยู่ในธรรม, ให้มีความร่าเริงกล้าหาญในการประพฤติธรรม สืบต่อไปตลอดกาลนาน,


    แม้ว่าเมืองไชยานี้จะเป็นเมืองโบราณมาแล้วแต่สมัยศรีวิชัยเคยรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนามาแล้วอย่าง ยิ่งถึงกับแม้แต่บทกล่อมลูกของชาวบ้านก็มีการกล่าวถึงนิพพานมาแล้วก็ตาม,

    แต่บัดนี้ตกอยู่ในสภาพที่ต้องการสิ่งกระตุ้นเตือนใจในทางธรรมเป็นอย่างยิ่ง, ดังนั้น การเสด็จพระราชดพเนินมาจนถึงที่นี่ ในลักษณะอย่างนี้ ในสถานการณ์อย่างนี้, ย่อมเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และสวัสดิมงคล,แก่ประชาชนในถิ่นนี้อย่าง
    มหาศาลเหลือที่จะเปรียบปาน,


    ขอให้สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารจงได้ทรงทราบถึงความจริงข้อนี้โดยประจักษ์, แล้วทรงสำราญพระราชหฤทัย ตามวิสัยแห่งธรรมราชาผู้ทรงชักชวนประชาชนทั้งหลายให้มีความกล้าหาญในทางแห่งธรรม จงทุกประการเถิด.ธรรมเทศนาสมควรแก่เวลา, เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้, ขอถวายพระพร



    “ท่านได้บรรลุ ปฎิสัมภิทาญาน เป็นแน่แท้! หรือไม่ก็ วิมุตติ ๕ ระดับสูง” แต่วิสัชนาไปแล้วว่า เห็น อสัทธรรม ฝั่งตรงกันข้ามด้วย เพราะอย่างนั้น ปฎิสัมภิทาญาน แน่แท้ หากท่านยังอยู่คงได้มีโอกาสเฝ้าอุปัฏฐาก ช่างน่าเสียดาย! ข้าพเจ้าจะเดินทางไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองไชยาอย่างแน่นอน!

    /งานคืนนี้ คือ แก้อรรถที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง อยากนั่งสมาธิก็อยากนั่ง อยากแปลก็อยากแปล งั้นแปลไปด้วย!

    เวรกรรมมากแล้ว จะประสบกรรมมิใช่น้อย พวกหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของในหลวง ร.๙
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2022
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24
    3715984A-4022-489F-8675-91205636C007.jpeg D9F12DD9-5B1A-4B5E-B0C4-25C5402DC3F7.jpeg


    สำหรับผู้คงแก่เรียน

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    การค้นหาคำว่า “ สมาบัติ 8
    ผลการค้นหาพบ 5 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
    [​IMG]
    [​IMG]

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 5
    [7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
    1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
    2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

    วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
    มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
    ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
    ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.

    ดู [8] [9] [10] ฌาน ต่างๆ และ [47] สมาธิ 3



    AA. II. 41;
    PsA.281;
    DhsA. 167. องฺ.อ. 1/536;
    ปฏิสํ.อ. 221;
    สงฺคณี.อ. 273

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 5
    [285] วิสุทธิ 7 (ความหมดจด, ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ, ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน — purity; stages of purity; gradual purification)
    1. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล คือ รักษาศีลตามภูมิขั้นของตนให้บริสุทธิ์ และให้เป็นไปเพื่อสมาธิ — purity of morality) วิสุทธิมรรคว่าได้แก่ ปาริสุทธิศีล 4 [160]
    2. จิตตวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิตจนบังเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา — purity of mind) วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ สมาบัติ 8 พร้อมทั้งอุปจาร
    3. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะเป็นจริง เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด — purity of view; purity of understanding) จัดเป็นขั้นกำหนดทุกขสัจจ์
    4. กังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย, ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง 3 — purity of transcending doubts) ข้อนี้ตรงกับ ธรรมฐิติญาณ หรือ ยถาภูตญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ จัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์
    5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ เริ่มเจริญวิปัสสนาต่อไปด้วยพิจารณากลาป จนมองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย อันเรียกว่าอุทยัพยานุปัสสนา เป็นตรุณวิปัสสนา คือวิปัสสนาญาณอ่อนๆ แล้วมีวิปัสสนูปกิเลส เกิดขึ้น กำหนดได้ว่าอุปกิเลสทั้ง 10 แห่งวิปัสสนานั้นมิใช่ทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าสู่วิถีนั่นแลเป็นทางถูกต้อง เตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีคือ วิปัสสนาญาณนั้นต่อไป — purity of the knowledge and vision regarding path and not-path) ข้อนี้จัดเป็นขั้นกำหนดมัคคสัจจ์
    6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน คือ ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลายเริ่มแต่อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีทางแล้วนั้น เป็นต้นไป จนถึงสัจจานุโลมิกญาณหรืออนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา ต่อแต่นี้ก็จะเกิดโคตรภูญาณ คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่งความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล โดยสรุป วิสุทธิข้อนี้ ก็คือ วิปัสสนาญาณ 9 — purity of the knowledge and vision of the way of progress)
    7. ญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความรู้ในอริยมรรค 4 หรือ มรรคญาณ อันเกิดถัดจากโคตรภูญาณเป็นต้นไป เมื่อมรรคเกิดแล้วผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆ ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น — purity of knowledge and vision)

    วิสุทธิ 7 เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไปเพื่อบรรลุนิพพาน ดุจรถ 7 ผลัดส่งต่อกันให้บุคคลถึงที่หมาย โดยนัยดังแสดงแล้ว

    ดู [328] วิปัสสนูปกิเลส 10; [311] วิปัสสนาญาณ 9

    5A383B95-801D-4F3E-9AE1-5BFB3AF8EB39.jpeg

    M.I.149;
    Vism.1-710. ม.มู. 12/298/295;
    คัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งหมด.

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 5
    [299] สมาบัติ 8 (คุณวิเศษเป็นที่อันบุคคลเข้าถึง หรือ ธรรมวิเศษที่ควรเข้าถึง, การบรรลุขั้นสูง — attainment) ได้แก่ ฌาน 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4

    ดู [9] ฌาน 4; [10] ฌาน 8; [207] อรูป 4.

    Ps.I.20 ขุ.ปฏิ. 31/60/34



    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 5
    [313] อนุบุพพวิหาร 9 (ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ — progressive abidings; mental states of gradual attainment)
    รูปฌาน 4 (the Four Absorptions of the Form-Sphere)
    อรูปฌาน 4 (the Four Absorptions of the Formless Sphere)
    สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา — extinction of perception and feeling) เรียกอีกอย่างว่า นิโรธสมาบัติ (attainment of extinction)

    สมาบัติข้อที่ 9 นี้ เฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญในสมาบัติ 8 ข้างต้นแล้วเท่านั้น จึงจะเข้าได้
    อนุบุพพวิหารนี้ เรียกอีกอย่างว่า อนุบุพพนิโรธ (graded stages of cessation) เพราะต้องดับขั้นต้นๆ และขั้นไปตามลำดับ จึงจะเข้าถึงขั้นสูงที่อยู่ถัดขึ้นไปได้

    ดู [9] ฌาน 4; [207] อรูป 4.

    D.III.265, 190;
    A.IV.410. ที.ปา. 11/355/279; 463/332;
    องฺ.นวก. 23/236/424.

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 5
    อติเรกทสกะ - หมวดเกิน 10Groups of More Than Ten[338] กรรม 12 (การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนาดีก็ตาม ชั่วก็ตาม, ในที่นี้หมายถึงกรรมประเภทต่างๆ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมเหล่านั้น — karma; kamma; action; volitional action)
    หมวดที่ 1 ว่าโดยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล (classification according to the time of ripening or taking effect)
    1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในปัจจุบันคือในภพนี้ — kamma to be experienced here and now; immediately effective kamma)
    2. อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิดคือในภพหน้า — kamma to be experienced on rebirth; kamma ripening in the next life)
    3. อปราปริยเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพต่อๆไป — kamma to be experienced in some subsequent becoming; indefinitely effective kamma)
    4. อโหสิกรรม (กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก — lapsed or defunct kamma)

    หมวดที่ 2 ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ (classification according to function)
    5. ชนกกรรม (กรรมแต่งให้เกิด, กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด — productive kamma; reproductive kamma)
    6. อุปัตถัมภกกรรม (กรรมสนับสนุน, กรรมที่เข้าช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม — supportive kamma; consolidating kamma)
    7. อุปปีฬกกรรม (กรรมบีบคั้น, กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน obstructive kamma; frustrating kamma)
    8. อุปฆาตกกรรม (กรรมตัดรอน, กรรมที่แรง ฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดในตระกูลสูง มั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น — destructive kamma; supplanting kamma)

    หมวดที่ 3 ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำแนกตามความยักเยื้องหรือลำดับความแรงในการให้ผล (classification according to the order of ripening)
    9. ครุกกรรม (กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม — weighty kamma)
    10. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม (กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองจากครุกกรรม — habitual D4D45F32-4553-4B44-B3F5-0A15A3DC0303.jpeg kamma)
    11. อาสันนกรรม (กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย คือกรรมทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มี 2 ข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น — death threshold kamma; proximate kamma)
    12. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำ, กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วกรรมนี้จึงจะให้ผล — reserve kamma; casual act)

    กรรม 12 หรือ กรรมสี่ 3 หมวดนี้ มิได้มีมาในบาลีในรูปเช่นนี้โดยตรง พระอาจารย์สมัยต่อมา เช่น พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น ได้รวบรวมมาจัดเรียงเป็นแบบไว้ภายหลัง.

    Vism.601;
    Comp.144. วิสุทธิ. 3/223;
    สงฺคห. 28.

    D4D45F32-4553-4B44-B3F5-0A15A3DC0303.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2022
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +24


    ED5D66B8-E6A7-432B-83CB-EBF62C729C8F.jpeg

    099E1F94-20B7-4C92-866F-2F900C6DF57D.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...