><กระทู้ใหม่(4) วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย หลากหลายสายราคาเบา (สรุปรายการ น.1) ><

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์ปิยธโร, 5 มกราคม 2017.

  1. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ยามบ่าย2.png
     
  2. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323
    1450.สวยผิวไฟแดงแป๊ด เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่วง รุ่น2
    สุดยอดชนวนแผ่นจาร ลป.ฝั้น,ลป.เทสก์ การบรรจุพระพุทธคุณที่ดีที่สุด

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    เหรียญพระแก้วมรกตจักรแก้วพระพุทธเจ้า (เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่วง รุ่น2) เนื้อนวโลหะกลับดำ ดำเนินการจัดสร้างโดย คุณสุธันย์ สุนทรเสวี ซึ่งใช้ระยะเวลาในการสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2540-2547 ปลุกเสกยาวนานถึง 7ปี จำนวนการสร้าง 2,036 เหรียญ + พร้อมหนังสือสูติบัตรประกอบการจัดสร้างเหรียญ 1 เล่ม

    พุทธลักษณะ
    เป็นเหรียญกลม ไม่มีห่วง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.3 ซ.ม.ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระแก้วมรกต ทรงเครื่องฤดูฝนประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์บัว 2 ชั้น อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วและรายล้อมด้วยดอกไม้ โดยเลียนแบบจากรูปลักษณ์จากเหรียญพระแก้ว มรกต รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี
    ด้านหลัง เป็นยันต์มหาจักร ซึ่งผูกจากพระคาถาจักรแก้วพระพุทธเจ้า
    “ อิติปิโสภควา เอกจกกํ มารเปตวา พุทธจกโก เวหาสคนตวา”
    หมุนออกจากแกนกลางวนแบบทักษิณาวัตร (หมุนวนขวามือ)

    จำนวนการสร้าง รวมทั้งสิ้น 2,222 เหรียญ
    แยกตามเนื้อโลหะดังนี้
    * เนื้อโลหะทองคำ 5 เหรียญ
    * เนื้อเงิน 181 เหรียญ
    * เนื้อนวโลหะ 2,036 เหรียญ


    เหรียญพระแก้วมรกตจักรแก้วพระพุทธเจ้า
    การถวายนาม
    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า

    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อเป็นพุทธานุสสติหนึ่งในกรรมฐาน 40 กอง ตามพุทธฎีกา และเป็นมหากุศลสืบต่ออายุพระศาสนาต่อไปในอนาคต
    2. เพื่อต้องการสร้างเหรียญพระแก้วมรกตที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเพียบพร้อมด้วยพิธีกรรมแต่โบราณ

    พิธีกรรมการจัดสร้าง ได้ยึดรูปแบบที่พระโบราณจารย์ ถือปฏิบัติสืบต่อมาคือ ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ วัน เริ่มเวลา ๐๘.๐๙ น. ตั้งแต่การบวงสรวงครูบาอาจารย์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยดาอารักษ์ หลอมทองชนวน การรีดแผ่นโลหะ และการปั๊มเหรียญ ทั้ง 3 ชนิด คือ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะกลับดำ แล้วเสร็จในเวลา ๒๓.๐๙ น. ได้เหรียญรวมทั้งสิ้นรวม 2,222 เหรียญ แยกเป็นเนื้อทองคำ 5 เหรียญ เนื้อเงิน 181 เหรียญ และเหรียญนวโลหะกลับดำ 2,036 เหรียญ

    การดำเนินการสร้าง
    เหรียญพระแก้วมรกต จักรแก้วพระพุทธเจ้า เนื้อนวโลหะนี้
    โดยคณะผู้จัดสร้างได้รวบรวมโลหะทองชนวน พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ หลายวาระ
    ทองชนวนพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ และครอบน้ำมนต์ที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก,ตะกรุดและแผ่นยันต์ของพระอริยสงฆ์
    และพระอภิญญาจารย์เจ้าทุกภาคทั่วประเทศและโลหะบริสุทธิ์ 9 ชนิดได้แก่ รวมทั้งแผ่นพระยันต์ 108 ดวง และนะปัถมัง 14
    นะอันเป็นพระยันต์บังคับตามตำราการสร้าง พระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ของสมเด็จพระพันรัตน์วัดป่าแก้ว กรุงเก่า ดังรายละเอียดดังนี้
    1.ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ สำนักวัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    1.1 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2482 (หน้าอินเดีย)
    1.2 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2483 (ฉลองพระชนม์)
    1.3 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2484 (พุทธนิมิตร)
    1.4 พิธีวันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2485 (น้ำท่วม)
    1.5 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2486 (เชียงตุง)
    1.6 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2487 (หลักชัย)
    1.7 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2489 (จาตุรงคมุนี)
    1.8 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2490 (นวโลกุตรญาณมุนี)
    1.3 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2490 (เทโว)
    1.10 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2495 (ทองทิพย์)
    1.11 พิธีวันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ. 2506 ( หลังปิ )
    2. ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์
    2.1ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สมเด็จย่า90” วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ
    2.2 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เศวตฉัตร” วัดเศวตฉัตร กรุงเทพฯ
    2.3 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สังวรวิมลเถร”วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    2.4 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “บวรรังสี” วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2.5 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ปวเรศ” วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    2.6 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “นเรศวรเมืองงาย” วัดราชนัดดากรุงเทพฯ
    2.7 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อู่ทอง” วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    2.8 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “พุทธปริต” วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    2.9 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อโยธยา” วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    2.10 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ติสสเทว” วัดขนอนเหนือ พระนครศรีอยุธยา
    2.11 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรสรณาคม” วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    2.12 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ปรโม” วัดจุกเฌอ ชลบุรี
    2.13 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชินบัญชร” วัดละหารไร่ ระยอง
    2.14 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรโลกนาถ” วัดวังหว้า ระยอง
    2.15 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เงินล้าน” วัดบางพระ นครปฐม
    2.16 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ฐิตคุโณ” วัดบางพระ นครปฐม
    2.17 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “พุทธรัตนะ” วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    2.18 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชินวํโส” วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    2.19 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “จักรพรรดิอุตตมะ” วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    2.20 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ชุติมนโต” วัดใหม่กลอ นครราชสีมา
    2.21 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ธาตุมหาชัย” วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    2.22 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “สมปรารถนา” วัดธาตุมหาชัย นครพนม
    2.23 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “ไตรลักษณ์” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.24 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เขมโกมุนี” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.25 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “เขมนันท์” สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    2.26 ทองชนวนพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ “อรหัง” วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    2.27 ทองชนวนพระกริ่ง “นิมมานโกวิท” วัดท่าทอง อุตรดิตถ์
    2.28 ทองชนวนพระกริ่ง “สุริยะวรมัน” วัดมงคลคีรีเขตต์ ตาก
    2.29 ทองชนวนพระกริ่ง “สุจิตโต” วัดมะปริง สุราษฎร์ธานี
    2.30 ทองชนวนพระกริ่ง “ทักษิณชินวโร” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.31 ทองชนวนพระกริ่ง “มหามงคล” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.32 ทองชนวนพระกริ่ง “ศรีเพชรรัตน์” วัดดอนศาลา พัทลุง
    2.33 ทองชนวนพระกริ่ง “อนันตคุณ” กรุงเทพฯ
    2.34 ทองชนวนพระกริ่ง “นวโลกุตรญาณมุนี” กรุงเทพฯ
    2.35 ทองชนวนพระกริ่ง “สามภพพ่าย” กรุงเทพฯ
    2.36 ทองชนวนพระกริ่ง “วัฒนะ” กรุงเทพฯ
    2.37 ทองชนวนพระกริ่ง “ธนบดี” กรุงเทพฯ
    3. ทองชนวนพระชัยวัฒน์
    3.1 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ3.2 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม3.3 ทองชนวนพระชัยวัฒน์ วัดหนัง กรุงเทพฯ
    4. ทองชนวนพระพุทธชินสีห์ ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    5. ทองชนวนพระศาสดา ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    6. ทองชนวนพระไพรีพินาศ ญสส (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    7. ทองชนวนพระนาคปรก สธ (บูชา) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
    8. ทองชนวนพระพุทธชินราชจำลอง 2485 วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    9. ทองชนวนพระกลางลาน วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    10. ทองชนวนพระปิดตามหาอุตตโม วัดท่าแหน ลำปาง
    11. ทองชนวนพระปิดตาราชาอุตตโม สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    12. ทองชนวนพระปิดตาพุทธคง วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
    13. ทองชนวนพระปิดตาราเมศวร วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
    14. ทองชนวนพระปิดตามหามงคล วัดดอนศาลา พัทลุง
    15. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    16. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ (ใหญ่) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    17. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ (เล็ก) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    18. ทองชนวนพระมหากัจจายน์รับลาภ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    19. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (นวโลหะ) วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    20. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (นวโลหะ) วัดช้างไห้ ปัตตานี
    21. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (สัตตโลหะ) วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    22. ทองชนวนรูปหล่อหลวงพ่อทวด (เบญจโลหะ) วัดทรายขาว ปัตตานี
    23.ทองชนวนเหรียญพระประทานพร 25 ปี ธนาคารศรีนคร กรุงเทพฯ
    24.ทองชนวนเหรียญหล่อสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    25. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์สมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ26. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์พระเทพสิทธินายก (เลียบ) วัดเลา กรุงเทพฯ27. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์หลวงพ่ออบ อินทวิริโย วัดถ้ำแก้ว เพชรบุรี
    28. ทองชนวนเหรียญสัมฤทธิ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    29. ทองสัมฤทธิ์จากองค์หลวงพ่อพระมงคลบพิตร พระนครศรีอยุธยา
    30. ทองสัมฤทธิ์พระเกศมาลาของพระศรีศากยทศพลญาณ พุทธมณฑล นครปฐม
    31. ทองสัมฤทธิ์จากเทวรูปขอมโบราณ
    32. ทองสัมฤทธิ์ยอดปราสาท
    33. ทองสัมฤทธิ์ยอดเจดีย์
    34. โลหะชินลูกแก้ว วัดญาณเสน พระนครศรีอยุธยา
    35. โลหะทองระฆัง วัดช่องแค นครสวรรค์
    36. โลหะทองจังโก วัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
    37. เงินพดด้วงสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์
    38. เงินบาท สมันรัชกาลที่ 4,5 และ6
    39. สตางค์แดง พ.ศ. 2466 – 2484
    40. แผ่นยันต์มหาจักรพรรดิ์ตราธิราช หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อำเภออุทัย พระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ปลุกเสก
    41. แผ่นยันต์ตามตำราวัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท โดยท่านพระอาจารย์มหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดสุวรรณโคตมาราม อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาทเป็นผู้ลงและปลุกเสก
    42. แผ่นพระคาถาชินบัญชร ลงและปลุกเสกโดยพระวิมลธรรมภาณ (วิเวียร) วัดดวงแข เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
    43. แผ่นพระคาถามหาธรณีสาร ลงและปลุกเสกโดยพระครูจันทสมานคุณ (หล้า) วัดป่าตึง อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่
    ตะกรุดสำคัญของพระเถราจารย์เจ้า1 ตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ตราธิราช– พระวิสุทธาจารย์เถร (เทียม) วัดกษัตราธิราช พระนครศรีอยุธยา
    – หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    – หลวงพ่อสละ เถรปัญโญ วัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา
    – หลวงพ่อเฉลิม เขมทสสี วัดพระญาติการาม พระนครศรีอยุธยา
    2 ตะกรุดโสฬสมหามงคล
    – พระญาณโพธิ์ (เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    – พระครูนนทกิจโสภณ (ทองสุข) วัดสะพานสูง ปทุมธานี
    – พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา พัทลุง
    3 ตะกรุดเกราะเพชร
    – พระมงคลวราจารย์ (เชิญ) วัดโคกทอง พระนครศรีอยุธยา
    – พระมหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดสุวรรโคตมาราม ชัยนาท
    – พระปฐมเจติยาธร (บูญธรรม) วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    – พระราชพรหมยานเถร (วีระ) วัดจันทาราม อุทัยธานี
    4 ตะกรุดตรีนิสิงเห
    – พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    – พระครูบริรักษ์ธรรมกร (บุญเทียม) วัดลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี
    5 ตะกรุดโทน
    – พระครูสุชัยบุญญาคม (เชื้อ) วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท
    – พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง
    6 ตะกรุดพระเจ้า 16 พระองค์
    – พระครูเวชคามบริรักษ์ (ตาบ) วัดมะขามเรียง สระบุรี
    – พระครูบรรหารศีลคุณ (แร่) วัดเชิดสำราญ ชลบุรี
    – พระครูสุนทรธรรมานุศาสตร์ (รวย) วัดท่าเรือแกลง ระยอง
    -พระครูศีลกิตติวัฒน์ (หนู) วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
    7 ตะกรุดลูกอม
    – พระวิสุทธิรังสี (เปลี่ยน) วัดไชยชนะชุมพล กาญจนบุรี
    – พระมงคลเทพรังษี (ดี) วัดเทวสังฆราม กาญจนบุรี
    – พระโสภณคณาจารย์ (เหรียญ) วัดศรีอุปลาราม กาญจนบุรี
    – พระมงคลราชวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    – พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    – พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
    8 ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ พระครูสุชาติเมธาจารย์ (กุน) วัดพระนอน เพชรบุรี
    9 ตะกรุดมหาปราบ หลวงพ่อคง ธมมโชโต วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
    10 ตะกรุดมหาปราบ พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง)วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    11 ตะกรุดมหาคงคา หลวงพ่อบ่าย ธมมโชโต วัดช่องลม สมุทรสงคราม
    12 ตะกรุดปราบทาสามหาระงับ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ)วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
    13 ตะกรุดฟ้าลั่น พระครูศรีฉฬงคสังวรเถร (เริ่ม) วัดจุกเฌอ ชลบุรี
    14 ตะกรุดมหานิทรา พระครูภาวนาภิรัติ (ทิม) วัดละหารไร่ ระยอง
    15 ตะกรุดแม่ทัพ พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง
    16 ตะกรุดชิงกรุง พระมงคลศีลาจารย์ (คร่ำ) วัดวังหว้า ระยอง
    17 ตะกรุดมหากำบัง พระครูสรรค์การวิชิต (พิมพ์) วัดสนามชัย ชัยนาท
    18 ตะกรุดฝนแสนห่า พระมหาโพธิ์ ญาณสํวโร วัดคลองมอญ ชัยนาท
    19 ตะกรุดเทพรัญจวร พระครูอุทัยธรรมกิจ (ตี๋) วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี
    20 ตะกรุดมหาเถร 108 พระครูวิมลศีลาภรณ์(สุรินทร์) วัดศรีเตี้ย ลำพูน
    21 ตะกรุดสลีกัญชัย พระครูอุดมขันติธรรม(ขันแก้ว) วัดป่ายาง ลำพูน
    22 ตะกรุดนารายณ์แปลงรูป พระครูธรรมกิจโกศล(นอง) วัดทรายขาว ปัตตานี
    23 ตะกรุดจันทร์เพ็ญ (ทองคำ) หลวงปู่ผูก จันทโชโต วัดเกาะ เพชรบุรี


    การบรรจุอิทธิ – พุทธานุภาพ
    1). พิธีมหาพุทธาภิเษก
    1. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระบรมรูป ร.5 4 ตุลาคม 2540
    2. วัดสุทัศฯเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีทรัพย์เพิ่มพูน 7 พฤศจิกายน 2540
    3. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พิธีพระเศรษฐีนวโกฏิ 15 พฤศจิกายน 2540
    4. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระพิฆเณศวร ศิลปากร 8 มกราคม 2541
    5. วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี พิธีเหรียญพระรูป ร.5 23 ตุลาคม 2541
    6. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธปัญญา 30 สิงหาคม 2542
    7. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีพระกริ่งอัตตรักโข 23 ตุลาคม 2542
    8. วัดยางงาม ราชบุรี พิธี 100 ปี ปากท่อ 27 ตุลาคม 2542
    9. วัดเลา กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธสุขสิริ 6 พฤศจิกายน 2542
    10. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีเสาร์ 5 8 เมษายน 2543
    11. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีเสาร์ 5 8 เมษายน 2543
    12. วัดช้าง นครนายก พิธีพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ “สาธารณสุข” 9 มิถุนายน 2543
    13. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีพระพุทธนิรามัย 27 มิถุนายน 2543
    14. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีสมโภชรูปเหมือนหลวงพ่อจ่าง 23 ตุลาคม 2543
    15. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีวันเพ็ญ เดือน 12 พฤศจิกายน 2543
    16. วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี พิธีพระกริ่งเพชรกลับ วชิรเวท 7 ธันวาคม 2543
    17. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งพุทธยอดฟ้า 31 ธันวาคม 2543
    18. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีรูปเหมือนสะดุ้งกลับ หลวงพ่อพูล 18 มกราคม 2544
    19. วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พิธีพระกริ่งจอมไทย 19-27 มกราคม 2544
    20. วัดไผ่ล้อม นครปฐม พิธีมงคลอายุวัฒน์ 90 10 กุมภาพันธ์ 2544
    21. วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม พิธีชัยมังคลาภิเษก 25 เมษายน 2545
    22. วัดเลา กรุงเทพฯ ….………………. 27 เมษายน 2545
    23. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีหลวงปู่ทวด กระทรวงกลาโหม 10 พฤศจิกายน 2545
    24. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ พิธีพระพุทธนิรโรคันตราย 11 พฤศจิกายน 2545
    25. วัดเลา กรุงเทพฯ ….……………….. 13 พฤศจิกายน 2545
    26. วัดปราสาทบุญญาวาส กรุงเทพฯ พิธีหลวงพ่อทวด 19 พฤศจิกายน 2545

    2) การปลุกเสก – อธิษฐานจิตเดี่ยว
    1. พระครูภัทรธรรมรัติ (ภัทร) วัดโคกสูง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 6-7 กันยายน 2540
    2. พระครูสุวรรณวิสุทธิ์ (เจริญ) วัดธัญญวารี อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี 22 กันยายน 2540
    3. พระครูวิทิตพัฒนาทร (จ้อย) วัดหนองน้ำเขียว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 28 มกราคม 2540
    4. พระครูปราสาทพรหมคุณ (หงส์) วัดเพชรบุรี อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 1 กุมภาพันธ์ 2540
    5. พระธรรมมุนี (แพ) วัดพิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี 12 เมษายน 2541
    6. พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 12 เมษายน 2541
    4 มกราคม – 31 มีนาคม 2542
    7. พระภาวนานุสิชฌ์เถร (หรุ่ม) วัดบางจักร อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
    12 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2541,27 มกราคม 2544,3 มีนาคม 2544
    8. พระนิมมานโกวิท (ทองคำ) วัดท่าทอง อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 5 พฤษภาคม 2541และ13 – 14 พฤษภาคม 2547
    9. พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์(วงศา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน 6 พฤษภาคม 2541
    10. พระครูมงคลคุณาทร (คำปัน) วัดหม้อคำตวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 6 พฤษภาคม 2541
    11. พระครูวรวุฒิคุณ (อิน) วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    12. พระครูพิศิษฐสังฆการ (ผัด) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    13. พระครูสิริศีลสังวร (น้อย) วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    14. พระครูชัยยะวงศ์วิวัฒน์ (หน่อย) วัดบ้านปง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    15. ครูบาเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 7 พฤษภาคม 2541
    16. พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม) วัดคูหาสุวรรณ อ.เมืองฯ จ.สุโขทัย 8 พฤษภาคม 2541
    17. พระครูศีลสารสัมปัน (อ่อน) วัดเนินมะเกลือ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 8 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2541
    18. พระครูสุนทรวชิรเวท (จ่าง) วัดเขื่อนเพชร อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 8 กรกฎาคม – 5 ตุลาคม 2541
    (ไตรมาส 2541 )
    19. พระราชอุดมมงคล (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี 18 ธันวาคม 2541,13 พฤษภาคม 2542 ,และ 14 พฤษภาคม-2 มิถุนายน 2542
    20. พระครูสถิตย์โชติคุณ (ไสว) วัดปรีดาราม อ.สามพราน จ.นครปฐม 3 – 21 มิถุนายน 2542
    21. พระครูสุนทรจริยวัตร (ม่วง) วัดยางงาม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 22 มิถุนายน – 23 ตุลาคม 2542
    ( พรรษา 2542 )
    22. พระครูสังวรานุโยค (ช่อ) วัดโคกเกตุ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 11 พฤศจิกายน – 28 ธันวาคม 2542,1 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม 2544และ1 มกราคม – 30 เมษายน 2547
    23. พระครูปุริมานุรักษ์(พูล) วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.นครปฐม 8 เมษายน 2543 (เสาร์5) 15 กรกฎาคม – 13 ตุลาคม 2543(ไตรมาส 2543 )
    24. พระอาจารย์ธรรมนูญ ฐิตวัฒฑโน วัดมณีชลขันธุ์ อ.เมือง จ.ลพบุรี 27 มกราคม – 2 มีนาคม 2544
    25. พระอาจารย์ใย สัญญาโม วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 2 มีนาคม – 5 พฤษภาคม 2544
    26. หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 3 มีนาคม 2544,6 พฤษภาคม 2544และ24 มิถุนายน 2545
    27. พระครูวินัยวชิรกิจ (อุ้น) วัดตาลกง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี 1 กรกฎาคม – ตุลาคม 2544(ไตรมาส 2544)
    28. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (สมโภช) วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 14 กุมภาพันธ์ – 20 เมษายน 2545
    29. พระราชวิทยาคมเถร (คูณ) วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา (ไตรมาส 2545 ) 22 กรกฎาคม – 21 ตุลาคม 2545และ 23 ตุลาคม 2545
    30. พระครูวิชัยกิจอารักษ์ (อุดม) วัดพิชัยสงคราม อ.พระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา 17 มีนาคม – 10 กรกฎาคม 2546
    31. พระอาจารย์เมือง พลวัฒทโณ วัดป่ามัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ (ไตรมาส 2546) 13 กรกฎาคม – 2 พฤศจิกายน 2546
    32. พระอาจารย์สมบูรณ์ กนตสีโล วัดป่าสมบูรณ์ธรรม อ.ชาตตระการ จ.พิษณุโลก 14 พฤษภาคม – 27 ตุลาคม 2547( ไตรมาส 2547 )
    เหรียญนี้ เข้าพิธีมานานถึง 7 ปี


    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก :
    - https://prasaksit.wordpress.com/2008/03/21/เหรียญพระแก้วมรกตหมดห่/

    สภาพสวยเดิมๆ เหรียญผิวไฟแดงแป๊ดเดิมๆ ปกติถ้าเก็บรักษาไม่ดีผิวจะดำหมดทั้งเหรียญ เหรียญนี้ถือว่าเดิมสุดๆมีบางส่วนเท่านั้นที่กลับดำ สุดยอดเหรียญแห่งปีที่ยอดเยี่ยมศักดิ์สิทธิ์และมหาพิธีการประจุพลังอธิษฐานจิต องค์จริงสวยกว่าในรูปไม่แท้ไม่ทันคืนเต็ม แบ่งให้บูชา 2,222 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)





    (คุณพุทโธ ภควา จองแล้วครับ)






    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 5HcN.jpg
      5HcN.jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.3 KB
      เปิดดู:
      540
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2020
  3. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323



    $$$$$ ปิดรายการแล้วครับผม $$$$$





    1451.เล็กดีรสโตแจกทาน เหรียญบัวพ้นน้ำสารพัดนึก

    ลป.เทสก์,ลป.หล้า,ลป.คำพันธ์,ลป.เกษม เมตตาอธิษฐานจิต

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    "" ขออนุญาติเจ้าของภาพด้วยนะครับ ""

    พระนาคาธิบดีศรีสัตตนาค รุ่นแรก ผลงาน อ.อำพลเจน
    ที่ด้านหลังฝัง
    เหรียญบัวพ้นน้ำสารพัดนึก ซึ่งเป็นแบบพิเศษสร้างน้อยมากๆ
    1l78qe-jpg.jpg 1l0f0r-jpg.jpg
    เหรียญกลีบบัว บัวพ้นน้ำ รุ่นสารพัดนึก เนื้อทองแดงรมดำ ดำเนินการจัดสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2533-2535 โดยคณะจัดสร้างร่วมกันหลายท่าน (อ.อำพล เจน น่าจะร่วมสร้างด้วย) ปลุกเสกหลายวาระ หลายครูบาอาจารย์ และนำมาแจกจ่าย ไล่เลี่ยกับนาคปรกรุ่นแรกของหลวงปู่คำพันธ์ พระชุดนี้ เป็นพระองค์เล็กๆ น่ารักๆ แต่เชื่อมั่นได้ว่าครูบาอาจารย์ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกให้เป็นอย่างดี เจตนาการสร้างแจกเพื่อเป็นทานทั้งสิ้น
    วาระพุทธาภิเษก
    ครั้งแรก :
    - วันที่20 กันยายน 2534 ณ วัดศรีบุญเรือง อ.เมือง จ.มุกดาหาร อธิษฐานจิตโดย หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ และเกจิอาจารย์ภาคอีสาน

    ครั้งที่สอง :
    - วันที่ 28 พฤศจิกายน 34 ณ สุสานไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง อธิษฐานจิตโดย หลวงปู่เกษม เขมโก อธิษฐานจิต

    องค์อธิษฐานจิตเพิ่มเติม
    - หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จังหวัดหนองคาย
    - หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ จังหวัดมุกดาหาร
    พุทธคุณครอบครบ พ่อแม่ครูอาจารย์เมตตาอธิษฐานจิตล้วนแล้วบริสุทธิ์ยิ่งดั่งเพชรน้ำหนึ่ง คนรู้ซุ่มเก็บกันเงียบๆ ของจึงไม่ค่อยมีหมุนเวียนมากนัก วัตถุมงคลที่หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่หล้า เมตตาอธิษฐานจิตให้มีมากที่ไหนหารุ่นนับได้ซึ่งน้อยมากจริงๆ เพราะฉะนั้นย่อมเป็นมงคลยิ่งอย่างที่สุด สำหรับเหรียญรุ่นนี้ เจตนาการสร้างแจกเพื่อเป็นทานทั้งสิ้น


    ขอขอบคุณ
    - ข้อมูลจากเซียนสายตรงจังหวัดนครพนม และสายอิสาน

    สภาพสวยเดิมๆพิมพ์คมชัดลึก พุทธคุณครอบครบ พ่อแม่ครูอาจารย์เมตตาอธิษฐานจิตล้วนแล้วบริสุทธิ์ยิ่งดั่งเพชรน้ำหนึ่ง แบ่งให้บูชา 432 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1l0jde-jpg.jpg
      1l0jde-jpg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      334.3 KB
      เปิดดู:
      593
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2020
  4. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323
    1452.ของดีเมืองดอกคูณ (C) พระพุทธมหาจักรพรรดิ์
    ลป.แตงอ่อน,ลป.ผ่าน,ลป.บุญพิน เถรจารย์พระกัมมัฏฐานเมตตา

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    wm84yj-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
    1ujomj-jpg.jpg
    พระผงพระพุทธมหาจักรพรรดิ์ ที่ระลึกจากหออภิบาลสงฆ์หลวงปู่มั่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น เนื้อว่าน108 ผสมผงพุทธคุณ ดำเนินการจัดสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2550

    พระผงพระพุทธมหาจักรพรรดิ์นี้ นักสะสมสายตรง หลวงปู่แตงอ่อน กัลยาณธัมโม ตามเก็บและสะสมกันมานานแล้ว แต่ของไม่ค่อยมีหมุนเวียนสักเท่าไหร่ เนื่องจากไม่มีออกให้บูชาทั่วไปแต่มอบให้เพื่อเป็นที่ระลึก ซึ่งในบรรดาลูกศิษย์ที่ได้ไว้ต่างหวงแหนเก็บยาวกันหมด ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ศรัทธา

    เมตตาอธิษฐานจิตโดย
    - หลวงปู่แตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล จ.สกลนคร
    ศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, ท่านพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม, ท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร วัดอิสระธรรม


    - หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม จ.สกลนคร
    ศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม, หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ วัดป่าหนองแซง, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร, ท่านพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร วัดอิสระธรรม

    - หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต จ.สกลนคร
    ศิษย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม, พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก, หลวงปู่สีลา อิสสโร วัดป่าอิสระธรรม, พระอาจารย์ศรีนวล ที่วัดรัตนนิมิต


    สภาพสวยเดิมๆเก่าเก็บ เจ้าของเดิมเป็นคุณหมอคณะลูกศิษย์รับมาโดยตรงจากท่าน พิมพ์คมชัดลึกเนื้อหามวลสารมหาว่านอัดแน่น พุทธคุณล้นเปี่ยม แบ่งให้บูชา 222 บาท(พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)




    (คุณอาทิตย์03 จองแล้วครับ)






    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2019
  5. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323



    $$$$$$$ ปิดรายการแล้วครับ $$$$$$




    1453.ปลิงไม่ได้กินเลือด พระอม หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง
    ของดียุคสงครามโลกปี84 ลพ.จงเมตตาปลุกเสก

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    พระอม พิมพ์พระพุทธ หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง จังหวัดปทุมธานี เนื้อดินผสมผงวิเศษ(ผงลบยันต์ “นะ” ต่าง ๆ ยันต์ต่าง ๆ อันเป็นตำราที่เล่าเรียนมาจากพระอาจารย์) ท่านสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2484 ช่วงประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเจตนาการสร้างขึ้นเพื่อแจกญาติโยม และชาวบ้านแถบย่าน จ.ปทุมธานี ที่ได้มาขอให้วัตถุมงคลไว้คุ้มครองจากภัยสงคราม

    นอกจากหลวงพ่อหอมจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ท่านยังได้นิมนต์ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มาปลุกเสกพระชุดนี้ด้วย เนื่องจากหลวงพ่อหอมท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจงอีกรูปหนึ่ง

    พระอม คือ ผู้คนที่มีพระอมของท่านจะแคล้วคลาดอันตรายทุกคนด้วยชาวสามโคกมีอาชีพในการทำอิฐมอญเผาและก็ทำนา ชาวบ้านเล่าสู่กันฝังว่าเมื่อใดที่ลงไปในน้ำมักจะใช้พระอมของหลวงพ่อหอมที่มีขนาดเล็กอมไว้ใต้ลิ้นทำให้ปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆที่มากับน้ำแม้กระทั้งปลิงดูดเลือดยังไม่เกาะ

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงพ่อหอม รามธมฺโม
    วัดบางเตยกลาง (เปิ้ง)
    ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

    ปฏิปทากิตติคุณศีลวัตร "พระครูธีรานุวัตร" หรือ "หลวงพ่อหอม รามธมฺโม" พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง (เปิ้ง) ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี หนึ่งในพระปฏิบัติดีรูปหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี

    "หลวงพ่อหอม" นามเดิม เปรื่อง นามสกุล ศีลปี แต่ชาวบ้านตำบลบางเตย นิยมเรียกท่านว่า "หอม" เกิดที่ตำบลบางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี บิดาชื่อ แปลก ศีลปี เป็นชาวฝั่งธนบุรี แถวสามแยกไฟฉายตรงข้ามวัดรวก มารดาชื่อ เปลื้อง (ใจทน) เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญ ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

    หลวงพ่อท่านเป็นบุตรโทน อาชีพทำนาและค้าขาย เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2459 ในวัยเด็กหลวงพ่อหอมเรียนหนังสือไทย ที่โรงเรียนวัดจันทร์กะพ้อ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี จนจบ ม.1 ปัจจุบันเรียกว่า ชั้น ป.5 แล้วลาออกไม่ได้เรียนต่ออีก พอโตวัยหนุ่มได้ช่วยบิดามารดาค้าขาย

    จนมีอายุครบ 21 ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดไผ่ล้อม ต.บ้านงิ้ว อ.สามโคก จ.ปทุมธานี โดยมี พระอธิการจ่าง เกสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการเจริญ ญาติวังโส อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมลำดับต่อมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการช่วง อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "รามธมฺโม"

    เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2481 ได้จำพรรษาอยู่วัดไผ่ล้อม เรียนพระปริยัติธรรมกับพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จนสอบได้นักธรรม หลวงพ่อหอมมีความสนใจในด้านทำพระเครื่องมาก จึงเรียนวิชาทำพระเครื่องทำตะกรุดและวัตถุมงคลต่างๆ ทุกชนิด เรียนกับอาจารย์มาตลอด ท่านจำพรรษาอยู่วัดไผ่ล้อม 5 พรรษา พอดีเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลางว่างลง ท่านเจ้าคุณพระปทุมวรนายก เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ในขณะนั้น และญาติโยมที่วัดบางเตยกลางได้ไปนิมนต์ท่านให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง เมื่อปี พ.ศ.2486 ขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุ 27 พรรษา 6

    วัดบางเตยกลาง (วัดเปิ้ง) ตั้งอยู่ใจกลางอำเภอสามโคก วัดกับที่ทำการอำเภอสามโคกห่างกันประมาณ 200 เมตร ถนนเดียวกันคือ ปทุม-สามโคก-เสนาอยุธยา วัดอยู่ติดถนน ชุมชนส่วนมากจะเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ (รามัญ)

    วัดบางเตยกลางเดิมชื่อว่า "วัดแค" สร้างเมื่อปี พ.ศ.2330 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาชาวมอญอพยพหนีสงครามมาพึ่งโพธิสมภารอยู่กับคนไทยที่เมืองสามโคก วัดนี้จึงมีสภาพเป็นวัดมอญแปลง และชาวบ้านคนไทยเชื่อสายมอญชอบเรียกว่า "วัดเปิ้ง"

    ต่อมาพระยาอำภัยมหัยสวรรค์กลับจากรบกับเงี้ยว ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดลิ้มกลีบอำภัยมหัยสวรรค์" (ลิ้มกลีบเป็นภรรยาพระยาอำภัยมหัยสวรรค์) ต่อมามีการเปลี่ยนชื่ออีกเป็น "วัดบางเตยกลาง" จนถึงปัจจุบัน แต่ชาวบ้านยังเรียกติดปากว่า "วัดเปิ้ง" อยู่บ้าง

    หลังจากได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง แล้วท่านได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมมากในขณะนั้น โดยสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ หอระฆัง และสร้างอุโบสถหลังใหม่หมด

    หลวงพ่อหอมเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมากองค์หนึ่ง ท่านนิยมสร้างพระเครื่องมาก มีทั้งพระสมเด็จ พระอม ตะกรุด เหรียญและพระพิมพ์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อหอมได้รับความนิยมอย่างมาก โดยท่านปฏิบัติอยู่ในศีลเคร่งครัดมาก จนชาวบ้านนับถือมาก

    ท่านดูแลวัดวาอารามสั่งสอนลูกศิษย์และญาติโยมให้เป็นคนดีมาตลอดไม่เคยขาดตกบกพร่อง ท่านจะสอนทั้งพระเณรลูกศิษย์ ญาติโยมทุกคนเสมอภาพกันหมด แต่ชาวบ้านกลัวท่านมาก เพราะท่านจะดุ สอนให้เป็นคนดีทำสิ่งที่ถูกต้องโดยไม่เคยกลัวใครว่าท่านเลย ท่านเคยพูดว่า "ทำให้เขาไปสวรรค์" สอนสิ่งที่ถูกต้องจนชาวบ้านนับถือท่านมาก เพราะท่านมีเมตตากับทุกคน จึงสอนให้ลูกศิษย์ญาติโยมเป็นคนดีโดยไม่นิ่งเฉย สอนอยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ชาวบ้านนิยมนำพระเครื่องและวัตถุมงคลทุกอย่างของหลวงพ่อหอมติดตัวตลอดเวลา ท่านได้ทำพระเครื่องวัตถุมงคลยมีพุทธคุณสูงมาก ท่านจะลงคาถาที่ท่านได้เรียนจากอาจารย์มาโดยใช้พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ส่วนมากแล้วกำกับด้วย คาถา อักขระขอมว่า กัม กะ ระ นัง ทุกอย่าง กัม กะ ระ นัง นี้คือ การกระทำของตัวเราเองทำอย่างไรได้อย่างนั้น

    เคยมีคนถามหลวงพ่อหอมว่า "วัตถุมงคลของหลวงพ่อใช้ในด้านไหนเมตตาหรือคงกระพัน"

    หลวงพ่อหอมบอกว่า "อธิษฐานเอาเองใช้ได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราขาดการนึกถึง คุณบิดา คุณมารดา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เหมือนเราแขวนดิน" เพราะฉะนั้น หลวงพ่อหอมจะบอกให้นึกถึงและปฏิบัติต่อบิดา มารดา เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ดีชีวิตก็ดีขึ้นเจริญขึ้น

    หลวงพ่อหอมมีอายุ 90 ปี 69 พรรษา ลูกศิษย์และญาติโยมจึงพร้อมใจกันจัดงานทำบุญอายุ 90 ปีขึ้น และฉลองวิหารกับหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อหอมด้วยในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2549

    หลวงพ่อหอม ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคชรา สิริอายุรวม 91 พรรษา 70 ก่อนหน้านี้ คณะศิษยานุศิษย์ได้นำหลวงพ่อหอม เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนนทเวช เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550


    สภาพสวยเดิมคราบเก่าจากการเก็บรักษา พิมพ์คมชัดลึก ของดีราคาเยาว์พุทธคุณครอบครบ แบ่งให้บูชา 199 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ft7eww-jpg.jpg
      ft7eww-jpg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      847.8 KB
      เปิดดู:
      551
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2020
  6. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323


    $$$$$ ปิดรายการแล้วครับผม $$$$$






    1454.ยอดเหรียญมหาพิธี เหรียญพระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟ
    พระสังฆราช,ลป.ฝั้น,ลป.สิม,ลปโต๊ะ,ลพ.กัสสปมุนี ร่วมเศกมหาพิธี

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    เหรียญพระสยามเทวาธิราช พิมพ์เล็ก วัดป่ามะไฟ จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อทองแดงรมน้ำตาล จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2518 สุดยอดมหาพิธีของเมืองไทย

    ประวัติการจัดสร้าง เหรียญพระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟ
    เหรียญพระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟ ปราจีนบุรี ตามคำบอกเล่าของพระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต) อดีตรองเจ้าคณะอำเภอเมืองปราจีนบุรี เจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ได้เกิดนิมิตรกับหลวงพ่อหลายครั้งในนิมิตมีพราหมณ์ชราผู้ชายนุ่งขาวห่มขาว แล้วบอกว่าถ้าต้องการให้วัดป่ามะไฟมีความเจริญรุ่งเรืองให้จัดสร้างพระสยามเทวาธิราชขึ้นมา จนเป็นเหตุให้หลวงพ่อเกิดความคิดที่จะสร้างพระสยามเทวาธิราชขึ้นจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ท่านจึงได้ปรึกษาหารือกับ คุณ สมัย พ่วงตามพงษ์ ผู้จัดการธนาคารกรุงเทพ สาขาเจริญพาศน์ คุณ วรันดับ ฉัตรกุล ณ อยุธยา(บุญนาค) คุณเจริญ พรหมศร คุณ ภาวาส บุญนาคพร้อมด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน เมื่อมีมติเห็นชอบแล้วจึงได้จัดทำหนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดสร้างพระสยามเทวาธิราช วัดป่ามะไฟขึ้น แต่ในครั้งที่ 1 และ 2 ผ่านไปก็ยังไม่ได้รับหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาต แต่อย่างใด จนกระทั่งครั้งที่ 3 จึงได้มีหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาต ทางวัดจึงได้ดำเนินการจัดสร้างและจัดพิธีพุทธาภิเษก (พระคณาจาร์ยนั่งปรกในพิธี) ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2518 เวลา 13.30 น.


    พิธีมหามงคลภิเษก
    - 10 เมษายน 2518
    เวลา 13.30 น. สมเด็จพระสังฆราชจุดเทียนชัย พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มงคลพิธีภิเษกพระคณาจาร์ยนั่งปรก
    - 11 เมษายน 2518 เวลา 11.45 น. เททองหล่อพระประธาน

    เมื่อปี 2518 ทางวัดป่ามะไฟได้ทำพิธีเททองหล่อพระประธาน และได้จัดสร้างเหรียญนี้ขึ้น

    โดยมีพระเกจิอาจารย์มาร่วมปลุกเสกดังนี้
    1. สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ

    2. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    3. หลวงพ่อผาง จิตคตโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต

    4. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    5. หลวงปู่สิม พุทธาจารโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง
    6.หลวงพ่อหงษ์ วัดชลสงคราม
    7.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    8.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
    9. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    10.หลวงปู่กัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม
    11. พระอาจาร์ยสาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก
    12. พระอาจาร์ยฝั่น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร
    13. ท่านเจ้าคุณชิน วงศาจาร์ย วัดป่าสาลวัน

    14. หลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
    15. หลวงพ่อเย็น วัดแจงนอก
    16. หลวงพ่อชม วัดเขานันทา
    17. หลวงพ่อถิร วัดป่าเรไร
    18. หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
    19. หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    20. หลวงปู่แว่น วัดสันติสังฆาราม
    21. หลวงปู่พล วัดหนองคณฑี
    22. หลวงพ่อสุพจน์ วัดดอนตัน
    23. หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีธรรมเจริญสุข
    24. หลวงพ่อเย็น วัดกลางชูศรีธรรมเจริญสุข
    25. หลวงปู่สำลี ปภาโส วัดซับบอน
    26. หลวงพ่อดำ วัดเสาธงทอง
    27. หลวงปู่ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพุทธบาท ห้วยต้ม
    28. หลวงพ่อคำดี วัดป่าสุทธาวาส
    29. พระครูปัญญาทุราทร วัดเขาชายธง ถ้ำวิมุตติสุข
    30. หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน
    31. พระอาจาร์ยวัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม
    32. หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม สำนักพระเจ้าพรหมมหาราช

    ขอบคุณข้อมูลจาก : ข้อมูลคัดจาก หนังสืออนุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง สุขิโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ


    สภาพสวยเดิม หน้าเหรียญไม่สึกเลยสักนิดเดียว พิมพ์คมชัดลึกไม่ได้ใช้ พิมพ์ใหญ่นิยมหายากแล้วครับผม เหรียญดีมีประสบการณ์ พุทธคุณล้นฟ้าราคาสบายกระเป๋า แบ่งให้บูชา 650 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • f3BlFz.jpg
      f3BlFz.jpg
      ขนาดไฟล์:
      970.3 KB
      เปิดดู:
      582
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2020
  7. อาทิตย์03

    อาทิตย์03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +773
    จองครับ
     
  8. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323

    -jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg-jpg.jpg
     
  9. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323
    รายการจัดส่งพัสดุครับผม
    04/11/2562



    คุณพื้นทราย
    - EMS เลขที่ EW870982041TH

    ---------------------------------------





    ***อย่าลืมชม สรุปรายการที่ หน้า1 นะครับผม***
    ขอบพระคุณทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม

    และอุดหนุนผมนะครับ
    Tel: 086-0441367, engineer0206nu@gmail.com



    -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif


    ==>> ตรวจสอบเลขEMS : http://track.thailandpost.co.th/tracking/default.aspx
     
  10. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323


    $$$$$$ ปิดรายการแล้วครับผม $$$$$$






    1455.มหาพิธีครั้งยิ่งใหญ่ เหรียญเสมานิรันตราย วัดราชประดิษฐ์ ในหลวงเสด็จทรงสุหร่าย
    ลป.ดู่,ลป.ทิม,ลต.มหาบัว,ลพ.มุ่ย ร่วมอธิษฐานจิตมหาพิธี

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ

    5cac0f723e72d7bfa098a8889ab2ceb5-jpg.jpg
    thumb-bc86_573dd925-jpg-jpg-jpg.jpg thumb-789d_573dd925-jpg-jpg-jpg.jpg
    เหรียญเสมานิรันตราย วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กทม. เนื้อกะไหล่ทอง จัดสร้างขึ้นระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ.2515

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง 3 ประการคือ
    (1) สมโภชพระอารามหลวงที่มีอายุครบ 108 ปี
    (2) สมโภช “พระนิรันตราย” องค์ประจำวัดซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานประจำวัดธรรมยุตตามพระราชประสงค์ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถ ซึ่งองค์ของวัดราชประดิษฐ์ฯ
    (3) จัดสร้าง “พระนิรันตราย” (ขนาดบูชา) พร้อม “พระกริ่งนิรันตราย” และ “พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (สา)” หรือ “พระกริ่งโสฬส รุ่น 2” (รุ่น แรกสร้างเมื่อครั้งจัดงานสมโภชครบ 100 ปีวัด พ.ศ. 2507) นอกจากนั้นยังมี “เหรียญนิรันตราย” อีก 2 แบบคือ “พัดยศ” หรือ “เจริญยศ” และแบบ “เสมา” หรือ “เจริญลาภ” รวมทั้ง “พระกริ่งนิรันตรายขนาดเล็ก” และ “พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4” พร้อม “ล็อกเกตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” ขณะทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแก่ “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำไปสักการบูชาโดยรายได้นำบูรณ ปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐ์ฯ ที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา


    ประวัติการจัดสร้างพระกริ่งโสฬส
    สำหรับการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้นทางคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ พระธรรมปาโมกข์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พลเอกประภาส จารุเสถียร รองหัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายฆราวาส
    โดยกราบบังคมทูลอัญเชิญ เชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเสด็จฯ เททองหล่อพระนิรันตราย (ขนาดบูชา) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2515 จำนวน 908 องค์ ตามจำนวนสั่งจองจากนั้นจึงนำทองชนวนที่เหลือจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองไปจัดสร้าง พระกริ่งนิรันตราย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก, พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชสา (กริ่งโสฬส) และ เหรียญพระนิรันตราย ทั้งสองแบบ ดังกล่าวข้างต้นอย่างละ 50,000 องค์ เท่ากันยกเว้น พระบรมรูปรัชกาลที่ 4ประทับยืนแบบเดียวกับองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ใน ปราสาทพระจอมเกล้า (ปราสาททรงพระปรางค์) สร้างจำนวน 108 องค์ และ ล็อกเกต จำนวนหลักร้อยเช่นกันซึ่งหลังการสร้างวัตถุมงคลเสร็จแล้วได้จัดทำ พิธีพุทธาภิเษกและมังคลาภิเษก ภายใน พระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ฯ ระหว่างวันที่ 16-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 รวม 9 วัน 9 คืน ซึ่งตรงกับช่วงวันสถาปนาวัดพอดี
    โดยนิมนต์พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณในขณะนั้น ทั่วพระราชอาณาจักร เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก คืนละ 12 รูป รวมทั้งหมด 108 รูป เท่ากับอายุของวัดราชประดิษฐ์ฯ ทุกประการ


    รายนามพระคณาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณได้แก่
    1.พระสมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ ประธานจุดเทียนชัย
    2.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    3.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

    4.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
    5.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    6.หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด

    7.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกองเพล
    8.หลวงปู่เทศก์ วัดหินหมากเป้ง
    9.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    10.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่

    11.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
    12.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม
    13.หลวงพ่อโชติ (ระลึกชาติ) วัดตะโน

    14.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
    15.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    16.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง
    17.หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง
    18.หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช
    19.หลวงปู่จันทร์ วัดเลยหลง
    20.หลวพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี

    21.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
    22.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
    23.หลวงพ่อรวย วัดตะโก
    24.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

    25.หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า เป็นต้น
    นอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์สายวิปัสสนาทั้ง 4 ภาค ร่วมนั่งอธิษฐานจิตปลุกเสกเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน โดยผลัดกันวันละ 12 รูป อีกหนึ่งพิธีที่ครูบาอาจารย์หลายสายเข้าร่วมพิธี แผ่เมตตาอธิฐานจิต

    สภาพสวยเดิมสมบูรณ์ เพิ่งออกได้มาใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จด้วยพระองค์เอง แค่นี้ก็น่าจะรู้แล้วว่าไม่ธรรมดาจริงๆ พุทธคุณหายห่วงเมตตาคลาดแคล้ว เด่นทางเลื่อนยศบรรดาศักดิ์ เหรียญจริงสวยกว่านี้ครับ ถ่ายแล้วแสงสะท้อนครับ ไม่สวยไม่ใหม่ไม่เอาตังค์ครับ แบ่งให้บูชา 888 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com
    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • b34zo8-jpg.jpg
      b34zo8-jpg.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      591
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มิถุนายน 2021
  11. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    หวัดดีครับ.jpg
     
  12. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ยามเช้ากาแฟ.jpg
     
  13. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323


    ### ฝากประชาสัมพันธ์พี่ๆสมาชิกครับ ###


    https://palungjit.org/threads/กระทู...ามกระทู้ไว้จะไม่ผิดหวัง.661373/#post-10867359


    #############




    - รับทราบการจอง,การแจ้งโอน,การแจ้งการได้รับของ และการเข้ามาเยี่ยมชมครับผม



    ขออนุญาตแจ้งเรื่องการจองและการเช่าบูชาครับ

    พระเครื่องที่ผมนำมาลงผ่านการคัดกรองมาแล้วอย่างดี หากท่านสมาชิกท่านใดที่จะทำการจองหรือเช่าบูชา ไม่เชื่อมั่นในตัวผม หรือ ยังไม่มีรายละเอียดในพระที่ต้องการเช่าบูชา ขอความกรุณาทำการศึกษาให้ตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจนะครับ หรือจะนำภาพที่ผมลงไว้ไปให้คนที่คุณไว้ใจตรวจสอบก่อนก็ได้ ส่วนผลจะออกมาอย่างไรก็แล้วแต่ครับ เพราะการตัดสินว่าพระไหนดีไหนไม่ดี มันต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์บวกกับการพิจารณความเป็นไปได้ด้วย คน10คนดูพระองค์เดียวกัน ผลที่ออกมาแทบไม่เหมือนกันเลย

    ถ้าท่านยังไม่ผ่านกระบวนการดังที่ผมกล่าวไว้นี้ และบวกกับยังไม่เชื่อมั่นในตัวผม ขอแนะนำว่าอย่าเพิ่งบูชาไปนะครับ เพราะถ้าเกิดความกังขาขึ้นในตัวองค์พระแล้วพุทธคุณไม่เกิดครับ ชี้แจงจากกรณีที่มีผู้ให้ผมตรวจสอบพระที่บูชามาจากที่อื่นให้ครับ คือบูชามาแล้วไม่สบายใจ บอกได้เลยว่ากรณีนี้ไม่เกิดประโยชน์กับใครทั้งนั้นครับ ทางที่ดีควร ศึกษา เรียนรู้ ไตร่ตรอง พิจารณาให้รอบคอบก่อนเช่าบูชานะครับ

    :););):);):):)



    ขออนุญาตแจ้งเรื่องการจัดส่ง

    เพื่อความสะดวกในการได้รับของครับผม เนื่องจากผมติดภารกิจ การจัดส่งของจะสะดวกในช่วงวัน วันพฤหัสบดี - วันศุกร์ นะครับพี่ๆ หากล่าช้าอย่างไรไปบ้างผมต้องขอประทานโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ



    เข้ารับชมสรุปรายการที่ หน้า 1
    ได้เลยครับผม ตามลิ้งค์เลยครับ

    []
    []
    \/



    http://palungjit.org/threads/กระทู้ใหม่-4-วัตถุมงคลดีพิธีใหญ่สภาพสวย-หลากหลายสายราคาเบา-สรุปรายการ-น-1.573785/#post-10209663


    -gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif-gif.gif

    ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม
    และอุดหนุนผมนะครับ
     
  14. ศิษย์ปิยธโร

    ศิษย์ปิยธโร อายุ วรรณโณ สุขัง พลัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    15,197
    ค่าพลัง:
    +14,323



    $$$$$$$ ปิดรายการแล้วครับ $$$$$$$





    1456.
    พิเศษมีเส้นพระเกศา พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร

    คลิ้กเพื่อชมรูปใหญ่ครับ
    พระผงรูปเหมือนรุ่นแรก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. เนื้อผงพุทธคุณผสมเส้นพระเกศา ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530

    พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

    ขณะทรงพระเยาว์
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เป็นบุตรคนโตของนายน้อย คชวัตร และนางกิมน้อย คชวัตร ชาวกาญจนบุรี พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของนางกิมเฮ้ง หรือกิมเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู และนางกิมเฮ้งจึงตั้งชื่อหลานชายผู้นี้ว่า "เจริญ" พระชนกน้อย คชวัตร เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดสี่คนของเล็ก กับแดงอิ่ม คชวัตร เป็นหลานปู่-หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี ผู้เคยเป็นข้าราชการชาวกรุงเก่า กับนางจีนผู้ภริยาหลวงพิพิธภักดีเป็นหลานยายของท้าวเทพกระษัตรี ส่วนพระชนนีกิมน้อย หรือน้อย ซึ่งเคยเปลี่ยนชื่อเป็นแดงแก้วนั้น มีบิดาเป็นคนเชื้อสายจีนคือนายเฮงเล็ก แซ่ตั๊น กับมารดาเชื้อสายญวนชื่อนางทองคำ[4] ครั้นนายเฮงเล็กถึงแก่กรรม นางทองคำจึงสมรสใหม่กับนายสุข รุ่งสว่าง มีบุตรด้วยกัน 4 คน

    เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

    บรรพชาและอุปสมบท
    เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

    ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา และได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2477) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    การศึกษาพระปริยัติธรรม
    พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473

    พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475

    หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ในปี พ.ศ. 2484

    การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงฉายภาพหมู่ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราผนวช
    หลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วยเมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก
    ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ[9] พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และยังคงดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย

    สิ้นพระชนม์
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต [1] มีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มายังตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:15 นาฬิกา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงสรงน้ำพระศพในวันเดียวกัน เวลา 17:00 นาฬิกา พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ภายใต้เศวตฉัตรสามชั้น พร้อมเครื่องประกอบพระเกียรติยศ และให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพเจ็ดวัน

    การนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ ครั้นถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนจากพระโกศกุดั่นใหญ่เป็นพระโกศทองน้อย และพระราชทานฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น กางกั้นพระโกศ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษเพราะยังไม่เคยปรากฏการพระราชทานเลื่อนพระโกศถึงสองครั้งมาก่อน

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    สภาพสวยสมบูรณ์สวยเดิมเก่าเก็บ พิมพ์คมชัดลึก พุทธคุณครบครอบ เป็นศิริมงคลแก่ชีวิต แบ่งให้บูชา 299 บาท (พร้อมจัดส่ง EMS อย่างดีครับ)

    คุณวิทมน สุ่มเกิด ธ.กรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัสอุตรดิตถ์ เลขที่ 6000088418
    โทร.086-0441367, Engineer0206nu@gmail.com

    *** ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม และอุดหนุนผมครับ ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 52eX.jpg
      52eX.jpg
      ขนาดไฟล์:
      141.3 KB
      เปิดดู:
      488
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2020
  15. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ยามบ่าย.jpg
     
  16. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    หวัดดียามเช้า.jpg
     
  17. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    ยามเช้ากาแฟ.jpg
     
  18. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    หวัดดีครับ.jpg
     
  19. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    หวัดดียามเช้าpng.png
     
  20. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,582
    ค่าพลัง:
    +30,871
    สวัสดีปีใหม่ครับ
    f27c35b18e3e6098e8b9b06c2fe6e7fd.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...