ไขปริศนา เงื่อนงำ ที่ตั้ง "ชมพูทวีป" และ "ลังกาทวีป" ตั้งอยู่ที่ไหนกันแน่?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 8 พฤษภาคม 2016.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เรียน คุณ jirong9 ครับ
    เรื่องมาตราวัดระยะ นี้ ผมว่า นักวิชาการสมัยใหม่ ประมาท "คนโบราณ" เกินไป ในเรื่องของการกำหนดระยะทางที่ว่า ระยะ กำหนด 1 โยชน์ นั้น ไม่สามารถกำหนด ได้แน่ชัด เช่นว่า "มีตั้งแต่แค่ 1.6กม.ไปจนถึง13กม. มากกว่านี้ก็มี"

    เหตุผลที่แท้จริง ที่เขากล่าวอย่างนั้น ก็เพราะ ว่า เขาไม่สามารถเอาระยะทางจาก พระไตรปิฎกและอรรกถา ไปจับระยะให้เข้ากับสถานที่ ที่อินเดียได้ตรงเผงนั่นเอง"

    หรือ แม้แต่ระยะทางจาก หลวงจีน 2 รูป คือ หลวงจีนฟาเหียน พ.ศ. 942-957 กับ หลวงจีนเสวี้ยนจัง หรือพระถังซัมจั๋ง ราว พ.ศ. 1171-1188 ห่างกัน 200 กว่าปี...มีข้อสังเกต ก็คือ การบันทึกหน่วยวัดระยะทาง โดยหลวงจีน 2 รูปนี้ จะมีข้อแตกต่างกัน คือ "หลวงจีนเสวี้ยนจัง" ไม่เคยบันทึกหน่วยเป็นโยชน์ แต่ หลวงจีนฟาเหียน บันทึกเป็นโยชน์ นอกจากระยะทางสั้นๆ ท่านใช้คำว่าลี้ เช่น ระยะทางจาก กบิลพัสดุ์ ไป ลุมพินี แต่ถ้าระยะทางไกล แน่นอน ท่านก็ต้องบันทึกตามที่ คนในพื้นที่บอก ซึ่ง ก็เกิดจากการไปมาหาสู่ระหว่างกัน และถ่ายทอดกันมา น่าจะหลายชั่วอายุคนแล้ว..

    ดังนั้น การที่จะบอกว่า คนสมัยโบราณ จะไม่สามารถกำหนดระยะที่แน่นอน ตายตัว จึง เป็นเรื่องที่ เอาความไม่รู้ของตัวเอง ไปกล่าวหากัน โดยไม่เป็นธรรม..

    เพราะ หน่วยที่ยาว ก็เริ่มมาจากหน่วยสั้น ระยะจากบ้านถึงบ้าน ระยะจากหมู่บ้านถึงหมู่บ้าน ระยะจากเมืองถึงเมือง ก็สะสม ทดกันไป ดังหน่วยวัด ที่ มีมาแต่โบราณ และก็คงเป็นระยะที่ใช้มาแต่สมัยก่อนพุทธกาล จนมาสมัยพุทธกาล ที่เทียบมา พอเป็นของไทยเราก็เปลี่ยนใช้คำไทย เช่น นิ้ว คืบ ศอก วา เส้น ยกเว้น โยชน์ ที่ยังคงไว้..

    มาตราวัด
    ๗ เมล็ดข้าว เป็น ๑ นิ้ว
    ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ
    ๒ คืบ เป็น ๑ ศอก
    ๔ ศอก เป็น ๑ วา
    ๒๕ วา เป็น ๑ อุสภะ
    ๘๐ อุสภะ เป็น ๑ คาวุต
    ๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์

    ..

    ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่า 1 โยชน์ มีระยะทางที่แน่นอน อาจจะไม่ใช่ 16 กิโลเมตร หรืออาจจะใช่ แต่ไม่ 1 โยชน์ ยาว 1.3 - 16 กม. เป็นแน่ ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  2. jirong9

    jirong9 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ที่จะกล่าวคือความคิดของผมเองนะครับแล้วแต่ผู้อ่านจะพิจารณา คือผมไม่เห็นด้วยที่ว่าอาหาร ของกิน เครื่องใช้ เครื่องดนตรีในสมัยพุทธกาลจะต้องมามีใช้ในสมัยนี้ที่ประเทศอินเดีย บางอย่างก็ต้องสูญหายไปตามกาลเวลาได้ เพราะหมดความนิยม, มีอย่างอื่นดีกว่า,หรือหายาก,ถูกกลืนชาติต้องทำตามผู้ครอบครอง เป็นต้น

    เราต้องไม่ลืมว่าประเทศอินเดียโดนรุกรานใหญ่ๆหลายครั้ง มีการไหลบ่าของวัฒนธรรมใหม่ๆเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ทั้งจากเส้นทางสายไหมและโดนกลืนชาติโดยบางศาสนา วัดของพุทธก็โดนฮินดูกลืน ถ้าไปถามวัดฮินดูหลายวัด พราหมณ์จะบอกว่าเคยเป็นวัดพุทธมาก่อนและเอาศิลปะฮินดูมาใส่

    บางศาสนาถือว่าโบราณสถานของศาสนาอื่นเป็นบาปต่อพระเจ้า ก็เข้ากวาดล้างฆ่าฟัน คนจะปฏิบัติแบบเดิมๆ ใช้ของเดิมๆก็อาจจะมีอันตรายได้ ก็ต้องปฏิบัติตัวตามผู้ครอง ของกินของใช้ก็คงต้องตามเขาไป

    ไม่ต้องย้อนไปไกล ดูแค่บางบริเวณในบางภาคของเราก็ได้ จะไปทำตัวให้ไม่เหมือนคนอื่นก็ต้องระวัง แล้วในสมัยโบราณยิ่งน่าจะโหดร้ายกว่ามาก ดังนั้นอาหาร ของกิน เครื่องใช้จะหายไปก็ไม่แปลกครับ

    ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพครับ เช่นผมเคยกินอาหารที่ชื่อว่า เต้าเจี้ยวหลน คุณยายผมทำให้กินบ่อยและอร่อยมาก ตอนนี้ผมหากินที่ไหนไม่ได้เลย คุณแม่ผมก็ทำไม่เป็น

    หรืออย่างหวีเสนียด ถ้าเอาไปถามเด็กสมัยนี้ น้อยคนที่จะรู้จัก

    ผมใช้คำว่า ศิลปินท่านหนึ่งออกเทปมานานมากแล้ว เด็กสมัยนี้ไม่เข้าใจว่าเทปอะไร เวลาเราพูดถึงกลองทัด เรานึกออกหรือไม่ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร

    เมล็ดต้อยติ่งที่เอามาโยนลงน้ำแล้วแตกดังเป๊ะๆ ผมเคยกินน้ำหวานจากดอกเข็มได้ เด็กสมัยนี้ก็ไม่รู้จัก

    ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมา แค่ไม่ถึงหนึ่งชั่วคนเลยก็เหมือนหายสาบสูญไปแล้ว แล้วสิ่งของเมื่อสองพันกว่าปีก่อนจะเป็นอย่างไร ขอท่านลองคิดดู
     
  3. jirong9

    jirong9 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    According to the information about India left in the travel records of the Tang period Chinese monks, Yijing and Xuanzang, two types of yojana were in use at the time: the "sacred" yojana and the "secular" yojana. Though one was not exactly twice the size of the other, like the small and large yojanas referred to above, they were close.
    อ้างอิง:A Study of the Biography of Sakya-muni (Gotama Buddha) Based on the Early Buddhist Scriptural Sources (Nikāyas, Āgamas and Vinayas)
     
  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ถูกต้องครับ สิ่งที่ไม่เคยเห็น ในสถานที่หนึ่ง ภูมิภาคหนึ่ง ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้น ไม่เคยมีครับ เช่น "ราชสีห์ ที่สิงห์บุรี"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2988.JPG
      IMG_2988.JPG
      ขนาดไฟล์:
      223.3 KB
      เปิดดู:
      85
  5. jirong9

    jirong9 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
  6. jirong9

    jirong9 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    ในกรณีนี้ ผมว่าคุณเอกอิสโรคงต้องไปกับคุณบุรณัง ตามที่ท่านบุรณังเสนอมาครับ ถ้าคุณเอกอิสโรรับคำเชิญของคุณบุรณัง ผมขอไปด้วยอีกคนครับ
     
  7. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    นี่หล่ะ ครับ คือ สิ่งที่เรียก "ผู้ทรงคุณวุฒิ" ยังพลาดได้..

    เพราะไปเอาสถานที่ ในอินเดีย-เนปาล เป็นที่ตั้ง แล้วเอาระยะทาง ของ 2 หลวงจีนมาเทียบ..ซึ่งมันเทียบไม่ได้ครับ เพราะหลวงจีน 2 รูปนี้ ไปคนละที่กันครับ

    ผมถึงอยากให้ คนไทย ชาวพุทธได้อ่าน บันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ทุกบรรทัด ทุกหน้า และพิจารณาเรื่องราวที่หลวงจีนบันทึกไว้ ว่า "มันตรงกันข้ามกับที่นักวิชาการ นักโบราณคดี ล้างสมองเรามา เป็นร้อยปีมาแล้วครับ"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. 12qv

    12qv Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +26
    มันวุ้ย 555 เอกกล้าๆหน่อย อยากรู้เหมือนกัน อูฐ สิงห์โต หิมะ มันเคยมีในไทย ขอเสนอให้ลงพันทิปหรือไปหาอาจารย์เจษก็ได้ แกชอบเรื่องพวกนี้

    เอกไปเหอะ ยังดีกว่าแบบนี้

    <br>
    <img src="http://palungjit.org/attachments/a.3653185/>
     
  9. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ยินดี ครับ เอาไว้เราแลกเปลี่ยนประเด็น ต่างๆ กัน ให้หลากหลาย แล้วค่อยนัดพบกันครับ รวมทั้ง ประเด็น ชาว มคธ อังคะ กุรุ ที่มาทำบุญกับ ฤษีอัคคิทัต ทุกๆ เดือน นะครับ

    ผมเชื่อว่า ถ้า เราได้แลกเปลี่ยน กัน โดยยก ข้อมูล อ้างอิง จากหลายๆ แหล่ง มาแลกเปลี่ยน ผมก็จะได้ประโยชน์ ได้ ข้อมูล เพิ่มเติม ที่จะมาขัดเกลาสมมติฐาน ต่อไป ครับ

    งั้น ฝากอีก ประเด็นหนึ่ง เพื่อแลกเปลี่ยนครับ..การเดินทางจาก สาวัตถี จากปาฏลีบุตร มายังสุวรรณภูมิ ว่า ความน่าจะเป็นในการเดินทาง จะมาอย่างไร ถ้า สาวัตถี ปาฏลีบุตร อยู่ที่ อินเดียครับ ตามนี้

    ได้ยินว่า พ่อค้าชาวกรุงสาวัตถีและชาวกรุงปาฏลีบุตรเป็นอันมาก แล่นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. บรรดาพ่อค้าเหล่านั้น พ่อค้าคนหนึ่งเป็นอุบาสก เกิดป่วยไข้ มีจิตปฏิพัทธ์ในมาตุคาม ได้ทำกาละแล้ว. เขาแม้ได้ทำกุศลไว้ก็ไม่เข้าถึงเทวโลก เกิดเป็นวิมานเปรตในท่ามกลางมหาสมุทร เพราะเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิง.
    ก็หญิงที่เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น ขึ้นเรือไปยังสุวรรณภูมิ.
    ลำดับนั้น เปรตนั้นประสงค์จะจับหญิงนั้น จึงปิดกั้นไม่ให้เรือไป.
    ลำดับนั้น พ่อค้าทั้งหลายพิจารณากันว่า เพราะเหตุอะไรหนอ เรือนี้จึงไม่แล่น จึงให้จับสลากคนกาฬกิณี สลากได้ถึงหญิงนั้นนั่นแหละถึง ๓ ครั้งโดยความสำเร็จของอมนุษย์. พวกพ่อค้าเห็นหญิงที่เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น จึงให้หย่อนแพไม้ไผ่ลงในสมุทร ให้หญิงนั้นลงไปอยู่บนแพไม้ไผ่นั้น. พอหญิงนั้นลงไป เรือก็แล่นบ่ายหน้าไปยังสุวรรณภูมิโดยเร็ว.
     
  10. jirong9

    jirong9 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    เรื่องหลวงจีนฟาเหียน ผมขอนัดคุณเอกตอนนี้เลย ให้คุณเอกหาคนกลางมาด้วยครับ รู้ภาษาจีนด้วยยิ่งดี ผมจะนำบันทึกของหลวงจีนฟาเหียนฉบับแปลโดยเจมส์ เลก ฉบับแปลโดยคนจีนและฉบับแปลโดยคนไทย รวมสามเล่มไปด้วย แล้วมาไล่หน้ากันเลยครับ เพราะผมอ่านมาหลายรอบ ยืนยันว่าหลวงจีนฟาเหียนไปอินเดียครับ

    สะดวกอาทิตย์หน้าเลยมั้ยครับ
     
  11. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ดีครับ..ถ้าเป็นวันธรรมดา จันทร์ถึงเสาร์ ต้องเป็นตอนเย็นครับ
    ถ้าเป็นวันอาทิตย์ กลางวันได้ครับ

    แต่ผม ไม่มีคนกลางหรอกนะครับ...แต่ยินดีรับฟังครับ

    ดีใจครับที่ได้เจอคนที่ได้อ่านหลายรอบ
    เพราะ ผมอยากแลกเปลี่ยน ประเด็น ที่ หลวงจีน ไปพบพระแก่นจันทน์ ไปพบพระพุทธรูปที่พระเจ้าอโศก สร้าง

    รวมทั้งเรื่องทิศทาง ระหว่างเมือง โดยเฉพาะ สาวัตถี กับกบิลพัสดุ์

    แต่...ฝรั่งไม่สามารถหาหลักฐานได้ แล้วบอกว่า สมัยพระเจ้าอโศก ไม่เคยสร้างพระพุทธรูป...และตั้งทฤษฎีว่า "พระพุทธรูปเกิดขึ้นมา ราว พ.ศ. 600-800"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1995.JPG
      IMG_1995.JPG
      ขนาดไฟล์:
      62.9 KB
      เปิดดู:
      59
  12. jirong9

    jirong9 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    หาคนกลางมาดีกว่าครับ เอาที่มีความรู้และอ่านเขียนจีนได้ระดับอาจารย์ยิ่งดี คนกลางธรรมดา อาจฟังไม่รู้เรื่องครับ จะได้เป็นพยาน ไม่อย่างนั้นจบแล้วออกมาพูดคนละอย่าง ถ้าไม่มีคนกลาง เราก็พิมพ์กันแบบนี้ก็ได้ครับ
    ประเด็นของผมคือหลวงจีนฟาเหียนไปอินเดียนะครับ เรื่องพระพุทธรูปและระยะทางต่างๆ ผมได้ยกตัวอย่างของผมไปในกระทู้นี้แล้วครับ
    ผมว่างและมีห้องplatinumที่พารากอนประชุมได้ มะรืนเลยดีมั้ยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  13. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    คงต้องรบกวน คุณ jirong9 เรื่องคนกลางนะครับ..ผมยินดี และอยากไปร่วมสนทนาแลกเปลี่ยน แต่การหาคนกลาง และที่มีความรู้และอ่านเขียนจีนได้ระดับอาจารย์ยิ่งดี นั้น...ไม่มีจริงๆ ครับผม

    คุยกันอัดคลิป ก็ได้มั้งครับ ถ้ากลัวผมจะเขียนไปคนละทาง หรือ ให้คุณ jirong9 เขียนข้อสรุปเองก็ได้ ผมไม่ต้องเขียน...จะได้ไม่เป็นการออกมาพูดคนละอย่าง ...แค่ได้ พบผู้รู้ ผมก็ดีใจแล้ว เบอร์โทรผม ธนบดี-081925 4464 นัดวันพฤหัสนี้ นะครับ
     
  14. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เห็นมั๊ยหล่ะครับ ว่า ประโยชน์ของการแลกเปลี่ยน อย่าง มีสาระ จะเกิดคุณประโยชน์ (สำหรับผม) แค่ไหน?

    จากลิงค์ที่ คุณ jirong9 ให้มา จะเป็นตารางเปรียบเทียบ การเดินทาง ทิศทาง ระยะทาง ของ 2 คือ หลวงจีนฟาเหียน กับ หลวงจีนเสวี้ยนจัง หรือพระถังซัมจั๋ง

    ใน Table-1 จะเห็น ดังที่ผมตั้งข้อสังเกต คือ การใช้หน่วยระยะทาง พระถังซัมจั๋ง จะไม่มีที่ใช้ "โยชน์" เลย หรือ ว่าหลวงจีนแปลงหน่วยโยชน์เป็นลี้??? (ข้อสังเกต) แต่ในตารางนี้ มีที่ไม่ได้ กำหนดระยะทาง กับทิศทาง ฝั่งของหลวงจีนฟาเหียน ทั้งที่ในบันทึกมีระบุ คือ จากสาวัตถี ไป กบิลพัสดุ์ ซึ่ง หลวงจีนฟาเหียนบันทึกไว้ ฉบับแปลภาษาอังกฤษ ว่า..

    Going on south-east from the city of Sravasti for twelve yojanas, (the travellers) came to a town named Na-pei-kea

    Less than a yojana to the east from this brought them to the city of Kapilavastu

    ซึ่งจากสาวัตถี เดินทางไป ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (SE) 12 Y กับ 1 Li จะถึง กบิลพัสดุ์

    แต่ของ หลวงจีนเสวี้ยนจังระบุ เดินทางไป ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (SE) 500 Li จะถึง กบิลพัสดุ์

    เอาหล่ะ อาจจะหาข้อยุติไม่ได้ ถ้าเชื่อตามเขาว่า ว่า 1 โยชน์ เท่ากับกี่เมตร กี่กิโลเมตร 1 ลี้ เท่ากับ กี่เมตร กี่กิโลเมตร

    แต่ถ้า เอา ตามที่วัดระยะ ซื้อ-ขาย กัน และคนไทยก็ใช้ โยชน์ อาจจะตั้งแต่สมัย สุโขทัย โน่นแร่ะ อย่างน้อย (เพราะในจารึกก็มีการใช้หน่วย โยชน์ วัดระยะทางแล้ว) แล้ว ก็เอา Li-ลี้ ของจีน ที่เทียบกันปัจจุบัน
    1 โยชน์ = 16 กม. = 16,000 ม.
    1 ลี้ = 500 ม.

    หลวงจีนฟาเหียน>>>12 โยชน์ กับ 1 ลี้ = (12x16000)+500 = 192,500 ม. หรือ 192.5 กม.

    หลวงจีนเสวี้ยน>>>500 ลี้ = 500x500 = 250,000 ม. หรือ 250 กม.

    เพราะ อย่างนี้ นักวิชาการ เลย คิดว่า 1 โยชน์ จะไม่ใช่ 16 กม. และ 1 ลี้ อาจจะไม่ใช่ 500 ม. เพราะ มันไม่เท่ากัน..(หรืออาจจะเดินทางตรง ทางอ้อม ทำให้ระยะทางต่างกัน)

    แต่ ทิศทางไปทิศเดียวกัน คือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ (SE)

    ซึ่ง เมื่อดูจากแผนที่ ที่เขียนขึ้นมา..
    ของ หลวงจีนเสวี้ยน ไม่ได้โชว์ให้เห็นเมืองสาวัตถี แต่ลูกศรมาจาก ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (เพราะ เดินมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้)

    ส่วน ของหลวงจีนฟาเหียน ไม่ยอมเฉียงลงใต้ แต่ไปตะวันออก แล้ววกขึ้นเหนือเล็กน้อย ก่อนจะเดินไปทิศตะวันออก เจอกบิลพัสดุ์ ก่อนจะวกลง SE ไปลุมพินี

    ตกลงว่า เขาเขียนแผนที่โดยใช้ข้อมูลจากอะไรแน่?

    แต่ที่แน่ๆ ตำแหน่ง ที่ตั้งของ "ลุมพินี" ที่ เนปาล เทียบกับ "สาวัตถี" ที่อินเดีย ไม่ตรงกับ บันทึกการเดินทางของทั้ง 2 หลวงจีนครับ..

    มีใคร จะเขียน แผนที่จริง ที่ อินเดีย-เนปาล มาลงเทียบได้มั๊ยครับ?

    จะได้ไม่ใช่การเขียน หรือทำโดยอคติ ของผม ที่คิดว่า พระพุทธศาสนา เกิดขึ้นที่ อินเดียสีชมพู ครับ ไม่ใช่อินเดียสีเหลือง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    คลิ้ก ต่อไปดู อีก ลิงค์ ก็น่าสนใจ ครับ

    Nālandā - insatiable in offering: Mahaparinirvana Sutta, Pali Cannon and the Travelogues

    เพราะ เป็นการศึกษาเส้นทาง ตามมหาปรินิพพานสูตร มีเส้นทางที่ นักโบราณคดี นักวิชาการสมัย ที่มีการสืบค้น หาที่ตั้งเมือง สถานที่ต่างๆ

    ในแผนที่ แสดงเส้นทาง ในอินเดีย เป็นการเริ่มจากเขาคิชฌกูฏ ไปจนสิ้นสุดที่ กุสินารา จะเห็นว่า จะเห็นเหมือนผมนะครับว่า เส้นทางจาริกตามที่เขาว่า คือ ขึ้นทางทิศเหนือตลอด...

    คราวนี้ คุณ jirong9 พอจะอนุเคราะห์ ได้มั๊ยครับ ในฐานะที่ได้อ่าน "บันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน" หลายสำนวน และหลายรอบ ช่วยเขียนเส้นทาง การเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน จาก เมืองกุสินารา ไปราชคฤห์ ให้ดูทีสิครับ ว่า หลวงจีนฟาเหียน เดินทาง อย่างไร?

    และ จากตาราง Table 5- Distance between the places visited by The Buddha

    มาดู ระยะทาง ในตาราง ระหว่างสถานที่ เทียบกับ พระไตรปิฎกและอรรถกถา ดูนะครับ...ซึ่งผม ขออนุญาต ใช้ตัวเลข 1 โยชน์ เท่ากับ 16 กิโลเมตร มาคำนวณก่อนนะครับ เพราะผมเชื่อมั้นว่า คนโบราณ รู้ชัด ว่า 1 โยชน์ มีระยะแน่ชัด แน่นอน ไม่ใช่ 1.3 กม.- 13 กม. หรือมากกว่านั้น (ตามอำเภอใจของฝรั่ง)

    เริ่ม จาก ระยะทางจาก สาวัตถี ไปคิชฌกูฏ/ราชคฤห์ ในตาราง ลำดับที่ 1 กับ 6 ระบุ ไว้ 440 km-กม. แต่ในอรรถกถา อนาถบิณฑิกะ เดินทาง ไปมา หาสู่ ไปค้าขาย ราชคฤห์ (ซึ่งเป็นที่ตั้งอยู่ของ เขาคิชฌกูฏ) ระยะทาง 45 โยชน์ หรือ 720 km-กม. ต่างกัน 280 km-กม.

    ต่อมา ระยะทางจาก เวสาลี ไป กุสินารา ในตาราง ลำดับที่ 10 ระบุ ไว้ 160 km-กม. แต่ในอรรถกถา แม้จะยัง ไม่พบการระบุระยะทางระหว่าง 2 เมืองนี้ แต่ สามารถเทียบเคียงหาได้ คือ ระยะทางจาก ราชคฤห์ ไปกุสินารา ในครั้งที่ พระเจ้าอชาตศัตรูอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ กลับราชคฤห์ ในอรรถกถา มหาปรินิพพานสูตร นั่นเอง ระบุ ระยะทาง 25 โยชน์ หรือ 400 km-กม. และระยะทางจาก ราชคฤห์ไปเวสาลี จากอรรถกถา รัตนสูตร ที่พระพุทธองค์เสด็จไปขจัดปัดเป่าทุพพิกขภัยของชาวเมืองเวสาลี ตามคำทูลเชิญของพระเจ้ามหาลิ เป็นระยะทาง 9 โยชน์ หรือ 144 km-กม.
    ดังนั้น ระยะทาง จาก เวสาลีถึงราชคฤห์ จึงเท่ากับ 25-9 = 16 โยชน์ หรือ 256 km-กม. ต่างกัน 96 km-กม.

    ซึ่ง หากถกกัน ก็หาที่จบยากครับ เพราะ อีกข้างฝ่าย ก็จะมีคำอธิบาย สนับสนุน ที่ตั้งของที่อินเดีย

    เหมือนดัง ระยะทางจาก กบิลพัสดุ์ มาเวสาลี เมื่อครั้งที่พระนางปชาบดีโคตมี จาริกโดยพระบาท เพื่อมาทูลขอบวชเป็นภิกษุณี ตามอรรถกถาว่า เดินทางไกลเป็นระยะทาง 51 โยชน์ หรือ 816 km-กม. ซึ่ง จากบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน ผมเอาตามตาราง Table-1 มารวมกัน เริ่มจากกบิลพัสดุ์ ถึงเวสาลี นะครับ ได้ ประมาณ 777 กิโลเมตร หรือ 48.5 โยชน์ ไม่รู้ระหว่างทาง มีที่ไม่ได้บันทึก หรือตารางเขียนไม่ครบหรือเปล่า แตกต่างจากอรรถกถา 39 km-กม. แต่ พอไปดูระยะทาง ระหว่าง กบิลพัสดุ์ที่เนปาล มาถึง เวสาลี ที่อินเดีย เป็นยังไงครับ มี 3 เส้นทางที่ Google map แสดงให้ดู ระยะทางเดินเท้า 312-318 km-กม.

    นี่หล่ะครับ ผมถึงว่า มีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ไม่เท่าไหร่หรอกครับ ถ้าเล่นชี้กันมั่วซั่ว โดยไม่คำนึงถึงระยะทาง ทิศทาง นี่ มัน "ต้มกันชัดๆ"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2016
  16. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ช่วยกัน ครับ ก่อนไป พิสูจน์ ทางสถาบันวิทยาศาสตร์ กับคำร้องขอเดิม

    แป้บนึงนะครับ...จริงๆ อาจจะไม่ตรงกับ หัวข้อกระทู้ ที่ตั้งไว้ และอยากให้ช่วยกันวิเคราะห์ และพิจารณา

    แต่เมื่อ ยกเรื่อง หิมะ อูฐ ลา มา..เพื่อจะมาหักล้าง สมมติฐานกลับ...และผมก็ก็เคยถามกลับไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้คำตอบ..

    ที่ว่า..

    ว่า หิมะ อูฐ ลา มีอยู่ในแว่นแคว้นใดบ้าง ในสมัยพุทธกาล ไม่เอาสมัยชาดก นะครับ เพราะ เพื่อจะได้มาเทียบไงครับว่า แคว้นที่ผม วางตำแหน่งไว้ จะมี หิมะ อูฐ ลา หรือไม่?

    บางอย่างที่เราไม่เห็นในปัจจุบัน ไม่ใช่ว่าจะไม่มีครับ จังหวัดสิงห์บุรี ทำไมชื่อสิงห์บุรี...เป็นไปได้หรือครับ ที่คนโบราณเขาจะ แต่งนิทานพื้นบ้าน มาประกอบการตั้งชื่อเมือง โดยไม่เคยเห็นราชสีห์ มาก่อน???

    ...

    ข้อมูล ที่ลองค้นๆ ดู เกี่ยวกับอูฐ..

    ข้อมูลที่ 1

    จุดกำเนิดของอูฐ[แก้]
    นักวิทยาศาสตร์พบชิ้นส่วนกระดูกของอูฐบนเกาะของประเทศแคนาดาในเขตอาร์กติก อยู่ในพื้นที่ไกลกว่าจุดเหนือสุดของโลกที่เคยพบฟอสซิลอูฐก่อนหน้านี้ 750 กิโลเมตร แต่นั่นก็เป็นเวลา 3.5 ล้านปีมาแล้ว มีการพบเศษซากกระดูกของอูฐในเกาะเอลเลสเมียร์ ของประเทศแคนาดา ค่อนข้างจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่ว่าสัตว์ท่องทะเลทรายอันร้อนระอุชนิดนี้จะเคยมีถิ่นอาศัยในพื้นที่หนาวยะเยือกของเขตอาร์กติก ทีมนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า อูฐในสมัยดึกดำบรรพ์เดินทางไปมาในป่าไม้ที่หนาวเย็นซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปัจจุบัน 30 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิในพื้นที่ขณะนั้นสูงกว่าตอนนี้ประมาณ 14-22 องศาเซลเซียส แต่ก็ถูกปกคลุมด้วยหิมะประมาณ 9 เดือนต่อปี นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอูฐได้ปรับสภาพร่างกายให้เหมาะสมกับอุณหภูมิในเขตขั้วโลกเหนือ โดยหนอกของพวกมันทำหน้าที่สะสมไขมัน ซึ่งจะนำมาใช้ในช่วงอากาศหนาวที่หาอาหารได้ยาก ส่วนเท้าที่แบนและกว้างก็เพื่อช่วยในการทรงตัวขณะเดินบนหิมะ ส่วนในปัจจุบันก็มีประโยชน์ในการประคองร่างกายในทะเลทราย ขณะที่ดวงตาใหญ่โตมีไว้เพื่อหาอาหารในสภาพดินฟ้าอากาศที่มืดครึ้มปีละหลายเดือน นาตาลี ริบซินสกี ผู้ศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติแห่งแคนาดา ผู้นำการสำรวจในครั้งนี้ เปิดเผยว่า ทีมของเขาพบชิ้นส่วนกระดูกขาล่างของอูฐจำนวน 30 ชิ้น ในดินแดนที่อยู่ในละติจูดสูงสุดในโลกเท่าที่เคยพบมา ซึ่งห่างจากจุดที่เคยพบฟอสซิลสัตว์ชนิดนี้ขึ้นไปทางเหนือ 1,200 กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า อูฐมีการกำเนิดสายพันธุ์ขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อประมาณ 45 ล้านปีก่อน จากนั้นพวกมันก็กระจัดกระจายย้ายถิ่นไปยังยูเรเซียเมื่อ 7 ล้านปีที่แล้ว โดยใช้พื้นดินที่เชื่อมระหว่างอะแลสกาและรัสเซีย (ในปัจจุบัน) ในการเดินทาง ส่วนซากฟอสซิลที่พบล่าสุดนี้อายุประมาณ 3.5 ล้านปี นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ได้สกัดคอลลาเจนจากกระดูกของฟอสซิลที่พบ และเปรียบเทียบกับอูฐ 37 สปีชีส์ในปัจจุบัน พบว่าซากอูฐที่พบนี้มีลักษณะคล้ายยูคอน อูฐหนอกเดียวขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอูฐหนอกเดียวขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงยุคน้ำแข็ง [2]

    ข้อมูลที่ 2

    อูฐกลายเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และมีการใช้ประโยชน์จากอูฐในหลายๆมิติ

    แม้ว่าจะมีบางทฤษฎีจะกล่าวว่าแท้ที่จริงอูฐไม่ได้อยู่ในอินเดียมาตั้งแต่แรก

    แต่การนำอูฐมาใช้ประโยชน์ในอินเดีย ก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในอินเดียมานานมากเช่นกัน

    ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/554592

    ข้อมูล ที่ 3

    มหัศจรรย์ Pushkar และทะเลทราย Thar รัฐ Rajasthan ประเทศอินเดีย
    http://www.oknation.net/blog/supawan/2012/07/21/entry-1

    ส่วนเรื่อง สิงโต

    ข้อมูล ที่ 1 สิงโตอินเดีย

    สิงโตอินเดีย หรือ สิงโตเอเชีย หรือ สิงโตเปอร์เซีย (อาหรับ: أسد آسيوي‎; อังกฤษ: Indian lion, Asiatic lion, Persian lion; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera leo persica) เป็นชนิดย่อยของสิงโตที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน มีรูปร่างทั่วไปคล้ายสิงโตที่พบในทวีปแอฟริกา แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยตัวผู้เมื่อโตเต็มมีน้ำหนักประมาณ 160-190 กิโลกรัม ตัวเมียหนักประมาณ 110-120 กิโลกรัม ความยาวหัวถึงหางของตัวผู้ 2.92 เมตร ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของสิงโตอินเดีย คือ มีแผงคอทั้งตัวผู้และตัวเมีย และแผงคอของตัวผู้ไม่หนาและใหญ่เหมือนสิงโตในทวีปแอฟริกา มองเห็นใบหูเห็นชัดเจน ดังนั้นตัวผู้และตัวเมียจึงมีรูปลักษณ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้แล้วยังมีหนังทอดยาวตลอดใต้ลำตัวซึ่งไม่พบในสิงโตในทวีปแอฟริกา

    ในอดีต มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง, เปอร์เซีย, อิรัก, ซีเรีย, อัฟกานิสถาน, ปากีสถานไปจนถึงมาซิโดเนียในกรีซด้วย แต่ปัจจุบันพบเหลือเพียงแห่งเดียวในธรรมชาติ คือ ป่าอนุรักษ์ทางตอนเหนือของอินเดียเท่านั้น (อุทยานแห่งชาติป่ากีร์) และก็มีเหลือจำนวนน้อย จากสำรวจประชากรสิงโตอินเดียครั้งล่าสุดปี 2558 ในพื้นที่อนุรักษ์ พบว่ามีสิงโตอินเดีย 523 ตัว ซึ่งเพิ่มขึ้น 27% จากจำนวนที่สำรวจในปี 2553 (411 ตัว)

    ....

    ต้องรบกวน ให้ช่วย ตอบก่อน ครับ ว่า อูฐ สิงโต ในสมัยพุทธกาล เดินเพ่นพ่าน อยู่ อยู่แคว้นใดบ้าง ใน 16 มหาชนบท ของชมพูทวีป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_2988.JPG
      IMG_2988.JPG
      ขนาดไฟล์:
      223.3 KB
      เปิดดู:
      124
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2016
  17. jirong9

    jirong9 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +0
    กำหนดการเดิมครับ ห้องMplatinum พารากอน ผมจะไปรอตอน4โมงเย็น แล้วจะบอกน้องหน้าห้องไว้ให้ ขอโทษที่ตอบช้าครับ พอดีติดธุระอยู่ฮ่องกง แต่พรุ่งนี้ไปทันแน่ครับ

    เอาบันทึกหลวงจีนฟาเหียนของคุณไปด้วยครับ จะได้ตรงกัน
     
  18. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ยินดีครับ อาจจะไปถึงสัก 5 โมงเย็นนะครับ ออกจาก Site งาน แถววงเวียนใหญ่ 4 โมงครึ่ง ครึ่งชั่วโมงคงไปถึง By BTS ครับ
     
  19. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ระหว่างนี้ ลอง เตรียมข้อมูลที่จะไปแลกเปลี่ยน ปรึกษา นะครับ
    ผมเริ่ม จากเมือง ที่มีเรื่องราวตามพระไตรปิฎกและอรรถกถา ก็แล้วกันนะครับ

    คือ เมืองสังกัสสะ กับ สาวัตถี เพราะหลวงจีนฟาเหียน ก็ได้บันทึกเรื่องราวไว้ได้ตรงกับพระไตรปิฎก เลย เรื่องที่พระพุทธองค์จะเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลงมายังเมืองสังกัสสะ..ซึ่งในอรรถกถา ระบุไว้ว่า..

    ครั้นใกล้ถึงปวารณา พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าจึงไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามว่า ก็เดียวนี้สารีบุตรอยู่ที่ไหน.
    กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เธออยู่ที่นครสังกัสสะกับพวกภิกษุ ๕๐๐ รูปที่พากันบวชเพราะเลื่อมใสในพระยมกปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า.
    ตรัสว่า โมคคัลลานะในวันที่เจ็ดแต่วันนี้ เราจักลงที่ประตูนครสังกัสสะ. ฝูงชนที่ต้องการจะเห็นตถาคต จงชุมนุมกันที่นครสังกัสสะเถิด.
    พระเถรเจ้าทูลรับสั่งว่า สาธุ แล้วมาบอกแก่บริษัท ช่วยให้บริษัททั้งสิ้นลุถึงนครสังกัสสะ อยู่ห่างนครสาวัตถี ๓๐ โยชน์ โดยเวลาครู่เดียวเท่านั้นเอง.
    ..

    ซึ่งจากบันทึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ท่าน บันทึกการเดินทางจาก ประเทศสังกาศย ผ่านเมืองต่างๆ ไปจนถึงเมืองสาวัตถี..ตามตารางที่ผมทำขึ้น..ซึ่งพรุ่งนี้คงจะรบกวน คุณ jirong9 หากมีต้นฉบับภาษาจีน..ว่า มีอะไรที่ฉบับแปลตกหล่น หรือแปลผิดไปจากต้นฉบับหรือไม่..หรือข้ามตอนไหน เมืองไหนไปหรือไม่..เพราะระยะทางรวมจากบันทึกหลวงจีนฟาเหียน ได้ 25 โยชน์ หรือ 400 กิโลเมตร (เอาตามที่ผทเชื่อ 1 โยชน์ เท่ากับ 16 กม. ก่อนนะ) แต่ ในอรรรถกถา ระบุ 30 โยชน์ หรือ 480 กม. ต่างกัน 80 กิโลเมตร

    โดย ทิศทางที่หลวงจีนฟาเหียน เดินทางจากสังกาศยะ จะไปทาง อาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) ทางใต้ แล้วก็อาคเนย์ อาคเนย์..

    แต่ เมื่อพิจารณาจากแผนที่ ระหว่าง 2 เมือง ในอินเดีย คือ Sankissa กับ Sravasti จะไปทางตะวันออก และวกขึ้นเหนือ ไปสาวัตถี

    อันนี้ คงเป็นประเด็นแลกเปลี่ยน ปรึกษา พรุ่งนี้ ข้อหนึ่งครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    อีกเส้นทางจาริกของหลวงจีนฟาเหียน ที่จะ ขอปรึกษา และแลกเปลี่ยนความเห็น นะครับ

    คือ เส้นทาง จาก เมืองสังกัสสะ- สาวัตถี-กบิลพัสดุ์-รามคาม-กุสินารา-ราชคฤห์

    และแยกส่วน พิจารณา ความผิดปรกติ ในเส้นทาง สาวัตถี-กบิลพัสดุ์-รามคาม

    กับ กุสินารา-ราชคฤห์

    นะครับ คุณ jirong9
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...